ความผิดปกติของ ระบบ สืบพันธุ์ เพศชาย ที่พบบ่อย

สาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งยังไม่ ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็ง พอสรุปได้ดังนี้ คือ

1. อายุ มะเร็งของไต กระเพาะปัสสาวะ มักพบในคนอายุมาก 50-70 ปี มะเร็ง ขององคชาติ พบในคนวัยกลางคนและมะเร็งอัณฑะพบในวัยหนุ่มฉกรรจ์ 2.มะเร็งของไต และกรวยไต เกิดร่วมกับการอักเสบเรื้อรังและนิ่วในไต จากการ กินยาแก้ปวดประเภทฟินาซีตินมากเกินไป 3. มะเร็งของกระเพาะปัสสาวะเกิดบ่อยในคนที่สูบบุหรี่จัด คนที่ทำงานใน โรงงานอุตสาหกรมสีย้อมผ้า คนที่มีการอักเสบเรื้อรัง หรือเป็นนิ่วในกระเพาะ ปัสสาวะ 4. อาหารที่มีไขมันมาก หรือสาเหตุทางพันธุกรรม อาจมีส่วนทำให้เกิดมะเร็ง ของต่อมลูกหมาก 5. ลูกอัณฑะที่ไม่ลงมาในถุงอัณฑะ มีอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งสูง 6. การเสียดสีเรื้อรัง ทำให้เกิดแผลไม่หายแล้วกลายเป็นมะเร็ง เช่น มะเร็งของ ถุงอัณฑะ

การใช้ชีวิตของคุณผู้ชายไทยในปัจจุบัน เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน ต้องรับผิดชอบหน้าที่การงานมากขึ้น โดยเฉพาะในสังคมที่มีแต่การแข่งขัน เร่งรีบ มักทำให้เกิดความเครียดสะสม มาจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึก รับประทานอาหารแบบไม่ถูกสุขอนามัย ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ล้วนก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพแบบสะสม จนเมื่อย่างเข้าสู่วัย 40 สิบปีขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมนในร่างกายที่อาจเริ่มลดระดับลง เรียกว่าแอนโดรพอส (Andropause) คล้ายกับวัยหมดประจำเดือนในเพศหญิง (Menopause) แม้ว่าจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป


แต่อาจส่งผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งมักจะสร้างความรู้สึกที่บกพร่องในคุณภาพชีวิตไป เรามาดูกันว่าคุณผู้ชายเสี่ยงเป็นโรคอะไรกันบ้าง

โรคเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย ต่อมนี้มีลักษณะคล้ายลูกเกาลัดอยู่ตรงบริเวณใต้กระเพาะปัสสาวะด้านหน้าทวารหนัก ต่อมลูกหมากเป็นส่วนที่หุ้มรอบท่อปัสสาวะส่วนต้น ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะส่วนโคน มีหน้าที่ผลิตน้ำเมือกเหลวๆ ในระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ น้ำเมือกจากต่อมลูกหมากจะถูกขับออกมาปนกัน ซึ่งปกติขนาดของต่อมลูกหมากอยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมนเพศชาย ถ้าขาดฮอร์โมนเพศชายหรือมีการเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิงจะทำให้ต่อมลูกหมากฝ่อเล็กลงได้ โรคที่มักพบในต่อมลูกหมากที่สำคัญมี 3 โรค ได้แก่

          1. โรคต่อมลูกหมากโต พบได้ในเพศชาย อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่อายุ 50 - 60 ปี ต่อมลูกหมากที่โตขึ้นนี้ จะกดเบียดท่อปัสสาวะให้แคบลง ทำให้มีอาการปัสสาวะผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะขัด ใช้เวลาปัสสาวะนาน ไม่พุ่ง หรือออกเป็นหยดๆ          2. มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นโรคซึ่งพบในเพศชายอายุ 50 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ในระยะแรกๆ มักไม่แสดงอาการ ตรวจพบได้จากการตรวจสุขภาพประจำปี หรือตรวจเลือดร่วมด้วย เพื่อหาระดับของค่าพีเอสเอ (เอนไซม์ต่อมลูกหมาก)
          3. ต่อมลูกหมากอักเสบ เป็นภาวะที่มีการอักเสบติดเชื้อแบคทีเรียของเนื้อต่อมลูกหมาก รวมทั้งจากเชื้อหนองในเทียม การอักเสบมักจะผ่านเข้าไปทางท่อปัสสาวะ ส่วนน้อยจะผ่านทางกระแสเลือด บ่อยครั้งที่ตรวจไม่พบเชื้อใดๆ พบได้ในกลุ่มอายุระหว่าง 30 - 40 ปีเป็นส่วนใหญ่นอกจากการตรวจสุขภาพประจำปีและการตรวจเลือดร่วมเพื่อหาค่า PSP แล้ว การตรวจต่อมลูกหมากผ่านทางท่อทวารหนัก (Digital Rectal Examination) ยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง โดยแพทย์จะนำข้อมูลที่ได้เหล่านี้มาวินิจฉัยร่วมกับอาการและผลตรวจอื่นๆ เช่น ผลตรวจเลือด ปัสสาวะ และการตรวจด้วยเครื่อง  อัลตราซาวด์ต่อมลูกหมาก ทั้งหมดนี้จึงจะสามารถนำมาวินิจฉัย และวางแผนการรักษาที่เหมาะสมได้

อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction) 

คือ  การที่อวัยวะเพศไม่สามารถแข็งตัว หรือแข็งตัวได้ไม่นานพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้สำเร็จจนเป็นที่พึงพอใจอยู่เป็นประจำ หรืออย่างต่อเนื่อง มีสาเหตุหลักๆ มาจากเส้นเลือดตีบ เส้นประสาทเสื่อม ซึ่งอาจเกิดจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงไขมันในเลือดสูง การใช้ยาบางชนิด ภาวะฮอร์โมนเพศชายบกพร่อง อายุที่มากขึ้น หรือหลายๆ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ อีกมากมาย

ปัจจุบันนี้เข้าใจว่าอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศและอาการต่อมลูกหมากโตพบร่วมกันได้มาก และอาจจะมีสาเหตุร่วมกัน จากการศึกษายังพบอีกว่าคนที่มีอาการต่อมลูกหมากโตรุนแรงก็จะยิ่งพบภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้มากยิ่งขึ้นด้วย เมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีอาการในช่วงอายุเดียวกันซึ่งอาจจะเกิดจากการทำงานมากเกินไปของระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic) ทำให้มีการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมาก รวมทั้งเส้นเลือดในองคชาติ บางคนเชื่อว่าเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงอวัยวะในอุ้งเชิงกรานได้น้อยลง มีผลทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ การโตของต่อมลูกหมาก การบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะลดลง การยืด ขยายของกระเพาะปัสสาวะได้น้อยลงและเกิดความเสื่อมของเส้นประสาทในองคชาติที่กระตุ้นให้องคชาติแข็งตัวได้

การรักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ จะรักษาเป็นขั้นตอน คือ ตรวจร่างกายในห้องปฏิบัติการ เช่น เบาหวาน ไขมัน การทำงานของตับ ไต ในรายที่ความต้องการทางเพศลดลง หรือตรวจร่างกายพบลูกอัณฑะขนาดเล็ก จำเป็นต้องได้รับการตรวจฮอร์โมนเพศชายร่วมด้วย การรักษาจะเริ่มจากวิธีง่ายๆ เช่น ให้ยารับประทาน การใช้ปั๊มสูญญากาศ ถ้าไม่ได้ผลหรือไม่พึงพอใจ จะใช้ยาฉีด หรือการผ่าตัดใส่แกนองคชาติเทียม หรือใช้หลายๆ วิธีร่วมกัน เช่น รับประทานยา 2 ชนิดร่วมกัน บางรายอาจจะเลือกวิธีง่ายๆ ด้วยการรับประทานยา แต่หากอาการไม่ดีขึ้น ขั้นตอนต่อไปจะใช้ยาฉีดเข้าโคนองคชาติ เพื่อทดสอบดูสภาวะของเส้นเลือด และการตอบสนองต่อยาฉีด ในรายที่ได้ผล และไม่กลัวการฉีดยาก็จะเลือกวิธีนี้ แต่ในรายที่ไม่ได้ผลหรือไม่พอใจ ก็อาจจะต้องทำการผ่าตัดใส่แกนองคชาติเทียม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้