งานบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ 2565

เลิกขบวน อัญเชิญพระเกี้ยว ลาม งานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ ล่าสุด องค์การนักศึกษา มธ. ซาวด์เสียง เมื่อสังคมขยับ งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ควรมีต่อ หรือ พอแค่นี้?

26 ต.ค.2564 - ยังเป็นประเด็นถกเถียงของสังคม ศิษย์เก่า - ศิษย์ใหม่อย่างต่อเนื่อง หลังจากองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ออกแถลงการณ์ คณะกรรมการบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ยกเลิกกิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ โดยอ้างเรื่องความเท่าเทียม

 

ขณะต่อมา สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกแถลงการณ์ ขอเลื่อนกำหนดการแข่งขันฟุตบอลประเพณีฯจุฬา-ธรรมศาสตร์ ปี 2564 ออกไปก่อน เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโคโรน่ไวรัส 2019 ที่ยังต้องเฝ้าระวังอยู่ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า ในครั้งต่อๆไปยังคงจะสืบสานให้มีการอัญเชิญพระเกี้ยว อันเป็นสัญลักษณ์ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าสืบไป 

กระแสยกเลิกขบวนพระเกี้ยวดังกล่าว มีผู้แสดงความเห็นอย่างหลากหลายในหลายแง่ ทั้งเห็นด้วยกับการยกเลิกขบวนอัญเชิญพระเกี้ยว เนื่องจากมีการสืบค้นว่าที่ผ่านมา สร้างความอึดอัดทางใจและทางกายให้กับผู้ที่ทำหน้าที่แบกหาม มิใช่การสมัครใจอย่างในอดีต ขณะอีกฝั่ง มอง การอัญเชิญพระเกี้ยวไม่เกี่ยวศักดินา

 

โดยเฉพาะ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ออกมาระบุ ว่า แถลงการณ์ของ อบจ. จุฬาฯ นั้น เต็มไปด้วยการตีตรา คิดแบบติ้นเขิน และใช้เสรีภาพแบบผิดๆ ยืนยัน ประเพณีการแห่พระเกี้ยว เป็นความงดงามที่คนไทย นิสิตไทย มีความกตัญญูต่อพระผู้สถาปนามหาวิทยาลัยที่ใช้พระปรมาภิไธยเป็นมงคลนามของมหาวิทยาลัย

ทั้งนี้ จากประเด็นดังกล่าว ทำให้ แฮชแท็ก #พระเกี้ยว ยังคงติดเทรนด์ทวิตเตอร์อย่างต่อเนื่อง 

งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ควรมีต่อหรือพอแค่นี้?

ล่าสุด เพจเฟซบุ๊กองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดประเด็นร้อน โดยมีการโพสต์ข้อความและภาพประกอบ ในหัวข้อ งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ควรมีต่อหรือพอแค่นี้? เพื่อต้องการสำรวจความคิดเห็น ชาวธรรมศาสตร์ พร้อมระบุ ข้อสรุปดังกล่าวจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยมีใจความสำคัญดังนี้ 


งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ควรมีต่อหรือพอแค่นี้?

“เมื่อสังคมขยับ วัฒนธรรมต้องปรับ คนต้องเปลี่ยน"

วัฒนธรรมศักดินา อภิสิทธิ์ชน และค่านิยมความงาม คือ ภาพที่ยังคงสะท้อนและฉายซ้ำแฝงตัวอยู่ในปัจจุบัน หนึ่งในนั้นคือ “งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์” กิจกรรมและวัฒนธรรมระหว่างสองมหาวิทยาลัยที่ได้ร่วมกันสืบสานมาอย่างเนิ่นนาน ซึ่งยังคงสะท้อนและฉายซ้ำภาพของสิ่งเหล่านี้ ถึงแม้จะมีความพยายามปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบทปัจจุบันเสมอมา แต่การปรับเปลี่ยนนั้นทำให้งานฟุตบอลประเพณีฯ เป็น “งานของทุกคน” และ “แบบอย่าง” ของสังคมปัจจุบัน แล้วจริงหรือ?

ขอเชิญชาวธรรมศาสตร์ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อ 
"อนาคตงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์"
ได้ที่: (คลิก) //bit.ly/3nwEQtZ

เพราะงานฟุตบอลประเพณีฯ ควรมาจากเจตนารมณ์ของประชาคมธรรมศาสตร์ทุกคน
#งานบอลคือเสียงของธรรมศาสตร์ทุกคน

 

เราได้รวบรวมประเด็นที่น่าสนใจจากการถกเถียงในวงสังคมมาให้ทุกท่านร่วมแสดงความคิดเห็น ดังนี้

 

งานฟุตบอลประเพณีฯ ควรมีต่อไปหรือไม่?

  • ถ้ายังมีต่อไปควรจะเป็นไปในรูปแบบเดิมหรือมีความเปลี่ยนแปลง?
  • ควรใช้วิธีอื่นแทนการใช้คนแบกเสลี่ยงในขบวนตรามหาวิทยาลัยหรือไม่?
  • นักฟุตบอลควรเป็นนักศึกษาปัจจุบันหรือไม่?
  • ทบทวนประเด็น Beauty Privillege และ Beauty Standard อย่างจริงจัง
  • เพิ่มพื้นที่การแสดงออกทางการเมืองในขบวนพาเหรดและการแปรอักษร
  • ทำให้งานฟุตบอลประเพณีฯ เป็นพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงออกอย่างอิสระ
  • นักศึกษาปัจจุบันต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการจัดงานฟุตบอลประเพณีฯ
  • ยกเลิกถ้วยพระราชทานและการเปิดงานโดยผู้แทนพระองค์
  • บทบาทของสมาคมศิษย์เก่าภายในงานฟุตบอลประเพณีฯ

 

ในข้อความยังระบุว่า หากท่านมีประเด็นที่น่าสนใจอื่น ๆ ก็สามารถเสนอแนะและแสดงความคิดเห็นเข้ามาได้ โดยเราจะรวบรวมความคิดเห็นเหล่านี้ เพื่อนำไปสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมต่อไป

สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ออกประกาศ แนวทางการจัดงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2564 มีเนื้อหาโดยสรุปว่า ในการจัดงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 75 สมาคมธรรมศาสตร์ฯ ในฐานะเจ้าภาพได้มีหนังสือลงวันที่ 30 กันยายน 2564 แจ้งขอเลื่อนกำหนดการแข่งขันฟุตบอลประเพณีฯออกไปก่อน เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยังต้องเฝ้าระวังอยู่ ซึ่งทางสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ เห็นพ้องด้วย โดยในการจัดงานครั้งต่อๆไปทาง สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ จะสืบสานผลักดันให้มีการอัญเชิญพระเกี้ยวต่อไป

"จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์" เห็นพ้องเลื่อนงานบอลประเพณีเหตุโควิด-19 ระบาด ยันจัดงานครั้งต่อไปให้คงอัญเชิญ "พระเกี้ยว" สืบสานประเพณีอันดีงาม "ชัยวุฒิ" โวย อบจ.ไม่มีอำนาจตัดสินแทนคนอื่น "หมอวรงค์" ห่วงเด็กตกเป็นเครื่องมือพวกหวังด้อยค่าสถาบัน

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ออกประกาศเรื่อง แนวทางการจัดงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ม.ธรรมศาสตร์ โดยระบุว่า "จากที่ได้จัดงานประเพณีฟุตบอลจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ สืบเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2477 เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ และหลอมรวมความสมัครสมานสามัคคีระหว่างนิสิตเก่า ศิษย์เก่า และนิสิต นักศึกษา ทั้งสองสถาบัน และร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้กับสังคมไทย ในการจัดงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 75 นี้ สมาคมธรรมศาสตร์ในฐานะเจ้าภาพได้มีหนังสือแจ้งลงวันที่ 30 ก.ย.64 แจ้งขอเลื่อนกำหนดการแข่งขันฟุตบอลฯ ออกไปก่อน เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังต้องเฝ้าระวังอยู่ ซึ่งสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ก็เห็นพ้องด้วยเพื่อร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม

การจัดงานฟุตบอลประเพณีฯ ในครั้งต่อๆ ไป สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ยังคงสืบสานให้มีการอัญเชิญพระเกี้ยว อันเป็นสัญลักษณ์ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระปิยมหาราช และสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจ และความภาคภูมิใจในจุฬาฯ ของเหล่านิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันทั้งมวล" แถลงการณ์ระบุ

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ในฐานะที่ตนเป็นนิสิตเก่า องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) เป็นเพียงผู้ประสานงาน ไม่มีอำนาจตัดสินใจอะไรแทนคนทั้งมหาวิทยาลัย กิจกรรมทั้งหมดเป็นเรื่องของนิสิตและศิษย์เก่าที่มาช่วยกัน อย่าไปมองว่าเป็นเรื่องของคณะกรรมการ อบจ.ที่มีอยู่ประมาณ 20 คน มาเป็นคนตัดสินให้ใครทำนั่นทำนี่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีวัฒนธรรม มีศักดิ์ศรี​ ความภาคภูมิใจ และมีศิษย์เก่ามากมาย ดังนั้น​การจะทำอะไรก็ขอให้คิดถึงเรื่องในอดีตและคิดถึงคนอื่นเขาด้วย

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้าพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อเรื่อง "ความเท่าเทียมไม่มีจริง" ว่า "กิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยว สนับสนุนและสะท้อนถึงระบอบอำนาจนิยม รวมถึงค้ำยันความเชื่อว่าคนไม่เท่ากัน ข้อความดังกล่าวของแถลงการณ์ที่นายกองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาฯ เผยแพร่ออกมา ไม่ใช่สะเทือนความรู้สึกของชาวจุฬาฯ เท่านั้น แต่สะเทือนความรู้สึกของคนไทยทั้งประเทศด้วย เพราะจุฬาฯ เป็นของประชาชน ไม่ใช่ของเขา ไม่เพียงแต่เขากำลังทำลายรากทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน ที่คนไทยร่วมภูมิใจกับชาวจุฬาฯ แต่ลึกๆ แล้ว เขาต้องการด้อยค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยอ้างคำที่สวยหรูคือความเท่าเทียม

อยากจะบอกน้องๆ กลุ่มนี้ว่า ความเท่าเทียมไม่มีจริง ไม่ว่าประเทศไหนในโลก เป็นเพียงวาทกรรมไว้ปลุกระดม หลอกคนที่ไม่มีวุฒิภาวะ ไม่มีประสบการณ์ชีวิต เป็นเหยื่อให้เขาหลอกใช้ เพื่อให้เขาได้อำนาจ ไม่เชื่อไปดูที่บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ก็ได้ว่า คนที่นั่นเท่าเทียมกันไหม ในฐานะที่ผมก็เคยเป็นนายกสโมสรนักศึกษาเคยถูกปั่นมาแล้ว ขอแนะนำน้องๆ ว่า ถ้าคิดว่าคิดผิด ควรที่จะปรับปรุงตนเอง ตั้งใจเรียนให้จบ หางานทำ เพื่อสร้างชีวิตที่ดี เมื่อเหมาะสมให้มาเป็นนักการเมือง อย่าเข้ามาโกง แค่นี้ประชาชนก็จะสรรเสริญ ไม่ใช่เรียนเท่าไรก็ไม่ยอมจบ อยู่เพื่อถูกเป็นเครื่องมือ ให้เขาหลอกใช้ ด้วยวาทกรรมหลอกเด็ก สุดท้ายก็ติดคุกหลายคน ส่วนคนที่หลอกเด็กก็ยังสุขสบาย" นพ.วรงค์ระบุ

ม.จ.จุลเจิม ยุคล หรือท่านใหม่ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก พร้อมโฉนดที่ดินระบุว่า "มิใช่เป็นการทวงบุญคุณ น้ำพระทัยอันประเสริฐยิ่งและเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาลของปวงชนชาวไทยและนิสิตจุฬาฯ ตั้งแต่รุ่น 1 ลงมาจนปัจจุบัน ที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกลเกินกว่าใครๆ ในหล้า พระราชทานที่ดิน 700 ไร่ให้เป็น 'สถานศึกษา' ระดับอุดมศึกษาแห่งแรกอายุครบร้อยปีแล้ว และเป็นไปตามหลักมาตรฐานสากลและที่แห่งนั้น คือ 'จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย'

และใครได้ประโยชน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมิใช่หรือ และจุฬาฯ คืนอะไรๆ ให้แก่สังคมมากน้อยแค่ไหน นอกจาก 'สอนหนังสือให้ความรู้' อยากรู้จริงๆ มาวันนี้ 'ผู้บริหารจุฬาฯ' ควรต้องทำหน้าที่ปกป้อง 'ชาติบ้านเมืองและสถาบันพระมหากษัตริย์' อย่างเป็นรูปธรรมให้คนไทยทั้งชาติด้วยนะครับ".

 

Tagsจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์พระเกี้ยวหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สภาฯล่มรับปีใหม่! พ.ร.บ.กัญชายังไม่จบ/เปิดซักฟอกปลายเดือนนี้

ของขวัญปีใหม่จาก ส.ส. สภาล่มตั้งแต่นัดแรกของปี "ชวน" บรรจุแล้ว

งัดกม.แจงยิบ ย้ายเพื่อสอบ! ฟันอธิบดีฉาว

โฆษกรัฐบาลเผย การโยกย้ายอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ นายกฯ ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 11 เพื่อให้ฝ่ายการสืบสวนหาข้อเท็จจริงได้อย่างเต็มที่

แนวโน้มดีขึ้น 7วันอันตราย 'ตาย-เจ็บ'ลด

ผู้ช่วย ผบ.ตร.เผยสถิติ 6 วันอันตรายมีแนวโน้มลดลงในทุกมิติ

รัฐบาลโชว์ผลงานแก้จน พุ่ง6.5แสนกว่าครัวเรือน

"ทิพานัน" โชว์ตัวเลข  "บิ๊กตู่" แก้จนแบบพุ่งเป้าในระดับพื้นที่ปี 65 กว่า 6.5

9ม.ค.'บิ๊กตู่'เป็นนักการเมือง

"บิ๊กตู่" ได้ฤกษ์เป็นนักการเมืองเต็มตัว 9 ม.ค. สมัครสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ

สแกนหลังบ้าน ‘รทสช.’ ผนึกกำลังปึ้กพร้อมลต.

สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มคึกคัก แต่ละพรรคเตรียมพร้อมสำหรับศึกเลือกตั้งที่จะถึงนี้ รวมถึงพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้