วงจรไบสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์

Download

  • Publications : 0
  • Followers : 0

หน่วยที่ 10 ไบสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ Qr

Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!

Create your own flipbook

  • Follow

  • Upload

  • 0

  • Embed

  • Share

  วงจรพัลส์เป็นวงจรที่กำเนิดรูปคลื่นพัลส์หรือรูปคลื่นสี่เหลี่ยม ซึ่งขนาดและความถี่ของรูปคลื่นที่เกิดขึ้นสามารถกำหนดได้ตามที่ออกแบบใช้งานรูปคลื่นที่เกิดจากวงจรพัลส์สามารถนำไปใช้ในการควบคุมการทำงานของวงจรทางดิจิตอลได้ เรียกสัญญาณนี้ว่า "สัญญาณนาฬิกา" (Clock Pulse)

        6.1 คุณลักษณะของสัญญาณพัลส์

       สัญญาณพัลส์เป็นสัญญาณที่เกิดขึ้นซ้ำๆกันกันโดยมีการเปลี่ยนแปลงจากระดับลอจิก 0 ไปลอจิก 1 และเปลี่ยนระดับลอจิก 1 เป็นระดับลอจิก 0 เปลี่ยนวนซ้ำๆเช่นนี้ต่อเนื่องกันไปแสดงดังรูปภาพที่ 6.1

 6.2 วงจรมัลติไวเบรเตอร์
        วงจรมัลติไวเบรเตอร์ (Multivibrator) เป็นวงจรกำเนิดความถี่สัญญาณรูปคลื่นสี่เหลี่ยมหรือรูปคลื่นพัลส์ที่มีความสำคัญต่อวงจรดิจิตอลอีกชนิดหนึ่งหรือเรียกวงจรที่กำเนิดสัญญาณนี้ว่า "วงจรออสซิลเลเตอร์" (Oscillator Circuit) ก็ได้การทำงานของวงจรชนิดนี้มีทั้งต้องใช้สัญญาณกระตุ้นจากภายนอก
และไม่ต้องใช้สัญญาณกระตุ้นจากภายนอกวงจรมัลติไวเบรเตอร์แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ
                      1. วงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์
                      2. วงจรโมโนสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์
                      3. วงจรไบสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์

                      6.2.1 วงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์
                               วงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ (Astable Multivibrator) คือวงจรที่สร้างหรือกำเนิดสัญญาณพัลส์ด้วยตัวของมันเอง โดยการที่วงจรทำงานและหยุดทำงานสลับกันไปอย่างต่อเนื่องจนเกิดความถี่และรูปคลื่นขึ้น ไม่อาศัยสัญญาณจากภายนอกมากระตุ้นหรือช่วยทำงานเรียกชื่อวงจรนี้อีกอย่างหนึ่ง
ว่า "วงจรฟรีรันนิ่ง" (Free Running Multivibrator)สามารถสร้างได้จากลอจิกเกตต่อร่วมกับตัวต้านทานและตัวเก็บประจุหรืออาจจะสร้างจากไอซีเบอร์ 555 ต่อร่วมกับตัวต้านทานและตัวเก็บประจุก็ได้ แสดงดังวงจรต่อไปนี้

      จากรูปที่ 6.2, 6.3 และ 6.4 จะทำงานเหมือนกันกล่าวคือเป็นลอจิกที่ต่อในลักษณะการทำงานแบบกลับสัญญาณคือ สัญญาณเข้าลอจิก 1 สัญญาณออกจะเป็นลอจิก 0 และถ้าสัญญาณเข้าเป็นลอจิก 0 สัญญาณออกจะเป็นลอจิก 1 จากรูปดังกล่าวต่อเป็นวงจจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ ซึ่งจะได้สัญญาณออกทางเอาต์พุตเป็นลอจิก 1 และ 0 สลับกันไป

      จากรูปที่ 6.5 สามารถอธิบายการทำงานของวงจรได้ดังนี้คือ เมื่อสภาวะเอาต์พุตเป็นลอจิก 0 จุดที่ 2 จะเป็นลอจิก 1 และจุดที่ 1 เป็นลอจิก 0 ตามลำดับเนื่องจากวงจรทำงานเป็นนอตเกตหรืออินเวอร์เตอร์นั่นเอง เมื่อพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่าในสภาวะนี้จะทำให้ตัวเก็บประจุได้รับกระแสจากจุดที่ 2 ไหลผ่านตัวต้านทานมาเก็บประจุจนเต็มในระยะเวลาหนึ่ง

      เมื่อตัวเก็บประจุทำการเก็บประจุไฟฟ้าจนเต็มก็สิ้นสุดภาวะลอจิก 0 หลังจากนั้นตัวเก็บประจุก็จะคายประจุไฟฟ้ามายังจุดที่ 1 ดังรูปที่ 6.6 ทำให้จุดที่ 1 เป็นลอจิก 1ส่งผลให้จุดที่ 2 เป็นลอจิก 0 และจุดที่ 3 กลับเป็นลอจิก 1 ตามลำดับตามสภาวะการทำงานของนอตเกตเอาต์พุตจึงเป็นลอจิก 1 ตามช่วงระยะเวลาที่ตัวเก็บประจุจะคายประจุไฟฟ้าจนหมดวงจรจะทำงานสลับต่อเนื่องเช่นนี้เรื่อยไป จึงทำให้ได้เอาต์พุตดังรูปที่ 6.7

       ในการปฏิบัติจริงนั้นรูปคลื่นที่ได้จะมีขอบโค้งมนไม่คมดังรูป เนื่องจากผลของการทำงานของตัวเก็บประจุ แต่สามารถแก้ไขให้รูปคลื่นมีขอบคมได้โดยต่อวงจรดังรูปที่ 6.8

  เอาต์พุตของวงจรสามารถหาคาบเวลา (T) และค่าความถี่ (F) ได้จากสมการดังนี้

วงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ สามารถสร้างโดยใช้ไอซีไทม์เมอร์เบอร์ 555 ได้โดยต่อร่วมกับตัวต้านและตัวเก็บประจุดังรูปที่ 6.9

 จากรูปที่ 6.9 การต่อขาที่ 2 และขาที่ 6 เป็นการต่อเพื่อเปรียบเทียบแรงดันขณะที่ C1 ประจุแรงดันถึง ของแหล่งจ่ายซึ่งใช้ระยะเวลาช่วงหนึ่งจะทำให้เอาต์พุตขาที่ 3 เป็นลอจิก 0 จากนั้น C1 จะเริ่มคายประจุจนถึงระดับแรงดันของแหล่งจ่ายผ่าน R2 และโครงสร้างภายในของไอซี ซึ่งจะใช้ระยะเวลาอีกช่วงหนึ่ง ขาเอาต์พุตขาที่ 3 ก็จะเปลี่ยนเป็นลอจิก 1 ทันทีแล้ว C1 จะเริ่มเก็บประจุอีกครั้ง กระทำกลับไปกลับมาเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดสัญญาณพัลส์ออกมาที่เอาต์พุต สามารถทำให้วงจรหยุดการทำงานได้โดยนำขาที่ 4 ต่อลงกราวด์เนื่องจากขาที่ 4 เป็นขา Reset

 6.2.2 วงจรโมโนสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์
          วงจรโมโนสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ (Monostable Multivibrator)หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วงจรวันช็อต" (One shot Circuit)เป็นวงจรที่กำเนิดสัญญาณพัลส์โดยต้องมีการกระตุ้นจากสัญญาณอินพุตกล่าวคือ ถ้ามีสัญญาณอินพุตมากระตุ้นจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณทางเอาต์พุต เป็นระยะเวลาตามที่สามารถออกแบบได้ แล้วกลับคืนสู่สภาวะเดิม

วงจรโมโนสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ แบ่งตามสัญญาณการกระตุ้นทางอินพุตได้ 2 ชนิด คือ
      1. วงจรโมโนสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์แบบกระตุ้นซ้ำได้ (Retriggerable Monostable Multivibrator) เป็นวงจรรที่เริ่มทำงานโดยเมื่อมีการกระตุ้นที่อินพุตแล้วทางเอาต์พุตจะเปลี่ยนสภาวะจาก 0 ไปเป็น 1 ในระยะเวลาที่วงจรจะทำได้ในขณะนี้เองถ้าวงจรได้รับสัญญาณการกระตุ้นทางอินพุตอีกครั้งโดยที่สัญญาณเอาต์พุตยังไม่เปลี่ยนเป็นลอจิก 0 วงจรจะเริ่มต้นนับการเกิดสัญญาณลอจิก 1 ทางเอาต์พุตในการกระตุ้นครั้งที่สองนี้ใหม่ แสดงดังรูปที่ 6.12

2. วงจรโมโนสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์แบบกระตุ้นซ้ำไม่ได้ (Non Retriggerable Monostable Multivibrator)เป็นวงจรที่เริ่มทำงานโดยเมื่อมีการกระตุ้นที่อินพุตแล้ว ทางเอาต์พุตจะเปลี่ยนสภาวะจาก  0 เป็นลอจิก  1 ในระหว่างนี้ถ้ามีการกระตุ้นทางอินพุตอีกจะไม่มีผลต่อสัญญาณทางเอาต์พุต จนกว่าเอาต์พุตหมดเวลาการคงสภาพของสัญญาณลอจิก  1 แล้วเปลี่ยนจากสัญญาณลอจิก 1 เป็นลอจิก  0 จึงจะรับการกระตุ้นทางอินพุตอีกครั้ง
      รูปแบบของการทำงานของวงจรโมโนสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์แบบกระตุ้นซ้ำได้และแบบกระตุ้นซ้ำไม่ได้ สัญญาณที่กระตุ้นทางอินพุตนั้นมีทั้งแบบการกระตุ้นด้วยขอบขาขึ้นและการกระตุ้นด้วยขอบขาลงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานและการออกแบบของวงจร สัญญาณที่มากระตุ้นทางอินพุตเรียกตามชื่อภาษาอังกฤษว่า "สัญญาณทริกเกอร์" (Trigger)

วงจรโมโนสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์โดยใช้ไอซีไทม์เมอร์เบอร์ 555 ต่อร่วมกับตัวต้านทานและตัวเก็บประจุดังรูปที่  6.14

 6.2.3 วงจรไบสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์
         วงจรไบสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ (Bistable Multivibrator) เป็นวงจรที่มีการทำงานหรือจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ก็ต่อเมื่อมีสัญญาณอินพุตมาควบคุมจึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงและจะคงสภาวะเช่นนี้ต่อไปจนกว่าจะมีสัญญาณอินพุตมากระตุ้นอีกจึงจะกลับไปสู่สภาวะเดิมวงจรการทำงานนี้จะมีสองส่วนนั่นหมายความว่าถ้าส่วนที่หนึ่งทำงานส่วนที่สองจะหยุดการทำงาน ลักษณะของวงจรประเภทนี้ได้แก่ 

ฟลิปฟลอปหรือวงจรแลตช์ ซึ่งวงจรแลตช์นั้นได้กล่าวมาแล้วในหน่วยการเรียกที่ผ่านมาส่วนวงจรทรานซิสเตอร์แสดงดังรูปที่ 6.15

        จากรูปที่ 6.15 ทรานซิสเตอร์  Q1 และทรานซิสเตอร์  Q2 สลับกันทำงานนั่นหมายความว่า กรณีที่ทรานซิสเตอร์ Q1 หยุดทำงานหรือ OFF จะทำให้ขา C ขา E มีค่าความต้านทานสูงแรงดันที่ +Vccจะไหลไปไบอัสให้กับขา B ของทรานซิสเตอร์ Q2 ทำให้ทรานซิสเตอร์ Q2 อยู่ในสภาวะทำงาน ON จนถึงจุดอิ่มตัวส่งผลให้แรงดันที่ขา E กับขา C มีค่าแรงดันประมาณ 0V แรงดังที่จุด -Vbb จะจ่ายให้ขา B ของทรานซิสเตอร์ Q1  มีผลทำให้ทรานซิสเตอร์ Q1 อยู่ในสภาวะ OFF และทรานซิสเตอร์ Q2 อยู่ในสภาวะ ON เป็นเช่นนี้จนกว่าจะมีอินพุต Eil มากระตุ้นที่ขา B ของทรานซิสเตอร์ Q1 ทำให้ทรานซิสเตอร์ Q1 ทำงานอยู่ในสภาวะ ON จึงทำให้ขา E กับขา C ของ Q1 มีค่าความต้านทานต่ำส่งผลให้แรงดันที่จุด -Vbb ไหลเข้าที่ขา B ของทรานซิสเตอร์ Q2 สภาวะนี้ทรานซิสเตอร์ Q2 จึงหยุดทำงานอยู่ในสภาวะ OFF ซึ่งจะยังคงสภาวะเช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าจะมีอินพุต Ei2 ป้อนเข้ามากระตุ้นอีก การทำงานก็จะสลับเช่นนี้เรื่อยไป ซึ่งจะเห็นว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เอาต์พุตได้ต้องมีสัญญาณจากภายนอกมาควบคุม

ข้อใดคือวงจรไบสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์

วงจรไบสเตเบิล มัลติไวเบรเตอร คือวงจรมัลติไวเบรเตอรประเภทหนึ่ง ซึ่งมีสถานะการทํางานที่แนนอน ไดสอง ลักษณะ วงจรนี้นิยมเรียกงายๆวา “วงจรฟลิบ-ฟลอบ” (Flip-flop circuit) และในปกติในวงจรพื้นฐานจะประกอบดวยสิ่งประดิษฐประเภทแอคทีฟ (active element) 2 ตัว สิ่งประดิษฐดังกลาวนี้อาจจะเปนทันเนไดโอด(tunnel diodes) หรือทรานซิ ...

วงจรโมโนสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์จะประกอบไปด้วยวงจรอะไร

2. โมโนสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ (Monostable Multivibrator) เป็นวงจรมัลติไวเบรเตอร์ ที่การเปลี่ยนแปลงการทำงานจะต้องมีสัญญาณอินพุตมาควบคุมการทำงาน การทำงานของ วงจรแต่ละครั้งจะทำงานเพียงสภาวะเดียว โดยที่วงจรหนึ่งจะทำงานตลอดเวลา ส่วนอีกวงจรหนึ่งจะคัตออฟตลอดเวลา วงจรจะอยู่ในสภาวะเช่นนี้จนกว่าจะมีสัญญาณอินพุตมากระตุ้น สภาวะ

วงจรมัลติไวเบรเตอร์มีกี่ประเภท

188 PH 428 Page 3 วงจรมัลติไวเบรเตอร์แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ตามจํานวนสถานะเสถียรของวงจร คือ 1. วงจรไบสเตเบิล มัลติไวเบรเตอร์ (bistable multivibrator circuit) หรือฟลิบฟลอบ (lip-flop) ที่สถานะเสถียร 2 สถานะ 2. วงจรโมโรสเตเบิล มิล ไวเบรเตอร์ (monostable multivibrator circuit) หรือชิงเกิล

วงจรอะสเตเบิลทำงานอย่างไร

หลักการทำงาน ใช้หลักการเก็บประจุ และคายประจุของคาปาซิเตอร์โดยจะทำ การเก็บประจุผ่าน RA, RB และจะคายประจุผ่าน RB และ Tr ภายในลง GND. - ขณะที่คาปาซิเตอร์เก็บประจุ จนถึงระดับแรงดัน 2/3VCC ขณะนั้นแรงดัน ของ V0 = VCC.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้