คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน 2565

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. ... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานศาลยุติธรรมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่ สคบ. เสนอ เป็นการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการ (มติคณะรัฐมนตรี 21 พฤศจิกายน 2560) เพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น โดยเป็นการกำหนดความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อความชำรุดบกพร่องของการขายหรือให้เช่าซื้อสินค้าบางประเภท ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล และสินค้าอื่นที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคในกรณีที่สินค้าเกิดความชำรุดบกพร่องให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น โดย สคบ. ได้นำร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ไปดำเนินการตามแนวทางการจัดทำและการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมกับการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายให้ประชาชนได้รับทราบแล้ว

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

1. กำหนดบทนิยามตามร่างพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่

1.1 ?ผู้ประกอบธุรกิจ? หมายความว่า

(1) ผู้ผลิตเพื่อขาย หรือผู้ว่าจ้างให้ผลิตเพื่อขาย

(2) ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย

(3) ผู้ขายหรือผู้ให้เช่าซื้อสินค้าที่ไม่สามารถระบุตัวผู้ผลิตผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้

1.2 ?ผู้บริโภค? หมายความว่า ผู้ซื้อหรือผู้เช่าซื้อสินค้าจากผู้ประกอบธุรกิจอันมิใช่เพื่อการแสวงหาประโยชน์โดยตรงในทางการค้าหรือการประกอบธุรกิจ

2. กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับกับสัญญาซื้อขายหรือสัญญาเช่าซื้อระหว่างผู้ประกอบธุรกิจและผู้บริโภคในสินค้า ดังนี้

2.1 เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นเครื่องใช้หรืออุปกรณ์ที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในการทำงาน

2.2 รถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

2.3 สินค้าอื่นที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

3. กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้

3.1 การขายหรือให้เช่าซื้อสินค้าใช้แล้ว

3.2 การขายหรือให้เช่าซื้อสินค้าตามสภาพ ซึ่งผู้ขายหรือผู้ให้เช่าซื้อระบุไว้โดยชัดแจ้งว่าเป็นการขายหรือให้เช่าซื้อสินค้าตามสภาพ

3.3 การขายทอดตลาด

4. กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้าอันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่

4.1 ประโยชน์ของสินค้าที่มุ่งหมายโดยสัญญา

4.2 ประโยชน์อันจะมุ่งใช้สินค้าเป็นปกติ

4.3 ประโยชน์อันจะมุ่งใช้สินค้าซึ่งผู้บริโภครู้จากข้อมูลของสินค้าที่ผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้แทนของผู้ประกอบธุรกิจได้เผยแพร่ให้สาธารณชนทราบ ซึ่งมีอยู่ในเวลาส่งมอบและปรากฏขึ้นภายในสองปีนับแต่วันส่งมอบสินค้าไม่ว่าผู้ประกอบธุรกิจจะรู้ถึงความชำรุดบกพร่องของสินค้าหรือไม่ก็ตาม โดยในกรณีที่สินค้าชำรุดบกพร่องภายในหนึ่งปี นับแต่วันส่งมอบสินค้า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสินค้านั้นชำรุดบกพร่องในเวลาส่งมอบสินค้า นอกจากนี้ ผู้ประกอบธุรกิจยังต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ติดตั้งหรือประกอบสินค้านั้น หรือในกรณีที่ผู้บริโภคเป็นผู้ติดตั้งหรือประกอบสินค้าตามคู่มือที่ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้แต่คู่มือนั้นกำหนดวิธีติดตั้งหรือประกอบสินค้าโดยไม่ถูกต้องหรือครบถ้วน

5. กำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องในกรณีดังต่อไปนี้

5.1 ผู้บริโภคได้รู้อยู่แล้วแต่ในเวลาซื้อขายว่าสินค้านั้นมีความชำรุดบกพร่อง

5.2 ผู้บริโภคได้ดัดแปลงสินค้าโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้ประกอบธุรกิจอันเป็นเหตุให้ เกิดความชำรุดบกพร่องดังกล่าว

5.3 ผู้บริโภคไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่จำเป็นและสมควรเพื่อการบำรุงรักษาสินค้าที่ระบุในคู่มือการใช้งาน อันเป็นเหตุให้เกิดความชำรุดบกพร่องดังกล่าว

6. กำหนดสิทธิของผู้บริโภคต่อผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่อง ดังนี้

6.1 เรียกให้ผู้ประกอบธุรกิจซ่อมแซมสินค้า

6.2 เรียกให้ผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนสินค้า

6.3 ขอลดราคาสินค้า

6.4 เลิกสัญญา

โดยการใช้สิทธิดังกล่าวไม่กระทบต่อสิทธิในการเรียกค่าเสียหายอื่นจากผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัตินี้ ยังกำหนดรายละเอียดและขั้นตอนการใช้สิทธิดังกล่าวไว้ด้วย 7. กำหนดให้ข้อตกลงที่ได้ตกลงไว้ล่วงหน้าก่อนที่ผู้บริโภคจะพบว่าสินค้านั้นชำรุดบกพร่อง ซึ่งแตกต่างจากบทบัญญัติในร่างพระราชบัญญัตินี้และเป็นผลเสียหรือภาระแก่ผู้บริโภคให้ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ

8. กำหนดให้สิทธิของผู้บริโภคตามร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นอันขาดอายุความเมื่อพ้นสองปีนับแต่เวลาที่ผู้บริโภคได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องของสินค้าหรือเมื่อผู้ประกอบธุรกิจได้ปฏิเสธที่จะดำเนินการตามที่ผู้บริโภคร้องขอ ทั้งนี้ ในระหว่างที่ผู้ประกอบธุรกิจยอมรับที่จะซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสินค้าให้อายุความสะดุดหยุดลง

9. กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบต่อการที่ผู้บริโภคจะเรียกให้ผู้ประกอบธุรกิจรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้าโดยอาศัยสิทธิตามกฎหมายอื่น

10. กำหนดให้สินค้าใดที่ได้ขายหรือให้เช่าซื้อแก่ผู้บริโภคก่อนวันที่ร่างพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ไม่อยู่ภายใต้บังคับของร่างพระราชบัญญัตินี้

2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา รวม 4 ฉบับ

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้

1. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาทบทวนร่างพระราชบัญญัติ การอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา ( ร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ) รวม 4 ฉบับ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ให้สอดคล้องกับผลการประชุมหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปรับปรุงแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ให้สอดคล้องกับผลการพิจารณาทบทวนของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตามข้อ 1. แล้วส่งไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป

ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาในสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาตามความต้องการของประเทศ และด้านการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ พัฒนาการเรียนการสอน การวิจัย และการสร้างนวัตกรรมร่วมกับนักวิชาการ สถาบันวิชาการ และองค์กรชั้นนำของโลก ส่งเสริมการเชื่อมโยงการเรียนการสอน การวิจัย และการสร้างนวัตกรรมกับสถานประกอบการทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมทั้งสนับสนุนการใช้ความรู้ในการพัฒนาสมรรถนะของชุมชนและสังคม โดยกำหนดให้มีสำนักงานบริหารกองทุนซึ่งมีฐานะเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินขึ้นในสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อทำหน้าที่บริหารกองทุนดังกล่าว

โดยที่กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) ยังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในประเด็นเกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบของสำนักงานบริหารกองทุน คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกองทุน การกำหนดระยะเวลาจัดทำรายงานการเงิน และการเสนอรายงานการเงินตาม ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ควรสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 ซึ่ง อว. ได้เห็นชอบตามข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) ด้วย รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี จึงได้มีคำสั่งให้ อว. รับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไปหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อยุติตามประเด็นดังกล่าว ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่ง อว. ได้ดำเนินการตามคำสั่งของรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) แล้ว โดยได้ประชุมหารือร่วมกับผู้แทนของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและกระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 และที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้มีการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในประเด็นการกำหนดรูปแบบของสำนักงานบริหารกองทุน ซึ่งไม่มีลักษณะเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (SDU) การกำหนดระยะเวลาจัดทำรายงานการเงินและการเสนอรายงานการเงิน ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ...

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทเชิงพาณิชย์และเครื่องทอดน้ำมันท่วมเชิงพาณิชย์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วและให้ดำเนินการต่อไปได้

ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ อก. เสนอ เป็นการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาลและผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน (มาตรฐานบังคับ) เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาการและมาตรฐานระหว่างประเทศที่ใช้ในปัจจุบันอันจะทำให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีคุณภาพ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดแก่ประชาชน ซึ่ง อก. ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการล่วงหน้าด้วยแล้ว โดยได้แก้ไขชื่อ ร่างกฎกระทรวงฯ เป็น ?ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทเชิงพาณิชย์และเครื่องทอดน้ำมันท่วมเชิงพาณิชย์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....? เพื่อให้เกิดความชัดเจนและกระชับยิ่งขึ้น

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

1. กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 60335 เล่ม 2 (37) - 2564

2. กำหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ผลกระทบ

1. ผู้ซึ่งได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมาย

ผู้ทำ ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200

2. ผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่บุคคล

(1) ด้านเศรษฐกิจ เป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ในประเทศซึ่งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวจะมีคุณภาพ มีความปลอดภัย และทันสมัย

(2) ด้านสังคม ทำให้ผู้บริโภคได้ใช้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย และทันสมัย

3. สิทธิเสรีภาพของบุคคลที่ต้องถูกจำกัด

ผู้ทำหรือผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุด 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามมาตรฐานที่กำหนดใหม่ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 และผู้จำหน่ายจะต้องจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวที่ได้รับอนุญาต และเป็นไปตามมาตรฐาน

4. ประโยชน์ที่ประชาชนและสังคมจะได้รับ

เป็นการส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ทำและผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าว โดยทำให้ประชาชนได้ใช้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยและทันสมัย

4. เรื่อง รายงานการดำเนินการตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ผลการดำเนินการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และการคงสถานะ วช. เป็นส่วนราชการ เพื่อขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญตามแนวทางการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมต่อไป

สาระสำคัญของเรื่อง

อว. รายงานว่า

1. ปัจจุบัน วช. เป็นส่วนราชการภายใน อว. ตามมาตรา 8 (4) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 โดยเมื่อครบกำหนดสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ครบกำหนดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2565) ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม1 ประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการตามหน้าที่และอำนาจของ วช. และในกรณีที่เห็นว่า ผลการปฏิบัติราชการดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงโครงสร้างและกลไกในการบริหารเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ให้มีอำนาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้ง วช. เป็นองค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชนโดยเสนอพร้อมร่างพระราชกฤษฎีกาด้วย (ตามมาตรา 37) 2. คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ได้มีมติเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 เห็นชอบผลการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการตามหน้าที่และอำนาจของ วช. และข้อเสนอของคณะกรรมการกำกับ การประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช.2 พร้อมทั้งมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ (สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) จัดทำแผนและระยะเวลาการปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กรของ วช. ทั้งนี้ ได้เสนอผลการประเมินและข้อเสนอดังกล่าวข้างต้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2565 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

2.1 ผลการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช.

15. เรื่อง ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 - 2566 16. เรื่อง ขออนุมัติใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็น ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด และการเลือกสมาชิกสภา เกษตรกรแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ต่างประเทศ 17. เรื่อง กรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อม และการพัฒนา สมัยที่ 7 (The Seventh Session of the Committee on Environment and Development: CED 7) ระดับรัฐมนตรี 18. เรื่อง การขอความเห็นชอบให้ไทยร่วมรับรองข้อมติเรื่อง ?Investing in the Core Structure of IOM? ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานและการ ยืนยันข้อสั่งการของคณะรัฐมนตรีเรื่องการจ่ายค่าบำรุงสมาชิกองค์การระหว่าง ประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน 19. เรื่อง เอกสารผนวกท้ายตราสารเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายการติดตาม ตรวจสอบการตกสะสมของกรดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (EANET) (Text for the Supplementary Document (Annex) to the Instrument for Strengthening the EANET) 20. เรื่อง ขออนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับกลุ่ม หุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27 21. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย0

? วัฒนธรรมการทำงานในภาพรวมเป็นการสั่งการจากผู้บริหารค่อนข้างมากและขาดกระบวนการที่ชัดเจนในการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชาอย่างเป็นระบบ ? ผู้บริหารมีความเข้าใจนโยบายและตอบสนองต่อพลวัตของระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้เป็นอย่างดีแต่ในระดับบุคลากรยังมีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจนโยบายและทิศทางการเปลี่ยนแปลงในภาพใหญ่ของระบบ รวมถึงช่องทางและโอกาสที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับบุคลากรของหน่วยงานระดับนโยบายและหน่วยบริหารและจัดการทุนเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาความเข้าใจในงานร่วมกัน 4. การประสานและร่วมมือกับ หน่วยงานระดับต่าง ๆ (Coordination & Collaboration)

? ผู้บริหารมีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานนโยบายและหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

15. เรื่อง ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 - 2566 16. เรื่อง ขออนุมัติใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็น ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด และการเลือกสมาชิกสภา เกษตรกรแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ต่างประเทศ 17. เรื่อง กรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อม และการพัฒนา สมัยที่ 7 (The Seventh Session of the Committee on Environment and Development: CED 7) ระดับรัฐมนตรี 18. เรื่อง การขอความเห็นชอบให้ไทยร่วมรับรองข้อมติเรื่อง ?Investing in the Core Structure of IOM? ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานและการ ยืนยันข้อสั่งการของคณะรัฐมนตรีเรื่องการจ่ายค่าบำรุงสมาชิกองค์การระหว่าง ประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน 19. เรื่อง เอกสารผนวกท้ายตราสารเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายการติดตาม ตรวจสอบการตกสะสมของกรดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (EANET) (Text for the Supplementary Document (Annex) to the Instrument for Strengthening the EANET) 20. เรื่อง ขออนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับกลุ่ม หุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27 21. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย1

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ดังนี้

1. ความคืบหน้าการดำเนินการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG

2. การขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG จากระยะเวลา 3 เดือน (1 กรกฎาคม - 30 กันยายน 2565) เป็นระยะเวลา 9 เดือน (1 กรกฎาคม 2565 - 31 มีนาคม 2566)

สาระสำคัญของเรื่อง

อว. รายงานว่า

1. โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG เป็นการต่อยอดการดำเนินการจาก ?โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ? (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)1 โดยจะใช้ข้อมูลจาก Thailand Community Big Data (TCD)2 ที่ได้ดำเนินการมาใช้ในการบ่งบอกถึงศักยภาพและความพร้อมของทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายทางวัฒนธรรมของพื้นที่ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนารายพื้นที่ ด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG รวมถึงการเพิ่มและรักษาระดับการจ้างงานบัณฑิตและประชาชนในพื้นที่ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

15. เรื่อง ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 - 2566 16. เรื่อง ขออนุมัติใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็น ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด และการเลือกสมาชิกสภา เกษตรกรแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ต่างประเทศ 17. เรื่อง กรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อม และการพัฒนา สมัยที่ 7 (The Seventh Session of the Committee on Environment and Development: CED 7) ระดับรัฐมนตรี 18. เรื่อง การขอความเห็นชอบให้ไทยร่วมรับรองข้อมติเรื่อง ?Investing in the Core Structure of IOM? ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานและการ ยืนยันข้อสั่งการของคณะรัฐมนตรีเรื่องการจ่ายค่าบำรุงสมาชิกองค์การระหว่าง ประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน 19. เรื่อง เอกสารผนวกท้ายตราสารเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายการติดตาม ตรวจสอบการตกสะสมของกรดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (EANET) (Text for the Supplementary Document (Annex) to the Instrument for Strengthening the EANET) 20. เรื่อง ขออนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับกลุ่ม หุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27 21. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย2

1.2 กลุ่มเป้าหมาย : ได้แก่ บัณฑิตใหม่ ไม่เกิน 5 ปี ผู้ที่ถูกเลิกจ้าง/ประชาชนในพื้นที่ ครอบคลุม 7,435 ตำบล ทั่วประเทศ (ตำบลพื้นที่ที่เคยดำเนินการ ?โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ? จำนวน 3,000 ตำบล และตำบลพื้นที่ใหม่ จำนวน 4,435 ตำบล)

15. เรื่อง ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 - 2566 16. เรื่อง ขออนุมัติใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็น ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด และการเลือกสมาชิกสภา เกษตรกรแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ต่างประเทศ 17. เรื่อง กรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อม และการพัฒนา สมัยที่ 7 (The Seventh Session of the Committee on Environment and Development: CED 7) ระดับรัฐมนตรี 18. เรื่อง การขอความเห็นชอบให้ไทยร่วมรับรองข้อมติเรื่อง ?Investing in the Core Structure of IOM? ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานและการ ยืนยันข้อสั่งการของคณะรัฐมนตรีเรื่องการจ่ายค่าบำรุงสมาชิกองค์การระหว่าง ประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน 19. เรื่อง เอกสารผนวกท้ายตราสารเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายการติดตาม ตรวจสอบการตกสะสมของกรดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (EANET) (Text for the Supplementary Document (Annex) to the Instrument for Strengthening the EANET) 20. เรื่อง ขออนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับกลุ่ม หุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27 21. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย3

1.4 กิจกรรมหลัก

15. เรื่อง ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 - 2566 16. เรื่อง ขออนุมัติใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็น ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด และการเลือกสมาชิกสภา เกษตรกรแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ต่างประเทศ 17. เรื่อง กรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อม และการพัฒนา สมัยที่ 7 (The Seventh Session of the Committee on Environment and Development: CED 7) ระดับรัฐมนตรี 18. เรื่อง การขอความเห็นชอบให้ไทยร่วมรับรองข้อมติเรื่อง ?Investing in the Core Structure of IOM? ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานและการ ยืนยันข้อสั่งการของคณะรัฐมนตรีเรื่องการจ่ายค่าบำรุงสมาชิกองค์การระหว่าง ประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน 19. เรื่อง เอกสารผนวกท้ายตราสารเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายการติดตาม ตรวจสอบการตกสะสมของกรดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (EANET) (Text for the Supplementary Document (Annex) to the Instrument for Strengthening the EANET) 20. เรื่อง ขออนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับกลุ่ม หุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27 21. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย4

1.5 การบริหารงบประมาณ :

15. เรื่อง ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 - 2566 16. เรื่อง ขออนุมัติใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็น ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด และการเลือกสมาชิกสภา เกษตรกรแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ต่างประเทศ 17. เรื่อง กรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อม และการพัฒนา สมัยที่ 7 (The Seventh Session of the Committee on Environment and Development: CED 7) ระดับรัฐมนตรี 18. เรื่อง การขอความเห็นชอบให้ไทยร่วมรับรองข้อมติเรื่อง ?Investing in the Core Structure of IOM? ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานและการ ยืนยันข้อสั่งการของคณะรัฐมนตรีเรื่องการจ่ายค่าบำรุงสมาชิกองค์การระหว่าง ประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน 19. เรื่อง เอกสารผนวกท้ายตราสารเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายการติดตาม ตรวจสอบการตกสะสมของกรดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (EANET) (Text for the Supplementary Document (Annex) to the Instrument for Strengthening the EANET) 20. เรื่อง ขออนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับกลุ่ม หุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27 21. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย5

(3) ค่าบริหารจัดการและกิจกรรมส่วนกลาง รวมทั้งสิ้น 139.66 ล้านบาท เช่น (1) การดำเนินการจัดทำ TCD และการจัดทำการวิเคราะห์ข้อมูล [ต่อยอดจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ครอบคลุมพื้นที่ 7,435 ตำบลทั่วประเทศ] จำนวน 10 ล้านบาท (2) การสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาในฐานหน่วยดำเนินงานระดับจังหวัด จำนวน 10 ล้านบาท และ (3) การพัฒนา Platform เพื่อผลักดันผลที่ได้รับจากการดำเนินกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG สู่การพัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการผลักดันสินค้าและบริการออกสู่ตลาดผ่านช่องทางการจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับตำบล (U2T Market Place Platform) จำนวน 70 ล้านบาท

2. ผลการดำเนินการ

2.1 ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 64,428 คน คิดเป็นร้อยละ 94.26 จากเป้าหมาย 68,350 คน โดยแบ่งเป็นบัณฑิตจบใหม่ จำนวน 32,420 คน และประชาชน จำนวน 32,008 คน

คณะรัฐมนตรีประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

คณะรัฐมนตรีปัจจุบัน.

รองนายกรัฐมนตรี 2565 มีใครบ้าง

รายชื่อรองนายกรัฐมนตรีไทย.
อนุทิน ชาญวีรกูล.
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์.
ดอน ปรมัตถ์วินัย.
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์.

พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชาอยู่พรรคใด

พรรครวมไทยสร้างชาติประยุทธ์ จันทร์โอชา / พรรคnull

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้