ประวัติ พระ บิดา สาธารณสุข ไทย

24 กันยายน พ.ศ. 2472 วันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระราชโอรส-พระราชธิดาด้วยกัน 3 พระองค์ ดังนี้ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร  และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยจากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย” 

สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงฉายกับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดชฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก )

พระองค์ทรงพระราชกรณียกิจทรงบำเพ็ญแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุขของประเทศไทย เสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่โรงเรียนแพทย์ และพัฒนาการเรียนการสอนตลอดจนการผลิตแพทย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอันเป็นการวางรากฐานแก่การแพทย์ และการสาธารณสุขให้เจริญพัฒนาก้าวหน้าทัดเทียมอารยะประเทศ ในกาลต่อมา

ในปี พ.ศ. 2493 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและบรรดาศิษย์เก่าศิริราช ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้มีการร่วมใจกันสร้างพระราชาอนุสาวรีย์ขึ้น ณ ใจกลางโรงพยาบาลศิริราช เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์

ในการนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิดพระราชอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2493

และนับแต่นั้นเป็นต้นมาทุกวันที่ 24 กันยายน วันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ของทุกปี จึงเป็นวัน “วันมหิดล”

­­­­­­­­­สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิก

วันมหิดล : 24 กันยายน 2564 รัฐบาลประกาศเป็นวันหยุดราชการพิเศษ เนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ ของ “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย”

วันมหิดล ตรงกับวันที่ 24 กันยายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระราชโอรสองค์ที่ 69 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 7 ใน สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็น พระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และทรงเป็นต้นราชสกุล “มหิดล”

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงสำเร็จการศึกษาได้ปริญญาแพทยศาสตร์ เกียรตินิยมระดับ Cum Laude เมื่อปี พ.ศ. 2471 ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยจากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย” เมื่อเสด็จกลับมาเมืองไทยก็พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อทรงทำนุบำรุงโรงเรียนราชแพทยาลัย โรงพยาบาลศิริราชให้ทันสมัยทัดเทียมกับอารยประเทศ โดยส่งแพทย์ พยาบาล ไปศึกษาต่อต่างประเทศ ในสาขาที่เกี่ยวกับการแพทย์ พระองค์ได้ทรงพระราชทาน สร้างอาคารเรียนกับหอพักผู้ป่วยบริเวณโรงพยาบาลศริราช ทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการเจรจากับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ให้มาช่วยเหลือการแพทย์ของไทยเป็นการวางรากฐานให้การแพทย์ของไทยเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมอารยประเทศในปัจจุบัน มาทรงเปลี่ยนพระราชหฤทัยจากจะทรงทำงานในโรงพยาบาลศิริราช มาเป็นเสด็จไปทรงงานที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ พระองค์มีความเอาใจใส่ในการรักษาประชาชนอย่างมาก ชาวเมืองเชียงใหม่จึงขนานพระนามของพระองค์ว่า “หมอเจ้าฟ้า”

ตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ทรงเกี่ยวข้องกับการแพทย์ และการสาธารณสุข สมเด็จพระบรมราชชนก ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ อันเป็นประโยชน์ต่อการแพทย์ และการสาธารณสุขของไทยอย่างมากมาย จนเป็นที่ประจักษ์ และทรงได้รับการยกย่องเป็น “องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน และการสาธารณสุขของไทย”

วันที่ 24 กันยายน เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยจากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า "พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย" คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้ขนานนาม วันอันเป็นที่ระลึกสำคัญนี้ว่า "วันมหิดล" เพื่อเป็นการถวายสักการะ และแสดงกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์ท่าน เพราะพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุข ของประเทศไทยตลอดระยะเวลา 12 ปีนั้นได้เสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่โรงเรียนแพทย์ และพัฒนาการเรียนการสอนตลอดจนการผลิตแพทย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอันเป็นการวางรากฐานแก่การแพทย์ และการสาธารณสุขให้เจริญพัฒนาก้าวหน้าทัดเทียมอารยะประเทศ ในกาลต่อมา

ในปี พ.ศ. 2493 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและบรรดาศิษย์เก่าศิริราช ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้มีการร่วมใจกันสร้างพระราชาอนุสาวรีย์ขึ้น ณ ใจกลางโรงพยาบาลศิริราช เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิดพระราชอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2493

และนับแต่นั้นเป็นต้นมาทุกวันที่ 24 กันยายน วันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ของทุกปี จึงเป็นวัน “วันมหิดล”

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ การแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศไทย พร้อมทำบุญตักบาตร บริจาคโลหิต ถวายเป็นพระราชกุศลและแสดงความกตัญญูกตเวที่ถวายสักการะน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์และการสาธารณสุขไทย และเป็นการส่งเสริมให้เกิดทักษะการทำงานเป็นทีม สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร

ประวัติความเป็นมา

      สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างรากฐาน ที่มั่นคงให้แก่ประเทศไทยในการพัฒนาไปสู่ความทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบำเพ็ญพระกรณียกิจทางด้าน การแพทย์และการสาธารณสุขนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขแห่งมวลมนุษยชาติ โดยในปี พ.ศ. 2494 คณะกรรมการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีมติกำหนดให้วันที่ 24 กันยายน ของทุกปี เป็นวันระลึก ถึงสมเด็จพระบรมราชชนก โดยขนานนามว่า “วันมหิดล”

        ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระบรมราชชนก มหาวิทยาลัยมหิดลและหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศได้พร้อมใจกันจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติอย่างต่อเนื่อง เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณให้ประจักษ์สืบต่อไป อาทิ การจัดสร้างพระราชานุสาวรีย์ การจัดพิธีวางพวงมาลาและจุดเทียนถวายราชสักการะ และการทำธงวันมหิดล เพื่อนำรายได้สมทบทุนช่วยผู้ป่วยยากไร้ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันสูงสุดจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการเสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางพวงมาลาทุกปี จนถึง พ.ศ. 2520 และยังทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน

        สมเด็จพระบรมราชชนกทรงดำรงพระชนม์ชีพอันเป็นแบบอย่างแก่ปวงชน ทรงเสียสละทั้งความสุข และพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อความปราศจากโรคของประชาชนโดยพระทัยอันบริสุทธิ์พระเกียรติคุณ ทั้งมวลนี้จะปรากฏอยู่สืบไปตราบนานเท่านาน

24 กันยายน วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระบรมราชชนก

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นเจ้าฟ้าที่ชาวไทยเคารพนับถือและเทิดทูนใน พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์เป็นล้นพ้น ทรงได้รับการถวายพระสมัญญานามเฉลิมพระเกียรติพระองค์ให้เป็นพระบิดา แห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย พระบิดาแห่งการสาธารณสุขไทย พระบิดาแห่งการสังคมสงเคราะห์ของไทย พระประทีป แห่งการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำของไทย และพระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย โดยในระดับนานาชาติ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ได้ประกาศพระเกียรติคุณให้เป็น “บุคคลดีเด่น ทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก” ในโอกาสครบ 100 ปี วันพระราชสมภพ

        ด้านการแพทย์และการสาธารณสุขไทย สมเด็จพระบรมราชชนกทรงอุทิศพระองค์ในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ นานัปการ อาทิ ทรงพระราชทานทุนการศึกษาส่วนพระองค์ เช่น ทุนวิทยาศาสตร์แห่งแพทย์ และทุนเพื่อทำการสืบค้นคว้าและ การสอนในโรงพยาบาลศิริราช สนับสนุนการศึกษาวิชาในต่างประเทศ ทรงเป็นผู้แทนของรัฐบาลไทยติดต่อกับมูลนิธิร็อกกิเฟลเลอร์ เพื่อการพัฒนาการแพทย์และการพยาบาลของไทยให้ได้มาตรฐานสากล ทรงพระราชทานทุนทรัพย์ รวมทั้งที่ดินและอาคาร ส่วนพระองค์ เพื่อขยายกิจการของโรงพยาบาลศิริราช ในการใช้เป็นสถานที่เรียน หอผู้ป่วย และหอพักนักศึกษา นอกจากนี้ ยังทรงพระราชทานทุนทรัพย์แก่โรงพยาบาลแมคคอร์มิค เพื่อการจ้างแพทย์ชาวต่างประเทศ

        พระราชกรณียกิจที่ทรงบำเพ็ญแก่วงการแพทย์และการสาธารณสุขไทยดังกล่าว ได้สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่ โรงเรียนแพทย์ และช่วยพัฒนาการเรียนการสอนและการผลิตแพทย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นรากฐานสำคัญไปสู่ ความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ ทั้งนี้ พระองค์ยังทรงเป็นประทีปนำทางแก่ผู้ใฝ่การศึกษาและประกอบวิชาชีพต่างๆ ทรงมีพระราชจริยาวัตรที่งดงามเปี่ยมด้วยพระเมตตาต่อปวงชนชาวไทยอย่างหาที่เปรียบมิได้

        นับว่าสมเด็จพระบรมราชชนกทรงอุทิศพระวรกาย และทรงงานอย่างหนักเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยตลอด พระชนม์ชีพโดยแท้ กระทั่งในปี พ.ศ. 2472 ทรงประชวรด้วยโรคฝีบิดในพระยกนะ (ตับ) และโรคพระวักกะ (ไต) พิการกำเริบ ประชวรอยู่ 4 เดือน มีโรคแทรกซ้อน คือ พระอาการบวมน้ำในพระปัปผาสะ (ปอด) และพระหทัยวาย สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 เวลา 16.45 น. พระชนมายุ 37 ปี 8 เดือน 23 วัน

จุดเริ่มต้น วันมหิดล

การขนานนามวันที่ 24 กันยายน เป็นวันสำคัญ คือ “วันมหิดล” เพื่อเป็นการถวายราชสักการะและแสดง ความกตัญญูกตเวทิตาต่อสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์สำคัญ เมื่อปี พ.ศ. 2493 ในช่วงเวลาดังกล่าว คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมกับผู้ที่เคยได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระองค์ และศิษย์เก่าศิริราช จัดสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรมราชชนกขึ้น เพื่อประดิษฐานบริเวณใจกลางคณะ ด้วยสำนึก ในพระกรุณาธิคุณที่ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทย โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์ ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2493

        ต่อมาเมื่อวันที่ 24 กันยายน ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตในปีเดียวกัน คณะกรรมการสโมสรนักศึกษาแพทย์ศิริราช นำโดย นายบุญเริ่ม สิงหเนตร นายกสโมสรนักศึกษาแพทย์ และนางสาวชายัญ ปรักกะมะกุล หัวหน้านักศึกษาพยาบาล ได้นำ นักศึกษาแพทย์และนักศึกษาพยาบาลตั้งแถวไปตามถนนจักรพงษ์บริเวณด้านหน้าพระราชานุสาวรีย์ จากนั้นหัวหน้านักศึกษา เป็นผู้แทนวางพวงมาลา นักศึกษาทุกคนจุดธูปเทียนสักการะและถวายความเคารพ ผู้แทนนักศึกษาอ่านฉันท์ “ทูลกระหม่อม สดุดีอศิรวาท” ซึ่งประพันธ์โดย นายภูเก็ต วาจานนท์ (นักศึกษาแพทย์) หลังจากนั้น ศ.นพ. สุด แสงวิเชียร และ ศ.นพ. เติม บุนนาค วางพวงมาลาในนามคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เหตุการณ์ครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของ “วันมหิดล”

        ปีต่อมา พ.ศ. 2494 คณะกรรมการคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีมติกำหนดให้วันที่ 24 กันยายน เป็นวันรำลึกถึง สมเด็จพระบรมราชชนกเป็นประจำทุกปี และขนานนามว่า “วันมหิดล” การจัดงานในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2494 จึงเป็น การจัดงาน “วันมหิดล” อย่างเป็นทางการครั้งแรก

พิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ เนื่องในวันมหิดล

       พิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรมราชชนก จัดเป็นพิธีหลวงครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2496 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ และสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา มายังโรงพยาบาลศิริราช ทรงพระราชสักการะ และทรงวางพวงมาลาพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรมราชชนกเป็นครั้งแรก นับจากนั้นงานวันมหิดล จึงถือเป็นพิธีหลวง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางพวงมาลา ถวายราชสักการะทุกปี จนถึง พ.ศ. 2520 หลังจากนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนิน แทนพระองค์มาทรงวางพวงมาลาเป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบัน

        นอกจากพิธีหลวงดังกล่าว หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันมหิดลหลากหลายรูปแบบ อาทิ พิธีบำเพ็ญกุศล พิธีวางพวงมาลาของโรงเรียนแพทย์และหน่วยงานทางการแพทย์และสาธารณสุขทั่วประเทศ กิจกรรม ตักบาตรอาหารแห้ง พิธีจุดเทียนถวายราชสักการะและร่วมร้องเพลงเทิดพระนามมหิดลบริเวณหน้าพระราชานุสาวรีย์ การจัดทำ และจำหน่ายธงที่ระลึกวันมหิดล การประกวดเรียงความเฉลิมพระเกียรติ การแสดงสุนทรพจน์เฉลิมพระเกียรติ กิจกรรมจัดหา รายได้ช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ กิจกรรมสาธารณประโยชน์ของนักศึกษาและหน่วยงานต่างๆ การจัดรายการพิเศษวันมหิดลทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ให้ความรู้และตอบปัญหาสุขภาพแก่ประชาชน และการจัดตั้งทุนวันมหิดล

กำเนิดธงวันมหิดล

        ในปี พ.ศ. 2503 ศ.นพ. กษาณ จาติกวนิช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราชในขณะนั้น ได้เสนอให้มีการจำหน่ายธงวันมหิดลใน “วันมหิดล” เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนช่วยเหลือผู้ป่วย ยากไร้ของโรงพยาบาล โดยมีความเห็นว่า “ขณะนี้โรงพยาบาลศิริราชได้ดำเนินกิจการ ช่วยเหลือประชาชนอยู่มาก จนประชาชนมีความปรารถนาที่จะช่วยกิจการของโรงพยาบาล เป็นการตอบแทนบ้าง บางคนที่มีทุนทรัพย์น้อย ไม่กล้าที่จะมาบริจาค เกรงทางการจะเห็น เป็นอย่างอื่นไป ฉะนั้นถ้าจะกระทำการใดให้ประชาชนได้ร่วมมือกันคนละเล็กละน้อย ไม่ให้ ถึงกับเป็นภาระแก่ประชาชน เข้าใจว่าจะได้รับความร่วมมือจากประชาชนเป็นอย่างดี ฉะนั้น คณะฯ จึงได้ขอร้องชักชวนให้นักศึกษาทั้งฝ่ายแพทย์และพยาบาลออกทำการเรี่ยไรเนื่องใน วันมหิดลเพียงครั้งเดียวในปีหนึ่งๆ การเรี่ยไร คณะฯ ได้ทำเป็นธงวันมหิดลแลกกับเงินที่บริจาค”

ธงวันมหิดลในปีแรกเป็นผืนผ้าสีขาวแบบสามเหลี่ยม ตรงกลางประดับพระฉายาลักษณ์ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรมราชชนก พิมพ์ด้วยสีเขียว ดำเนินการออกแบบและจ้าง ทำธงพร้อมกับเขียนป้ายโฆษณา โดย นพ. นันทวัน พรหมผลิน และคุณกอง สมิงชัย ใน สมัยนั้น ธงขนาดกลางรับบริจาค 10 บาท มีธงเล็กทำด้วยริบบิ้นรับบริจาค 1 บาท นักศึกษา ทุกหมู่เหล่าในศิริราชช่วยกันออกไปรับบริจาค โดยได้รับผลตอบรับที่ดีเกินคาด มีหลายๆ ท่าน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมีจิตศรัทธาบริจาคกันเกินกว่าราคาธงหลายร้อยเท่า

การจำหน่ายธงวันมหิดลทำติดต่อกันตลอดมา มีผู้ศรัทธาและบริจาคเงินมากขึ้นตามลำดับ จนถึง พ.ศ. 2513 จึงเริ่ม รับบริจาคในรายการพิเศษทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ เงินบริจาคจากการจำหน่ายธงวันมหิดลได้นำมาช่วยผู้ป่วยยากไร้เป็น จำนวนมาก โดยส่วนหนึ่งนำมาจัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ อุปกรณ์ทางการแพทย์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่ ผู้ป่วยยากไร้และด้อยโอกาสของโรงพยาบาลศิริราช อาทิ เครื่องช่วยหายใจสำหรับเด็กแรกเกิดถึงผู้ใหญ่ เครื่องอบฆ่าเชื้อ ห้องด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และเครื่องให้ความอบอุ่นทารกชนิดควบคุมอุณหภูมิโดยอัตโนมัติ

        ภายหลังธงวันมหิดลได้เปลี่ยนเป็นใช้ผืนผ้าที่มีสีตรงกับวันมหิดลในปีนั้น ประดับพระฉายาลักษณ์พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบรมราชชนก และปีพ.ศ. ตรงกลางผืนผ้า นอกจากนี้ มีการจัดทำสติกเกอร์มอบเป็นของที่ระลึกแทนธงริบบิ้น มีการทำธงพร้อมเสา ธงผืนใหญ่ และยังพัฒนาเป็นกิจกรรมทำธงมหิดลข้ามคืน (Overnight) โดยกลุ่มอาสาสมัครมหาวิทยาลัย มหิดลจากทุกคณะสถาบัน ร่วมแรงร่วมใจกันสามัคคีทำธงขึ้นด้วยความศรัทธาในสมเด็จพระบรมราชชนก และจิตมุ่งมั่นเสียสละ สร้างประโยชน์เพื่อส่วนรวม อันเป็นการดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทแห่งสมเด็จพระบรมราชชนกอย่างแท้จริง

หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). "วันมหิดล". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก://museum.li.mahidol.ac.th/th/2558-exhibition/Mahidol_Day/. สืบค้น 24 กันยายน 2562. 

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้