เปรียบเทียบ การ ศึกษา ไทย กับ จีน

ขึ้นชื่อว่าการเรียนใน “หลักสูตรอาชีวศึกษา” ก็ดูเหมือนจะมีชื่อชั้นที่เป็นรองการศึกษาระดับ “อุดมศึกษา” อยู่ดี ซึ่งทัศนคติเช่นนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น หากแต่ในประเทศมหาอำนาจในโลกตะวันออก ก็เกิดขึ้นเช่นกัน

แต่หลังจากที่ทางรัฐบาลจีนภายใต้การนำของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง เดินหน้าปฏิรูปประเทศอย่างจริงจัง โดยให้การศึกษาเป็นหนึ่งในเสาหลักที่รัฐบาลจีนให้ความสำคัญ เพราะมีบทบาทอย่างมากในการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และตอบโจทย์ความต้องการของรัฐบาลที่ต้องการตัดวงจรและขจัดความยากจนให้หมดไปจากประเทศโดยการเดินหน้าปฏิรูปการศึกษาส่งผลให้โรงเรียนและสถาบันการศึกษาหลายแห่งในจีนหันมาปรับปรุงหลักสูตรให้มีความหลากหลาย และเน้นไปทางด้านอาชีวศึกษา หรือ หลักสูตรอาชีวศึกษา เป็นหลัก

ค่านิยมชาวจีนที่เปลี่ยนไป หลังประจักษ์แล้วว่า การเรียน หลักสูตรอาชีวศึกษา มีอะไรดี

จากบทความเรื่อง “จีนเล็งขยายหลักสูตรทางเลือกมุ่งเน้นอาชีวะ หวังตอบโจทย์ความถนัดผู้เรียนที่หลากหลาย” ที่แปลและเรียบเรียง โดย นงลักษณ์ อัจนปัญญา เผยแพร่ในเว็บไซต์ กสศ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้บอกเล่าถึงนโยบายการปฏิรูปการศึกษาจีน ด้วย หลักสูตรอาชีวศึกษา อ้างอิงจากรายงานข่าวของ สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) ที่รายงานว่า“ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ระบบการศึกษาของจีนส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปที่การอัดความรู้ด้านวิชาการแขนงต่างๆ โดยเฉพาะวิชาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษา ซึ่งรูปแบบการศึกษาเช่นนี้ไม่เพียงสร้างความกดดันให้กับผู้เรียน และพ่อแม่ที่ต้องเคร่งครัดกับการเรียนของลูกๆ จนพ่อแม่ชาวจีนถูกขนานนามว่าเป็น “พ่อเสือแม่เสือ” เท่านั้น แต่หลักสูตรดังกล่าวยังทำให้ธุรกิจติวเตอร์หรือโรงเรียนสอนพิเศษเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว”ผู้แปลบทความนี้ชี้ว่า เพราะภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรงนี้เอง ที่นำมาซึ่งปัญหา เนื่องจากมีเด็กเรียนเก่งและสำเร็จการศึกษาออกมามากมาย แต่กลับยังมีคนว่างงานอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งๆ ที่ตำแหน่งงานที่เปิดรับอยู่ก็มีมากในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน สะท้อนให้เห็นว่า หลักสูตรการศึกษาของจีนในปัจจุบันไม่ตอบโจทย์กับความต้องการของตลาดงาน และอาจไม่ตอบโจทย์กับความต้องการผู้เรียนด้วยด้านผู้เชี่ยวชาญการศึกษาหลายสำนัก ก็กล่าวว่า การเดินหน้าจัดระบบสถาบันสอนพิเศษของรัฐบาลจีนอย่างจริงจังในช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้พ่อแม่ชาวจีนส่วนหนึ่งกลับมานั่งทบทวนแผนการศึกษาของลูกๆ อย่างจริงจัง จนตระหนักว่า ไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะเป็นเด็กเรียน หรือเป็นหัวกะทิ ที่มุ่งสู่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเสมอไปการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแม้เพียงเล็กน้อยนี้ มากพอที่จะทำให้โรงเรียนและสถาบันการศึกษาหลายแห่งหันมาปรับปรุงหลักสูตรให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นไปในด้านที่เอื้อให้ผู้เรียนได้ค้นหาความชอบและความถนัดของตนเอง

หลักสูตรอาชีวศึกษา เยอรมันนี ต้นแบบปฏิวัติการศึกษาที่จีนขอเดินตามรอย

รายงานจากสำนักข่าวบลูมเบิร์กยังระบุว่า โรงเรียนหลายแห่งมีการปรับรูปแบบด้วยประยุกต์หลักสูตรในต่างประเทศมาใช้มากขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือหลักสูตรของเยอรมนีที่ให้ความสำคัญกับการเรียนอาชีวศึกษาโดยแทนที่จะเข้าเรียนในสถาบันการศึกษา เหล่าคนหนุ่มสาวชาวเยอรมันจำนวนมากต่างตบเท้าเข้าสู่ระบบการเรียนด้วยการการฝึกงานที่เรียกว่า “การฝึกอบรมแบบคู่ขนาน” ซึ่งจะแบ่งเวลาระหว่างการเรียนภาคทฤษฎีในห้องเรียนที่โรงเรียนอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมภาคปฏิบัติที่บริษัทเอกชนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ตนเองสนใจนับเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมสำหรับคนหนุ่มสาวที่จะได้งานที่ดี ขณะที่องค์กรขนาดใหญ่ก็ได้แรงงานทักษะฝีมือขั้นสูงที่ตรงกับความต้องการ โดย 80% ของหนุ่มสาวชาวเยอรมันล้วนเข้าร่วมการฝึกอบรมแบบคู่นี้ด้วยต้นแบบจากเยอรมันนี จีนได้เริ่มนำมาปรับเข้ากับบริบทการศึกษาของจีน เริ่มจากความเคลื่อนไหวของบรรดาสถาบันการศึกษาในจีนที่ทยอยปรับหลักสูตรเมื่อวันที่ 12 ตุลาคมที่ผ่านมา ทางสภาแห่งชาติจีน ซึ่งมีอำนาจในบริหารประเทศและกำหนดนโยบายสูงสุดได้ตีพิมพ์เผยแพร่คู่มือแนวทางด้านการศึกษาเพื่อผลักดันหลักสูตรที่ใกล้เคียงกับโมเดลการศึกษาของเยอรมนี โดยรัฐบาลจีนประกาศให้คำมั่นว่า จีนจะสร้างระบบอาชีวศึกษาระดับโลกเพื่อพัฒนาแรงงานที่มีทักษะสูงสื่อท้องถิ่นแดนมังกรยังรายงานว่า ประเทศจีนไม่ต้องการผู้สำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยรุ่นใหม่จำนวนมากที่ไม่มีทักษะภาคปฏิบัติอีกต่อไป เพราะเป็นกลุ่มที่กลายเป็นคนว่างงานและเป็นชนวนที่ทำให้เกิดความไม่พอใจในสังคม

แน่นอนว่า สาเหตุของการว่างงานไม่ใช่ไม่มีตำแหน่งงานว่าง เพราะข้อมูลการสำรวจของภาครัฐยืนยันว่า มีตำแหน่งงานว่างมากมาย โดยเฉพาะในภาคการผลิตระดับไฮเอนด์ แต่ด้วยความคาดหวังส่วนตัวและครอบครัว ผู้สำเร็จการศึกษาใหม่เพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ยอมไปทำงานในโรงงานและอุตสาหกรรมการผลิต โดยคนส่วนใหญ่ต้องการเข้าสู่งานด้านการตลาด สื่อ หรือบริการทางการเงิน ทำให้การแข่งขันในสายงานดังกล่าวค่อนข้างสูง

สถานการณ์นี้ทำให้จีน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นโรงงานผลิตที่ใหญ่ที่สุดของโลกสูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยปีที่ผ่านมา มูลค่าเพิ่มจากการผลิตคิดเป็นสัดส่วนเพียง 26% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของจีน ลดลง 6% จากเมื่อ 10 ปีก่อน เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว สถานการณ์นี้ ก็เคยเกิดขึ้นที่เยอรมันนี และเยอรมนีใช้เวลาถึง 30 ปีกว่าจะลดขนาดการผลิตในสัดส่วนดังกล่าวลงได้

ในบทความนี้ ได้สรุปว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาชี้ให้เห็นว่าหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเรียนอาชีวศึกษาไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรในสังคมจีนก็คือค่านิยมของสังคม ที่มักจะจัดประเภทของเด็กตามสถานะและความมั่งคั่งของตระกูลโดยจีนในขณะนี้มี “ทารกทองคำ” หรือเด็กบ้านรวยที่สามารถเข้าเรียนมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศที่จะก้าวไปเป็นหัวกะทิในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับประเทศได้มากมาย ขณะเดียวกัน จีนก็มี “ทารกทองแดง” จากครอบครัวยากจนหรือมีรายได้ปานกลางค่อนไปทางต่ำ ที่ทำงานด้านแรงงานในโรงงานจำนวนมากแต่จีนขาดแคลน “ทารกเงิน” หรือชนชั้นกลางที่มีทักษะสามารถขั้นสูงในการผลิตอุปกรณ์ไฮเทคต่างๆ ที่เหล่าหัวกะทิออกแบบขึ้นมาได้ และรัฐบาลจีนกำลังสนับสนุนให้เกิดชนชั้นกลางทักษะสูงจำนวนมากผ่านการสนับสนุนการศึกษาทางด้านอาชีวศึกษานั่นเอง

ภาพจำใหม่ อาชีวศึกษาไทย ขยายความร่วมมือกับภาคเอกชน พัฒนาการสอนให้ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ

ไม่ใช่แค่ชาวจีนเท่านั้น ที่มีค่านิยม “ด้อยค่าอาชีวศึกษา” ผู้ปกครองไทยก็มีค่านิยมแบบนี้เช่นกัน โดยมักจะส่งลูกให้ได้เรียนในระดับอุดมศึกษาหรือในมหาวิทยาลัยชั้นนำ แม้ว่าในปัจจุบัน จะมีความพยายามนำเสนอข้อดีของการเรียนในสายวิชาชีพ หรือ หลักสูตรอาชีวะ ว่ามีแต้มต่อไม่น้อยกว่าเลย ทั้งในด้านการเรียนที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากการปฏิบัติ และมีโอกาสได้ฝึกงานในสถานประกอบการจริง จบไปแล้วมีงานทำแน่นอน ขณะที่บัณฑิตที่เรียนจบในสถาบันอุดมศึกษากับประสบกับปัญหา หางานยาก หรือถ้าได้งานก็อาจจะได้งานที่ไม่ตรงสายที่เรียนมาส่วนหนึ่งเชื่อว่า การที่ค่านิยมเดิมๆยังไม่เปลี่ยน นั่นเป็นเพราะภาพจำเก่าๆ ต่อการเรียนอาชีวะ ที่ยังคงอยู่ในกรอบของ “นักเรียน นักเลง” ทั้งที่ในตอนนี้ หลักสูตรอาชีวศึกษา ของไทย ได้พัฒนาไปไกลอย่างมากแล้วยกตัวอย่าง สิ่งที่เกิดขึ้นที่ล่าสุด เมื่อ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เห็นชอบการจัดตั้งศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center of Vocational Manpower Networking Management : CVM) จำนวน 25 แห่ง ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศโดยแนวคิดในการ ผลิตคนให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ นี้ อยู่ภายใต้แนวคิดของ Demand driven ซึ่งมาลบภาพการผลิตบุคลากรโดยไม่คำนึงความต้องการของตลาดแรงงานที่แท้จริงออกจากระบบการศึกษาไทย และนำสู่ฉากทัศน์ใหม่ของการที่สถาบันการศึกษาจับมือกับสถานประกอบการและหน่วยงานภาครัฐ มุ่งผลิตบุคลากรตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่จะเป็นเครื่องยนต์หลักในการพัฒนาประเทศไทยต่อจากนี้ไป

ทั้งนี้ ศูนย์ CVM ที่เกิดขึ้นในภาคอาชีวศึกษาไทยนี้ ขับเคลื่อนการศึกษาเพื่ออาชีพ สร้างเส้นทางให้ผู้จบอาชีวศึกษามีอาชีพ และมีรายได้ที่เหมาะสม โดยการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) กรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (AQRF) รวมถึงมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศนอกจากนั้น ถ้าใครได้มีโอกาสไปเยี่ยมชม วิทยาลัยอาชีวะ 1 ใน 25 แห่ง ที่ตั้งของศูนย์ CVM อย่าง วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี จะต้องแปลกใจกับภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไปของการเรียนการสอนใน หลักสูตรอาชีวะ ชนิดที่ลบภาพเครื่องไม้เครื่องมือในการสอนเก่าๆ ตั้งไว้ฝุ่นเขรอะ ออกไปได้เลยเพราะที่นี่ มีความร่วมมือกับภาคเอกชนมากมาย จนเกิดเป็นศูนย์การเรียนการสอนที่ทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการในการผลิตบุคลากรป้อนโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC อย่างตรงจุด ด้วยการปรับการศึกษาเป็นการเรียนการสอนในแบบ EEC Model Type A เช่น
  • ความร่วมมือกับ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
ทำงานร่วมกันกับทาง มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น เพื่อปรับหลักสูตรใหม่ๆ บ่มเพาะทักษะที่จำเป็นในการทำงานในสถานประกอบการยุคนี้ด้วย เช่น ทักษะ PLC พื้นฐาน คือ ทักษะการใช้อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือกระบวนการทำงานต่างๆ ซึ่งที่วิทยาลัย ทาง มิตซูบิชิ อีเล็คทริคฯ ก็ได้มอบเครื่องไม้เคื่อมมือทันสมัย มาให้เป็นต้นแบบในการทำการเรียนการสอนด้วย
Source : //careers.mitsubishielectric.co.th/company/mitsubishi-electric-factory-automation-thailand-co-ltd
  • ความร่วมมือกับ บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด
TKK Corporation ได้ส่งเครื่องมือที่เป็นอะไหล่ อุปกรณ์ มาให้ทางวิทยาลัยเทคนิคชลบุรี เพื่อเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน เพราะทางบริษัทฯ เป็นผู้นำเข้าเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม 4.0 อยู่แล้ว
  • ความร่วมมือกับ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA
ครุภัณฑ์ที่ทาง EA มอบให้ทางเทคนิคชลบุรีไว้ เป็นตัวโครงรถไฟฟ้า ยี่ห้อ MINE ซึ่งสามารถใช้ในการเรียนการสอนเด็กนักศึกษาได้จริง ซึ่งชุดการเรียนรู้ รถไฟฟ้าที่ทาง EA ส่งมาให้นี้ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอนเป็นชุด ชุดแบตเตอรี่ ชุดควบคุม จึงสามารถนำไปเผยแพร่ ต่อยอดให้เด็กได้ใช้เรียนรู้ ตอบโจทย์การผลิตบุคลากร ให้รองรับอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่มากขึ้นในอนาคต

ดังนั้น ในยุคที่การศึกษาไทยต้องเป้นไปเพื่อผลิตบุคลากรตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ และภาคอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดูเหมือนว่า การเรียนอาชีวศึกษา จำเป็นต้องก้าวขึ้นมาเป็นพระเอกอีกคน ที่จะช่วยชาติให้ได้กำลังคนคุณภาพตอบโจทย์ตลาดงานยุคใหม่ ที่มีเป้าประสงค์อยู่ที่การทำงานเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวไกลได้จริงเสียแล้ว

การปฏิรูปการศึกษาไทยด้วย “อาชีวศึกษา” ยังมีอีกหลายมุมมองน่าสนใจให้ได้อัปเดต

‘นิทัศน์ วีระโพธิ์ประสิทธิ์’ คนอาชีวศึกษาตัวจริง ผู้อยู่เบื้องหลัง ความสำเร็จของ EEC Model Type A ที่จับต้องได้

เรียนรู้จากต้นแบบ สถาบันอาชีวศึกษาสิงคโปร์ กู้ชาติด้วยการผลิต แรงงานทักษะ ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ

เปรียบเทียบโมเดลความสำเร็จ การปฏิรูปอาชีวศึกษา ไทย vs. จีน ดึงภาคเอกชนร่วมผลิตบุคลากรป้อนอุตฯไฮเทคโนโลยี

Post Views: 1,033

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้