ต้นทุน ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอ ลักษณะปัญหาต้นทุนในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในภาพรวม ในสภาวการณ์ที่มีการแข่งขันกันอย่างสูง และเสนอแนวทางจัดการต้นทุนในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยทำการวิเคราะห์วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และสรุปสาระสำคัญเพื่อเป็นแนวทางในการวิจัยต่อไป จากการศึกษาพบว่าลักษณะปัญหาต้นทุนในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างดังนี้ 1) การทำงานซ้ำซ้อน การจัดการระบบเอกสารในองค์การทักษะด้านแรงงานก่อสร้าง ประสบการณ์ในการปฎิบัติงานและ การประสานงาน ข้อเสนอแนะสำหรับ 2) เสนอแนวทางการจัดการต้นทุนในธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีเพื่อการปฎิบัติงาน ระบบควบคุมต้นทุน การเพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงาน การบริหารต้นทุนด้านวัสดุ การบริหารเวลา การบริหารต้นทุนด้านคุณภาพ การบริหารต้นทุนด้านการแข่งขัน เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันต่อไป

ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2563 ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเติบโตเล็กน้อย สะท้อนจากการลงทุนด้านการก่อสร้างมีมูลค่า 1.04 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.9% YoY ขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2562 ที่เติบโต 2.7% ปัจจัยหนุนมาจากการลงทุนก่อสร้างภาครัฐ (สัดส่วน 56.5% ของมูลค่าการลงทุนก่อสร้างทั้งหมด) โดยเฉพาะการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ต่อเนื่อง ผลจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาล ขณะที่การลงทุนก่อสร้างภาคเอกชนหดตัวตามภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจ ผลจากวิกฤต COVID-19 และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดทั่วประเทศ โดยการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงจังหวัดหลักในภูมิภาคหดตัวรุนแรง จากการชะลอการเปิดโครงการใหม่ของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สอดคล้องกับกำลังซื้อผู้บริโภคที่ลดลงและความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน

งานก่อสร้างภาครัฐมีมูลค่า 6.08 แสนล้านบาท ขยายตัว 5.6% YoY ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2563 (ภาพที่ 6) ปัจจัยสนับสนุนจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาล รายละเอียดมีดังนี้
 
 
  • งานก่อสร้างด้านโครงสร้างพื้นฐาน (สัดส่วน 82.3% ของมูลค่าการก่อสร้างภาครัฐทั้งหมด) ประกอบด้วย
    • โครงการก่อสร้างของรัฐบาล ที่สำคัญได้แก่ (1) กระทรวงคมนาคมในแผนบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ ส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดใหญ่ต่อเนื่อง เช่น รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) โดยมีความคืบหน้างานก่อสร้าง 64.2%  56.3% และ 57.9% ตามลำดับ รวมทั้งรถไฟทางคู่ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา คืบหน้าประมาณ 50.0% (รายงานติดตามผลการดำเนินโครงการของภาครัฐ สิงหาคม 2563) และ (2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในแผนงานการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านชลประทาน มีการขยายโครงการก่อสร้างครอบคลุมในหลายพื้นที่จากผลของภาวะภัยแล้งในช่วงที่ผ่านมา
    • โครงการก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่เป็นโครงการต่อเนื่อง เช่น โครงการก่อสร้างระบบสายส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โครงการก่อสร้างอุปกรณ์โครงข่ายของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โครงการก่อสร้างระบบท่อของการประปานครหลวง เป็นต้น
  • งานก่อสร้างประเภทอื่นๆ (สัดส่วน 17.7%) ได้แก่ การก่อสร้างที่พักอาศัยและอาคารของหน่วยงานภาครัฐ หดตัว 36.3% และ 11.5% YoY ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นโครงการก่อสร้างของกลุ่มผู้รับเหมาขนาดกลาง-เล็ก ซึ่งหลายรายประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและขาดแคลนแรงงาน ผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้การก่อสร้างขาดความต่อเนื่อง
 


งานก่อสร้างภาคเอกชนมีมูลค่า 4.310 แสนล้านบาท หดตัว 2.9% YoY ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2563 (ภาพที่ 7) ผลจากการหดตัวของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารเพื่อการพาณิชย์
 
 
  • งานก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัย (สัดส่วน 53.1% ของมูลค่าการก่อสร้างภาคเอกชนทั้งหมด) มูลค่าการก่อสร้างหดตัว 6.8% YoY สอดคล้องกับจำนวนโครงการที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และ 6 จังหวัดหลักภูมิภาค (เชียงใหม่ ชลบุรี ระยอง นครราชสีมา ขอนแก่น และภูเก็ต) ทั้งปี 2563 หดตัว 41.6% และ 70.3 % ตามลำดับ (ภาพที่ 8) เนื่องจากผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชะลอการเปิดโครงการใหม่ทั้งโครงการแนวราบและคอนโดมิเนียม โดยหันไปเน้นการระบายสต็อกเพื่อรักษาสภาพคล่องและกระแสเงินสด ผ่านกลยุทธ์การขายหลายรูปแบบ อาทิ การให้ส่วนลดมากกว่าปกติ การปล่อยเช่า และการให้อยู่ฟรี 1-2 ปี เป็นต้น ขณะเดียวกันกำลังซื้อผู้บริโภคซบเซารุนแรงตามภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ อีกทั้งสถาบันการเงินระมัดระวังในการให้สินเชื่อ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับในอดีต
 
  • งานก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย (สัดส่วน 28.7%) มูลค่าก่อสร้างหดตัว 3.1% YoY ประกอบด้วย การก่อสร้างหมวดอาคารเพื่อการพาณิชย์ การก่อสร้างในหมวดการบริการและขนส่ง และการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม โดยภาวะการก่อสร้างซบเซาตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการลงทุน ผลจากวิกฤต COVID-19 และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด อาทิ มาตรการปิดเมือง (Lockdown) มาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social distancing)
  • งานก่อสร้างประเภทอื่นๆ (สัดส่วน 18.2%) ขยายตัว 10.9% YoY ส่วนใหญ่เป็นงานก่อสร้างเชิงโครงสร้างที่ไม่ใช่อาคารในพื้นที่ของเอกชน ซึ่งมักจะอยู่ในพื้นที่ชุมชนที่กำลังขยายตัวตามความเป็นเมือง อาทิ สะพาน และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ

ช่วงที่เหลือของปี 2563 คาดว่าการลงทุนก่อสร้างภาครัฐจะขยายตัวต่อเนื่อง ตามการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณสำหรับโครงการรถไฟฟ้าและรถไฟทางคู่ รวมถึงโครงการในระดับพื้นที่ได้แก่ การขยาย ซ่อมแซม และปรับปรุงถนนกว่า 2,000 โครงการทั่วประเทศ ส่วนการลงทุนก่อสร้างภาคเอกชนคาดว่าจะยังซบเซา เนื่องจากผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งเพื่อขายและให้เช่ามีแนวโน้มจะยังชะลอโครงการใหม่เพื่อเร่งระบายสต๊อกที่ยังสูง สะท้อนจากจำนวนพื้นที่ขออนุญาตก่อสร้าง (ดัชนีชี้นำธุรกิจก่อสร้างภาคเอกชน) ช่วง 9 เดือนแรกปี 2563 หดตัวในทุกหมวด ทั้งที่อยู่อาศัย ได้แก่ แนวราบ (-2.1% YoY) แนวสูง (-70.6%) และหมวดที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย คือ อาคารพาณิชย์ (-29.6% YoY) โรงงานอุตสาหกรรม (-29.7%) อาคารสำนักงาน (-67.4%) และโรงแรม (-42.2%) (ภาพที่ 9  10 และ 11) ทั้งปี 2563 การลงทุนก่อสร้างโดยรวมคาดว่าจะเติบโตเพียง 1.5% (มีมูลค่าประมาณ 1.321 ล้านล้านบาท) โดยงานก่อสร้างภาครัฐเติบโต 5.0% และภาคเอกชนหดตัว 3.0% จากที่เติบโต 3.1% และ 2.1% ในปี 2562 ตามลำดับ

ราคาวัสดุก่อสร้างในปี 2563 หดตัว 1.8% ต่อเนื่องจากที่หดตัว 1.2% ในปี 2562 (ภาพที่ 12) เป็นการหดตัวทุกหมวดตามภาวะภาคก่อสร้างที่ซบเซา โดยเฉพาะเหล็ก (สัดส่วน 23% ของมูลค่าต้นทุนวัสดุก่อสร้างทั้งหมด) ราคาลดลง 7.6% มากที่สุดเมื่อเทียบกับสินค้าวัสดุก่อสร้างประเภทอื่น ด้านผลิตภัณฑ์คอนกรีต (สัดส่วน 16%) ปูนซีเมนต์ (สัดส่วน 13%) ราคาปรับลดลง 2.0% และ 0.6% ตามลำดับ

แนวโน้มอุตสาหกรรม

 

วิจัยกรุงศรีคาดว่าธุรกิจรับเหมาก่อสร้างจะเติบโตเร่งขึ้น สอดคล้องกับมูลค่าการลงทุนก่อสร้างโดยรวมที่คาดว่าจะขยายตัว 4.5-5.0% ในปี 2564 และ 5.0-5.5% ในปี 2565-2566 (ภาพที่ 13) ปัจจัยขับเคลื่อนมาจากการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridors: EEC) รวมถึงภาวะเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวจะหนุนการก่อสร้างที่อยู่อาศัย

มูลค่าการลงทุนก่อสร้างภาครัฐคาดว่าจะขยายตัว 6.0-6.5% ในปี 2564 และ 6.5-7.0% ในปี 2565-2566 ปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญจากการเร่งโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ต่อเนื่องตามแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วนฉบับล่าสุด พ.ศ. 2561 ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) มีมูลค่าการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานโดยรวมทั้งสิ้น 1.8 ล้านล้านบาท โดยโครงการสำคัญได้แก่
  • โครงการก่อสร้างที่เชื่อมโยงกับพื้นที่ EEC มีมูลค่าการลงทุนสูงที่สุด คิดเป็นสัดส่วน 38.6% ของมูลค่าการลงทุนก่อสร้างภาครัฐทั้งหมด (ภาพที่ 14) เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์หลักซึ่งโครงการขนาดใหญ่ที่เกี่ยวเนื่องส่วนใหญ่จะเริ่มทยอยก่อสร้างในปี 2564 ประกอบด้วย (1) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) โดยเฟสแรกจะเริ่มในช่วง สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา (2) โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดและแหลมฉบังเฟส 3 โดยเริ่มก่อสร้างท่าเทียบเรือและส่วนต่อขยายหลังจากถมทะเล และ (3) โครงการสนามบินอู่ตะเภา จะเริ่มก่อสร้างอาคารผู้โดยสารแห่งใหม่ โดยทั้ง 3 โครงการข้างต้นมีมูลค่าลงทุนรวมประมาณกว่า 6.0 หมื่นล้านบาทในปี 2564 จากมูลค่าลงทุนตลอดโครงการรวมทั้งสิ้นกว่า 6.8 แสนล้านบาท นอกจากนี้ รัฐบาลยังเห็นชอบแผนยกระดับบางโครงการ เช่น การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเพื่อเชื่อมโยง EEC ไปสู่ภาคใต้และประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อหนุนไทยเป็น Hub การขนส่งอาเซียน ทำให้เกิดการพัฒนาโครงการใหม่ เช่น การพัฒนาท่าเรือบก (Dry port) ซึ่งกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2566-2567 การขยายโครงข่ายคมนาคมที่เชื่อมโยงสู่ภูมิภาคอื่นๆ ในลักษณะของการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal transport)
  • โครงการก่อสร้างในพื้นที่อื่นๆ (ทั้งโครงการต่อเนื่องและโครงการใหม่ที่จะเริ่มดำเนินการในปี 2564) ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่ (สัดส่วน 29.7% ของมูลค่าการลงทุนก่อสร้างภาครัฐทั้งหมด) และโครงการรถไฟความเร็วสูง (สัดส่วน 10.1%) (ภาพที่ 14)
 
 
  • ​    โครงการเร่งด่วนในปี 2564 อาทิ   
    • โครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงของ และสายบ้านไผ่-นครพนม
    • โครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีน กรุงเทพฯ-หนองคาย (เฟสที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา กำลังก่อสร้าง  เฟสที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย เริ่มก่อสร้างปี 2565)
    • โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสีส้มตะวันตก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ) และสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) ที่จะเชื่อมต่อระบบขนส่งครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางขึ้น
  •      โครงการที่คาดว่าจะถูกผลักดันในช่วงปี 2564-2566 ได้แก่  
    • การก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงแผ่นดิน 58 ซึ่งครอบคลุมทางเลี่ยงเมืองและทางแยกต่างระดับทั่วประเทศ
    • โครงการ Motorway Rail Map (MR Map) เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูงให้ครบวงจร โดยจะนำร่อง 3 เส้นทาง ได้แก่ นครราชสีมา-หนองคาย (203 กม.) นครราชสีมา-อุบลราชธานี (301 กม.) และนครปฐม-ชะอำ (119 กม.) ภายใต้แผนการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหรือมอเตอร์เวย์ ระยะ 20  ปี พ.ศ. 2560-2579
    • ทั้งนี้ การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นโครงการ PPP โดยรูปแบบของค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างคาดว่าจะอยู่ในรูป PPP Net Cost มากกว่า PPP Gross Cost เนื่องจากเอกชนจะได้รับสิทธิในการจัดเก็บรายได้และช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานของภาครัฐ



มูลค่าการลงทุนก่อสร้างภาคเอกชนมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัว โดยจะขยายตัว 1.0-1.5% ในปี 2564  1.5-2.0% ปี 2565 และ 2.0-2.5% ปี 2566 จากปัจจัยหนุน ได้แก่
  • การเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นสร้างภาครัฐ จะเหนี่ยวนำงานก่อสร้างภาคเอกชนให้ขยายตัวตาม
  • โครงการ EEC ที่จะหนุนให้เกิดการก่อสร้างโรงงานและนิคมอุตสาหกรรม โดยมีนิคมอุตสาหกรรมใหม่จำนวน 2 แห่งที่จะก่อสร้างในปี 2564 ได้แก่ นิคมฯ โรจนะหนองใหญ่ จ.ชลบุรี (พื้นที่ 1.9 พันไร่ ก่อสร้างในปี 2564-2567) และนิคมฯ เอ็กโก จ.ระยอง (พื้นที่ 621 ไร่ ก่อสร้างปี 2564-2565) นอกจากนี้ นิคมอุตสาหกรรมเดิมมีแผนขยายการลงทุน อาทิ นิคมฯ อมตะซิตี้ จ.ระยอง เตรียมขยายพื้นที่อีก 1,000 ไร่ รองรับแนวโน้มการย้ายฐานการผลิต (Relocation) มาไทยมากขึ้น
  • โครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัย คาดว่าการเปิดโครงการใหม่จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3.0-4.0% หรือประมาณ 6.1-6.3 หมื่นยูนิตต่อปี ในช่วงปี 2564-2566 ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มเพิ่มสัดส่วนการก่อสร้างบ้านแนวราบมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ชานเมือง รองรับความต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง ส่วนการก่อสร้างคอนโดมิเนียมจะปรับดีขึ้นในบางพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ใจกลางเมืองและแนวรถไฟฟ้าบางเส้นทาง ซึ่งส่วนใหญ่จะเอื้อประโยชน์ต่อผู้รับเหมารายใหญ่ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ 10 บริษัทยังคงแผนการลงทุนพัฒนาที่อยู่อาศัย (แนวราบและคอนโดมิเนียม) ในปี 2564 มูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 2.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.4% จากปี 2563 โดยเน้นกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อระดับกลาง (Affordable segment) (ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ 25-27 มกราคม 2564)
  • โครงการก่อสร้างอาคารเพื่อการพาณิชย์ แบ่งเป็น (1) การก่อสร้างพื้นที่ค้าปลีก (Retail space) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (ภาพที่ 15) ตามทิศทางการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว และ (2) การก่อสร้างอาคารสำนักงาน (Office building) คาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของการลงทุนในภาคธุรกิจ ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างอาคารเพื่อการพาณิชย์ในปัจจุบันจะมีลักษณะเป็นโครงการ Mix-used รองรับรูปแบบการใช้ชีวิตสมัยใหม่ของสังคมเมืองมากขึ้น โดยโครงการที่มีแผนลงทุนในช่วงปี 2564-2566 ทั้งที่อยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้างและกำลังจะเริ่มก่อสร้าง มีพื้นที่รวมกันทั้งสิ้น 1 ล้านตารางเมตร (ตารางที่ 6)



แนวทางการปรับตัวของผู้รับเหมา

  • รายใหญ่ จะเน้นกลยุทธ์เชิงรุกทั้งในด้านการดำเนินงานและการลงทุน ด้านการดำเนินงานจะเน้นการลดต้นทุนและยกระดับการแข่งขันด้านราคา เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับงานจากโครงการภาครัฐและโครงการขนาดใหญ่ของภาคเอกชน โดยรายใหญ่มีความได้เปรียบจากการที่มีอำนาจการต่อรองสูงกับผู้ผลิต/ผู้ค้าวัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการหาช่องทางธุรกิจที่ต่อเนื่องจากการรับเหมาก่อสร้างเพื่อรักษาฐานรายได้และกำไร เช่น การบริหารจัดการระบบรถไฟฟ้า ด้านการลงทุนจะเน้นเพิ่มการลงทุนด้านเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีสำหรับการทดแทนแรงงาน เพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะการขาดแคลนแรงงาน รวมทั้งผลกระทบจากมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม ซึ่งคาดว่าจะยังมีต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง
  • รายกลางและรายย่อย ส่วนใหญ่เป็นการบริหารงานแบบครอบครัว มีเงินทุนจำกัด จึงมีอำนาจการต่อรองต่ำกว่า โดยจะรับเหมาช่วงจากผู้รับเหมารายใหญ่ โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ รวมถึงมองหาช่องทางเพิ่มรายได้จากงานซ่อมแซมและปรับปรุงอาคาร
 

ราคาวัสดุก่อสร้างโดยรวมคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (ภาพที่ 17) ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ผนวกกับผู้รับเหมารายใหญ่มีอำนาจต่อรองด้านราคากับผู้ผลิต/ผู้ค้าวัสดุก่อสร้าง ราคาปูนซีเมนต์และผลิตภัณฑ์คอนกรีตมีแนวโน้มขยับขึ้นได้เล็กน้อย โดยการขยับขึ้นของราคาได้แรงหนุนหลักจากปริมาณงานก่อสร้างในโครงการลงทุนภาครัฐที่ส่วนใหญ่จะเน้นการใช้วัสดุก่อสร้างประเภทปูนซีเมนต์และคอนกรีตในปริมาณมาก ขณะที่ราคาเหล็กจะยังคงหดตัวต่อเนื่อง ตามทิศทางราคาตลาดโลกจากสต็อกโลกที่ยังคงสูง รวมถึงแรงกดดันจากสินค้านำเข้าราคาถูกจากจีน
 
 

โอกาสการทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในตลาดต่างประเทศ ผู้รับเหมาของไทยมีโอกาสรับงานเพิ่มขึ้นในประเทศกลุ่ม CLMV ซึ่งมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่องรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการขยายตัวของความเป็นเมือง (Urbanization) ซึ่งรวมถึงโรงงานอุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน และที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะเวียดนาม ซึ่งกำลังมีการขยายการลงทุนทั้งโครงสร้างพื้นฐานและนิคมอุตสาหกรรมจำนวนมาก รองรับกระแสการลงทุนทางตรง (Foreign Direct Investment: FDI) ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (ตารางที่ 7) ทั้งนี้ ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Service: AFAS) ประเทศสมาชิกไม่มีข้อจำกัดในการให้ผู้รับเหมาต่างชาติเข้าสู่ธุรกิจ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขในรูปแบบการเข้าไปร่วมทุนหรือรับเหมาช่วงการให้บริการก่อสร้างกับผู้ประกับการท้องถิ่น (ที่มา: www.asean.org) อย่างไรก็ตาม โอกาสส่วนใหญ่จะจำกัดอยู่แค่เพียงผู้รับเหมารายใหญ่ เนื่องจากมีความพร้อมด้านเงินทุน เทคโนโลยี และช่องทางการลงทุนที่มาจากสายสัมพันธ์ทางธุรกิจ (Business connection) กับนักลงทุนท้องถิ่น

 

ในระยะยาว รัฐบาลไทยมีแผนความร่วมมือกับรัฐบาลกัมพูชาและเวียดนาม ในการเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจระหว่างกัน ตามแผนพัฒนาโครงการ Cambodia-Vietnam-Thailand Economic Corridor Cooperation Conference (CVTEC) ซึ่งดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561  ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของไทยและประเทศภาคี ในการกำหนดแผนพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงพื้นที่ระเบียงชายฝั่งทะเล 3 ประเทศ กับเส้นทาง The Belt and Road Initiative (BRI) ที่เริ่มจากเมืองชายฝั่งของจีน ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนก่อสร้างโครงข่ายคมนาคมระหว่างไทย กัมพูชา และเวียดนามอีกหลายโครงการในอนาคต

อย่างไรก็ตาม การเข้าไปรับงานก่อสร้างในประเทศ CLMV ผู้รับเหมาไทยอาจเผชิญปัจจัยเสี่ยงด้านกฏระเบียบในการว่าจ้างที่อาจไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล เงื่อนไขสัญญารับเหมาที่มีความไม่แน่นอน ความไม่มั่นคงด้านเสถียรภาพทางการเมือง รวมถึงการแข่งขันกับผู้รับเหมาต่างชาติรายอื่นๆ ซึ่งแนวทางในการลดความเสี่ยงข้างต้นผู้รับเหมาไทยควรหาพันธมิตรทางธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานใน CLMV อาทิ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์/ผู้รับเหมาท้องถิ่น รวมถึงบริษัทจัดหาแรงงานท้องถิ่น เพื่อให้มีช่องทางในการรับงานได้ต่อเนื่อง

ค่าแรงก่อสร้างคิดเป็นกี่ %

ในส่วนของค่าแรงงานนั้น ทั้งค่าแรงงานของกิจการและค่าแรงงานเหมาช่วงนั้น เมื่อรวมกันจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์อยู่ที่ประมาณ 35% ยกเว้นงานโรงงาน/โกดัง และงานก่อสร้างหนักที่จะมีเปอร์เซ็นต์ต้นทุนโครงการที่ประมาณ 20-25% นั่นเป็นเพราะโครงการประเภทนี้เมื่อนำค่าแรงเทียบกับต้นทุนค่าวัสดุที่ค่อนข้างสูงจะทำให้ดูมีสัดส่วนที่น้อยลงไป

งานโครงสร้างคิดเป็นกี่%

2.2 ส่วนประกอบของงานก่อสร้าง งานก่อสร้าง จะประกอบด้วยงาน หลัก ๆ อยู่5 ชนิด คือ 1) งานโครงสร้าง รับผิดชอบโดยผู้รับเหมาโครงสร้าง เป็นงานระบบหลัก โดยทั่วไปมีมูลค่าประมาณ 50 % ของมูลค่างานก่อสร้างทั้งหมด 2) งานสถาปัตย์หรืองานตกแต่งทั้งภายในและภายนอก รับผิดชอบโดย ผู้รับเหมาโครงสร้างโดยทั่วไปมีมูลค่าประมาณ 20 %ของมูลค่างาน ...

ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างกำไรกี่เปอร์เซ็นต์

การเสนอราคาที่ดีต้องไม่มากเกินไปและไม่น้อยจนเกินไป โดยทั่วๆไป ผู้รับเหมา จะมีกำไรประมาณ 10-15% ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานด้วย เพราะการตั้งราคาให้สมเหตุสมผลเป็นเรื่องสำคัญมาก ต้องพึงพอใจทั้งฝ่ายของผู้รับเหมาเองและฝ่ายของผู้ว่าจ้างด้วย เพราะการตั้งราคาต่ำจนเกินไปผู้ว่าจ้างอาจไม่มั่นใจในงานนั้นๆได้ หรือขั้นตอนต่างๆอาจจะต้อง ...

ค่าดำเนินการก่อสร้างคืออะไร

ในการที่จะทำการก่อสร้างบ้านหรือก่อสร้างโครงสร้างใดๆ นั้น ค่าก่อสร้างจะประกอบด้วยค่าวัสดุและค่าแรงงาน แต่ไม่ใช่เพียงเฉพาะค่าวัสดุและค่าแรงงานเท่านั้นที่จะทำการก่อสร้างได้ ยังต้องมีค่าดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งค่าดำเนินการก่อสร้างคือค่าใช้จ่ายในเรื่องการเดินทาง ขนส่ง ค่าบ้านพักคนงานที่ต้องสร้างหรือเช่าใกล้กับที่ก่อสร้าง ค่า ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้