IQ ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ไหม

(Intellectual Disability หรือชื่อเดิม Mental Retardation) เป็นภาวะที่บุคคลมีระดับสติปัญญา (IQ) ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยทั่วไป ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้เข้าใจ การสื่อสาร พัฒนาการ และขาดทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต โดยผู้ป่วยมักมีการเรียนรู้ช้ากว่าปกติ แต่ผู้ป่วยยังสามารถเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ ได้ผ่านการฝึกฝนดูแลอย่างเหมาะสม ส่วนใหญ่ภาวะปัญญาอ่อนยังไม่สามารถหาสาเหตุของการเกิดได้ และบางส่วนอาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม การเจ็บป่วย การบาดเจ็บกระทบกระเทือนกับสมอง หรือปัจจัยภายนอกอื่น ๆ อย่างสุขอนามัย การดื่มสุรา การใช้ยาเสพติด หรือสารพิษที่เข้าสู่ร่างกาย เป็นต้น

อาการของปัญญาอ่อน

ผู้ที่มีภาวะปัญญาอ่อนจะมีความบกพร่องทางสติปัญญา จนทำให้เกิดปัญหาในพัฒนาการด้านต่าง ๆ โดยลักษณะอาการแสดงของปัญญาอ่อนขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความบกพร่องในด้านนั้น ๆ ด้วย สำหรับเด็กที่มีภาวะปัญญาอ่อน อาจไม่ปรากฏอาการแสดงที่ชัดเจนจนกว่าเด็กจะเข้าสู่วัยเรียน อย่างไรก็ตาม การติดตามพัฒนาการของเด็กอย่างใกล้ชิดสม่ำเสมอจะช่วยคัดกรองภาวะปัญญาอ่อนได้

ตัวอย่างพัฒนาการและอาการที่เป็นสัญญาณของภาวะปัญญาอ่อน ได้แก่

  • สามารถพลิกตัว ลุกขึ้นนั่ง คลาน หรือเดินได้ช้ากว่าคนปกติ
  • พูดช้า หรือมีปัญหาติดขัดเกี่ยวกับการพูดคุยสื่อสารให้เกิดความเข้าใจ
  • พูดคุยสื่อสารด้วยภาษาง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน แต่ขาดทักษะในการใช้คำหรือไวยากรณ์อย่างถูกต้องเหมาะสม เมื่อเปรียบเทียบกับคนในวัยเดียวกัน
  • ใช้สีหน้า ท่าทาง หรือสัญลักษณ์ในการสื่อสารมากกว่าการใช้คำพูดอธิบายสิ่งต่าง ๆ
  • มีพัฒนาการช้าในการทำกิจวัตรประจำวันในวัยเด็ก และอาจทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ช้ากว่าคนปกติ เช่น การขับถ่าย การแต่งตัวสวมเสื้อผ้า การรับประทานอาหาร
  • เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ช้ากว่าปกติ จึงมีปัญหาพัฒนาการด้านการเรียนตามวัย เช่น ด้านการเขียน การอ่าน การคิดคำนวณตัวเลข
  • มีปัญหาด้านการจำ ความจำสั้น มีความยากลำบากในการจดจำสิ่งต่าง ๆ
  • ขาดทักษะในการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา
  • ขาดทักษะในการวางแผนเป็นขั้นเป็นตอน
  • ขาดทักษะในการคิดและทำความเข้าใจอย่างเป็นเหตุเป็นผล
  • ไม่สามารถทำความเข้าใจหรือคิดเชื่อมโยงการกระทำกับผลที่จะเกิดขึ้นตามมาได้
  • มีปัญหาด้านพฤติกรรม เช่น มีอารมณ์เกรี้ยวกราดและไม่สามารถควบคุมได้
  • ขาดทักษะในการเข้าสังคม การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น หรือการยอมรับปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในสังคม
  • คิดเป็นรูปธรรมมากกว่านามธรรม มีความยากลำบากในการคิดอย่างเป็นนามธรรม
  • ไม่สามารถตระหนักถึงความสำคัญของเงินหรือเวลาได้ ขาดทักษะในการบริหารใช้จ่ายเงินและเวลา
  • มีความยากลำบากในการตัดสินใจ การคิดแก้ไขปัญหา หรือหาทางออกอย่างเหมาะสม

เด็กบางรายที่มีภาวะปัญญาอ่อนอย่างรุนแรง อาจพบว่ามีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น

  • ภาวะชัก
  • ความผิดปกติทางอารมณ์และสังคม เช่น ภาวะวิตกกังวล ภาวะออทิสติก
  • ด้อยความสามารถด้านทักษะการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินเสียง

สาเหตุของปัญญาอ่อน

กว่า 2 ใน 3 ของผู้ที่มีภาวะปัญญาอ่อน ยังไม่สามารถหาสาเหตุของการเกิดได้ ส่วนที่เหลืออาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ผู้ที่มีภาวะดาวน์ซินโดรม ภาวะผิดปกติของโครโมโซมเอ็กซ์ (Fragile X Syndrome) หรือโรคพันธุกรรมเมตาบอลิก (Inherited Metabolic Disorders)
  • เกิดปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ อาจมีปัจจัยที่กระทบกระเทือนต่อพัฒนาการสมองของทารกในครรภ์จนทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อน เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาเสพติด ผู้เป็นแม่มีสุขอนามัยที่ไม่ดี เกิดภาวะติดเชื้อ หรือมีภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • เกิดปัญหาระหว่างการคลอด เช่น เด็กขาดออกซิเจนในขณะคลอด หรือคลอดก่อนกำหนด
  • การเจ็บป่วยจากการติดเชื้อ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคหัด หรืออาการไอเสียงก้อง
  • การได้รับบาดเจ็บที่กระทบกระเทือนสมอง เช่น การบาดเจ็บบริเวณศีรษะจากอุบัติเหตุ เกิดการติดเชื้อในสมอง
  • การเจ็บป่วยอื่น ๆ เช่น มีความผิดปกติของเนื้อสมอง สมองผิดรูป โรคลมชัก
  • ปัจจัยภายนอก เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาเสพติด ได้รับสารพิษอย่างสารปรอทหรือสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกาย มีสุขอนามัยที่ต่ำมาก เคยจมน้ำ เคยถูกทารุณกรรม เคยถูกละเลยการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ผู้ปกครอง และถูกกักขังหรือแยกตัวออกจากสังคมเป็นเวลานาน

การวินิจฉัยปัญญาอ่อน

หากพบว่าเด็กที่ดูแลมีพัฒนาการช้า หรือบุคคลใกล้ชิดมีอาการที่เป็นสัญญาณของภาวะปัญญาอ่อน ควรแนะนำให้พาไปพบกุมารแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด หากมีภาวะปัญญาอ่อนจริง แพทย์จะแนะนำวิธีกาารวางแผนดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสมต่อไป โดยการวินิจฉัยว่าบุคคลนั้นมีภาวะปัญญาอ่อนหรือไม่ ทำได้โดย

สังเกตอาการ แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะสังเกตพฤติกรรมและอาการแสดงต่าง ๆ รวมไปถึงทักษะในพัฒนาการด้านต่าง ๆ ตามวัย โดยเปรียบเทียบกับผู้ที่อยู่ในวัยเดียวกัน เช่น การรับประทานอาหาร การแต่งตัวสวมเสื้อผ้า การพูดคุยสื่อสาร การเข้าใจความหมาย การมีปฏิสัมพันธ์ต่อคนในครอบครัวและเพื่อน เป็นต้น

ทดสอบไอคิว (IQ Test) หรือทดสอบความฉลาดทางปัญญา โดยการใช้ชุดทดสอบที่เหมาะสมตามวัยของผู้ป่วย โดยผู้ที่มีภาวะปัญญาอ่อนจะมีผลไอคิวที่ต่ำกว่า 70 ลงมา

หากผู้ป่วยมีลักษณะทางกายภาพภายนอกที่ผิดปกติ แพทย์อาจทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อหาโรคที่อาจเป็นสาเหตุของภาวะปัญญาอ่อน อย่างกลุ่มโรคความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ฉายภาพเอกซเรย์สมอง หรือตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองเพื่อตรวจภาวะลมชัก

สำหรับผู้ป่วยเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า แพทย์อาจตรวจหาความผิดปกติอื่น เช่น ปัญหาสายตา ปัญหาการได้ยิน หรือตรวจหาโรคทางระบบประสาทอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย

การรักษาปัญญาอ่อน

ภาวะปัญญาอ่อนไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ครอบครัว ผู้ปกครอง และผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือประคับประคองให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้และช่วยเหลือตนเอง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้ดียิ่งขึ้น โดยสามารถศึกษารับคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการดูแลผู้ป่วย ซึ่งอาจมีขั้นตอนดังนี้

  • ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะปัญญาอ่อน เพื่อให้เข้าใจผู้ป่วยซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยต่อไป
  • ให้ผู้ป่วยมีอิสระในการลองทำสิ่งใหม่ ๆ ด้วยตนเอง โดยคอยแนะนำและชื่นชมเมื่อผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่เหมาะสมหรือทำอะไรได้สำเร็จ
  • ใส่ใจติดตามผลและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของผู้ป่วย เช่น พูดคุยประสานกับครูที่โรงเรียนถึงพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กปัญญาอ่อน และหมั่นฝึกฝนปรับพฤติกรรมเพิ่มการเรียนรู้ให้แก่เด็กในขณะอยู่ที่บ้านด้วย
  • ให้ผู้ป่วยได้มีส่วนร่วมในสังคม ได้เข้าร่วมกลุ่มทำกิจกรรมกับผู้อื่น เพื่อฝึกฝนให้ผู้ป่วยเรียนรู้ทักษะสังคมมากขึ้น
  • ติดต่อพูดคุยกับผู้ปกครองของเด็กปัญญาอ่อนคนอื่น ๆ เพื่อปรึกษาแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการดูแลเด็กในปกครองของตน

ทั้งนี้ ผู้ดูแลสามารถรับบริการความช่วยเหลือทางการแพทย์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ด้วย เช่น

  • อรรถบำบัด เป็นการฝึกการพูด โดยนักอรรถบำบัดจะคอยช่วยเหลือดูแลให้ผู้ป่วยออกเสียงและแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับการพูด
  • กิจกรรมบำบัด นักกิจกรรมบำบัดจะคอยช่วยเหลือดูแลให้ผู้ป่วยฝึกทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันด้วยตนเอง
  • กายภาพบำบัด สำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ นักกายภาพบำบัดจะคอยฝึกฝนและกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ฝึกใช้กล้ามเนื้อในส่วนที่มีปัญหา เช่น ฝึกหยิบจับสิ่งของ หรือเคลื่อนไหวร่างกายในส่วนต่าง ๆ
  • การให้คำปรึกษาแบบครอบครัว เป็นวิธีการที่ให้สมาชิกในครอบครัวได้มาพูดคุยปรึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้น หาทางออกเกี่ยวกับการรับมือปัญหา ช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยปัญญาอ่อน และให้กำลังใจซึ่งกันและกันภายใต้การดูแลของนักบำบัดผู้เชี่ยวชาญ
  • การใช้อุปกรณ์สนับสนุน เป็นการใช้อุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ดีเท่าที่ควร ให้สามารถฝึกฝนทักษะในด้านต่าง ๆ และใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือนี้เป็นส่วนหนึ่งในการอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เช่น เก้าอี้วีลแชร์ ไม้เท้า หรืออุปกรณ์ที่ช่วยเหลือในการเคลื่อนไหวอื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาตัวใดที่รักษาภาวะปัญญาอ่อนได้ ส่วนผู้ป่วยปัญญาอ่อนที่มีภาวะอาการป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย ก็ต้องรับประทานยาและปฏิบัติตามขั้นตอนการรักษาของโรคที่ป่วย เช่น

  • ยากระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ใช้ในผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นแบบ ADHD หรือ ADD
  • ยาแอลฟา อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ ใช้ในผู้ที่มีภาวะอาการสมาธิสั้น ก้าวร้าว กล้ามเนื้อกระตุก หรือมีความผิดปกติในการนอน
  • ยาระงับอาการทางจิต สำหรับผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ทำร้ายตัวเอง และมีสมาธิสั้น

การป้องกันภาวะปัญญาอ่อน

แนวทางการป้องกันที่สำคัญเพื่อไม่ให้เกิดภาวะปัญญาอ่อน ควรกระทำตั้งแต่การวางแผนการตั้งครรภ์ไปจนขณะที่ทารกอยู่ในครรภ์ ได้แก่

  • ในผู้ที่มีประวัติครอบครัวป่วยด้วยโรคทางพันธุกรรม ควรรับการตรวจหาโรคทางพันธุกรรมก่อนการตั้งครรภ์
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม หรือผู้หญิงตั้งครรภ์ที่แพทย์มีดุลยพินิจว่าอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยง ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองเช่นกัน
  • ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันการเกิดกลุ่มอาการทารกในครรภ์ได้รับแอลกอฮอล์ (Fetal Alcohol Syndrome) ซึ่งจะกระทบต่อกระบวนการเจริญเติบโตของเด็กจนอาจเกิดภาวะปัญญาอ่อนได้
  • ควรฝากครรภ์ รับยาหรือวิตามินบำรุงครรภ์ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหรือการติดเชื้อต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันไม่ให้ทารกในครรภ์เกิดมาพร้อมกับภาวะปัญญาอ่อน
  • ตรวจครรภ์และไปพบแพทย์ที่ฝากครรภ์ตามนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น การอัลตราซาวด์ การเจาะน้ำคร่ำไปตรวจ เป็นต้น

นอกจากนี้ การป้องกันและลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดภาวะปัญญาอ่อนกับตนเอง คนในครอบครัว หรือบุคคลใกล้ชิด คือ การรักษาสุขภาพและสุขอนามัยให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ ตรวจร่างกายเป็นประจำ เข้ารับการรักษาโรคประจำตัวหรืออาการที่ป่วยอยู่ และระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุหรือภัยอันตรายที่จะกระทบกระเทือนต่อสมองและร่างกาย เป็นต้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้