การอนุมานจากเหตุไปหาผล ตัวอย่าง

ภาษากับเหตุผล 

        เหตุผล คือ ความคิดสำคัญซึ่งจะเป็นหลัก เป็นเกณฑ์หรือเป็นข้อเท็จจริง
ซึ่งมีข้อสรุปรอรับอยู่ ความคิดหลักดังกล่าว จะทำให้ข้อสรุปนั้นหนักแน่น
และน่าเชื่อถือ

โครงสร้างของการแสดงเหตุผล ต้องประกอบด้วย
๑. เหตุผล ,
ข้อรับรอง หรือ ข้อสนับสนุน
๒. ข้อสรุป

  ภาษาที่ใช้ในการแสดงเหตุผล
ใช้ในลักษณะดังนี้
๑. ใช้คำสันธาน เช่น เพราะ จึง ดังนั้น เพราะฉะนั้น
โดยที่
- ระยะนี้ต้องดูหนังสือหนัก เพราะใกล้สอบแล้ว
-
โดยที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับความสนใจจากผู้ชมมาก จึงต้องฉายนานถึง 6 เดือน
๒.
เรียบเรียงข้อความทั้ง ๒ ส่วนให้เหมาะสม โดยไม่ต้องใช้คำสันธาน เช่น
-
เมืองกาญจน์เป็นเมืองที่มีภูเขามาก อากาศดี ฉันอยากไปเที่ยวอีก
-
เช้านี้รถติดมาก ฉันจึงมาโรงเรียนสาย
๓.
ใช้กลุ่มคำเพื่อบ่งชี้ว่าเป็นเหตุหรือเป็นข้อสรุป เช่น
-
จากการประชุมของคณะกรรมการนักเรียน เรามีมติว่า
ให้กรรมการแต่ละฝ่ายไปเขียนโครงการของตนมาแล้วนำมาส่งที่ประธานสัปดาห์หน้า
๔.
ใช้เหตุผลหลาย ๆ ข้อประกอบกันเพื่อเพิ่มน้ำหนักให้แก่ข้อสรุป
เช่น
“การที่ฉันลาออกจากราชการ
แล้วมาปลูกต้นไม้ขายก็เพราะเบื่อชีวิตราชการที่ต้องทำตามคำสั่งเจ้านายทั้งที่ไม่อยากทำ
ชอบปลูกต้นไม้เพราะทำให้เกิดความเพลิดเพลิน สบายใจ ต้นไม้ทำให้สดชื่น ผ่อนคลาย
ยิ่งปลูกก็ยิ่งเพลิน ก็เลยมีมากขึ้นเรื่อย ๆ จนพอที่จะขาย

วิธีการแสดงเหตุผลและการอนุมาน
การอนุมาน หมายถึง
กระบวนการคิดในการหาข้อสรุปจากเหตุผลที่มีอยู่ การอนุมาน มี ๒วิธี คือ
๑.
การอนุมานด้วยวิธีนิรนัย
๒. การอนุมานด้วยวิธีอุปนัย
การอนุมานด้วยวิธีนิรนัย
เป็นการแสดงเหตุผลโดยคิดถึงหลักความจริงของส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย
เป็นหลักที่จริงแท้แน่นอนเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้
เหตุผลที่ยกขึ้นมาอ้างนั้นเชื่อถือได้สมเหตุสมผลและชัดเจน เช่น
-
ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี
สุรชัยเป็นคนที่กตัญญูเป็นอย่างยิ่งจึงกล่าวได้ว่า
สุรชัยเป็นคนดี
การอนุมานด้วยวิธีอุปนัย
เป็นการอนุมานจากส่วนใดส่วนหนึ่งไปสู่ส่วนรวมทั้งหมด
เป็นการใช้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ มาสนับสนุนข้อสรุป
ข้อสรุปที่ได้มานั้นไม่แน่นอนเสมอไป การอนุมานวิธีอุปนัยนี้
อาจหาข้อสรุปได้ด้วยวิธีการใช้แนวเทียบก็ได้ โดยการนำเหตุการณ์ในกรณีหนึ่ง
ไปเทียบเคียงกับอีกกรณีหนึ่งที่คล้ายคลึงกัน
ข้อสรุปที่ได้จากการอนุมานแบบอุปนัยจึงได้เพียง “น่าจะเป็นเช่นนั้น” เท่านั้น
ไม่ใช่แน่นอนตายตัวเหมือนการอนุมานด้วยวิธีนิรนัย
ข้อสนับสนุนที่นำมาอ้างนั้นก็ไม่สมเหตุสมผลเท่าใดนัก ตัวอย่างเช่น
-
คนไทยเป็นคนโอบอ้อมอารี ฉันสบายใจจริง ๆ ที่ได้อยู่กับคนไทย
เพราะเขาต้องเป็นคนโอบอ้อมอารีแน่นอน
การอนุมานด้วยวิธีอุปนัยนั้น
หากพิจารณาจากเหตุและผลที่สัมพันธ์กัน จะแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
๑.
การอนุมานจากเหตุไปหาผล เริ่มจากพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้น
แล้วคาดว่าสิ่งนั้นจะทำให้เกิดผลลัพธ์อย่างไร
- น้ำมันขึ้นราคาอีกแล้ว
อีกหน่อยของทุกอย่างก็แพงขึ้น
๒. การอนุมานจากผลไปหาเหตุ
เป็นการพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วมองย้อนกลับไปว่าอะไรเป็น
สาเหตุที่ทำให้สิ่งนั้นเกิด เช่น
- น้ำมันขึ้นราคาอีกแล้ว
ประเทศในกลุ่มโอเปคคงไม่ยอมผลิตน้ำมันเพิ่ม
๓. การอนุมานจากผลไปหาผล
เป็นการพิจารณาจากเหตุการณ์ที่เป็นผลลัพธ์เหตุการณ์หนึ่งแล้วคาดว่าจะเกิดผลลัพธ์อะไรอีกอย่างหนึ่งตามมา
เช่น

- นงลักษณ์ชอบเล่นดนตรีไทย คงจะชอบร้องเพลงไทยเดิมด้วย        

การวางโครงสร้างของเหตุผล

1. เหตุมาก่อนผลสังเกตจากคำเชื่อมจะใช้ "ดังนั้น,ก็เลย,จึง,เพราะ"

2. ผลมาก่อนเหตูสังเกตคำเชื่อมจะใช้ "เพราะ,เนื่องจาก,ด้วย"

เช่น เขาวิ่งมาอย่างเร็วจึงหกล้ม "เหตุมาก่อนผล"

เขาหกล้มเพราะวิ่งมาอย่างเร็ว "ผลมาก่อนเหตุ"

แต่เราว่านะของอย่างงี้บางทีมันก็อยู่ที่ตรรกะส่วนตัวของแต่ละคนด้วยล่ะ

คืออ่านแล้วเราควรจะวิเคราะห์ได้ด้วยตัวเองด้วยว่า อันไหนเป็นเหตุอันไหนเป็นผล 

วิธีการให้เหตุผล

มีวิธีการอยู่ 3 ขั้นตอน

1. ต้องแยกออกให้ได้ก่อนว่าอะไรเป็นเหตุอะไรเป็นผล

2.ดูก่อนว่าสิ่งที่เราแยกออกมา คือที่เรารู้แน่ๆว่าเกิด กับคาดว่าจะเกิดขึ้น

3. คำตอบของการอนุมานจะเขียนจากสิ่งที่เรารู้แน่ๆว่าเกิดไปหาสิ่งที่เราคาดว่าจะเกิด 

การอนุมานมี 3 แบบ

1.การอนุมานจาก"เหตุ"ไปหา"ผล"

2.การอนุมาจาก"ผล"ไปหา"เหตุ"

3.การอนุมานจาก"ผล"ไปหา"ผล"

(เหตุผลกับภาษา การอนุมาน การแสดงทรรศนะ การโต้แย้ง การโน้มน้าวใจ)

เหตุผลกับภาษา

            โจทย์จะถาม 3 ประเด็น

            1. มีการแสดงเหตุผลหรือไม่(ถ้ามีต้องมีเหตุ+ผล) ไม่ใช่มีอย่างใดอย่างหนึ่ง

            2. ลำดับการแสดงเหตุผล(เหตุก่อนผลหรือผลก่อนเหตุ)

            3. ความสมเหตุสมผล    

คำเตือน                        เรื่องนี้ให้พยายามหา คำสำคัญ ดังนี้

                        หลัง  เพราะ  เพราะว่า ด้วย  เหตุที่ว่า โดยที่                       =          เหตุ (ข้อสนับสนุน)

                        หลัง  ดังนั้น เพราะฉะนั้น จึง ก็เลย                                    =          ผล (ข้อสรุป)

การอนุมาน

            อนุมาน = เดาอย่างมีเหตุผล

            1. นิรนัย เป็นการเดาที่อ้างกฎหรือหลักความจริง ดังนั้นเวลาเดาแล้วมันจะเป็นความจริง

            ตัวอย่าง        

                        1) คนทุกคนเกิดมาก็ต้องตาย แม้ตัวเราเองก็ตายจากดลกนี้ไปในวันหนีงเป็นแน่

            2) อาจารย์วาดจันทร์เป็นคนดีมากๆเลยนะเพราะอาจารย์เป็นคนมีความกตัญญู(สัจธรรมก็คือ ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี)

            3) คุณสมบัติต้องเป็นผู้หญิงแน่ๆ เพราะเป็นป้าของคุณสมชาย(เดาจากความจริงที่ว่า ป้าต้องเป็นเพศหญิงเท่านั้น )

            2. อุปนัย เป็นการเดาจากสิ่งที่เห็นว่าหลายๆเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น เราก็เลยสรุปว่ามันน่าจะเป็นเช่นนั้นซะเลยซึ่งความจริงอาจไม่ใช่ก็ได้เพราะไม่ได้อ้างจากกฎความจริงหรือสัจธรรม(แบบนี้เป็นการคาดเดาเอามากๆเลยให้พยายามสังเกตจากคำว่า คง คงจะ อาจ อาจจะ น่า น่าจะ)           ตัวอย่าง (ตัวละครและเรื่องเหล่านี้เป็นการสมมุตินะคะ )

            1) ใครๆ เห็นอาจารย์ทิวลิปก็หลงเสน่ห์กันทั้งนั้น ฉันว่าถ้าไอซ์มาเจออาจารย์ทิวลิปก็คงหลงเสน่ห์ไปอีกคน

            2) ปีที่แล้วนะอาจารย์ทิวลิปอกหักวันวาเลนไทน์ เดี๋ยวปีนี้อาจารย์ก็คงอกหักอีกรอบ

            3) โดมและ ฟิล์มก็เคยเป็นแฟนกับอาจารย์ทิวลิป เรนก็ยังเคย ไอซ์เองก็น่าจะเคยเป็นแฟนอาจารย์นะ

การอนุมานจากสาเหตุและผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กัน

            1.  การอนุมานจากเหตุไปหาผล    เห็นเหตุ แล้ว เดา ผล

                        - นักเรียนตั้งใจเรียน คงจะสอบติดจุฬาฯกันทุกคนแน่เลย

                        - อาจารย์ทิวลิปทำตัวน่ารัก ผู้ชายน่าจะมารักเป็นร้อยจนเลือกไม่ไหว

                        - อาจารย์ทาทายังสอนภาษาไทยได้มันสะใจสุด ไม่นานก็คงจะดังระเบิดเถิดเทิง

            2. การอนุมานจากผลไปหาเหตุ     เห็นผล  แล้ว เดา เหตุ

                        - ฟิล์มแลดูหน้าตาอิดโรย เมื่อคืนคงทำงานดึกไปหน่อย (หรือไปทำอย่างอื่นก็ไม่รู้นะ)

                        - อาจารย์ทิวลิปแลดูสวยขึ้น อาจารย์น่าจะไปทำศัลยกรรมที่ยันฮีมานะ

                        - พี่จวงนมใหญ่ขึ้นกว่าเดิมเยอะเลย พี่จวงคงจะกินยาคุมเพิ่มเป็นวันละ 2 แผงแน่ๆ

            3. การอนุมานจากผลไปหาผล      เห็นผลตัวที่ 1 เดา ผลตัวที่ 2

                        - อาจารย์วสีแลดูสวยขึ้นนะ เดี๋ยวก็คงมีผู้ชายมาตามจีบกันจนหัวกระไดไม่แห้ง

                        - โดมสอบตกตั้งหลายวิชา เกรดเฉลี่ยก็คงลดลงด้วย

                        - บีมได้เกรดเฉลี่ยตั้ง 3.80 ยังงี้คงจะได้เกียรตินิยมด้วยชัวร์เลย

การแสดงทรรศนะ

            โจทย์จะถาม 3 ประเด็นหลักๆ คือ

            1. โครงสร้าง (ที่มา/ข้อสนับสนุน/ข้อสรุป) ถามว่าอยู่ตรงไหน ส่วนไหนเป็นอะไร โดยเฉพาะข้อสรุปโจทย์ถามหาบ่อยมาก

            2. ข้อความนั้นๆ มีการแสดงทรรศนะหรือไม่ ให้สังเกตคำที่ใช้แสดงทรรศนะ เช่น คิดว่า เห็นว่า คงจะ อาจจะ น่าจะ ควรจะ พึงจะ ขอสรุปว่า ฯลฯ

            3.  ประเภทของทรรศนะ (ระวังใน 1 ทรรศนะ อาจมีได้หลายประเภท)

                        - ทรรศนะเชิงข้อเท็จจริง               แสดงความเห็นทั่วไป เน้นความจริง ความเท็จ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น

                        - ทรรศนะเชิงนโยบาย                  เน้นการเสนอแนะสิ่งต่างๆ เช่น แผนงาน โครงการ ข้อควรทำ เป็นต้น

                        - ทรรศนะเชิงคุณค่าหรือค่านิยม    เน้นการตัดสินว่าเป็นอย่างไร ดี/ไม่ดี ควร/ไม่ควร  เหมาะ/ไม่เหมาะ

การโต้แย้ง

การโต้แย้ง  ใช้ความรู้จากเรื่องทรรศนะมาเชื่อมโยง เพราะการโต้แย้งคือการแสดงทรรศนะที่ต่างกันนั่นเอง

            Key Words แสดง การโต้แย้ง=  แต่ แต่ทว่า มิใช่ ใช่ว่า ไม่ว่า หาก

            โจทย์จะถามเกี่ยวกับประเด็นการโต้แย้ง บ่อยมากๆ นั่นก็แปลว่าเขาชอบให้เราตั้งชื่อหัวข้อการโต้แย้งนั่นเอง จ้ะ

การโน้มน้าวใจ

            โจทย์จะถามเกี่ยวกับกลวิธีการในการโน้มน้าวใจและสารโน้มน้าวใจ

          กลวิธีการโน้มน้าวใจมี 6 วิธี คือ

            1. แสดงความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้โน้มน้าวใจ

            2. แสดงความหนักแน่นของเหตุผล

            3. แสดงให้ประจักษ์ถึงความรู้สึกหรืออารมณ์ร่วมกัน

            4. แสดงทางเลือกด้านดีและด้านเสีย

            5. สร้างความหรรษาแก่ผู้รับสาร

            6. เร้าให้เกิดอารมณ์อย่างแรงกล้า

          สารโน้มน้าวใจ มี 3 ประเภท คือ

            1. คำเชิญชวน

            2. โฆษณาสินค้าและบริการ

            3. โฆษณาชวนเชื่อ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้