แนวคิดการบริหารจัดการชุมชน

          �ǤԴ ��ɮ� ��ѡ�������ǡѺ����� ��þѲ�Ҫ���� ��кǹ������෤�Ԥ��ú����èѴ��ê��������ջ���Է�Լ���л���Է���Ҿ
�¡����������������ǹ����������͢��¤���������ͧ͢��㹪���� ������ҧ�������觡�����¹��� ��ҹ�ѹ�� �դس�Ҿ �դ��������ѵ���ب�Ե
�������������ǹ��� �����駡�����ҧ���Իѭ�Ҫ��������þѲ�����ҧ�����������ҧ���������º㹡���觢ѹẺ����׹

มีนักวิชาการหลายท่านที่ได้ศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนาชุมชนไว้ตามแนวคิดการพัฒนาชุมชน ดังต่อไปนี้

สนธยา พลตรี (2533 : 65-68) ได้กล่าวถึงการพัฒนาชุมชนว่ามีองค์ประกอบ 2 ประการ สรุปได้ดังนี้ 1. การเข้ามีส่วนร่วมของประชาชนเอง เพื่อที่จะปรับปรุงระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น โดยจะต้องพึ่งตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ และควรเป็นความริเริ่มของชุมชนเองด้วย 2. การจัดให้มีบริการทางเทคนิคและบริการอื่นๆ ที่จะเร่งเร้าให้เกิดความคิดริเริ่มการช่วยตนเอง ช่วยเหลือกันและกัน อันเป็นประโยชน์มากที่สุด

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2539 : 1-2) ได้กล่าวถึงลักษณะการพัฒนาคนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจถือว่าเป็นองค์การพัฒนาชุมชนด้วย สรุปได้ดังนี้ 1. การพัฒนาคน ประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้ 1.1 ด้านจิตใจ 1.2 ด้านร่างกาย 1.3 ด้านสติปัญญา 1.4 ด้านบุคลิกภาพ 2. การพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนา ประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้ 2.1 ด้านเศรษฐกิจ 2.2 ด้านครอบครัวและชุมชน 2.3 ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 2.4 ด้านการบริหารจัดการและการเมือง

สุพัตรา สุภาพ (2536 : 124-126) ได้กล่าวถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งเป็นองค์ประกอบการพัฒนาชุมชน ว่ามี 7 ประการ ดังนี้ 1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หากมีสมบูรณ์จะส่งผลให้ชุมชนมีการพัฒนาได้รวดเร็วและมั่นคง 2. การเปลี่ยนแปลงด้านประชากร การเพิ่ม ประชากรมีคุณภาพ สามารถสร้างให้เกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองทันสมัยขึ้น 3. การอยู่โดดเดี่ยวและติดต่อเกี่ยวข้อง ชุมชนใดที่มีการติดต่อกันทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว 4. โครงสร้างของสังคมและวัฒนธรรม ชุมชนที่มีการเคารพผู้อาวุโสจะมีการเปลี่ยนแปลงน้อย ค่านิยมอื่นๆ ช่วยให้รู้ว่าชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงเกิดการพัฒนาขึ้นมากน้อยเพียงไร 5. ทัศนคติและค่านิยม การมีค่านิยมด้านอาชีพ ด้านบริโภค เป็นส่วนของการชัดการพัฒนาในชุมชนนั้นได้ 6. ความต้องการรับรู้ การยอมรับสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ จะเป็นเครื่องชี้ทิศทางและอัตราการเปลี่ยนแปลงของชุมชน 7. พื้นฐานทางวัฒนธรรม ถ้ามีฐานที่ดีสิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นย่อมดีตามพื้นฐานเดิมด้วย

พลายพล คุ้มทรัพย์ (2533 : 44-47) ได้กล่าวถึงปัจจัยที่สามารถใช้ในการพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นองค์ประกอบการพัฒนาชุมชน ว่าประกอบด้วย 3 ปัจจัย ดังนี้ 1. โครงสร้างทางสังคม ครอบครัวที่มีขนาดเล็กและมีโครงสร้างไม่ซับซ้อนจะส่งผลให้ชุมชนนั้นพัฒนาได้ดีกว่าชุมชนที่มีโครงสร้างทางครอบครัวที่ซับซ้อน 2. โครงสร้างทางชนชั้น ในชุมชนที่มีโครงสร้างแบบเปิด ที่สามารถเปลี่ยนแปลงฐานะทางสังคมได้ง่ายชุมชนนั้นจะเกิดการพัฒนา 3. ความแตกต่างทางเผ่าพันธุ์ เชื้อชาติ และศาสนา ความแตกต่างหากเกิดขึ้นในชุมชนใดย่อมเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ตามระดับของความแตกต่าง

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี (2531 : 58-63) กล่าวถึงปัจจัยที่เกื้อกูลให้การพัฒนาชนบทบรรลุความสำเร็จ จำเป็นต่อการพัฒนา ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ และส่วนประกอบย่อยขององค์ประกอบ ดังนี้ 1. นโยบายระดับชาติ ฝ่ายบริหารจะสามารถดำเนินการแผนพัฒนาได้ต่อเนื่อง และมีเวลาพอที่จะเห็นความถูกต้อง คุ้มค่า มีแนวทางประสานประโยชน์ระหว่างรัฐและเอกชน และความร่วมมือระหว่างประเทศจะต้องเกื้อกูลต่อการพัฒนา 2. องค์การบริหารการพัฒนาชนบท ที่มีองค์กรกลางทำหน้าที่ประสานนโยบายแผนงานและโครงการอย่างมีประสิทธิภาพและมีอำนาจเด็ดขาดในการลงทุน ในหน่วยปฏิบัติต้องดำเนินการตามนโยบาย แผนงาน และโครงการในแผนระดับชาติ และจัดระบบงบประมาณการติดตามควบคุมที่มีประสิทธิภาพ 3. วิทยาการที่เหมาะสมและการจัดการบริการที่สมบูรณ์ เลือกพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับความเป็นจริง และเลือกวิทยาการที่ประชาชนจะได้รับให้เหมาะสม 4. การสนับสนุนระดับท้องถิ่น ความรับผิดชอบของการสนับสนุนงานในท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพจะเกิดการพัฒนาอย่างแท้จริงในระยะยาว 5. การควบคุมดูแลและติดตามผลการปฏิบัติงาน ควรเป็นไปตามแผนงานและโครงการทุกระดับและครอบคลุมทุกพื้นที่ พร้อมทั้งให้สถาบันการศึกษาท้องถิ่นติดตามประเมินผล

อัชญา เคารพาพงศ์ (2541 : 82-83) กล่าวถึงปัจจัยส่วนประกอบที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา สรุปได้ดังนี้ 1. ผู้นำ ได้แก่ ผู้นำท้องถิ่น ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการในหมู่บ้าน และจากองค์กรภาครัฐ มีส่วนให้ชุมชนพัฒนาในทางที่ดีขึ้น เป็นประโยชน์ ชุมชนมีเจตคติที่ดียอมรับสิ่งใหม่และสร้างพลังต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง 2. สังคม-วัฒนธรรม การได้รับวัฒนธรรมจากสังคมเมืองมาปฏิบัติทำให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลง 3. สิ่งแวดล้อม การปรับปรุงสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ชุมชนส่งผลให้ที่ดินอุดมสมบูรณ์ราคาสินค้าเกษตรดี ความเป็นอยู่สะดวกสบายกว่าเดิม 4. ประวัติศาสตร์ เหตุการณ์สำคัญในอดีตมีผลต่อการพัฒนา ความสามัคคี รักพวกพ้อง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ปรียา พรหมจันทร์ (2542 : 25) ได้สรุปองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยการพัฒนาชุมชน ดังนี้ 1. ด้านเศรษฐกิจ ชุมชนที่เศรษฐกิจดีการพัฒนาชุมชนสามารถพัฒนาให้ดีได้ด้วย 2. ด้านสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม เป็นบริบทที่ปรับเปลี่ยนสภาพชุมชนไปตามปัจจัย 3. ด้านการเมือง หมายรวมถึงการเมืองระดับชาติและระดับชุมชนท้องถิ่น 4. ด้านประวัติศาสตร์ โดยอาศัยประสบการณ์และวิกฤตของชุมชนเป็นฐานและบทเรียนการพัฒนาชุมชน นอกจากนี้ ปรียา พรหมจันทร์ ยังได้จำแนกออกเป็นองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยการพัฒนาชุมชน ปัจจัยโดยตรง เช่น คน ทุน ทรัพยากร การจัดการ เป็นต้น และปัจจัยโดยอ้อม เช่น ภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง เป็นต้น

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม (2549) ได้กล่าวถึงการสร้างและพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น มีปัจจัยสำคัญ 4 ประการ ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบการพัฒนาชุมชน ดังนี้ 1. สังคมดี สิ่งแวดล้อมดี มีโอกาสในอาชีพ และกิจกรรมที่หลากหลาย รวมไปถึงวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ความอบอุ่น ความสุข ความเจริญก้าวหน้าที่พึงคาดหวังในอนาคตด้วย 2. ระบบการศึกษาของชาติ มีเป้าหมายในการผลิตคนเพื่อการพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่น ให้เป็นที่พึงปรารถนาของท้องถิ่นเพียงไร 3. รัฐธรรมนูญและนโยบายของรัฐ ที่เอื้อต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เป็นที่พึงปรารถนาน่าอยู่ 4. บทบาทของชุมชน มีสิ่งสำคัญ 3 ประการ คือ ความรักและความดี การเรียนรู้ที่มากกว่าความรู้ และการจัดการกับปัจจัยชุมชนต่างๆ

การบริหารจัดการชุมชนคืออะไร

5.1 การจัดการชุมชน หมายถึง การสร้างวิทยาการ กระบวนการ และการปฏิบัติการให้กับหมู่บ้านหรือ ชุมชนได้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการชุมชนของตนเอง โดยใช้แผนชุมชนที่มีประสิทธิภาพเป็นเครื่องมือใน การพัฒนา ตามกระบวนการสร้างความเข้มแข็งชุมชน

การบริหารจัดการชุมชนที่ดีมีอะไรบ้าง

ดังนี้ 1. การเข้ามีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อที่จะปรับปรุงระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น โดยจะต้องพึ่งตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ และควรเป็นความริเริ่มของชุมชนเองด้วย 2. การจัดให้มีการบริการทางเทคนิคและบริการอื่นๆที่จะเร่งเร้าให้เกิดความคิดริเริ่ม การช่วยเหลือตนเอง ช่วยเหลือกันและกัน อันเป็นประโยชน์มากที่สุด

จุดประสงค์ของการบริหารจัดการชุมชนทำเพื่ออะไร

1. ทำให้สมาชิกในหมู่บ้านร่วมกันพัฒนาหมู่บ้าน 2. สำรวจข้อมูลที่มีอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน ทำให้รู้จุดเด่น จุดด้อย เพื่อนำมาวิเคราะห์ หาสาเหตุ และแนวทางในการแก้ไขปัญหา 3. หมู่บ้าน/ชุมชน รู้ปัญหาของตนเอง และวิธีการแก้ไข 4. เป็นการพัฒนาศักยภาพผู้นำ ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ข้อใดคือความสำคัญของการบริหารจัดการชุมชน

การบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็ง หมายถึง การทีÁ ชุมชนจะต้องสามารถตอบสนองต่อ ความต้องการในชีวิตประจําวัน และช่วยให้สมาชิกของชุมชนสามารถเผชิญกับปัญหา และ แก้ปัญหาทีÁ เกิดขึËนได้ โดยทีÁ การจัดองค์การทางสังคมของชุมชนนัËน จะต้องเอืËอให้สมาชิกของชุมชน มีศักยภาพดังกล่าว เช่น มีความรักสามัคคี มีความสามารถทีÁจะสืบทอดภูมิปัญญา และ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้