กรุงเทพมหานคร มีการ เปลี่ยน สร้อย ที่ ว่า บวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมร รัตนโกสินทร์ เพราะ เหตุ ใด

เกิดกระแสการตั้งคำถามอย่างหนัก เมื่อมติครม.ประกาศชื่อ กทม. เป็น Krung Thep Maha Nakhon (Bangkok) ตามสำนักงานสำนักงานราชบัณฑิตเสนอ แม้ต่อมาชี้แจงว่า สามารถใช้ได้ทั้ง 2 ชื่อ

‘มติชน’ ชวนย้อนไปดูหลักฐานชื่อเมืองหลวงของไทย ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่ความทรงจำ สู่เอกสารลายลักษณ์ โดยชื่อบางกอกนี้ สันนิษฐานว่า เป็นชื่อเก่าตั้งแต่ก่อนขุดคลองลัดที่มีคลองสาขาเล็กๆ เรียก ‘คลองบางมะกอก’ เพราะมีต้นมะกอกน้ำจำนวนมาก จึงเรียกชื่อพื้นที่ปากคลองเชื่อมแม่น้ำสายเก่าว่า ‘บางมะกอก’ มีวัดของชุมชนเรียก ‘วัดมะกอก’ ซึ่งปัจจุบันคือ วัดอรุณราชวรารามฯ

  • Banckocq -BANKOC ในเอกสารฝรั่งสมัยอยุธยา ถึง ‘ธนบุรีศรีมหาสมุทร’

เป็นที่ทราบกันดีว่า ชื่อ Bangkok ที่โลกรู้จัก มาจาก บางกอก

ชาวต่างชาติรู้จักกรุงเทพ ในนาม บางกอก ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเป็นชุมชนอยู่อาศัย กระทั่งมีความสำคัญขึ้นตามลำดับหลังขุดคลองลัดที่ขยายออกเป็นเส้นทางการคมนาคมใหม่ที่ปลอดภัยระหว่างอ่าวไทยกับกรุงศรีอยุธยา เป็นจุดพักเรือนานาชาติ เติบโตเป็นเมืองในที่สุด

โดยรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (ครองราชย์ พ.ศ.2091-2111) ยกฐานะ บางกอก ขึ้นเป็นเมือง มีชื่อในทำเนียบหัวเมือง เรียก ‘ธนบุรีศรีมหาสมุทร’ สื่อถึงการอยู่ใกล้ทะเลสมุทรคืออ่าวไทย

นามบางกอกในเอกสารต่างชาติปรากฏหลายแห่ง หนึ่งในนั้นคือพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับ วัน วลิต หรือ ฟาน ฟลีต พ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์ พ.ศ.2182 ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยในตอนหนึ่ง กล่าวถึงนิทานเรื่อง ‘เจ้าอู่ทอง’ มีเนื้อหากล่าวถึงการสร้างเมือง 2 เมืองก่อนสร้างอยุธยา ความว่า

‘พระเจ้าอู่ทองก็ได้สร้างเมืองคองขุดเทียมและบางกอก’

โดยชื่อตามเอกสาร สะกดว่า Chongh Cout Thiam and Bangkocq

บางกอก คือ กรุงเทพในปัจจุบัน ส่วน คอขุดเทียม เชื่อกันว่าอาจหมายถึง บางขุนเทียน บนเส้นทางคลองด่านนั่นเอง

นอกจากนี้ ในเอกสารของ นิโกลาส์ แชรแวส ทูตฝรั่งเศส ปรากฏคำว่า BANKOC โดยระบุว่า

‘BANKOC เป็นสถานที่อันมีความสำคัญที่สุดแห่งราชอาณาจักรสยามอย่างปราศจากข้อสงสัย..’

  • บางกอก สู่ ‘กรุงเทพทวารวดี’ ถึงกรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์

ครั้นเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สถาปนาบางกอกขึ้นเป็นเมืองหลวง

พระราชทานนามใหม่ให้สอดคล้องกับนามพระพุทธรัตนปฏิมากรว่า

‘กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์’

หมายถึง พระมหานครที่ดำรงรักษาพระมหามณีรัตนปฏิมากร เป็นแก้วอย่างดีมีสิริอันประเสริฐสำหรับพระบารมีของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ประดิษฐานกรุงเทพมหานครนี้

สำหรับชื่อเรียกในเอกสารร่วมสมัยในช่วงเวลาดังกล่าวคือ ‘กรุงรัตนโกสินทร์อินทรอยุธยา’

อย่างไรก็ตาม ในสมัยรัชกาลที่ 1- รัชกาลที่ 3 ยังปรากฏชื่อกรุงเทพฯ ว่า ‘กรุงเทพมหานคร บวรทวารวดีศรีอยุธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์’ ดังเช่นนามเดิมของกรุงศรีอยุธยาที่ว่า ‘กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา’

สุจิตต์ วงษ์เทศ ผู้ก่อตั้งนิตยสารศิลปวัฒนธรรมเชื่อว่า สิ่งนี้สะท้อนว่า คนยุคต้นกรุงฯ ยังเชื่อคติว่า กรุงเทพฯ มีบรรพบุรุษเป็น ‘ทวารวดี’ และ ‘ศรีอยุธยา’

  • เปลี่ยน ‘บวรรัตนโกสินทร์’ เป็น ‘อมรรัตนโกสินทร์’ สมัยรัชกาลที่ 4

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลงสร้อยนามกรุงเทพฯ จาก บวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ นอกนั้น คงไว้ตามเดิม

โคลงสามกรุง พระนิพนธ์ น.ม.ส. พรรณาว่า

กรุงเทพมหานครนี้     นามรบิล
อมรรัตนโกสินทร์     ต่อสร้อย
ย้ายจากฟากแผ่นดิน    ตะวันตก
ผาดผุดดุจดังย้อย    หยาดฟ้ามาดินฯ

แผนที่แม่น้ำเจ้าพระยาเขียนโดยชาวฝรั่งเศสปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17
แผนที่แสดงที่ตั้งบ้านเมือง 2 ฝั่งเจ้าพระยาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาถึงปากน้ำในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ วาดโดยชาวฝรั่งเศส
BANKOC ‘บางกอก’ ในแผนที่ฝรั่งครั้งสมเด็จพระนารายณ์
แผนที่ ‘กรุงเทพฯ’ สมัยรัชกาลที่ 3
แผนที่กรุงเทพ สมัยรัชกาลที่ 5

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่

คำว่า บวรรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนเป็น อมรรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลใด

กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยา มหาดิลก ภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถาน อมรพิมาน อวตารสถิต สักกะ ทัตติยะ วิษณุกรรมประสิทธิ์ โดยแต่เดิมนั้น ใช้คำว่าบวรรัตนโกสินทร์” แต่มาเปลี่ยนนามพระนครในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นอมรรัตนโกสินทร์” แทนค่ะ

รัชกาลใดทรงเปลี่ยนนามกรุงเทพมหานคร ที่ทรงเปลี่ยนสร้อยที่ว่า “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมรรัตนโกสนทร์

ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนชื่อพระนครจาก บวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ และมีฐานะในการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น "จังหวัดพระนคร"

ใครเปลี่ยนบวรเป็นอมร

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแก้นามพระนครเป็น “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินท์ มหินทอยุธยา” จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนคำว่า บวร เป็น อมร เปลี่ยนคำว่า มหินทอยุธยา โดยวิธีการสนธิศัพท์เป็น มหินทรายุธยา และเติมสร้อยนามต่อ ทั้งเปลี่ยนการสะกดคำ สินท์ เป็น สินทร์ จนเป็นที่มา ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้