ต่อภาษีรถยนต์ ออนไลน์ รถเกิน 7 ปี

ไม่ว่าจะ “ต่อภาษีรถออนไลน์ “ต่อทะเบียนรถออนไลน์” หรือ “ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์” จะต่อภาษีรถยนต์ หรือต่อภาษีรถมอเตอร์ไซค์ก็สามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ //eservice.dlt.go.th วันนี้ สินมั่นคง ประกันรถยนต์ รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้การต่อภาษีรถประจำปีจะไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไปมาฝากกัน

  สารบัญบทความ

1. รถเกิน 7 ปี ต่อภาษีออนไลน์ได้ไหม
2. ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ ทำอย่างไร
3. ต่อภาษีรถออนไลน์ราคาเท่าไร
4. ขั้นตอนการต่อภาษีรถออนไลน์ มีอะไรบ้าง
5. ต่อภาษีรถออนไลน์กี่วันได้
6. รถขาดต่อภาษีประจำปี โดนปรับเท่าไร

 

1. รถเกิน 7 ปี ต่อภาษีออนไลน์ได้ไหม?

รถยนต์และจักรยานยนต์ทุกจังหวัดทะเบียนที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงแก๊สทุกชนิด เเละมีสถานะรถ “ปกติ” หรือหมายถึงรถที่ค้างชำระภาษีรถไม่เกิน 1 ปี, รถที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี, รถที่ไม่ใช่รถของหน่วยงานราชการ หรือรถที่ไม่ถูกอายัดโดยระบบงานของกรมการขนส่งทางบก สามารถยื่นชำระภาษีประจำปีผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยมีเงื่อนไขดังนี้

     - รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) อายุรถไม่เกิน 7 ปี และน้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2) อายุรถไม่เกิน 7 ปี และน้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) อายุรถไม่เกิน 7 ปี และน้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม
- รถจักรยานยนต์ (รย.12) อายุรถไม่เกิน 5 ปี

ทั้งนี้ หากเป็นรถที่ค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี อายุรถเกิน หรือน้ำหนักรถเกิน 2,200 กิโลกรัม ให้ดำเนินการตรวจสภาพรถที่สถานตรวจสภาพรถเอกชนหรือ ตรอ. และยื่นชำระที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขาเท่านั้น รวมถึงหากเป็นรถที่ติดตั้งแก๊สให้ดำเนินการตรวจสภาพถังแก๊สตามประกาศกรมฯ และยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขาเท่านั้นเช่นกัน

กลับสู่สารบัญ

2. ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ ทำอย่างไร

ผู้ยื่นชำระภาษีรถประจำปีผ่านระบบอินเตอร์เน็ตสามารถเลือกซื้อกรมธรรม์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ได้จาก 2 ช่องทาง ได้แก่ 1) ซื้อจากในระบบ หรือ 2) ซื้อผ่านผู้ให้บริการภายนอก เช่น บริษัทประกันภัย ตัวแทน หรือนายหน้าโดยต้องกรอกข้อมูลบริษัทประกันภัย เลขที่กรมธรรม์ และวันสิ้นสุดอายุความคุ้มครองให้ถูกต้องตรงตามความจริง โดยข้อมูล พ.ร.บ. ที่ระบุจะถูกตรวจสอบ และบันทึกเป็นหลักฐานทางกฎหมาย หากระบุข้อมูลอันเป็นเท็จ ไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นความจริง จะมีผลต่อความคุ้มครองของกรมธรรม์ ทั้งนี้ วันสิ้นอายุความคุ้มครองต้องไม่น้อยกว่า 90 วัน นับจากวันที่ยื่นชำระภาษีถึงวันสิ้นอายุคุ้มครองของ พ.ร.บ.

กลับสู่สารบัญ

3. ต่อภาษีรถออนไลน์ราคาเท่าไร

อัตราค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ของรถเเต่ละคันจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับประเภทของรถ ปีใช้งาน ความจุ เเละปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถเเบ่งการจัดเก็บภาษีรถได้ 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) การจัดเก็บภาษีรถตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี), 2) การจัดเก็บภาษีรถเป็นรายคัน, 3) การจัดเก็บภาษีรถตามน้ำหนัก และ 4) การจัดเก็บภาษีรถตามประเภทของรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้า ตลอดจนมีค่าธรรมเนียมการบริการต่อภาษีรถออนไลน์ที่เกี่ยวข้อง มีรายละเอียดดังนี้

1) การจัดเก็บภาษีรถตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี) *รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
- 600 ซีซีแรก ซีซีละ 0.50 บาท
- 601 - 1,800 ซีซี ๆ ละ 1.50 บาท
- เกิน 1,800 ซีซี ๆ ละ 4.00 บาท

ทั้งนี้ หากเป็นรถที่จดทะเบียนมาแล้ว 5 ปี ให้ได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีในปีต่อ ๆ ไป ดังนี้
- ปีที่ 6 ร้อยละ 10
- ปีที่ 7 ร้อยละ 20
- ปีที่ 8 ร้อยละ 30
- ปีที่ 9 ร้อยละ 40
- ปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป ร้อยละ 50

2) การจัดเก็บภาษีรถเป็นรายคัน
- รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
- รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท
- รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 50 บาท
- รถพ่วงนอกจากรถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
- รถบดถนน คันละ 200 บาท
- รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ 50 บาท

3) การจัดเก็บภาษีรถตามน้ำหนัก *รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
- ไม่เกิน 500 กิโลกรัม  อัตราจัดเก็บภาษีรถอยู่ที่ 150 บาท
- 501 - 750 กิโลกรัม อัตราจัดเก็บภาษีรถอยู่ที่ 300 บาท
- 751 - 1,000 กิโลกรัม อัตราจัดเก็บภาษีรถอยู่ที่ 450 บาท
- 1,001 - 1,250 กิโลกรัม อัตราจัดเก็บภาษีรถอยู่ที่ 800 บาท
- 1,251 - 1,500 กิโลกรัม อัตราจัดเก็บภาษีรถอยู่ที่ 1,000 บาท
- 1,501 - 1,750 กิโลกรัม อัตราจัดเก็บภาษีรถอยู่ที่ 1,300 บาท
- 1,751 - 2,000 กิโลกรัม อัตราจัดเก็บภาษีรถอยู่ที่ 1,600 บาท
- 2,001 - 2,500     กิโลกรัม อัตราจัดเก็บภาษีรถอยู่ที่ 1,900 บาท

ทั้งนี้ รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด, รถยนต์บริการ, รถยนต์รับจ้าง และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลรถลากจูงรถแทรกเตอร์ที่มิได้ใช้ในการเกษตร จะมีรูปแบบการคำนวณอัตราจัดเก็บภาษีรถที่แตกต่างกันออกไป

4) การจัดเก็บภาษีรถตามประเภทของรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้า
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ให้เก็บภาษีตามน้ำหนักของรถในอัตรารถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน
- รถอื่นนอกจากรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ให้เก็บภาษีในอัตรากึ่งหนึ่งของรถตามข้อ 2) และ 3)

5) ค่าธรรมเนียมการบริการต่อภาษีรถออนไลน์
- ค่าจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ รายการละ 32 บาท (ตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. 61 เป็นต้นไป)
- ค่าธรรมเนียมธนาคาร (กรณีชำระผ่านเคาน์เตอร์บริการ หรือหักบัญชีเงินฝาก)
    รายการละ 20 บาท    
- ค่าธรรมเนียมการใช้บัตร (กรณีชำระด้วยบัตรเครดิต) 2% และ VAT 7%
    ของผลรวมยอดเงินทั้งหมด
- สามารถยื่นชำระภาษีรถล่วงหน้าก่อนสิ้นอายุภาษีได้ไม่เกิน 90 วัน    


ดูตารางอัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 ได้ที่ //www.dlt.go.th/th/yearly-tax/view.php?_did=75

ดูวิธีการคำนวณอัตราภาษีรถยนต์ ได้ที่ //www.smk.co.th/newsdetail/1588

กลับสู่สารบัญ

4. ขั้นตอนการต่อภาษีรถออนไลน์ มีอะไรบ้าง

1) เข้าเว็บไซต์ //eservice.dlt.go.th
2) ลงทะเบียนเพื่อขอรับรหัสผ่าน (สำหรับสมาชิกใหม่)    
3) Log-in เข้าสู่ระบบ    
4) ยื่นชำระภาษีรถประจำปี ที่เมนู “ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี”    
5) กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ เพื่อลงทะเบียนรถ แล้วยื่นชำระภาษี 
   
6) กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับหลักฐานการเอาประกัน ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
พ.ศ.2535 (กรณี พ.ร.บ. ที่มีความคุ้มครองมากกว่า 3 เดือน) หรือสามารถซื้อ พ.ร.บ. ได้จากระบบ    
7) เลือกช่องทางการชำระเงินเพียง 1 ช่องทาง 

• ชำระเงินโดยหักบัญชีเงินฝาก (ต้องมีบัญชีเงินฝากและเป็นสมาชิกใช้บริการโอนเงินผ่านระบบ    
อินเตอร์เน็ตกับธนาคาร/สถาบันการเงิน)

     • ชำระเงินโดยบัตรเครดิต/บัตรเดบิต (เป็นผู้ถือบัตรเครดิต/บัตรเดบิต ที่มีสัญลักษณ์ VISA , Master Card) โดยธนาคารกรุงศรีอยุธยาและธนาคารกรุงเทพ เป็นผู้ให้บริการรับตัดบัตร

• ชำระเงินโดยพิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถยนต์แล้วนำไปชำระเงิน ณ เคาน์เตอร์ ตู้ ATM หรือ Application ของธนาคาร/สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ    

8) กรณีชำระเงินยังไม่สำเร็จ/ยังไม่ได้ชำระเงิน สามารถเปลี่ยนช่องทางการชำระเงิน ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน” 

กลับสู่สารบัญ

5. ต่อภาษีรถออนไลน์กี่วันได้

ผู้ยื่นต่อภาษีรถออนไลน์ประจำปีผ่านระบบอินเตอร์เน็ต สามารถตรวจสอบสถานะการดำเนินการยื่นชำระภาษี สถานะการจัดส่งเอกสาร หมายเลข EMS เลขกรมธรรม์ หรือปัญหาจากการยื่นชำระ ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน” ในหน้าเว็บไซต์ //eservice.dlt.go.th

กรณีที่ยื่นต่อภาษีรถออนไลน์ตามขั้นตอนปกติ ไม่พบกรณีผิดพลาดหรือต้องตรวจสอบเพิ่มเติม กรมการขนส่งทางบกจะจัดส่งใบเสร็จรับเงินเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และสมุดกรมธรรม์ พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถให้ผู้ชำระเงินทางไปรษณีย์ตามที่อยู่จัดส่งเอกสารที่กรอกผ่านหน้าเว็บไซต์ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาดำเนินตั้งแต่ชำระเงินค่าภาษีสำเร็จถึงวันที่ได้รับเอกสารจากไปรษณีย์ไม่เกิน 5 วันทำการ โดยมีรายละเอียดดังนี้    

1) เริ่มนับจากวันที่ชำระเงินภาษีรถยนต์ยนต์ผ่านธนาคาร/สถาบันการเงินสำเร็จ    
2) ธนาคาร/สถาบันการเงิน จัดส่งข้อมูลการชำระภาษีและจำนวนเงินให้กรมฯ 1 วันทำการถัดไป
3) กระบวนการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของข้อมูลและยอดเงินที่ชำระจากธนาคาร/สถาบันการเงิน 1-2 วันทำการ    
4) กระบวนการพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน (ป้ายวงกลม) พร้อมจัดเตรียมเอกสารเพื่อนำส่งไปรษณีย์ หลังจากยืนยันความถูกต้องของข้อมูลและจำนวนเงินแล้ว 1-2 วันทำการ    5) จัดส่งเอกสารให้กับผู้ชำระภาษีรถยนต์ตามที่กรอกในเว็บไซต์ทางไปรษณีย์ ประมาณ 2-5 วันทำการ

     ทั้งนี้ เจ้าของรถสามารถนำใบคู่มือจดทะเบียนรถไปปรับบันทึกรายการชำระภาษีได้ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขาทั่วประเทศ

กลับสู่สารบัญ

6. รถขาดต่อภาษีประจำปี โดนปรับเท่าไร

รถที่ไม่ต่อภาษีหรือต่อภาษีรถล่าช้าจะมีค่าปรับร้อยละหนึ่งต่อเดือน และหากไม่ดำเนินการชำระภาษีรถประจำปีติดต่อกันเกิน 3 ปี จะส่งผลให้ทะเบียนรถถูกระงับ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการทางทะเบียนรถต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการโอนเปลี่ยนชื่อ การแจ้งเปลี่ยนสี การแก้ไขรายการคู่มือรถ เป็นต้น ทำให้เกิดปัญหาและความยุ่งยากในภายหลัง เจ้าของรถจึงควรดำเนินการชำระภาษีรถประจำปีให้เรียบร้อยเป็นปัจจุบัน

กรณีที่หยุดใช้รถ เลิกใช้รถ หรือรถชำรุดสูญหาย เป็นเหตุให้รถใช้งานไม่ได้ในทุกกรณี ต้องแจ้งการไม่ใช้รถ ณ สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียนอยู่ หรือสำนักงานขนส่งทุกแห่งทั่วประเทศ โดยใช้แบบคำขอแจ้งการไม่ใช้ พร้อมนำแผ่นป้ายทะเบียนรถคืน โดยเอกสารที่ต้องเตรียมมาด้วย ได้แก่ คู่มือจดทะเบียนรถ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และหนังสือมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของรถไม่มาดำเนินการเอง) เพื่อไม่ให้มีภาระต้องชำระภาษีประจำปี โดยค่าปรับและระวางโทษของรถที่ไม่ต่อภาษีหรือต่อภาษีรถล่าช้าจะมีค่าปรับแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1) รถขาดต่อภาษีเกิน 1 ปี แต่ยังไม่ถึง 3 ปี
- รถที่ขาดต่อภาษีเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี สามารถทำเรื่องชำระภาษีย้อนหลังและต่อทะเบียนรถยนต์ได้โดยการเสียค่าปรับร้อยละ 1 ของค่าต่อทะเบียนที่ต้องชำระต่อเดือนจนถึงวันที่ชำระเลย เเละเสียภาษีรถยนต์ตามอัตราปกติ 

2) รถขาดต่อภาษีเกิน 3 ปีขึ้นไป 
- รถที่ขาดต่อภาษีเกิน 3 ปีขึ้นไป จะถูกระงับการใช้งานทะเบียน หรือที่เรียกกันว่า “ทะเบียนขาด” ซึ่งจะส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินการทางทะเบียนรถใดใดได้ ไม่ว่าจะเป็นการโอนเปลี่ยนชื่อ แจ้งเปลี่ยนสี แก้ไขรายการคู่มือรถ โดยเมื่อเจ้าของรถรับทราบการระงับใช้ทะเบียนจากกรมการขนส่งทางบกแล้ว เจ้าของรถต้องนำแผ่นป้ายและสมุดคู่มือไปให้ทางราชการในเขตพื้นที่ที่รถจดทะเบียน ทำการบันทึกการระงับใช้งานทะเบียนภายใน 30 วัน หากไม่ดำเนินการจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ทั้งนี้ หากต้องการกลับมาใช้รถ ต้องดำเนินเรื่องขอเลขทะเบียนชุดใหม่พร้อมเสียค่าปรับย้อนหลัง โดยมีรายการเอกสารเเละค่าธรรมเนียมการดำเนินการดังต่อไปนี้

เอกสารดำเนินการขอเลขทะเบียนใหม่ ได้แก่
    • บันทึกการระงับทะเบียน
    • บัตรประชาชนของเจ้าของรถ (ตัวจริงและสำเนา)
    • พ.ร.บ. ที่ทำใหม่
    • หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล / สำเนาบัตรของผู้มีอำนาจลงนาม
(ถ้ารถจดทะเบียนในนามนิติบุคคล)
    • หนังสือสัญญาซื้อขาย หรือหลักฐานการขาย (ในกรณีที่ไม่ใช่เจ้าของเดิม)
    • หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ
(ในกรณีที่เจ้าของรถไม่สะดวกไปดำเนินการ)

  ค่าธรรมเนียมการขอเลขทะเบียนใหม่ กรณีรถขาดต่อภาษีเกิน 3 ปีขึ้นไปได้แก่
    • ค่าภาษีเดิมที่ค้างชำระ (คำนวณสูงสุดที่ 3 ปี) และเบี้ยปรับร้อยละ 1 ต่อเดือน
    • ค่าคำขอจดทะเบียนรถใหม่ 340 บาท
    • ค่าตรวจสภาพรถ 50 บาท (ณ สำนักงานขนส่ง)
    • ค่า พ.ร.
บ.

กลับสู่สารบัญ

นอกจากการต่อภาษีรถออนไลน์จะช่วยให้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้นแล้ว การต่อภาษีรถประจำปีอย่างต่อเนื่องจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ขับขี่ทุกคนได้รับความคุ้มครองพื้นฐานจากอุบัติเหตุทางถนนที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการสัญจร ซึ่งส่งผลให้เกิดความปลอดภัยในระหว่างขับขี่มากขึ้น เเต่จะปลอดภัยเเละอุ่นใจมากยิ่งขึ้นด้วย
ประกันรถยนต์ตามเวลาจากสินมั่นคงประกันภัย ให้ความคุ้มครองตั้งแต่ 3, 6, 9, 12 เดือน
ช่วยให้คุณอุ่นใจได้ทุกครั้งที่ออกเดินทาง เบี้ยเริ่มต้นที่ 485  บาท
สนใจรายละเอียด คลิก www.smk.co.th/premotor.aspx

สินมั่นคงประกันรถยนต์...ประกันรถ ประเวลา

ข้อมูลจาก กรมการขนส่งทางบก

บทความที่เกี่ยวข้อง
- ประกันรถยนต์ : วิธีคำนวณภาษีรถยนต์ ช่วยคุณวางแผนค่าใช้จ่ายได้ล่วงหน้า

- ประกันรถยนต์ : ทำอย่างไร? ถ้าต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ช่วงวันเสาร์ – อาทิตย์ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

- ประกันรถยนต์: ความคุ้มครองเบื้องต้นตาม พ.ร.บ. มีอะไรบ้าง
 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้