คือคำสั่งที่ทำหน้าที่อะไร

การเว้นบรรทัดใน HTML ให้ใช้คำสั่ง <br />

<br />

ตามท้ายข้อความที่ต้องการขึ้นบรรทัดใหม่ต่อไป คำสั่งท<br /> เป็นคำสั่งที่ไม่ต้องมีคำสั่งปิด (Single Tag)

Codingbasic.com © 2009 All rights reserved

<HTML>
<HEAD>
<TITLE>
��âմ���</TITLE>
</HEAD>
<BODY bgcolor=white>

��鹸����� : <hr>
�����ᴧ ��� 20% : <hr color=red width=20%>
��鹢�ҹ=10 �չ���Թ : <hr size=10 color=blue >
������ 50% �Դ��� �ժ��� :<hr width=50% align=right color=pink>
��鹷ֺ ��� 50% �չ���Թ : <hr noshade width=50% color=blue>
����չ���Թ ��� 20% ��Ҵ=6 : <hr color=blue width=20% size=6>

จากบทความที่แล้วเราได้เรียนรู้เรื่อง Semantic HTML ไปแล้ว บทความนี้เราจะมาเรียนรู้คำสั่งการจัดรูปแบบเอกสารหรือการจัดข้อความกันบ้าง ซึ่งการใช้งาน Tags ต่างๆ จะทำให้ข้อมูลในเว็บไซต์ดูน่าสนใจและทำให้ User รู้สึกว่าเว็บไซต์ของเราน่าอ่านมากขึ้น ดังนั้นเราจึงต้องเข้าใจคำสั่งในการจัดรูปแบบข้อความว่ามีคำสั่งอะไรบ้าง

คำสั่ง HTML ในการจัดรูปแบบข้อความ

คำสั่ง HTML ที่เราจะกล่าวถึงนี้ เป็นคำสั่ง (Tag) ที่นิยมใช้ในปัจจุบันและบางคำสั่งก็มีความสำคัญอย่างมากที่จำเป็นต้องใช้งานบนหน้าเว็บไซต์ แต่จะมีบางคำสั่งที่ต้องใช้งานตามความเหมาะสมและตามความต้องการของผู้พัฒนา เราไปดูกันเลยว่าจะมี Tag อะไรบ้าง

  • คำสั่งการกำหนดหัวเรื่อง (Headings)
  • คำสั่งการขึ้นย่อหน้าใหม่ (Paragraphs)
  • คำสั่งการเพิ่มสไตล์ให้กับข้อความ (Styles)
  • คำสั่งการจัดรูปแบบข้อความ (Text Formatting)
  • คำสั่งการอ้างถึง (Quotations)
  • คำสั่งการจัดตำแหน่งข้อความชิดซ้าย ชิดขวา หรือกึ่งกลาง (Positions)

1. คำสั่งการกำหนดหัวเรื่อง (Headings)

เป็นการกำหนดหัวข้อให้กับข้อความที่ต้องการ คือ หัวข้อที่มีลำดับสำคัญที่สุดตามด้วยหัวข้อย่อยๆ ที่มีความสำคัญรองลงมา โดยมีรูปแบบดังนี้

รูปแบบ

<h2>ข้อความหัวข้อเรื่องที่ 1</h2> <h2>ข้อความหัวข้อเรื่องที่ 2</h2> <h3>ข้อความหัวข้อเรื่องที่ 3</h3> <h4>ข้อความหัวข้อเรื่องที่ 4</h4> <h5>ข้อความหัวข้อเรื่องที่ 5</h5> <h6>ข้อความหัวข้อเรื่องที่ 6</h6>

ตัวเลขที่กำหนดขนาดและระดับความสำคัญของหัวเรื่องอยู่ในช่วงตัวเลข 1 ถึง 6 เช่น <h2> คือหัวข้อที่สำคัญที่สุด และ <h6> คือหัวข้อที่สำคัญน้อยที่สุด หรือ <h2> ขนาดของตัวอักษรจะมีขนาดใหญ่สุด และ <h6> ขนาดของตัวอักษรจะมีขนาดเล็กสุด ดังตัวอย่างด้านล่าง

ตัวอย่างโค้ด

See the Pen คำสั่งการกำหนดหัวเรื่อง (Heading) by supaporn (@asria) on CodePen.

ความสำคัญของการกำหนดหัวเรื่อง (Headings)

อย่างที่บอกไปแล้วว่าช่วงตัวเลข 1 ถึง 6 มีความสำคัญที่ต่างกัน ซึ่งจะมีผลกับเรื่องของการจัดอันดับของ Search engine ดังนั้นการใช้ <h2> จึงมีความสำคัญมากที่สุด เพราะฉะนั้นในหนึ่งเพจจะใส่ <h2> ได้แค่หนึ่งจุดเท่านั้น ส่วน <h2> ถึง <h6> ก็ใช้เป็นหัวข้อย่อยตามความเหมาะสม


2. คำสั่งการขึ้นย่อหน้าใหม่ (Paragraphs)

โดยปกติการจัดการข้อความเอกสาร HTML บนเว็บ Browser ข้อความจะถูกพิมพ์ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนสุดบรรทัดแล้วจึงขึ้นบรรทัดใหม่ ทำให้ข้อความที่ปรากฏบนจอภาพไม่ได้ถูกจัดวางในตำแหน่งที่เหมาะสม จากตรงนี้เราสามารถที่จะกำหนดส่วนของข้อความในเอกสาร ให้ถูกจัดเป็นย่อหน้าใหม่ โดยใช้คำสั่ง HTML ต่างๆ ในการจัดย่อหน้าได้หลายคำสั่งดังนี้

  • <p> คือคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดย่อหน้า
  • <hr> คือคำสั่งที่ใช้ในการขีดเส้นคั่น
  • <br> คือคำสั่งที่ใช้ในการขึ้นบรรทัดใหม่
  • <pre> คือคำสั่งที่ใช้ในการจัดรูปแบบข้อความ

เราลองมาดูทีละรูปแบบกันว่าการใช้งานจะแตกต่างกันยังไง

Paragraphs หรือแท็ก <p>

คือคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดย่อหน้า เมื่อมีแท็กครอบที่ข้อความจะทำให้ขึ้นบรรทัดใหม่เสมอ และเบราว์เซอร์จะเพิ่มช่องว่าง (ระยะขอบ) ก่อนและหลังย่อหน้าให้โดยอัตโนมัติ

รูปแบบ

<p>ข้อความเนื้อหาเว็บไซต์</p>

ตัวอย่างโค้ด

See the Pen คำสั่งการขึ้นย่อหน้าใหม่ (Paragraph) by supaporn (@asria) on CodePen.

Horizontal Rules หรือแท็ก <hr>

คือคำสั่งที่ใช้ในการขีดเส้นคั่น สำหรับคำสั่งนี้ไม่มีแท็กปิด มีรูปแบบดังนี้

รูปแบบ

ข้อความเนื้อหาเว็บไซต์ 1 <hr> ข้อความเนื้อหาเว็บไซต์ 2

ตัวอย่างโค้ด

See the Pen คำสั่งที่ใช้ในการขีดเส้นคั่น <hr> (Horizontal Line) by supaporn (@asria) on CodePen.

Line Break หรือแท็ก <br>

คือคำสั่งที่ใช้ในการขึ้นบรรทัดใหม่ การขึ้นบรรทัดใหม่นั้นปกติ web browser จะทำการตัดบรรทัดให้เองอยู่แล้ว แต่การตัดคำของเว็บ Browser จะตัดเมื่อแสดงผลไม่ได้ตามขนาดหน้าจอ แต่ถ้าเราใส่คำสั่ง tag <br> เข้าไปเว็บ Browser  จะตัดข้อความที่เราต้องการให้ขึ้นบรรทัดใหม่ให้ทันที เราจะใช้ Tag <br> ดังนี้

รูปแบบ

ข้อความเนื้อหาเว็บไซต์ 1<br>ข้อความเนื้อหาเว็บไซต์ 2

ตัวอย่างโค้ด

See the Pen คำสั่งการขึ้นบรรทัดใหม่ (Line Break) by supaporn (@asria) on CodePen.

จากตัวอย่างด้านบน หากต้องการให้ข้อความไหนขึ้นบรรทัดใหม่ ก็ใส่ Tag <br> ด้านหน้าข้อความนั้นๆ จากนั้นลองรันผลลัพธ์จะเห็นว่าข้อความที่ใส่แท็กได้ขึ้นบรรทัดใหม่ตามที่เราต้องการแล้ว

Pre-formatted หรือแท็ก <pre>

คือคำสั่งในการจัดรูปแบบข้อความตามที่เราต้องการ โดยที่การแสดงผลของข้อความจะคงที่ จะคงรูปแบบเดิมไม่ตัดเว้นวรรคส่วนเกินและการเว้นบรรทัดออก เช่น เราเคาะเว้นวรรคหรือบรรทัดใหม่เท่าไหร่ก็จะแสดงผลอย่างนั้น

รูปแบบ

<pre> ข้อความเนื้อหาเว็บไซต์ ข้อความเนื้อหาเว็บไซต์ ข้อความเนื้อหาเว็บไซต์ ข้อความเนื้อหาเว็บไซต์ ข้อความเนื้อหาเว็บไซต์ </pre>

ตัวอย่างโค้ด

See the Pen คำสั่งในการจัดรูปแบบข้อความ (Pre-formatted) by ASRIA (@asria) on CodePen.


3. คำสั่งการเพิ่มสไตล์ให้กับข้อความ (Styles)

คือคำสั่งในการเพิ่มสไตล์ให้กับข้อความโดยกำหนด Attribute ที่ชื่อว่า style เข้าไปที่แท็กต่างๆ เช่น แท็ก p, div, h เป็นต้น ซึ่งปกติแล้วเราจะกำหนดสไตล์ผ่านทาง Stylesheet แต่คำสั่งคำสั่งการเพิ่มสไตล์ให้กับข้อความในครั้งนี้เราจะเรียกว่าการกำหนดแบบ inline คือการเพิ่มเข้าไป HTML Tgas นั่นเอง

ซึ่งใน Attribute ชื่อ style เราจะกำหนดคุณลักษณะเดียวกันกับการใช้ภาษา CSS (เดี๋ยวจะมาแนะนำในบทความต่อๆ ไป) เข้าไปใน Elemments นั้นๆ จะขอยกตัวอย่างที่ใช้งานกันบ่อยๆ ดังนี้

  • background-color คือการกำหนดสีพื้นหลัง
  • color : คือการกำหนดสีของข้อความ
  • font-family : คือการกำหนดประเภทของข้อความ
  • font-size : คือการกำหนดขนาดของข้อความ
  • text-align : คือการจัดตำแหน่งของข้อความ

รูปแบบ

<p style="background-color:yellow;">การกำหนดสีพื้นหลัง</p> <p style="color:blue;">กำหนดสีของข้อความ</p> <p style="font-family:Arial;">กำหนดประเภทของข้อความ</p> <p style="font-size:25px;">กำหนดขนาดของข้อความ</p> <p style="text-align:"left" หรือ "center" หรือ "right" หรือ "justify";">การจัดตำแหน่งของข้อความ</p>

ตัวอย่างโค้ด

See the Pen คำสั่งการเพิ่มสไตล์ให้กับข้อความ (Styles) by ASRIA (@asria) on CodePen.


4. คำสั่งการจัดรูปแบบข้อความ (Text Formatting)

การจัดรูปแบบข้อความให้เว็บเพจเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ มีความสวยงาม น่าอ่าน หรือการเน้นข้อมูลที่ทำให้ผู้อ่านโฟกัสข้อมูลนั้นๆ ก็นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การใช้คำสั่งในการจัดรูปแบบข้อความเหล่านี้มีให้เลือกใช้อยู่หลากหลายรูปแบบดังนี้

  • <b> คือการกำหนดข้อความตัวหนา โดยไม่ได้กำหนดความสำคัญ
  • <i> คือการกำหนดให้ข้อความเอียง
  • <em> คือการกำหนดให้ข้อความเอียงและเน้นย้ำเป็นพิเศษ
  • <small> คือการกำหนดให้ข้อความมีขนาดเล็ก
  • <strong> คือการกำหนดให้ข้อความเป็นตัวหนา โดยกำหนดให้มีความสำคัญ
  • <sub> คือการกำหนดให้ข้อความเป็นตัวห้อย
  • <sup> คือการกำหนดให้ข้อความเป็นตัวยก
  • <ins> คือการกำหนดข้อความส่วนที่เพิ่มเติม (ขีดเส้นใต้)
  • <del> คือการกำหนดให้มีเส้นขีดฆ่าข้อความทิ้ง
  • <mark> คือการกำหนดให้ไฮไลท์หรือเน้นข้อความ

รูปแบบ

<p>การกำหนด<b>ข้อความตัวหนาโดยไม่ได้กำหนดความสำคัญ</b></p> <p>การกำหนดให้<i>ข้อความเอียง</i></p> <p>การกำหนดให้<em>ข้อความเอียงและเน้นย้ำเป็นพิเศษ</em></p> <p>การกำหนดให้<small>ข้อความมีขนาดเล็ก</small></p> <p>การกำหนดให้<strong>ข้อความเป็นตัวหนา โดยกำหนดให้มีความสำคัญ</strong></p> <p>การกำหนดให้ข้อความเป็น<sub>ตัวห้อย</sub></p> <p>การกำหนดให้ข้อความเป็น<sup>ตัวยก</sup></p> <p>การกำหนดข้อความส่วนที่<ins>เพิ่มเติม</ins> (ขีดเส้นใต้)</p> <p>การกำหนดให้มีเส้น<del>ขีดฆ่า</del>ข้อความทิ้ง</p> <p>การกำหนดให้<mark>ไฮไลท์หรือเน้นข้อความ</mark></p>

ตัวอย่างโค้ด

See the Pen คำสั่งการจัดรูปแบบข้อความ (Text Formatting) by ASRIA (@asria) on CodePen.


5. คำสั่งการอ้างถึง (Quotations)

คำสั่ง HTML ที่ใช้ในการอ้างถึงมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีความแตกต่างกันและให้ความหมายที่แตกต่างกันดังนี้

  • <blockquote> คือการกำหนดข้อความที่อ้างอิงจากแหล่งอื่น (Blockquote)
  • <q> คือการกำหนดข้อความที่อ้างอิงแบบสั้นๆ (Short quotation)
  • <abbr> คือการกำหนดคำย่อหรือตัวย่อ (Abbreviations)
  • <address> คือการกำหนดข้อมูลติดต่อ (Address)
  • <cite> คือการกำหนดชื่องานของเนื้อหา (Cite)
  • <bdo> คือการกำหนดทิศทางของข้อความแบบสลับข้าง (Bi-Directional Override)

เราลองมาดูทีละรูปแบบกันว่าการใช้งานจะแตกต่างกันยังไงบ้าง

Blockquote หรือแท็ก <blockquote>

คือการกำหนดข้อความที่อ้างอิงจากแหล่งอื่น จะเป็นการแยกเนื้อหาออกมาใหม่อีกหนึ่งบรรทัดและย่อหน้าให้เอง เพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่งคือ เราอาจจะเพิ่ม Attribute ที่ชื่อ cite เข้าไปเพื่อบ่งบอกว่าชิ้นงานนี้มีชื่อว่าอะไร

รูปแบบ

<p>ประโยคนี้อ้างอิงมาจากเว็บไซต์ ChillChillJapan:</p> <blockquote cite="ChillChillJapan : //chillchilljapan.com/"> ในยามฤดูใบไม้ผลิ ภาพต้นไม้ใจกลางเมืองที่ผันเปลี่ยนไปพร้อมกับสถาปัจยกรรมด้านข้างที่เป็นอาคารสูงช่วยส่งเสริมบรรยากาศที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดของธรรมชาติและสิ่งก่อสร้างฝีมือมนุษย์ ถ้าอยากลองสัมผัสวิวมุมสูงแบบแตกต่างก็สามารถขึ้นมาชื่นชมกันได้ที่ Kyoto Tower </blockquote>

ตัวอย่างโค้ด

See the Pen กำหนดส่วนที่อ้างอิงจากแหล่งอื่น (Blockquote) by ASRIA (@asria) on CodePen.

Short quotation หรือแท็ก <q>

คือการกำหนดข้อความที่อ้างอิงแบบสั้นๆ หรือที่ส่วนมากเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “Quote” หากเพิ่ม Tag และจะมีสัญลักษณ์ Double-Quote (“”) ขึ้นมาแสดงที่ด้านหน้าและหลังข้อความ

รูปแบบ

<p>ข้อความที่แสดงทั่วไป<q>และข้อความอ้างอิง</q></p>

ตัวอย่างโค้ด

See the Pen การกำหนดข้อความที่อ้างอิงแบบสั้นๆ (Short quotation) by ASRIA (@asria) on CodePen.

Abbreviations หรือแท็ก <abbr>

คือการกำหนดคำย่อหรือตัวย่อให้กับเนื้อหา เช่น เนื้อหามีการใช้ตัวย่อของหน่วยงาน องค์กร บรษัท หรือชื่อของสถานที่ หากเรานำเมาส์ไปวางจะมีข้อความที่เป็นชื่อเต็มยาวๆ แสดงขึ้นมานั่นเอง ซึ่งเราจะต้องเพิ่ม Attribute ที่ชื่อ Title เข้ามาช่วยในการใช้งาน

รูปแบบ

<p>ข้อความทั่วไป <abbr title="ข้อความอธิบายยาวๆของข้อความย่อ">ข้อความย่อ</abbr> ข้อความอื่นๆ</p>

ตัวอย่างโค้ด

See the Pen กำหนดคำย่อหรือตัวย่อ (Abbreviations) by ASRIA (@asria) on CodePen.

Address หรือแท็ก <address>

คือการกำหนดข้อมูลติดต่อสื่อสารในแท็กนั่นเอง โดยปกติแล้วข้อมูลด้านในแท็กจะแสดงผลเป็นตัวอักษรเอียงให้อัตโนมัติ

รูปแบบ

<address>ข้อความเนื้อหาเกี่ยวกับที่อยู่</address>

ตัวอย่างโค้ด

See the Pen กำหนดข้อมูลติดต่อ (Address) by ASRIA (@asria) on CodePen.

Cite หรือแท็ก <cite>

คือการกำหนดชื่องานของเนื้อหา เช่น หากเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ Bloger หรือนักเขียนก็สามารถใส่ชื่อเรื่องหรือชื่อนักเขียนที่แท็กได้เลย และข้อมูลด้านในแท็กจะแสดงผลเป็นตัวอักษรเอียงให้อัตโนมัติ

รูปแบบ

<p><cite>ชื่องานหรือเนื้อหา</cite> รายละเอียดของเนื้อหาและอื่นๆ</p>

ตัวอย่างโค้ด

See the Pen กำหนดชื่องานของเนื้อหา (Cite) by ASRIA (@asria) on CodePen.

Bi-Directional Override หรือแท็ก <bdo>

คือการกำหนดทิศทางของข้อความแบบสลับข้าง ถ้าให้เปรียบง่ายๆ คือการวางตัวหนังสือด้านหน้ากระจกนั่นเอง หากต้องการสลับข้างของตัวข้อความจะต้องเพิ่ม Attribute ที่ชื่อ dir เข้าไปด้วย เช่น dir=”rtl” (rtl คือ Right to Left แปลว่าให้เรียงสลับจากขวาไปซ้ายนั่นเอง)

รูปแบบ

<bdo dir="rtl">ข้อความที่ต้องการให้สลับข้าง</bdo>

ตัวอย่างโค้ด

See the Pen กำหนดทิศทางของข้อความแบบสลับข้าง (Bi-Directional Override) by ASRIA (@asria) on CodePen.

6. คำสั่งการจัดตำแหน่งข้อความ (Positions)

คือคำสั่งการจัดตำแหน่งข้อความ เป็นการจัดตำแหน่งให้ตัวอักษรหรือข้อความให้ชิดซ้าย ชิดขวา อยู่กึ่งกลาง หรือให้มีความกว้างที่เท่ากัน โดยจะเพิ่ม Attribute ที่ชื่อ align หรือ Alignment เข้าไปเพื่อกำหนดตำแหน่งของข้อความได้ดังนี้

  • Left คือการจัดข้อความในย่อหน้าให้ชิดซ้าย ซึ่งเป็นค่าปกติ
  • Center คือการจัดข้อความในย่อหน้าให้อยู่กึ่งกลาง
  • Right คือการจัดข้อความในย่อหน้าให้ชิดขวา
  • Justify คือการจัดข้อความให้มีความกว้างเท่ากันทั้งซ้ายและขวา

รูปแบบ

<p align ="left หรือ center หรือ right หรือ justify">การจัดตำแหน่งของข้อความ</p>

ตัวอย่างโค้ด

See the Pen คำสั่งการจัดตำแหน่งข้อความ (Positions) by ASRIA (@asria) on CodePen.

ข้อกำหนดการใช้งาน

Attribute ที่ชื่อ align หรือ Alignment ของแท็ก <p> จะไม่สนับสนุนใน HTML5 ซึ่งเราต้องใช้ Attribute ที่ชื่อ style แทน ตัวอย่างเช่น <p style=”text-align:left|center|right| justify”>ตำแหน่งข้อความ</p>


สรุป

  • ในบทเรียนนี้เราได้เรียนรู้คำสั่ง HTML ในการจัดรูปแบบข้อความบนเอกสาร HTML ไม่ว่าจะเป็นการใช้คำสั่งการกำหนดหัวเรื่อง (Headings) การขึ้นย่อหน้าใหม่ (Paragraphs) หรือการเพิ่มสไตล์ให้กับข้อความ (Styles) เป็นต้น ซึ่งเมื่อเรารู้จักคำสั่งเหล่านี้แล้ว เราก็จะสามารถนำไปใช้ในการจัดการรูปแบบของเนื้อหาบนเว็บเพจที่เราต้องการให้มีความสวยงามและน่าอ่านมากขึ้น หวังว่าบทเรียนนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ไม่มากก็น้อย

สิ่งที่ได้รับ

  • เข้าใจคำสั่ง HTML ในการจัดรูปแบบข้อความบนเอกสาร HTML ว่ามีคำสั่งอะไรบ้าง มีความสำคัญอย่างไร รูปแบบการเขียนเป็นอย่างไร
  • และสำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่านบทความก่อนหน้าของเรา อย่าลืมไปอ่านด้วยนะ Semantic HTML

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้