ช่วงเวลาใดที่เกิดอนุภาคมูลฐาน

v กำเนิดเอกภพ

      ในปัจจุบันยังไม่มีใครทราบจุดกำเนิดของเอกภพได้อย่างแน่ชัด แต่นักเอกภพวิทยาได้เสนอทฤษฎีจำนวนมากเพื่ออธิบายจุดกำเนิดของเอกภพ ในหัวข้อนี้เราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการกำเนิดเอกภพซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ทฤษฎีนี้ชื่อว่า บิกแบง (Big Bang) เป็นจุดเริ่มต้นของเอกภพและเวลา

     ทฤษฎีบิกแบงอธิบายว่าเอกภพเริ่มจากพลังงานเปลี่ยนเป็นสสาร จากขนาดเล็กเป็นขนาดใหญ่ จากอุณหภูมิสูงเป็นอุณหภูมิต่ำ ซึ่งเปรียบดังการระเบิดของจุดเล็ก ๆ ที่มีอุณหภูมิสูงอย่างมหาศาลสสารที่เกิดขึ้นครั้งแรกเป็นอนุภาคมูลฐานชนิดต่าง ๆจากนั้นอนุภาคเหล่านี้จึงรวมตัวกันกลายเป็นอะตอมของไฮโดรเจนและฮีเลียมซึ่งมีวิวัฒนาการต่อเนื่องจนเกิดเป็นกาแล็คซี เนบิวลา ดาวฤกษ์ ระบบสุริยะ โลก ดวงจันทร์ มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ

   เมื่อเกิดบิกแบงขึ้นเอกภพจะขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีสสารเกิดขึ้นในรูปอนุภาคมูลฐานในกลุ่มควาร์ก (Quark) และอนุภาคในกลุ่มเลปตอน (Lepton)อิเล็คตรอน (Electron) และนิวทริโน (Neutrino) พร้อมกับเกิดปฏิอนุภาค (Antiparticle) ของอนุภาคเหล่านั้นซึ่งปฏิอนุภาคคืออนุภาคชนิดหนึ่งที่มีสมบัติอื่นเหมือนอนุภาคที่เป็นคู่แต่มีประจุไฟฟ้าตรงข้าม ส่วนพลังงานที่ยังไม่เปลี่ยนเป็นสสารจะอยู่ในรูปของโฟตอน เมื่ออนุภาคและปฏิอนุภาคที่เป็นคู่กันเดินทางพบกันจะกลายเป็นพลังงานโดยการประลัย (Annihilation) เอกภพจึงอยู่ในสภาพที่เป็นของผสม (บางทีเรียกกันว่าเป็น “ซุปร้อน ๆ”) ของอนุภาคและปฏิอนุภาคดังกล่าว หากอนุภาคและปฏิอนุภาคมีจำนวนเท่ากันคงไม่มีอนุภาคเหลือที่จะรวมกันเป็นอนุภาคโปรตอน และนิวตรอน แต่ในธรรมชาติมีอนุภาคมากกว่าปฏิอนุภาคจึงเหลืออนุภาคมูลฐานที่ประกอบกันขึ้นเป็นสสารในเอกภพ

     ควาร์กคืออนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่านิวเครียสของอะตอม มีอยู่ 6 ชนิด ได้แก่ อัพ (up) หรือบน ดาว์น (down) หรือล่าง ชาร์ม (charm) สเตรนจ์ (strange) ท็อป (top) และบ็อทท็อม (bottom)

     หลังบิกแบงประมาณ 10-6 วินาที อุณหภูมิของเอกภพลดลงเหลือประมาณสิบล้านล้านเคลวินทำให้ ควาร์กเกิดการรวมตัวกันกลายเป็นนิวเคลียสของไฮโดรเจน (หรือโปรตอน) และนิวตรอน

     หลังบิกแบงประมาณ 3 นาที อุณหภูมิของเอกภพลดลงเหลือประมาณร้อยล้านเคลวิน มีผลให้โปรตอนและนิวตรอนเกิดการรวมตัวเป็นนิวเคลียสของฮีเลียม

     หลังบิกแบงประมาณ 300,000 ปี อุณหภูมิลดลงเหลือประมาณ 10,000 เคลวินนิวเคลียสของไฮโดรเจนดึงอิเล็คตรอน 1อนภาค เข้ามาอยู่ในวงจรเกิดเป็นอะตอมไฮโดรเจนและนิวเคลียสฮีเลียม ดึงอิเล็คตรอน 2 อนุภาค เข้ามาอยู่ในวงโคจรเกิดเป็นอะตอมของฮีเลียม เอกภพไม่มีอิเล็คตรอนอิสระจึงไม่เป็นซุปอีกต่อไป แต่โปร่งแสงและแผ่รังสีคล้ายวัตถุดำที่มีอุณหภูมิประมาณ 10,000 เคลวิน

     หลังบิกแบงประมาณ 1,000 ล้านปี เกิดกาเล็คซีที่มีธาตุไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นสารเบื้องต้นซึ่งใช้ก่อกำเนิดเป็นดาวฤกษ์รุ่นแรก ส่วนธาตุต่าง ๆ ที่มวลมากกว่าฮีเลียมนั้นจะเกิดจากกระบวนการวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ขนาดใหญ่

      มีข้อสังเกตใดหรือประจักษ์พยานใดที่สนับสนุนทฤษฎีบิกแบง

มีปรากฏการณ์ทางเอกภพวิทยาอย่างน้อย 2 ประการที่สนับสนุนทฤษฎีบิกแบง ปรากฏการณ์นั้นได้แก่ การขยายตัวของเอกภพ และการพบคลื่นไมโครเวฟพื้นหลังจักรวาล (Cosmic Microwave Background; CMB) ซึ่งสอดคล้องกับอุณหภูมิเฉลี่ยของอวกาศคือ 2.73 เคลวิน

      ข้อสังเกตประการที่ 1 การขยายตัวของเอกภพ

เอ็ดวิน พาวเวลล์ ฮับเบิล (Edwin Powell Hubble, ค.ศ. 1889 - 1953) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันคนแรกที่ค้นพบว่าเอกภพไม่ได้มีสภาพหยุดนิ่ง แต่กำลังขยายตัวอยู่ในปัจจุบัน

ฮับเบิลทราบได้อย่างไรว่าเอกภพกำลังขยายตัว

ในค.ศ. 1920 เอ็ดวิน ฮับเบิล ได้ข้อมูลจากการสังเกตกาเล็คซีต่าง ๆ  จำนวนมากและพบว่ากาเล็คซีเหล่านั้นเกิดปรากฏการณ์เลื่อนทางแดง (Redshift) ของเส้นสเปกตรัม จากความรู้ฟิสิกส์พื้นฐานนักดาราศาสตร์รู้ดีว่า เมื่อพบปรากฏการณ์เลื่อนทางแดงของวัตถุท้องฟ้าใด แสดงว่าวัตถุบนท้องฟ้านั้นกำลังเคลื่อนที่ถอยห่างจากผู้สังเกตบนโลก ฮับเบิลได้วิเคราะห์ข้อมูลการเลื่อนทางแดงของกาเล็คซีทำให้ทราบความเร็วถอยห่างของกาเล็คซี ในขณะเดียวกันก็วัดระยะห่างของกาเล็คซีด้วย

      แนวความคิดเบื้องต้นของบิกแบง

แนวคิดเบื้องต้นของบิกแบงเกิดจากการค้นพบว่าเอกภพกำลังขยายตัวอยู่ในปัจจุบันตามกฎของฮับเบิล นักดาราศาสตร์และนักเอกภพวิทยาจึงมีความเชื่อว่าในปัจจุบันเอกภพกำลังขยายตัวอยู่แสดงว่าเอกภพในอดีตจะต้องมีขนาดเล็กกว่าในปัจจุบัน รวมทั้งความหนแน่นเฉลี่ยของสสารทั้งหมดในเอกภพในอดีตจะต้องมีค่ามากกว่าความหนาแน่นเฉลี่ยในปัจจุบันด้วยเช่นกัน ดังนั้น ณ จุดเริ่มต้นเอกภพควรมีขนาดเล็กเป็นจุด (Infinitesimal) และมีความหนาแน่นเฉลี่ยมหาศาล ซึ่งเอกภพ ณ จุดกำเนิดนี้จะมีอุณหภูมิสูงมาก เงื่อนไขทั้งหมดมีความคล้ายคลึงกับสถานการณ์ของการระเบิด นักเอกภพวิทยาจึงเรียกสถานการณ์ ณ จุดกำเนิดของเอกภพนี้ว่าการระเบิดใหญ่หรือบิกแบงและให้บิกแบงเป็นจุเริ่มต้นของเอกภพ

      ข้อสังเกตประการที่ 2 การค้นพบคลื่นไมโครเวฟพื้นหลังอวกาศ ซึ่งสอดคล้องกับอุณหภูมิเฉลี่ยของอวกาศคือ 2.73 เคลวิน

การค้นพบคลื่นไมโครเวฟพื้นหลังอวกาศ เป็นการค้นพบโดยบังเอิญโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน คือ อาร์โน เพนเซียส และรอเบิร์ต วิลสัน ซึ่งประจำอยู่ที่ห้องปฏิบัติการโทรศัพท์เบลล์ ในปี ค.ศ. 1965 ขณะนั้นนักวิทยาศาสตร์ทั้งสองได้ทดสอบระบบเครื่องรับสัญญาณของกล้องโทรทรรศน์วิทยุ แต่ปรากฏว่ามีสัญญาณรบกวนสัญญาณวิทยุในช่วงของคลื่นไมโครเวฟตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน หรือในฤดูต่าง ๆ ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนทิศทางของเสาอากาศไปทางใดก็ยังมีสัญญาณรบกวนอยู่เช่นเดิม พวกเขาเขาทั้งสองจึงประหลาดใจและได้รายงานผลการสังเกตนี้ต่อที่ประชุมทางวิชาการ ต่อมาจึงทราบภายหลังว่าสัญญาณรบกวนที่ตรวจพบนั้นเป็นสัญญาณรบกวนที่มาจากอวกาศ ซึ่งมีสเปกตรัมคล้ายกับสเปกตรัมการแผ่รังสีของวัตถุดำ (Blackbody Radiation) ที่มีอุณหภูมิ 2.73 เคลวิน ในช่วงความยาวคลื่นประมาณ 1.9 มิลลิเมตร

ในช่วงเวลาเดียวกัน นั้น รอเบิร์ต คิก พี.เจ.อี.พีเบิลส์ เดวิด วิล คินสัน แห่งมหาลัยปรินซ์ตัน ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำนายว่า ถ้าเอกภพมีจุดกำเนิดมาจากบิกแบงแล้วจะต้องพบการแผ่รังสีที่เหลือในอวกาศจากเอกภพที่มีอุณหภูมิประมาณ 10,000 เคลวิล ซึ่งเป็นอุณหภูมิขณะที่เอกภพโปร่งแสงและประกอบด้วยอะตอมไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นส่วนใหญ่ ขณะนั้นเอกภพจะแผ่พลังงานออกมาในรูบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงมาก จากนั้นเมื่อเวลาผ่านไปการแผ่รังสีของเอกภพนี้ก็จะมีความถี่ลดลงเหลือเป็นคลื่นไมโครเวฟในช่วงความถี่ประมาณ 160 กิโลเฮิรตซ์

เพื่อเป็นการยืนการค้นพบของ อาร์โน เพนเซียส และรอเบิร์ต วิลสัน นักวิทยาศาสตร์ได้ส่งดาวเทียมสำรวจอวกาศที่มีชื่อว่า โคบี (Cosmic Background Explorer, COBE) ขึ้นไปในอวกาศเมื่อตรวจสอบคลื่นไมโครเวฟในอวกาศนี้อีกครั้งใน ค.ศ. 1989 ผลการสำรวจของดาวเทียมโคบี พบว่าคลื่นไมโครเวฟพื้นหลังนี้มีการกระจายตัวสม่ำเสมอในทุกทิศทางจากอวกาศ และสอดคล้องกับการแผ่รังสีของวัตถุดำที่มีอุณหภูมิ 2.73 เคลวิล หรือพบคลื่นในช่วงความถี่ 160 กิโลเฮิรตซ์ สอดคล้องเป็นอย่างยิ่งกับการกำเนิดเอกภพตามทฤษฎีบิกแบง นักดาราศาสตร์และนักเอกภพวิทยาจึงสรุปว่าคลื่นไมโครเวฟพื้นหลังจากอวกาศนี้จากการแผ่พลังงานที่เหลือหลังบิกแบงประมาณ 300,000 ปี ดังนั้นคลื่นไมโครเวฟพื้นหลังจากอวกาศนี้จึงเป็นหลักฐานที่ยืนยันทฤษฎีบิกแบง

โฟตอนเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดของบิกแบง

ขณะเกิดบิกแบง ในช่วงเวลา 10 - 43 - 10 - 32 วินาที อุณหภูมิสูงกว่า 10 32 เคลวิน เกิดสารเกิดขึ้นในรูปของอนุภาคมูลฐาน (elementary particle) ได้แก่ ควาร์(Quark) อิเล็กตรอน(Electron) นิวทริโน(Neutrino) และโฟตอน(Photon)

โปรตอนและนิวตรอนเริ่มเกิดขึ้นในระยะเวลาใด

หลังบิกแบงเพียง 10-6วินาที อุณหภูมิของเอกภพลดลงเป็นสิบล้านล้านเคลวิน ทำให้ควาร์กเกิดการรวมตัวกันเป็นโปรตอน (นิวเคลียสของไฮโดรเจน)และนิวตรอน หลังบิกแบง 3 นาที อุณหภูมิของเอกภพลดลงเป็นร้อยล้านเคลวิน มีผลให้โปรตรตอนและนิวตรอนเกิดการรวมตัวเป็นนิวเคลียสของฮีเลียม ในช่วงแรกๆนี้เอกภพขยายตัวอย่างเร็วมาก

กาแล็กซีแรกเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด หลังจากเกิดบิกแบง

ช่วงเวลาประมาณ 1,000 ล้านปีหลังบิกแบง ☞ อุณหภูมิลดลงเหลือประมาณ 100 เคลวิน ☞ อะตอมของธาตุไฮโดรเจนและฮีเลียมรวมตัวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เกิดเป็น เนบิวลารุ่นแรกที่ก่อ าเนิดเป็นดาวฤกษ์และกาแล็กซีรุ่นแรก

อะตอมของไฮโดรเจนเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด

หลังบิกแบง 300,000 ปี อุณหภูมิลดลงเหลือ 10,000 เคลวิน นิวเคลียสของไฮโดรเจนและฮีเลียมดึงอิเล็กตรอนเข้ามาอยู่ในวงโคจร เกิดเป็นอะตอมไฮโดรเจนและฮีเลียมตามลำดับ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้