เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 3 หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินกี่บาท

เงินได้พึงประเมินแต่ละกรณีจะคำนวณหักค่าใช้จ่ายได้เท่าใด?

ค่าใช้จ่ายเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคำนวณภาษี ถือเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับหักเป็นต้นทุนในการทำงาน เพื่อให้ได้เงินได้หรือรายได้สุทธินั้นมาคิดภาษีตามบัญชีอัตราภาษี โดยมีอัตราการหักค่าใช้จ่ายมากหรือน้อยตามแต่ละประเภทของเงินได้ สรุปได้ดังนี้

ประเภทเงินได้

หักค่าใช้จ่าย

1. เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยง

50% ไม่เกิน 100,000 บาท
หากมีเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 ให้นำเงินได้ทั้ง 2 ประเภท
รวมกันแต่หักได้ไม่เกิน 100,000 บาท

2. เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ฯลฯ
3. ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น

50% ไม่เกิน 100,000 บาท หรือตามจริง

4. ดอกเบี้ย เงินปันผล ส่วนแบ่งกำไร ฯลฯ

หักค่าใช้จ่ายไม่ได้

5. รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อ การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน
    - บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง แพ
    - ที่ดินที่ใช้ในการเกษตร
    - ที่ดินที่มิได้ใช้ในการเกษตร
    - ยานพาหนะ
    - ทรัพย์สินอื่น


ตามจริงหรืออัตราเหมา
30%
20%
15%
30%
10%

6. วิชาชีพอิสระ
    - ประกอบโรคศิลปะ
    - กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม

ตามจริงหรืออัตราเหมา
60%
30%

7. รับเหมาก่อสร้าง

ตามจริงหรืออัตราเหมา 60%

8. รายได้อื่น นอกเหนือจาก 1-7 *

ตามจริงหรืออัตราเหมา 40% และ 60%

* ตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 629) พ.ศ.2560

คำถาม – ถามบ่อย ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2561

Untitled Document

คำถาม – ถามบ่อย ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2561

1. ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94


Q1 : ใครมีหน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94
A1 :

ผู้มีเงินได้

มีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร (ม.ค. – มิ.ย.)

ผู้ยื่นแบบฯ

1. ผู้ที่เป็นโสด 

เกิน 60,000

ผู้มีเงินได้

2. ผู้ที่มีคู่สมรส ที่มีเงินได้ฝ่ายเดียว หรือทั้งสองฝ่ายรวมกัน 

เกิน 120,000

ผู้มีเงินได้

3. กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง 

เกิน 60,000

ผู้จัดการมรดก/ทายาท/
ผู้ครอบครองทรัพย์มรดก

4. ห้างหุ้นส่วนสามัญ 

เกิน 60,000

ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการของห้างหุ้นส่วนสามัญ

5. คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล 

เกิน 60,000

ผู้จัดการของคณะบุคคล

Q2 : วิสาหกิจชุมชนต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A2 : วิสาหกิจชุมชนมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ (แบบ ภ.ง.ด.94/90)

Q3 : ผู้มีเงินได้อายุ 65 ปี สามารถใช้สิทธิยกเว้นผู้สูงอายุ 190,000 บาท ได้หรือไม่
A3 : ผู้มีเงินได้มีอายุ 65 ปี ในปีภาษี สามารถใช้สิทธิยกเว้นเงินได้จำนวน 190,000 บาทได้ โดยกรอก รายการยกเว้นเงินได้จำนวน 190,000 บาท ในใบแสดงสิทธิการได้รับยกเว้นเงินได้ฯ ใช้สำหรับยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 และยกยอดที่เหลือ (จำนวนเงินหลังจากหักเงินได้ยกเว้นแล้ว) ไปแสดงในแบบ ภ.ง.ด.94


Q4� :�� ทำไมต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ครึ่งปี
A4� :�� เป็นการบรรเทาภาระภาษี หากไม่มีการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ภ.ง.ด.94 จะต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและชำระภาษีเป็นเงินจำนวนมาก ทำให้เป็นภาระสำหรับผู้มีเงินได้

Q5� :�� เงินได้ประเภทใดบ้างต้องนำมายื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ปีภาษี 2561
A5� :�� เงินได้ตามมาตรา 40 (5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร โดยนำเงินได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561-30 มิถุนายน 2561 มายื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ปีภาษี 2561 โดยสามารถยื่นแบบได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561-30 กันยายน 2561


40(5) หมายถึง เงินได้จากการให้เช่า

40(6) หมายถึง เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ได้แก่ประกอบโรคศิลป์, บัญชี, วิศวกรรม, ทนายความ, ประณีตศิลป์, สถาปัตยกรรม โดยส่วนมากจะมีใบประกอบวิชาชีพที่ได้รับการรับรอง
40(7) หมายถึง เงินได้จากการรับเหมา ออกวัสดุส่วนประกอบสำคัญ นอกเหนือจากอุปกรณ์สัมภาระที่มี
40(8) หมายถึง เงินได้จากการพาณิชย์ หรือประเภทอื่นที่ไม่เข้า เงินได้ 40(1)-40(7)

Q6� :�� สามีมีเงินได้ค่าเช่า ภริยามีเงินได้จากการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ภริยาจะต้องนำเงินได้ไปรวมยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 กับสามีหรือไม่
A6� :�� การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ของภริยา สามารถยื่นแบบรวมคำนวณภาษีกับสามี หรือ แยกยื่นแบบในนามของภริยาได

Q7� :�� คนพิการมีอายุ 67 ปี มีเงินได้จากการให้เช่าบ้าน ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A7� :�� หากคนพิการมีเงินได้ค่าเช่า ที่ได้รับระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน ในปี 2561 ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด คนพิการมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94

Q8 :������������ คนโสด มีเงินได้จากเงินปันผลจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A8� :�� ไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 เนื่องจากเงินปันผลเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร

Q9� :�� พระสงฆ์ มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94หรือไม่
A9� :�� หากพระสงฆ์มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)(6)(7)(8) ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94

Q10��� :�������� สามีภริยา มีเงินได้ร่วมกันจากการขายของ ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 อย่างไร
A10 :�� ในกรณีที่ไม่อาจแยกได้อย่างชัดเจนว่าเป็นของสามีหรือภริยาแต่ละฝ่ายจำนวนเท่าใด ให้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของสามีและภริยาฝ่ายละกึ่งหนึ่ง กรณีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร สามีและภริยาจะแบ่งเงินได้พึงประเมินเป็นของแต่ละฝ่ายตามส่วนที่ตกลงกันก็ได้ แต่รวมกันต้องไม่น้อยกว่าเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของสามีและภริยาฝ่ายละกึ่งหนึ่ง การยื่นแบบให้ต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของตนเอง หรือตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน

Q11��� :�������� เงินได้ที่ได้รับจากสามี (ไม่ได้จดทะเบียนสมรส) โดยเป็นแม่บ้าน อยู่บ้านเฉยๆ ถ้ามีเงินได้แต่ละเดือนเกิน 100,000 บาท ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A11 :�� เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42(28) แห่งประมวลรัษฎากร

Q12�� :�� ปัจจุบันไม่ได้ขายของแล้ว มีการเลิกขายตั้งแต่ปีก่อน จะต้องยื่นแบบหรือไม่
A12�� :�� หากไม่มีเงินได้ประเภท 40(5)-(8) เลยในปีภาษี และมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ ไม่ต้องยื่นแบบ แต่หากมีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำยังคงมีหน้าที่ยื่นแบบ

Q13� :�� ชาวต่างชาติต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A13�� :�� กรณีชาวต่างชาติมีเงินได้ 40(5) – (8) แห่งประมวลรัษฎากร และได้รับเงินได้ดังกล่าวตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร


2. ประเภทเงินได้และการคำนวณภาษี

Q1 : นาย ก. เปิดร้านขายของชำ (ซื้อมาขายไป) ต้องเสียภาษีหรือยื่นแบบฯอย่างไร
A1 : บุคคลธรรมดามีเงินได้จากการขายของชำ ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) ในการคำนวณภาษีเงินได้ ให้หักค่าใช้จ่ายเหมาได้ร้อยละ 60 หรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร (หักค่าใช้จ่ายจริง) หากมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ยื่นแบบฯปีละ 2 ครั้ง ด้วยแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนกันยายน และยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

Q2 : นาย ข. ได้รับรางวัลจากการชิงโชค โดยได้รับรางวัลเป็นรถยนต์มูลค่าจำนวน 1 ล้านบาท เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2561 บริษัทผู้จ่ายเงินได้มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้วร้อยละ 5 อยากทราบว่า นาย ข. ยังคงต้องนำรางวัลที่ได้รับมายื่นแบบแสดงรายการอีกหรือไม่
A2 : เงินรางวัลที่ นาย ข. ได้รับถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) และได้รับเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2561
จึงต้องนำเงินได้ดังกล่าวมายื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนกันยายน 2561 และต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปยื่นแบบฯ อีกครั้งในแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

Q3 : มารดาเขียนชื่อเด็กหญิง ฟ้า อายุ 5 ขวบ เพื่อชิงโชค และได้รับรางวัลเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2561 เป็นตั๋วเครื่องบินมูลค่า 100,000 บาท ได้ถูกบริษัทหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว เด็กหญิงฟ้าต้องเสียภาษีเงินได้หรือไม่
A3 : เด็กหญิงฟ้า ถือว่าเป็นผู้มีเงินได้ ต้องนำรางวัลที่ได้รับไปยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนกันยายน 2561 และต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปยื่นแบบฯ อีกครั้งในแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือนมีนาคม ของปีถัดไป โดยในการยื่นแบบฯให้เป็นหน้าที่ของผู้แทนโดยชอบธรรม

Q4 : นางสาว ง. เปิดร้านขายอาหารริมถนน เมื่อเดือน เมษายน 2561 ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A4 : เงินได้จากการขายอาหารเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) หาก นางสาว ง. มีเงินได้เกิน 60,000 บาท (ระหว่างเดือนมกราคม ถึง มิถุนายน) มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนกันยายน 2561

Q5 : นาย ค. ถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล รางวัลที่ 1 ได้รับเงินจำนวน 2 ล้านบาท เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A5 : รางวัลสลากกินแบ่งของรัฐบาล ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42(11) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ต้องนำมายื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94

Q6 : นาย ช. ถูกรางวัลสลากบำรุงกาชาดไทย ได้รับรถยนต์มูลค่า 800,000 บาท เมื่อเดือนเมษายน 2561 ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A6 : รางวัลจากสลากบำรุงกาชาดไทย ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42(18) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94

Q7 : นาย ฌ. ได้รับค่าที่ปรึกษาจากบริษัท เดือนละ 50,000 บาท จะต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A7 : เงินได้ค่าที่ปรึกษา ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) จึงไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94

Q8 : มีเงินได้จากเงินเดือนอย่างเดียว ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A8 : หากมีเงินได้จากเงินเดือนอย่างเดียว ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94

Q9 : Mr. A มิได้อยู่ในประเทศไทย แต่มีรายได้จากการให้เช่าคอนโด เดือนละ 80,000 บาท จะต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A9 : Mr. A มีเงินได้จากการให้เช่าเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(5) และมีเงินได้ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนมิถุนายน 2561 รวมจำนวน 480,000 บาท จึงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนกันยายน 2561

Q10 : ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หากจะหักค่าใช้จ่ายจริง แต่มีใบเสร็จรับเงินที่ได้จ่ายเพียงบางส่วนจะต้องทำอย่างไร
A10 : สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายเหมาได้ร้อยละ 60 ของเงินได้พึงประเมิน

Q11� : หากได้รับส่วนแบ่งกำไรจาก LTF ในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน จะต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A11 : เงินส่วนแบ่งกำไรจาก LTF เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) หากถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ร้อยละ 10 แล้ว สามารถเลือกได้ว่าจะนำมารวมคำนวณหรือไม่ก็ได้

Q12� : บุคคลธรรมดาได้ขายหน่วยลงทุน RMF/LTF ที่เป็นไปตามเงื่อนไข ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมายื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A12 : ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการขาย RMF/LTF ที่เป็นไปตามเงื่อนไข ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 2(65) และ (67) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ให้นำมารวมเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยเนื่องจากเป็นการยกเว้นแบบมีเงื่อนไข ดังนั้น หากมีเงินได้ตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน ต้องนำไปแสดงในแบบแสดงรายการภาษีด้วย โดยการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ให้กรอกรายการเงินได้พึงประเมินที่ ข้อ 5. หรือ ข้อ 6. ย่อย เลือก ยกเว้น

Q13� : เมื่อยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 เรียบร้อยแล้ว จะต้องนำเงินได้ของเดือนมกราคม – มิถุนายน ไปยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ตอนสิ้นปี อีกหรือไม่
A13 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ต้องนำเงินได้ทั้งปีตั้งแต่เดือนมกราคม – ธันวาคม มาคำนวณเพื่อเสียภาษี

Q14� : กรณีมีเงินได้จากค่าเช่ารับล่วงหน้า และได้ยื่นแแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.93 ไว้แล้ว ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 อีกหรือไม่
A14� : เงินได้ค่าเช่าที่ได้รับล่วงหน้า เข้าลักษณะเป็นเงินได้หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน ตามมาตรา 40(5) ดังนั้น หากเงินได้ดังกล่าวได้รับตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน ผู้มีเงินได้ มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

Q15� : หากได้รับเงินได้ตามมาตรา 40(5) - (8) แต่ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ไว้ สามารถนำไปรวมเพื่อยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ครั้งเดียวเลยได้หรือไม่
A15� : ไม่ได้� เนื่องจากกรณีมีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(5) - (8) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องนำเงินได้ระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนกันยายนของทุกปีภาษี ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และนำเงินได้ระหว่างเดือนมกราคม - ธันวาคม ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือนมกราคม - มีนาคม ของปีถัดจากปีภาษี ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร

Q16� : หากมีเงินได้เงินเดือน และจากการขายสินค้าออนไลน์ ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 อย่างไร
A16 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 โดยนำเฉพาะเงินได้จากการขายสินค้าออนไลน์ ตามมาตรา 40(8) ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน มายื่นแบบ

Q17� : มีเงินได้ 40(8) สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้หรือไม่� หากประเภทกิจการไม่ได้กำหนดไว้ตาม� พระราชกฤษฎีกา เช่น เงินได้จากการเปิดร้านซ่อมรถจักรยานยนต์
A17 : ไม่ได้� เนื่องจากการหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาต้องหักตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ถ้าไม่มีอัตราให้หักเหมา ต้องหักเป็นตามจริงและสมควร โดยต้องมีเอกสารหลักฐานเพื่อพิสูจน์ผู้รับได้ จึงจะสามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้

Q18� : ปีภาษี 2559 ที่ผ่านมายื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 โดยเลือกหักค่าใช้จ่ายอัตราเหมาไว้ ปีภาษี 2561 สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริงได้หรือไม่
A18 : ได้

Q19� : การคำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมินในอัตราร้อยละ 0.5 จะต้องนำไปหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนก่อนหรือไม่
A19� : ให้นำเงินได้พึงประเมินที่ได้รับก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน คูณด้วยอัตราร้อยละ 0.5

Q20� : นายเดวิน� น้อยนิด� เจ้าของบ้านมีบ้านให้ผู้อื่นเช่า แต่ลูกชายของนายเดวิน เป็นผู้เก็บเงินค่าเช่า เสียภาษี� แทนได้หรือไม่ และใครเป็นผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
A10 � : ถือว่านายเดวิน น้อยนิด เป็นผู้มีเงินได้และมีหน้าที่ต้องนำเงินได้ไปยื่นแบบแสดงรายการ

Q21� : นายเอก ชมบุญ มีเงินได้ เช่น รับเหมาก่อสร้าง รับจ้างทาสี เมื่อจะยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 94 จะต้องแสดงเงินได้เป็นเงินได้มาตรา 40 (7) หรือ มาตรา 40(8)
A21�� : นายเอก ชมบุญ ต้องนำเงินได้จากการรับเหมาก่อสร้าง ไปยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 โดยแสดงเป็นเงินได้ ตามมาตรา 40(7)


3. การหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94

Q1 : ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนส่วนตัวได้จำนวนเท่าใด
A1 : ผู้มีเงินได้จะหักค่าลดหย่อนส่วนตัวได้จำนวน 30,000 บาท

Q2 : ห้างหุ้นส่วนสามัญหักลดหย่อนผู้มีเงินได้จำนวนเท่าใด
A2 : กรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคลหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้ลดหย่อน จำนวน 30,000 บาท หรือ 60,000 บาท ตามกรณีดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่อยู่ในประเทศไทยเพียงคนเดียว ให้หักลดหย่อนจำนวน 30,000 บาท
(2) กรณีที่อยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 2 คนขั้นไป ให้หักลดหย่อนจำนวน 60,000 บาท

Q3 : นาย ก. มีเงินได้จากการขายของเบ็ดเตล็ด ได้สมรสกับ นางสาว ข. เมื่อวันที่ 14 ก.พ.2561 แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส หากยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 จะหักลดหย่อนคู่สมรสได้หรือไม่
A3 : หากยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ให้เลือกสถานภาพโสด และไม่สามารถหักลดหย่อนคู่สมรส

Q4 : นาย พ. มีเงินได้การขายอาหาร จดทะเบียนสมรส โดยคู่สมรสมีเงินได้เฉพาะเงินเดือนเท่านั้น หากยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 จะหักลดหย่อนคู่สมรสได้หรือไม่
A4 : กรณีคู่สมรสมีเงินได้เฉพาะมาตรา 40 (1) - (4) เท่านั้น สามารถหักค่าลดหย่อนของคู่สมรส
ได้จำนวน 30,000 บาท

Q5 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 จะหักลดหย่อนบุตรได้จำนวนเท่าไร
A5 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ให้หักลดหย่อนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายได้คนละ 15,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร การหักลดหย่อนบุตรให้หักได้เฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปีและ
ยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษา

Q6 : นาง ช. มีเงินได้จากการเปิดร้านตัดเย็บเสื้อผ้า ได้คลอดบุตรเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2561
ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 จะสามารถหักลดหย่อนได้หรือไม่

A6 : สามารถหักลดหย่อนบุตรได้จำนวน 15,000 บาท การหักลดหย่อนสำหรับบุตรดังกล่าว ให้หัก
ได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่

Q7 : นาย ท. หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้จำนวนเท่าใด
A7 : สามารถหักลดหย่อนบิดามารดา ได้คนละ 15,000 บาท
โดยบิดามารดา ต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่ต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนเกิน 30,000 บาทขึ้นไป

Q8 : นาย ส. เป็นบุตรบุญธรรมของบิดา จะหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดาได้หรือไม่
A8 : หักลดหย่อน ไม่ได้


Q9 : คู่สมรสไม่มีเงินได้ จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิต สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสมาหักลดหย่อน ได้หรือไม่
A9 : หากความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ไม่สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรส มาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษี

Q10 : ค่าเบี้ยประกันชีวิตจะหักค่าลดหย่อนได้จำนวนเท่าไร
A10 : ผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง สำหรับส่วนที่ไม่เกิน
10,000 บาท หักได้เพียงครึ่งหนึ่งตามที่จ่ายไปจริงในเดือนมกราคมถึงมิถุนายน แต่ไม่เกิน 5,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท ให้ได้รับยกเว้นอีกไม่เกิน 90,000 บาท
ตัวอย่าง นาย ก. จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิติเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2561 จำนวน 37,000 บาท ดังนั้น เมื่อนาย ก. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สามารถหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันชีวิตได้จำนวน 32,000 บาท (ส่วนแรก 10,000 บาท หักลดหย่อนได้เพียงครึ่งหนึ่งคือ 5,000 บาท และส่วนที่เกิน 10,000 บาท อีกจำนวน 27,000 บาท รวมเป็น 5,000 + 27,000 = 32,000 บาท)

Q11 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 จะหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้จำนวนเท่าไร
A11 : การลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม กรณียื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ให้หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายไปจริงในระหว่างเดือนมกราคม ถึง มิถุนายนดังนี้
1. ส่วนที่จ่ายไปไม่เกิน 10,000 บาท หักลดหย่อนได้เพียงครึ่งหนึ่งไม่เกิน 5,000 บาท
2. สำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาท ให้หักได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 90,000 บาท

Q12 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 จะหักลดหย่อนเงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ได้หรือไม่

A12 : ไม่ได้ เนื่องจากการหักลดหย่อนเงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ใช้สำหรับเงินได้
ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งคำนวณภาษีเงินได้ประจำปีเท่านั้น

Q13 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 จะใช้สิทธิยกเว้นเงินได้ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาได้หรือไม่
A13 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้ที่จ่ายค่าเบี้ยประกันสุขภาพให้บิดามารดาของตนเอง และบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท

Q14� : นายสำราญ ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 มีเงินได้ค่าเช่า สามารถหักลดหย่อนคู่สมรสที่มีเงินได้ประเภทเงินเดือนอย่างเดียวได้หรือไม่
A14 : ได้ หักลดหย่อนคู่สมรสได้จำนวน 30,000 บาท

Q15� : กรณีจ่ายสมทบประกันสังคมทั้งตามมาตรา 33, 39 และมาตรา 40 ของประกันสังคม ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ลดหย่อนเงินสมทบประกันสังคมได้หรือไม่
A15 : ให้หักได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง ตามมาตรา 47(1)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่เกินตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม

Q16� : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ลดหย่อนประกันชีวิตนั้นใช้สิทธิอย่างไร และหากมีประกันสุขภาพต้องนำมารวมกับประกันชีวิตใช่หรือไม่ อย่างไร
A16 : หักลดหย่อนประกันชีวิตตามจำนวนที่จ่ายจริงในเดือนมกราคม – มิถุนายน ส่วนที่ไม่เกิน 10,000 บาท หักได้เพียงครึ่งหนึ่ง ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท หักได้ตามที่จ่ายจริง
ส่วนในการหักลดหย่อนประกันสุขภาพได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงในเดือนมกราคม – มิถุนายน แต่ไม่เกิน 15,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท

Q17� : หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมค่าซื้อบ้านที่จ่ายให้แก่ธนาคาร กรณีสามีภริยากู้ร่วมกันต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม 50,000 บาท ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ใช้สิทธิอย่างไร
A17 : หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมค่าซื้อบ้านให้แก่ธนาคาร ได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงในเดือนมกราคม – มิถุนายน ส่วนที่ไม่เกิน 10,000 บาท หักได้เพียงครึ่งหนึ่ง ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท หักได้ตามที่จ่ายจริง เฉลี่ยใช้สิทธิคนละครึ่ง โดยมีวิธีการคำนวณ คือ ดอกเบี้ยที่จ่าย 50,000 บาท (ส่วนที่ไม่เกิน 10,000 ใช้สิทธิได้) 5,000 + (ส่วนที่เกิน 10,000) คือ 40,000 = 45,000/2 รวมใช้สิทธิได้คนละ 22,500 บาท

Q18� : กรณีเปลี่ยนชื่อผู้ดูแลหลังบัตรคนพิการในเดือนกันยายน สามารถลดหย่อนคนพิการในแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ได้หรือไม่
A18 : หากมีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน ผู้มีเงินได้สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ได้ และสำหรับการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ตอนสิ้นปี ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการคนสุดท้ายในปีภาษีนั้นเป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อน

Q19� : ซื้อหน่วยลงทุน LTF เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2561 จำนวน 100,000 บาท จะใช้สิทธิลดหย่อนในแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ได้หรือไม่
A19 : สามารถใช้สิทธิลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุน LTF ได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

Q20� : บุตรไม่มีเงินได้ จบการศึกษาในเดือนมีนาคม 2561 และจะมีอายุครบ 26 ปีบริบูรณ์ในเดือนธันวาคม 2561 จะสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนบุตรในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ได้หรือไม่
A20 : ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สามารถหักลดหย่อนบุตรได้จำนวน 15,000 บาท หากบุตรมีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาท

Q21� : มีการจ่ายค่าเบี้ยประกัน แต่จะไม่ใช้สิทธิลดหย่อนประกันชีวิตในแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94� แต่จะขอมาใช้สิทธิในแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ได้หรือไม่
A21 : ได้

Q22� : ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สามารถใช้สิทธิลดหย่อนและยกเว้นเงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติได้หรือไม่
A22 : ได้

Q23� : ทำไมแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 เวลายื่นแบบฯ การใช้สิทธิลดหย่อนจึงใช้สิทธิลดหย่อนได้เพียงแค่ครึ่งเดียว แต่อัตราภาษีที่ใช้ในการคำนวณจึงไม่เป็นครึ่งหนึ่งเหมือนการใช้สิทธิลดหย่อน
A23�� : เนื่องจากตามกฎหมายบทบัญญัติ 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรให้ใช้ค่าลดหย่อนได้เพียงกึ่งหนึ่ง แต่กฎหมายไม่ได้กำหนดในเรื่องของอัตราภาษี ดังนั้นไม่ว่าการคำนวณภาษีครึ่งปีหรือสิ้นปีก็ต้องใช้อัตราเดียวกัน

Q24� : ถ้าบุคคลมีเงินได้มาตรา 40(8) จากการขายของที่ไม่ได้เป็นผู้ผลิต 800,000 บาท มีการจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ 5,000 บาท เบี้ยประกันชีวิต 40,000 บาท และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 200,000 บาท จะกรอกแบบแสดงรายการภ.ง.ด.94 อย่างไร
A24�� : ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตส่วนแรก 40,000 บาท ซึ่งส่วนแรก 10,000 บาท จะใช้สิทธิหักลดหย่อนได้ 5,000 บาท + ประกันชีวิตส่วนที่เกิน 10,000 บาท อีก 30,000 บาท + ประกันสุขภาพอีก 5,000 รวมเป็นประกันชีวิตแบบปกติ = 40,000 บาท นำประกันชีวิตแบบบำนาญมากรอกเพิ่มได้อีก 55,000 บาท
ดังนั้นกรอกประกันชีวิตแบบปกติรวมได้ 95,000 บาท (แยกเป็นลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพ 5,000 บาท และลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต 90,000 บาท) ในส่วนของประกันชีวิตแบบบำนาญได้เพิ่มอีก 120,000 บาท (ซึ่งหักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน = 800,000 x 15% = 120,000)

Q25� : ค่าลดหย่อนท่องเที่ยวเมืองรอง ที่จ่ายไปตั้งแต่ เดือนมกราคม ถึง มิถุนายน 2561 สามารถนำมาลดหย่อนในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ได้หรือไม่
A25�� : ได้

Q26� : ผู้มีเงินได้ อายุครบ 65 ปี ในเดือนสิงหาคม 2561 จะได้สิทธิยกเว้นเงินได้กรณีอายุเกิน 65 ปีหรือไม่
A26�� : การนับอายุ 65 ปี ให้นับวันชนวัน ดังนั้น หากมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ในเดือนสิงหาคม 2561 ดังนั้น เมื่อยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 จึงไม่ได้รับสิทธิยกเว้นเงินได้จำนวน 190,000 บาท

Q27� : รายการลดหย่อนใดที่มีเพิ่มขึ้นจากปี 2560 บ้าง ที่สามารถยื่นลดหย่อนได้
A27�� : 1. การลงทุนในหุ้นสตาร์ทอัพ Angel Investor (กฎกระทรวง ฉบับที่ 337)
2. การท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด (กฎกระทรวง ฉบับที่ 335)
3. สนับสนุนการศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ (พระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับที่ 655)

Q28� : การลดหย่อนประกันชีวิต ถ้ามีการจ่ายจริงในวันที่ 1 กรกฎาคม จำนวน 5,000 บาท สามารถใช้สิทธิลดหย่อนประกันชีวิตได้หรือไม่
A28�� : ไม่ได้ เนื่องจากการใช้สิทธิลดหย่อนต้องตามที่จ่ายจริง ตั้งแต่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน เท่านั้น แต่สามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนตอนยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ได้

Q29� : กรณียื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 แต่ลืมนำลดหย่อนบางรายการมาใช้ แต่ไปยื่นในแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 แบบเดียวได้หรือไม่
A29�� : ได้

Q30� : รายการลดหย่อนประกันสังคม กรณีมีเงินเดือนและขายของ จะสามารถใช้สิทธิของการจ่ายประกันสังคมได้หรือไม่
A30�� : ถ้าเป็นการยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ต ระบบทำการตรวจสอบเฉพาะเงินได้ จากการขายของ 40(8) แต่สูงสุดจะไม่เกินการจ่ายตามมาตรา 39 หรือ มาตรา 40 ของประกันสังคม ถ้าระบบไม่สามารถให้กรอกรายการได้ อาจต้องเลือกยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้เป็นแบบกระดาษ แต่สามารถนำไปหักลดหย่อนในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ได้

Q31� : การลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย หากจ่ายดอกเบี้ยไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน จำนวน 50,000 บาท โดยสามีภริยากู้ร่วม ภริยามีเงินได้ 40(1) สามีมีเงินได้ 40(8) โดยสามียื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สามารถหักลดหย่อนดอกเบี้ยเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้อย่างไร
A31�� : กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันกู้ยืมให้ได้รับยกเว้นภาษีได้ทุกคนโดยเฉลี่ยการได้รับยกเว้นภาษีตามส่วนจำนวนผู้มีเงินได้ แต่รวมกันต้องไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริงและไม่เกิน 100,000 บาท กรณีดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่จ่าย ให้หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงไม่เกิน 10,000 บาท และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท สามีสามารถลดหย่อนได้ดังนี้ ดอกเบี้ยคนละกึ่งหนึ่ง 50,000/2 = 25,000 ใช้สิทธิลดหย่อนได้กึ่งหนึ่งในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 10,000 บาทแรก = 5,000 บาท ส่วนที่เหลือ 25,000 - 10,000 = 15,000 ได้เต็มจำนวน รวมแล้วใช้สิทธิลดหย่อน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ภ.ง.ด.94 ได้จำนวน 5,000 + 15,000 = 20,000 บาท

Q32� : ลดหย่อนประกันชีวิต ชำระเบี้ยประกันชีวิตตอนปลายปี แต่ทราบจำนวนที่จะชำระแล้ว สามารถใช้สิทธิในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ได้หรือไม่
A32�� : ไม่ได้ เพราะยังไม่มีการจ่ายจริง

Q33� : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 เงินบริจาค ต้องคำนวณเพียงกึ่งหนึ่งหรือไม่
A33�� : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนเงินบริจาค ตามมาตรา 56 ทวิ วรรคสามแห่งประมวลรัษฎากร โดยจะต้องมีหลักฐานในการบริจาคด้วย มีหลักเกณฑ์ดังนี้�
1. เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 655) พ.ศ. 2561 หักลดหย่อนได้ 2 เท่า ของจำนวนเงินที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้สุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่น ตามมาตรา 47(7) แห่งประมวลรัษฎากร�
2. เงินบริจาค ให้แก่ วัดวาอาราม สภากาชาดไทย สถานพยาบาลและสถานศึกษาของทางราชการหรือขององค์การของรัฐบาล หักลดหย่อนได้เท่ากับจำนวนเงินที่ได้บริจาคจริง ในเดือนมกราคม ถึงเดือนมิถุนายนในปีภาษีแต่รวมกัน ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้สุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อนอย่างอื่น ตามมาตรา 47(7) แห่งประมวลรัษฎากร และเงินบริจาคสนับสนุนการศึกษาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2547

4. ช่องทางการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94

Q1 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ผ่านอินเทอร์เน็ตต้องแนบเอกสารหรือไม่
A1 : ไม่ต้องแนบเอกสาร

Q2 : สถานที่ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 จำเป็นต้องยื่นแบบฯในท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาหรือไม่
A2 : สามารถยื่นแบบฯ (ฉบับกระดาษ) ได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาใดก็ได้ หรือยื่นแบบฯ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th

Q3 : ต้องการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ผ่านอินเทอร์เน็ต จะขอหมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่านอย่างไร
A3 : ผู้มีเงินได้สามารถลงทะเบียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th
เพื่อขอรับหมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่าน

Q4 : หากลืมรหัสผ่านจะต้องทำอย่างไร
A4 : สามารถขอรหัสผ่านใหม่ได้ โดยเลือกเมนู ลืมรหัสผ่าน กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ระบบจะให้รหัสผ่านเพื่อนำไปใช้ในการยื่นแบบฯผ่านอินเทอร์เน็ตได้

Q5 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2561 ผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถทำรายการได้เมื่อใด
A5 : สามารถทำรายการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2561 ผ่านอินเทอร์เน็ต ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 ถึง วันที่ 8 ตุลาคม 2561 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุด

Q6 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2561 ผ่านอินเทอร์เน็ต จะทราบได้อย่างไร
ว่าได้ทำรายการยื่นแบบฯสำเร็จ

A6 : ให้ทำการ login ด้วยหมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่านอีกครั้ง หากพบข้อความเตือน “กรมสรรพากรได้รับแบบแสดงรายการของท่านแล้ว....” แสดงว่าได้ทำรายการสำเร็จ

Q7 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2561 ผ่านอินเทอร์เน็ต ถ้ายื่นแบบฯไปแล้วปรากฏว่าแสดงรายการไม่ถูกต้อง จะแก้ไขอย่างไร
A7 : ให้ทำการ login ด้วยหมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่านอีกครั้ง จะพบข้อความเตือน “กรมสรรพากรได้รับแบบแสดงรายการของท่านแล้ว....” หากต้องการยื่นแบบฯเพิ่มเติม ก็ให้กดปุ่ม ตกลง จากนั้นให้กรอกข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมด

Q8��� : คู่สมรสมีเงินได้ 40(1) และเงินได้ 40(8)� และคู่สมรสเลือกที่จะนำเงินได้ 40(8) มายื่นแบบรวมกับ ผู้มีเงินได้ ในการกรอกสถานะของคู่สมรสในแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ต้องเลือกสถานะอย่างไร
A8��� : ให้ผู้มีเงินได้เลือกสถานภาพสมรส และรายการคู่สมรส เลือกตาม (1) ที่ระบุว่า มีเงินได้มาตรา 40(5)-40(8) ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 รวมคำนวณภาษีกับผู้มีเงินได้

Q9��� : แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สามารถจะรับได้อย่างไร
A9��� : สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th

Q10� : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สามารถยื่นแบบผ่าน application RD SMART TAX ได้หรือไม่
A10�� : ไม่ได้ เนื่องจาก application RD SMART TAX รองรับเฉพาะการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.91 เท่านั้น

Q11� : ต้องการอ่านรายละเอียดการกรอกรายการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 แบบเข้าใจง่าย จะหาอ่านได้อย่างไร
A11�� : อ่านจากคำแนะนำการกรอกแบบที่ //www.rd.go.th/60131.html หรือสแกน QR Code �ได้ที่นี่


5. กำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94

Q1 : กำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2561 คือเมื่อใด
A1 : หากเป็นการยื่นแบบฯ ผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สามารถยื่นแบบฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2561
แต่ถ้าเป็นการยื่นแบบฯ ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต สามารถยื่นแบบฯได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 ถึงวันที่ 8 ตุลาคม 2561

Q2 : หากยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 เกินกำหนด ต้องรับผิดอย่างไรบ้าง
A2 : ต้องชำระค่าปรับอาญา
กรณียื่นเกินกำหนดไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับขั้นต่ำ 100 บาท
กรณียื่นเกินกำหนดเกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับขั้นต่ำ 200 บาท
และให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย

Q3 : หากยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 เกินกำหนด และมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติม จะขอผ่อนชำระได้หรือไม่
A3 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 เกินกำหนดเวลา จะไม่สามารถผ่อนชำระภาษี

Q4� : � เอกสารการยื่นแบบเสียภาษี ต้องเก็บไปประมาณกี่ปี
A4� :�� ควรเก็บไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี เนื่องจากสิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรให้มีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/31 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


6. การชำระภาษีตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94

Q1 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หากมีภาษีที่ต้องชำระเพิ่มสามารถผ่อนชำระได้หรือไม่
A1 : หากเป็นแบบฯ ที่ยื่นภายในกำหนดเวลา ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือยื่นแบบฯ ผ่านอินเทอร์เน็ต และมีภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาท ขึ้นไป สามารถขอผ่อนชำระได้ 3 งวด

Q2 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หากมีภาษีที่ชำระไว้เกินสามารถขอคืนได้หรือไม่
A2 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หากมีภาษีที่ชำระไว้เกิน หรือได้มีการชำระภาษีไว้แล้ว สามารถขอคืนหรือให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระในปีภาษี (ภ.ง.ด.90)

Q3 : ต้องการผ่อนชำระภาษีตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ต้องยื่นแบบฯภายในวันที่เท่าไร
A3 : การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.94 สามารถขอผ่อนชำระได้พร้อมกับการยื่นแบบฯ ภายในกำหนดเวลาการยื่นแบบเท่านั้น (กรณียื่นแบบเกินกำหนดเวลาไม่สามารถผ่อนชำระได้) และสามารถผ่อนชำระได้ไม่เกิน 3 งวด เท่าๆ กัน
งวดที่ 1 ชำระพร้อมกับการยื่นแบบฯ ภายในวันที่ 30 กันยายน
งวดที่ 2 ชำระ ภายในวันที่ 31 ตุลาคม
งวดที่ 3 ชำระ ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน
กรณีมิได้ชำระภาษีงวดใดงวดหนึ่งภายในกำหนดเวลา ผู้เสียภาษีหมดสิทธิที่จะผ่อนชำระและต้องชำระภาษีอากรที่ค้างอยู่ทั้งหมด โดยต้องเสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ

Q4 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หากได้ชำระไว้แล้ว เมื่อถึงกำหนดยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 จะต้องทำอย่างไร
A4 : หากได้ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 และได้มีการภาษีที่ชำระไว้ สามารถนำไปภาษีที่ได้ชำระไว้ไปเครดิตในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ได

Q5 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สามารถรวมคำนวณกับคู่สมรสได้หรือไม่
A5 : สามารถยื่นแบบฯ รวมคำนวณได้

Q6 : สามีและภริยายื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 รวมคำนวณภาษี ต่อมาประสงค์ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 โดยยื่นแบบเพื่อแยกยื่นแบบฯ สามารถทำได้หรือไม่
A6 : กรณีสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 โดยนำเงินได้พึงประเมิน
ของอีกฝ่ายหนึ่งมารวมคำนวณและเสียภาษีในนามของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่อมา สามีและภริยาประสงค์
จะยื่นรายการและเสียภาษีตอนสิ้นปีตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 เป็นการแยกยื่นรายการและเสียภาษี กรณีดังกล่าวไม่ต้องขออนุมัติเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกยื่นรายการและเสียภาษีจากการยื่นรายการรวมกันตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94

Q7 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 คำนวณภาษีโดยหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว คงเหลือเงินไรสุทธิ 520,000 บาท การคำนวณภาษีที่จะต้องเสียคำนวณอย่างไร
A7 : การคำนวณภาษีเงินได้ หากมีเงินได้สุทธิจำนวน 520,000 บาท
0 - 150,000 บาท ได้รับยกเว้น
150,001 - 300,000 เสียภาษีร้อยละ 5 เป็นภาษีจำนวน 7,500 บาท
300,000 - 500,000 เสียภาษีร้อยละ 10 เป็นภาษีจำนวน 20,000 บาท
500,001 - 520,000 เสียภาษีร้อยละ 15 เป็นภาษีจำนวน 3,000 บาท
รวมเป็นภาษีที่คำนวณได้จำนวน 30,500 บาท

Q8 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2561 ผ่านอินเทอร์เน็ต ต้องชำระภาษีทันทีหรือไม่
A8 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2561 ผ่านอินเทอร์เน็ต ถ้ามีภาษีต้องชำระเพิ่ม สามารถชำระภายหลังการยื่นแบบฯได้ แต่ต้องชำระภายในวันที่ 8 ตุลาคม 2561

Q9 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2561 ผ่านอินเทอร์เน็ต กำหนดให้ชำระภายวันที่ 8 ตุลาคม 2561 อยากทราบว่า มีกำหนดเวลาการชำระหรือไม่

A9 : สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ผ่านอินเทอร์เน็ต ถ้ามีภาษีต้องชำระเพิ่มต้องชำระภายในวันที่ 8 ตุลาคม 2561 โดยในการชำระเงินนั้น ให้ดูว่า หน่วยงานรับชำระนั้น ๆ มีเวลาทำการปิดการให้บริการในเวลาใด เช่น การชำระผ่านตู้ ATM จะสามารถทำการชำระเงินได้ถึงเวลา 22.00 น. เป็นต้น

Q10 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2561 ผ่านอินเทอร์เน็ต มีภาษีต้องชำระเพิ่มเติม หากได้เลือกช่องทางชำระเป็น ATM ไว้แล้วแต่ต้องการจะเปลี่ยนเป็นช่องทางอื่นได้หรือไม่
A10 : สามารถทำได้ โดยให้ login ใหม่อีกครั้งด้วยหมายเลขผู้ใช้ และรหัสผ่าน จะปรากฏหน้าจอค้างชำระ จากนั้นให้เลือกช่องทางการชำระได้ตามความต้องการ

ปรับปรุงล่าสุด: 09-01-2021

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้