โรคที่เกิดจากภาวะโภชนาการเกิน

ภาวะโภชนาการส่งผลต่ออนาคตของบุคคลนั้น มีผลต่อการเจริญเติบโต ความแข็งแรงของร่างกาย จิตใจ ระดับสติปัญญา และมีผลต่อการทำงาน การสร้างรายได้ของผู้นั้น ด้วยเหตุนี้เองภาวะโภชนาการจึงมีผลต่อเศรษฐกิจระดับประเทศ และจำเป็นต้องมีการส่งเสริมโภชนการตั้งแต่แรกเกิด เพราะการเจริญเติบโตของเด็กแรกเกิด – 5 ปี เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ให้ผลตอบแทนในระยะยาวที่คุ้มค่า

เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะทุพพลภาพที่เกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก ครั้งที่ 65 เมื่อปี 2012 สมาชิกองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรอง WHA Global Nutrition Targets 2025 หรือ เป้าหมายโภชนาการระดับโลก ปีพ.ศ. 2568 ประกอบด้วย เป้าหมาย 6 ตัวชี้วัด ได้แก่

  1. ภาวะเตี้ยแคระแกร็น (stunting)ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ลดลงร้อยละ 40
  2. ภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ลดลงร้อยละ 50
  3. จำนวนเด็กที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม ลดลงร้อยละ 30
  4. ภาวะน้ำหนักเกิน (overweight) ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ต้องไม่เพิ่มข้ึน
  5. สัดส่วนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือนแรง เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 50
  6. ภาวะผอม (wasting) ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ต้องไม่เกินร้อยละ 5

ข้อมูลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเฝ้าระวังด้านโภชนาการในระดับประชาคมอาเซียน เมื่อปีพ.ศ. 2562 กรมอนามัยเผยว่า 1 ใน 10 ของเด็กปฐมวัยไทยมีภาวะเตี้ยหรืออ้วน สถานการณ์ปัญหาทุพโภชนาการในไทยพบเด็กอายุ 0 – 5 ปี มีภาวะเตี้ย อ้วน ผอม ร้อยละ 10.6, 9.1 และ 5.6 ตามลำดับ และเมื่อเด็กเติบโตเข้าสู่วัยเรียนในช่วงอายุ 6 – 14 ปี มีแนวโน้มพบภาวะเตี้ยร้อยละ 8.3 และผอมร้อยละ 4.3 นอกจากนี้ยังพบว่ามีภาวะอ้วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 13.1 ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มดีกว่าสถานการณ์เฉลี่ยระดับนานาชาติที่พบว่าอัตราเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปีที่ไม่แคระแกร็น อยู่ที่ระดับ 0.89 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐานโลกที่กำหนดค่าไว้ในระดับ 0.77

ซึ่งคำว่า ‘ภาวะทุพโภชนาการ’ ได้ปรากฏอยู่ใน #SDG2 เป้าประสงค์ท่ี 2.2 ยุติภาวะทุพโภชนาการทุกรูปแบบและแก้ไขปัญหาความต้องการสารอาหารของหญิงวัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร และผู้สูงอายุภายในปี พ.ศ. 2573 รวมถึงบรรลุเป้าหมายท่ีตกลงร่วมกันระหว่างประเทศว่าด้วยภาวะแคระแกร็นและผอมแห้งในเด็กอายุต่ากว่า 5 ปี ภายในปี พ.ศ. 2568

By 2030, end all forms of malnutrition, including achieving, by 2025, the internationally agreed targets on stunting and wasting in children under 5 years of age, and address the nutritional needs of adolescent girls, pregnant and lactating women and older persons

SDG Vocab รู้จักคำศัพท์ รู้จัก SDGs

หมายเหตุ – คำอธิบายข้างต้นสรุปโดยทีมงาน เพื่อให้อ่านแล้วทำความเข้าใจง่ายเท่านั้น
ไม่แนะนำให้นำไปอ้างอิงในเชิงวิชาการ

แหล่งที่มา:
รายงาน สกว. สำรวจสถานะ SDGs เป้าหมายที่ 2 (2560)
กรมอนามัย เผย 1 ใน 10 เด็กไทยพบเตี้ย-อ้วน ขานรับชาติอาเซียน เร่งขจัดปัญหาทุพโภชนาการเด็กไทยตามเป้าหมายโลก
แผนปฏิบัติการด้านโภชนาการระดับชาติ 5 ปี พ.ศ. 2562-2566 โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

อ่านเพิ่มเติม:
UNICEF – The state of food security and nutrition in the world 2020 : Transforming food systems for affordable healthy diets

ปัญหาโภชนาการในประเทศไทย ข้อมูลทางโภชนการเท่าที่มีอยู่ก่อนการจัดทำแผนอาหารและโภชนาการแห่งชาติ เพื่อบรรจุเข้าในแผนพัฒนาระยะที่ 4 นั้น มีอยู่อย่างกระจัดกระจาย และมักจะเป็นผลจากรายงานการวิจัยหรือการสำรวจเฉพาะพื้นที่หรือรายงานสถิติจากโรงพยาบาลและศูนย์สาธารณสุขต่างๆ อย่างไรก็ดี คณะทำงานเพื่อจัดทำแผนได้รวบรวมข้อมูลเท่าที่ได้และสรุปปัญหาโภชนาการของประเทศ ที่สำคัญ 7 อย่าง คือ

1. โรคขาดโปรตีนและพลังงาน

2. โรคโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก

3. โรคการขาดวิตามินเอ

4. โรคเหน็บชา จากการขาดวิตามินบี 1

5. โรคคอพอก จากการขาดธาตุไอโอดีน

6. โรคปากนกกระจอก จากการขาดวิตามินบี 2

7. โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

                                             

          ลักษณะของปัญหา ความรุนแรง และสาเหตุของการขาดอาหารแตกต่างกันไปตามกลุ่มอายุด้วยเหตุผลทางสรีรวิทยา แบบแผนการได้อาหาร การปฏิบัติ

ความเชื่อในเรื่องอาหารการกิน ทั้งนี้มีปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญ โดยภาพรวม

ปัญหาเหล่านี้พบได้มากในชนบทซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของประชากรของประเทศ และแหล่งสลัมในชุมชนเมืองในอีกด้านหนึ่งของปัญหาคือการได้สารอาหารเกิน ทำให้

โภชนาการกับสุขภาพ

        อาหารและโภชนาการ เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์  ถ้าเรามีภาวะโภชนาการที่ดี ก็จะช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง ตรงกันข้ามหากเราได้รับสารอาหารที่มากหรือน้อยเกินไปย่อมก่อให้เกิดภาวะโภชนาการเกินหรือภาวะทุพโภชนาการขึ้นได้  การได้เรียนรู้ถึงหลักการบริโภคอาหารและโภชนาการตามหลักโภชนบัญญัติ  จะทำให้มนุษย์เราสามารถเลือกบริโภคอาหารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  โดยเฉพาะในวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การเลือกบริโภคอาหารอย่างเหมาะสมกับวัย จะมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการสร้างเสริมสุขภาพให้สมบูรณ์ แข็งแรงสมวัย
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโภชนาการ
        คนเรามีสุขภาพที่ดีได้นั้น การรับประทานอาหารนับเป็นปัจจัยอันดับแรกๆ เราจึงจำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านโภชนาการและอาหาร เพื่อจะได้เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ได้สัดส่วนที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย อันเป็นการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ
ความหมายของโภชนาการ
        ก่อนที่เราจะรู้จักกับความหมายของโภชนาการ เราควรต้องรู้จักกับคำว่าอาหารเสียก่อน ซึ่งอาหารก็เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องและส่งผลต่อโภชนาการ โดยอาหาร หมายถึง สิ่งที่รับประทานแล้วมีประโยชน์ ต่อร่างกาย อาจอยู่ในรูปของของเหลวหรือของแข็งก็ได้ดังนั้น หากสิ่งที่ใดที่ได้รับประทานเข้าไปแล้ว  ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ และอาจก่อให้เกิดโทษแก่ร่างกายได้นั้น เราจะไม่จัดว่าเป็นอาหาร   เช่น   เครื่องดื่มแอลกอฮอล์  สารปรุงแต่งอาหาร   หรือ  ผงชูรส เป็นต้น
        โภชนาการ  หมายถึง  เนื้อหาวิชาการที่เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ซึ่งเรียกว่าวิทยาศาสตร์กับอาหาร โดยเป็นความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการเจริญเติบโต  เช่น  การจัดแบ่งประเภท และประโยชน์ของสารอาหาร การเปลี่ยนแปลงของอาหารที่รับประทานเข้าไป เป็นต้น

ภาวะโภชนาการ
        ภาวะโภชนาการ  หมายถึง สภาพหรือสะภาวะของร่างกาย   อันเนื่องมาจากการบริโภคอาหาร ซึ่งร่างกายนำอาหารที่ได้รับไปใช้เพื่อความเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย  ตลอดจนช่วยให้อวัยวะต่างๆของร่างกายทำงานได้ตามปกติ โดยมีปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อภาวะโภชนาการ เช่น  ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา  สิ่งแวดล้อม  ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม รูปแบบการบริโภคอาหาร  ตลอดจนสภาพร่างกายและจิตใจ เป็นต้น  ซึ่งสรุปง่ายๆ ดังแผนภาพ

        ภาวะโภชนาการ แบ่งออกเป็น ภาวะโภชนาการที่ดีเมื่อได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งมีทั้งภาวะโภชนาการต่ำ และภาวะโภชนาการเกิน เนื่องจากได้รับอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอาจทำให้มีสุขภาพที่ไม่ดีได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

        คือ การที่ร่างกายได้บริโภคอาหารในปริมาณที่เพียงพอถูกสัดส่วน หลากหลาย เหมาะสมและครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย ทำให้สามารถนำสารอาหารที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับร่างกายและจิตใจ ส่งผลให้มีสมรรถภาพร่างกายที่ดี

ภาวะโภชนาการที่ไม่ดี หรือภาวะทุพโภชนาการ

        หมายถึง การที่ร่างกายบริโภคอาหารในลักษณะที่ไม่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ทั้งในด้านปริมาณและสัดส่วน ทำให้ร่างกายเกิดภาวะโภชนาการที่ไม่ดีขึ้น  ซึ่งแบ่งออกเป็นภาวะโภชนาการต่ำ หรือภาวะขาดสารอาหาร หมายถึง ภาวะที่เกิดจากการบริโภคอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับสารอาหารไม่ครบตามความต้องการของร่างกายซึ่งมีผลทำให้สุขภาพไม่แข็งแรง อาจก่อให้เกิดโรค หรือมีความต้านทานต่อโรคต่างๆได้น้อย เจ็บป่วยได้ง่าย

        หมายถึง ภาวะที่เกิดจากการบริโภคอาหารหรือสารอาหารที่เกินต่อความต้องการของร่างกายเช่นบริโภคอาหารที่ให้พลังงานเกินกว่าที่ร่างกายจะใช้ ร่างกายจึงเกิดการสะสมพลังงานเหล่านั้นไว้ในรูปของไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วน หรือหมายรวมถึงการได้รับวิตามินบางชนิดมากเกินไป ก็อาจสะสมจนก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน เช่นวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค 

ปัญหาการเกิดโรคจากภาวะทุพโภชนาการ 

        อาหารและโภชนาการเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก การเลือกบริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์และถูกต้อง ย่อมมีผลดีต่อร่างกายแต่ถ้าเลือกบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง ย่อมก่อให้เกิดโรคต่างๆ และมีโทษร่างกายได้ ซึ่งโรคที่เกิดจากภาวะทุพโภชนาการ สามารถแบ่งออกได้เป็นโรคภาวะโภชนาการเกิน และโรคภาวะโภชนาการต่ำ ดังนี้

        เป็นโรคหนึ่งซึ่งเกิดจากภาวะโภชนาการเกินส่งผลให้เกิดโรคต่างๆตามมาเช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไขข้ออักเสบ โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เป็นต้น

1)  รับประทานอาหารมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ รวมไปถึงการเลือกรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น การรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ด รับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินความต้องการของร่างกาย หรือการรับประทานอาหารหวานจัด เช่น น้ำอัดลม ขนมเค้ก ขนมหวานต่างๆ

2)  ขาดการออกกำลังกาย เมื่อร่างกายไม่ได้มีการใช้พลังงาน สารอาหารต่างๆที่เรารับประทานเข้าไปจึงแปรเปลี่ยนเป็นไขมันไปสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกาย

3)  พันธุกรรม มีงานวิจัยพบว่า หากบิดามารดา คนใดคนหนึ่งหรือทั้ง 2 คนเป็นโรคอ้วน มีโอกาสที่จะทำให้บุตรมีโอกาสเป็นโรคอ้วนสูงกว่าเด็กปกติ

4)  ความผิดปกติของร่างกาย บางครั้งโรคอ้วนอาจจะเกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่อยู่ในร่างกาย โดยต่อมไทรอยด์นี้จะผลิตฮอร์โมน “ไทรอกซิน” ซึ่งถ้าต่อมไทรอยด์ผิดปกติ ฮอร์โมนนี้จะถูกผลิตออกมาน้อย จะทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้ไม่ดี เกิดการสะสมไขมันไว้มาก เกิดโรคอ้วนได้

1)  ลดอาหารประเภท แป้ง น้ำตาล และไขมัน

2)  ลดปริมาณอาหารในแต่ละมื้อลงแต่ยังต้องรับประทานให้ครบ 5 หมู่

4)  ไม่ดื่ม หรือรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม ขนมรสหวานจัด

5)  อาหารมื้อเย็นเป็นมื้อที่มักจะรับประทานเกินกว่าที่ร่างกายจะนำไปใช้ได้หมด ดังนั้น ควรลดปริมาณอาหารมื้อเย็นลง และงดรับ
     ประทานอาหารมื้อดึก

6) อาจรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น ทดแทนข้าว แป้ง ขนมหวาน โดยต้องเลือกผลไม้ที่รสไม่หวานจัด ( ผลไม้บางชนิดมีแป้งและ
    น้ำตาลสูง ควรงดรับประทาน เช่น สัปปะรด  ทุเรียน ขนุน กล้วยน้ำว้า )

7) ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเร่งการเผาผลาญไขมันส่วนเกินออกไป โดยออกกำลังกายให้หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ ต่อเนื่อง
    กันอย่างน้อย 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง

       เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการขาดสารอาหารที่ควรได้รับอย่างพอเพียงในภาวะหนึ่งๆ ซึ่งมีสาเหตุต่างกัน ดังนี้

1. ได้รับปริมาณน้อยเกินไปจากการขาดความรู้ที่จะเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าหรือ
     จากภาวะทางเศรษฐกิจ

2. ร่างกายมีความต้องการมากขึ้น เช่น ในภาวะเจ็บป่วย ฟื้นไข้

3. ความอยากอาหารน้อย การย่อยอาหารไม่ดี

4. มีการทำลายแหล่งสร้างอาหารในร่างกาย

5. ยาหรือสารบางชนิดที่มีผลต่อระบบย่อยอาหารของร่างกาย

สาเหตุของโรคขาดสารอาหาร   เกิดจากพฤติกรรมและนิสัยส่วนตัวในการกินอาหาร และด้วยปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ(ฐานะยากจน) จึงทำให้เด็กต้องกินอาหารเท่าที่พ่อแม่จะหามาได้การดูแลเรื่องการกินอาหาร (โภชนาการ) ของเด็กในวัยเรียนเหล่านี้ จะเห็นว่าเด็กไม่ได้กินตามหลักโภชนาการแต่กินเพียงเพื่อให้อิ่มท้องและอยู่รอดเท่านั้น ส่วนมากคนที่มีความสำคัญที่ต้องคอยดูแลในเรื่อง โภชนาการของเด็กคือ พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู (ญาติ) ที่ไม่ค่อยมีเวลา หรือตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงทำให้เด็กเกิดโรคขาดสาร

อาหารโดยไม่รู้ตัวโรคขาดสารอาหารที่พบมาก ได้แก่ 1. โรคขาดโปรตีน  2. โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก  3. โรคเหน็บชา

4. โรคกระดูกอ่อน  5.โรคคอพอก  6. โรคตาฟาง  7. โรคลักปิดลักเปิด

โภชนบัญญัติ 9 ประการและธงโภชนาการ

        จากผลเสียของภาวะทุพโภชนาการข้างต้น  ทำให้หน่วยงานของรัฐกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เชิญนักวิชาการด้านโภชนาการจากสถาบันต่าง ๆ มาระดมความรู้ แสดงความคิดเห็น และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆนำมาสรุปเป็นข้อเสนอแนะในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย เรียกว่า  “ ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย หรือโภชนบัญญัติ 9 ประการ ” และยังได้หาสัญลักษณ์   “ธงโภชนาการ” เพื่อให้ประชาชนเข้าในในเรื่องโภชนาการได้ง่ายขึ้น

        โภชนบัญญัติ  เป็นข้อปฏิบัติการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย 9 ประการ มีรายละเอียดดังนี้

1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย และหมั่นดูแลน้ำหนัก

2. รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ

3. รับประทานพืชผักให้มากและรับประทานผลไม้เป็นประจำ

4. รับประทานปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และเมล็ดถั่วแห้งเป็นประจำ

5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย

6. รับประทานอาหารที่มีไขมันแต่พอควร

7. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานจัดและเค็มจัด

8. รับประทานอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน  

9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 

ธงโภชนาการเป็นคำแนะนำกว้างๆว่า ในแต่ละวันเราควรจะรับประทานอะไรบ้าง และรับประทานในปริมาณเท่าใด  จึงจะไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป  เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีธงโภชนาการมีลักษณะเป็นธงสามเหลี่ยมถูกแขวนโดยการเอาปลายแหลมลง โดยแบ่งอาหารที่ควรรับประทานออกเป็น 6 กลุ่ม ไล่จากที่ควรรับประทานปริมาณมากไปน้อย ( หรือบนลงล่าง )โดยบอกสัดส่วนที่ควรรับประทานดังนี้

ภาวะโภชนาการเกิดจากอะไร

ภาวะโภชนาการเกิน เกิดจากการบริโภคอาหารหรือสารอาหารที่เกินกว่าความต้องการของร่างกาย เช่น บริโภคอาหารที่ให้พลังงานเกินกว่าที่ร่างกายจะใช้ ร่างกายจึงเกิดการสะสมพลังงานเหล่านั้นไว้ในรูปของไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วน หรือหมายรวมถึงการได้รับวิตามินบางชนิดมากเกินไป จนอาจสะสมและก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน

โรคที่เกิดจากภาวะโภชนาการที่ไม่ดีมีอะไรบ้างยกตัวอย่างมา 3

ปัญหาโภชนาการ.
โรคขาดโปรตีนและกำลังงาน (โรคขาดอาหาร) มักพบในเด็กแรกเกิดถึง 5 ขวบ ... .
โรคขาดไวตามิน เอ พบมากในเด็กตั้งแต่ 2-3 เดือน ถึง 5 ขวบ ... .
โรคโลหิตจาง พบมากในหญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร และหญิงวัยเจริญพันธุ์ ... .
โรคเหน็บชา ... .
5.คอพอก ... .
โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ... .
โรคปากนกกระจอก.

ปัญหาที่เกิดจากโภชนาการขาดได้แก่อะไรบ้าง

อาการของโรคขาดสารอาหาร.
น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ.
ผมร่วง.
ตัวซีด.
ง่วง อ่อนเพลีย.
เวียนศีรษะ.
มีความอยากอาหารที่ผิดปกติ.
มีปัญหาในการย่อยอาหาร ซึ่งอาจทำให้ท้องผูก.
ประจำเดือนมาไม่ปกติ.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้