ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค แผนที่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคชื่อเดิมข้อมูลทั่วไปสถานะประเภทเมืองประเทศเริ่มสร้างเปิดใช้งานเว็บไซต์

Bangkok International Trade & Exhibition Centre

ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมนานาชาติกรุงเทพ
เปิดใช้งาน
ศูนย์ประชุม และ ศูนย์แสดงสินค้า
88 ถนนเทพรัตน กม.1 แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร
ไทย
พ.ศ. 2538
กันยายน พ.ศ. 2540
เว็บไซต์ทางการ

ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค[1] (อังกฤษ: Bangkok International Trade & Exhibition Centre: BITEC) เป็นศูนย์ประชุมและศูนย์แสดงสินค้าขนาด 70,000 ตารางเมตร [2] เปิดให้บริการเมื่อ พ.ศ. 2540 ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 88 ถนนเทพรัตนและถนนสุขุมวิท แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร

ในปี พ.ศ. 2549 ไบเทคได้รับการจัดลำดับจากผู้จัดงานทั่วโลกให้เป็น 1 ใน 5 ของศูนย์แสดงนิทรรศการและการประชุมที่ดีที่สุดในเอเชีย-แปซิฟิก (ผลสำรวจในนิตยสารซีอีไอฉบับ Industry Survey 2549) [3] และในปี พ.ศ. 2550 ไบเทคได้รับรางวัลชนะเลิศด้านการปฏิบัติการระดับโลก จากสมาพันธ์อุตสาหกรรมการแสดงสินค้าโลก (UFI) [4]

ประวัติ[แก้]

ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2538 และเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2540 มีการจัดงานครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายนปีเดียวกัน

บริเวณด้านหน้าเมื่อปลายปี พ.ศ. 2554

การจัดแสดงนิทรรศการในปี พ.ศ. 2549

โครงสร้างและพื้นที่[แก้]

ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคตั้งอยู่บนพื้นที่รวม 170 ไร่ (275,000 ตารางเมตร) ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่จัดงาน 31.5 ไร่ (50,400 ตารางเมตร) ประกอบด้วย

  • พื้นที่แสดงสินค้านอกอาคาร 4,800 ตารางเมตร สำหรับจัดกิจกรรมนอกอาคารหรือการแสดงสินค้าที่มีความสูงเป็นพิเศษ
  • พื้นที่โถงรับรองกว่า 8,000 ตารางเมตรอยู่บริเวณด้านหน้าติดกับโถงนิทรรศการ
  • พื้นที่โถงนิทรรศการชั้นเดียวแบบไร้เสาค้ำยัน 10 ห้อง (EH 98-100 EH 101-104 EH 105 EH 106 และ EH 107)
  • ห้องประชุม สามารถปรับเปลี่ยนขนาดได้ตามความเหมาะสม พร้อมด้วยระบบแสง-เสียง รองรับผู้เข้าร่วมการประชุมได้ 20,000 คน และผู้เข้าร่วมชมงานกว่า 100,000 คนต่อวัน
    • ห้องแกรนด์ฮอลล์ 3 ห้อง และไบเทคฮอลล์ 3 ห้อง ซึ่งสามารถรวมเป็น 1 ห้องใหญ่
    • ห้องประชุมสัมมนาขนาดเล็ก จำนวน 28 ห้อง สามารถจัดที่นั่งได้ตั้งแต่ 60 ถึง 480 ที่นั่ง
  • คูหาจัดงานมาตรฐาน (3 × 3 เมตร) 2,000 คูหา มีท่อสาธารณูปโภคจำนวน 2,000 ท่อจากใต้พื้นต่อตรงถึงคูหา
  • อาคารสำนักงานภิรัชทาวเวอร์ แอท ไบเทค ความสูง 29 ชั้น โดยอาคารนี้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ ฮอนด้า ประเทศไทย
  • ศูนย์บริการธุรกิจ ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย ถ่ายเอกสาร พิมพ์เอกสาร ไปรษณีย์ จองที่พักและตั๋วเครื่องบิน รับฝากกระเป๋า ให้เช่าห้องประชุมย่อย บริการอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น
  • ห้องผู้สื่อข่าว สำหรับเขียนและส่งข่าว

ลานจอดรถ[แก้]

ไบเทคมีพื้นที่จอดรถทั้งภายในและภายนอกรวมกันทั้งสิ้นจำนวน 5,000 คัน แบ่งเป็นภายในอาคารจำนวน 1,500 คัน และภายนอกอาคารจำนวน 3,000 คัน และมีพื้นที่จอดรถยนต์โดยสารขนาดใหญ่และรถบรรทุกอีก 500 คัน

การเดินทาง[แก้]

ทางเข้า-ออกไบเทคมี 3 ช่องทาง ได้แก่ ฝั่งถนนเทพรัตน (กม.1) 2 ช่องทาง และฝั่งถนนสุขุมวิท 1 ช่องทาง สามารถเดินทางมาไบเทคได้หลายวิธี ดังนี้

  • รถไฟฟ้าบีทีเอส ลงที่สถานีบางนา
  • รถยนต์ส่วนตัว ทางเส้นบางนา-ตราดหรือ ลงจากทางด่วนบางนาแล้วกลับรถที่สะพานกลับรถ
  • รถโดยสารประจำทาง ทางเข้า-ออกที่ 1 และ 2 สามารถเดินทางโดยรถประจำทางสาย 180, 365, 1141 ซึ่งรถจะจอดที่ถนนบางนา-ตราด ส่วนทางเข้า-ออกที่ 3 สามารถเดินทางโดยรถประจำทางสาย 2, 23, 45, 102, 116, 129, 142, 507, 508, 511, 536 ซึ่งรถจะจอดที่ถนนสุขุมวิท

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

  • พ.ศ. 2552 - เข้าร่วมโครงการ Green Meeting ของสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.)
  • พ.ศ. 2550 - รางวัลชนะเลิศระดับโลกด้านปฏิบัติการยอดเยี่ยมจากสมาพันธ์การแสดงสินค้าระดับโลก จาก UFI : The Global Association of the Exhibition industry.
  • พ.ศ. 2549 - ได้รับการลงคะแนนเสียงให้เป็นหนึ่งในห้าของศูนย์การประชุมนิทรรศการที่ดีที่สุดในเอเชียแปซิฟิค จาก CEI : Magazine industry survey 2006
  • พ.ศ. 2547 - รางวัลสถานที่จัดงานยอดเยี่ยม จากนิตยสารประเทศออสเตรเลีย CIM : Convention and Incentive Marketing magazine
  • พ.ศ. 2547 - รางวัลสถานที่จัดงาน Incentive ยอดเยี่ยมประจำปี จาก TICA (Thailand Incentive and Convention Association)
  • พ.ศ. 2545 - ได้รับการลงคะแนนเสียงให้เป็นหนึ่งในสามของศูนย์การประชุมนิทรรศการที่ดีที่สุดในเอเชียแปซิฟิค จาก CEI : Magazine industry survey 2002
  • พ.ศ. 2549 - ได้รับรองตราสัญลักษณ์ Q-Mark ทางด้านการให้บริการสถานที่อาคารศูนย์นิทรรศการและการประชุมศูนย์แสดงสินค้า รวมทั้งการบริการ อาหารและเครื่องดื่ม และการบริการสนับสนุนต่าง ๆ ในบริเวณศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ทั้งองค์กร จาก คณะกรรมการร่วม สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย

อ้างอิง[แก้]

  1. ชื่อภาษาไทยจากเว็บไซต์ทางการ พบได้ทั่วไปเช่นหน้าติดต่อสอบถาม เดิมใช้ชื่อว่า ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมนานาชาติกรุงเทพ
  2. อ้างอิงจากเว็บไซต์ [1] เก็บถาวร 2011-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. อ้างอิงจากเว็บไซต์[2]
  4. อ้างอิงจากเว็บไซต์[3]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • เว็บไซต์ทางการของศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค
  • แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค
    • ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
    • แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
    • ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°40′14″N 100°36′40″E / 13.670424°N 100.610991°E

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้