ใช้บัตรสวัสดิการซื้อตั๋วรถไฟให้คนอื่นได้ไหม

"บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" เดือนพ.ย. นี้ รับเติมเงินเข้าบัตรค่ารถไฟฟ้า-MRT-ขสมก.-ค่ารถทัวร์ 500 บาท อัปเดตเงื่อนไขและวิธีใช้บัตรฯ จ่ายค่ารถได้ที่นี่

สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ นอกเหนือไปจากค่าใช้จ่ายอื่น ๆ โดยแงเป็น เงินสำหรับซื้อสินค้า 700 หรือ 800 บาทต่อเดือน ที่จะมีการโอนเข้าบัตรฯการทุกเดือน  สว่นลดค่าก๊าซหุ้งต้ม 45 บาท ต่อ 3 เดือน ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้าที่จะได้รับทุกเดือนตามเงื่อนไขการใช้งานแล้วนั้น ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยังได้ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ดังนี้ 

  • ค่าโดยสารรถ บขส. 500 บาทต่อเดือน 
  • ค่ารถไฟฟ้า 500 บาทต่อเดือน  
  • ค่ารถโดยสารรถขสมก. รถไฟฟ้าBTS  รถไฟฟ้า MRT และแอพอร์ตเรียลลิ้งค์  500 บาทต่อเดือน (เฉพาะผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพ และปริมณฑลเท่านั้น)

ใช้บัตรฯ จองตั๋วกับ บขส. 
ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสามารถจ่ายค่าตั๋วโดยสารได้ที่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ ทั้ง 3 แห่ง (จตุจักร, เอกมัย,ถนนบรมราชชนนี) และที่ทำการสถานีเดินรถของ บขส. ทั่วประเทศ รวม 121 จุด เพื่ออำนวยความสะดวกในการจองซื้อตั๋วโดยสารแก่ผู้ถือบัตร
สำหรับเงื่อนไขการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐจ่ายค่าโดยสารแต่ละประเภทนั้นผู้ถือบัตร สามารถดำเนินการได้ดังนี้ 

สำหรับเงื่อนไขของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในการใช้สิทธิโดยสารรถของ บขส. มีดังนี้
1.ยื่นบัตรแสดงตนในการซื้อตั๋วโดยสารและต้องเป็นผู้เดินทางเองเท่านั้น
2.สามารถซื้อตั๋วรถโดยสาร บขส. ภายในวงเงิน 500 บาทต่อเดือน กรณีที่ค่าโดยสารเกินวงเงินที่ได้รับต้องจ่ายส่วนต่างเป็นเงินสดเท่านั้น
3.สามารถเดินทางไปกับรถโดยสาร บขส. ได้ทุกมาตรฐาน ทุกเส้นทาง
4.สามารถใช้ร่วมกับสิทธิลดหย่อนอื่น ๆ ได้ตามเงื่อนไขที่บริษัทฯ กำหนด
5.เมื่อซื้อตั๋วโดยสารแล้วไม่สามารถคืนตั๋วได้ทุกกรณี แต่สามารถเลื่อนการเดินทางได้ภายใต้เงื่อนไขที่บริษัทฯ กำหนด
6.สามารถซื้อตั๋วโดยสารได้ที่ช่องจำหน่ายตั๋วของ บขส. ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร,เอกมัย,ถนนบรมราชชนนี) และที่ทำการสถานีเดินรถ บขส.ทั่วประเทศ จำนวน
121 จุด เท่านั้น
สอบถามรายละเอียดเพิมเติ่ม โทร Call Center 1490

 

 

จ่ายค่ารถรถไฟฟ้าBTS ด้วยบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถทำได้ดังนี้ 

นำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ห้องจำหน่วยตั๋วโดยสารได้ทุกสถานี แจ้งสถานีปลายทาง และรับโดยสาร 
เงื่อนไขใช้บัตรสวัสดิการมีดังนี้ 
1.ซื้อตั๋วโดยสารได้ครั้งละไม่เกิน 2 ใบ สำหรับการเดินทางขาไปและขากลับ 
2.เตรียมเงินเพื่อการเดินทางในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐขั้นต่ำ 16 บาท เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถออกตั๋วโดยสารราคาต่ำสุด
3.หากจำนวนเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไม่เพียงพอสำหรับค่าโดยสาร เจ้าหน้าที่จะออกตั๋ว4.โดยสารในราคาต่ำสุด 16 บาท ให้และผู้โดยสารจะตองจ่ายค่าส่วนต่างด้วยเงินสด ที่สถานีปลายทาง 
5.ทังนี้ระบบรถไฟฟ้า BTS  จะรองรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเวอร์ชัน2.0,2.5 และ 4.0 ซึ่งเป็นบัตรที่ใช้เฉพาะในพื้นที่กรุงเทและปริมณฑลเท่านั้น 

 

จ่ายค่ารถเมล์ ขสมก. ด้วยบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
1.ผู้ที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถชำระค่าบริการผ่านเครื่อง EDC (Electronic Data Capture) ที่พนักงานเก็บค่าโดยสารได้แล้วตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งรถโดยสารปรับอากาศและรถโดยสารธรรมดา ขั้นตอนการใช้บริการมีดังนี้ 
2.แจ้งจุดหมายปลายทางที่จะลง  
3.พนักงานระบุค่าโดยสาร
4.แตะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่เครื่อง EDC 
5.พนักงานแสดงการขำระค่าโดยสารเสร็จสมบูรณ์ 
หมายเหตุ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐสามารถจ่ายค่าโดยสารได้เฉพาะรถบริการของขสมก.เท่านั้น ไม่รวมรถร่วมเอกชน

 

จ่ายค่ารถไฟฟ้าMRT ด้วย บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ  มีเงื่อนไขดังนี้ 
1. บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (Welffare Card) (บัตรฯ) หมายถึง บัตรฯ ที่ออกโดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ให้แก่ผู้ที่มีคุณสมบัติและเงื่อนไขที่หน่วยงานกาครัฐซึ่งเป็นเจ้าของบัตรฯ ท่าหนด

2. ผู้ที่มีสิทธิ์ใช้บัตรฯ สามารถใช้บริการในระบบรถไฟฟ้ MRT สายสีน้ำเงิน และ สายสีม่วง  ต้องเป็นผู้ลงทะเบียนในเขต 7 จังหวัด ได้แก่  กรุงเทพฯ ,นนทบุรี,ปทุมธานี ,พระนครศรีอยุธยา , สมุทรปราการ, สมุทรสาคร และ นครปฐม

3. บัตรฯ ที่ใช้ในระบบรถไฟฟ้า MRT ต้องเป็นบัตรที่มี 2 ชิปการ์ด คือมีสัญลักษณ์แมงมุมบนหลังบัตร

4. เริ่มใช้งานในระบบรถไฟฟ้า  MRT ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป ในช่วงเวลาให้บริการ ตามเงื่อนไขที่ประกาศในระบบรถไฟฟ้า MRT กำหนด

5. สิทธิวงเงินคำโดยสารสำหรับ รถไฟฟ้า ในบัตรฯ เป็นค่าเริ่มต้น 500 บาท/คน/เดือน ไม่สามารถเติมมูลค่าที่ห้องออกบัตรโดยสาร หรือเครื่องออกบัตรโดยสารอัตโนมัติ

(ค่าเริ่มต้นของจงเงินอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังกำหนด) ของระบบรถไฟฟ้า MRT ได้

6 . สิทธิวงเงินค่าโดยสารในบัตรฯ ที่เป็นค่าเริ่มต้น จะถูกบันทึกลงในบัตรเมื่อแตะบัตรที่ประตู อัตโนมัติขาเข้าในระบบรถไฟฟ้า MRT ในวันที่ 1 ของทุกเดือน หรือ วันแรกที่มาใช้บริการของทุกเดือน

7.สิทธิวงเงินค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT ในบัตรมีอายุการใช้งานถึง ณ วันสิ้นเดือนของแต่ละเดือน ไม่มีการสะสมสิทธิวงเงินคงเหลือที่มากกว่า 0 บาทไปยังเดือนถัดไป

8.เมื่อมีการเดินทางในระบบรถไฟฟ้า MRT มูลค่าวงเงินในบัตรฯ จะถูกหักอัตโนมัติเป็นค่าโดยสารตามระยะทาง โดยใช้อัตราค่าโดยสารบุคคลทั่วไปที่ประกาศอยู่ ณ ขณะนั้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้