อยุธยาเป็นราชธานีเป็นเวลากี่ปี

            นอกจากชุมชนชาวเอเชียที่ถูกกวาดต้อนมาแล้วก็ยังมีชุมชนของกลุ่มผู้ค้าขายและผู้เผยแผ่ศาสนาทั้งชาวเอเชียจากส่วนอื่นและชาวตะวันตก เช่น ชุมชนชาวฝรั่งเศสที่บ้านปลาเห็ด ปัจจุบันอยู่ทางทิศใต้นอกเกาะอยุธยาใกล้กับวัดพุทไธสวรรย์ ซึ่งภายหลังบ้านปลาเห็ตได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านเซนต์โยเซฟ หมู่บ้านญี่ปุ่นอยู่ริมแม่น้ำระหว่างหมู่บ้านชาวมอญและโรงกลั่นสุราของชาวจีน ถัดไปเป็นชุมชนชาวฮอลันดาทางใต้ของชุมชนฮอลันดาเป็นถิ่นพำนักของชาวอังกฤษ,มลายู และมอญจากพะโค นอกจากนี้ก็ยังมีชุมชนของชาวอาหรับ เปอร์เซีย และกลิงก์ (คนจากแคว้นกลิงคราฎร์จากอินเดีย)ส่วนชุมชนชาวโปรตุเกสตั้งอยู่ตรงข้ามชุมชนญี่ปุ่น ชาวโปรตุเกสส่วนใหญ่มักสมรสข้ามชาติพันธุ์กับชาวสยาม จีน และมอญ ส่วนชุมชนชาวจาม มีหลักแหล่งแถบคลองตะเคียนทางใต้ของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาเรียกว่า ปทาคูจาม มีบทบาทสำคัญด้านการค้าทางทะเล และตำแหน่งในกองทัพเรือ เรียกว่า อาษาจาม และเรียกตำแหน่งหัวหน้าว่าพระราชวังสัน

ความสัมพันธ์กับแคว้นละโว้ทางเครือญาติ โดยผ่านการแต่งงานกัน อันเป็นธรรมเนียมที่เป็นการผูกสัมพันธ์กันเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐในยุคโบราณ ที่ได้รับสืบมาจากอินเดีย

แต่เรื่องที่ยังคงเป็นประเด็นถกเถียงกันเกี่ยวกับการสถาปนากรุงศรีอยุธยานั้น นอกจากคำถามที่ว่า พระเจ้าอู่ทองเป็นใคร มาจากไหน? แล้ว ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของวันที่สถาปนาราชธานีแห่งนี้ขึ้นมา ว่าสรุปแล้ว กรุงศรีอยุธยา สถาปนาในวันเดือนปีไหนกันแน่?

เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่ากรุงศรีอยุธยานั้นสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893 โดยมีการอ้างอิงจากพระราชพงศาวดารของไทยฉบับต่างๆ ดังความที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ กล่าวไว้ว่า

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือ “พระเจ้าอู่ทอง” พระมหาหษัตริย์ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา

“ศักราช ๗๑๒ ขาลศก วัน ๖  ๕  ค่ำเพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๙ บาด แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุทธยา”

ทั้งนี้จะสังเกตว่าในพระราชพงศาวดารนั้นจะใช้ “จุลศักราช” เป็นหลัก ในขณะปัจจุบันนิยมใช้ “พุทธศักราช” แทน ซึ่งจุลศักราชนั้นจะช้ากว่าพุทธศักราชอยู่ 1,181 ปี ดังนั้นเมื่อนำจุลศักราช 712 ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ ที่นำมาอ้างอิงในข้างต้น บวกกับ 1,181 ก็จะได้เท่ากับเป็นปี พ.ศ.1893 พอดี ซึ่งก็ตรงกับข้อมูลที่หลายๆ ท่านทราบดีอยู่แล้ว

แต่ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ ซึ่งเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กลับระบุว่า ปีที่สถาปนากรุงศรีอยุธยานั้นคือปี ค.ศ. 1351 ซึ่งเมื่อแปลงเป็นพุทธศักราชแล้ว ก็จะได้ตรงกับปี พ.ศ. 1894

ตัวเลขปีที่ได้มาจากหลักฐานชิ้นนี้จึงไม่ตรงกับเอกสารพระราชพงศาวดารของฝ่ายไทย จึงทำให้เกิดข้อสงสัย เพราะคิดว่ามองสิเออร์ลาลูแบร์ไม่น่าจะระบุตัวเลขคลาดเคลื่อน เนื่องจากได้เข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยาและจดรายละเอียดเกี่ยวกับดินแดนรวมถึงผู้คนของที่นี่ไว้อย่างรอบด้าน

ในหนังสือ “ศรีรามเทพนคร รวมความเรียงว่าด้วยประวัติศาสตร์อยุธยาตอนต้น” ของอาคม  พัฒิยะ และนิธิ เอียวศรีวงศ์ พบว่าทั้ง 2 ท่านเชื่อว่าปี พ.ศ. 1894 เป็นปีที่สถาปนากรุงศรีอยุธยา ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเหตุใดทั้ง 2 ท่าน จึงไม่ใช้ศักราชตามเอกสารพระราชพงศาวดารไทย

จนในที่สุดก็ได้ข้อสมมติฐานที่น่าสนใจว่า เดิมทีชาวสยามแต่ครั้งอยุธยา ได้ถือเอาช่วงหลังวันสงกรานต์ คือวันที่ 16-17 เมษายนเป็นวันขึ้นศักราชใหม่นั่นเอง ไม่ใช่วันที่ 1 มกราคมเหมือนในปัจจุบัน

ส่วนวันขึ้นปีใหม่ในปัจจุบันนั้น ได้ตั้งขึ้นตามนโยบายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่ต้องการทำให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ความเป็นสากลในเวทีโลก เมื่อปี พ.ศ. 2483 ที่ผ่านมานี้เอง

ดังนั้นหากยึดตามการนับวันแบบอยุธยาแล้ว วันที่ 4 มีนาคม จุลศักราช 712 จึงน่าจะตรงกับ พ.ศ. 1894 มากกว่า เพราะยังไม่เข้าสู่วันสงกรานต์ที่ต้องขึ้นศักราชใหม่นั่นเอง

โดยในส่วนนี้ตรงกับความคิดเห็นของ ดร.ตรงใจ หุตางกูร นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ที่ได้อธิบายไว้ว่า

“พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐระบุวันเดือนปีแห่งการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ไว้ด้วยระบบปฏิทินจันทรคติว่า ตรงกับ “ศักราช 712 ขาลศก วันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือนห้า เวลารุ่งแล้ว 3 นาฬิกา 9 บาท แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา ที่ผ่านมา ได้มีการคำนวณปรับเทียบวันเดือนปีดังกล่าวกับระบบปฏิทินสุริยคติ จึงได้ว่า ตรงกับ “วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม จุลศักราช 712” จากนั้น จึงแปลงเลขจุลศักราชดังกล่าวเป็นเลขพุทธศักราช ด้วยการบวก 1181 เข้าไป จึงได้ว่า ตรงกับ “วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ.1893” 1 วันเดือนปีดังกล่าวจึงเป็นที่เผยแพร่กันโดยทั่วไปอย่างไรก็ตาม วันสถาปนากรุงศรีอยุธยาดังกล่าวมี “จุดลักลั่นทางปฏิทิน” อยู่ 2 จุด คือ “เลขวันที่” กับ “เลขพุทธศักราช” เพราะที่ถูกต้องตรงตาม “ปฏิทินไทยสากล” ซึ่งขึ้นปีใหม่วันที่ 1 มกราคม ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ต้องตรงกับ “วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 1894”

ภาพวาด ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสจากราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ผู้เข้ามาเจริญไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์

ดังนั้นนี่จึงอาจเป็นคำอธิบายว่าเหตุใดมองสิเออร์ลาลูแบร์ จึงได้ระบุปีที่สถาปนากรุงศรีอุธยาว่าตรงกับปี พ.ศ. 1894 คงเพราะบุคคลท่านนี้ได้เดินทางมาจากโลกตะวันตกซึ่งมีการนับการขึ้นศักราชใหม่ในวันที่ 1 มกราคม ดังนั้นปีศักราชใหม่ของโลกตะวันตกจึงเร็วกว่าของไทยอยู่ประมาณ 3-4 เดือนนั่นเอง

แต่หากยึดตามบริบทปัจจุบันที่ประเทศไทยได้เข้าสู่ความเป็นอารยะสากลในเวทีโลกในการนับวันเวลามาตั้งแต่ช่วงทศวรรรษ 2480 โดยถือเอาวันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นศักราชใหม่ จึงควรนับว่าวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 1894 เป็นวันสถาปนากรุงศรีอยุธยาด้วยเช่นกัน

สมัยอยุธยาอยู่ในช่วงเวลาใด

อาณาจักรอยุธยา
• 2231–2310
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ยุคประวัติศาสตร์
สมัยกลางและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
• สถาปนา
พ.ศ. 1893
• รัฐร่วมประมุขกับอาณาจักรสุโขทัย
พ.ศ. 2011
อาณาจักรอยุธยา - วิกิพีเดียth.wikipedia.org › wiki › อาณาจักรอยุธยาnull

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเมื่อใด

จดหมายเหตุโหรระบุว่าพระเจ้าอู่ทองรามาธิบดีเสด็จพระราชสมภพวันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จ.ศ. 676 (ตรงกับวันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 1857) ได้ทรงสถาปนาเมืองหลวงขึ้นในบริเวณที่หนองโสนเมื่อ จ.ศ. 712 ปีขาล โทศก วันศุกร์ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 เวลา 3 นาฬิกา 9 บาท ตรงกับวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893 หรือ 12 มีนาคม พ.ศ. 1894 ...

อยุธยามีนามราชธานีว่าอะไร

3 เม.ย.1893 668 ปี สถาปนาราชธานี อโยธยาศรีรามเทพนคร!

อยุธยารุ่งเรืองที่สุดในสมัยของใคร

อย่างที่ออเจ้าได้เห็นกันในละคร “บุพเพสันนิวาส” หรือได้เรียนมาในวิชาประวัติศาสตร์ว่า สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นยุคทองแห่งการค้าและการทูตของกรุงศรีอยุธยา มีต่างชาติเข้ามาค้าขาย จนอโยธยาติดอันดับเมืองท่าสำคัญของเอเชีย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้