แนวคิด ของการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ใน ประเด็น ทางรัฐประศาสนศาสตร์

หน่วยที่ 1 ปรัชญาและวิธีการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์

1.1 ปรัชญากับการแสวงหาความรู้ทางสังคมศาสตร์

ปรัชญาถือกำเนิดมาจากความต้องการแสวงหาภูมิปัญญาเพื่อตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ การศึกษาด้านปรัชญามีบทบาทในการวางรากฐานองค์ความรู้ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและสังคมศาสตร์ และมีส่วนสำคัญในการตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ ตั้งข้อสังเกต และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาในการแสวงหาความรู้ของสัตว์ทั้งสองด้าน

1.1.1 ปรัชญาเชิงจริยธรรมกับการแสวงหาความรู้ทางสังคมศาสตร์
ปรัชญาเชิงจริยธรรมมุ่งศึกษาความหมายของความดีความถูกต้อง อันเป็นมาตรฐานสำหรับการปฏิบัติตนของมนุษย์ โดยเน้นการเสนอแนวคิดเกี่ยวกับชีวิตที่ดี หรือหลักการที่นำไปสู่การมีชีวิตที่ดี ปรัชญาเชิงจริยธรรมในระดับปัจเจกบุคคลรู้จักกันในนามของจริยศาสตร์ นอกจากนี้นับตั้งแต่อดีตปรัชญาเชิงจริยธรรมยังมีเนื้อหาที่ครอบคลุมองค์ความรู้ทั้งทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปรัชญาเชิงจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับสังคมศาสตร์ เรียกกันว่าปรัชญาสังคมและการเมืองหรือปรัชญาการเมือง ซึ่งมีนัยที่เกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์หลายสาขา เนื่องจากเป็นประเด็นหลักที่ศึกษาคือปัญหาเกี่ยวกับวิธีการที่ควรจะนำมาใช้สำหรับจัดระเบียบสังคมเพื่อสร้างสังคมและรัฐที่ดี

1.1.2 ปรัชญาธรรมชาติและอิทธิพลที่มีต่อการแสวงหาความรู้ทางสังคมศาสตร์
ความสำเร็จของปรัชญาธรรมชาติในการพัฒนาแนวคิดทางทฤษฎีและวิธีการศึกษาปรากฏการณ์ทำให้ปรัชญาธรรมชาติมีอิทธิพลต่อปรัชญาเชิงจริยธรรมทางด้านวิธีการแสวงหาความรู้และด้านแนวคิดเชิงทฤษฎีมาโดยตลอด

1.1.3 ปรัชญาวิทยาศาสตร์ ปรัชญาสังคมศาสตร์ และกระบวนการแสวงหาความรู้
บทบาทของปรัชญาในกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้เปลี่ยนไปหลังจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและสังคมศาสตร์แยกตัวออกจากปรัชญาธรรมชาติและปรัชญาเชิงจริยธรรม ปรัชญาไม่ได้ไปเกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์ความรู้ทั้งสองด้านโดยตรงอีกต่อไป แต่กลับมามีบทบาทในการศึกษาและทำความเข้าใจความเป็นศาสตร์ คือ การนำแนวคิดด้านปรัชญาความรู้มาปรับใช้กับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและสังคมศาสตร์เพื่อทำความเข้าใจสภาพ วิธีการศึกษา และหลักเหตุผลในการอธิบายปรากฏการณ์ของสัตว์แต่ละด้าน

ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาเชิงจริยธรรมกับการแสวงหาความรู้ทางสังคมศาสตร์
ปรัชญาเชิงจริยธรรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์ตั้งแต่ยุคสมัยกรีก ซึ่งเน้นการแสวงหาหลักปฏิบัติในด้านต่างๆที่ถูกต้องเหมาะสมสำหรับปัจเจกบุคคลและสังคม โดยคำนึงถึงเงื่อนไขด้านสภาพแวดล้อมและสถาบันทั้งหลาย ปรัชญาเชิงจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับสังคมศาสตร์นี้ในระยะต่อมาเรียกกันว่า ปรัชญาสังคมและการเมืองหรือปรัชญาการเมือง ซึ่งมีแนวคิดและข้อถกเถียงหลักในเรื่องปัญหาเกี่ยวกับวิธีการที่ควรจะนำมาใช้สำหรับจัดระเบียบสังคมเพื่อสร้างสังคมและรัฐที่ดีปรัชญาสังคมและการเมืองจึงมีเนื้อหาเชิงจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์ด้านต่างๆยุคปัจจุบันปฏิสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาเชิงจริยธรรมกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคมนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันก่อให้เกิดการสะสมองค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์ด้านต่างๆและสังคมศาสตร์แต่ละสาขาได้รับมุมมองและแนวคิดเชิงทฤษฎีซึ่งสามารถพัฒนาไปเป็นตัวแบบหรือแนวการศึกษาวิเคราะห์สำหรับอธิบายหรือทำความเข้าใจพฤติกรรมและปรากฏการณ์ทางสังคมจากปรัชญาเชิงจริยธรรม
ปรัชญาธรรมชาติมีอิทธิพลต่อการแสวงหาความรู้ทางสังคมศาสตร์ในด้านการพัฒนาแนวคิดทางทฤษฎีและวิธีการศึกษาปรากฏการณ์โดยสังคมศาสตร์สาขาต่างๆพยายามที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นศาสตร์ในลักษณะเดียวกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติตามแนวทางปรัชญาธรรมชาติและรับเอาวิธีการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาเป็นมาตรฐานในการแสวงหาความรู้จนเกิดขบวนการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ในทศวรรษ 1950 ที่รับเอาแนวคิดและกระบวนการแสวงหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาใช้อย่างเต็มที่แม้นว่าหลังทศวรรษ 1970 อิทธิพลดังกล่าวจะลดลงไปก็ตามแต่วิธีการแสวงหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์ธรรมชาติก็ยังคงครอบงำการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ผ่านแนวคิดทางทฤษฎีและปฏิบัติวิทยาศาสตร์อยู่ค่อนข้างมาก
ลักษณะกระบวนการแสวงหาความรู้ของปรัชญาวิทยาศาสตร์และปรัชญาสังคมศาสตร์
ปรัชญาวิทยาศาสตร์มุ่งพิจารณาปัญหาสำคัญของสัตว์ทั้งหลายเป็นหลักเป็นการศึกษาสิ่งที่ศาสตร์สาขาต่างๆควรจะทำในการแสวงหาความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์เนื้อหาสาระของการศึกษาด้านนี้จึงเป็นเรื่องของกระบวนการและโครงสร้างการแสวงหาความรู้ของสัตว์ทั้งหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิเคราะห์กระบวนการและหลักเหตุผลเชิงตรรกวิทยาที่ใช้ในการอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์
ปรัชญาสังคมศาสตร์เป็นการพิจารณาปัญหาสำคัญในการแสวงหาความรู้ทางสังคมศาสตร์เช่นหลักเกณฑ์ในการอธิบายที่ดีในทางสังคมศาสตร์ ความแตกต่างระหว่างสังคมศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติวิธีการในการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์กระบวนการเชิงประจักษ์ในการประเมินความถูกต้องของการอธิบายในทางสังคมศาสตร์ปัญหาการลดทอนในการอธิบายในทางสังคมศาสตร์ ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลระหว่างปรากฏการณ์ทางสังคมทั้งหลายและบทบาทของทฤษฎีในการอธิบายทางสังคมศาสตร์เป็นต้นกระบวนการแสวงหาความรู้ด้านสังคมศาสตร์จึงมีความหลากหลายในวิธีการและกระบวนการแสวงหาความรู้ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับกรณีของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

1.2 ประเด็นปัญหาเชิงปรัชญาในการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์

ประเด็นปัญหาเชิงปรัชญาในการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญคือ ปัญหาข้อโต้แย้งด้านปรัชญาสังคมศาสตร์ในการศึกษารัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์ยุคปัจจุบันอย่างกว้างขวาง และปัญหาเชิงจริยธรรมในการศึกษาวิจัย ซึ่งอาจจะไม่ส่งผลต่อการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์รุนแรงนัก  แต่ก็เป็นส่วนสำคัญประการหนึ่งในกระบวนการวิจัยอย่างไรก็ตามรัฐศาสตร์ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 21 ต้องเผชิญกับแนวคิดหลังสมัยใหม่หรือโพสต์โมเดิร์นซึ่งไม่เพียงโต้แย้งวิธีการศึกษาและแนวคิดทฤษฎีด้านรัฐศาสตร์เท่านั้นแต่ยังท้าทายความชอบธรรมของการแสวงหาความรู้ทางด้านนี้ โดยแนวคิด post modern มีลักษณะที่ต่อต้านรากฐานปรัชญาความรู้อย่างสุดขั้ว และเชื่อว่าไม่มีองค์ความรู้ใดถูกต้องที่สุด แนวคิดนี้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อรากฐานทางปรัชญาของการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์ทั้งในด้านปรัชญาความรู้และในด้านปรัชญาเชิงจริยธรรม

1.2.1 ข้อโต้แย้งด้านปรัชญาสังคมศาสตร์ในการศึกษาทางรัฐศาสตร์
ข้อโต้แย้งด้านปรัชญาสังคมศาสตร์ในการศึกษาทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญได้แก่ ประเด็นความเป็นศาสตร์ของรัฐศาสตร์ ขอบข่ายในการศึกษาด้านรัฐศาสตร์ วิธีการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์แนวทางในการอธิบายทางรัฐศาสตร์ และระดับในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมือง ขอตัวอย่างเหล่านี้มีผลกระทบต่อการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์เป็นหลัก

1.2.2 ปัญหาเชิงจริยธรรมในการศึกษาวิจัยทางรัฐศาสตร์
ปัญหาจริยธรรมในการวิจัยเป็นประเด็นหนึ่งที่ผู้แสวงหาความรู้ในทางรัฐศาสตร์ต้องคำนึงถึงและขณะเดียวกันต้องระมัดระวังไม่ให้การทำวิจัยของตนก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นโดยทั่วไปปัญหาด้านจริยธรรมในการวิจัยแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ ปัญหาที่มีต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ปัญหาที่มีต่อสังคม และปัญหาที่มีต่อองค์ความรู้

1.2.3 ประเด็นปัญหาเชิงปรัชญาในการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์ยุคปัจจุบัน
ประเด็นปัญหาเชิงปรัชญาในการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์ยุคพุทธศตวรรษที่ 21 คือข้อโต้แย้งและการท้าทายจากมุมมองที่เรียกกันว่าอย่างกว้างๆว่า แนวคิดหลังสมัยใหม่หรือโพสต์โมเดิร์นซึ่งเป็นปรัชญาที่ไม่ยอมรับการมีความรู้ที่แท้จริงและตั้งข้อสงสัยกับแนวคิดที่เป็นรากฐานในการแสวงหาความรู้ทุกประเภทแนวคิดนี้ไม่เพียงแต่โต้แย้งวิธีการศึกษาและแนวคิดทางทฤษฎีด้านสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์เท่านั้นแต่ยังท้าทายความชอบธรรมของการแสวงหาความรู้ในด้านเหล่านี้อีกด้วย

ข้อโต้แย้งทางด้านปรัชญาสังคมศาสตร์ในการศึกษาทางรัฐศาสตร์
-ข้อโต้แย้งทางด้านปรัชญาสังคมศาสตร์ในการศึกษาทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญได้แก่ ประเด็นความเป็นศาสตร์ของรัฐศาสตร์ ขอบข่ายในการศึกษาด้านรัฐศาสตร์ วิธีการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์ แนวทางในการอธิบายทางรัฐศาสตร์ และระดับในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมือง
-ขอตัวอย่างประเด็นความเป็นศาสตร์ของรัฐศาสตร์คือปัญหาว่ารัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ในลักษณะของวิทยาศาสตร์หรือไม่ถ้าเป็นรัฐศาสตร์จำเป็นจะต้องมีลักษณะเหมือนกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติหรือไม่และเพียงใดถ้าไม่เป็นรัฐศาสตร์น่าจะเป็นอย่างไรกล่าวอีกนัยหนึ่งการถกเถียงในประเด็นนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติขององค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์ที่เชื่อมโยงอยู่กับความหมายของคำว่า
“ศาสตร์”
– ปัญหาขอบข่ายในการศึกษาด้านรัฐศาสตร์คือการขาดความเห็นพ้องต้องกันในวงการรัฐศาสตร์เกี่ยวกับความหมายของการเมืองและสิ่งที่เป็นเรื่องของการเมืองทำให้เกิดข้อโต้แย้งขึ้นมาว่าประเด็นปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมใดควรศึกษาหรือไม่ควรศึกษา
– วิธีการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์เป็นปัญหาโต้แย้งทางด้านปรัชญาความรู้ ภาววิทยา และระเบียบวิธีวิทยา คืออะไรคือสิ่งที่สามารถรู้ได้ความรู้ที่แท้จริงมีหรือไม่เพียงใดตลอดจนวิธีการแสวงหาความรู้ที่ดีเป็นอย่างไรซึ่งปรากฏเป็นการโต้แย้งระหว่าง 3 สำนักคิดหลักทางปรัชญาสังคมศาสตร์คือปฏิฐานนิยม สัจนิยม และปรัชญาการตีความ
– แนวทางในการอธิบายคือข้อโต้แย้งที่ว่าการอธิบายสาเหตุของพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ทางการเมืองจะอธิบายในนิคมสร้างเรืออธิบายจากตัวผู้กระทำ
– ระดับในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองคือประเด็นที่ว่าการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองจะอธิบายจากระดับไหนระหว่างการอธิบายระดับปัจเจกบุคคลและการอธิบายจากระดับหน่วยรวม
ปัญหาเชิงจริยธรรมในการศึกษาวิจัยทางรัฐศาสตร์มี 3 ประการคือ
1 ปัญหาที่มีต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยคือปัญหาด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ศึกษาวิจัยกับบุคคลที่เป็นแหล่งข้อมูลหรือผู้ศึกษาวิจัยจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดผลที่ไม่พึงปรารถนาและความเสียหายแก่ผู้ที่เป็นแหล่งข้อมูลซึ่งในทางปฏิบัติธรรมได้ยาก
2 ปัญหาที่มีต่อสังคมผู้วิจัยจะต้องพยายามป้องกันไม่ให้การวิจัยทางรัฐศาสตร์หรือสังคมศาสตร์มีผลเสียต่อกลุ่มใดในสังคมซึ่งดูเหมือนจะทำได้ยาก
3 ปัญหาที่มีต่อองค์ความรู้ผู้ศึกษาวิจัยจะต้องป้องกันการเกิดปัญหาจริยธรรมในขั้นตอนของการวิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนของการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการรายงานผลวิจัย
ประเด็นปัญหาเชิงปรัชญาในการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์ยุคปัจจุบันคือข้อโต้แย้งและการท้าทายจากมุมมองที่เรียกกันอย่างกว้างๆว่าแนวคิดหลังสมัยใหม่หรือโพสต์โมเดิร์นซึ่งเน้นปรัชญาที่ไม่ยอมรับการมีความรู้ที่แท้จริงและตั้งข้อสงสัยกับแนวคิดที่เป็นรากฐานในการแสวงหาความรู้ทุกประเภทซึ่งเท่ากับแนวคิดโพสต์โมเดิร์นมีลักษณะที่ต่อต้านรากฐานปรัชญาความรู้อย่างสุดขั้วนอกจากนี้ในของแนวคิดนี้ที่ส่อไปทางปัจเจกชนนิยมอย่างสุดโต่งและมองทุกสิ่งทุกอย่างในแง่ที่ไม่มีถูกนั้นดูเหมือนว่าจะขัดแย้งกับหลักการของปรัชญาเชิงจริยธรรมอันเป็นรากฐานของสังคมศาสตร์ทุกสาขาอย่างสิ้นเชิง

หน่วยที่ 2 ขอบข่ายการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

2.1 ขอบข่ายและเนื้อหาของการศึกษาวิจัยในทางรัฐศาสตร์

รัฐศาสตร์เป็นวิชาที่มีขอบข่ายของเนื้อหาสาระกว้างขวางเป็นอย่างมากครอบคลุมทุกส่วนของสังคมการเมืองเมื่อเป็นเช่นนี้การศึกษาวิจัยทางรัฐศาสตร์จึงมีขอบข่ายกว้างขวางตามไปด้วยเช่นกันแต่ในทางปฏิบัติเนื้อหาสาระโดยทั่วไปที่จะทำการศึกษาวิจัยให้ได้องค์ความรู้ใหม่ๆขึ้นมานั้นมักจะครอบคลุมอยู่ 4 เรื่องคือการศึกษาเกี่ยวกับความคิดทางการเมือง การศึกษาเกี่ยวกับสถาบันทางการเมือง การศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มและกระบวนการทางการเมือง และการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมือง

2.1.1 การศึกษาเกี่ยวกับความคิดทางการเมือง
การศึกษาเรื่องของความคิดทางการเมืองนั้นจะมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งในแง่ของการช่วยสร้างกรอบแนวคิดให้แก่ผู้ที่กำลังทำการศึกษาวิจัยเรื่องราวทางการเมืองและยังจะเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ให้แก่นักวิจัยในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองอีกด้วย

2.1.2 การศึกษาเกี่ยวกับสถาบันทางการเมือง
การศึกษาเรื่องของสถาบันทางการเมืองทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการจะช่วยทำให้นักวิจัยสามารถทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นตลอดจนพฤติกรรมทางการเมืองที่แท้จริงอันส่งผลให้สามารถหาคำตอบของปัญหาต่างๆทางการเมืองได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

2.1.3 การศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มและกระบวนการทางการเมือง
กิจกรรมหรือพฤติกรรมทางการเมืองทั้งหลายทั้งปวงนั้นคนคนเดียวมักจะทำให้สัมฤทธิ์ผลได้ยากหรืออาจจะทำไม่ได้เลยแต่เมื่อคนเราได้รวมกลุ่มกันแล้วมักจะทำให้เกิดพลังและพลังนี้เองที่จะทำให้กิจกรรมหรือพฤติกรรมทางการเมืองทั้งหลายสัมฤทธิ์ผลได้ในที่สุดพื้นฐานความคิดเกี่ยวกับกระบวนการทางการเมืองคือเรื่องของอำนาจทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการทางการเมืองที่แท้แล้วก็คือกระบวนการในการต่อสู้แข่งขันเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจและอิทธิพล

2.1.4 การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมือง
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมืองนั้นนักวิจัยทางรัฐศาสตร์จะต้องใช้บุคคลเป็นหน่วยในการวิเคราะห์ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากพฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลคือสิ่งที่จะกำหนดชนิดและรูปแบบของระบบการเมืองตลอดจนปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในระบบการเมือง.

การศึกษาเกี่ยวกับความคิดทางการเมืองนั้นมีประโยชน์ต่อการวิจัยทางรัฐศาสตร์อย่างยิ่งในแง่ของการช่วยสร้างกรอบความคิดให้แก่ผู้ที่กำลังทำการศึกษาวิจัยเรื่องราวทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยให้เข้าใจถึงสิ่งต่างๆที่เป็นอยู่และที่สำคัญคือจะเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ที่ทำให้ผู้ที่ศึกษาวิจัยได้เข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆในทางการเมืองได้ดีขึ้นอีกด้วยนอกจากนี้แล้วความคิดทางการเมืองทั้งหลายคือพื้นฐานสำคัญของระบอบการเมืองการปกครองทั้งหลายดังนั้นการศึกษาวิจัยทางรัฐศาสตร์โดยเน้นไปที่เรื่องของความคิดทางการเมืองจึงเท่ากับเป็นการศึกษาวิจัยถึงแก่นแท้ของระบอบการเมืองการปกครองต่างๆนั้นเอง
สาเหตุที่การวิจัยทางรัฐศาสตร์ในปัจจุบันมุ่งให้ความสนใจไปที่สถาบันการเมืองอย่างไม่เป็นทางการมากยิ่งขึ้นเช่นพรรคการเมืองและกลุ่มกดดันต่างๆเป็นต้นที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากปรากฏการณ์ทางการเมืองทั้งหลายที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเดินขบวนเรียกร้อง สนับสนุน ประท้วง คัดคานทางการเมืองตลอดจนการจราจลนั้น มักจะเกิดขึ้นจากพลังทางการเมืองทั้งหลายซึ่งพลังทางการเมืองดังกล่าวนี้จะมีพรรคการเมืองกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองและกลุ่มกดดันทั้งหลายเป็นแกนสำคัญของพลังดังนั้นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใดๆไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปหรือการปฏิวัติมักจะเป็นผลที่เกิดขึ้นจากพลังทางการเมืองที่กำลังครอบครองบทบาทและชี้นำความรู้สึกของประชาชนในสังคมการเมืองนั้นๆทั้งสิ้น
ผู้ที่ทำการศึกษาวิจัยทางรัฐศาสตร์โดยเน้นให้ความสำคัญกับเรื่องของกลุ่มทางการเมืองนั้นมีฐานความคิดและความเชื่อที่ว่าถ้าเราสามารถเข้าใจกิจกรรมของกลุ่มและความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่างๆได้แล้วเราก็จะเข้าใจเรื่องของการเมืองและยังสามารถอธิบายตลอดจนวิเคราะห์ระบบการเมืองได้เมื่อเป็นเช่นนี้นักทฤษฎีกลุ่มจึงมีความเห็นว่า
1) กลุ่มมีความสำคัญในระบบการเมืองและ
2) ทฤษฎีกลุ่มมีประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจทางการเมือง นักวิชาการด้านนี้ยังเน้นย้ำอีกว่าปรากฏการณ์กลุ่มก็คือปรากฏการณ์สำคัญทางการเมืองเมื่อเป็นเช่นนี้การเข้าใจถึงกิจกรรมของกลุ่มเป็นหัวใจของการเข้าใจการเมืองนั่นเอง(เป็นการเน้นประชาธิปไตยแบบกลุ่มหลากหลาย)
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมืองผู้ที่ทำการศึกษามักจะอาศัยความรู้จากสาขาวิชาจิตวิทยาและสังคมวิทยาเป็นสำคัญทั้งนี้เพราะสาขาวิชาทั้งสองได้ให้ความสนใจศึกษาเรื่องของตัวบุคคลและกลุ่มบุคคลนั่นเองนอกจากนี้ผู้ที่ทำการศึกษาวิจัยเรื่องดังกล่าวจะพยายามค้นหาพลังทางการเมืองเช่นพลังที่มาจากบุคคล ความคิด สถานการณ์ สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลกระทบต่อการปฏิบัติการทางการเมือง และจะพยายามค้นหาว่าบุคลิกภาพของบุคคลที่แตกต่างกันออกไปนั้นจะทำให้มีพฤติกรรมทางการเมืองแตกต่างกันออกไปหรือไม่

2.2 ขอบเขตของการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

การวิจัยในทางรัฐศาสตร์ก็เช่นเดียวกับการวิจัยทางสังคมศาสตร์อื่นอื่นๆที่จะมีการกำหนดขอบเขตของการศึกษาวิจัยไว้อย่างแน่นอนชัดเจนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหน่วยที่จะใช้ในการศึกษาหรือหน่วยในการวิเคราะห์ เรื่องเกี่ยวกับระดับของการวิจัย ตลอดจนเรื่องของระยะเวลาและพื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยดังกล่าว

2.2.1 หน่วยที่ใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์.
หน่วยนาฬิกาวิเคราะห์หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่าหน่วยในการวิจัยนั้นในทางรัฐศาสตร์อาจจะเป็นคนหรือไม่ใช่คนก็ได้และหน่วยที่จะใช้ในการศึกษาวิจัยนี้เรียกว่าประชากรวิจัยซึ่งหมายถึงสิ่งที่จะทำการศึกษาวิจัยทั้งหมดจะมีอยู่จำนวนเท่าไหร่ก็ได้และแต่ละหน่วยของประชากรวิจัยจะประกอบด้วยสมาชิกของหน่วยซึ่งเรียกว่าตัวอย่างวิจัยที่ถูกกำหนดเอาไว้เพื่อทำการศึกษา

2.2.2 ระดับของการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
การวิจัยระดับจุลภาคในทางรัฐศาสตร์เป็นการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในส่วนย่อยต่างๆของสังคมการเมืองหรือส่วนย่อยของระบบการเมืองส่วนกลางวิจัยระดับมหภาคเป็นการศึกษาวิจัยตลอดจนวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติโดยรวมของสิ่งที่ทำการศึกษาอยู่เช่นศึกษาถึงภาพรวมของการพัฒนาประเทศเป็นต้น

2.2.3 ระยะเวลาและพื้นที่ที่ใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
ในทางปฏิบัตินั้นการกำหนดระยะเวลาที่จะทำการวิจัยไว้มากน้อยแค่ไหนนั้นมักจะขึ้นอยู่กับโครงการวิจัยที่จะดำเนินการถ้าเป็นโครงการเล็กก็จะมีระยะเวลาสั้นแต่ถ้าเป็นโครงการใหญ่ก็จะมีระยะเวลายาวเป็นต้นส่วนการกำหนดพื้นที่ที่จะใช้ในการวิจัยทางรัฐศาสตร์นั้นขึ้นอยู่กับประเด็นเนื้อหาสาระตลอดจนขอบเขตของการศึกษาวิจัยเป็นสำคัญ

ประชากรวิจัยหมายถึงสิ่งที่เราจะทำการศึกษาวิจัยทั้งหมดจะมีจำนวนเท่าไหร่ก็ได้ส่วนตัวอย่างวิจัยหมายถึงสิ่งที่เรากำหนดเอาไว้จำนวนหนึ่งจากประชากรวิจัยเพื่อนำมาทำการศึกษาวิจัยนั่นเองในแง่ของความสัมพันธ์ก็คือตัวอย่างวิจัยนั้นเป็นส่วนหนึ่งของประชากรวิจัยประชากรวิจัยคือจำนวนทั้งหมดของสิ่งที่เราจะทำการศึกษาและตัวอย่างวิจัยคือจำนวนหนึ่งของสิ่งที่เราคัดเอามาเพื่อทำการศึกษาวิจัยตัวอย่างเช่นจำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชทั่วประเทศ 400,000 คน(ประชากรวิจัย) แต่เราคัดเลือกเอามาจากทั่วประเทศ 2000 คน(ตัวอย่างวิจัย) เพื่อทำการศึกษาหาบทสรุปเป็นคำตอบแทนนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชทั้งหมด
การวิจัยระดับจุลภาคมีลักษณะเป็นการศึกษาและวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติด้านต่างๆของสิ่งที่เราศึกษาซึ่งอาจจะเป็นคนหรือไม่ใช่คนก็ได้แต่ที่สำคัญคือเป็นการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในส่วนย่อยต่างๆของสังคมการเมืองหรือส่วนย่อยของระบบการเมืองนั่นเองการวิจัยระดับจุลภาคนี้จะทำให้ง่ายต่อการศึกษาเพราะเหนื่อยที่จะทำการศึกษานั้นมีขนาดเล็กและมีขอบเขตจำกัด และที่สำคัญคือ ทำให้สะดวกแก่การวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งอีกด้วย
การกำหนดพื้นที่ที่ใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์นั้นในทางปฏิบัติมักจะกำหนดพื้นที่ที่ใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ตามการแบ่งเขตพื้นที่ทางการปกครองทั้งนี้เพราะเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปและง่ายต่อการกำหนดประชากรเป้าหมายอีกด้วยเช่นอาจจะใช้เขตพื้นที่ของหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด เทศบาล ฯลฯ เป็นพื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นต้น

2.3 ประเภทของการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

การวิจัยคือการแสวงหาคำตอบให้แก่คำถามหรือสมมติฐานที่ได้ตั้งเอาไว้ รวมถึงการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆโดยอาศัยวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์การวิจัยนั้นสามารถแยกออกเป็นประเภทต่างๆได้หลายประเภททั้งนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองของนักวิจัยว่าจะใช้อะไรเป็นฐานความคิด สำหรับการแบ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณนั้นเป็นการแบ่งตามลักษณะของการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสำคัญ

2.3.1 การวิจัยเชิงคุณภาพ
การวิจัยเชิงคุณภาพนั้นจะทำการศึกษาหน่วยสำหรับการวิเคราะห์ที่ละเอียดลึกซึ้งเงินสร้างความเข้าใจในปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างเจาะลึกดังนั้นการใช้วิจารณญาณของผู้ที่ทำการศึกษาวิจัยในการวิเคราะห์และตีความข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากจากการที่การวิจัยเชิงคุณภาพนักศึกษาหน่อยสำหรับการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งจึงส่งผลให้การวิจัยเชิงคุณภาพมักจะมีหน่วยสำหรับการวิเคราะห์จำนวนไม่มากนัก

2.3.2 การวิจัยเชิงปริมาณ
การวิจัยเชิงปริมาณนั้นมีจุดสนใจมุ่งไปที่การแสวงหาข้อเท็จจริงและสาเหตุของปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคมที่เกิดขึ้นแต่จะไม่ใช้วิธีการศึกษาแบบเจาะลึกนอกจากนี้แล้วการวิจัยเชิงปริมาณจะเน้นการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขเป็นสำคัญตลอดจนใช้วิธีการทางสถิติมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวทั้งนี้เนื่องจากการวิจัยเชิงปริมาณจะมีหน่วยสำหรับการวิเคราะห์เป็นจำนวนมาก

การวิจัยเชิงคุณภาพคือการศึกษาค้นคว้าที่ต้องการเน้นหรือสร้างความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเจาะลึกและละเอียดถี่ถ้วนโดยมีเป้าหมายอยู่ที่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆขึ้นมาจากปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคมและที่สำคัญการวิจัยเชิงคุณภาพนี้ผู้วิจัยจำเป็นต้องเอาตัวเองเข้าไปผูกพันใกล้ชิดกับสิ่งที่ตนกำลังศึกษาอยู่ด้วยทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงแก่นสารของสิ่งที่กำลังศึกษาอยู่นั่นเองส่วนการวิเคราะห์และตีความข้อมูลนั้นจะใช้วิจารณญาณของผู้วิจัยเป็นสำคัญ
การวิจัยเชิงปริมาณคือการศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริงเพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ๆโดยเน้นที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นแต่จะไม่ใช่เป็นการศึกษาแบบเจาะลึกจะสนใจจึงมุ่งอยู่ที่การแสวงหาข้อเท็จจริงและสาเหตุของปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคมที่เกิดขึ้นนอกจากนี้การวิจัยเชิงปริมาณจะเน้นการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขและใช้วิธีทางสถิติมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลอีกด้วย

หน่วยที่ 3 กรอบแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

3.1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับกรอบแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

กรอบแนวคิดทฤษฎีเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับผู้วิจัยทางรัฐศาสตร์ในการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ซึ่งมีความสลับซับซ้อน

3.1.1 ความหมายของกรอบแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
กรอบแนวคิดทฤษฎีเป็นสิ่งที่นักวิจัยสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแนวทางการวิจัยในเรื่องที่ต้องการศึกษา

3.1.2 ความสำคัญของกรอบแนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
กรอบแนวคิด ทฤษฎีเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการวิจัยที่ทำให้นักวิจัยเห็นภาพรวมของการวิจัยสามารถกำหนดประเด็นวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผลการวิจัยได้อย่างเหมาะสม

3.1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างกรอบแนวคิด ทฤษฎีกับการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
กรอบแนวคิด ทฤษฎีจะทำให้การกำหนดโจทย์และประเด็นวิจัยชัดเจนขึ้น มีทิศทางการวิจัยที่ครอบคลุมเรื่องที่ต้องการศึกษา มีระเบียบวิธีการวิจัยที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้ครบถ้วนตามต้องการ มีการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และมีข้อสรุปที่ชัดเจน

กรอบแนวคิดทฤษฎีเป็นกรอบการศึกษาวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาบนพื้นฐานความรู้ที่มีผู้ศึกษาไว้แล้วและ/หรือผู้วิจัยได้ประมวลและกำหนดขึ้นมาเพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์เฉพาะที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา
กรอบแนวคิดทฤษฎีมีความสำคัญในฐานะที่ช่วยให้เห็นองค์รวมของเรื่องที่จะศึกษาวิจัยและช่วยให้ผู้วิจัยสามารถวิเคราะห์ได้อย่างเป็นระบบ
กรอบแนวคิด ทฤษฎีสัมพันธ์กับการวิจัยทางรัฐศาสตร์คือช่วยให้นักวิจัยสามารถระบุโจทย์วิจัยและประเด็นวิจัยที่ต้องการแสวงหาความรู้หรือคำตอบในเรื่องนั้นได้ชัดเจนและระเอียดมากขึ้น

3.2 การสร้างกรอบแนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

ในการสร้างกรอบแนวคิดทฤษฎีมีที่มาจากหลายแหล่งเช่น ตัวผู้วิจัย และมีขั้นตอนในการสร้างที่เป็นระบบ

3.2.1 ที่มาของกรอบแนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
กรอบแนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์มีที่มาจากหลายแหล่ง ได้แก่ ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และความคิดรวบยอดของผู้วิจัย

3.2.2 กระบวนการสร้างกรอบแนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
การสร้างกรอบแนวคิด ทฤษฎีมีขั้นตอนสำคัญ คือ การทบทวนวรรณกรรม การคัดเลือกตัวแปร การระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร รายการนำเสนอกรอบแนวคิดทฤษฎี

วิธีการนำเสนอกรอบแนวคิด ทฤษฎีมีอย่างน้อย 3 วิธีได้แก่ การพรรณนา แบบจำลอง และแบบผสม
3.3 ลักษณะ และการนำกรอบแนวคิด ทฤษฎีที่เหมาะสมมาใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
ลักษณะของกรอบแนวคิด ทฤษฎีที่เหมาะสมที่นำมาใช้ในการศึกษาวิจัยทางรัฐศาสตร์อย่างน้อยต้องมีพื้นฐานทางทฤษฎี
3.3.1 ลักษณะของกรอบแนวคิด ทฤษฎีที่เหมาะสมในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
ลักษณะสำคัญของกรอบแนวคิดทฤษฎีที่เหมาะสมในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ได้แก่ การมีพื้นฐานทางทฤษฎี ความตรงประเด็น สอดคล้องกับความสนใจ เข้าใจง่าย ไม่สลับซับซ้อน สร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่
3.3.2 การนำกรอบแนวคิด ทฤษฎีมาใช้ในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
ได้แก่ การกำหนดหัวข้อและประเด็นวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การอภิปรายผล
3.3.3 ตัวอย่างการนำกรอบแนวคิด ทฤษฎีทางรัฐศาสตร์มาใช้ในการวิจัย
ตัวอย่างกรอบแนวคิด ทฤษฎีที่นำมาเสนอ คือ ตัวอย่างกรอบแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยเรื่อง “ระบบ การกำกับดูแล และการตรวจสอบการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยหน่วยงานภาครัฐและประชาชน”
ได้แก่ กรอบแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำกับดูแลการปกครองส่วนท้องถิ่น
กรอบแนวคิดทฤษฎีสามารถนำมาใช้ในขั้นตอนต่างๆในการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ในขั้นตอนต่อไปนี้ การกำหนดหัวข้อและประเด็นวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การอภิปรายผล และการจัดทำข้อเสนอแนะ

หน่วยที่ 4 หลักและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

4.1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ของการค้นคว้าแสวงหาความรู้แขนงหนึ่งที่มีลักษณะตัดขวาง เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของนักวิจัยที่มุ่งศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคม ที่มีลักษณะที่แตกต่างไปจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

4.1.1 ความหมายและความสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์หมายถึงการแสวงหาความรู้โดยพิจารณาจากปรากฏการณ์ทางการเมือง จาก “สภาพแวดล้อม” หรือ “บริบท” ตามความเป็นจริง ทั้งนี้เพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ทางการเมืองกับ “สภาพแวดล้อม” หรือ “บริบท” โดยในการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองดังกล่าวเป็นการศึกษาที่มุ่งไปที่ปัจจัยด้านโลกทัศน์ ความคิดเห็นทางการเมือง โดยทั่วไปการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีลักษณะเช่นเดียวกับการวิจัยทางมานุษยวิทยา

4.1.2 ปรัชญาพื้นฐานของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
ปรัชญาพื้นฐานของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ยึดปรัชญาสำนักปรากฏการณ์วิทยา

4.1.3 ปรากฏการณ์ที่การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์สนใจศึกษา
ปรากฏการณ์ที่การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์สนใจศึกษาได้แก่ ปรากฏการณ์ทางการเมือง เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองของมนุษย์

4.1.4 หลักการและลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
หลักการและลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีดังต่อไปนี้
1 )มองปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ทำการศึกษาในภาพรวม
2) ให้ความสำคัญกับปัจจัยหรือตัวแปรด้านวัฒนธรรมความรู้สึกนึกคิดปแรงจูงใจค่านิยมเป็นต้น
3 )เป็นการศึกษาหรือทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองอย่างเจาะลึกเป็นต้น

การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์หมายถึงการแสวงหาความรู้โดยพิจารณาปรากฏการณ์ทางการเมืองจาก “สภาพแวดล้อม” หรือ “บริบท” ตามความเป็นจริงทั้งนี้เพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ทางการเมืองกับ “สภาพแวดล้อม” หรือ “บริบท”
ปรัชญาพื้นฐานของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์คือสำนักปรากฏการณ์วิทยา
ปรากฏการณ์ที่การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์สนใจศึกษาคือปรากฏการณ์ทางการเมืองได้แก่ พฤติกรรมทางการเมืองของมนุษย์
หลักการและลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
1)มองปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ทำการศึกษาในภาพรวม
2)ให้ความสำคัญกับปัจจัยหรือตัวแปรด้านวัฒนธรรม ความรู้สึกนึกคิด แรงจูงใจ ความเชื่อ ค่านิยม
3)เป็นการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองอย่างเจาะลึก เป็นต้น

4.2 กระบวนการขั้นตอนการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีกระบวนการขั้นตอนการวิจัยเหมือนกับกระบวนการขั้นตอนของการวิจัยเชิงคุณภาพโดยทั่วไป ที่ประกอบไปด้วยการกำหนดหัวข้อหรือความเป็นมาของปัญหา กรอบแนวคิด ทฤษฎี วิธีวิจัย การตีความ การสร้างข้อสรุปและการนำเสนอผลงานวิจัย

4.2.1 บทบาทและจรรยาบรรณของนักวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
ในงานวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์เช่นเดียวกันกับการวิจัยเชิงคุณภาพทั่วไปคือนอกจากนักวิจัยเชิงคุณภาพจะมีบทบาทมากกว่านักวิจัยเชิงปริมาณแล้วยังต้องมีบทบาทและคุณลักษณะที่สำคัญ อาทิ ต้องคิดเกี่ยวกับปัญหาที่ทำการวิจัยหรือหัวข้อที่จะทำการวิจัยให้ทะลุปรุโปร่งต้องตระหนักว่าความรู้ความเข้าใจทางการเมืองทั้งหลายที่นักวิจัยระบุมาต้องมีหลักฐานข้อมูลสนับสนุนเป็นต้นในส่วนของจรรยาบรรณของนักวิจัยจรรยาบรรณที่นักวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ควรมีหรือยึดมั่นคือควรระมัดระวังในทุกขั้นตอนของการวิจัย

4.2.2 กรอบแนวคิด ทฤษฎี และสมมติฐานของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีการใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีในการวิจัยในฐานะเป็นเครื่องมือเพื่อนำทางในการวิจัยในส่วนของสมมติฐานไม่เรียกร้องให้มีการตั้งสมมติฐาน แต่ถ้ามีการตั้งสมมติฐานก็อาจมีการปรับสมมติฐานได้

4.2.3 หน่วยในการศึกษาของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
หน่วยในการศึกษาของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ ได้แก่ หน่วยระดับบุคคล หน่วยระดับกลุ่ม หน่วยระดับองค์กร เมื่อระดับสถาบัน เป็นต้น

4.2.4การตีความ การสร้างข้อสรุป และการนำเสนอผลงานการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
การตีความปรากฏการณ์ทางสังคมของการวิจัยเชิงคุณภาพมีลักษณะที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “phenomenological perspectives”
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกรณีของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ได้ สำหรับการสร้างข้อสรุปถ้าเป็นไปได้ควรมีการสรุปผลในลักษณะของ “ข้อสรุปทั่วไป” โดยทั่วไปเมื่อมีการตีความและสร้างข้อสรุปทั่วไปแล้ว ขั้นตอนต่อมาของกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ได้แก่ การนำเสนอผลงานที่ได้จากการค้นคว้าวิจัย

บทบาทของนักวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีมากกว่านักวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์นอกจากนี้ยังต้องคิดเกี่ยวกับปัญหาที่ทำการวิจัยหรือหัวข้อที่จะทำการวิจัยให้ทะลุปรุโปร่งละเอียดรอบคอบขณะเดียวกันต้องตระหนักว่าความรู้ความเข้าใจทางการเมืองทั้งหลายที่นักวิจัยระบุมานั้นต้องมีหลักฐานข้อมูลสนับสนุน
กรอบแนวคิด ทฤษฎีของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์หมายถึงการกำหนดแนวทางการวิจัยการกำหนดขอบเขตการวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูลให้นักวิจัยโดยช่วยให้แนวทางวิเคราะห์ว่าจะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับอะไรบ้างที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่ทำการศึกษาเช่นเดียวกันกับการช่วยสรุปข้อเท็จจริงรวมทั้งช่วยทำนายปรากฏการณ์
หน่วยในการศึกษาของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีดังนี้
– หน่วยระดับบุคคล เช่น อายุ อาชีพ การศึกษา เป็นต้น
– หน่วยระดับกลุ่ม  เช่น ระดับการศึกษาโดยเฉลี่ย เป็นต้น
– หน่วยระดับองค์การ ได้แก่ องค์กรอิสระ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง(ก.ก.ต.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช)
– หน่วยระดับสถาบัน ได้แก่ สถาบันทางการเมือง เช่น พรรคการเมือง เป็นต้น
– หน่วยระดับสังคม เช่น อัตราความเป็นเมือง เป็นต้น
ความสำคัญของการสร้างข้อสรุปทั่วไป
การสร้างข้อสรุปทั่วไปโดยทั่วไปมีความสำคัญโดยเฉพาะต่อการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองเป็นอย่างมากแม้นว่าเหตุการณ์ทางการเมืองแต่ละเหตุการณ์จะมีลักษณะเฉพาะตัวในแง่ดังกล่าวในกรณีของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์เมื่อมีการวิเคราะห์ข้อมูลเรียบร้อยแล้วถ้าเป็นไปได้นักวิจัยควรจะต้องมีการสรุปผลในลักษณะของข้อสรุปทั่วไป

4.3 ปัญหาอุปสรรค และตัวอย่างของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

ปัญหาอุปสรรคของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ที่นำมากล่าวถึง จะกล่าวถึงเฉพาะปัญหาที่สำคัญสำคัญสำหรับตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ที่นำมากล่าวถึงได้แก่ เรื่อง “ความคิดทางการเมืองในสามก๊กและเจ้าผู้ปกครอง”

4.3.1 ปัญหาและอุปสรรคของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
ปัญหาอุปสรรคของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีอยู่หลายประการ อาทิ ปัญหาทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและการสร้างข้อสรุปทั่วไป ปัญหาในแง่ที่การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์เช่นเดียวกันกับการวิจัยเชิงคุณภาพทั่วไปที่การนำเสนอข้อมูลเป็นการนำเสนอข้อมูลเชิงบรรยายผล ทำให้มีการมองกันว่าการนำเสนอในลักษณะดังกล่าวเป็นการนำเสนอข้อมูลในเชิงพรรณนาที่ละเอียด แต่ไม่มีการวิเคราะห์ ประเด็นนี้จึงกลายเป็นปัญหาอุปสรรค เป็นต้น

4.3.2 ตัวอย่างของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
ตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ที่จะกล่าวถึงในหน่วยนี้ ได้แก่ การวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ของ ไพรัตน์ เทศพานิช ที่ศึกษาวิจัยเรื่อง “ความคิดทางการเมืองในสามก๊กและเจ้าผู้ปกครอง”

ปัญหาอุปสรรคของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีอยู่หลายประการ อาทิ ปัญหาทางการวิเคราะห์ข้อมูลและการสร้างข้อสรุปทั่วไปในแง่ที่จะเป็นที่ยอมรับหรือน่าเชื่อถือได้มากน้อยเพียงไรทั้งนี้เพราะ “หน่วยในการศึกษา” หรือ “หน่วยในการวิเคราะห์” มีน้อยทำให้การวิเคราะห์หรืออธิบายปรากฏการณ์ตลอดจนการสร้างข้อสรุปทั่วไปของการวิจัยเป็นได้เฉพาะกรณีที่ศึกษาเท่านั้น
วิธีการวิจัยเสนอในรูปแบบการศึกษาวิจัยเอกสารที่พัฒนาและวิเคราะห์ โดยพิจารณาเฉพาะองค์ประกอบภายในของวรรณกรรมกล่าวคือ วิเคราะห์โดยอิงตัวบทของวรรณกรรมอย่างละเอียดเป็นหลัก ศึกษาเนื้อหาด้านความคิดทางการเมืองการปกครอง ประมวลและสรุปผลการศึกษาโดยวิเคราะห์จากวรรณกรรมทั้ง 2 เรื่อง เสนอเป็นบท จากนั้นสรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ

หน่วยที่ 5 การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

5.1 แนวคิดทั่วไปของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ

การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการกำหนดกรอบการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพอันจะนำไปสู่การได้มาซึ่งคำตอบที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาการวิจัยที่กำหนดขึ้น

5.1.1 ความหมายและความสำคัญของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ
การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวางแผนการดำเนินการวิจัยโดยให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวเลข ไม่มีการควบคุมตัวแปรอย่างเข้มงวด และเน้นการศึกษาที่ยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์

5.1.2ลักษณะของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ
การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมแบบอุปนัยในลักษณะขององค์รวมเพื่อทำความเข้าใจอย่างเจาะลึก

5.1.3 ขั้นตอนของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ
ขั้นตอนของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมาย การระบุคำถามการวิจัย การกำหนดบริบทของแนวคิดและทฤษฎี การกำหนดระเบียบวิธีวิจัย การวิเคราะห์ความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้

การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพหมายถึงการวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการแปรหรือการตีความข้อมูล โดยเน้นไปที่ความสัมพันธ์หรือปฏิสัมพันธ์เชิงการเมืองของบุคคลภายในชุมชนหรือภายในวัฒนธรรมหนึ่งๆ เพื่อความเข้าใจสภาพการณ์ที่เป็นอยู่จริงมากกว่าการคาดการณ์และการควบคุมโดยใช้วิธีการที่หลากหลายและแข็งแกร่ง อันจะนำไปสู่ความเข้าใจสิ่งที่ต้องการศึกษาในลักษณะขององค์รวม
ลักษณะสำคัญของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพได้แก่
1 การออกแบบการวิจัยจะเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมจริงที่ต้องการทำวิจัย
2 การออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลจะใช้วิธีการปฏิสัมพันธ์เชิงสังคมเป็นหลัก
3 สิ่งที่เกิดขึ้นในการออกแบบการวิจัยจะเป็นไปตามสถานการณ์ที่เป็นจริง มากกว่าที่จะเป็นการกำหนดไว้ล่วงหน้าและตายตัว
4 การออกแบบการวิจัยจะใช้ความสำคัญกับการตีความเป็นหลัก
5 การออกแบบการวิจัยจะใช้การศึกษาแบบอุปนัย โดยการสรุปผลที่ได้จากการนำส่วนย่อยมารวมกัน
ขั้นตอนของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพแบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอน
1 การกำหนดเป้าหมาย
2 การกำหนดบริบทของแนวคิดและทฤษฎี
3 การระบุคำถามการวิจัย
4 การกำหนดระเบียบวิธีวิจัย
5 การวิเคราะห์ความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้

5.2 การทดสอบความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยคุณภาพ

ความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพสามารถกระทำได้โดยการใช้เกณฑ์การทดสอบรวมทั้งสามารถที่จะเพิ่มความถูกต้องให้สูงขึ้นได้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม

5.2.1 เกณฑ์การทดสอบความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ
ประกอบด้วย ความน่าเชื่อถือ ความสามารถในการถ่ายทอดผลลัพธ์ ความเป็นปรนัย ความคงเส้นคงวา ความเป็นกลาง ความเป็นประโยชน์ และการนำไปประยุกต์ใช้

5. 2.2 วิธีการเพิ่มความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ
ความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพสามารถเพิ่มให้สูงขึ้นได้ โดยใช้วิธีการต่อไปนี้คือ การตรวจสอบจากผู้ให้ข้อมูล
ช่วงเวลาที่ใช้ การตรวจสอบจากผู้ร่วมอาชีพ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญ การสำรวจแบบสามเหลี่ยม ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง และการตรวจสอบจากภายนอก การใช้หลายแกนร่วมกันจะช่วยทำให้การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพมีความถูกต้องเพิ่มมากขึ้น

เกณฑ์การทดสอบความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่
1 ความน่าเชื่อถือ ต้องทำให้ผู้อื่นมั่นใจว่าข้อสรุปที่ได้มาจากข้อมูลจริงมีหลักฐานและสามารถตรวจสอบยืนยันได้
2 ความเป็นปรนัยคือ นักวิจัยจะต้องพัฒนาและตีความข้อมูลที่ได้โดยต้องไม่มีอคติหรือลำเอียงไปจากสภาพที่เป็นจริง
3 ความเป็นกลาง ข้อค้นพบที่ได้จะต้องสะท้อนความเป็นจริงของสิ่งที่ต้องการศึกษาและสามารถจะยืนยันได้ด้วยการวิจัยของบุคคลอื่นโดยไม่ได้มาจากอคติของผู้วิจัยหรือมาจากผลประโยชน์แอบแฝงของผู้วิจัย
วิธีการเพิ่มความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพทำได้โดย
1 การตรวจสอบจากผู้ให้ข้อมูลคือการที่ผู้วิจัยส่งสิ่งที่ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ตีความข้อมูลและสรุปผลด้วยตนเองได้ให้มีผู้มีส่วนร่วมได้พิจารณาความแม่นยำและความเชื่อถือได้ของสิ่งที่ค้นพบ
2 การตรวจสอบจากผู้ร่วมอาชีพ

5.3 ประเภทของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ

การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพที่สำคัญ ได้แก่ การออกแบบการวิจัยกรณีศึกษา การออกแบบการวิจัยเชิงพรรณนา การออกแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ รายการออกแบบการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา

5.3.1 การออกแบบการวิจัยกรณีศึกษา
เป็นการวางกรอบเพื่อทำให้การพัฒนาและการตีความลักษณะหรือคุณสมบัติของกรณีที่ต้องการศึกษาเป็นไปอย่างเจาะลึกและครอบคลุมครบถ้วน

5.3.2 การออกแบบการวิจัยเชิงพรรณนา
เป็นการวางกรอบเพื่อการศึกษาคุณสมบัติของสิ่งที่ต้องการในสถานการณ์ปัจจุบันหรืออนาคต โดยอรรถศึกษาเฉพาะช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง รู้ศึกษาในระยะเวลาที่ต่อเนื่องยาวนาน

5.3.3 การออกแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ
เป็นการวางกรอบเพื่อให้ได้มาซึ่งรูปแบบการแก้ปัญหาหรือการปฏิบัติที่เหมาะสมกับสภาพขององค์การหรือชุมชนโดยเน้นการเข้าไปมีส่วนร่วมของบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดตั้งแต่การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนกลับ ซึ่งจะกระทำติดต่อกันอย่างต่อเนื่องในลักษณะของวงจร จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้จริง

5.3.4 การออกแบบการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา
การออกแบบการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณาเป็นการวางกรอบเพื่อการศึกษาบุคคล หรือกลุ่มบุคคลในสังคมหรือวัฒนธรรม หนึ่งๆ โดยผู้วิจัยจะไปฝังตัวอยู่ในชุมชนเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะเวลายาวนาน

สิ่งที่ควรนำมาพิจารณาในการออกแบบการวิจัยกรณีศึกษาได้แก่
– ประเภทของกรณีที่ต้องการศึกษา
– วิธีการสุ่มตัวอย่าง
– วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
– ประเภทของการวิเคราะห์ข้อมูล
การออกแบบการวิจัยเชิงพรรณนามี 2 ชนิดคือ
1 การออกแบบการวิจัยแบบเฉพาะช่วงเวลา เป็นการออกแบบการวิจัยเพื่อเก็บข้อมูลมาพัฒนาคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการศึกษา เฉพาะช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น
2 การออกแบบการวิจัยตามระยะเวลาที่ยาวนาน เป็นการออกแบบการวิจัยเพื่อเก็บข้อมูลมาพรรณนาเชิงเปรียบเทียบหรือวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของประชากรเป้าหมายในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานต่อเนื่อง
การออกแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ เป็นการวางแผนเชิงระบบที่นำเอาการวิจัยมาทำการผสมผสานไปกับการปฏิบัติจริง โดยบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ตลอดกระบวนการวิจัย ทั้งนี้เพื่อจะทำให้ได้มาซึ่งรูปแบบการแก้ปัญหามีการพัฒนาการปฏิบัติได้เหมาะสมกับสภาพขององค์การหรือชุมชน รวมทั้งจะนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพขององค์การหรือการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น
การออกแบบการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา เป็นการวางระบบและแบบแผนของการพัฒนาและการตีความเพื่อหาความหมายของกลุ่มหรือระบบสังคมและวัฒนธรรมหนึ่งๆที่ต้องการศึกษาโดยผ่านการสังเกตของผู้วิจัยที่เข้าไปฝังตัวในชุมชนหรือโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากสมาชิกของชุมชนระบบสังคมในประเด็นใดประเด็นหนึ่งหรือหลายประเด็นเช่นพฤติกรรม ภาษา สิ่งประดิษฐ์ โครงสร้าง หน้าที่ และวัฒนธรรม

หน่วยที่ 6 การเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

6.1 ลักษณะของข้อมูลและจุดเน้นของการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

ลักษณะของข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีลักษณะดังต่อไปนี้
มีลักษณะที่เป็นข้อความหรือเป็นการพรรณนา
เป็นข้อมูลเกี่ยวกับโลกทัศน์ ความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม ตลอดจนอุดมการณ์ทางการเมือง นอกจากนี้การจะได้ข้อมูลผู้วิจัยต้องมีความสัมพันธ์อันดีกับประชากรที่ตนศึกษาเป็นต้น สำหรับจุดเน้นของการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ ส่วนใหญ่จะเน้นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ลึกซึ้งรอบด้าน เน้นความเป็นมนุษย์ของผู้วิจัยและผู้ถูกวิจัย และเน้นการให้ผู้วิจัยออกไปเก็บข้อมูลด้วยตนเอง

6.1.1 ลักษณะของข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
ลักษณะของข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ได้แก่ ข้อความหรือการพัฒนาที่บรรยายให้เห็นสภาพของปรากฏการณ์ นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลเกี่ยวกับโลกทัศน์ ความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ ค่านิยม ตลอดจนอุดมการณ์ทางการเมือง การจะได้ข้อมูลผู้วิจัยต้องมีความสัมพันธ์อันดีกับประชากรที่ตนทำการศึกษาเป็นต้น

6.2.2 จุดเน้นของการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
ได้แก่ การเงินการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ลึกซึ้ง รอบด้าน เน้นความเป็นมนุษย์ของผู้วิจัยและผู้ถูกวิจัย รวมทั้งการเงินให้ผู้วิจัยออกไปเก็บข้อมูลด้วยตนเอง

ลักษณะของข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
การจะได้ข้อมูลผู้วิจัยต้องมีความสัมพันธ์อันดีกับประชากรที่ตนทำการศึกษา จะต้องมีการให้ความสำคัญกับแหล่ง และความหมายของข้อมูลจากทัศนะของผู้ให้ข้อมูล จะต้องเป็นข้อมูลที่มีลักษณะที่สะท้อนความคิด ระบบคิดของผู้ตอบโดยตรง
จุดเน้นของการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
เน้นการเก็บข้อมูลขนาดเล็กและจำนวนน้อยให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลด้านจิตใจ ความรู้สึกนึกคิด ความหมายที่มนุษย์กำหนดขึ้นมา รวมทั้งเน้นให้ผู้วิจัยออกไปเก็บข้อมูลด้วยตนเอง

6.2 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญสำคัญได้แก่ การสังเกตหรือการสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ และการใช้ข้อมูลจากเอกสาร

6.2.1 การสังเกตการณ์
การสังเกตการณ์หรือการสังเกตเป็นเรื่องของการเฝ้าดูสิ่งที่เกิดขึ้นมีปรากฏขึ้นอย่างเอาใจใส่หรืออย่างใกล้ชิด และกำหนดไว้อย่างมีระเบียบ เพื่อวิเคราะห์หรือหาความสัมพันธ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นกับสิ่งอื่น สำหรับประเภทของการสังเกตมีอยู่ 2 ประเภทคือ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม

6.2.2 การสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์เป็นรูปแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ถามกับผู้ตอบโดยทั่วไป การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพวิธีนี้ เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความสำคัญวิธีหนึ่ง ที่ช่วยให้นักวิจัยหรือผู้วิจัยสามารถเข้าถึงการรับรู้ของบุคคล ความหมายที่บุคคลแสดงออกมา สำหรับประเภทของการสัมภาษณ์มีอยู่หลายประเภท

6.2.3 การใช้ข้อมูลจากเอกสาร
การใช้ข้อมูลจากเอกสารเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์อีกวิธีหนึ่งที่จำแนกออกได้เป็นเอกสารชั้นต้นและเอกสารชั้นรอง

การสังเกตการแบบมีส่วนร่วมหรือที่เรียกว่าการสังเกตภาคสนามหรือการสังเกตเชิงคุณภาพเป็นการสังเกตที่ตัวผู้สังเกตต้องเข้าไปใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มคนที่ถูกศึกษาในแง่ของการมีกิจกรรมร่วมกันมีการกระทำกิจกรรมด้วยกันขณะเดียวกันพยายามให้คนในชุมชนหรือในสังคมการเมืองที่ศึกษายอมรับว่าผู้สังเกตมีสถานภาพและบทบาทเช่นเดียวกับตน
การสัมภาษณ์เจาะลึกที่ไม่ใช้แบบสอบถาม
เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ไม่ได้มีการกำหนดโครงสร้างของข้อมูลที่ต้องการเก็บไว้แน่นอนตายตัวการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยทั่วไปต้องอาศัยความสามารถพิเศษของผู้ให้สัมภาษณ์ในการซักถามติดตามรายละเอียดทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ
ลักษณะของเอกสารชั้นรอง
ได้แก่ ข้อมูลหลักฐานที่มีอยู่แล้ว ตั้งแต่บันทึกประวัติบุคคล รายงานต่างๆ ไปจนกระทั่งเอกสารทุกประเภท นับตั้งแต่รายงานการประชุม รายงานประจำ เอกสารทางวิชาการเป็นต้น

6.3 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แต่ไม่ว่าจะใช้เครื่องมืออะไรต้องมีการทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของเครื่องมือนั้นๆ

6.3.1 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ได้แก่ แบบสังเกต สอบสัมภาษณ์เป็นต้น สำหรับขั้นตอนการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีอยู่หลายขั้นตอน

6.3.2 การทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
ในการสร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์จะต้องมีทั้งความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ทางการวัด

ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
ขั้นที่ 1 ต้องมีการวิเคราะห์ศึกษาวัตถุประสงค์ของเรื่องที่ทำการวิจัยก่อนว่า มีวัตถุประสงค์ในเรื่องใดบ้าง
ขั้นที่ 2 ทำการวัดแนวคิด เปิดตัวแปรตามกระบวนการวัด
ขั้นที่ 3 ระบุประเภทของเครื่องมือ
ขั้นที่ 4 สร้างกรอบในการสังเกต/สัมภาษณ์(ซึ่งเป็นเครื่องมือ)
ขั้นที่ 5 สร้างแบบสังเกตหรือแบบสัมภาษณ์ในฐานะเป็นเครื่องมือให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์
ขั้นที่ 6 ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ
ความเที่ยงตรงของการวัดหมายถึงเครื่องมือนั้นสามารถวัดในสิ่งที่ต้องการวัดได้ตรงเนื้อหาสาระมากน้อยแค่ไหน
ความเชื่อถือได้ของการวัดหมายถึงเมื่อทำการวัดแล้วผลที่ได้จากการวัดเหมือนหรือสอดคล้องกันทุกครั้งหรือไม่

6.4 ปัญหาอุปสรรค และตัวอย่างวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

ได้แก่ ความไม่น่าเชื่อถือของการเก็บรวบรวมข้อมูลทำให้การค้นพบบางครั้งยากต่อการประเมิน ประการต่อมา การเก็บรวบรวมข้อมูลทำได้ค่อนข้างยาก เพราะข้อมูลที่เก็บรวบรวมเป็นการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความเชื่อ ความหมายทางการเมือง ดังนั้นเวลาเก็บรวบรวมข้อมูลจำต้องกระทำด้วยความระมัดระวังเป็นต้น สำหรับตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ที่นำมากล่าวถึง นำมาจากงานวิจัยเรื่องกลุ่มพลังประชาธิปไตย: บทบาทในการผลักดันนโยบายการปฏิรูปการเมืองพ. ศ. 2536 – 2538

6.4.1 ปัญหาอุปสรรคในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
มีอยู่หลายประการ อาทิ ประการแรกความไม่น่าเชื่อถือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประการที่ 2 เนื่องจากการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความเชื่อ ความหมายทางการเมือง ดังนั้นการเก็บรวบรวมเหล่านี้จึงค่อนข้างยากเป็นต้น

6.4.2 ตัวอย่างวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์เรื่อง “กลุ่มพลังประชาธิปไตยในประชาสังคม: บทบาทในการผลักดันนโยบายปฏิรูปการเมืองพ. ศ. 2536 – 2538” ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารชั้นต้นได้แก่สารชั้นรอง รวมทั้งการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ

ปัญหาอุปสรรคในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ได้แก่ ความไม่น่าเชื่อถือของการเก็บรวบรวมข้อมูล ความยากในการเก็บข้อมูล เนื่องจากการเก็บรวบรวมข้อมูลผลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์เป็นการเก็บข้อมูลประเภทความคิด ความเชื่อ ความหมายทางการเมืองเป็นต้น
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์เรื่อง”กลุ่มพลังประชาธิปไตยในประชาสังคม:บทบาทในการพักการการปฏิรูปการเมืองพ.ศ. 2536 – 2538″
ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในการรวบรวมเอกสารชั้นต้นและชั้นรองรวมทั้งการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ

หน่วยที่7 การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

7.1 ลักษณะและกระบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีลักษณะดังนี้ เป็นการจำแนกหมวดหมู่ของข้อมูลให้เป็นระบบ ต้องวิเคราะห์ข้อมูลในขณะที่เก็บในพื้นที่ ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ควรเป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็นข้อความหรือการพัฒนาที่บรรยายให้เห็นสภาพของปรากฏการณ์ทางการเมือง ประเทศกระบวนการขั้นตอนของเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น เป็นต้น สำหรับกระบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีอยู่หลายขั้นตอน

7.1.1 ลักษณะของการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร
์มีลักษณะดังนี้ เป็นการจำแนกหมวดหมู่ของข้อมูลให้เป็นระบบ ต้องวิเคราะห์ข้อมูลขณะที่เก็บในพื้นที่ ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ควรเป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็นข้อความหรือเป็นการพัฒนาที่บรรยายให้เห็นสภาพของปรากฏการณ์ทางการเมือง เป็นกระบวนการที่กระทำซ้ำกลับไปกลับมา เป็นต้น

7.1.2 กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
กระบวนการขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีหลายขั้นตอน อาทิ ขั้นตอนแรก ขั้นจัดกระทำข้อมูล ขั้นที่ 2 ขั้นตรวจสอบข้อมูล ขั้นที่ 3 การจัดเตรียมข้อมูล เพื่อให้สามารถนำไปวิเคราะห์ง่ายขึ้น ขั้นที่ 4 ท่านใช้กรอบการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

ลักษณะของการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์เป็นกระบวนการที่กระทำซ้ำกลับไปกลับมาระหว่างการเก็บรวบรวมข้อมูลกับการวิเคราะห์ เป็นกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เป็นการจำแนกหมวดหมู่ของข้อมูลให้เป็นระบบ และต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลขณะที่เก็บในพื้นที่ เป็นต้น
กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
ขั้นตอนแรกต้องมีการจัดกระทำข้อมูล
ขั้นตอนที่ 2 ควรจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูล
ขั้นตอนที่ 3 มีการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อให้สามารถนำไปวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น
ขั้นตอนที่ 4 ขั้นใช้กรอบการวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนที่ 5 ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแบ่งเป็นการวิเคราะห์ระหว่างการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์หลังจากการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามแล้ว

7.2 หน่วยและระดับในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์

หน่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ได้แก่ บุคคลจนกระทั่งถึงรัฐบาลของแต่ละประเทศ ระบอบการเมือง เป็นต้น สำหรับระดับการวิเคราะห์จะมีตั้งแต่ระดับรัฐบาล ระดับประเทศ จนกระทั่งระดับทวีป

7.2.1 หน่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
ไม่จำกัดเฉพาะบุคคล แต่อาจจะขยายไปถึงรัฐบาลของแต่ละประเทศ ระบบการเมือง เป็นต้น ขณะที่หน่วยในการวิเคราะห์ของรัฐประศาสนศาสตร์จะอยู่ที่บุคคล โดยอาจจะเป็นข้าราชการ ลูกจ้าง เป็นต้น

7.2.2 ระดับในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
จะมีทั้งระดับรัฐบาล ระดับประเทศ แต่ระดับภาคพื้นทวีปก็ได้

หน่วยการวิเคราะห์ข้อมูลทางการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ไม่จำกัดเฉพาะบุคคล แต่อาจขยายไปถึงรัฐบาล คะแนนที่หน่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐประศาสนศาสตร์จะอยู่ที่บุคคล ฉันอาจจะเป็นข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
ระดับในการวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีทั้งระดับรัฐบาล ระดับประเทศ เป็นต้น
7.3 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
วิธีที่สำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีอยู่หลายวิธี อาทิ วิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิธีวิเคราะห์เชิงอุปนัย
7.3.1 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพเชิงพรรณนา
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพเชิงพรรณนาเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพระดับพื้นฐานในแง่ของการนำข้อมูลมาจัดเรียงตามลำดับเวลา
7.3.2 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพเชิงการวิเคราะห์เนื้อหา
เป็นเทคนิคเพื่อใช้ในการอนุมานอย่างเป็นระบบเนื่องจากผลการวิเคราะห์โดยวิธีนี้จะได้ดัชนีที่เป็นตัวเลขสำหรับนำไปใช้ในการอ้างอิง
7.3.3 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพเชิงอุปนัย
เป็นการนำเอาข้อมูลที่ได้รับการจัดเก็บรวบรวมมาร์หรือตัดทอนเพื่อทำให้ประเด็นการศึกษามีความชัดเจน
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพเชิงพรรณนา ตามความเป็นจริงไม่ใช่เป็นการพรรณนา การบรรยาย หรือเล่าเรื่องราวเพียงอย่างเดียวโดยปราศจากการวิเคราะห์ แต่เป็นการพรรณนาที่มีการวิเคราะห์ควบคู่กันไปด้วย
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพเชิงการวิเคราะห์เนื้อหาเป็นการแจงนับ “แนวคิด” ที่เป็นประเด็นของการศึกษา ตามที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์ โดยแนวคิดเหล่านั้นปรากฏอยู่ในเอกสารหรืองานเขียนที่ต้องแจ้งรับออกมาเพื่อให้เห็นชัดลงไปว่าเอกสารหรืองานเขียนนั้นให้น้ำหนักกับแนวคิดเหล่านั้นมากน้อยเพียงใด
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพเชิงอุปนัยเป็นการนำเอาข้อมูลที่ได้รับจากการจัดเก็บรวบรวม “มาลด” หรือ “ตัดทอน” เพื่อทำให้ประเด็นศึกษามีความชัดเจน โดยนำมาเชื่อมโยงกับสมมติฐานที่ตั้งขึ้นระหว่างการเก็บข้อมูล แล้วนำไปสู่การพัฒนาทฤษฎีเพื่ออธิบายความหมายของข้อมูล
7.4 ปัญหาอุปสรรค และตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
ปัญหาอุปสรรคของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพมีอยู่หลายประการ อาทิ ปัญหาความลุ่มลึกของนักวิจัยในทางทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัย ปัญหาการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างข้อสรุป ซึ่งจะมีลักษณะเป็นข้อสรุปเฉพาะกรณี ปัญหาทัศนะของคนในหรือคนที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทางการเมืองนั้นโดยตรง เป็นต้น สำหรับตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์ได้นำมาจากวิทยานิพนธ์ของ ชุติมา สุมน เรื่อง “กลุ่มพลังประชาธิปไตยในประชาสังคม: บทบาทในการผลักดันนโยบายปฏิรูปการเมืองพ. ศ. 2536 ถึง 2538”
7.4.1 ปัญหาอุปสรรคในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
ปัญหาอุปสรรคในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์มีหลายประการ อาทิ ปัญหาความรุ่มลึกของนักวิจัยในทางทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัย ปัญหาทัศนะของ
“คนใน” หรือ คนที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทางการเมืองนั้นๆโดยตรง ปัญหาความรุ่งเรืองของผู้วิจัยหรือนักวิจัยในทางทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัยเป็นต้น
7.4.2 ตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
นำมาจากวิทยานิพนธ์ของ ชุติมา สุมน เรื่อง
“กรมพลังประชาธิปไตยประชาสังคม: บทบาทในการผลักดันนโยบายปฏิรูปการเมืองพ. ศ. 2536 ถึง 2538”
โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์

หน่วยที่ 8 หลักและวิธีการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

8.1 รากฐานทางปรัชญาของการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

ได้แก่ ปรัชญาปฏิฐานนิยม โดยเฉพาะปรัชญาปฏิฐานนิยมเชิงตรรกวิทยาซึ่งพยายามทำให้ปัดยาเป็นวิทยาศาสตร์ และมีการนำวิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์มาใช้ศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคม สำหรับรัฐศาสตร์ก็คือการนำกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณมาใช้

8.1.1 หลักปรัชญาปฏิฐานนิยม(Positivism) และปฏิฐานนิยมเชิงตรรกวิทยา (Logical Positivism)
ปรัชญาปฏิฐานนิยมสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ช่วงคือปฏิฐานนิยมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และปฏิฐานนิยมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่รู้จักกันในนามของปฏิฐานนิยมเชิงตรรกวิทยา
ปฏิฐานนิยมคือการนำเอาวิธีการเชิงประจักษ์มาศึกษาหรือค้นหากฎทั่วไปที่อธิบายสัมพันธภาพทางสังคม ส่วนปรัชญาปฏิฐานนิยมเชิงตรรกวิทยาก่อตัวขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ความสนใจของกลุ่มนักปรัชญาปฏิฐานนิยมเชิงตรรกวิทยาคือการทำให้ปรัชญาเป็นวิทยาศาสตร์ เน้นวิธีการพิสูจน์ยืนยันทฤษฎี

8.1.2 วิทยาศาสตร์และวิธีการทางวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักปรัชญาว่าด้วยการได้มาซึ่งความรู้แบบปฏิฐานนิยมและมีความใกล้ชิดกับพัฒนาการของหลักปรัชญาปฏิฐานนิยม

8.1.3 วิธีการทางวิทยาศาสตร์กับการทำวิจัย
นักวิจัยกระแสหลักในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติหรือสังคมศาสตร์ได้นำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นกระบวนการในการค้นหาความเป็นจริงและเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุดมาใช้ในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางกายภาพหรือปรากฏการณ์ทางสังคมที่อยู่รอบรอบตัวมนุษย์รวมทั้งพยายามที่จะทำความเข้าใจทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมของมนุษย์เองด้วยกระบวนการดังกล่าวก็คือกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณนั่นเอง

– หลักปรัชญาปฏิฐานนิยมเน้นการนำเอาวิธีการเชิงประจักษ์มาใช้ในการศึกษาสังคม ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ต่างๆซึ่งจะช่วยทำให้สามารถค้นหากฎหรือทฤษฎีที่อธิบายความสัมพันธ์เหล่านั้น
– ปฏิฐานนิยมเชิงตรรกวิทยาคือการทำให้ปรัชญาเป็นวิทยาศาสตร์และเห็นว่าประโยคที่จะมีความหมายมี 2 ประเภทเท่านั้นคือประโยคเชิงประจักษ์และประโยคที่เป็นความจริงในเชิงตรรกวิทยาซึ่งเป็นประโยคที่ใช้ในการวิเคราะห์ส่วนประโยคที่ไม่ใช่ประโยคเชิงวิเคราะห์ทั้งหลายจะมีความหมายก็ต่อเมื่อสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ด้วยข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ดังนั้นหน้าที่หลักของปรัชญาวิทยาศาสตร์สมัยใหม่คือการสร้าง การขยาย  และการใช้กฎของทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ โดยการใช้หลักการว่าด้วยการพิสูจน์ยืนยันเพื่อข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์
กล่าวโดยสรุปปฏิฐานนิยมเชิงตรรกวิทยาใช้วิธีการนิรนัยและเน้นวิธีการพิสูจน์ยืนยันทฤษฎี
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยฐานคติที่สำคัญคือเป็นวิธีการที่ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงหรือเรียนรู้ได้เป็นวิธีการที่มีรูปแบบเดียวสำหรับใช้ศึกษาศาสตร์ในทุกสาขา และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้กันในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสามารถนำเอาไปใช้ศึกษาหาความรู้ในสาขาวิชาอื่นๆได้ทั้งหมด
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักปรัชญาว่าด้วยการได้มาซึ่งความรู้แบบปฏิฐานนิยมและมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพัฒนาการของหลักปรัชญาปฏิฐานนิยมเมื่อปฏิฐานนิยมในระยะแรกเน้นการใช้วิธีการแบบอุปนัย หรือการรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆเพื่อนำมาสรุปหรือสร้างเป็นความรู้เรื่อง 1 เรื่องใดขึ้นมานักวิทยาศาสตร์ก็ใช้วิธีการแบบอุปนัยแสวงหาความรู้แต่ปฏิฐานนิยมที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งได้แก่ปฏิฐานนิยมเชิงตรรกวิทยาได้เน้นวิธีการพิสูจน์ยืนยันทฤษฎีวิธีการวิทยาศาสตร์ได้หันมาใช้วิธีการเชิงนิรนัยคือการพิสูจน์สมมติฐานที่นิรนัยจากทฤษฎีด้วยข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์เป็นต้น
ขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์มีขั้นตอนสำคัญ 5 ขั้นตอนด้วยกัน
1 การสังเกตปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่ง
2 การสร้างทฤษฎีที่อยู่บนพื้นฐานของการสังเกตการณ์นั้นขึ้นมา
3 การสร้างสมมติฐานที่สามารถทดสอบได้ที่อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีดังกล่าว
4 การทดสอบสมมติฐาน
5 การสรุปซึ่งเป็นการให้คำอธิบายว่าข้อมูลที่เก็บรวบรวมนั้นยืนยันหรือปฏิเสธสมมติฐานดังกล่าวนอกจากขั้นตอน 5 ขั้นตอนนี้แล้วเนื่องจากวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุดจึงมีขั้นตอนอีก 3 ขั้นตอนที่ต้องทำซ้ำต่อไปอีกเรื่อยเรื่อยๆในกระบวนการค้นหาความเป็นจริงขั้นตอนดังกล่าวจะซ้ำกับขั้นตอนที่ 2 ถึง 5 ขั้นตอนดังกล่าวคือ
6 การปรับปรุงที่สดีเดิมหรือการสร้างทฤษฎีขึ้นมาใหม่โดยสิ้นเชิงที่อยู่บนพื้นฐานของข้อค้นพบจากงานวิจัยเดิม
7 การสร้างสมมติฐานที่สามารถทดสอบได้ที่อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีที่ได้รับการปรับปรุงแล้วหรือทฤษฎีใหม่
8 การทดสอบสมมติฐาน

8.2 หลักการสำคัญของการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการนำขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อตอบปัญหาวิจัยในการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณจะต้องคำนึงถึงหลักการที่สำคัญคือ หลักความแปรผันร่วม และหลักการควบคุมความแปรปรวน

8.2.1 ความหมายและความสำคัญของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ
การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการนำเอาขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาใช้เพื่อตอบปัญหาวิจัยการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณมีความสำคัญต่อการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์เพราะช่วยในการศึกษาวิจัยปรากฏการณ์ทางการเมืองที่จะศึกษาหารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ต่างๆเพื่อสร้างเป็นทฤษฎีหรือกฎทั่วไปขึ้นมาเพื่อให้คำอธิบายหรือคำทำนายปรากฏการณ์ย่อยย่อยอื่นๆที่เกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันได้

8.2.2หลักความแปรผันร่วม
เป็นหลักการสำคัญประการหนึ่งของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณหลักของความแปรผันร่วมคือตัวแปรตามจะต้องมีความแปรผันกล่าวอีกนัยหนึ่งการทำวิจัยปรากฏการณ์ทางการเมืองในประการแรกจะต้องแน่ใจว่าตัวแปรตามหรือปรากฏการณ์ที่เราต้องการศึกษาหาคำตอบมีความแปรผันมากพอในขณะเดียวกันตัวแปรอิสระต้องมีความผันแปรสูงด้วยและการคัดเลือกตัวแปรอิสระควรได้รับการชี้นำจากทฤษฎีผลการวิจัยของผู้อื่นหรืออย่างน้อยก็เป็นการคัดเลือกที่สมเหตุสมผล

8.2.3 หลักการควบคุมความแปรปรวน
ในการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณจะต้องคำนึงถึงหลักการควบคุมความแปรปรวน 3 ประการคือ 1) ทำให้ความแปรปรวนที่เป็นระบบมีค่าสูงสุด 2) ทำให้ความแปรปรวนที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนมีค่าต่ำสุด 3) ควบคุมความแปรปรวนที่เป็นระบบซึ่งเกิดจากตัวแปรภายนอก

ความสำคัญการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณสำหรับการแสวงหาความรู้ทางรัฐศาสตร์คือช่วยในการศึกษาวิจัยปรากฏการณ์ทางการเมืองโดยการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ทางการเมืองเพื่อสร้างทฤษฎีที่น่าสนใจและสามารถให้คำอธิบายแก่ปรากฏการณ์ทางการเมืองได้อย่างครอบคลุมกว้างขวางมีการร่างทฤษฎีย่อยๆเพื่อนำไปให้คำอธิบายหรือคำทำนายปรากฏการณ์ย่อยย่อยอื่นๆที่เกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันได้
หลักความแปรผันร่วมคือหลักการที่ผู้ออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณจะต้องทำให้แน่ใจว่าตัวแปรตามและตัวแปรอิสระมีความแปรผันสูงและการคัดเลือกตัวแปรอิสระควรได้รับการชี้นำจากทฤษฎีผลงานวิจัยของผู้อื่นหรือยังน้อยที่สุดการคัดเลือกตัวแปรนั้นจะต้องกระทำอย่างสมเหตุสมผล
หลักการ (Max)
เป็นหลักการควบคุมความแปรปรวนหลักการหนึ่งโดยการทำให้ความแปรปรวนที่เป็นระบบมีค่าสูงทำโดยการควบคุมที่ตัวแปรอิสระเช่นในการวิจัยแบบทดลองทำได้โดยผู้วิจัยต้องเข้าแทรกแซงให้ประมาณครึ่งหนึ่งของตัวอย่างทดลองได้ทำการทดลองแต่อีกประมาณครึ่งหนึ่งของตัวอย่างทดลองไม่ได้รับการทดลองเป็นการทำให้ตัวแปรอิสระเป็น 2 กลุ่มที่มีความแตกต่างกันมากที่สุดหลังจากทดลองแล้วจึงมีการวัดค่าตัวแปรตามและทดสอบทางสถิติเพื่อยืนยันว่าค่าเฉลี่ยของตัวแปรตามในประชากรทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นักวิจัยจึงจะสามารถยืนยันได้ว่าสิ่งที่ทดลองเป็นสาเหตุของตัวแปรตามเป็นต้น

8.3 กระบวนการที่สำคัญของการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

คือการกำหนดสมมติฐานวิจัย และการสร้างคำนิยามเชิงปฏิบัติการให้แก่ตัวแปร

8.3.1 การกำหนดสมมติฐานวิจัย
การกำหนดสมมติฐานวิจัยคือการกำหนดคำตอบของปัญหาวิจัยที่นักวิจัยต้องการทดสอบหรือพิสูจน์โดยการกำหนดสมมติฐานอาจจะมาจากการนิรนัยจากทฤษฎีทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาและผ่านการทดสอบยืนยันอย่างเข้มงวดมาแล้ว จากข้อค้นพบของนักวิจัยผู้อื่นที่ได้เคยศึกษาเรื่องนี้หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องมาก่อนการอุปมาอุปไมยจากความรู้ในสาขาวิชาอื่นและการคาดคะเนที่อยู่บนพื้นฐานของความสมเหตุสมผล หรือการสร้างทฤษฎีใหม่ขึ้นมาด้วยตัวนักวิจัยเองซึ่งการเขียนสมมติฐานทำได้ใน 2 ลักษณะคือการแสดงความสัมพันธ์ในเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวและการแสดงความสัมพันธ์ในเชิงเงื่อนไข

8.3.2 ตัวแปรและการสร้างคำนิยามเชิงปฏิบัติการให้แก่ตัวแปร
ตัวแปรคือสิ่งที่นักวิจัยสร้างขึ้นเพื่อวัดกรอบแนวคิดที่ต้องการทำการวิจัยตัวแปรจะมีความเป็นรูปประธรรมมากกว่ากรอบแนวคิดคือมีความสามารถสังเกตเห็นได้หรือสามารถวัดได้และแม้ว่าตัวแปรจะมีลักษณะความเป็นรูปประธรรมหรือวัตถุวิสัยแต่นักวิจัยก็ยังต้องให้คำนิยามเชิงปฏิบัติการแก่ตัวแปรเพื่อที่จะบอกว่าจะวัดตัวแปรนั้นอย่างไร

การกำหนดสมมติฐานวิจัยคือการกำหนดคำตอบที่ผู้วิจัยต้องทำการพิสูจน์หลังจากนักวิจัยกำหนดปัญหาวิจัยแล้วสมมติฐานที่ดีควรมีลักษณะ 6 ประการคือ
1 มีลักษณะเป็นประโยคหรือข้อความเชิงประจักษ์
2 ต้องเป็นข้อความที่มีลักษณะเป็นการทั่วไป
3 ต้องมีความเป็นไปได้
4 ต้องมีลักษณะที่เฉพาะเจาะจง
5 สามารถทดสอบได้
6 ต้องไม่มีลักษณะของความเป็นสิ่งเดียวกันหรือสัมพันธ์กับสิ่งเดียวกันที่เรียกว่า tautological
ตัวแปรคือสิ่งที่นักวิจัยกำหนดหรือสร้างขึ้นเพื่อวัดกรอบแนวคิดที่ต้องการทำการวิจัยเหตุที่ต้องมีการสร้างคำนิยามเชิงปฏิบัติการก็เนื่องมาจากตัวแปรบางตัวมันจะมีความเป็นรูปประธรรมสูงสามารถสังเกตได้แต่การสังเกตอาจมีความคลาดเคลื่อนได้หรือตัวแปรบางตัวมีระดับของความสลับซับซ้อนสูงดังนั้นเพื่อที่จะให้สามารถวัดตัวแปรได้จึงต้องมีการสร้างคำนิยามเชิงปฏิบัติการให้แก่ตัวแปรซึ่งก็คือการบอกว่าจะวัดตัวแปรนั้นอย่างไร

หน่วยที่ 9 การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

9.1 แนวคิดทั่วไปของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ

การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการกำหนดกรอบการดำเนินการวิจัยเพื่อช่วยทำให้ได้มาซึ่งคำตอบของปัญหาการวิจัยอย่างถูกต้อง

9.1.1 ความหมายและความสำคัญของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ
การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวางแผนการดำเนินการวิจัยที่ให้ความสำคัญกับการควบคุมตัวแปรและการควบคุมคุณภาพของเครื่องมือวัดเพื่อทดสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามที่สามารถวัดข้อมูลเป็นตัวเลขได้

9.1.2 ลักษณะของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ
ลักษณะของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่มีการกำหนดความสัมพันธ์เชิงตรรกะระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่แน่นอนซึ่งตัวแปรทั้งสองสามารถกำหนดเข้าออกมาได้เป็นตัวเลขชัดเจนรวมทั้งมีระเบียบวิธีการศึกษาที่ชัดเจนตามตรรกะแบบนิรนัยและมีการควบคุมสถานการณ์ของการศึกษาเพื่อให้เป็นไปตามที่ต้องการได้

9.1.3 ขั้นตอนของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ
ขั้นตอนของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วย การออกแบบกรอบแนวคิดในการวิจัย การออกแบบตัวแปร การออกแบบสมมติฐาน การออกแบบการสุ่มตัวอย่าง การออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูล และการออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล

การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณหมายถึงการวางแผนหรือการกำหนดโครงสร้างของกิจกรรมที่ต้องกระทำในการวิจัยโดยครอบคลุมประเด็นสำคัญตั้งแต่การกำหนดกรอบแนวคิดที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการแปลความข้อมูล โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบของปัญหาในการวิจัย
ลักษณะสำคัญของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่
– มีการควบคุมสถานการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเพื่อให้ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยถูกต้องแม่นยำ
– มีการแยกตัวแปรออกเป็นตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม และมีการกำหนดความสัมพันธ์เชิงตรรกะระหว่างตัวแปรทั้งสองที่ชัดเจน
– มีการกำหนดขอบเขตของการวิจัยที่ชัดเจน
– มีการสร้างนิยามเชิงปฏิบัติการ
– มีการสร้างสมมติฐานและทดสอบโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์
– ใช้ตรรกะการศึกษาแบบนิรนัย
ขั้นตอนของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณคือ
1 การออกแบบกรอบแนวคิดในการวิจัย
2 การออกแบบตัวแปร
3 การออกแบบสมมติฐาน
4 การออกแบบการสุ่มตัวอย่าง
5 การออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูล
6 การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล

9.2 การทดสอบความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ

ความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณสามารถกระทำได้โดยการใช้เกณฑ์การทดสอบรวมทั้งสามารถที่จะเพิ่มความถูกต้องให้สูงขึ้นได้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม

9.2.1 เกณฑ์การทดสอบความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ
เป็นการทดสอบความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วยความหมายในการวัด ความเป็นปรนัย ประสิทธิภาพ ความแม่นยำ อำนาจจำแนก ความเที่ยงตรง และความเชื่อถือได้

9.2.2 วิธีการเพิ่มความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ
วิธีการที่นำมาใช้เพิ่มความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่ การเพิ่มความแปรปรวนอันเนื่องมาจากตัวแปรอิสระให้มีค่าสูงสุด การลดความแปรปรวนอันเนื่องมาจากความคลาดเคลื่อนให้มีค่าต่ำสุด การควบคุมอิทธิพลของตัวแปรภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การควบคุมความเที่ยงตรง การเพิ่มจำนวนข้อความเข้าไปในมาตรวัด
การตัดข้อความที่ไม่สอดคล้องออก และการเพิ่มขนาดของตัวอย่าง

เกมที่นำมาใช้เพื่อยืนยันความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่
1 ความหมายในการวัดหมายถึงความมีสาระในประเด็นของสิ่งที่ต้องการศึกษา
2 ความเป็นปรนัยหมายถึงความเข้าใจตรงกันอย่างชัดเจนระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
3 ประสิทธิภาพหมายถึงความสามารถในการอธิบายครอบคลุมประเด็นสิ่งที่ต้องการศึกษาโดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดแต่ได้ผลคุ้มค่าและมีคุณภาพมากที่สุด
วิธีการเพิ่มความถูกต้องของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่
1 การเพิ่มความแปรปรวนอันเนื่องมาจากตัวแปรอิสระให้มีค่าสูงสุด กรณีนี้อาจทำได้โดยการจัดให้มีกลุ่มเปรียบเทียบและให้สิ่งทดลองแก่กลุ่มทดลอง
2 ควบคุมอิทธิพลของตัวแปรภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องกับการวิจัยแต่เข้ามามีส่วนทำให้ค่าของตัวแปรที่ต้องการศึกษาเปลี่ยนแปลงไปดังนั้นจึงควรทำให้ตัวแปรภายนอกหมดไปหรือให้มีผลต่อการวิจัยน้อยที่สุด
3 ควบคุมความเที่ยงตรงด้วยวิธีการต่างๆ
9.3 ประเภทของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ
การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณที่สำคัญได้แก่การออกแบบการวิจัยแบบไม่มีการทดลองการออก แบบการวิจัยแบบกึ่งทดลองและการออกแบบการวิจัยแบบทดลอง
9.3.1 การออกแบบการวิจัยแบบไม่มีการทดลอง
การออกแบบการวิจัยแบบไม่มีการทดลองเป็นการออกแบบการวิจัยตามสภาพการณ์ที่เป็นจริงรูปแบบที่สำคัญได้แก่การออกแบบการวิจัยเพื่อศึกษาเฉพาะกรณี การออกแบบการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์จากการทดสอบก่อนและหลัง และการออกแบบการวิจัยเปรียบเทียบกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม
9.3.2 การออกแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง
การออกแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลองเป็นการออกแบบการวิจัยที่มีการใส่สิ่งที่ต้องการกระทำให้แก่ประชากรที่ต้องการศึกษาโดยไม่จำเป็นต้องมีกลุ่มควบคุมหรือไม่ต้องมีการกระจายส่งรูปแบบที่สำคัญมี 3 ชนิดได้แก่ การออกแบบการวิจัยเปรียบเทียบผลที่ได้จากการทดสอบก่อนและหลังโดยกลุ่มควบคุมไม่มีการกระจายสุ่ม การออกแบบการวิจัยแบบอนุกรมเวลา รายการออกแบบการวิจัยแบบอนุกรมเวลาโดยมีกลุ่มควบคุม
9.3.3 การออกแบบการวิจัยแบบทดลอง
การออกแบบการวิจัยแบบทดลองเป็นการกำหนดรูปแบบเพื่อการศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการใส่สิ่งที่ต้องการกระทำให้แก่กลุ่มทดลองโดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการได้แก่
มีกลุ่มควบคุม มีการกระจายส่งมีการควบคุม และมีการสังเกตและวัดผลของสิ่งที่ต้องกระทำ รูปแบบที่สำคัญมี 2 ชนิดคือ การออกแบบการวิจัยแบบกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการทดลอง รายการออกแบบการวิจัยแบบกลุ่มควบคุมโดยการทดสอบหลังการทดลอง
การออกแบบการวิจัยแบบไม่มีการทดลองคือการออกแบบการวิจัยโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการที่ต้องการศึกษา
การออกแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลองหมายถึงเป็นการออกแบบการวิจัยที่มีการใส่สิ่งที่ต้องการกระทำให้แก่ประชากรที่ต้องการศึกษาโดยไม่จำเป็นต้องมีกลุ่มควบคุมหรือไม่ต้องมีการกระจายสุ่มหลังจากนั้นจะมีการติดตามผลที่เกิดขึ้น
องค์ประกอบสำคัญของการออกแบบการวิจัยแบบทดลองได้แก่ การมีกลุ่มควบคุม มีการกระจายสุ่ม มีการควบคุมไม่ให้ตัวแปรภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเข้ามามีผลต่อการวิจัยและมีการสังเกตและวัดผลของสิ่งที่ต้องการกระทำที่ผู้วิจัยให้แก่กลุ่มทดลองเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม

หน่วยที่ 10 การเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

10.1 ลักษณะของข้อมูลและจุดเน้นของการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

ข้อมูลเชิงปริมาณคือข้อมูลเป็นตัวเลขที่ผู้วิจัยสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติต่อไปได้อย่างมีคุณภาพดีมีความเชื่อถือได้สูงนักวิจัยควรคำนึงถึงจุดเน้นของการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยเฉพาะการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมินอกจากนี้ผู้วิจัยยังควรพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเก็บข้อมูลกับขั้นตอนอื่นๆของการวิจัยด้วย

10.1.1 ลักษณะของข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
ข้อมูลเชิงปริมาณคือข้อมูลเป็นตัวเลขที่ผู้วิจัยสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติต่อไปได้ คำว่า “ปริมาณ” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่จำนวนโดยไม่มีคุณภาพ แต่หมายถึงข้อมูลเป็นตัวเลขที่อาจได้มาอย่างมีคุณภาพดี และมีความเชื่อถือได้สูงด้วยเช่นกัน

10.1.2 จุดเน้นของการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
จุดเน้นของการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยเฉพาะการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมินั้นผู้วิจัยต้องมีความรู้ความเข้าใจในประเด็นที่ศึกษา ประชากรเป้าหมาย มีการศึกษานำร่อง และควรมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของข้อมูลในภาคสนาม นอกจากนี้ผู้วิจัยยังควรพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเก็บข้อมูลกับขั้นตอนอื่นๆของการวิจัยด้วย

ข้อมูลเชิงปริมาณคือข้อมูลเป็นตัวเลขที่ผู้วิจัยสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติต่อไปได้คำว่า”ปริมาณ” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่จำนวนโดยไม่มีคุณภาพแต่หมายถึงข้อมูลเป็นตัวเลขที่อาจได้มาอย่างมีคุณภาพดีและมีความเชื่อถือได้สูง
จุดเน้นของการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยเฉพาะการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมินั้นมีด้วยกัน 5 ประการคือ
1 ผู้วิจัยต้องมีความรู้ความเข้าใจในประเด็นที่ศึกษา
2 ผู้วิจัยต้องมีความรู้ความเข้าใจในประชากรเป้าหมาย
3 ควรมีการศึกษานำร่อง
4 การเก็บข้อมูลภาคสนามต้องวางแผนให้เกิดประสิทธิภาพ
5 คนมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของข้อมูลในภาคสนาม
นอกจากนี้ผู้วิจัยยังควรพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเก็บข้อมูลกับขั้นตอนอื่นๆของการวิจัยด้วย

10.2วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์มีหลายวิธีเช่น การสัมภาษณ์ การซักถามกลุ่มหรือการสนทนากลุ่ม การสังเกต การใช้แบบสอบถาม และการทดลอง นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีส่วนช่วยนักวิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณอย่างมาก โดยเฉพาะปัจจุบันมีการใช้ “ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์” (Geographic information System :GIS)

10.2.1 การสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์เป็นการถามตอบประเด็นที่เกี่ยวกับสมมติฐานการวิจัย โดยที่ผู้นำและผู้ตอบเผชิญหน้ากัน ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นคำถาม ถ้อยคำที่ใช้การเรียงลำดับ คำถามอากัปกิริยา การบันทึกคำตอบ ต่างก็มีผลต่อการสัมผัสทั้งสิ้น

10.2.2 การซักถามหรือการสนทนากลุ่ม
การซักถามหรือการสนทนากลุ่มเป็นการนัดหมายผู้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือมีบทบาทในเรื่องที่เกี่ยวข้องมาประชุมกัน ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งเพื่อการซักถามเก็บข้อมูลต่างๆการแสดงความคิดเห็นหรือการซักถามจะเป็นไปในลักษณะการสนทนาโดยได้รับการบอกกล่าวชักจูงว่าตนมีความสำคัญและความสามารถในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระเสรี

10.2.3 การสังเกต
การสังเกตในการวิจัยทางรัฐศาสตร์มุ่งหาความรู้ที่ว่าด้วยระบบความสัมพันธ์ทางสังคมการเมืองของบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคมเป็นหลักใหญ่โดยอาจจะสังเกตสิ่งที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ซึ่งอาจจะเป็นวัตถุสิ่งของที่ปราศจากชีวิตหรือสิ่งมีชีวิตโดยไม่คำนึงถึงพฤติกรรมของสิ่งนั้นหรือสังเกตเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและดำเนินอยู่ซึ่งให้ความสนใจแก่พฤติกรรมของสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในสถานที่นั้นในขณะนั้น

10.2.4 การใช้แบบสอบถาม
แบบสอบถามคือเครื่องมือวิจัยชนิดหนึ่งใช้วัดค่าตัวแปรในการวิจัยมีสภาพเหมือนมาตรหรือมิเตอร์ที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์หรือใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไปแบบสอบถามที่ใช้ในทางสังคมศาสตร์จึงเป็นมาตรที่ใช้วัดคุณสมบัติของเหตุการณ์ที่ทำการศึกษา การสร้างแบบสอบถามเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์โดยต้องอาศัยทั้งความรู้ทั้งมาตรวิทยาและมีความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์เครื่องมือวิจัยที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์

10.2.5 การทดลอง
การทดลองเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิอีกวิธีหนึ่งซึ่งมีการใช้กันบ้างแต่ไม่กว้างขวางเช่นเดียวกับวิธีการเก็บข้อมูลอื่นๆเป็นวิธีการที่ผู้วิจัยสามารถควบคุมเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่ต้องการทดลองเพื่อศึกษาดูปฏิกิริยาของประชากรเป้าหมายว่าเป็นไปในลักษณะใดและทำการเปรียบเทียบดูการเปลี่ยนแปลง

10.2.6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีส่วนช่วยนักวิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณอย่างมากโดยเฉพาะปัจจุบันมีการใช้ “ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์” (Geographic information System: GIS) ซึ่งถือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่อีกด้วย

การสัมภาษณ์อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท
คือ การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ( structured interview) การสัมภาษณ์แบบไม่กำหนดทิศทาง (non-directive interview) และการสัมภาษณ์เจาะลึก (in-depth interview)
หลักการสำคัญของการซักถามหรือสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดจะต้องเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือมีบทบาทในเรื่องที่เกี่ยวข้องการแสดงความคิดเห็นหรือการซักถามจะเป็นไปในลักษณะการสนทนาผู้ให้ข้อมูลทุกคนควรได้รับการบอกกล่าวชัดเจนว่าตนมีความสำคัญและความสามารถในการแสดงความคิดเห็นและการให้ความคิดเห็นเป็นไปอย่างอิสระเสรี
การสังเกตที่ใช้กันอยู่ในการวิจัยทางสังคมและแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1 การสังเกตโดยเข้าไปร่วม (participatory observation)
2 การสังเกตโดยไม่เข้าไปร่วม (non-paticipatory observation)
2.1 การสังเกตแบบไม่มีเค้าโครงการกำหนดล่วงหน้า(unstructured observation)
2.2 การสังเกตแบบมีเค้าโครงกำหนดล่วงหน้า(structured observation)
แนวคิดเกี่ยวกับการใช้แบบสอบถาม
แบบสอบถามคือเครื่องมือวิจัยชนิดหนึ่งใช้วัดค่าตัวแปรในการวิจัยแบบสอบถามมีสภาพเหมือนมากหรือมิเตอร์ในทางวิทยาศาสตร์หรือใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไปเช่น มาตรวัดปริมาณของน้ำ มาตรวัดปริมาณไฟฟ้า เป็นต้น แบบสอบถามที่ใช้ในทางสังคมศาสตร์จึงเป็นมาตรที่ใช้วัดคุณสมบัติของเหตุการณ์ที่ทำการศึกษาเช่น อัตราการกระจายอำนาจ อัตราการรับรู้การคอรัปชั่น เป็นต้น การสร้างแบบสอบถามมีลักษณะเหมือนกับการสร้างมาตรทางวิทยาศาสตร์ คือเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ โดยต้องอาศัยทั้งความรู้ทางมาตรวิทยา
และมีความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์เครื่องมือวิจัยที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์
สาเหตุที่การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์ไม่นิยมใช้วิธีการทดลองคือการทดลองจะต้องมีการควบคุมตัวแปรรวมทั้งปัจจัยสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมากซึ่งเป็นสิ่งที่อาจกระทำได้ยากในการเก็บข้อมูลทางสังคมศาสตร์หรือรัฐศาสตร์ที่ต้องวัดพฤติกรรมของมนุษย์
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic information System :GIS)
คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่

10.3 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

นักวิจัยทางรัฐศาสตร์ไม่สามารถซื้อหาเครื่องมือวัดสำเร็จรูปจากท้องตลาดได้ดังเช่นนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในการวัดค่าตัวแปรทางสังคมและการเมืองจึงต้องจัดทำเครื่องมือขึ้นมาใช้เองโดยต้องประดิษฐ์ให้เหมาะสมต่อสภาพข้อมูล ให้มีความเที่ยงตรง ให้มีความเชื่อถือได้ และการให้ความหมายสะท้อนค่าความเป็นจริง รวมทั้งมีความสะดวกต่อการใช้สอย แบบสอบถาม คือเครื่องมือวิจัยชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยม ที่อาจสร้างขึ้นโดยอาศัยมาตรวัดและดัชนี อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้จากการวัดค่าตัวแปรใดๆหากปราศจากซึ่งความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ข้อมูลที่วัดได้ก็ไร้ความหมาย ทำให้นักวิจัยเข้าใจผิดในสาระที่เป็นจริง

10.3.1 แบบสอบถาม
นักวิจัยทางรัฐศาสตร์ไม่สามารถซื้อหาเครื่องมือวัดสำเร็จรูปจากท้องตลาดได้ดังเช่นนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในการวัดค่าตัวแปรทางสังคมและการเมืองนักวิจัยต้องจัดทำแบบสอบถามหรือเครื่องมืออื่นขึ้นมาใช้เองโดยต้องประดิษฐ์ให้เหมาะสมต่อสภาพข้อมูลให้มีความเที่ยงตรงความเชื่อถือได้และการให้ความหมายสะท้อนค่าความเป็นจริงรวมทั้งมีความสะดวกต่อการใช้สอย

10.3.2 มาตรวัด ดัชนี
มาตรวัดเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งของการวัดค่าในการวิจัยทางรัฐศาสตร์มีแนวความคิดเป็นจำนวนมากที่สามารถวัดค่าเชิงปริมาณได้แต่บางแนวความคิดทางด้านความรู้สึกไม่สามารถวัดค่าเป็นเชิงปริมาณได้โดยตรงแต่อาจวัดค่าเป็นประเภทจัดพวกหรือจัดอันดับได้
ส่วนดัชนีเป็นชุดตัวชี้วัดของสภาพการณ์ทางธรรมชาติ ความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมของมนุษย์

10.3.3 การทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
การวัดค่าตามแนวทางวิธีการทางศาสตร์มีวิธีการเชิงประจักษ์ที่ชัดเจนข้อมูลที่ได้จากการวัดค่าตัวแปรใดใดหากปราศจากซึ่งความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ข้อมูลที่วัดได้ก็ไร้ความหมายทำให้นักวิจัยเข้าใจผิดในสาระที่เป็นจริง

สาเหตุที่นักวิจัยทางรัฐศาสตร์ต้องสร้างแบบสอบถามขึ้นด้วยตนเองเนื่องจากนักวิจัยทางรัฐศาสตร์ไม่สามารถซื้อหาเครื่องมือวัดสำเร็จรูปจากท้องตลาดได้ดั่งเช่นนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในการวัดค่าตัวแปรทางสังคมและการเมืองนักวิจัยต้องจัดทำแบบสอบถามหรือเครื่องมืออื่นอ้ายขึ้นมาใช้เองโดยต้องประดิษฐ์ให้เหมาะสมต่อสภาพข้อมูลให้มีความเที่ยงตรงความน่าเชื่อถือและการให้ความหมายสะท้อนค่าความเป็นจริงรวมทั้งมีความสะดวกต่อการใช้สอย
มาตรวัดเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งของการวัดค่าในการวิจัยทางรัฐศาสตร์มีความคิดเป็นจำนวนมากที่สามารถวัดค่าเชิงปริมาณได้เช่นจำนวนคะแนนเสียงเลือกตั้ง/จำนวนสมาชิกของกลุ่มรายได้เป็นต้น ซึ่งมีลักษณะเป็นพฤติกรรมแต่บางแนวคิดทางด้านความรู้สึกไม่สามารถวัดค่าเชิงปริมาณได้โดยตรงสะอาดวัดค่าเป็นประเภทจะอ้วกหรือจัดอันดับได้เช่นอำนาจ/คุณภาพชีวิต/ความแตกแยกทางการเมืองเป็นต้น
ส่วนดัชนี (Index)เป็นชุดตัวชี้วัด (indicator)
ของสภาพการณ์ทางธรรมชาติ/ความรู้สึกนึกคิด/และพฤติกรรมของมนุษย์
ตัวอย่างดัชนีที่พบเห็นเสมอได้แก่ ดัชนีทางธรรมชาติเกี่ยวกับอุณหภูมิโลก ฝนตก น้ำท่วม แผ่นดินไหว ป่าไม้ โรคระบาด ดัชนีจปฐ. ชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน ดัชนีความโปร่งใสของสถาบัน TI ดัชนีว่าด้วยอัตราการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม อัตราค่าตัวตาย เป็นต้น
การทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้มีความสำคัญต่อการวิจัยดังนี้
การวัดค่าตามแนวทางวิธีการทางศาสตร์มีวิธีการเชิงประจักษ์ที่ชัดเจนข้อมูลที่ได้จากการวัดค่าตัวแปรใดๆหากปราศจากซึ่งความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ข้อมูลที่วัดได้ก็ไร้ความหมายทำให้นักวิจัยเข้าใจผิดในสาระที่เป็นจริง

10.4 ปัญหาอุปสรรคและตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

การรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์อาจเกิดปัญหาอุปสรรคที่มีสาเหตุมาจากองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูล 3 มุมมอง กล่าวคือ ด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ด้านเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และด้านผู้เก็บรวบรวมข้อมูล

10.4.1 ปัญหาอุปสรรคของการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
การรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์อาจเกิดปัญหาอุปสรรคที่มีสาเหตุมาจากองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูล 3 มุมมองคือ ด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ด้านเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และด้านผู้เก็บรวบรวมข้อมูล

10.4.2 ตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
งานวิจัยเรื่อง “ดัชนีคอร์รัปชั่นของไทย: การสร้างและการตรวจสอบความเชื่อถือได้” ได้ใช้เทคนิคการสร้างดัชนีชี้วัดคอรัปชั่นของสังคมไทยและของแต่ละหน่วยงานให้มีความเที่ยงตรงตามความหมายที่แท้จริงของคอรัปชั่นในทัศนะของคนไทยและสากล(validity)   มีความน่าเชื่อถือในการวัดค่าของคอรัปชั่น   (reliability) มีความไวในการได้มาซึ่งค่าของคอรัปชั่นที่ทำการวัด (sensitivity) และมีความหมายต่อความเป็นจริงและการรับรู้ของข้าที่ทำการวัดนั้น(meaning-fulness)

ปัญหาอุปสรรคของการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์อาจเกิดปัญหาอุปสรรคที่มีสาเหตุมาจากองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 มุมมองกล่าวคือด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ด้านเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และด้านผู้เก็บรวบรวมข้อมูล
งานวิจัยเรื่อง “ดัชนีคอร์รัปชั่นของไทย: การสร้างและการตรวจสอบความเชื่อถือได้”
มีลักษณะเด่นในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยที่มีการสร้างดัชนีชี้วัดการคอรัปชั่นของสังคมไทยและของแต่ละหน่วยงานให้มีความเที่ยงตรงตามความหมายที่แท้จริงของคอรัปชั่นในทัศนะของคนไทยและสากล(validity) มีความเชื่อถือได้ในการวัดค่าของการคอรัปชั่น(reliability) มีความไวในการได้มาซึ่งค่าของการคอรัปชั่นที่ทำการวัด(sensibility) และมีความหมายต่อความเป็นจริงและการรับรู้ของข้าที่ทำการวัดนั้น(meaningfulness)

หน่วยที่ 11 การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

11.1 สมมติฐานและการทดสอบสมมติฐาน

สมมติฐานสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์มี 2 ประเภทคือสมมติฐานวิจัยและสมมติฐานทางสถิติการทดสอบว่าสมมติฐานวิจัยที่ตั้งไว้ถูกต้องหรือไม่คือการทดสอบความมีนัยยะสำคัญทางสถิตินอกจากนี้ยังต้องมีการคำนวณค่าความเข้มแข็งและทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร การทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติและการวัดความเข้มข้นของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสามารถใช้ค่าสถิติได้หลายตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับการวัดตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม

11.1.1 สมมติฐานวิจัยและสมมติฐานทางสถิติ
การวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์ต้องมีการกำหนดสมมติฐาน นิทานสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์มี 2 ประเภทคือ สมมติฐานวิจัย สมมติฐานทางสถิติ

11.1.2 การทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติ
การทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติเป็นการทดสอบทางสถิติที่กระทำกับสมมติฐานไร้นัยสำคัญโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะปฏิเสธสมมติฐานไร้นัยสำคัญด้วยระบบความเชื่อมั่นที่สูงมากๆเพื่อที่จะสามารถปฏิเสธสมมติฐานไร้นัยสำคัญและหันมายอมรับสมมติฐานทางเลือกหรือสมมติฐานวิจัยได้ด้วยความมั่นใจซึ่งแสดงว่าคำตอบสำหรับการวิจัยที่ตั้งไว้ถูกต้อง

11.1.3 มาตรวัดความเข้มแข็งของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
ในการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์จะต้องมีการคำนวณค่าความเข้มแข็งของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกล่าวอีกนัยหนึ่งคือการวัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่วัดด้วยมาตรวัดช่วงมาตราหรือมาตรวัดอัตราส่วนมาตราโดยการใช้เส้นตรงประเมินหาค่าความเข้มแข็ง (ระดับความมากน้อย) และทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

สมมติฐานสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์มี 2 ประเภทคือ
1 สมมติฐานวิจัยซึ่งมักจะถูกกำหนดขึ้นเป็นประโยคหรือข้อความแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไปโดยอาจกำหนดได้ใน 2 ลักษณะคือ 1.1 สมมติฐานในเชิงเหตุและผลเป็นข้อความที่ระบุว่าตัวแปรอิสระเป็นสาเหตุของตัวแปรตาม 1.22 นิฐานที่แสดงความสัมพันธ์ในเชิงเงื่อนไขเป็นข้อความที่ระบุว่าตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามโดยระบุทิศทางหรือไม่ระบุทิศทางของความสัมพันธ์
2 สมมติฐานทางสถิติมาจากการแปลงสมมติฐานวิจัยเพื่อการพิสูจน์สมมติฐานวิจัยมี 2 ลักษณะคือ2.1 สมมติฐานร้ายนายสำคัญเป็นสมมติฐานที่เขียนขึ้นในลักษณะที่ตรงข้ามกับสมมติฐานวิจัยคือระบุว่าตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามไม่มีความสัมพันธ์กัน 2.2 สมมติฐานทางเลือกเป็นสมมติฐานที่เขียนให้ตรงกันข้ามกับสมมติฐานไร้นัยสำคัญหรือเป็นการเขียนให้ตรงกับสมมติฐานวิจัยนั้นเอง
การทดสอบความมีนัยสำคัญเป็นการทดสอบทางสถิติที่กระทำกับสมมติฐานไร้นัยสำคัญโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะปฏิเสธสมมติฐานไร้นัยสำคัญด้วยระดับความเชื่อมั่นที่สูงมากๆเพื่อที่จะสามารถปฏิเสธสมมติฐานไร้นัยสำคัญและหันมายอมรับสมมติฐานทางเลือกหรือสมมติฐานวิจัยได้ด้วยความมั่นใจซึ่งแสดงว่าคำตอบสำหรับการวิจัยที่ตั้งหรือคาดคะเนไว้ถูกต้อง
ส่วนระดับความมีนัยสำคัญคือเกณฑ์ที่นักวิจัยกำหนดขึ้นมาเพื่อปฏิเสธสมมติฐานไว้ในสำคัญถ้าค่าสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานที่คำนวณได้สูงมากพอจนกระทั่งถึงระดับความมีนัยสำคัญที่นักวิจัยกำหนดไว้นักวิจัยสามารถปฏิเสธสมมติฐานไร้นัยสำคัญได้และโอกาสที่นักวิจัยอาจตัดสินใจผิดจะมีไม่เกินระดับความมีนัยสำคัญที่กำหนดไว้
การวัดความเข้มแข็งของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคือการวัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวเพื่อประเมินระดับความมากน้อยและทิศทางของความสัมพันธ์โดยมักนิยมกำหนดความสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0 กับ 1 ในขณะที่ 0 หมายความว่าตัวแปรทั้งสองตัวไม่มีความสัมพันธ์กันเลยแต่ 1 หมายความว่าตัวแปรทั้งสองตัวมีความสัมพันธ์กันเต็มที่
ส่วนการวัดความเข้มแข็งของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสามารถใช้สถิติได้หลายตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับของการวัดตัวแปรอิสระและตัวแปรตามว่าวัดด้วยมาตรวัดระดับใด

11.2 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตาราง

การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตารางเป็นการนำเสนอข้อมูลที่สามารถนำเสนอข้อมูลให้เห็นได้ชัดเจนและสามารถพรรณนาได้ชัดเจนว่าตัวแปรทั้งสองตัวแปรมีความสัมพันธ์กันอย่างไร และสามารถเลือกใช้สถิติที่ทดสอบความมีนัยสำคัญ และสถิติที่บอกความเข้มแข็งของความสัมพันธ์ที่ไม่ซับซ้อนและง่ายแก่การทำความเข้าใจการทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติมีหลายวิธี เช่น การทดสอบความมีนัยสำคัญด้วยการทดสอบไค-สแควร์และ เคนดอลล์ เทาซี

11.2.1 การสร้างตารางคูณไขว้
การสร้างตารางคูณไขว้เป็นการนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในรูปของเมทริกซ์(matrix)คือการเป็นตารางที่นำเอาค่าของตัวแปรมาไขว้กันซึ่งสามารถใช้ได้ดีในกรณีที่ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามวัดด้วยมาตรวัดนามมาตราหรือลำดับมาตราหรือค่าตัวแปรทั้งสองตัวคือตัวใดตัวหนึ่งวัดด้วยมาตรวัดช่วงมาตราก็สามารถยึดให้เป็นมาตรวัดลำดับมาตราและนำเสนอข้อมูลโดยใช้ตารางคูณไขว้ได้

11.2.2 การทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติด้วยการทดสอบไค-สแควร์
สถิติไค-สแควร์เป็นสถิติประเภทนอน-พาราเมตริก(non- parametric) ใช้ในการพิสูจน์สมมติฐานวิจัยในกรณีที่ตัวแปรตัวใดตัวหนึ่งวัดด้วยมาตรวัดนามมาตราและตัวแปรอีกตัวหนึ่งวัดด้วยมาตรวัดนามมาตราหรือมาตรวัดลำดับมาตรา

11.2.3 การทดสอบความมีนัยสำคัญของเคนดอลล์ เทา-ซี (Kendall’s tau-c)
ใช้ในกรณีที่ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามต่างก็วัดด้วยมาตรวัดลำดับมาตรา

การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตารางคูณไขว้คือการนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในรูปของเมทริกซ์ในกรณีที่ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามวัดด้วยมาตราวัดน้ำมาตราหรือลำดับมาตราและถ้าตัวแปรทั้ง 2 ตัวหรือตัวใดตัวหนึ่งวัดด้วยมาตรวัดช่วงมาตราก็สามารถหยิบให้เป็นมาตรวัดลำดับมาตราแล้วจึงนำเสนอโดยการใช้ตารางคูณไขว้
การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตารางคูณไขว้มีข้อดีคือสามารถนำเสนอข้อมูลให้เห็นได้ชัดเจนและสามารถพรรณนาได้ชัดเจนว่า ตัวแปรทั้ง 2 ตัวมีความสัมพันธ์กันอย่างไรและสามารถเลือกใช้สถิติที่ทดสอบความมีนัยสำคัญและสถิติที่บอกความเข้มแข็งของความสัมพันธ์ที่ไม่ซับซ้อนและง่ายแก่การทำความเข้าใจ
ขั้นตอนในการทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติด้วยการทดสอบไค-สแควร์มีดังนี้
1 ระบุสมมติฐานวิจัยที่ต้องการทดสอบ
2 แปลงสมมติฐานวิจัยให้เป็นสมมติฐานทางสถิติและกำหนดระดับความมีนัยสำคัญที่ต้องการ
3 คำนวณค่าอัตราส่วนวิกฤต
4 นำเอาค่าอัตราส่วนวิกฤติไค-สแควร์ที่คำนวณได้ไปเปรียบเทียบกับค่าในตารางไค-สแควร์
5 ถ้าสามารถปฏิเสธ H0 ได้ เครื่องหมายความว่าสามารถพิสูจน์ยืนยันสมมติฐานวิจัยได้ก็ดำเนินการคำนวณหาค่าความเข้มแข็งของความสัมพันธ์
การทดสอบความมีนัยสำคัญของเคนดอลล์ เทา-ซี(Kendall’s tau-c)ใช้ในกรณีที่ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามต่างก็วัดด้วยมาตรวัดลำดับมาตรา

11.3 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยไม่ใช้ตารางคูณไขว้
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยไม่ใช้ตารางคูณไขว้มีหลายวิธี เช่น การทดสอบ t – test การทดสอบ f -Test การทดสอบความมีนัยสำคัญของค่าสหสัมพันธ์เพียร์สันในกรณีที่ตัวแปร 2 ตัววัดด้วยมาตรวัดช่วงมาตราหรือเสมือนช่วงมาตรา
11.3.1 การทดสอบ t – test
เป็นการทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติสำหรับการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิตในประชากรของกลุ่ม 2 กลุ่ม
11.3. 2 การทดสอบ f – Test
เป็นการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทิศทางเดียวเป็นสถิติที่เหมาะสมสำหรับการนำมาทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิตในประชากรตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป
11.3.3 การทดสอบความมีนัยสำคัญของค่าสหสัมพันธ์เพียร์สันในกรณีที่ตัวแปร 2 ตัววัดด้วยมาตรวัดช่วงมาตราหรือเสมือนช่วงมาตรา
ใช้ในกรณีที่ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามวัดด้วยมาตรวัดช่วงมาตราหรือเสมือนช่วงมาตรา
การทดสอบ t – test มีขั้นตอนการทดสอบดังนี้
1 ตั้งสมมติฐานวิจัย
2 แปลงสมมติฐานวิจัยให้เป็นสมมติฐานทางสถิติ
3 กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ
4 ส่งตัวอย่างวิจัยทั้ง 2 กลุ่มจากประชากรและเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วคำนวณค่าสถิติพื้นฐานซึ่งได้แก่ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปรตาม
5 คำนวณค่าอัตราส่วนวิกฤติตามสูตร t – test
6 เปรียบเทียบค่าอัตราส่วนวิกฤตที่คำนวณได้กับค่า T ในตาราง

11.4 การวิเคราะห์ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวแปรหลายตัวและตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

การวิเคราะห์ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวแปรหลายตัวอาจทำโดยการใช้ตารางคูณไขว้หรือโดยไม่ใช้ตารางคูณไขว้ก็ได้

11.4.1การวิเคราะห์ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวแปรหลายตัวโดยการใช้ตารางคูณไขว้
ในกรณีที่ข้อมูลประกอบด้วยตัวแปรหลายตัวและวัดด้วยมาตรวัดนามมาตราหรือลำดับมาตรานักวิจัยจะต้องนำเสนอด้วยตารางคูณไขว้และหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามโดยการนำตัวแปรที่ 3 มาควบคุม

11.4 .2วิเคราะห์ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวแปรหลายตัวโดยไม่ใช้ตารางคูณไขว้
การวิเคราะห์ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวแปรหลายตัวโดยไม่ใช้ตารางคูณไขว้อาจทำได้โดยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์พาร์เชียล และการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ

11.4 . 3 ตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์ที่นำเสนอคือ รายงานวิจัยเรื่อง “ทัศนคติของข้าราชการส่วนภูมิภาคต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย”
ซึ่งมีการใช้ค่าสถิติหลายค่าในการทดสอบสมมติฐานหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม

การวิเคราะห์ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวแปรหลายตัวโดยการใช้ตารางคูณไขว้จะทำให้สามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามโดยการนำเอาตัวแปรที่ 3 มาทำการควบคุมการควบคุมตัวแปรภายนอกในขณะที่หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามจะทำให้สามารถตรวจสอบได้ว่าความสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามเป็นสภาวะเทียมหรือไม่เป็นความสัมพันธ์ทางอ้อมหรือไม่และยังสามารถตรวจสอบได้ว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์เชิงเงื่อนไขหรือไม่และเป็นเงื่อนไขในรูปแบบใด
ข้อจำกัดของการวิเคราะห์ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวแปรหลายตัวโดยการใช้ตารางคูณไขว้คือนักวิจัยควรนำตัวแปรภายนอกมาเป็นตัวแปรควบคุมครั้งละตัวแปรเท่านั้นหากมีตัวแปรควบคุมตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไปจะทำให้ตารางมีความสลับซับซ้อนยากแก่การทำความเข้าใจ
การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณเหมาะสำหรับการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามในกรณีที่ตัวแบบงานวิจัยประกอบด้วยตัวแปรตามตัวเดียวและตัวแปรอิสระมากกว่า 2 ตัวและตัวแปรตามและตัวแปรอิสระส่วนใหญ่วัดด้วยมาตรวัดช่วงมาตราหรือเสมือนช่วงมาตรา
ตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์ที่นำเสนอมาพิสูจน์สมมติฐานหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามโดยใช้การทดสอบไค-สแควร/์เท่าซี /แกมมา และสหสัมพันธ์เพียร์สัน(r)

หน่วยที่ 12 การเปรียบเทียบการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

12.1 ลักษณะเด่นของการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณต่างมีลักษณะเด่นที่แตกต่างกันไปซึ่งอาจมีการเปรียบเทียบกันในหลายด้านแต่ละลักษณะเด่นและข้อเสียของแต่ละประเภทต่างก็ช่วยเกื้อกูลกันและมักมีการใช้ผสมผสานกันเพื่อลดข้ออ่อนด้อยให้ถึงพร้อมซึ่งความสมบูรณ์ของการวิจัย

12 . 1.1 ลักษณะเด่นของการวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
การวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการวิเคราะห์เชิงอุปนัยบรรยายเรื่องที่ทำการศึกษาตามสภาพการณ์การรับรู้โดยเฉพาะการรับรู้ของคนแต่ละกลุ่มและมุ่งที่จะทำความเข้าใจผู้คนในกรณีต่างๆในรายละเอียดโดยเน้นไปที่สภาพวิถีชีวิตที่แท้จริงกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษามักจะเป็นกลุ่มเล็กๆหรือบางกรณีนักวิจัยอาจบรรยายภาพละเอียดของการศึกษาอย่างลึกของบุคคลเพียงคนเดียวก็อาจเป็นได้

12.1.2 ลักษณะเด่นของการวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการใช้ตัวเลขข้อมูลเป็นหลักในการวิเคราะห์ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมาจากการอาศัยการสำรวจข้อมูลหรือการทดลององค์ประกอบที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของการวิจัยเชิงปริมาณอยู่ที่การวัดปริมาณซึ่งหมายถึงการนำหลักคณิตศาสตร์มาใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์เชิงปริมาณ

12.1.3 การเปรียบเทียบลักษณะเด่นของการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณต่างมีข้อดีและข้อเสียจึงทำให้มีความพยายามผสมผสานการออกแบบวิธีวิจัยของทั้งสองประเภทนี้เข้าด้วยกันแต่การวิจัยทั้ง 2 ประเภทก็มีความแตกต่างกันเช่น ปรัชญาพื้นฐาน หน่วยในการศึกษา การกำหนดสมมติฐาน การคัดเลือกตัวอย่าง การกระจายผลสู่ประชากร รายการตีความปรากฏการณ์ทางสังคม เป็นต้น

12.1.4 การผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
ลักษณะที่ต่างกันไม่ได้ทำให้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพกับวิธีการวิจัยเชิงปริมาณกลายเป็นปฏิปักษ์ต่อกันตรงกันข้ามลักษณะดังกล่าวกลับเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างและเกื้อกูลกันและกัน ให้ถึงพร้อมซึ่งความสมบูรณ์การวิจัยเชิงคุณภาพจะช่วยให้ผู้วิจัยเกิดความกระจ่างเกี่ยวกับสถานการณ์หนึ่งๆในสังคมตามที่ปรากฏอยู่ในขณะเดียวกันการวิจัยเชิงปริมาณจะหยิบยื่นวิธีการตัดสินว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์สังคมที่ได้จากการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นจะนำไปใช้กับกรณีอื่นๆโดยทั่วไปได้เพียงไรทำอย่างไรข้อจำกัดของการศึกษาเฉพาะกรณีในการวิจัยเชิงคุณภาพจะได้รับการแก้ไขและช่วยเหลือโดยการวิจัยเชิงปริมาณ

ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพมีดังต่อไปนี้
1 การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการเอาสภาพที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ(Natural setting)เป็นแหล่งที่มาของข้อมูล และนักวิจัยเชิงคุณภาพจะเป็นเครื่องมือเบื้องต้นในการเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยความรู้ความสามารถของนักวิจัย
2 งานวิจัยเชิงคุณภาพเป็นงานในลักษณะเชิงบรรยายมุ่งความสนใจที่กระบวนการ ความหมาย และความเข้าใจที่ได้รับจากคำพูดและรูปภาพหรือเป็นการพรรณนานั้นเอง
3 นักวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการศึกษาที่ตัวกระบวนการยิ่งกว่าผลิตผลหรือผลลัพธ์ของกระบวนการ
4 กระบวนการของงานวิจัยเชิงคุณภาพเป็นลักษณะของการอุปมาน(inductive) ซึ่งผู้วิจัยจะเริ่มจากการสร้างข้อสรุป (abstraction) แนวคิด (Concept) สมมติฐาน (hypothesis) และทฤษฎี (theory) จากรายละเอียดต่างๆที่รวบรวมมาได้
5 แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นให้ความสำคัญที่ “ความหมาย”(Meaning) ขอสิ่งที่ทำการศึกษาการตีความจำเป็นเฉพาะกรณีมากกว่าที่จะทำในรูปของข้อสรุปทั่วไป(generalizations)
6 แม้จะใช้นักวิจัยเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพก็มีการพิสูจน์ความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของข้อมูลรวมทั้งผลงานวิจัย
การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยที่ต้องอาศัยการสำรวจข้อมูล (Survey) หรือการทดลอง (experiment) เป็นหลัก
การวัดตัวแปรของการวิจัยเชิงปริมาณใช้เครื่องมือวัดที่ไม่ต้องอาศัยวิจารณญาณของผู้วิจัยเหมือนการวิจัยเชิงคุณภาพในแง่ดังกล่าวผลของการวัดจึงมีความคงเส้นคงวา (consistency) มากกว่านั้นคือใครจะเป็นผู้วัดก็น่าจะได้ผลเหมือนกัน
ความสัมพันธ์ของการผสมผสานวิธีการเชิงปริมาณกับวิธีการเชิงคุณภาพในแง่ตรรกวิทยาหรือในแง่ปรัชญา
ในกระบวนการคิดของมนุษย์เราย่อมรู้จักคุณภาพก่อนปริมาณกล่าวคือคนเกิดความรู้(notion)เกี่ยวกับสิ่งๆหนึ่ง(preticular)ก่อนนั่นคือ คุณภาพ จากนั้นโดยประสบการณ์คนจึงเรียนรู้ว่าสิ่งที่ตนรู้เกี่ยวกับสิ่งหนึ่งนั้นเหมือนกับสิ่งที่ตนรู้ในหลายๆสิ่งหรือไม่เป็นการหาลักษณะที่เป็นสากล (Universal) ของหลายๆสิ่งทำให้คนเกิดความชัดแจ้ง (Precision) นั่นคือปริมาณจึงกล่าวได้ว่าวิธีการเชิงคุณภาพทำให้คนเกิดความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะและวิธีการเชิงปริมาณทำให้คนเกิดความชัดแจ้งจากลำดับกระบวนการคิดนี่เองที่ทำให้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมาก่อนวิธีการเชิงปริมาณช่วยให้ผู้วิจัยเกิดความกระจ่างหลายแง่มุมหลังจากนั้นวิธีการเชิงปริมาณก็เข้ามาช่วยเสริมสร้างให้เกิดความแน่ใจในข้อค้นพบ

12.2 ความแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

ความแตกต่างของการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์มีหลายด้าน ได้แก่ ปรัชญาพื้นฐานและหน่วยในการศึกษา วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การตีความปรากฏการณ์ทางสังคมและการนำเสนอผลงาน

12.2.1 ความแตกต่างด้านปรัชญาพื้นฐานและหน่วยในการศึกษา
การวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการศึกษาภายใต้ปรัชญา “ปรากฏการณ์วิทยา” (phenomenology) และมีหน่วยในการศึกษาเป็น “ปรากฏการณ์ทางการเมืองต่างๆ” ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ เน้นการศึกษาภายใต้ปรัชญา “ปฏิฐานนิยมเชิงตรรกะ” (logical positivism) และมีหน่วยในการศึกษาเป็น “พฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล”

12.2.2ความแตกต่างด้านวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
วิธีการเก็บข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพคือการให้ผู้วิจัยออกไปสัมผัสข้อมูลด้วยตนเองวิธีการต่างๆที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจถูกนำมาใช้ เช่น การสังเกตโดยเข้าไปมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ขณะที่นักวิจัยเชิงปริมาณให้ความสำคัญและความเชื่อถือในเครื่องมือเช่นแบบสอบถาม และวิธีการวิจัยมากกว่าตัวของนักวิจัยเอง

10 2.2.3 ความแตกต่างด้านการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพไม่จำเป็นต้องอาศัยคณิตศาสตร์และสถิติชั้นสูงแต่เป็นกระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ที่เกี่ยวโยงไปถึงทฤษฎีเพื่อ “ให้ความหมาย” แก้ข้อมูลที่ได้มาโดยใช้วิธีสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ขณะที่การวิจัยเชิงปริมาณเน้นการใช้ค่าทางสถิติในการคำนวณและแปลผลไปสู่การอธิบายปรากฏการณ์เพื่อสร้าง “ข้อสรุปทั่วไป”

12.2.4 ความแตกต่างด้านการตีความปรากฏการณ์ทางสังคมและการนำเสนอผลงาน
การตีความปรากฏการณ์ของการวิจัยเชิงคุณภาพใช้มุมมองปรากฏการณ์ทางสังคมและนำเสนอการบรรยายหรือพรรณนาสภาพแวดล้อมอธิบายถึงความสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคม กระบวนการเกิดปรากฏการณ์ทางสังคม และความเชื่อมโยงกับกรอบแนวคิดทฤษฎี ขณะที่การวิจัยเชิงปริมาณใช้มุมมองปฏิฐานนิยมและการนำเสนอผลเป็นการนำเสนอในรูปของตัวเลขทางสถิติเป็นหลัก

การวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการศึกษาภายใต้ปรัชญา “ปรากฏการณ์วิทยา” (phenomenology)และมีหน่วยในการศึกษาเป็น “ปรากฏการณ์ทางการเมืองต่างๆ” ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณเน้นการศึกษาภายใต้ปรัชญา “ปฏิฐานนิยมเชิงตรรกะ” (logical ppositivism) และมีหน่วยในการศึกษาเป็น “พฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล”
วิธีการเก็บข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพคือการให้ผู้วิจัยออกไปสัมผัสข้อมูลด้วยตนเองวิธีการต่างๆที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจถูกนำมาใช้เช่น การสังเกตโดยเข้าไปมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ขณะที่นักวิจัยเชิงปริมาณให้ความสำคัญและความเชื่อถือในเครื่องมือเช่น แบบสอบถาม และวิธีการวิจัยมากกว่าตัวของนักวิจัยเอง
การวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพไม่จำเป็นต้องอาศัยคณิตศาสตร์คือสถิติชั้นสูงแต่เป็นกระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ที่เกี่ยวโยงไปถึงทฤษฎีเพื่อ “ให้ความหมาย” แก้ข้อมูลที่ได้มาโดยใช้วิธีสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ขณะที่การวิจัยเชิงปริมาณเน้นการใช้ค่าสถิติในการคำนวณและแปลผลไปสู่การอธิบายปรากฏการณ์เพื่อสร้าง “ข้อสรุปทั่วไป”
การตีความปรากฏการณ์ของการวิจัยเชิงคุณภาพใช้มุมมองปรากฏการณ์ทางสังคมและนำเสนอการบรรยายหรือพรรณนาสภาพแวดล้อม อธิบายถึงความสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคม กระบวนการเกิดปรากฏการณ์ทางสังคม และความเชื่อมโยงกับกรอบแนวคิด ทฤษฎี ขณะที่การวิจัยเชิงปริมาณใช้มุมมองปฏิฐานนิยม รายการนำเสนอผลเป็นการนำเสนอในรูปของตัวเลขทางสถิติเป็นหลัก

12.3 ข้อดี ข้อเสีย และตัวอย่างงานวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์

การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณต่างมีข้อดีข้อเสียด้วยกันทั้งสิ้นการวิจัยแบบใดจะมีความเหมาะสมต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และลักษณะของข้อมูลที่ศึกษา

12.3.1 ข้อดีข้อเสียของการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณต่างมีข้อดีข้อเสียด้วยกันทั้งสิ้นการวิจัยแบบใดจะมีความเหมาะสมต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และลักษณะของข้อมูลที่ศึกษา

12.3.2 ตัวอย่างงานวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์
งานวิจัยเชิงคุณภาพเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอัตวิสัยของผู้ทำการวิจัย ซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดจากอคติและค่านิยมในผลของการศึกษาได้ง่าย การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเล็กทำให้มีหน่วยในการศึกษาน้อยเบื้องต้นอาจไม่สามารถเป็นตัวแทนของประชากรกลุ่มใหญ่หรือสร้างเป็น “ข้อสรุปทั่วไป” ได้จนกว่าจะผ่านการทดสอบหรือพิสูจน์ความเป็นตัวแทนในพื้นที่หรือปรากฏการณ์อื่นๆก่อน

12.3.3 ตัวอย่างงานวิจัยเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
ปรากฏการณ์ทางสังคมมีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอการจัดตั้งทฤษฎีขึ้นมาเพื่ออธิบายปัญหา อุปสรรค และความคิดเห็นย่อมเป็นไปไม่ได้ แม้ว่าผลการวิเคราะห์ทางสถิติของการวิจัยเชิงปริมาณจะมีความน่าเชื่อถือ แต่ก็อาจจะไม่แม่นตรง และไม่สามารถปรึกษาหน่อยสำหรับการวิเคราะห์ได้ลึกซึ้ง

12.3.4 ตัวอย่างงานวิจัยกึ่งเชิงคุณภาพและเชิงเชิงปริมาณในทางรัฐศาสตร์
การวิจัยกึ่งเชิงคุณภาพและเชิงเชิงปริมาณเป็นการพยายามทำความเข้าใจกับการวิจัยเชิงคุณภาพก่อนเชิงปริมาณเพื่อให้เกิดความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะกล่าวคือมีการทบทวนวรรณกรรมความรู้ที่เกี่ยวข้องก่อนและพยายามหาลักษณะที่เป็นสากลด้วยการใช้เทคนิควิธีเชิงปริมาณเพื่อให้เกิดความชัดแจ้งช่วยเสริมสร้างให้เกิดความแน่ใจในข้อค้นพบตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

หากพิจารณาการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณในแง่มุมต่างๆสรุปเป็นข้อดีและข้อเสียของการวิจัยแต่ละประเภทได้ดังนี้
ข้อดีของการวิจัยเชิงคุณภาพ
ก.เป็นการศึกษาหน่วยสำหรับวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งดูจากหลายๆด้านในเวลาเดียวกันมีให้เลือกศึกษาเพียงบางตัวแปร
ข.การตีความปรากฏการณ์ทำได้ด้วยตัวผู้วิจัยเองเปิดโอกาสให้ใช้ความสามารถของผู้วิจัยอย่างเต็มที่
ค.เหมาะสำหรับการวิจัยที่หน่วยสำหรับการวิเคราะห์มีไม่มากนักหรือที่เรียกว่าการศึกษาเฉพาะกรณี
ข้อเสียของการวิจัยเชิงคุณภาพ
ก.ไม่เหมาะกับการวิจัยที่มีหน่วยสำหรับการวิเคราะห์เป็นจำนวนมาก
ข.การตีความข้อมูลและการสร้างข้อสรุปอาศัยวิจารณญาณของตัวผู้วิจัยเป็นเกณฑ์ผลสรุปของผู้วิจัยแต่ละคนจึงอาจแตกต่างกันในเรื่องเดียวกันและเนื่องจากการศึกษาหน่วยสำหรับการวิเคราะห์จำนวนไม่มากข้อสรุปจึงเป็นลักษณะเฉพาะหน่วยที่ศึกษาเท่านั้น
ข้อดีของการวิจัยเชิงปริมาณ
ก.เป็นการศึกษาที่มีหน่วยสำหรับการวิเคราะห์จำนวนมากและข้อมูลเป็นเชิงปริมาณจึงนำไปใช้วิธีการทางสถิติ
ข.ข้อสรุปน่าเชื่อถือและสามารถนำไปอธิบายหน่วยที่ไม่ได้ศึกษาได้
ค.การวัดตัวแปรใช้เครื่องมือวัดที่ไม่ต้องอาศัยวิจารณญาณของผู้วิจัยผลจึงมีความคงเส้นคงวามากกว่า
ข้อเสียของการวิจัยเชิงปริมาณ
ก.แม่สามารถศึกษาโดยสำหรับการวิเคราะห์ได้ลึกซึ้ง
ข.ถ้าผู้วิจัยไม่มีความถนัดทางสถิติจะทำไม่ได้หรือใช้วิธีการทางสถิติที่ไม่ถูกต้องการศึกษาหน่วยสำหรับวิเคราะห์จำนวนน้อยจะไม่เหมาะสำหรับวิธีการทางสถิติ
หากพิจารณาวิธีวิจัยของงานวิจัยเชิงคุณภาพนี้แล้วจะเห็นได้ว่าเป็นงานที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาทาง “ปรากฏการณ์วิทยา” กล่าวคือมุ่งที่จะศึกษาปรากฏการณ์ประยุกต์ที่เน้นความสำคัญของหน่วยในการศึกษาเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองคือ การเลือกตั้ง โดยการที่นักวิจัยนำตัวเองเข้าไปสัมผัสแบบเจาะลึกกับปรากฏการณ์ที่ตนมุ่งศึกษา คือ การร่วมสังเกตการณ์การเลือกตั้งทั่วไปพ.ศ 2544 ลักษณะเช่นนี้จึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอัตวิสัย (subjectivity) ของผู้ทำการวิจัยซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นกลาง ความไม่ปลอดจากอคติและค่านิยมในผลของการศึกษาได้ง่าย
การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเล็กในลักษณะของการเจาะลึก จึงมีหน่วยในการศึกษาน้อยรวมทั้งวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วมทำให้ในเบื้องต้นผลการศึกษาอาจไม่สามารถเป็นตัวแทนของประชากรกลุ่มใหญ่หรือสร้างเป็น “ข้อสรุปทั่วไป” (Generalization) ได้ จนกว่าจะผ่านการทดสอบหรือพิสูจน์ความเป็นตัวแทนในพื้นที่หรือปรากฏการณ์อื่นๆก่อน
อย่างไรก็ตามหากนักวิจัยมีความละเอียดอ่อนในการสังเกตการเก็บรวบรวมข้อมูลและการตีความปราศจากอคติในการศึกษารวมทั้งมีความแม่นยำในทฤษฎีก็อาจทำให้ผลการศึกษามีมุมมองที่แตกต่างและมีความละเอียดอ่อนในการบรรยายพรรณนานำเสนอผลการศึกษาเนื่องจากการศึกษาปรากฏการณ์ทางรัฐศาสตร์เป็นการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์จึงไม่สามารถทำนายหรืออธิบายผลได้ด้วยเพียงค่าตัวเลขทางสถิติดังเช่นการวิจัยเชิงปริมาณเท่านั้น
งานวิจัยเรื่อง บ่อนการพนันตามแนวชายแดนของไทย: ผลกระทบและแนวทางแก้ไขปัญหา โดยพรศักด ิ์ผ่องแผ้ว และคณะ
หากพิจารณาวิธีวิจัยของงานวิจัยนี้จะเห็นว่าเป็นงานที่ให้ความสำคัญกับแนวทางการศึกษาแบบ “ปฏิฐานนิยมเชิงตรรกะ” ซึ่งเป็นปรัชญาของวิทยาศาสตร์ที่เน้นให้ใช้ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นวัตถุวิสัยและมีการแสวงหา “ข้อมูลเชิงประจักษ์” คือการใช้ความเป็นกลางความปลอดจากอคติและค่านิยมมาเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่วัด ทดสอบ พิสูจน์ได้ทางสถิติมาสร้างและพัฒนาองค์ความรู้
การศึกษานี้มีหน่วยในการศึกษาที่พฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลกล่าวคือสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาจากความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสถานการณ์พนันตามชายแดนประเด็นความเสียหายความเหมาะสมและผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมและสรุปประเด็นทางเลือกในการดำเนินการแก้ไขปัญหาในเชิงปฏิบัติทั้งในด้านการกำหนดนโยบาย วิธีการ และมาตรการที่เหมาะสม โดยอาศัยเครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณ คือแบบสอบถามจำนวน 25000 ชุด ซึ่งมีลักษณะการส่งกระจายอย่างหลากหลายและครอบคลุมทุกจังหวัดในประเทศทั้งในระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่นตามคุณลักษณะด้านเพศ อายุ การศึกษาและอาชีพ (Random sampling) กลุ่มตัวอย่างจึงมีขนาดใหญ่และเป็นการศึกษาในวงกว้างส่งผลให้สามารถที่จะกระจายผลสู่ประชากรสร้างเป็น “ข้อสรุปทั่วไป” ที่มีความน่าเชื่อถือและสามารถนำไปอธิบายหน่วยที่มิได้ศึกษาได้
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาที่มีหน่วยสำหรับการวิเคราะห์จำนวนมากและข้อมูลเป็นเชิงปริมาณจึงนำไปใช้วิธีการทางสถิติได้งานวิจัยนี้จึงได้ใช้ค่าทางสถิติชั้นสูงในการวิเคราะห์ปัจจัยที่พยากรณ์ค่าความน่าจะเป็นการเห็นควรให้มีสถานะการพนันถูกกฎหมายควบคุมอย่างเข้มงวดจากทางราชการโดยให้มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการการพนันแห่งชาติ” เป็นการใช้การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก (logistic regression)ค่าสถิติวาลด์ (Wald statistic) เพื่อศึกษาความสามารถของปัจจัยหรือตัวแปรพยากรณ์หรือตัวแปรอิสระในการพยากรณ์ค่าความน่าจะเป็นของการเห็นควรให้มีสถานการพนันถูกกฎหมายควบคุมอย่างเข้มงวดจากทางราชการโดยให้มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการการพนันแห่งชาติ” ในรูปอัตราส่วนแต้มต่อจัดการวัดตัวแปรที่ใช้เครื่องมือวัดซึ่งไม่ต้องอาศัยวิจารณญาณของผู้วิจัยจึงให้ผลมีความคงเส้นคงวามากอย่างไรก็ตามปรากฏการณ์การพนันมีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอการจัดตั้งทฤษฎีขึ้นมาเพื่ออธิบายปัญหาอุปสรรคและความคิดเห็นต่อการพนันย่อมเป็นไปไม่ได้แม้นว่าผลการวิเคราะห์ทางสถิติจะมีความน่าเชื่อถือเพราะมนุษย์นั้นไม่เหมือนกับสิ่งที่ไม่มีชีวิตซึ่งคุณสมบัติจะคงเส้นคงวาแต่มนุษย์นั้นเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอการวิเคราะห์ตัวเลขทางสถิติเช่น ทัศนคติของคนต่อการพนันนั้นจะไม่แม่นตรงเหมือนกับการวัดในทางเคมีหรือฟิสิกส์และไม่สามารถศึกษาหน่วยสำหรับการวิเคราะห์ได้ลึกซึ้ง
การวิจัยทางรัฐศาสตร์การใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในเรื่องเดียวกัน เช่น เรื่องอินเทอร์เน็ตกับการเมืองไทย โดย : ยุทธพร อิสรชัย
หากพิจารณาวิธีวิจัยของงานวิจัยนี้จะเห็นว่าเป็นงานที่ให้ความสำคัญกับแนวทางการศึกษาทั้งแบบ “ปรากฏการณ์วิทยา” (phenomenology) กล่าวคือ มุ่งที่จะศึกษา ปรากฏการณ์ประยุกต์ที่เน้นความสำคัญของหน่วยในการศึกษาเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองคือการใช้อินเตอร์เน็ตของพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และผู้บริหารผู้ตรวจสอบในการเลือกตั้งทั่วไปพ. ศ. 2544 โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และแนวทาง “ปฏิฐานนิยมเชิงตรรกะ” (logical positivism) ในการแสวงหา  “ข้อมูลเชิงประจักษ์” คือการรับรู้ข่าวสารการตัดสินใจลงคะแนนเสียงและทัศนคติความคิดเห็นต่อการใช้อินเตอร์เน็ตในการเลือกตั้งทั่วไปพ. ศ. 2544
การศึกษานี้มีหน่วยในการศึกษาทั้งในระดับปรากฏการณ์และพฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลกล่าวคือการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตในเชิงคุณภาพและใช้เครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณคือแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งซึ่งมีลักษณะการส่งกระจายอย่างหลากหลายและครอบคลุมกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมาก ปานกลาง และไม่เคยใช้เลย ตามคุณลักษณะด้านเพศ อายุ การศึกษาและอาชีพ กลุ่มตัวอย่างจึงมีวงกว้างส่งผลให้สามารถที่จะกระจายผลสู่ประชากรสร้างเป็น “ข้อสรุปทั่วไป” ที่มีความน่าเชื่อถือและสามารถนำไปอธิบายหน่วยที่มิได้ศึกษาได้
อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ internet มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอการจัดตั้งทฤษฎีขึ้นมาเพื่ออธิบายปัญหาอุปสรรคและความคิด

หน่วยที่ 13 แหล่งข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

13.1 แนวคิดและความสำคัญเกี่ยวกับข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

ข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์เป็นฐานสำคัญของการแสวงหาความรู้หรือหาคำตอบให้กับคำถามหรือสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการคำถามข้อมูลจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการที่จะนำไปสู่การเข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆทางการเมืองและการสร้างองค์ความรู้ในทางรัฐศาสตร์

13.1.1 แนวคิดเกี่ยวกับข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
ข้อมูลการวิจัยคือ ข้อเท็จจริง ข่าวสาร หรือความรู้ที่ผู้วิจัยต้องการค้นหาเพื่อนำมาวิเคราะห์ อธิบาย หรือสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สนใจศึกษาข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์มีทั้งระดับปฐมภูมิคือ บุคคล กลุ่ม  องค์กร สถาบันและสังคม
และข้อทุติยภูมิคือ ข้อมูลที่มีการเก็บรวบรวมไว้แล้วโดยข้อมูลทั้งสองระดับก็อาจแยกเป็นข้อมูลที่เป็นเรื่องการเมืองโดยตรงกับข้อมูลที่ไม่ใช่เรื่องการเมืองโดยตรงแต่อาจเกี่ยวข้องกับการเมืองในด้านใดด้านหนึ่ง

13.1.2 ความสำคัญของข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
ข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์มีความสำคัญในหลายลักษณะคือ ความสำคัญต่อการแสวงหาองค์ความรู้ สำคัญต่อการพัฒนาระเบียบวิธีการศึกษา การพัฒนา “ศาสตร์” ทางการเมืองหรือรัฐศาสตร์  สำคัญต่อการพัฒนาทางการเมืองและการแก้ไขปัญหาสังคม สำคัญต่อการพัฒนาการเรียนการสอนและหลักสูตรทางด้านรัฐศาสตร์ และสำคัญต่อการสร้างและพัฒนานักวิจัยทางด้านรัฐศาสตร์

ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิในการวิจัยทางรัฐศาสตร์
ข้อมูลการวิจัยทางรัฐศาสตร์คือข้อมูลที่เกี่ยวกับการเมืองโดยตรง และ/หรือที่เกี่ยวข้องกับการเมืองผู้วิจัยต้องให้ความหมายของการเมืองและกำหนดขอบเขตการเมืองที่เป็นเรื่องศึกษาวิจัยให้ชัดเจน จึงจะสามารถระบุข้อมูลที่ตรงกับการวิจัยได้ถูกต้องชัดเจน เช่น การวิจัยเกี่ยวกับการเลือกตั้งจะแนะนำส่วนใดจะศึกษาเพียงพูดไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งเท่านั้น หรือจะศึกษาผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมดเป็นต้น
สาเหตุที่ข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์สำคัญต่อการแสวงหาองค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์
เพราะการที่จะรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือเรื่องทั่วไปทางการเมืองจากปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นจำเป็นต้องแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆท่านมีข้อมูลถูกต้องพอเพียงและสามารถประมวลวิเคราะห์ได้อย่างเป็นระบบก็จะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้อย่างเป็นระบบได้
13.2 แหล่งข้อมูลและฐานข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
แหล่งข้อมูลและฐานข้อมูลทางรัฐศาสตร์คือแหล่งที่ผู้วิจัยจะเข้าไปแสวงหาข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยที่ได้กำหนดไว้แหล่งข้อมูลจึงมีทั้งที่เป็นเรื่องการเมืองโดยตรงและแหล่งที่ไม่ใช่การเมืองแต่เกี่ยวข้องกับการเมืองโดยแบ่งออกได้เป็นระดับปฐมภูมิและระดับทุติยภูมิ
13.2.1 แหล่งข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
แหล่งข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์แยกได้เป็น 2 ระดับคือ ระดับปฐมภูมิ ได้แก่ บุคคล กลุ่มคน องค์กรและสถาบัน และสังคม
ระดับทุติยภูมิคือ ห้องสมุด สถาบันที่ทำงานด้านการวิจัย สถาบันสื่อมวลชน องค์กรและสถาบันทางการเมือง หน่วยงานทางด้านรัฐศาสตร์โดยตรง มูลนิธิ สมาคม และแหล่งข้อมูลอื่นๆ
13.2.2 ฐานข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
ฐานข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ที่นิยมกันมากในยุคต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 คือ อินเตอร์เน็ตที่สืบค้นผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังทำการศึกษาและซีดีรอมที่ใช้ได้สะดวกรวดเร็วและมีฐานข้อมูลจำนวนมาก
การวิจัยทางรัฐศาสตร์สามารถใช้ได้ทั้งแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิในทุกๆส่วนขึ้นอยู่กับว่าจะวิจัยเรื่องอะไรมีขอบเขตการวิจัยในลักษณะใดเพราะข้อมูลการวิจัยในเรื่องเกี่ยวกับการเมืองมักมีข้อมูลทั้งในระดับปฐมภูมิคือต้องสัมภาษณ์บุคคลหรือการเข้าไปสังเกตการณ์สถานการณ์จริงๆและในระดับทุติยภูมิคือการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้ในที่ต่างๆเช่นการวิจัยเกี่ยวกับการเลือกตั้งเป็นต้นอาจจำเป็นต้องแสวงหาข้อมูลจากทั้งสองแหล่งดังกล่าว
ฐานข้อมูลหมายถึงการจัดเก็บข้อมูลมหาศาลไว้อย่างเป็นระบบและทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการค้นคว้าผู้ศึกษาวิจัยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังแหล่งข้อมูลฐานข้อมูลจึงมีลักษณะเป็นแหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีข้อมูลจำนวนมากแต่อยู่ในระบบขนาดเล็กและมีอยู่หลายระบบ
13.3 การใช้ประโยชน์และปัญหาการใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
การใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์จะแตกต่างกันระหว่างแหล่งข้อมูลระดับปฐมภูมิกับทุติยภูมิและจะมีปัญหาในลักษณะที่แตกต่างกันด้วยระหว่างแหล่งข้อมูลใน 2 ระดับดังกล่าว
13.3. 1ลักษณะทั่วไปของการใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
การใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิทั้งรูปแบบการสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ ออกแบบสอบถาม การทดสอบหรือกึ่งทดสอบ พรุ่งนี้ใจต้องทำให้เกิดความเต็มใจ และการให้ความร่วมมือจากแหล่งข้อมูลให้มากที่สุด จึงจะได้ข้อมูลตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ส่วนแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ผู้วิจัยต้องรู้แหล่งข้อมูล รู้ระบบระเบียบของแหล่งข้อมูล จัดระบบการวิจัยไว้อย่างดี มีความเชี่ยวชาญพอสมควรในการค้นหาข้อมูลจึงจะได้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูล
13.3.2 ปัญหาการใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
ปัญหาการใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลมีทั้งด้านของผู้วิจัยและด้านของแหล่งข้อมูล ในด้านของผู้วิจัยถ้าเป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิอาจเป็นปัญหาที่การสื่อสาร การรู้จักวัฒนธรรมแหล่งข้อมูล ผู้วิจัยอาจมีปัญหาด้านภาษา การไม่รู้แหล่งข้อมูล ขาดความชำนาญ รวมทั้งปัญหาด้านเวลาอื่นๆ
ส่วนในระดับทุติยภูมิ อาจเป็นปัญหาที่มีข้อมูลเก่า ปัญหาวัฒนธรรมการให้บริการ แหล่งข้อมูลอยู่ไกล รวมทั้งอาจมีฐานข้อมูลมากทำให้เสียเวลาในการค้นคว้า
ข้อดีและข้อเสียจากการใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์
ข้อดีคือได้ข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมืองที่ศึกษาวิจัยโดยตรงสามารถแสวงหาข้อมูลได้ตรงกับที่ต้องการอาจมีความหลากหลายและตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนหรือความเที่ยงตรงของข้อมูลได้ดีเพราะสามารถสัมภาษณ์ได้หลายคนและสัมภาษณ์ซ้ำๆได้
ข้อเสียคือข้อมูลอาจไม่ตรงกับความเป็นจริงของสถานการณ์ทางการเมืองที่ศึกษาวิจัยเพราะเป็นความคิดเห็นตามมุมมองของผู้ให้สัมภาษณ์แต่ละคนหรือผู้ให้สัมภาษณ์บางคนอาจจงใจบิดเบือนข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างหรือแม้แต่ให้ข้อมูลเพียงบางส่วนแต่ไม่ให้อย่างครบถ้วนหรืออย่างที่ผู้วิจัยต้องการ
ปัญหาการใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ในด้านของผู้วิจัยที่เป็นปัญหาสำคัญที่สุดคือ “ความตระหนักในความเป็นนักวิจัยของผู้วิจัย” พระนักวิจัยต้องวางตัวเป็นกลางคือ ยึดเอากรอบการวิจัยเป็นเครื่องมือของการวิจัยเป็นหลัก ต้องตัดอคติและความลำเอียงต่างๆออกให้มากที่สุด มุ่งแสวงหาข้อมูลตามสภาพที่เป็นจริงที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและต้องมีจรรยาบรรณในการวิจัยอย่างสูงซึ่งเป็นเรื่องยากที่นักวิจัยทั่วไปที่เป็นมนุษย์ปุถุชนจะทำได้ทั้งหมด และถ้าทำไม่ได้มากก็จะเป็นปัญหากระทบไปสู่กระบวนการของการวิจัย

หน่วยที่ 14 การเขียนโครงการและรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

14.1 การเขียนโครงการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

การเขียนโครงการวิจัยจัดเป็นขั้นตอนแรกของการทำวิจัยเป็นการเขียนรายละเอียดที่ชี้ทิศทางและขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยเพื่อให้ผู้วิจัยดำเนินการจนบรรลุจุดมุ่งหมายของโครงการวิจัยที่ได้กำหนดไว้

14 .1.1 แนวคิดและหลักการของการเขียนโครงการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
การเขียนโครงการวิจัยคือ การเขียนแผนงาน โครงสร้าง และวิธีการทำวิจัยที่กำหนดหรือวางแนวทางไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะดำเนินการวิจัย ซึ่งจะช่วยชี้ทิศทางและขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยตั้งแต่ต้นจนจบ การเขียนโครงการวิจัยและต้องครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย โจทย์หรือคำถามของการวิจัย การศึกษาภูมิหลัง ทบทวนวรรณกรรมและสรุปแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับโครงการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย และงบประมาณการใช้จ่าย

14.1.2 โครงสร้างและวิธีการเขียนโครงการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
การเขียนโครงการวิจัยต้องเขียนตามโครงสร้างรูปแบบที่ผู้พิจารณาโครงการวิจัยดังกล่าวกำหนด โดยทั่วไปโครงสร้างการเขียนโครงการวิจัยทางรัฐศาสตร์แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ โครงสร้างส่วนนำ โครงสร้างเสริมระเบียบวิธีวิจัยหรือวิธีดำเนินการวิจัย และโครงสร้างส่วนเสริม

โครงการวิจัยคือแผนงาน โครงสร้าง และวิธีการทำวิจัยที่ได้กำหนดหรือวางแนวทางไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะดำเนินการวิจัยซึ่งจะช่วยชี้ทิศทางและขั้นตอนของการดำเนินงานวิจัยตั้งแต่ต้นจนจบ
การเขียนโครงการวิจัยมีประโยชน์คือ
– เป็นหลักหรือแผนการดำเนินการในการวิจัย
– เป็นเครื่องมือพื้นฐานเบื้องต้นสำหรับการศึกษาของนักศึกษาในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี
– เป็นเอกสารเสนอขอรับทุนหรือรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการวิจัย
ประเด็นสาระสำคัญที่ควรมีในโครงการวิจัยคือระบุวัตถุประสงค์และปัญหาหรือคำถามของการวิจัยการนำเสนอภูมิหลังทบทวนวรรณกรรมและสรุปแนวคิดที่เกี่ยวข้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยและงบประมาณรายจ่ายในการดำเนินการโครงการวิจัย
โครงสร้างหลักของการเขียนโครงการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนเนื้อแต่ละส่วนต้องระบุรายละเอียดดังนี้
1 โครงสร้างส่วนนำประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อโครงการ ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ของการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ กรอบแนวคิดทฤษฎี สมมติฐานการวิจัย ขอบเขตการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น ข้อจำกัดของการวิจัย แล้วนิยามศัพท์
2 โครงสร้างส่วนระเบียบวิธีวิจัยหรือวิธีดำเนินการวิจัยต้องระบุรายละเอียดของแหล่งข้อมูลการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล แล้ววิธีวิเคราะห์ข้อมูล
3 โครงสร้างส่วนเสริม คือ การระบุประเภทของงานวิจัยและสาขาวิชาที่ทำการวิจัย คณะวิจัย ระยะเวลาที่ทำการวิจัย แผนการบริหารโครงการวิจัยและแผนการดำเนินงานตลอดโครงการวิจัย งบประมาณที่ใช้ในการวิจัย บรรณานุกรม

14.2 แนวคิด หลักการ และโครงสร้างรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

การเขียนโครงการวิจัยจะต้องยึดรูปแบบและวิธีการตามที่หน่วยงานหรือผู้พิจารณาโครงการจะเป็นผู้กำหนดรายละเอียดโดยทั่วไปการเขียนโครงการวิจัยจะมีโครงสร้าง 3 ส่วนคือ โครงสร้างส่วนหน้า โครงสร้างส่วนระเบียบวิธีวิจัยหรือวิธีดำเนินการวิจัย และโครงสร้างส่วนเสริม

14.2.1 ความหมาย วัตถุประสงค์ และหลักของการเขียนรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
รายงานการวิจัยเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการวิจัย เป็นกระบวนการสื่อสารที่จะสะท้อนให้ทราบถึงรายละเอียดกระบวนการขั้นตอนการวิจัยและผลของการวิจัยในการจัดทำรายงานการวิจัยผู้วิจัยจะต้องคำนึงถึงลักษณะของเนื้อหา  วิธีการเขียนเนื้อหาและการจัดรูปแบบของการเขียน โดยในการเขียนรายงานการวิจัยขั้นปฏิบัติ มีขั้นตอนคือ การเขียนโครงร่างรายงานการวิจัย การเขียนร่างรายงานการวิจัยครั้งแรก การตรวจสอบและวิจารณ์ รายการเขียนรายงานครั้งสุดท้าย

14.2.2 ประเทศและโครงสร้างรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์
รายงานการวิจัยแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทขึ้นอยู่กับเหตุผลของการแบ่งประเภทของรายงานรายงานการวิจัยแต่ละประเภทจะมีโครงสร้างแตกต่างกันไป

รายงานการวิจัยเป็นกระบวนการสื่อสารที่จะสะท้อนให้ทราบถึงรายละเอียดกระบวนการขั้นตอนแต่ละขั้นตอนที่ได้มีการดำเนินการเพื่อแสวงหาคำตอบให้กับคำถามหรือโจทย์ของการวิจัยที่ได้กำหนดไว้เพื่อให้สามารถนำคำตอบหรือสิ่งที่ค้นพบมาใช้อ้างอิงหรือเป็นหลักฐานที่สามารถนำไปตรวจสอบความถูกต้องหรือนำไปใช้ให้ก่อเกิดประโยชน์ต่อไป

หลักสำคัญของการเขียนรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์คือ
– ลักษณะของเนื้อหา เป็นการเสนอข้อเท็จจริง สิ่งที่ค้นพบและคำตอบที่ผู้ศึกษาวิจัยได้จากการดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีและขั้นตอนของการวิจัย ไม่ใช่การเขียนรายงานข้อเท็จจริง ปัญหา ทรรศนะ ความคิดเห็น การตีความหรือการสังเกตของบุคคลหรือองค์การ
– การจัดลำดับเนื้อหา การเขียนรายงานการวิจัยจากต้องนำเสนอเนื้อหาตามลำดับขั้นอย่างเป็นระบบตามเหตุและผลเชิงตรรกะวิทยา
– วิธีการเขียนเนื้อหา เน้นการให้ความรู้แก่ผู้อ่านเป็นการเขียนเชิงวิชาการแต่ต้องไม่ยากแก่การทำความเข้าใจเนื้อหาและทำให้ผู้อ่านจับประเด็นหรือแนวคิดที่ผู้เขียนต้องการเสนอได้และสามารถเข้าใจข้อสรุปในส่วนที่เกี่ยวกับความเที่ยงตรงความเชื่อถือได้ของผลและบทสรุปที่ได้จากรายงานที่เสนอได้ด้วยตนเอง
– การจัดรูปแบบของการเขียนจะต้องสวยงามถูกต้องตามหลักวิชาการมีองค์ประกอบของรายงานครบถ้วนสมบูรณ์

ขั้นตอนในการเขียนรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์คือการเขียนโครงสร้างรายงานการวิจัยการเขียนร่างรายงานวิจัยครั้งแรก การตรวจสอบ และวิจารณ์ และการเขียนรายงานขั้นสุดท้าย

การแบ่งประเภทของรายงานการวิจัยมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับเหตุผลของการแบ่งเช่น
– การแบ่งประเภทรายงานการวิจัยตามระยะเวลาของการวิจัย แบ่งเป็น รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย และรายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์
– การแบ่งประเภทรายงานการวิจัยตามแหล่งที่จะเผยแพร่งานวิจัย แบ่งเป็นรายงานประเภทเพื่อจัดพิมพ์เป็นบทความในวารสาร และรายงานประเภทเพื่อเผยแพร่ให้กับหน่วยงานที่ให้ทุนการวิจัย
– การแบ่งประเภทรายงานการวิจัยตามรูปแบบการเขียนแบ่งเป็น รายงานแบบยาวและรายงานแบบสั้น

โครงสร้างรายงานความก้าวหน้าของการวิจัยมี 2 ส่วนคือ ส่วนนำ(ประกอบด้วยชื่อโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการ ระยะเวลาดำเนินการวิจัย งบประมาณ ช่วงระยะเวลาที่รายงาน) และส่วนเนื้อหา (ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ของโครงการ ผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้ว)

โครงสร้างรายงานการวิจัยแบบเขียนเป็นบทความลงพิมพ์ในวารสารประกอบด้วย ชื่อเรื่องของโครงการวิจัย ชื่อผู้ทำวิจัย หน่วยงานที่สังกัด แหล่งหรือสถาบันที่ให้เงินทุนสนับสนุนการทำวิจัย ปีที่ทำการวิจัย ความงามหรือบทนำ วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย การอภิปรายผลการวิจัย สรุปผล และข้อเสนอแนะ เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม

14.3 วิธีการเขียนรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

โครงสร้างของการเขียนรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ โครงสร้างส่วนนำ โครงสร้างส่วนเนื้อหา ร้านโครงสร้างส่วนเสริม

14.3.1 วิธีการเขียนรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ส่วนนำ
การเขียนรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ส่วนนำประกอบด้วยการจัดทำปก คำนำ กิตติกรรมประกาศ  การเขียนบทคัดย่อ และการจัดทำสารบัญ

14.3.2 วิธีการเขียนรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ส่วนเนื้อหา
การเขียนรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ส่วนเนื้อหา มีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ส่วน คือ  การเขียนบทนำ การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การดำเนินการวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การอภิปรายผล การสรุปผล และข้อเสนอแนะ

14.3.3 วิธีการเขียนรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ส่วนเสริม
การเขียนรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ส่วนเสริม คือ การจัดทำส่วนเชิงอรรถ บรรณานุกรม ภาคผนวก และประวัติผู้วิจัยหรือคณะผู้วิจัย

การเขียนบทคัดย่อคือการเขียนข้อความสรุปสาระหรือเนื้อหาสำคัญของการวิจัยที่จะทำให้ผู้อ่านทราบถึงเนื้อหาของการวิจัยได้อย่างรวดเร็วโดยจะต้องเขียนให้ครอบคลุมประเด็นสําคัญคือวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยโดยสังเขป ขั้นตอน วิธีการดำเนินการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการศึกษา
การเขียนรายงานการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ส่วนเนื้อหาบทแรกคือการเขียนบทนำเป็นการปูพื้นฐานให้ผู้อ่านได้เตรียมตัวเข้าสู่ปัญหาหรือจุดของการศึกษาวิจัยการเขียนบทนำไม่ควรมีความยาวมากนับแต่จะต้องเขียนให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญคือความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย สมมติฐานการวิจัย นิยามเฉพาะ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เชิงอรรถมี 3 ลักษณะคือ
1 เชิงอรรถขยายความคือการเขียนอธิบายรายละเอียดของคำหรือข้อความที่ปรากฏอยู่ในเนื้อหาเพิ่มเติม
2 เชิงอรรถโยงคือเชิงอรรถที่แจ้งว่าผู้อ่านจะไปดูเนื้อเรื่องที่สัมพันธ์กับข้อความดังกล่าวได้เพิ่มเติมจากแหล่งใด
3 เชิงอรรถอ้างอิงคือการบอกแหล่งที่มาของข้อความที่ผู้เขียนรายงานการวิจัยนำมาใส่ไว้ในรายงานการวิจัยของตน หรือนำมาใช้เป็นแนวคิดหรือแหล่งข้อมูลในรายงานการวิจัยของตน

วิธีการเขียนเชิงอรรถมี 2 วิธีคือการเขียนเชิงอรรถแบบที่เขียนแยกออกจากเนื้อเรื่อง และการเขียนเชิงอรรถแบบแทรกปนเนื้อหา

บรรณานุกรมมี 3 ประเภทคือ บรรณานุกรมสมบูรณ์ บรรณานุกรมเลือกสรร และบรรณานุกรมแบบอ้างอิง

หน่วยที่ 15 การวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย

15.1 พัฒนาการและสภาพการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย

การวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทยพัฒนาการควบคู่มากับการเปลี่ยนแปลงทางรัฐศาสตร์ที่มีการจัดการเรียนการสอนโดยสถาบันอุดมศึกษาของรัฐไทยมาเป็นเบื้องต้น แล้วยังคงเป็นสถาบันการศึกษารัฐศาสตร์ที่สำคัญในยุคปฏิรูปการเมืองไทยจนถึงปัจจุบัน การวิจัยทางรัฐศาสตร์ส่วนใหญ่จึงเป็นงานเกี่ยวกับการเรียนการสอนของหลักสูตรรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นสำคัญ โดยหลักสูตรจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะสอดคล้องกับสภาพการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไทย และอิทธิพลของสังคมโลก

15.1.1 พัฒนาการของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย
การวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทยมีพัฒนาการเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของการจัดทำหลักสูตรรัฐศาสตร์ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของรัฐซึ่งแยกไม่ออกจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐ โครงสร้างอำนาจทางการเมือง ตลอดจนบริบททางสังคมและเศรษฐกิจที่สำคัญ รวมทั้งอิทธิพลของวิชาการรัฐศาสตร์จากประเทศตะวันตก โดยภาพรวมการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในระยะแรกยังแคบและจำกัดอยู่กับหลักสูตรรัฐศาสตร์แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มมีการคลี่คลายและขยายออกไปอย่างชัดเจน ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และมีแนวโน้มขยายตัวในด้านต่างๆมากขึ้นตั้งแต่ยุคปฏิรูปทางการเมืองพ. ศ. 2540 เป็นต้น

15.1.2 สถานภาพของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย
การวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทยเริ่มต้นจากการตอบสนองต่อการเรียนการสอนตามหลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัยทำให้มีลักษณะที่จำกัดและไม่เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ชัดเจนกับประเด็นปัญหาทางสังคมจนกระทั่งหลักสูตรรัฐศาสตร์เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และเหตุการณ์ 14 ตุลาคมพ.ศ. 2516 การวิจัยทางรัฐศาสตร์จึงหันมาสู่ประเด็นปัญหาสำคัญทางสังคมมากขึ้นทำให้ได้รับความสนใจกว้างขวางมากขึ้นเป็นลำดับ

การวิจัยทางด้านรัฐศาสตร์ในยุคหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคมพ. ศ. 2516 ค่อนข้างเปลี่ยนแปลงก้าวหน้ามากขึ้น
เนื่องจากการเมืองไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจนเกิดบรรยากาศทางการเมืองประชาธิปไตยอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนและส่งผลให้เกิดความเป็นอิสระทางวิชาการมากขึ้นรวมทั้งการวิจัยทางด้านรัฐศาสตร์ด้วย
การทำให้การวิจัยทางด้านรัฐศาสตร์มีสถานภาพที่เข้มแข็งหรือเกิดการยอมรับอย่างกว้างขวางในอนาคตนักวิจัยและผู้เกี่ยวข้องกับการวิจัยต้องพัฒนาศักยภาพของการวิจัยทางด้านรัฐศาสตร์ให้ก้าวหน้าหรืออย่างต่อเนื่องต้องมีแหล่งเงินทุนหลากหลายและมีเงินทุนมากพอเพียงรวมทั้งสิ่งจูงใจต่างๆและต้องมีความเป็นอิสระทางวิชาการที่จะวิจัยไปสู่ประเด็นปัญหาที่เป็น “หัวใจ” ของการเมืองโดยตรง เช่น ปัญหาของผู้นำทางการเมือง รับปัญหาการใช้อำนาจของผู้กำหนดนโยบายเป็นต้น

15.2 ทิศทางและประเด็นของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย

ประเด็นของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทยนอกจากจะมุ่งเน้นเพื่อการผลิตตำราและหนังสือทางรัฐศาสตร์และประเด็นเกี่ยวกับกฎหมายและการบริหารงานภาครัฐที่มีมาตั้งแต่เริ่มต้นมีหลักสูตรและการเรียนการสอนตามหลักสูตรรัฐศาสตร์สมัยใหม่แล้ว เมื่อสถานการณ์ของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างมากจากสังคมโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคมพ. ศ. 2516 มาจนถึงยุคโลกาภิวัตน์ ประเด็นการวิจัยก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย ทิศทางการวิจัยทางรัฐศาสตร์จึงมีแนวทางไปสู่การตอบปัญหาต่างๆทางการเมืองมากขึ้น

15 .2.1 ทิศทางของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย
ทิศทางของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทยมีความโน้มเอียงที่จะเป็นไปในด้านสำคัญ 3 ถึง 4 ด้านคือการพัฒนาแนวทางและระเบียบวิธีในการศึกษาวิจัย การพัฒนาไปสู่ความเป็นวิชาชีพการวิจัย การวิจัยเพื่อตอบคำถามต่างๆให้กับสังคม รักเกิดการแข่งขันกันมากขึ้นในการทำวิจัย ฉันอาจทำให้เกิดผลลัพธ์ทั้งในแง่บวกและแง่ลบได้

15.2.2 ประเด็นของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย
ประเด็นของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทยในปัจจุบันคือทศวรรษแรกของยุคปฏิรูปการเมืองมีประเด็นหลักหลายกว่าเดิมคือมีทั้งประเด็นเก่าและใหม่ที่เป็นประเด็นหลักคือประเด็นเกี่ยวกับปัญหาการพัฒนาประชาธิปไตยไทย เกี่ยวกับสถาบันทางการเมืองในทุกระดับ เกี่ยวกับผู้กระทำการทางการเมือง เกี่ยวกับแนวความคิดและทฤษฎีการเมือง เกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางการเมือง เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ และเกี่ยวกับการคอรัปชั่น

การที่จะทำให้การวิจัยทางรัฐศาสตร์เกิดคุณค่าต่อสังคมจนส่งผลให้การวิจัยทางรัฐศาสตร์มีทิศทางที่เข้มแข็งมากขึ้นผู้วิจัยและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ให้เงินทุนสนับสนุนต้องเอาใจใส่อย่างจริงจังต้องให้อิสระทางวิชาการในการวิจัยอย่างเต็มที่และต้องมีการนำเอาผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง
สาเหตุที่ประเด็นการสร้างและพัฒนาประชาธิปไตยโน้มเอียงและมีความสำคัญต่อการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย
มีเหตุผลหลายด้านที่สำคัญที่สุดคือเมื่อยังไม่มีระบบการเมืองแบบใดในโลกทั้งที่เคยเกิดขึ้นและปรากฏเป็นจริงอยู่ในปัจจุบัน และที่เป็นไปตามจินตนาการของนักคิดทุกยุคทุกสมัย น่าจะเหมาะสมต่อสังคมมนุษย์มากไปกว่าประชาธิปไตย และประเทศไทยก็เผชิญกับอุปสรรคในเรื่องนี้มานานเกือบศตวรรษแล้วรัฐศาสตร์ก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมุ่งทำวิจัยในประเด็นนี้โดยตรง

15.3 การใช้ประโยชน์ อุปสรรค แนะแนวโน้มของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย

ในระยะเริ่มต้น การใช้ประโยชน์ในการวิจัยทางรัฐศาสตร์จะเน้นสนองตอบต่อการเรียนการสอนตามหลักสูตรของแต่ละสถาบันเป็นหลัก ในระยะต่อมาจึงมีการนำไปใช้ประโยชน์กว้างขวางขึ้น รวมทั้งการจัดการการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในบางด้าน อย่างไรก็ตามการวิจัยทางรัฐศาสตร์มีอุปสรรคหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ด้านเงินทุน แนวโน้มของการวิจัยรัฐศาสตร์ในประเทศไทยคาดว่าจะมีกว้างขวางมากขึ้นตามลำดับ แม้นว่าจะมีอุปสรรคอยู่มากก็ตาม

15.3.1การใช้ประโยชน์จากการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย
มีลักษณะสำคัญ 4-5 ด้านคือ 1) ด้านการเรียนการสอนและหลักสูตร 2) ด้านวิชาการรัฐศาสตร์ 3 )การประยุกต์ความรู้ไปใช้แก้ปัญหาสังคม4) ด้านนโยบายสาธารณะและ 5) ด้านปฏิรูปการเมือง แต่จะมีการใช้ประโยชน์ทางด้านใดมากหรือน้อยก็เป็นไปตามองค์ประกอบสำคัญของแต่ละยุคสมัย

15.3.2 อุปสรรคของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย
อุปสรรคของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทยมีอยู่หลายลักษณะและอาจแยกออกได้เป็น 2 ด้านใหญ่ๆคือ 1) อุปสรรคด้านของการทำวิจัยเองโดยตรง และ 2) อุปสรรคที่เกิดมาจากสภาพแวดล้อมทางด้านต่างๆของการทำวิจัย

15.3.3 แนวโน้มของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย
แนวโน้มของการทำวิจัยทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทยน่าจะมีการขยายกว้างออกไปในหลายๆด้านทั้งในด้านนักวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย การใช้ประโยชน์จากการวิจัย และการพัฒนาด้านคุณภาพของการวิจัย รวมไปจนถึงความตื่นตัวของสังคมไทยในการให้ความสำคัญกับการวิจัยมากขึ้น
การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยทางรัฐศาสตร์ในการกำหนดนโยบายสาธารณะของรัฐบาลไทยมีน้อยเพราะเหตุผล 2 ด้านที่เกี่ยวข้องกันคือ
1 การทําวิจัยมีข้อจำกัดคือทำวิจัยกันน้อยและขาดคุณภาพ จนขาดการยอมรับจากผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายสาธารณะโดยตรง
2 การเมืองไทยยังให้ความสำคัญกับความรู้ความสามารถของชนชั้นนำทางการเมือง ผู้กำหนดนโยบายสาธารณะในระดับสถาบันการเมืองจึงไม่ใช้ข้อมูลหรือองค์ความรู้จากการวิจัยโดยตรงถ้าจะใช้บ้างก็คือผู้มีอำนาจได้อ่านงานวิจัยบ้างหรือมีที่ปรึกษาบางคนให้คำแนะนำ
อุปสรรคในการวิจัยทางรัฐศาสตร์ของไทยในประเด็น”วัฒนธรรมทางการเมืองของคนไทย” น่าจะมีความสำคัญมากที่สุด
วัฒนธรรมทางการเมืองของคนไทย ถ้ายังเชื่อผู้นำ ยกย่องผู้นำบารมีอย่างขาดเหตุผล และงมงาย ไม่ตั้งคำถาม ไม่คิดใคร่ครวญอย่างมีสติและใช้วิจารณญาณอย่างถ่องแท้แล้วก็ยากที่จะให้ความสำคัญกับงานวิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำการวิจัยที่ใช้แนวทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น
คนไทยมีแนวโน้มที่จะยอมรับการวิจัยทางรัฐศาสตร์มากขึ้นกว่าเดิมหรือไม่นั้นยังไม่อาจคาดการณ์ได้เพราะเหตุผลหลายด้านและอุปสรรคสำคัญด้านวัฒนธรรมที่เป็นอยู่ในขณะนี้แต่ถ้าจะยอมรับการวิจัยทางรัฐศาสตร์มากขึ้นกว่าเดิมก็ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงค่านิยมเชิงวัฒนธรรมทางการเมืองคือ สนใจตั้งคำถามและเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรง ต่อเนื่อง และจริงจังโดยทั่วไปกว่าที่ผ่านผ่านมาซึ่งยังไม่มีท่าทีชัดเจนว่าจะเป็นไปในลักษณะดังกล่าวในยุคนี้

บริจาคเพื่อเป็นกำลังใจให้เจ้าของบล็อคได้นะคะ 

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงคร่าาา

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้