เงินสงเคราะห์บุตร กรณี ว่างงาน rh www sso go th

          เนื่องจากมีคำถามมากมายเกี่ยวกับประกันสังคม กรณีว่างงาน jobsDB จึงรวบรวมทำเป็น 20 คำถามที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ และคุณสามารถตรวจสอบหลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับประกันสังคม กรณีว่างงานได้ที่บทความ ไขข้อข้องใจสิทธิประกันสังคม กรณีว่างงาน

1. ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรจึงจะสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงานได้

          ตอบ : หลักเกณฑ์ที่จะทำให้คุณมีสิทธิ คือ เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน (ถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา) โดยไม่มีความผิดตามกฎหมาย หากมีการจ่ายเงินสบทบน้อยกว่าระยะเวลาที่กล่าวไปแล้ว สิทธิประโยชน์นี้จะยังไม่เกิด

2. ต้องใช้เอกสารอะไรในการขึ้นทะเบียนคนว่างงานบ้าง

          ตอบ : เอกสารที่ใช้มีดังต่อไปนี้และต้องไปยื่นเรื่องภายใน 30 วันนับจากวันลาออกจากงาน

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
  2. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  3. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
  4. หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6 -09) กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้
  5. หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
  6. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน

3. การออกจากงานโดยไม่ได้ลาออกจะมีสิทธิได้เงินทดแทนหรือไม่

          ตอบ : การออกจากงานโดยไม่ได้ลาออกจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนหากเป็นการหมดสัญญาจ้างตามที่กำหนดระยะเวลาหรือการเลิกจ้างโดยที่ผู้ว่างงานต้องมิได้ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณีดังต่อไปนี้

    –  ทุจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

    –  จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

    –  ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณี ร้ายแรง

    –  ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร

    –  ประมาทเลินล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

    –  ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา

    –  ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ

4. ถ้าหากได้งานใหม่หลังจากไปขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงานแล้วต้องทำอย่างไร จะยังได้รับเงินทดแทนอยู่หรือไม่

          ตอบ : ไม่ว่าจะเป็นการได้งานใหม่ก่อนหรือหลังการรายงานตัวครั้งแรกก็ตาม ผู้ประกันตนยังมีสิทธิที่จะได้รับเงินทดแทนตามระยะเวลาที่ว่างงานจริง (ช่วงเวลาหลังจากออกจากงานที่เก่าและก่อนได้งานที่ใหม่) โดยทางสำนักงานประกันสังคมจะคำนวณวันให้ตามข้อมูลที่ผู้ประกันตนและนายจ้างทั้งเก่าและใหม่ยื่นเรื่องเข้ามา ดังนั้นเมื่อไรก็ตามหากผู้ประกันตนได้งานใหม่แล้ว สามารถแจ้งกับสำนักงานประกันสังคมให้ทำการบันทึกข้อมูลได้ทันที

5. จะทำอย่างไรกรณีกรอกข้อมูลผิดพลาดตอนยื่นเอกสาร

          ตอบ : สามารถติดต่อสำนักงานสาขาที่ยื่นเรื่องเอาไว้เพื่อยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อมูล แต่หากเป็นข้อมูลที่ออกให้จากฝั่งนายจ้าง ผู้ประกันตนสามารถติดต่อให้นายจ้างส่งหนังสือขอแก้ไขข้อมูลเข้ามาทางสำนักงานได้เช่นกัน

6. หากสงสัยในจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนที่ทางเจ้าหน้าที่คิดให้จะทำอย่างไร

          ตอบ : สามารถตรวจสอบกับทางสำนักงานสาขาที่ยื่นเรื่องได้โดยตรง โดยทั่วไปแล้วเงินทดแทนจะคำนวณจากวันออกจากงานตามที่นายจ้างแจ้งประกอบด้วย โดยมีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 นับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย นอกจากนี้หากไปยื่นขึ้นทะเบียนล่าช้ากว่า 30 วัน ผู้ประกันตนจะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง

7. จะได้รับเงินทดแทนภายในกี่วันหลังจากยื่นเรื่อง

          ตอบ : หากเอกสารต่าง ๆ ครบถ้วน จะได้รับเงินเข้าบัญชีประมาณภายใน 5-7 วันไม่นับเสาร์-อาทิตย์หลังจากยื่นเรื่อง

8. หากออกจากงานแล้วนายจ้างยังไม่แจ้งเอาชื่อออกจากประกันสังคมจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนหรือไม่

          ตอบ : ทางสำนักงานจะสามารถดำเนินการให้ต่อเมื่อข้อมูลครบถ้วนเท่านั้น หากตรวจสอบแล้วพบว่านายจ้างเก่ายังไม่ได้ยื่นเรื่องการออกจากงาน ผู้ประกันตนสามารถติดต่อไปที่นายจ้างโดยตรง หรือลองสอบถามกับทางเจ้าหน้าที่ของสำนักงานพื้นที่ที่ยื่นเรื่องไว้ให้ช่วยติดตามอีกครั้ง

9. หากมีการออกจากงาน ได้งานและออกจากงานมากกว่า 1 ครั้งภายในหนึ่งปี จะมีสิทธิสามารถรับเงินทดแทนไหม

          ตอบ : ในกรณียื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้าง หรือเหตุถูกเลิกจ้างและลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างเกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนทุกครั้ง รวมกันไม่เกิน 180 วัน แต่ในกรณียื่นขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง เกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 90 วัน

10. หากจำไม่ได้ว่าลาออกจากงานเมื่อไร สามารถให้สำนักงานประกันสังคมเช็คให้ได้หรือไม่

          ตอบ : สามารถตรวจสอบได้เบื้องต้นในกรณีที่นายจ้างยื่นเรื่องกับทางสำนักงานเอาไว้เรียบร้อยแล้ว

11. กรณีที่รายงานตัวครั้งสุดท้ายแล้วสามารถสมัครมาตรา 39 ได้เลยหรือเปล่าแล้วจะได้เงินชดเชยว่างงานหรือไม่

          ตอบ : การจะสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 นั้นจะต้องเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน และเมื่อเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แล้วจะไม่สามารถได้รับสิทธิประกันสังคมของผู้ว่างงาน

12. การลาออกจากบริษัทที่แรกแต่ไม่ได้ไปยื่นเรื่องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานไว้เพราะว่าได้ทำงานอีกที่หนึ่งแต่ทำงานได้เพียงเดือนเดียวก็ลาออกอีกครั้ง สามารถไปยื่นเรื่องเป็นผู้ว่างงานได้ไหม

          ตอบ : สามารถไปขึ้นทะเบียนได้ หากมีคุณสมบัติครบถ้วน เช่น จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน แต่หากมีการยื่นเรื่องล่าช้าเกินกว่า 30 วัน ผู้ประกันตนจะไม่ได้รับสิทธิในย้อนหลังในวันที่ผ่านไปแล้ว

13. หากมีการไปรายงานตัวช้ากว่าวันที่กำหนด จะส่งผลต่อเงินทดแทนการว่างงานในเดือนนั้นหรือไม่

          ตอบ : ตามแนวปฎิบัติ สามารถรายงานตัวได้ ก่อนและหลังวันนัด 7 วันค่ะ

14. หากว่างงานมานานกว่า 8 เดือนแล้ว แต่ยังไม่ได้ไปขึ้นทะเบียน จะยังสามารถไปยื่นเรื่องได้ทันหรือไม่

          ตอบ : ตามหลักเกณท์ สามารถขึ้นทะเบียน ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันลาออก โดยที่ถ้าเป็นกรณีลาออก ต้องไม่เกิน 90 วันและถ้าเป็นกรณีเลิกจ้างต้องไม่เกิน 180 วัน จำนวนวันจะถูกตัดสิทธิไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะสิ้นสุดตามวันที่กำหนดค่ะ

15. ในกรณีที่ว่างงานต่อเนื่องเกินกว่า 1 ปี จะได้รับสิทธิ 90 หรือ 180 วันต่อปีแล้วแต่เหตุผลการออกจากงานไปเรื่อยๆไหม

          ตอบ : กรณีว่างงาน สามารถขึ้นทะเบียนได้ ภายใน 1 ปี แต่ถ้าเป็นกรณีลาออก จะได้ 90 วัน ถ้าผู้ประกันตัวไปได้งานใหม่ และถูกเลิกจ้าง จะทบให้เพิ่ม จนครบ 180 วัน ภายใน 1 ปีนั้น ซึ่งถ้าต่อเนื่องข้ามปี จะคิดรวมให้ครบ และในปีถัดไปจะได้สิทธิตามหลักเกณท์ค่ะ

16. การขาดส่งเงินสมทบส่วนของนายจ้างมีผลต่อการได้สิทธิประโยชน์ประกันสังคมสำหรับผู้ว่างงานไหม

          ตอบ : กรณีที่นายจ้างค้างจ่ายเงินสมทบ ย่อมมีผลกับการขอรับสิทธิกรณีว่างงานของผู้ประกันตนแน่นอน อาจจจะต้องให้เจ้าหน้าที่เขตพื้นที่ตามเรื่องเงินสมทบให้ค่ะ

17. หากเคยขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงานที่สำนักงานสาขาหนึ่ง ในภายหลังมีการแจ้งย้ายสิทธิประกันสังคมไปอีกจังหวัดหนึ่ง โดยที่ยังต้องไปรายงานตัวอยู่ อยากทราบว่าสิทธิประโยชน์จะยังคงเดิมหรือไม่ และสามารถย้ายไปรายงานตัวที่สาขานั้น ๆ ได้อย่างไร

          ตอบ : กรณีรายงานตัวสามารถรายงานตัวได้ทุกที่ ทุกเขต ทุกจังหวัดค่ะ ถ้าคุณยังไม่ได้งานทำใหม่ค่ะ

18. ทำไมหลังจากยื่นเรื่องเป็นผู้ว่างงานแล้วต้องเว้น 1 เดือนเพื่อไปรายงานตัวครั้งแรก

          ตอบ : กรณีว่างงาน มีหลักเกณท์ คือ ผู้ประกันตนจะต้องขึ้นทะเบียนก่อนในรอบแรก จะยังไม่นับเป็นการได้สิทธิ ภายใน 1 เดือนนี้ ประกันสังคมจะให้ผู้ประกันตนออกหางานก่อน จะได้หรือไม่ได้ก็ตาม การนัดรายงานตัวครั้งที่ 1 ผู้ประกันตนจะต้องนำหลักฐานการหางานไปยื่นให้เจ้าหน้าที่กรมจัดหางานทราบ  แต่ถ้าไม่ได้งานทำตามระยะเวลาใน 1 เดือน ถ้านายจ้างมีการยื่นเรื่องลาออก และเจ้าหน้าที่ได้บันทึกข้อมูลลาออก เรียบรอยแล้ว ผู้ประกันตนรายงานตามวันที่กำหนด เจ้าหน้าที่ทำเรื่องอนุมัติให้ และเงินจะเข้าบัญชีภายในประมาณ 5-7 วันทำการค่ะ

19. เคยส่งเงินสมทบแล้ว 186 งวด แต่มีเหตุให้ต้องไปต่างประเทศและขาดการส่งเงินสมทบเป็นเวลา 2 ปี จะยังได้รับสิทธิประโยชน์หรือไม่

          ตอบ : ผู้ประกันตนที่มีการนำส่งเงินสมทบเกิน 180 งวด และอายุครบ 55 ปี ถึงแม้ว่าจะขาดส่งไป 2 ปีก็ตาม สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ เป็นกรณีบำนาญ ได้ค่ะ

2. การออกจากงานประจำมาทำอาชีพอิสระเช่นค้าขายที่มีรายได้ไม่แน่นอนจะยังมีสิทธิได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงานไหม

          ตอบ : สามารถทำอาชีพอิสระระหว่างหางานใหม่ได้ค่ะ สามารถถ่ายรูปภาพให้เจ้าหน้าที่จัดหางานดูเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการพิจารณา ถือว่าคุณได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเหมือนเดิม  

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.sso.go.th

หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคม สามารถติดต่อสายด่วน 1506 ได้ค่ะ

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

คว้างานที่ใช่ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สิทธิประกันสังคมสำหรับคนที่ออกจากงาน

การรักษาสิทธิประกันสังคมหลังลาออกควรทำอย่างไร

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้