กระเพาะ เป็นแผล อันตราย ไหม

อาการ “ปวดแสบปวดร้อนบริเวณลิ้นปี่เวลาท้องว่าง หรือจุก เสียด แน่นท้อง เมื่อได้รับประทานอาหารมักจะหายปวด หรือปวดยิ่งขึ้น” อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเป็น โรคแผลในกระเพาะอาหาร อยู่ก็เป็นได้ สำหรับผู้มีอาการผิดปกติเหล่านี้ หากปล่อยไว้แล้วไม่ได้รับการรักษาจะทำให้อาการรุนแรงขึ้น และเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้


รู้จัก...โรคแผลในกระเพาะอาหาร

โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือเรียกย่อๆ ว่า โรคพียู (PU) หรือพียูดี (PUD, Peptic ulcer disease) เป็นโรคที่มีแผลที่เกิดขึ้นในเยื่อบุทางเดินอาหารบริเวณที่สัมผัสกับน้ำย่อยของกระเพาะอาหารที่มีกรดเป็นองค์ประกอบสำคัญ จึงพบแผลได้ตั้งแต่ส่วนล่างของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ส่วนตำแหน่งที่พบแผลได้บ่อย คือ กระเพาะอาหารส่วนปลาย และลำไส้เล็กส่วนต้น ใกล้รอยต่อระหว่างกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น

สาเหตุสำคัญเกิดจาก กรดและน้ำย่อยที่หลั่งออกมาในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นตัวทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารที่สร้างแนวต้านทานกรดได้ไม่ดี ไม่ว่ากรดนั้นจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม รวมไปถึงการรับประทานยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และยาต้านเกร็ดเลือด เช่น แอสไพริน ส่วนปัจจัยอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ด ความเครียด เป็นต้น

นอกจากนี้ การติดเชื้อแบคทีเรียเอช.ไพโลไร (H.Pylori : Helicobacter pylori) มีบทบาทโดยตรงและถือเป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่ง ที่ทำให้กระเพาะอาหารมีการอักเสบเรื้อรัง จนทำลายผนังเยื่อบุกระเพาะอาหารและสำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหาร หากในขณะทำการรักษาแผลในกระเพาะอาหารอยู่ เชื้อนี้จะเป็นสาเหตุที่ทำให้แผลหายช้า หรือทำให้แผลที่หายแล้วกลับมาเป็นซ้ำได้อีก กลายเป็นแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง ที่สำคัญ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอีกด้วย


อาการสำคัญของโรคแผลในกระเพาะอาหาร

อาการสำคัญหลักๆ เลย คือ ปวดท้องหรือแสบที่กระเพาะอาหารบริเวณลิ้นปี่ มักมีอาการตอนท้องว่างหรือประมาณ 2-3 ชั่วโมงก่อนมื้ออาหาร ปวดท้องมากเฉพาะหลังรับประทานอาหารรสเผ็ดจัด จะมีอาการปวดแน่นท้องยามดึกหลังจากหลับไปแล้ว ปวดๆหายๆ เป็นแรมปี และอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น รู้สึกคลื่นไส้ หรืออาเจียน น้ำหนักลดลง เบื่ออาหาร แสบร้อนกลางอก อาหารไม่ย่อย เป็นต้น


ภาวะแทรกซ้อนโรคแผลในกระเพาะอาหาร

โดยทั่วไปพบว่าผู้ป่วยอาการจะค่อยๆ ทุเลาและหายไปเองโดยไม่ต้องรับการรักษา แต่โอกาสที่จะกลับมาเป็นอีกมีอัตราสูงถึงแม้ว่าจะได้รับการรักษาดีเพียงใดก็ตาม และที่สำคัญโรคแผลในกระเพาะอาหาร หากปล่อยไว้แล้วไม่ได้รับการรักษาจะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น และเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ได้แก่

  • ภาวะเลือดออกภายในกระเพาะอาหาร เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุด โดยผู้ป่วยที่มีเลือดออกจะมีอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ หน้ามืด ถ่ายเป็นเลือดหรือมีสีดำ อาเจียนเป็นเลือด รวมถึงภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กซึ่งเกิดจากการเสียเลือดจากแผลในกระเพาะอาหาร
  • กระเพาะอาหารทะลุ จะทำให้ปวดท้องอย่างเฉียบพลันรุนแรง หน้าท้องแข็งตึง กดเจ็บมา
  • กระเพาะอาหารอุดตัน ผู้ป่วยจะอิ่มเร็ว อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด




การวินิจฉัยโรคแผลในกระเพาะอาหาร

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ ประวัติการใช้ยา พร้อมการตรวจร่างกาย และทำการตรวจเพิ่มพิเศษอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ ได้แก่

  • การส่องกล้องกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถเห็นรายละเอียดของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้ชัดเจน รวมทั้งยังช่วยยืนยันการวินิจฉัย และสามารถยืนยันตำแหน่งและขนาดของแผลที่ตรวจพบได้ นอกจากนี้ยังสามารถตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย เอช.ไพโลไร ได้อีกด้วย
  • การทดสอบการติดเชื้อแบคทีเรีย เอช.ไพโลไร ด้วย Urea Breath Test วิธีการเป่าลมหายใจวัดหาระดับยูเรีย

การรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร

การรักษาทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยวิธีการรักษามีรายละเอียดแตกต่างกันดังต่อไปนี้

1. การรักษาด้วยยา การใช้ยารักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารนั้น จำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดพร้อมกัน โดยแพทย์จะให้ยาลดกรด และยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ แผลถึงจะหาย ในกรณีที่มีการติดเชื้อแพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยในการฆ่าเชื้อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เอช.ไพโลไร

2. การรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs) อาจต้องทำการปรับเปลี่ยนยาที่ใช้ จากเดิมเปลี่ยนเป็นพาราเซตามอล หรือยาแก้ปวดต้านการอักเสบในกลุ่มเอ็นเสดอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้น้อยกว่า ร่วมกับรับประทานยาลดกรดหรือยาเคลือบแผลในกระเพาะอาหารตามแต่แพทย์สั่ง

3. การผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มักใช้ในผู้ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารแล้วไม่เข้ารับการรักษา มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กฉีกขาด เป็นต้น

ทั้งนี้ ควรงดอาหารที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ อาหารรสจัด ร้อนจัด เย็นจัด ของหมักดอง รวมทั้งอาหารที่ทำให้เกิดก๊าซในกระเพาะอาหาร และควรรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย เมื่อมีอาการดีขึ้นแล้ว จึงค่อยๆ กลับมารับประทานอาหารที่ใกล้เคียงปกติ


ป้องกันแผลในกระเพาะอาหารได้อย่างไร ?

แผลในกระเพาะอาหาร เมื่อรักษาแผลหายแล้วยังมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก หากไม่รู้จักป้องกัน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือวิถีชีวิตบางอย่าง โดยสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้

  • งดการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID)
  • เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะการดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมากๆ จะไปกัดชั้นเมือกในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดการระคายเคือง เป็นสาเหตุให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
  • เลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะทำปริมาณกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มมากขึ้น
  • ผ่อนคลายความเครียดและวิตกกังวล พักผ่อนให้เพียงพอ

โรคแผลในกระเพาะอาหาร เป็นเหมือนภัยเงียบที่คอยบั่นทอนสุขภาพ หากทิ้งไว้นานวันเข้าโดยที่ไม่รักษาอย่างจริงจัง จะกลายเป็นโรคเรื้อรั้งที่รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หายขาดได้ อีกทั้งอาจเป็นสาเหตุโรคร้ายแรงอย่าง โรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้

กระเพาะเป็นแผลมีอาการยังไง

อาการของโรคแผลในกระเพาะอาหาร ปวดแสบ ปวดร้อนในกระเพาะอาหาร ตำแหน่งระหว่างหน้าอกและสะดือ โดยอาจปวดเมื่อท้องว่างระหว่างมื้ออาหาร ปวดกลางดึก หรือเวลาใดก็ได้ ปวดท้องมาก โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารรสเผ็ดจัด อาการปวดมักเป็นๆ หายๆ รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน

เป็นแผลในกระเพาะกี่วันถึงจะหาย

โรคแผลกระเพาะอาหารเป็นโรคเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ มักไม่หายขาดตลอดชีวิต ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยารักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน หลังได้รับยา อาการปวดจะหายไปก่อนใน 3-7 วัน ถ้าหากพบว่ามีแผลในกระเพาะอาหารร่วมด้วย ส่วนใหญ่ต้องรับประทานยานานถึง 4-8 สัปดาห์ แผลจึงหาย เมื่อหายแล้ว ยังอาจกลับมาเป็นใหม่ได้อีกถ้าไม่ระวังปฏิบัติตัวให้ถูก ...

แผลกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร

สาเหตุของแผลในกระเพาะอาหาร สาเหตุคือ กรดและน้ำย่อย ที่หลั่งออกมาทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ส่วนปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ ยาแอสไพริน ยารักษาโรคกระดูกและข้ออักเสบ การสูบบุหรี่ ความเครียด อาหารเผ็ด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น สุรา เบียร์

ยาอะไรรักษาแผลในกระเพาะ

การใช้ยา H2-Receptor Antagonists เช่น แรนิทิดีน (Ranitidine) ฟาโมทิดีน (Famotidine) ไซเมทิดีน (Cimetidine) เป็นต้น เพื่อยับยั้งการสร้างกรดและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร การใช้ยาเคลือบกระเพาะอาหาร เช่น ซูคราลเฟต (Sucralfate) ไมโซพรอสทอล (Misoprostol) เป็นต้น เพื่อปกป้องเยื่อบุในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กจากการทำลายของกรด

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้