ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

ทุนนิยม (Capitalism) และ สังคมนิยม (Socialism) เป็นระบบเศรษฐกิจหลักสองระบบที่ใช้กันทั่วโลก มันเป็นพื้นฐานโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ ทั้งสองประเภทมีความแตกต่างกันมากมาย แบบจำลองเศรษฐกิจแบบทุนนิยมนั้น อาศัยสภาพตลาดเสรีเพื่อผลักดันนวัตกรรม สร้างความมั่งคั่ง และควบคุมพฤติกรรมองค์กร การเปิดเสรีของกลไกตลาดนี้ช่วยให้มีอิสระในการเลือก ซึ่งส่งผลให้เกิดความสำเร็จหรือล้มเหลว ส่วนเศรษฐกิจสังคมนิยมแบบผสมผสานองค์ประกอบของการวางแผนทางเศรษฐกิจ เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับมีโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีเยี่ยม

ลักษณะสำคัญของทุนนิยม

1.อยู่บนฐานเศรษฐกิจฐานที่ประกอบด้วยผู้ซื้อ (คน) กับ ผู้ขาย (บริษัท เอกชนหรือ บริษัท ที่เป็นเจ้าของ)

2.สินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นมีจุดประสงค์เพื่อสร้างผลกำไร ผลกำไรนี้จะถูกนำกลับไปลงทุนในระบบเศรษฐกิจ

3.รัฐบาลไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเศรษฐกิจของตลาดเสรี ความหมายตลาดจะเป็นตัวกำหนดการลงทุน การผลิต การจัดจำหน่าย การตัดสินใจ และการแทรกแซงของรัฐบาลจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการบังคับใช้กฎ หรือนโยบายที่ควบคุมการดำเนินธุรกิจ

4.มีความจำเป็นต้องผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำเศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ

5.นายทุนเชื่อว่ารัฐบาลนั้น ไม่อาจใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพได้เหมือนกับองค์กรเอกชน

ข้อดี-ข้อเสียของระบบทุนนิยม

1.ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากขึ้น ผู้คนจะมีตัวเลือกสินค้าที่หลากหลาย ตัวเลือกนี้นำไปสู่การแข่งขันที่มากขึ้น ช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ดีขึ้น

2.ผลิตตามความต้องการของตลาด สินค้าหรือบริการที่ผลิตตามความต้องการของผู้บริโภค ช่วยลดต้นทุนและหลีกเลี่ยงในการลงทุน

3.กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ สิ่งนี้จะเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product) นำไปสู่มาตรฐานของค่าครองชีพที่ดีขึ้น

4.ข้อเสีย – โอกาสโดนผูกขาดอำนาจ เมื่อบริษัทที่มีอำนาจผูกขาด (เมื่อบุคคลหรือองค์กรใด บริษัท หนึ่งเป็นผู้จัดหาสินค้าโภคภัณฑ์เพียงหนึ่งเดียว) ใช้ตำอำนาจทางการตลาดในทางที่ผิด ด้วยการขึ้นราคาสินค้าตามใจ

5.ข้อเสีย – ความไม่เสมอภาค สังคมทุนนิยมตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิทธิในการส่งต่อความมั่งคั่งไปสู่คนรุ่นหลัง หากคนกลุ่มเล็กๆ ถือเป็นผู้กุมอำนาจทั้งหมด จะทำให้ความมั่นคงถูกส่งต่อไปยังกลุ่มคนเดียวกัน เป็นผลให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน ทำให้เกิดการแบ่งแยกทางสังคม

6.ข้อเสีย – ภาวะถดถอย/การว่างงาน เศรษฐกิจที่อยู่บนพื้นฐานของตลาดผู้บริโภคนั้น จะมีการเติบโต/ลดลงอย่างสม่ำเสมอ

ลักษณะสำคัญของสังคมนิยม

1.ฐานการผลิตเป็นของรัฐวิสาหกิจหรือสหกรณ์ (รัฐ)

2.มีโอกาสเท่ากันทุกคน อุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะต้องร่วมมือกัน โดยผลตอบแทนจากอุตสาหกรรมเหล่านี้ จะต้องถูกส่งคืนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม

3.กิจกรรมทางเศรษฐกิจได้รับการวางแผนโดยหน่วยงานวางแผนกลาง ขึ้นอยู่กับความต้องการการบริโภคของมนุษย์ และความต้องการทางเศรษฐกิจ

ข้อดี-ข้อเสียของระบบสังคมนิยม

1.ข้อดี – พลเมืองทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษา การดูแลสุขภาพ ฯลฯ ได้อย่างเท่าเทียม

2.ข้อดี – กำจัดการผูกขาดในบริษัท

3.ข้อดี – เกิดความเท่าเทียม ไม่มีการแบ่งชนชั้น

1.ข้อเสีย – เป็นการเพิ่มอำนาจให้กับรัฐบาล ทำให้มีอำนาจในการควบคุมชีวิตของผู้คนในทุกด้าน รวมถึงสถานที่ทำงานหรือที่อยู่อาศัย

2.ข้อเสีย – การขาดนวัตกรรม มีแรงจูงใจทางการเงินน้อยหรือไม่มีเลย ไม่มีเปิดโอกาสรับแนวคิดใหม่จากคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนา

วันนี้มีเพียงไม่กี่ประเทศที่พัฒนาแล้วที่เป็นทุนนิยม หรือสังคมนิยม 100% อันที่จริงเศรษฐกิจของประเทศส่วนใหญ่มักจะมีองค์ประกอบระหว่างสังคมนิยมกับทุนนิยมผสมอยู่ด้วย อย่างเช่นในประเทศนอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก โดยทั่วไปถือว่าเป็นระบบสังคมนิยม รัฐบาลจะให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ การศึกษา และบำนาญ อย่างไรก็ตามการเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนตัว

ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ เศรษฐกิจของคิวบา จีนเวียดนาม รัสเซีย เกาหลีเหนือ ใช้ระบบสังคมนิยมร่วมกับคอมมิวนิสต์  ในขณะที่ประเทศในยุโปร เช่น บริเตนใหญ่ ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ มีพรรคสังคมนิยมที่เข้มแข็ง โดยมีรัฐบาลของพวกเขาให้การสนับสนุนทางสังคม รวมถึงบริษัทเอกชนส่วนใหญ่ก็อยู่ในลักษณะของทุนนิยม อย่างที่เห็นกันว่าทุกอย่างล้วนมีข้อดี-ข้อเสีย ในแบบฉบับของตนเอง ดังนั้นหลายประเทศจึงหันมาใช้ระบบแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นการรวมแนวคิดของทั้งสองประเภทเข้าด้วยกัน

ระบบเศรษฐกิจ หมายถึง การรวมตัวกันเป็นกลุ่มของหน่วยเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยบุคคล หรือสถาบันที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่างในทางเศรษฐกิจ ใช้หลักการแบ่งงานกันทำตามความถนัด มีการปฏิบัติภายใต้ระเบียบ กฎเกณฑ์ นโยบาย และ แนวทางการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกัน หน่วยเศรษฐกิจ คือ หน่วยงานที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ จะทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจกรรมที่สำคัญทางด้านเศรษฐกิจอันได้แก่การผลิต การบริโภค และ การแจกจ่ายสินค้า และบริการ

ระบบเศรษฐกิจ : แบ่งออกเป็น 4 ระบบ ดังนี้

  1. ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism) ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของทรัพยากรต่าง ๆ ของประเทศ ซึ่งรวมทั้งปัจจัยการผลิตทุกชนิด เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ ตลอดจนเสรีภาพที่จะเลือกใช้ปัจจัยการผลิตได้ รัฐบาลทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบการ และ ทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ให้กับหน่วยธุรกิจ และ ครัวเรือน การผลิตและบริโภคมาจากคำสั่งของรัฐ กลไกราคาไม่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจกระทำโดยรัฐบาล จะมีลักษณะเด่นอยู่ที่การรวมอำนาจทุกอย่างไว้ที่ส่วนกลางข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ : เป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางฐานะและรายได้ของบุคคลในสังคม ระบบเศรษฐกิจนี้เอกชนจะทำการผลิตและบริโภคตามคำสั่งของรัฐ ผลผลิตที่ผลิตขึ้นมาจะถูกนำส่งเข้าส่วนกลาง และ รัฐจะเป็นผู้จัดสรรหรือแบ่งปัน สินค้าและบริการดังกล่าวให้ประชาชนแต่ละคนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการได้เปรียบหรือเสียเปรียบ

    ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ : ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการเลือกสรรบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ ตามความพอใจของตน เพระรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดสินค้าและบริการต่าง ๆ ให้ประชาชนเป็นผู้บริโภคตามความเหมาะสมและความจำเป็นเท่านั้น ประชาชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในการถือครอง และ เป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งสามารถนำไปผลิตสินค้า และ บริการต่าง ๆ หรือนำไปแสวงหารายได้ เช่น ที่ดิน โรงงาน เครื่องจักร ฯลฯ ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการเลือกทำงานหรืออาชีพตามอำเภอใจเพราะรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดการทำงาน และ ค่าจ้างให้แก่ประชาชนตามความสามารถ ประชาชนจึงมีสภาพเป็นลูกจ้างของรัฐบาลทุกคน สินค้ามีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากผู้ผลิตขาดแรงจูงใจ และ การใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอาจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถที่จะมีข้อมูลข่าวสารที่สมบูรณ์ในทุก ๆ เรื่อง

  1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism) ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเลือกตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามความสามารถและโอกาสของตนโดยอาศัยตลาดและราคาในการเลือก โดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางมีบทบาทเกี่ยวข้องน้อยมากข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม : ทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตเป็นของเอกชน เอกชนเป็นผู้ดำเนินการกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยผ่านกลไกราคา และ มีกำไรเป็นแรงจูงใจ มีการแข่งขันเป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจ รัฐไม่เข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจ มีบทบาทเพียงการรักษาความสงบเรียบร้อย ความยุติธรรม ประชาชนสามารถใช้ความรู้ความสามารถ โอกาส ความคิดริเริ่ม ของตนในการผลิตและบริโภคเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตนได้อย่างเต็มที่ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม : เนื่องจากความสามารถ และ โอกาสของบุคคลที่แตกต่างกัน ทำให้มีระดับรายได้แตกต่างกัน นำไปสู่ปัญหาการกระจายรายได้ระหว่างคนรวยกับคนจน การผลิตในระบบทุนนิยมเป็นที่มาของการแข่งขันกันผลิต นำไปสู่การทำลายทรัพยากร และ สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติจนกลายเป็นปัญหาของโลกในปัจจุบัน

  1. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเสรี (Socialism) ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต วางแผนและควบคุมการผลิตบางประเภท โดยเฉพาะการผลิตที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชน เช่น การสาธารณูปโภค ต่าง ๆ สถาบันการเงิน ป่าไม้ เอกชนถูกจำกัดเสรีภาพในกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะส่วนที่เป็นผลประโยชน์ของส่วนรวม ดำเนินการได้เพียงอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมขนาดย่อม ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาความแตกต่างด้านฐานะระหว่างคนรวยและคนจนข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม : รัฐควบคุมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ มีการวางแผนจากส่วนกลาง ความเสมอภาคด้านฐานะทางเศรษฐกิจของบุคคลในสังคม ประชาชนได้รับสวัสดิการจากรัฐบาลกลางโดยเท่าเทียมกันและสามารถกำหนดนโยบายเป้าหมายตามที่รัฐบาลกลางต้องการได้ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม : ประชาชนขาดแรงจูงใจในการทำงาน เศรษฐกิจของประเทศอาจเผชิญวิกฤติหากรัฐกำหนดความต้องการผิดพลาด การไม่มีระบบแข่งขันแบบทุนนิยมทำให้ไม่มีการพัฒนาสินค้า และ บริการใหม่ๆ

  1. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy) ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมระหว่างระบบทุนนิยมกับสังคมนิยม มีรัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตหรือควบคุมการผลิตขนาดใหญ่ แต่ปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่เป็นของเอกชน การกำหนดราคาขึ้นกับกลไกแห่งราคาของตลาด เอกชนมีเสรีภาพ มีการแข่งขัน แต่รัฐอาจแทรกแซง การผลิตได้บ้าง รัฐดำเนินกิจการบางอย่างในรูปของรัฐวิสาหกิจ เช่น สาธารณูปโภค ( ไฟฟ้า ประปา ) มีการวางแผนจากส่วนกลางและมีสวัสดิการจากรัฐข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม : เป็นการยกฐานะของคนในสังคมให้เท่าเทียมกันและเป็นการแลกเปลี่ยนแปลงจากทุนนิยมเป็นแบบสังคมนิยม โดยสันติวิธีทางรัฐสภา รายได้ถูกนำมาเฉลี่ยให้ผู้ทำงานตามกำลังงานที่ได้กระทำ มิใช่ตามความจำเป็นทำให้แรงจูงใจในการทำงานจึงดีกว่าระบบอื่นๆ เอกชนมีบทบาททางเศรษฐกิจ มีการแข่งขันสูง สินค้าจึงมีคุณภาพสูง ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกสินค้าได้มากพอสมควรข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบผสม : ระบบนี้มีการวางแผนเพียงบางส่วน จึงอาจจะไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในกรณีที่ต้องการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เช่น ยามสงคราม การควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนโดยรัฐ เป็นเครื่องกีดขวางเสรีภาพของเอกชน การวางแผนจากส่วนกลางเพื่อประสานประโยชน์ของรัฐบาลเข้ากับเอกชนให้เกิดผลดีแก่ส่วนรวมอย่างแท้จริงทำได้ยาก นักธุรกิจขาดความมั่นใจในการลงทุน เพราะไม่แน่ใจว่าในอนาคตกิจกรรมของตนจะถูกโอนเป็นของรัฐหรือไม่

เศรษฐกิจระบบที่ 5 : เศรษฐกิจพอเพียง/ปรัชญาใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์

เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 นั้นพระองค์ทรงวางหลักไว้นานแล้ว แม้แต่ในปี 2517 ก็ทรงมีพระบรมราโชวาทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เนื่องในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร 19 กรกฎาคม 2517 ดังความตอนหนึ่งว่า “ในการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น เริ่มด้วยการสร้างพื้นฐานด้วยความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อน ด้วยวิธีการที่ประหยัด ระมัดระวัง แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อพื้นฐานเกิดขึ้นมั่นคงพอควรแล้วจึงค่อยสร้างเสริมความเจริญให้ค่อยเป็นไปตามลำดับด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และประหยัดนั้นก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลว และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์”

จากพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส นับตั้งแต่ปี 2517 เป็นต้นมา จะพบว่าพระองค์ท่านได้ทรงเน้นย้ำทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ การรู้จักความพอประมาณ การคำนึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และทรงเตือนประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท ตระหนักถึงการพัฒนาตามลำดับขั้นตอนตามหลักวิชาการ ตลอดจนมีคุณธรรมเป็นกรอบในการดำรงชีวิต ซึ่งทั้งหมดนี้รู้กันภายใต้ชื่อว่า “เศรษฐกิจพอเพียง”

“…ให้พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ อันนี้ก็ความหมายอีกอย่างของเศรษฐกิจพอเพียงหรือระบบพอเพียง พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพพูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง…” (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541) ทุกคนสามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตได้ไม่ใช่เฉพาะในหมู่คนจนหรือเกษตรกรโดยต้อง “ระเบิดจากข้างใน” คือ การเกิดจิตสำนึก มีความศรัทธา เชื่อมั่น เห็นคุณค่าและนำไปปฏิบัติด้วยตนเองแล้วจึงขยายไปสู่ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป

 “…คนเราถ้าพอในความต้องการก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิดอันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจมีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข…” (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541)

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมานานกว่า 40 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวหน้าทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ความสำคัญตั้งแต่ระดับบุคคลและครอบครัว การรวมตัวกันของชุมชน ระหว่างชุมชน และกับชุมชนอื่นๆ ที่รวมเรียกว่าภาคประชาสังคม หากภาคประชาสังคมมีความเข้มแข็งจะก่อให้เกิดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งหมายถึงการเติบโตอย่างมีพลวัต มีเสถียรภาพ มีความเป็นธรรม และมีสภาวะทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

เศรษฐกิจแบบสังคมแบ่งปัน (เศรษฐกิจพอเพียง) : เป็นระบบเศรษฐกิจที่มุ่งต่อสศักยภาพของประเทศที่มีความสมดุลย์เป็นพื้นฐาน โดยให้ความสำคัญกับการผลิตเพื่ออุปโภค บริโภค สำรอง และแบ่งปัน หลังจากนั้นจึงผลิตเพื่อการค้า ซึ่งประกอบด้วย 3 คุณลักษณะที่เป็นห่วงสอดร้อยประสานกันเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ ความพอประมาณ (ความพอดี ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ) ความมีเหตุผล (การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว (การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล) นอกจากคุณลักษณะ 3 ห่วงดังกล่าวแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการกำหนดเงื่อนไขไว้ 2 ประการ เพื่อการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน นั่นคือ เงื่อนไขความรู้ ซึ่งประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ และเงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

ลักษณะที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมคืออะไร

ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ได้แก่ - ทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตเป็นของเอกชน - เอกชนเป็นผู้ดำเนินการกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยผ่านกลไกราคา และมีกำไรเป็นแรงจูงใจ - มีการแข่งขันเป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจ - รัฐไม่เข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจ มีบทบาทเพียงการรักษาความสงบเรียบร้อย ความยุติธรรม

ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม มีอะไรบ้าง

ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเลือกตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามความสามารถและโอกาสของตนโดยอาศัยตลาดและราคาในการเลือก โดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางมีบทบาทเกี่ยวข้องน้อยมาก

ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม คืออะไร

ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับระบบเศรษฐกิจ แบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์รัฐบาลเป็นเจ้าของทรัพยากรต่าง ๆ รวมทั้งปัจจัยการผลิต ทุกชนิดเอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ ตลอดจนเสรีภาพที่จะเลือกใช้ปัจจัยการผลิต รัฐบาลเป็นผู้ประกอบการและทำหน้าที่จัดสรร ทรัพยากรต่าง ๆ ...

ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมีอะไรบ้าง

ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม มีดังนี้.
เกิดแรงจูงใจในการทำงาน เพราะทำแล้วรายได้ตกเป็นของตนเอง.
เนื่องจากผู้ผลิตแต่ละรายต้องแข่งขันกันขายสินค้าและบริการให้มากที่สุด จึงต้องปรับปรุงเทคนิคการผลิตอยู่เสมอทำให้คุณภาพของงานและคุณภาพของสินค้าดีขึ้น.
ผู้ผลิตสินค้ามีเสรีภาพในการตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร ผลิตอะไร และผลิตมาปริมาณเท่าใด.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้