บทที่5 การอ่านเพื่อการสื่อสาร

คำอธิบายรายวิชา

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและพัฒนาทักษะทางภาษาไทยทั้งการรับสารและส่งสาร โดยในด้านการรับสารสามารถพัฒนาทักษะการจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านและที่ฟัง การวิเคราะห์เชื่อมโยงประเด็นย่อย ๆ จากเรื่องที่ฟังและอ่านจนเข้าใจและสามารถยกระดับเป็นความรู้ใหม่ การเสนอข้อคิดเห็นหรือให้คุณค่า ต่อเรื่องที่อ่านและฟังได้อย่างมีเหตุผลและสอดคล้องกับคุณค่าทางสังคม ในด้านการส่งสารสามารถพัฒนาทักษะการนำเสนอความคิดผ่านการพูดและการเขียนได้อย่างมีประเด็นสำคัญและส่วนขยายที่ช่วยให้ประเด็นความคิดชัดเจนและเป็นระบบ การนำข้อมูลทางสังคมมาประกอบสร้างเป็นความรู้หรือความคิดที่ใหญ่ขึ้น การพูดและการเขียนเพื่อนำเสนอความรู้ทางวิชาการที่เป็นระบบและน่าเชื่อถือ

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย

List of Books

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

เขียนโดย ผศ.วิเศษ ชาญประโคน เขียนขึ้นเพื่อใช้สอนนักศึกษาระดับปริญญาตรี  มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนเข้าใจภาษาที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันมากขึ้น  เนื้อหาของหนังสือประกอบด้วยการสื่อสาร อุปสรรคของการสื่อสารและวิธีแก้ไขประเภทของภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ภาษาที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน สุภาษิต คำพังเพย สำนวน การใช้โวหารในการสื่อสาร การเตรียมการเขียน การเขียนสารคดี และการพูด 

  • บทที่ 1 การสื่อสาร 
  • บทที่ 2 อุปสรรคของการสื่อสารและวิธีแก้ไข
  • บทที่ 3 ประเภทของภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
  • บทที่ 4 ภาษาที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน
  • บทที่ 5 สุภาษิต คำพังเพย สำนวน
  • บทที่ 6 การใช้โวหารในการสื่อสาร
  • บทที่ 7 ภาษาภาพพจน์
  • บทที่ 8 การเตรียมการเขียน
  • บทที่ 9 การเขียนเนื้อเรื่อง
  • บทที่ 10 การเขียนสารคดี
  • บทที่ 11 การเขียนโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • บทที่ 12 การเขียนคำขวัญและคำอวยพร
  • บทที่ 13 การสื่อสารด้วยการพูด

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น

แบ่งเนื้อหาออกเป็น 8 บท  โดยจัดลำดับบทตามลักษณะการเรียนรู้  

  • บทที่ 1 ภาษากับการสื่อสาร 
  • บทที่ 2 สารสนเทศ การอ้างอิง และการเขียนบรรณานุกรม    
  • บทที่ 3 ทักษะทางภาษาเพื่อการสืบค้นด้วยการฟัง
  • บทที่ 4 ทักษะทางภาษาเพื่อการสืบค้นด้วยการอ่าน 
  • บทที่ 5 การตีความ การขยายความ การย่อความและการสรุปความ สำหรับเรื่องการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน
  • บทที่ 6 การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยการพูด 
  • บทที่ 7 การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยการเขียน
  • บทที่ 8 การเขียนจดหมายและการเขียนรายงานการประชุม

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารธุรกิจ

ของ โอภส์ แก้วจำปา ให้เนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับภาษาไทยเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ เนื่องจากการสื่อสารในวงการธุรกิจได้พัฒนาไปตามความเจริญของเทคโนโลยี ฉะนั้นการศึกษาทางด้านวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารธุรกิจต้องพัฒนาตามให้ทัน หนังสือเล่มนี้จึงได้พัฒนาให้ตรงกับความเป็นจริงตามยุคสมัย มีเนื้อหาทั้งหมด 8 บท เริ่มตั้งแต่ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสื่อสารธุรกิจ วัฒนธรรมการสื่อสารธุรกิจ การสื่อสารด้วยการเขียนในองค์กรธุรกิจ รายงานธุรกิจ การสื่อสารด้วยการเขียนระหว่างองค์กรธุรกิจ การเขียนจดหมายธุรกิจชนิดต่าง ๆ การเขียนจดหมายไมตรีจิต และการเขียนโครงงานธุรกิจ อธิบายเนื้อหาโดยละเอียด เป็นลำดับขั้นตอน พร้อมตัวอย่างหลากหลายเข้าใจง่าย

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารธุรกิจ

โอภส์ แก้วจำปาแต่งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เพื่อให้มีเอกสารประกอบการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนได้มีความรู้และประสบการณ์เหมาะแก่การเป็นนักปฏิบัติในอาชีพธุรกิจต่อไป เนื้อหาในตัวเล่มประกอบด้วย การสื่อสารธุรกิจ  วัฒนธรรมกับการสื่อสารธุรกิจ  การสื่อสารด้วยการเขียนในทางธุรกิจ รายงานธุรกิจ การสื่อสารธุรกิจด้วยจดหมาย จดหมายใช้ติดต่อเชิงธุรกิจ จดหมายธุรกิจเพื่อไมตรีจิต บันทึก และโครงการนำเสนอ

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น

โดย ผศ.สมพร แพ่งพิพัฒน์  เป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอน เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษา หนังสือเล่มนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 8 บท  โดยจัดลำดับบทตามลักษณะการเรียนรู้  

  • บทที่ 1 ภาษากับการสื่อสาร 
  • บทที่ 2 สารสนเทศ การอ้างอิง และการเขียนบรรณานุกรม    
  • บทที่ 3 ทักษะทางภาษาเพื่อการสืบค้นด้วยการฟัง
  • บทที่ 4 ทักษะทางภาษาเพื่อการสืบค้นด้วยการอ่าน 
  • บทที่ 5 การตีความ การขยายความ การย่อความและการสรุปความ สำหรับเรื่องการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน
  • บทที่ 6 การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยการพูด 
  • บทที่ 7 การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยการเขียน
  • บทที่ 8 การเขียนจดหมายและการเขียนรายงานการประชุม

ทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

       ผู้เขียน คือปรัชญา อาภากุล และ การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์ หนังสือจะเน้นเนื้อหาสาระเน้นหนักไปที่การพัฒนาทักษะการพูดและทักษะการเขียน เพื่อให้นักศึกษานำผลที่ได้จากการเรียนไปประยุกต์ใช้ในเชิงปฏิบัติในการดำเนินชีวิตในสังคมต่อไป 

       เนื้อหาในตัวเล่มประกอบด้วย ภาค 1 การพูด ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด การเตรียมตัวและฝีกฝนการพูดเบื้องต้น การวิเคราะห์ผู้ฟังและโอกาสในการพูด การปฏิบัติระหว่างการพูด การประเมินผลการพูด และการพูดในชีวิตประจำวันและการพูดในโอกาสพิเศษ  ภาค 2 การเขียน ความรู้พื้นฐานทางการเขียน การเขียนโครงเรื่อง  การเขียนย่อหน้า การเขียนรายงานทางวิขาการ การเขียนบทความ การเขียนสารคดี การเขียนบันเทิงคดี และการเขียนวิจารณ์

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น

โดย สถาบันราชภัฏสวนดุสิต หนังสือเล่มนี้จัดทำเพื่อใช้เป็นคู่มือประกอบการเรียนการสอนตามหลักสูตรของสถาบัน โดยเนื้อหาแบ่งเป็น 3 หน่วยได้แก่ การสื่อสารและการสืบค้น  การพัฒนาทางปัญญา  และสารนิเทศปัจจุบันกับการพัฒนาทางปัญญา ซึ่งรายละเอียดของเนื้อหามีทั้งทฤษฎีและตัวอย่าง เพื่อช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้และเข้าใจมากขึ้น รวมทั้งค้นพบและพัฒนาแนวทางการสื่อสารและสืบค้นต่อไป

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

โดย คณาจารย์ภาควิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เนื้อหาในเล่มจัดทำเพื่อมุ่งหวังที่จะพัฒนาทักษะทางด้านการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน รวมทั้งศาสตร์ในด้านต่าง ๆ ที่ช่วยเสริมให้การสื่อสารมีศักยภาพและประสิทธิผลสูงยิ่งขึ้น ทักษะการใช้ภาษาไทยเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในสังคมไทย เพราะเราต้องใช้ภาษาไทยในการติดต่อสื่อสารทั้งในชีวิตประจำวัน และในหน้าที่การงาน ตลอดจนการศึกษาหาความรู้ต่าง ๆ อีกด้วย  เนื้อหาประกอบด้วย 

  • ภาษากับการสื่อสาร 
  • การฟังเพื่อการสื่อสาร 
  • การอ่านเพื่อการสื่อสาร 
  • การพูดเพื่อการสื่อสาร 
  • บทส่งท้ายการเขียนเพื่อการสื่อสาร

เอกสารการสอนชุดวิชา ภาษาเพื่อการสื่อสาร หน่วยที่ 1-7

โดยสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เนื้อหาในชุดวิชานี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกคือ เล่มที่ 1 หน่วยที่ 1-7 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการใช้ภาษาไทยโดยเลือกมาเฉพาะที่จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวัน ไม่ใช่ไวยากรณ์หรือภาษาศาสตร์โดยตรง 

เอกสารการสอนชุดวิชา ภาษาเพื่อการสื่อสาร หน่วยที่ 8-15

โดยสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เนื้อหาในชุดวิชานี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน ส่วนละหนึ่งเล่ม  เล่มที่ 2  คือหน่วยที่ 8-15 เป็นเนื้อหาภาษาที่ใช้ในวงการสื่อสารมวลชน มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่นักนิเทศศาสตร์ควรศึกษา

ภาษาเพื่อการสื่อสาร

   ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร บรรณาธิการโดย จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และ วีรวัฒน์ อินทรพร
     เล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และเข้าใจในการใช้ทักษะภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร เนื้อหาประกอบด้วย การสื่อสารกับการแสดงความคิด ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย การฟังและการอ่านเพื่อความเข้าใจ การเขียนเพื่อการสื่อสาร และ การพูดในที่ประชุมชน

เรียนวิชานี้ที่ Thai MOOC

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้