เชอ ร์ โน บิล vs ฟุ กุ ชิ มะ

วิกฤติฟูกูชิมะต่างกับเชอร์โนบิลอย่างไร

Submitted on Wed, 2011-04-13 23:48

ภาพโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ โดย Digital Globe ภายหลังจากรัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยกระดับความรุนแรงอุบัติภัยนิวเคลียร์ขึ้นสู่ระดับสูงสุดวานนี้ หลายฝ่ายเปรียบเทียบว่านี่คือความรุนแรงระดับเดียวกับอุบัติภัยเชอร์โนบิลทันที สำนักข่าวบีบีซีนำเสนอตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างอุบัติภัยนิวเคลียร์ฟูกูชิมะ กับเชอร์โนบิล พร้อมระบุว่าผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากให้ความเห็นว่าเหตุการณ์ทั้งสองนั้นแตกต่างกันอย่างยิ่ง ข้อมูล ฟูกูชิมะ เชอร์โนบิล วันที่เกิดเหตุ 11 มีนาคม 2554 26 เมษายน 2529 รายละเอียดอุบัติเหตุ แผ่นดินไหวขนาด 9 ริกเตอร์ และสึนามิทำลายระบบปฏิบัติการของโรงไฟฟ้า ทำให้ระบบหล่อเย็นเสียหาย ตามมาด้วยการระเบิดของก๊าซอย่างต่อเนื่อง กำลังไฟฟ้าเกิดการกระชากอย่างฉับพลันขณะทดลองระบบเป็นเหตุให้เตาปฏิกรณ์แตก เกิดการระเบิดต่อเนื่อง และเพลิงไหม้ติดต่อกันเป็นเวลา 10 วัน ระดับความรุนแรง 7 7 จำนวนเตาปฏิกรณ์ 6 เตา แต่มีปัญหาจำนวน 3 เตา รวมถึงบ่อพักแท่งเชื้อเพลิง 4 แต่มีเพียง 1 เตาปฏิกรณ์เท่านั้นที่มีปัญหา ประเภทของเตาปฏิกรณ์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบน้ำเดือด โดยใช้น้ำเป็นตัวลดความเร็วของนิวตรอนที่เกิดจากปฏิกิริยาฟิชชัน ทางการญี่ปุ่นย้ำว่าระบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะไม่เหมือนกับเชอร์โนบิล เพราะอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ยังไม่เสียหาย และฟูกูชิมะต่างกับเชอร์โนบิลเพราะไม่ได้ใช้แกนปฏิกรณ์แกรไฟต์ซึ่งลุกไหม้ได้ง่ายอย่างที่เกิดกับเชอร์โนบิล โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบน้ำเดือด โดยใช้แกรไฟต์เป็นวัสดุลดความเร็วของนิวตรอนที่เกิดจากปฏิกิริยาฟิชชัน แกรไฟต์ทำให้เกิดการเผาไหม้อย่างรุนแรง ขณะที่ตัวเตาปฏิกรณ์ไม่มีอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ ไม่มีอะไรควบคุมทิศทางการแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีซึ่งปนเปื้อนสู่อากาศ ปริมาณกัมมันตรังสีที่แพร่กระจายออกมา 370,000 เทราเบกเกอเรล (ข้อมูลวันที่ 12 เม.ย. 2554) 5.2 ล้านเทราเบกเกอเรล พื้นที่ได้รับผลกระทบ ข้อมูลทางการระบุว่าพื้นที่มากกว่า 60 ตารางกิโลเมตร (36 ตารางไมล์) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของโรงไฟฟ้า และ 40 ตารางกิโลเมตร ทางตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ ตรวจพบระดับกัมมันตรังสีในปริมาณสูงเกินกว่าที่กำหนด รายงานขององค์การสหประชาชาติพบการปนเปื้อนของกัมมันตรังสีในบริเวณกว้างห่างจากโรงไฟฟ้าประมาณ 500 ตารางกิโลเมตร (หรือประมาณ 300 ตารางไมล์) แต่พบพืชและสัตว์ที่ได้รับผลกระทบในบริเวณที่กว้างกว่าที่รายงานดังกล่าวระบุไว้ รัศมีอพยพประชาชน อพยพประชาชนในรัศมี 20 กิโลเมตร และอพยพประชาชนโดยสมัครใจใน รัศมี 20-30 กิโลเมตร 30 กิโลเมตร จำนวนประชากรที่ต้องอพยพ เกินกว่าแสนคน ในปี พ.ศ. 2529 รัฐบาลสหภาพโซเวียต (ขณะนั้น) อพยพประชากรที่อาศัยอยู่รอบโรงไฟฟ้าราว 115,000 คน ออกจากบริเวณดังกล่าว และภายหลังจากปี พ.ศ. 2529 มีการอพยพประชากรอีกราว 220,000 คนในสาธารณรัฐเบลารุส รัสเซีย และยูเครน จำนวนผู้เสียชีวิต ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากกัมมันตรังสี รายงานขององค์การสหประชาชาติยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตเนื่องจากกัมมันตรังสีตั้งแต่เกิดเหตุจนถึงปี 2552 จำนวนรวม 64 ราย แต่ตัวเลขผู้เสียชีวิตที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากการรับรังสียังเป็นที่ถกถียง* ผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ยังไม่ทราบ แต่คาดว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพในระดับต่ำ ข้อมูลจากการติดตามประชากรวัยเด็กและวัยรุ่นซึ่งได้รับกัมมันตรังสีจากอุบัติเหตุจนถึงปี พ.ศ. 2548 พบว่ามี 6,000 รายเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ และคาดว่าจะพบผู้ป่วยเพิ่มอีกในอีก 10 ปีข้างหน้า สถานการณ์ปัจจุบัน ทางการญี่ปุ่นระบุว่ากัมมันตรังสียังคงรั่วไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง และอาจมากเกินกว่าปริมาณที่รั่วไหลจากเชอร์โนบิล เรื่องเร่งด่วนคือการเติมสารลดอุณหภูมิในบ่อเชื้อเพลิงและในเตาปฏิกรณ์อย่างต่อเนื่องและเพียงพอ เตาปฏิกรณ์ที่เสียหายได้รับการห่อหุ้มอย่างมิดชิดด้วยคอนกรีต โดยคาดว่าโครงสร้างอาคารคลุมเตาปฏิกรณ์อันใหม่จะเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2557 แผนที่ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ | โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล *รายงานขององค์การสหประชาชาติประมาณการว่ามีประชาชนราว 4,000 คนต้องเสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่องมาจากอุบัติภัยครั้งนั้น ขณะที่องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมประณามรายงานฉบับดังกล่าวว่าเป็นการฟอกตัวให้กับโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล โดยโต้แย้งว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวมีถึงราว 100,000 คน แสดง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ในแผนที่ขนาดใหญ่ เว็บไซต์สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทยให้ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณรังสีที่ส่งผลต่อสุขภาพไว้ดังนี้ 0.1 mSv = ปริมาณรังสีที่ได้รับเมื่อไปถ่ายภาพรังสีเอ๊กซ์ที่โรงพยาบาล 1 ครั้ง 10 mSv = ปริมาณรังสีที่ได้รับเมื่อไปถ่ายภาพรังสีด้วยเทคนิคการสแกนแบบ CT ที่โรงพยาบาล 1 ครั้ง 1,000 mSv = ปริมาณรังสีที่ทำให้เกิดอาการป่วยจากรังสี รวมทั้งมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และจะมีอาการหนักมากขึ้นเมื่อได้รังสีมากขึ้น 6,000 mSv = ปริมาณรังสีที่พนักงานที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลได้รับระหว่างเกิดอุบัติเหตุเมื่อปี 1986 และเสียชีวิตภายใน 1 เดือน (mSv คือหน่วยวัดรังสี มิลลิซีเวิร์ตต่อชั่วโมง-millisieverts per hour) ผลของรังสี การได้รับรังสีปริมาณสูงจะทำให้เกิดผลในทันที แต่ผลเสียที่เกิดจากการได้รับรังสีปริมาณต่ำๆ เช่น 100 mSv หรือต่ำกว่า อาจจะไม่แสดงอาการเป็นสิบปี ทางการญี่ปุ่นได้กำหนดขีดจำกัดปริมาณรังสีที่พนักงานทางนิวเคลียร์จะรับได้ในภาวะฉุกเฉิน อยู่ที่ 50 mSv การได้รับรังสีปริมาณสูง การได้รับรังสีปริมาณสูงในเวลาสั้นๆ เป็นนาทีหรือชั่วโมง จะทำให้เกิดผลของรังสีแบบเฉียบพลัน ซึ่งจะเกิดขึ้นทันที ผลระยะสั้น ผมร่วงภายในหนึ่งสัปดาห์ สมอง มึนงง สับสน กระเพาะ/ลำไส้ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เบื่ออาหาร เยื่อบุทางเดินอาหารเสียหาย ผิวหนัง ผิวไหม้ ทำให้ติดเชื้อ กระดูก เซลล์ไขกระดูกเริ่มตายลง อาการโดยรวม อ่อนเพลีย สูญเสียน้ำ ผลระยะยาว เซลล์ได้รับความเสียหาย ทำให้อาจกลายเป็นมะเร็งไขกระดูกหรือมะเร็งชนิดอื่น เกิดขึ้นกับใคร ผู้ที่ทำงานใกล้กับต้นกำเนิดรังสี เช่น เจ้าหน้าที่เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ปริมาณรังสีสูงมากจะทำให้เสียชีวิตได้ เช่น 5,000-12,000 mSv การได้รับรังสีปริมาณต่ำ คนที่ได้รับรังสีปริมาณน้อย (ประมาณ 100 mSv หรือน้อยกว่า) ไม่ค่อยมีอาการแบบเฉียบพลัน และร่างกายจะซ่อมแซมหรือกำจัดเซลล์ที่เสียหายได้ เกิดขึ้นกับใคร คนที่อาศัยอยู่รอบๆ หรืออยู่ใต้ลมของบริเวณที่มีรังสี และอาจสูดหายใจหรือรับประทานสิ่งที่มีสารรังสีปนเปื้อน สาเหตุและอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ ตา เป็นต้อ ต่อมไทรอยด์ มีการสะสมไอโอดีนกัมมันตรังสีที่ต่อมไทรอยด์ ทำให้เกิดมะเร็ง ปอด สูดละอองที่มีพลูโตเนียมทำให้เป็นมะเร็งปอด ระบบสืบพันธุ์ ความเสียหายทางพันธุกรรมจะส่งต่อไปยังเด็กในรุ่นต่อไป ทั่วทั้งร่างกาย ซีเซียมที่แพร่กระจายออกไปปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม อาจทำให้เกิดมะเร็งได้หลายชนิดถ้ารับประทานหรือสูดหายใจเข้าไป เส้นทางของกลุ่มควันรังสี (plume) กลุ่มควันรังสีคืออะไร? มีอะตอมกัมมันตรังสีเป็นร้อยชนิดที่รั่วไหลออกจากเครื่องปฏิกรณ์ แต่โดยทั่วไป นักวิทยาศาสตร์จะให้ความสนใจอยู่ 4 ชนิด ไอโอดีน-131 ครึ่งชีวิต 8 วัน -- ต่อมไทรอยด์เป็นอวัยวะที่สะสมไอโอดีนทั้งแบบปกติและแบบมีกัมมันตภาพรังสี ถ้าได้รับไอโอดีนมีกัมมันตภาพรังสีเข้าไปมากๆ อาจทำให้เกิดความผิดปกติ ทำให้เซลล์ตายลง หรือกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ การที่มีอายุสั้น จึงทำให้มีโอกาสน้อยมากที่จะเคลื่อนที่ผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกไปถึงอีกฝั่งได้ พลูโตเนียม-239 ครึ่งชีวิต 24,000 ปี -- พลูโตเนียมมีความเป็นพิษสูง และเป็นอันตรายหากสูดหายใจเข้าไป เนื่องจากเนื้อเยื่อปอดไวต่อรังสี แต่จะไม่เป็นอันตรายมากหากรับประทานเข้าไป ซึ่งดูเหมือนอุบัติเหตุครั้งนี้จะมีพลูโตเนียมรั่วไหลออกมาเล็กน้อย ซีเซียม-137 ครึ่งชีวิต 30 ปี -- ซีเซียมที่มีกัมมันตภาพรังสีสามารถเข้าไปในห่วงโซ่อาหารได้ง่าย โดยเข้าไปทางนมและพืชผัก ถ้าสูดหายใจหรือรับประทานเข้าไป จะอยู่ในกระบวนการคล้ายโปแตสเซียม แต่มีการปล่อยรังสีเข้าสู่ร่างกาย ทำให้มีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเป็นมะเร็งได้หลายแบบ สตรอมเทียม-90 ครึ่งชีวิต 29 ปี -- มีคุณสมบัติคล้ายซีเซียม เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมและเรารับประทานเข้าไปจะเป็นแบบเดียวกับแคลเซียม คืออยู่ที่กระดูกและฟัน ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงสูงขึ้นในการเป็นมะเร็งกระดูกหรือมะเร็งของไขกระดูก (leukemia) ที่มา: How does Fukushima differ from Chernobyl? อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยสมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย คลังเก็บเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมาไดอิชิ

  • Printer-friendly version

ข่าวรอบวัน

สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้