หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท วิธี เช็ค

โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท

คุณเคยมีอาการเหล่านี้หรือไม่ รู้สึกปวดคอ คอแข็ง ปวดร้าวลงมาที่มือ หรือปวดบ่า ปวดไหล่ ปวดร้าวลงมาที่แขน หรือขาข้างใดข้างหนึ่ง จนรู้สึกชา ไม่มีแรง ขยับตัวลำบาก อาการเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวแล้วปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน อาจทำให้การรักษาด้วยยาหรือกายภาพบำบัดนั้นไม่ได้ผลดีนัก และจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดช่วยในการรักษาแทน

ก่อนที่เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้าโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนี้ เรามาทำความเข้าใจถึงโครงสร้างของกระดูกในร่างกายคนเรากันก่อนดีกว่า อยากรู้มั้ยล่ะว่าคนเรา มีกระดูกทั้งหมดกี่ชิ้น…โครงสร้างของร่างกายเรานั้นประกอบไปด้วยกระดูกทั้งหมด 206 ชิ้น แต่จะชิ้นก็จะมีส่วนประกอบของข้อต่อที่มีองศาที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งของกระดูกชิ้นนั้นๆ เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวของร่างกาย และเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้นกระดูกในร่างกายอาจมีการผุและเสื่อมไปตามกาลเวลา ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการเกิดโรคต่างๆ นั่นเอง ซึ่งกระดูกในร่างกายของคนเรานั้นมีหลายจุดที่เราควรให้ความสำคัญเมื่ออายุมากขึ้น แต่จุดหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่าจุดอื่นๆ เลย นั่นก็คือ กระดูกสันหลัง

เนื่องจากกระดูกบริเวณนี้เป็นแกนกลางของร่างกาย ส่วนตรงกลางกระดูกจะกลวงและมีเส้นประสาทหลายเส้นประกอบกับไขสันหลังหล่อเลี้ยงอยู่ และจะมีกระดูกเรียงขวางต่อกันเป็นแนวยาวตั้งแต่คอถึงเอว ระหว่างกระดูกแต่ละชิ้นจะมีกระดูกอ่อนมีความยืดหยุ่นช่วยรองรับแรงต่างๆ และเมื่อไหร่ก็ตามที่กระดูกมีการเสื่อมสภาพอาจทำให้มีการเคลื่อนของหมอนรอง และมีอาการ ปวด เสียว ชา ที่อวัยวะที่มีปลายประสาทไปเลี้ยง ซึ่งต่อมาจะทำให้เกิดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆได้

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ถือว่าเป็นอีกโรคหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่เริ่มมีอายุตั้ง 40 ปีขึ้นไป หรือในบางรายอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ 35 ปี เนื่องจากการทำงานที่ต้องยกของหนักมากบ่อยๆ ซึ่งในปัจจุบันคนไข้สามารถเข้ารับการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ 3 แบบ คือ การใช้พลังงานสนามแม่เหล็ก หรือที่เรียกว่า MRI, การตรวจด้วยเครื่อง CT ร่วมกับการฉีดสีเข้าไขสันหลังซึ่งจะมีความแม่นยำพอกับการทำ MRI และการตรวจคลื่นไฟ้ฟ้ากล้ามเนื้อ Eletromyography (EMG) เป็นการวัดว่าเส้นประสาทถูกกดทับหรือไม่โดยการเปรียบเทียบข้างที่เป็นโรคกับด้านที่ปกติ จะช่วยให้สามารถหาสาเหตุและวิธีการรักษาได้ตรงจุดยิ่งขึ้น ทั้งนี้การเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทส่วนใหญ่แล้วจะเป็นอยู่ 2 จุดหลักๆ คือ บริเวณคอ และบริเวณหลัง ซึ่งอาการและสาเหตุของทั้ง 2 จุดนั้นก็จะแตกต่างกันไป

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณคอนั้น เกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นหมอนรองกระดูกเสื่อมมาทับบริเวณเส้นประสาท หรือเมื่ออายุมากขึ้นมีการงอกของกระดูกคอ และอาจมากดทับบริเวณรากประสาทได้ ทำให้มีอาการปวดคอ คอแข็ง และปวดร้าวลงมาที่มือ หรือปวดบ่า ปวดไหล่ และปวดร้าวลงมาที่แขน ในบางรายอาจมีความผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น หมอนรองกระดูกยื่นออกมากดทับประสาทไขสันหลังจนทำให้รู้สึกว่ากล้ามเนื้อแขนอ่อนแรง ชาตามแขนขาได้

สำหรับการรักษาในเบื้องต้นนั้น จะรักษาตามอาการปวด หากเป็นอาการปวดที่เกิดจากการกดทับของเส้นประสาทและเกิดจากการอักเสบ จะใช้วิธีการรักษาโดยให้ยาแก้ปวด NSAID เท่านั้น หากยังไม่ดีขึ้นและมีอาการปวดเพิ่มขึ้น อาจใช้การรักษาวิธีอื่นร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น การทำกายภาพบำบัด เช่น การประคบร้อนหรือเย็น, การใช้อัลตร้าซาวด์จะช่วยในการลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ, การดึงคอเพื่อช่วยลดการกดทับของเส้นประสาท, ใส่ปลอกคอเพื่อให้มีการพักของกระดูกต้นคอ, การจัดกระดูก Chiropractic manipulation ซึ่งต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ถึงจะสามารถช่วยลดอาการปวด และหากมีอาการปวดมากอาจใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อช่วยระงับอาการปวด และการฉีดยาเข้าบริเวณที่ปวด เป็นต้น ส่วนการผ่าตัดนั้นจะทำเมื่อการรักษาในแบบไม่ผ่าตัดทำแล้วไม่ได้ผล โดยการผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณคอในปัจจุบัน สามารถรักษาได้ 2 วิธีด้วยกัน วิธีแรกเรียกว่า Anterior cervical discectomy and fusion เป็นการผ่าตัดเพื่อนำเอาหมอนรองกระดูกออก ปัจจุบันได้มีการรักษาโดยการใช้กล้องผ่าตัด (Microscope) เพื่อผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกออกทั้งหมด แล้วใส่กระดูกเทียม, ใส่หมอนรองกระดูกเทียม หรือใส่กระดูกของผู้ป่วยในบริเวณอื่นแทน และวิธีที่สองเรียกว่า Posterior cervical discectomy เป็นการผ่าตัดนำหมอนกระดูกออกโดยผ่าทางด้านหลัง แต่วิธีการผ่าตัดจะยากกว่าการผ่าตัดทางด้านหน้า เป็นการผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกออกเพียงบางส่วน เช่น การตัดหมอนรองกระดูกทางด้านหลัง หรือ การผ่าตัดขยายโพรงเส้นประสาททางด้านหน้านั่นเอง ซึ่งการผ่าตัดทั้ง 2 วิธี คนไข้ต้องใช้เวลาในการนอนพักฟื้นอยู่โรงพยาบาล 3-4 วัน จึงสามารถกลับบ้านได้ และควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณหลัง มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น อายุที่มากขึ้น 35-40 ปีขึ้นไป การยกของหนักมากเกินไป การเคลื่อนไหวตัวผิดท่า การออกกำลังกายอย่างหนัก หรือนั่งทำงานในท่าเดิมนานจนเกินไป จนทำให้เกิดจากการฉีกขาดของเส้นใยของหมอนรองกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกที่บริเวณเอวปูด และอาจเคลื่อนหรือแตกทับเส้นประสาทได้ ซึ่งการฉีกขาดนี้จะทำให้สารเหลวคล้ายเจลลี่เคลื่อนตัวออกมาภายนอก จึงส่งผลทำให้คนไข้จะรู้สึกปวดร้าวจากหลังไปยังขาหรือหลังเท้า ในบางรายอาจปวดจนเดินไม่ได้

สำหรับการรักษาในเบื้องต้นนั้นจะเป็นการให้ยาสเตียรอยด์เพื่อช่วยระงับอาการปวด หรืออาจมีการใช้วิธีการประคบร้อนร่วมกับการทำอัลตร้าซาวน์จะช่วยในการลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันในช่วงแรกที่มีอาการปวด โดยงดเว้นการยกของหนัก ไม่ยกของเหนือระดับหัวไหล่ หรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่างๆ ที่มีผลทำให้เกิดการกระแทก, นอนที่นอนไม่อ่อนนุ่มหรือแข็งเกินไป, ถ้านอนตะแคงควรนอนระวังไม่ให้ลำตัวบิด และถ้านอนหงายควรมีหมอนรองใต้ข้อเข่าให้งอเล็กน้อยไม่เหยียดตรงจนเกินไป และใส่สายรัดพยุงหลังเพื่อช่วยในการประคอง เป็นต้น หากยังไม่ดีขึ้นแพทย์จึงค่อยพิจารณาการผ่าตัดในลำดับต่อไป ซึ่งการผ่าตัดรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณหลังนั้น มีอยู่ 3 วิธีหลักๆ คือ วิธีแรก การผ่าตัดผ่านช่องกระดูกสันหลังเพื่อนำเอาหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทออก ปัจจุบันได้มีการรักษาโดยการใช้กล้องผ่าตัด เรียกว่า Microdiscectomy เป็นการผ่าตัดเช่นเดียวกับการทำผ่าตัดเปิดเอาหมอนรองกระดูกสันหลังออกแบบเดิมที่เรียกว่า Standard open discectomy แตกต่างที่แผลขนาดเล็กลงกว่า ลดระยะเวลาการพักฟื้นในโรงพยาบาล, วิธีที่ 2 คือ การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียมที่ระดับหลัง วิธีนี้จะเหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาหมอนรองกระดูกเสื่อม และวิธีที่ 3 การผ่าตัดโดยวิธีการผ่านกล้องขนาดเล็ก (Endoscope) เป็นการผ่าตัดขนาดเล็กเพียง 1 เซนติเมตรเท่านั้น เหมาะสำหรับคนไข้ที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกแตกหรือปูดมากดทับเส้นประสาทนั่นเอง

สำหรับการดูแลตัวเองหลังการรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนั้น แต่ละกลุ่มก็จะมีวิธีการดูแลตัวเองที่แตกต่างกันออกไป

ซึ่งในคนไข้ที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทคอนั้น จะต้องดูแลตัวเองด้วยวิธีปรับการใช้ชีวิตประจำวันใหม่ อาทิ หากต้องนั่งนานๆ ควรปรับท่านั่งให้หลังตรงหรือเดินตัวตรง อย่านั่งนานเกินไป ควรลุกขึ้นยืน หรือปรับเปลี่ยนอากัปกิริยา ทุกๆ ชั่วโมงเพื่อลดอาการปวดคอ คอแข็ง หลีกเลี่ยงการบิดหมุนคอหรือสะบัดคอบ่อยๆ , การนอนควรใช้หมอนหนุนศีรษะโดยมีส่วนรองรับใต้คอให้กระดูกคออยู่ในลักษณะปกติ , บริหารกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรงสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงการทำงานโดยแหงนคอเป็นเวลานานๆ บ่อยๆ เป็นต้น

ส่วนคนไข้ที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหลัง เมื่อเข้ารับการรักษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งหนึ่งที่คนไข้ไม่ควรละเลยก็คือการดูแลตัวเองหลังการรักษาและปฏิบัติตัวให้เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเณหลังอีก โดยการลดการใช้งานของกล้ามเนื้อหลังให้น้อยลง ไม่ยกของหนักจนเกินไป หรือหากต้องยกของหนักจากพื้นควรยกในท่าที่ถูกต้อง ไม่ควรก้มเลยทันทีควรย่อเข่าแล้วยกของ และถือของชิดตัวเพื่อลดอาการปวดบ่า ปวดไหล่ ส่วนการออกกำลังกายนั้นควรออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรหักโหมเกินไป หากรู้สึกเหนื่อยและเมื่อยให้หยุดพักแล้วจึงค่อยทำใหม่

หากคุณปฏิตัวอย่างถูกต้องเพียงแค่นี้ก็จะช่วยให้ความเสี่ยงในการเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณคอและหลังลดน้อยลงได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้