โรคที่คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด 2564

ต้นเหตุที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมีหลากหลายสาเหตุและปัจจัย ประกอบด้วย “โรคติดต่อ” ที่เกิดจากการติดเชื้อ อาทิ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์พบมากในกลุ่มวัยรุ่นอันเกิดจากความคึกคะนองไม่รู้จักวิธีป้องกันตัวเอง ต่อมาเป็น “โรคไม่ติดต่อ” ยมทูตที่พรากชีวิตคนไทย เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคปอด โรคหลอดเลือดในสมอง เบาหวาน ฯลฯ

แนวโน้มสถิติดังกล่าวเกิดจากการศึกษาวิจัย “สถิติสุขภาพคนไทย” โดยสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ทำการสำรวจสถิติ เมื่อปี 2561 พบว่า อัตราอุบัติการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สถิติระบุว่า ช่วงวัยรุ่นอายุ  15-19 ปี และช่วงอายุ 20-24 ปี เป็นช่วงวัยที่พบการติดเชื้อโรคจากการมีเพศสัมพันธ์สูงมากจนน่าเป็นห่วง

จากสถิติพบว่า โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่พบมากในกลุ่มเพศชาย โรคที่พบสูง คือ ซิฟิลิส 17.8%  เป็นที่น่าสังเกตว่าช่วงอายุ 15-19 ปี พบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ขณะที่ช่วงวัย 20-24 ปี กลับพบมากในเพศชายมากกว่าเพศหญิง จากนั้นตั้งแต่ช่วงอายุสูงขึ้นไป 25 - 60 ปี กลับไม่พบการติดโรคทางเพศสัมพันธ์

ขณะที่โรคหนองใน 22.7%  พบมากที่สุดในช่วงอายุ 15-19 ปี ตามมาติด ๆ ช่วงอายุ 20-24 ปี จากนั้นค่อย ๆ ลดน้อยลงไป ส่วนใหญ่พบมากในเพศชาย แต่พอมาพิจารณาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ตัวเลขกลับสูงถึง 35.2 % เป็นที่น่าสังเกตว่าส่วนใหญ่พบมากในเพศหญิงแบบผิดสังเกต โดยเฉพาะช่วงอายุตั้งแต่ 15 - 49 ปี สถิติสูงมาก ก่อนจะมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ

“โรคไม่ติดต่อ” ที่คร่าชีวิตคนไทยอันดับต้น ๆ คือ โรคมะเร็ง อัตราตายจากโรคมะเร็งทุกชนิด เพศชายครองแชมป์มาตลอด ทั้งมะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งเม็ดเลือดขาว ในภาพรวมเป็นที่น่าสังเกตว่า อัตราตาย เริ่มโผล่และค่อย ๆ เพิ่มอัตราตายสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงอายุ 40-44 ปี เพิ่มขึ้น ๆ จนทุบสถิติอัตราตายจากโรคมะเร็งสูงสุดในช่วงอายุ 65+ ปี ขึ้นไป

ขณะที่เพศหญิง อัตราการเสียชีวิตและเป็นโรคไม่ติดต่อน้อยกว่าเพศชาย แม้จะมีอัตราตายจากโรคมะเร็งในเพศหญิง มีเพียง 2 โรค คือ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกเท่านั้น โดยส่วนใหญ่พบการเสียชีวิตในช่วงวัย 55 - 64 ปี มากที่สุด

หากพิจารณาโรคไม่ติดต่อ อัตราตายจากโรคไม่ติดต่อ 4 โรค อาทิ หลอดเลือดสมอง หัวใจขาดเลือด เบาหวาน และปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในภาพรวมเพศชายเสียชีวิตมากกว่าเพศหญิง แต่เมื่อพิจารณาเฉพาะรายโรค พบว่า เพศชาย ตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยหัวใจขาดเลือด ขณะที่เบาหวานและปอดอุดกั้นเรื้อรังสถิติใกล้เคียงกันไม่สูงมากนัก ขณะที่ เพศหญิง โรคหลอดเลือดสมองสูงเป็นอันดับหนึ่ง หัวใจขาดเลือด กับเบาหวานมีสถิติอัตราตายใกล้เคียงกัน ส่วนปอดอุดกั้นเรื้อรังต่ำสุดแทบไม่มีนัยสำคัญ

“ปัจจัยเสี่ยง” ที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยง 2 สาเหตุ คือ การสูบบุหรี่ สัดส่วนการสูบบุหรี่จำแนกอายุ พบว่าสถิติปี 2560 บ่งชี้ว่า กลุ่มช่วงอายุ 25-40 ปี ติดบุหรี่สูงสุด รองลงมาเป็นช่วงอายุ 41-59 ตามมาด้วยช่วงอายุ 19-24 ปีกับช่วงอายุ 15-18  ปี ตามมาเป็นลำดับ

ขณะที่ การดื่มสุรา สัดส่วนการดื่มสุราจำแนกตามอายุ สถิติปี 2558 พบว่าช่วงอายุ 25-59 ปี ดื่มสุราจัดเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนช่วงวัย 15-24 ปี เด็กและเยาวชนตามมาติด ๆ เป็นอันดับรองลงมา 

“อุบัติเหตุ” เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนไทยเสียชีวิต อัตราตายจากอบุัติจราจรรายอายุ ตัวเลขปี 2561 พบว่าช่วงวัย 15-19 ปี ตายบนท้องถนนมากเป็นอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยช่วงอายุ 20-24 ปี มาเป็นอันดับสอง ส่วนช่วงอายุอื่น ๆ อัตราการตายน้อยมาก ขณะที่อุบัติเหตุจากการจมน้ำตาย ตัวเลขปี 2561 พบว่าน่าเป็นห่วงอย่างมาก เนื่องจากตัวเลขสูงมาก โดยในช่วงวัยอายุ 0 - 4 ปี และช่วงวัย 5-9 ปี มากเป็นอันดับต้น ๆ เด็กเล็กเป็นช่วงที่เปราะบางต่ออุบัติเหตุจมน้ำเสียชีวิต

อีกสาเหตุที่ทำให้คนไทยตายแบบผิดธรรมชาติ คือ ปัญหาสุขภาพจิตและสังคม อัตราตายจากการฆ่าตัวตาย ปี 2561 ระบุชัดเจนว่าช่วงวัยอายุ 35-39 ปี กับช่วงอายุ 30-34 และช่วงเกษียณอายุ 60-65 ปี สถิติการฆ่าตัวตายสูงพอ ๆ กัน หากจำแนกตามเพศพบว่า เพศชายมากกว่าเพศหญิง จึงอาจพอสรุปได้ว่าช่วงคนวัยทำงานกับผู้สูงอายุเป็นช่วงวัยที่สุ่มเสี่ยงต่อการเผชิญปัญหาสุขภาพจิตที่อาจคิดสั้นฆ่าตัวตาย

ขณะที่อัตราตายจากการถูกทำร้าย พิจารณาโดยการจำแนกอายุ พบว่า ช่วงเด็กและเยาวชน ช่วงอายุ 0 - 14 ปี พบน้อยมากปราศจากสถิติการถูกทำร้ายร่างกาย แต่ตัวเลขกลับกระโดดสูงขึ้นแบบผิดสังเกตในช่วงอายุ 15-19 ปี จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นจนถึงในช่วง 30-34 ปี สูงที่สุด ส่วนใหญ่พบมากเป็นเพศชาย   

สถิติสุขภาพคนไทย บ่งชัดว่าสาเหตุการตายของคนไทยส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรม และปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะการดื่มสุราและสูบบุหรี่ ซึ่งถือเป็นวายร้ายตัวฉกาจบ่อนทำลายสุขภาพให้ทรุดโทรม เช่นเดียวปัญหาสุขภาพจิต ปัจจุบันพบว่าคนไทยมีสถิติคิดสั้นฆ่าตัวตายสูงมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในกลุ่มคนวัยทำงานกับผู้สูงอายุที่สูงพอ ๆ กับสถิติอัตราการตายบนท้องถนนหรือจมน้ำเสียชีวิตที่ชุกมากในกลุ่มเด็กเล็ก ซึ่งอาจเป็นเพราะขาดการเอาใจใส่ดูแลจากผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด

ดังนั้น การแก้ปัญหาเชิงระบบและโครงสร้าง จำเป็นต้องวางมาตรการป้องกันในเชิงพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยง เพื่อพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนการลดปัญหาด้านสุขภาพโดยเร่งด่วนเพื่อหยุดหรือชะลอสถิติการตายก่อนวัยอันควรในทุกช่วยวัย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้