แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2

เพชรบุรี : วันที่ 11 – 12 กรกฎาคม 2565 คณะทำงานกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ร่วมกับ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. และภาคีร่วมพัฒนา จัดการอบรมพัฒนาศักยภาพขบวนองค์กรชุมชนในการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนระดับตำบล จังหวัด และกลุ่มจังหวัด พร้อมทั้งร่วมกันจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายของสภาองค์กรชุมชน ปี 2565 ณ ห้องประชุมวรชัยเยาวปราณี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ อาคารที่ 26  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนจาก 4 จังหวัด ผู้บริหารเจ้าหน้าที่ พอช. ผู้บริหารและคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเพชรบุรี เข้าร่วมรวมประมาณ 70 คน

นางสุรนุช บุญจันทร์ ผู้แทนขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดสมุทรสาคร และผู้แทนคณะทำงานขับเคลื่อนงานกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 กล่าวว่า กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ซึ่งประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 มีการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ให้เกิดการสร้างความเข้มแข็งกับองค์กรชุมชนตั้งแต่ระดับตำบลและระดับจังหวัด จนสามารถเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันในระดับกลุ่มจังหวัด ซึ่งที่ผ่านมามีการกำหนดเป้าหมายและจัดทำแผนยุทธศาสตร์องค์กรชุมชนเพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน พร้อมทั้ง ยังเชื่อมโยงแผนงาน/ โครงการ กับหน่วยงานภาคีทั้งในระดับตำบลและระดับจังหวัด

“ในการนี้  เพื่อให้เกิดการจัดทำแผนยุทธศาสตร์องค์กรชุมชนอย่างมีคุณภาพและนำสู่การขับเคลื่อนงานระดับพื้นที่ได้ เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ภายใต้การหนุนเสริมจากสำนักงานภาคกลางและตะวันตก สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) จึงได้มีการจัดเวทีพัฒนาศักยภาพขบวนองค์กรชุมชนในการจัดทำแผนพัฒนาระดับตำบล จังหวัด กลุ่มจังหวัด โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ การพัฒนาศักยภาพผู้นำสภาองค์กรชุมชน ให้เกิดทักษะในการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายปี 2565” นางสุรนุชกล่าว

ต่อมา ผศ.ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นคลังปัญญา เป็นที่รวมความรู้ช่วยเหลือชุมชน วันนี้เป็นโอกาสดีที่ท่านทั้งหลายมาใช้ในการทำแผนพัฒนาชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด กลุ่มจังหวัด แผนเป็นเครื่องมือในการทำให้คนมาทำงานร่วมกัน มาคิดร่วมกัน เป็นการคิดจากคนข้างล่างมาสู่ข้างบน

“การให้คนมีส่วนร่วม ต้องช่วยกันคิดแล้วหาจุดร่วมให้ได้ เกิดเป็นแผนที่การเดินทางสู่อนาคต ฉะนั้น เป็นโอกาสดีที่ใช้แผนเป็นเครื่องมือในการคิดร่วมกันภายใต้ทรัพยากรที่เรามีอยู่ ที่ทุกคนมาจากหลายกลุ่มหลายวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ยินดีให้ความร่วมมือในการทำงาน ในส่วนของมหาวิทยาลัยทำแผนของพัฒนาเพื่อยกระดับฐานล่างขึ้นไป ในที่สุดเราได้มา 4 เรื่องในระยะ 5 ปี 10 ปี 15 ปี คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นซึ่งทำ 4 เรื่อง คือ ด้านเศรษฐกิจฐานล่าง  สังคม สิ่งแวดล้อม และการศึกษา จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าทุกองค์กรใช้แผนเป็นเครื่องมือ วันนี้ท่านมาจากหลายพื้นที่มารวมกันเป็นสิ่งที่ดี จะได้แลกเปลี่ยนกัน อย่างน้อยสิ่งที่ได้จะถูกนำมากำหนดเป็นแผน เราได้รับรู้ร่วมกันว่าเส้นทางการทำงานร่วมกันในอนาคตข้างหน้าเป็นอย่างไร และที่สำคัญอย่างยิ่งทำให้เราเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดเป็นเส้นทาง มหาวิทยาลัยเองก็พยายามทำบทบาทหน้าที่ของตนเองไปตามเส้นทางนี้” อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีกล่าว

นายอำนวย คำเขียน ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเพชรบุรี ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านหรือชุมชน โดยได้กล่าวว่าแผนพัฒนาหมู่บ้านหรือชุมชนเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เป็นรากฐานในการพัฒนาท้องถิ่น หรือการพัฒนาจังหวัด การสำรวจข้อมูลเพื่อนำมาวางแผนแก้ไขปัญหาต่างๆ ทำให้ทราบความต้องการของหมู่บ้านและสามารถกำหนดอนาคตการพัฒนาหมู่บ้านได้ รวมถึงเป็นการเสริมสร้างวิถีชีวิตประชาธิปไตย การพัฒนาศักยภาพผู้นำของหมู่บ้าน/ชุมชน สร้างพลังชุมชนและใช้พลังชุมชนในการพัฒนาชุมชน และโดยชุมชนและเพื่อชุมชน

ในส่วนของการปฏิบัติการทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตทุกมิติของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ดร.อุษา เทียนทอง ผู้แทนขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดสมุทรสงคราม และคณะทำงานกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 เป็นผู้นำจัดกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตจังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าวได้มีการแบ่งเป็นกลุ่มย่อยรายจังหวัด ในการทบทวนแผนพัฒนาระดับจังหวัด และร่วมกันสรุปประมวลเป็นแผนพัฒนาระดับกลุ่มจังหวัด โดยมีเนื้อหาหลัก ประกอบด้วย การวิเคราะห์ศักยภาพจังหวัด (swot) กำหนดวิสัยทัศน์ จัดทำแผนกิจกรรมโครงการ

          “วันนี้จะทำแผนกลุ่มจังหวัด ซึ่งตนเองเป็นคณะกรรมการแผนกลุ่มจังหวัดอยู่ด้วย จึงเห็นจุดอ่อนของกลุ่มจังหวัดที่ผ่านราชการ ดังนั้น หากภาคประชาชนทำโครงการแบบนี้แล้วผลักดันให้ไปบรรจุอยู่ในกลุ่มจังหวัดด้วย เราจะได้งบประมาณมาขับเคลื่อนงาน ทั้งนี้ การที่โครงการของเราไม่ได้ไปบรรจุเพราะเรายังไม่มีแผนโครงการที่ถูกหลอมรวมเป็นของกลุ่มจังหวัดไปเสนอกับเขา ที่ผ่านมาเป็นเพียงการจัดทำแผนจังหวัดของตัวเอง ถ้าวันนี้เรามารวมตัวกันเพื่อแชร์ข้อมูลที่จะนำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาระดับกลุ่มจังหวัดร่วมกัน โดยการทำต้องมีการเทข้อมูลแต่ละด้านของแต่ละจังหวัด เพื่อมาดูว่าเมื่อหลอมรวมกันจะเป็นอย่างไร ทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เป็นต้น” ดร.อุษากล่าว

ในช่วงสุดท้าย นายธีรพงศ์ พร้อมพอชื่นบุญ ผู้อำนวยการภาคกลางและตะวันตก ได้กล่าวสรุปและปิดเวทีประชุมว่า การจัดทำแผนพัฒนาหากจะไปให้สุดต้องไปถึงทดสอบตัวชี้วัดว่าสามารถตอบสนองต่อคุณภาพชีวิตของคนข้างล่างได้อย่างไร การทำแผนของพวกเราคือการมาร่วมกันคิด เราต้องกลับไปถามคนข้างล่างว่าเขาคิดอย่างไร เพื่อให้เป็นระบบการทำแผนที่มีข้อมูลอย่างแท้จริง สิ่งที่เรากำลังทำมีความเป็นไปได้สูงที่จะทำให้ขบวนองค์กรชุมชนเป็นกระบวนการทำแผนที่มาจากข้างล่าง มาจากการคิดและปัญหาที่แท้จริง และที่สำคัญคือเนื้อหาที่เสนอมาถูกต้องทั้งหมด แต่เพียงแค่เนื้อหาอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ ต้องมีแรงที่มาช่วยผลักดัน ต้องใช้พลังของพวกเราเพื่อนำไปสู่นโยบายและการทำจริง

“ในการทำแผนของภาคประชาชน เราต้องเชื่อมโยงคนจากหลายๆ ระดับ ทั้งหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และหลายๆ จังหวัด รวมถึงภูมินิเวศ สิ่งที่เรากำลังทำนี้เป็นความจริง เป็นสิ่งที่เราอยากทำ แต่บางเรื่องไม่ตรงกับนโยบาย หากเราจะเปลี่ยนต้องใช้เวลา คิดว่าช่องทางที่ 1 คือ ช่องทางปกติผ่านทางผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ช่องทางที่ 2 คือ ระดับภูมิภาค และ 3 คือ ไปตามหน่วยงานที่มีโครงการสอดคล้องกับสิ่งที่เราทำ เราทำแผนเพื่อให้เกิดการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนโยบาย รวมทั้ง แผนที่เราจะทำเองโดยไม่ต้องอาศัยคนอื่น ดังนั้น เราต้องสกัดให้ได้ว่าแผนของเราจะเข้าไปจุดไหน ไม่อย่างนั้นจะแก้ไม่ครบถ้วนทุกมิติ อะไรที่เราทำเอง อะไรที่หน่วยงานภาคเอกชนจะทำร่วมกับเรา กับอะไรที่เราเสนอแนวนโยบายให้หน่วยงานส่วนกลางมาทำให้ ซึ่งเราต้องแตกเรื่องเหล่านี้ให้ชัดเจน” ผู้อำนวยการภาคกลางและตะวันตกกล่าว

เรวดี อุลิต รายงาน / ปริดา ศิริเมือง ถ่ายภาพ

เข้าชมแล้ว: 92

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้