พฤติกรรม ผู้นำ การเปลี่ยนแปลง

ดิฉันได้รับติดต่อจาก CEO บริษัทข้ามชาติแห่งหนึ่ง ให้เข้าไปคุยโครงการที่ปรึกษา คุยกันไปคุยกันมาถูกคอ ท่านเลยชวนให้มาทำงานประจำด้วยกันเลย ท่านบอกว่าอยากให้เข้ามาช่วยเปลี่ยนแปลงองค์กร ท่านอ่านหนังสือมาเยอะและเชื่อว่าหากอยากสำเร็จเหมือนเดิม จะทำเหมือนเดิมไม่ได้ จึงต้องการลุกขึ้นมาปรับเปลี่ยนองค์กร อยากเปลี่ยนวิสัยทัศน์ใหม่ เปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ เปลี่ยนโครงสร้างองค์กรใหม่ เปลี่ยนแบรนด์ใหม่ รวมไปถึงเปลี่ยน mindset พฤติกรรมคนในองค์กรใหม่

ดิฉันจึงถามท่านว่า แล้วทำไมท่านไม่ทำเองล่ะคะ?

ท่านตอบว่าอยากได้คนนอกมาเปลี่ยนแปลง น่าจะทำได้ง่ายและดีกว่าเพราะไม่เคยมีประวัติศาสตร์ร่วมกันมาก่อน

Zenger & Folkman สถาบันวิจัยด้านภาวะผู้นำ ศึกษาพฤติกรรมของผู้นำองค์กรทั่วโลกกว่าแสนคน พบ 1 ใน 16 ทักษะที่ผู้นำองค์กรที่ประสบความสำเร็จมี คือ การนำการเปลี่ยนแปลง (Change Champion) แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ การนำเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง ไม่ใช่การลุกขึ้นมาเปลี่ยนทุกอย่าง!

  • การนำการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงคือ

1. รู้ว่าจุดไหนควรเปลี่ยน จุดไหนควรคงไว้เหมือนเดิม และหากจะเปลี่ยนควรต้องเปลี่ยนเมื่อไหร่

2. การหาคนมานำการเปลี่ยนแปลง ต้องไม่ใช่การมอบหมายให้ทำโครงการ แต่ต้องหาคนที่มีแรงบันดาลใจมองเห็นความจำเป็นอยากลุกขึ้นมาเปลี่ยนเพื่ออนาคตส่วนรวมที่ดีกว่า

3. รู้จิตวิทยาในการทำให้คนเชื่อ เห็นตาม และอยากเปลี่ยนแปลงตาม

นอกจากนี้ Zenger & Folkman ยังพบจุดตาย 5 จุด ที่ทำให้ผู้นำล้มเหลว ซึ่งว่ากันจริงๆ แล้วผู้นำที่ประสบความสำเร็จต้องทั้งนำตนเอง (Lead Self) นำคน (Lead Others) และนำการเปลี่ยนแปลง (Lead Change & Transformation) ได้ แต่จุดที่ทำให้ผู้นำล้มเหลวลำดับต้นๆ กลับเป็นไม่ใช่เรื่องความสามารถในการการเปลี่ยนแปลง แต่คือความสามารถใน "การนำคน" ซึ่งประกอบไปด้วย

1. ความสามารถในการสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นจูงใจ (Inspires and Motivates Others) คือการสร้างแรงบันดาลใจให้คนทำงานเต็มศักยภาพ ทำงานด้วยพลังไปสู่ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม

2. การพัฒนาตนเอง (Practices Self-Development) คือความพยายามถามหาคำแนะนำจากผู้อื่นเพื่อนำไปพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสร้างบรรยากาศการทำงานที่เน้นการพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศ

3. การประสานความร่วมมือและทำงานเป็นทีม (Collaboration and Teamwork) คือการส่งเสริมให้เกิดการประสานความร่วมมือทั่วทั้งองค์กรเพื่อเป้าหมายร่วมกัน และสามารถกำจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

4. การพัฒนาคนอื่น (Develops Others) คือความห่วงใยใส่ใจต่อการเติบโตของผู้อื่น พร้อมให้คำแนะนำอย่างจริงใจเพื่อการพัฒนารวมถึงทำหน้าที่เป็นโค้ชและพี่เลี้ยง

5. การสื่อสารอย่างทรงพลัง (Communicates Powerfully and Prolifically) คือความสามารถทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป้าหมายขององค์กรคืออะไรและพวกเขาสำคัญต่อเป้าหมายนั้นอย่างไร

ดังนั้นการนำเปลี่ยนแปลง คงไม่ใช่การลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง ตั้งแต่เปลี่ยนวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ ปรับโครงสร้างองค์กร แต่น้ำหนักสำคัญอยู่ที่ความสามารถใน “การนำ” คนให้อยาก “เปลี่ยนแปลง” ตามไปด้วย

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้

คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน

คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

การเปลี่ยนแปลง…ทำให้สามารถสร้างผลลัพธ์ที่แตกต่างไปจากเดิม โดยมีกรอบความคิดที่พร้อมเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว โดยไม่กังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วค้นหาโอกาสที่สามารถดำเนินการต่อไปได้ บนสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยวิธีการเชิงนวัตกรรมไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

หลักการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ตัวเองและทีมงาน 5 ประการ ต่อไปนี้
1. มองหาโอกาส (ของขวัญ) ของการเปลี่ยนแปลง มากกว่าหลีกเลี่ยงที่จะต้องเปลี่ยนแปลง
    : การฉกฉวยโอกาสที่มองเห็นได้ก่อน ช่วยทำให้ก้าวหน้าและนำผู้อื่นอยู่เสมอ เพราะการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา เกิดเป็นประจำ และเกิดบ่อยมากขึ้นไปเรื่อยๆ …ใครเปลี่ยนได้ก่อน ย่อมไปได้ก่อน

2. การสร้างความคิดสร้างสรรค์อยู่เสมอเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
    : การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ด้วยการคิดเชิงสร้างสรรค์ ทำให้เราออกจากพื้นที่ที่เราคุ้นเคย (Comfort Zone) นำไปสู่ผลลัพธ์ใหม่ๆ โดยไม่ต้องรอให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง เพราะเราและทีมงานเปลี่ยนแปลงตัวเองกันก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดความคุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลง ย่อมทำให้ไม่รู้สึกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงได้ทันที

3. ท้าทายความเชื่อและการกระทำเดิมๆ ที่ปฏิบัติต่อๆ กันมา
    : การตั้งคำถามเชิงท้าทายให้กับสิ่งที่ปฏิบัติกันอยู่ เพื่อประเมินถึงความเหมาะสมที่ยังต้องปฏิบัติต่อไป หรือควรเปลี่ยนแปลงเรื่องอะไรดี โดยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ให้สอดคล้องกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเอง, ทีมงานและองค์กร

4. การเตรียมความพร้อมและการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง
    : การใช้ความรู้ ความสามารถ และศักยภาพของตัวเอง สร้างการเปลี่ยนแปลง โดยการปรับความคิด ความรู้สึก และกรอบความคิก (Mindset) ที่ดี ให้เกิดพฤติกรรมที่ดี ต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ด้วยความมั่นใจ

5. การกระตุ้นตัวเองให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยไม่ต้องรอเหตุการณ์ภายนอกมาบังคับ
    : คนไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เพราะไม่ชอบการถูกบังคับ หากรอให้เกิดเหตุการณ์ก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนก็จะเกิดการต่อต้าน แต่หากเห็นประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลง เราก็จะเริ่มกระตุ้นตัวเองให้เปลี่ยนแปลงตัวเองได้ก่อนเลย ซึ่งก็คือ การพัฒนาตัวเองและสร้างการเรียนรู้อยู่เสมอ

    ผู้นำการเปลี่ยนแปลง...เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน และมักเริ่มต้นด้วย “การเปลี่ยนกรอบความคิด (Mindset)” ของตัวเองเป็นเรื่องแรก เพราะกรอบความคิด (Mindset) นำไปสู่มุมมอง พฤติกรรม และการกระทำ ต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงนั้นๆ
หลักการสร้างการเปลี่ยนแปลง จึงเป็นแนวความคิดที่ผู้นำสามารถเลือกใช้ในการเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดของตัวเองได้ แล้วจึงไปทำให้ทีมงานมีกรอบความคิดที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงต่อไป

ผู้นำการเปลี่ยนแปลงควรมีลักษณะอย่างไร

1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) คือ การที่ผู้นำหรือ ผู้บริหารประพฤติตัวเป็นแบบอย่าง หรือเป็นโมเดลสำหรับผู้ตามหรือบุคลากร ผู้นำจะเป็นที่ยกย่อง เคารพนับถือ ศรัทธา ไว้วางใจ และทำให้ผู้ตามเกิดความภาคภูมิใจเมื่อได้ร่วมงานกัน และเป็น กระบวนการที่ผู้นำเปลี่ยนแปลงความพยายามของผู้ตามให้ดีขึ้น จากความ ...

Adaptive Leader คืออะไร

“ผู้นำแห่งอนาคต” หรือ “Adaptive leadershipคือ คนที่ยอมรับว่าตัวเองไม่รู้ และโน้มตัวลงมาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันกับทีมงานทุกคน พร้อมที่จะต่อสู้ไปด้วยกัน เนื่องด้วยวิกฤตเศรษฐกิจที่ถาโถมเข้ามาพร้อมกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 โลก ทุกคนจึงคาดหวังว่าผู้นำ จะสามารถพาพวกเขาก้าวพ้นขวากหนาม และข้ามไปสู่ความสำเร็จที่รออยู่ข้างหน้า ...

ผู้นำการเปลี่ยนแปลงแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

ภาวะผู้นำบารมีในการสร้างแรงบันดาลใจ (Charismatic – Inspirational Leadership) ... .
ภาวะในการกระตุ้นทางปัญญา (Intellectual Stimulation) ... .
ภาวะในการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualized Consideration).

ผู้นำมีบทบาทอย่างไรต่อการเปลี่ยนแปลง

ผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง (Leader & Change) ผู้นำคือ บุคคลที่พร้อมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง มีทิศทางและเป้าหมายในอนาคตที่ชัดเจน สามารถกำหนดวิสัยทัศน์และนำพาผู้อื่นไปสู่ความสำเร็จได้โดยการสื่อสารและสร้างแรงบันดาลใจ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้