เรียนราม ทํา งานไปด้วย - pantip

เมื่อนึกถึงมหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อนๆ มักจะนึกถึงอะไรกันมั้งเอ่ย? ถ้าเป็นตัวเรานะ เราจะนึกถึงมหาวิทยาลัยที่มีพื้นที่กว้างๆ มีคณะที่เปิดเรียนมากมากมายหลายคณะเลย และที่สำคัญการเรียนที่นี้ยังเปิดโอกาสอีกด้วย คือเราสามารถไม่ต้องเข้าเรียนทุกวิชาก็ได้ แต่ก็ต้องสอบให้ผ่าน ถือว่าเป็นการฝึกให้เราต้องขยันขึ้นอีกหลายเท่าเลยค่ะ

อย่างเช่น กระทู้นี้เลย ที่เราจะพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับมหาวิทยาลัยรามคำแหงให้มายิ่งขึ้นกันค่ะ ผ่านบทความดีๆ ของสมาชิกเว็บไซต์พันทิป ที่มีชื่อว่า ‘เด็กน้อยกับเตาอบใหญ่’ ที่จะมาเล่าถึงประสบการณ์ที่เคยเรียนที่นี้กันค่ะว่าเป็นอย่างไรบ้าง? ลองมาดูกันเลยดีกว่า….

เรื่องเล่าน่ารักๆ ของคนเรียน ม.รามฯ

ลักษณะของนักศึกษารามฯ

1.เด็ก เพราะมีระบบ pre-dregree ดังนั้นภาคฤดูร้อนบางครั้งจะเจอน้องๆ ใส่ชุดนักเรียนมานั่งกับพี่ๆ (ซึ่งพี่ก็ไม่อยากนั่งใกล้น้อง เพราะรังสีความเด็กของน้องทำให้พี่ดูแก่ในบัดดล ฮาาาา) อันที่จริงก็จะช่วยดูว่าน้องเค้าเรียนทันไหม รู้เรื่องบ้างหรือเปล่า ซึ่งน้องที่มานั่งเรียนส่วนใหญ่จะเก่งมากอยู่แล้ว พี่ก็นับถือน้องมาก โรงเรียนปิดเทอมแล้วยังนั่งรถเมลล์มาเข้าฟังบรรยายที่ราม น้องขยันได้อีก!

2.นักศึกษาปกติ มาจากเกือบทั่วทุกสารทิศในราชอาณาจักรไทย ถ้าอยากรู้ว่ามาจากไหนกันบ้าง ให้ไปสังเกตเอาตามซุ้มที่นั่งรอบมหาวิทยาลัยที่มีเป็นร้อยซุ้มได้ โดยนักศึกษาจากภาคใต้จะมีจำนวนค่อนข้างเยอะ รองลงมาคือภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคหนือ

3.ผู้ใหญ่ เป็นอีกกลุ่มในมหาวิทยาลัย บางคนก็มีลูกแล้วเอาลูกมานั่งในห้องบรรยายด้วย บางคนก็มาเรียนเอาใบปริญญาใบที่ 2 เพราะฉะนั้นนอกจากเพื่อนเราที่เรียกชื่อเล่นแล้ว ในห้องยังมีเพื่อนที่ขึ้นต้นด้วยสรรพนาม พี่… ป้า… น้า… ลุง… อีกหลายคนนักแล

4.ไม่ใช่นักศึกษา อันนี้ราเจอด้วยตัวเอง คือคุณน้าคนหนึ่งไม่ใช่นักศึกษา มีอายุ ผมแซมขาวแล้ว มานั่งฟังอาจารย์เฉยๆ มาทุกคาบต่อเนื่องกันเป็นเวลา 5 ปี นั่งเรียนสักพักแกก็จะมาละ เดินเข้าห้องหาที่นั่ง พอหมดคาบก็กลับบ้านไป สัปดาห์หน้ามาใหม่ เทอมหน้าก็มาอีก ฟังแบบไม่รู้เบื่อกันเลยทีเดียว อาจารย์ก็ไม่ได้ว่าอะไรด้วย

————————————————————————

ลักษณะพิเศษของนักศึกษารามคำแหง… ถึก และถึก และถึก และถึก

1.อากาศ

ในมหาวิทยาลัยอบอุ่นมากถึงมากที่สุด บางทีก็จะอุ่นเกินไป อยู่ในห้องบรรยายให้นึกว่าอยู่ขั้วโลกเหนือไว้จะได้ไม่ร้อน มีพัดก็หยิบขึ้นมาพัด พัดไปเรียนไป และห้ามฝากความหวังไว้กับพัดลมที่ดูพึ่งพาไม่ค่อยได้ในชั้นเรียน

2.รถบริการ (ในวันก่อนๆ)

ด้วยความที่เมื่อก่อนไม่มีรถบริการภายในมหาวิทยาลัย (แต่ตอนนี้มีแล้วนะ) เวลาเปลี่ยนวิชาแล้วต้องไปเรียนอาคารอื่นซึ่งอาจอยู่ห่างกันคนละซีกโลก จึงต้องวิ่งไปให้ทันด้วยสปิริตอันแรงกล้า… ตกลงมหาวิทยาลัยหรือค่ายฝึกทหาร

3.นักศึกษาโดยส่วนมากจะทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย

เช่น เพื่อนของเราหายไปสองสามสัปดาห์ โผล่มาอีกทีถามว่าไปไหนมา บอกเงินหมดไปทำงานมา ก็ต้องมาตามเนื้อหาที่อาจารย์สอน การบ้านที่อาจารย์สั่งเอากับเพื่อนที่มาเรียน เพื่อนบางคนก็ทำงานเฉพาะวันหยุดสุดสัปดาห์จะได้ไม่กระทบกับการเรียน

งานที่ทำก็มีตั้งแต่เด็กเสิร์ฟ พริตตี้ แบกหาม แจกโบว์ชัวร์ ขายของ ทำอาหาร สารพัดสารเพ เรียกว่ามีอะไรให้ทำก็ทำหมดทุกอย่าง เวลาเราไปรับงานพิเศษทีไร ต้องเจอคนมหาลัยเดียวกันทุกทีและคำถามยอดฮิตในการทักทายกันก็คือ “ใกล้จบหรือยัง”

ซึ่งการได้ทำงานล่วงหน้าทำให้รู้เลยว่าโลกภายนอกเป็นแบบไหนบ้าง รู้ว่าคนเรานี้ช่างแปลกประหลาดลึกลับยิ่งนัก บางทีงานที่ทำก็หนักมาก น้ำตาซึมน้ำตาไหลเลยก็มี ตื่นเช้ามาสะโหลสะเหลไปนั่งฟังบรรยายต่อที่’มหาลัย สงครามชีวิตมาก

4.เวลาฝนตกหนักๆ

น้ำจะท่วม นักศึกษาทุกคนจะกลายเป็นคนติดดิน ถอดถุงเท้ารองเท้าพับขากางเกงเดินลุยน้ำกลับบ้าน โดยไม่ปริปากบ่น ช้านนนนรับด้ายทุกอย่างงงง…

5.ความงงส่วนตัวของนักศึกษา

สำหรับนักศึกษาใหม่สิ่งที่ต้องมีคือ สกิลในการเอาตัวรอด เพราะต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเองทั้งหมด ตั้งแต่การนั่งรถมาจากต่างจังหวัดเดินหาหอพักหางานทำ และทุกอย่างในมหาวิทยาลัยก็ดูสับสนไปหมด ตั้งแต่การลงทะเบียน…ทำยังไงเนี่ยตัดกระดาษแสกนบาร์โค้ด งงจุงเบย ต้องยืนต่อแถวแย่งออกซิเจนกันในเวียงคำอีกตะหาก หาอาคารไม่เจอ หาหนังสือเรียนไม่เจอ ห้องเรียนย้ายไปตึกนู้นตึกนี้ อาจารย์เคยเล่าให้ฟังว่า เวลาผ่านไปครึ่งเทอม นักศึกษากับอาจารย์ยังหลงทางหากันไม่เจอก็มี โอ้มายก็อด…

6.พอถึงวันสอบ รถติด ออดดัง…

วิ่งจากประตูหน้า’มหาลัยขึ้นห้องสอบชั้น 5 ภายใน 5 นาที เข้าไปนั่งหอบในห้อง สรุปลืมเอาปากกามาสอบวิชาข้อเขียน… รันทดได้อีก ทำไมไม่อ่านระเบียบการสอบมาก่อน

7.วิชาภาษาอังกฤษ eng ไม่ขอบรรยายสรรพคุณ… แค่ได้ยินชื่อนี้เด็กรามครึ่ง’มหาลัยก็หนาวสั่น และถึงขั้นกับว่าต้องเปิดอบรมให้ผู้ที่สอบไม่ผ่านได้มาเรียนให้สอบผ่านกันไป ซะ

————————————————————————

การเรียนในราม

1.เรียนในห้องบรรยาย

เพราะเป็นมหาวิทยาลัยเปิด ดังนั้นจึงไม่บังคับให้เข้าเรียน ไม่เช็คชื่อ ประตูห้องเปิดตลอด 24 ชั่วโมงแบบเซเว่นเลยยย และพบว่าช่วงเปิดเทอมเป็นช่วงที่ห้องบรรยายแน่นที่สุด ประมาณว่าปลากระป๋องเรียกพี่ บางทีก็เก้าอี้ไม่พอ นักศึกษาทะลักออกมานอกห้องก็มี ต้องวิ่งไปลากเก้าอี้จากห้องอื่นมานั่งแทรกข้างเพื่อน

แต่… เมื่อสามสัปดาห์ผ่านไป จากห้องเรียนที่แน่นขนัด ก็จะกลายเป็นทุ่งกุลาร้องไห้ในทันที เพื่อนหายไปไหนกันโหม้ดดดดดดดดด ทำไมไม่มาเรียน รู้มั้ยเค้ากลัวผี! ไม่ต้องตกใจไป เหตุการณ์แบบนี้จะเกิดเฉพาะกับวิชาบังคับเรียนเท่านั้น เพราะวิชาปกตินั้น…เราบอกคุณได้เลยว่า… “โหรงเหรง” ถึงที่สุด ดีไม่ดีคือ ได้เรียนคนเดียวกับอาจารย์ เหมือนเป็นการติวแบบตัวต่อตัว (เปรี้ยวได้ใจ วิชาละ 37 บาท ได้เรียนแบบเน้นๆ อยากรู้อะไรก็ถามปุ๊บตอบปั๊บ คุ้มกว่านี้มีอีกมั้ยอาจารย์!)

โดยปกติแล้วเราจะนั่งฟังบรรยายพร้อม เพื่อนในห้องที่มีไม่เกิน 5 คน (วิชาเอกด้วย) คณะอื่นอาจมีเยอะกว่านี้ แต่เราบอกได้เลยว่า 5 คนนี่คืออิมพอสสิเบิ้ลสุดละ ฮาาาา อยากนั่งตรงไหนก็นั่ง ว่างมันทุกเก้าอี้

2.เรียนในห้องบรรยายของคนอื่น

คือสิ่งที่เราและเพื่อนชอบทำ (และเพื่อนนักศึกษาบางคนก็ทำ) นั่นคือ… การเข้าชั้นเรียนที่ไม่ได้ลงทะเบียนเพราะอยู่นอกเหนือไปจากหลักสูตรของเรา แต่อยากเรียน อยากรู้ว่าเรื่องนี้มันเป็นยังไง กำลังสนใจ สามารถเอาไปประยุกต์ใช้กับวิชาที่เรียนอยู่ได้ ฯลฯ

วิธีปฏิบัติคือ

2.1 เล็งวิชาที่คิดว่าอยากเรียนเอาไว้ เช่น จิตรกรรม, ภาษารัสเซีย, แบดมินตัน, ฟิสิกส์, วิชาอะไรก็ตาม จากจำนวนสองพันกว่าวิชาที่มีในมหาวิทยาลัย
2.2 ยืมตำราเรียนประกอบวิชานั้นมาจากหอสมุดกลาง
2.3 พอถึงวันบรรยายก็เดินเข้าไปนั่งฟัง
2.4 ถ้ามีการบ้านก็ทำไปกับเขาด้วย
2.5 แต่ไม่ต้องไปสอบเพราะไม่ได้ลงทะเบียนไว้ จบขั้นตอน

ทั้ง นี้การเข้าไปเรียนก็ขออนุญาติกับอาจารย์ก่อน บอกว่าเราอยากเรียนจริงๆ นะ ถึงจะเป็นวิชาที่นอกเหนือจากหลักสูตร หนูก็ขอเรียนด้วยคนนนนน ซึ่งส่วนใหญ่อาจารย์จะอนุญาต (ใจดีมาก) และเราก็คิดว่าส่วนนี้แหละที่เป็นที่รักของนักศึกษาหลายคน คือ นอกจาก “ความรู้” แล้วเรายังต้องการสิ่งที่เรียกว่า “โอกาส” ด้วย

3.เรียนในห้องบรรยาย (ในจอมอนิเตอร์)

คือการเรียนจากวิดีโอ และการเรียนแบบถ่ายทอดสด คือนักศึกษาบางคนอยู่ต่างจังหวัดไกลๆ ก็ขอแค่มีคอมพิวเตอร์กับอินเตอร์เน็ทแค่นี้ ไม่ต้องนั่งรถทัวร์ต่อรถไฟฟ้าขึ้นรถเมลล์มาถึงรามก็นอนกลิ้งตีลังกาเรียน อยู่ที่บ้านได้เหมือนกัน

4.เรียนจากหนังสือหรือชีทสรุป

อ่านมันเข้าไป แล้วไปสอบ ชีทสรุปมีขายทั่วไปที่หน้าราม หนังสือซื้อที่ศูนย์หนังสือ ซึ่งเน้นราคาที่ถูกมาก จะได้ไม่เป็นภาระให้นักศึกษา ถึงแม้ว่าอาจเก่าไปบ้าง บางเล่มเริ่มเหลืองแล้ว แต่ขอให้มั่นใจเนื้อหาในเล่มว่ามีคุณภาพแน่นอน

การสอบนั้นเราเองจะใช้วิธีอ่านก่อนสอบหนึ่งวันหรืออ่านคืนที่จะสอบ แล้วไปอ่านต่อหน้าห้องสอบเข้าไป สอบเลย แต่จะห้ามสะดุด ห้ามหกล้ม เดียวที่อ่านมาหายไปหมด อิอิ (ตัวอย่างที่ไม่ดีนะเนี่ย! ห้ามเลียนแบบ!)

วิธี นี้ใช้ได้แค่วิชาที่มีชีทมีหนังสือ วิชาที่ยากๆ บางวิชาอ่านกันเป็นเดือนๆ ตัวอย่างเช่น วิชากฏหมายสูงๆ ที่เห็นหนังสือแล้วต้องตกใจ เพราะหนากว่าพระไตรปิฎก อ่านคืนเดียวไม่จบแน่

————————————————————————

การแต่งกาย

1.ชุดนักศึกษาแบบใส่ทุกอย่าง
ปกติก็จะเป็นนักศึกษาหญิงที่แต่งกายเรียบร้อยเป็นปกติ นักศึกษาชายแต่งเต็มยศก็มีให้เห็นประปราย แต่ถ้าเป็นงานพิธีสำคัญก็ใส่พร้อมเพรียงกัน

2.ชุดนักศึกษาปกติ
สำหรับวันธรรมดาๆ นักศึกษาชายใส่เสื้อนักศึกษา แขนสั้นบ้างยาวบ้าง กางเกงอะไรก็ได้สีอะไรก็ได้ ส่วนมากจะเป็นกางเกงยีนส์ รองเท้าหุ้มส้น นักศึกษาหญิงก็แต่งตัวเรียบร้อยเช่นเคย ยกเว้นรองเท้าที่อาจเป็นผ้าใบหรืออื่นๆ

3.ชุดไปรเวทแบบสุภาพ
คือชุดที่ดูแล้วไม่น่าเกลียดที่จะไปนั่งฟังอาจารย์บรรยาย เสื้อคอปก รองเท้าหุ้มส้น

4..ชุดไปรเวทแบบ…
คือชุดที่อินดี้ป้ายยยยย หรือชุดที่เหมือนลุกจากที่นอนแล้วมาเรียนเลยไม่ได้อาบน้ำ

————————————————————————

และสิ่งที่เราได้จากมหาวิทยาลัยนี้ คือ….

หลายอย่างมาก ที่แน่ๆ คือ “โอกาส” โอกาสที่จะได้เรียนในระดับอุดมศึกษาแม้ว่าจะขาดทุนทรัพย์ โอกาสที่จะได้ศึกษาไปพร้อมกับการทำกิจกรรมอื่นๆควบไปด้วย โอกาสที่ไม่จำกัดอายุ ไม่จำกัดขีดความสามารถ

ตัวเราเองพูดได้เลยว่า ถ้าไม่มีโอกาสได้เรียนที่รามคำแหงนี้ ป่านนี้คงเละเป็นโจ๊กอยู่แถวไหนแล้วก็ไม่รู้เหมือนกัน…เฮ้อ

เวลา นึกถึงสิ่งนี้แล้วก็อยากบอกให้เพื่อนทุกคนที่มีโอกาสเรียนหนังสือสูงๆ เนอะ ว่าตั้งใจเรียนให้มาก นึกถึงคนที่เขาอยากเรียนแล้วไม่ได้เรียน ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด เพื่อเราจะได้ออกไปช่วยพวกเขาต่อไป เพราะยังมีคนที่ต้องการโอกาสตรงนี้อีกมากนัก

เรียนรามทำงานไปด้วยได้ไหม

นักศึกษาที่เรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ทำงานไปด้วยและเรียนไปด้วย จึงไม่มีเวลาเข้าชั้นเรียน ดังนั้น จึงต้องมีความขยันหมั่นเพียร อดทนมากกว่านักศึกษาทั่วไป จะต้องมีการแบ่งเวลาในการอ่านหนังสือทั้งหนังสือเรียนของมหาวิทยาลัย หรือหาชีทสรุป แนวข้อสอบต่าง ๆ มาอ่าน หรือมาติดต่อขอยืมสื่อการเรียนดิวีดีคำบรรยาย ...

ม.รามคําแหง เรียนแบบไหน

มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็น มหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา หรือ Open Admission University (เป็นการผสมผสานกันระหว่างการจัดการเรียนการสอนแบบชั้นเรียนบรรยายกับการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ โดยไม่จำกัดจำนวนรับของผู้เรียน หรือเป็นกึ่งมหาวิทยาลัยปิดกับกึ่งมหาวิทยาลัยเปิด) สำหรับในระดับปริญญาตรีสามารถเรียนรู้ด้วย ...

เรียน ม.ราม ต้องเข้าเรียนไหม

4.ไม่บังคับเข้าชั้นเรียนครับ สามารถอ่านหนังสือเอง หรือดูคำบรรยายย้อนหลังได้ครับ 5.แรกเข้าประมาณ 4,000 บาท 6.เทียบโอนจากสถาบันอื่นมา ม.ราม หน่วยกิตละ 100 บาท ส่วนจะโอนได้กี่หน่วยกิตขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ของคณะ นั้นๆ ครับ

เรียนรามยังไงให้จบเร็ว

4 เทคนิคเรียนปริญญาตรีรามให้จบเร็วก่อน 4 ปี.
ศึกษารายละเอียดหลักสูตร ... .
เทียบโอนวิชา ... .
ลงเต็มหน่วยกิตทุกเทอม ... .
ต้องไม่สอบตก.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้