วัฒนธรรม ประเทศอินโดนีเซีย

Item

หัวข้อวิทยานิพนธ์

th-th ชุมชนวัฒนธรรมโกตาเกอเดะ (Kotagede) จังหวัดยอร์กยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย: การดำรงอยู่ ปรับเปลี่ยน และประกอบสร้างอัตลักษณ์ของชาวชวา เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

รายละเอียด

th-th ภาคนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปีการศึกษา 2559

ชื่อผู้เขียน

th-th นางสาวเชาวรี ชิ้นปิ่นเกลียว

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

ศาสตราจารย์ ดร. ทรงชัย ทองปาน

บทคัดย่อ

th-th การศึกษาเรื่อง ชุมชนวัฒนธรรมโกตาเกอเดะ (Kotagede) จังหวัดยอร์กยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย: การดำรงอยู่ ปรับเปลี่ยน และประกอบสร้างอัตลักษณ์ของชาวชวา เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาบริบททางประวัติศาสตร์ สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประชากรในโกตาเกอเดะ จังหวัดยอร์กยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย (2) เพื่อศึกษาบริบท รูปแบบ และที่มาของการท่องเที่ยวในโกตาเกอเดะ จังหวัด ยอร์กยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และ(3) เพื่อศึกษาการดำรงอยู่ การปรับเปลี่ยน และ การประกอบสร้างอัตลักษณ์ของชาวชวาในโกตาเกอเดะ จังหวัดยอร์กยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซียผ่านบริบทของการท่องเที่ยว โดยมีแนวคิดที่ใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ในครั้งนี้ ได้แก่ แนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ แนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ชุมชน แนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ แนวคิดเรื่อง การธำรงชาติพันธุ์ แนวคิดเรื่องการท่องเที่ยว และแนวคิดเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งอาศัยการรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วมและ ไม่มีส่วนร่วม ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึก รวมทั้งข้อมูลจากหนังสือเอกสาร งานวิจัย เว็บไซต์ โบชัวร์ และป้ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโกตาเกอเดะ จังหวัดยอร์กยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

ผลการศึกษาบริบททางประวัติศาสตร์ของชุมชนวัฒนธรรมโกตาเกอเดะ จังหวัด ยอร์กยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย สามารถแบ่งออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ ช่วงแรกเป็นการเข้ามาของศาสนาอิสลามและการตั้งราชอาณาจักรมาตาราม ช่วงที่สองเป็นการกําเนิดโกตาเกอเดะและสถาปัตยกรรมตามรูปแบบปรัชญาชวา ช่วงที่สามเป็นการย้ายเมืองหลวงจากโกตาเกอเดะสู่สุราการ์ตา และช่วงที่สี่โกตาเกอเดะในปัจจุบัน โดยโกตาเกอเดะประกอบด้วยประชากรจำนวน 33,335 คน ซึ่งส่วนมากเป็นประชากรของกลุ่มชาติพันธุ์ชวา จึงมีสภาพสังคมเป็นแบบชนบท เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และนับถือศาสนาอิสลามเป็นหลัก ในขณะเดียวกันก็ยังคงยึดมั่นในพิธีกรรมความเชื่อของศาสนาผี พราหมณ์ ฮินดู และพุทธ ซึ่งเป็นเหตุมาจากการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมดั้งเดิมของชวากับอารยธรรมของอินเดียและตะวันตกจากเจ้าอาณานิคมดัชต์กันอย่างลงตัว จนกระทั่งเกิดเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ชวาโกตาเกอเดะ ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรม ภาษา ศาสนา เครื่องแต่งกาย อาหาร ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และเทศกาล ส่วนสภาพเศรษฐกิจของอำเภอโกตาเกอเดะมีหัตถกรรมเครื่องเงินเป็นรายได้หลัก แต่ในปัจจุบัน “ธุรกิจการท่องเที่ยว” ได้เข้ามาสร้างรายได้มูลค่ามหาศาลให้แก่ประชาชน อย่างไรก็ตามโกตาเกอเดะถูกปกครองตามนโยบายของภาครัฐบาลภายใต้การดูแลของเขตการปกครองพิเศษจังหวัดยอร์กยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

นอกจากนี้การท่องเที่ยวของโกตาเกอเดะเป็นการท่องเที่ยวในรูปแบบผสมผสานที่ถือกําเนิดขึ้นโดยประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ชวาที่มีชื่อว่า Ibu Shinta Noor Kumala ในปีค.ศ.1998 และประสบความสําเร็จอย่างมากในปีค.ศ.2010 จนได้มีการจัดตั้งองค์กรเจอลาจาฮ์ ปูสากา โกตาเกอเดะ (Jelajah Pusaka Kotagede) ซึ่งเป็นองค์กรการท่องเที่ยวเพื่อชุมชน โดยประกอบธุรกิจนําเที่ยวร่วมกับประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ชวาของอำเภอโกตาเกอเดะผ่านการใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นจุดขายเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวอินโดนีเซียและชาวต่างชาติ

ทั้งนี้ “การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม” ถือเป็นกลไกที่สำคัญซึ่งก่อให้เกิดการดำรงอยู่ของ อัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ชวาโกตาเกอเดะ อันประกอบไปด้วยสถาปัตยกรรมและอาหาร แต่ในขณะเดียวกันการท่องเที่ยวก็เป็นเหตุให้อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ชวาบางอย่างต้องปรับเปลี่ยนไปเป็นธุรกิจประกอบรายการนำเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการรำชวา ผ้าบาติก และเครื่องเงิน ตลอดจนการปรับเปลี่ยนภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันจากชวาหรืออินโดนีเซียมาเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อสื่อสารกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มากไปกว่านั้นประชากรของโกตาเกอเดะยังต้องประกอบสร้างอัตลักษณ์บางอย่างขึ้นมาใหม่ ได้แก่ ชุดประจำชาติพันธุ์ชวา โรงแรมที่พักในรูปแบบโฮมสเตย์ สถานที่ท่องเที่ยวแบบสตรีทอาร์ต และเทศกาลต่าง ๆ ของอำเภอโกตาเกอเดะ เพื่อให้สอดรับกับกระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวอย่างครบถ้วน ด้วยเหตุนี้เอง อัตลักษณ์บางอย่างจึงต้องถูกปรับเปลี่ยนและประกอบสร้างขึ้นใหม่ แต่อัตลักษณ์บางก็ยังถูกดำรง อัตลักษณ์ไว้ รวมถึงยังได้เผยแพร่อัตลักษณ์ทางกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเองให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณะชนทั่วโลก โดยการสอดแทรกข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา ความเชื่อ และสภาพสังคม ผ่านธุรกิจท่องเที่ยวและวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ชวาโกตาเกอเดะ ซึ่งทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่าอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ชวาโกตาเกอะเดะมีการเลื่อนไหลและปรับเปลี่ยน ไปตามกระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เข้ามาปฏิสัมพันธ์กับชุมชนวัฒนธรรมโกตาเกอเดะ จังหวัด ยอร์กยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

ปีที่เผยแพร่

ระดับการศึกษา

ชื่อปริญญา

สาขาวิชา

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา

ปีการศึกษา

คำสำคัญ

th-th โกตาเกอเดะ, อินโดนีเซีย, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

en-us Kotagede

ตีพิมพ์

Bangkok : Thammasat University

ประเภทข้อมูล

สิทธิ์ในการใช้งาน

ลิขสิทธิ์

  • Email
  • Get embed code

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้