หลักธรรม ใด ที่ เหมาะสมกับผู้ประกอบอาชีพ ค้าขาย นำไป ประกอบอาชีพ

ความสำคัญของจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

จริยธรรมเป็นมาตรฐานความประพฤติของมนุษย์จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาคือความประพฤติ และธรรม คือเครื่องรักษาความประพฤติ การประกอบอาชีพใด ๆ ก็ตามผู้ประกอบอาชีพจะต้องคำนึกถึงผลกระทบต่อสังคมภายนอกเสมอ ทั้งนี้ก็คือจะต้องไม่ใช้ความรู้ความสามารถในทางที่ผิด หากประกอบอาชีพโดยไร้จริยธรรมผลเสียหายจะตกอยู่กับสังคมและประเทศชาติฉะนั้นจริยธรรมจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่จะลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ความสำคัญของจริยธรรมในการประกอบอาชีพ มีดังนี้

1. ช่วยให้ผู้ประกอบอาชีพแต่ละสาขาได้ใช้วิชาชีพในทางที่ถูกต้องเหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

2. ช่วยควบคุมและส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีความสำนึกในหน้าที่และมีความรับผิดชอบในงานของตน

3. ช่วยส่งเสริมและควบคุมการผลิต และการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจได้ในเรื่องของความปลอดภัยและการบริการที่ดี

4. ช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค และไม่เห็นแก่ตัว ทั้งนี้ต้องยึดหลักโดยคำนึกถึงผลกระทบที่จะเกิดแก่ผู้บริโภคเสมอ

5. ช่วยให้วงการธุรกิจของผู้ประกอบอาชีพมีความซื่อสัตย์ ยุติธรรม และมีความเอื้อเฟื้อต่อสังคมส่วนรวมมากขึ้น อาชีพ (Occupation) ดำรง ฐานดพี (2536 : 2) ได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้ หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานทุกประเภทและเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบทางด้านเทคนิค เศรษฐกิจ และสังคม ดังนั้นคำว่าอาชีพจึงครอบคลุมไปถึงงานที่ใคร ๆ ก็ทำได้โดยไม่ต้องอาศัยการฝึกหัดมาก่อน เช่น งานที่ต้องใช้แรงงาน (Manual works) และเป็นงานที่ผู้กระทำจะต้องได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษหรือเป็นงานที่ใช้ทักษะและการฝึกหัดขั้นสูง (Technic worls)”

อาชีพมีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมเป็นอย่างมาก ในทัศนะของนักสังคมวิทยานั้น อาชีพอาจก่อให้เกิดผลต่อสังคมได้ ดังนี้

1. อาชีพสามารถแบ่งแยกกลุ่มคนในสังคมออกเป็นส่วน ๆ ตามสาขาอาชีพ เช่น ผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม ผู้ประกอบธุรกิจการเกษตร ผู้ประกอบธุรกิจการบริการ ข้าราชการ เป็นต้น ในกลุ่มอาชีพดังกล่าวสามารถแยกย่อยออกไปได้อีก เช่น ข้าราชการก็มีทั้งข้าราชการครู ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ผู้ประกอบธุรกิจการเกษตรก็มีทั้งชาวนา ชาวสวน ชาวประมง เป็นต้น

2. อาชีพแต่ละอาชีพนั้นก่อให้เกิดเป็นแหล่งรวมผู้คนจากถิ่นต่าง ๆ เข้าด้วยกันทำให้กลายเป็นกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์ และความสนใจไปในแนวเดียวกัน

3. อาชีพมีผลต่อบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล

4. อาชีพมีส่วนเชื่อมโยงบุคคลรวมกันเป็นสังคม

5. อาชีพก่อให้เกิดความสามารถและความชำนาญแก่ผู้ประกอบอาชีพนั้น ๆ วิธีการสร้างจริยธรรมในการประกอบอาชีพ วิธีการสร้างจริยธรรมต้องอาศัยการฝึกฝนเป็นหลัก ปัจจุบันนี้โลกเรากำลังมีปัญหาด้านศีลธรรม ปัญหาการขาดคุณธรรม จริยธรรม ในหลาย ๆ อาชีพ ฉะนั้นจะต้องมีการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น และสร้างเสริมเติมต่อสิ่งที่ยังขาดอยู่ให้มีขึ้น

วิธีการที่นำมาใช้สร้างจริยธรรมสามารถทำได้ ดังนี้

1. การอบรมตามหลักของศาสนา

2. การปลูกฝังพฤติกรรมที่พึงประสงค์

3. การสอนให้รู้จักความเมตตาต่อผู้อื่น

4. การสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์

5. การใช้อิทธิพลของกลุ่มให้เกิดความคล้อยตาม

6. การใช้หลักมนุษยสัมพันธ์

7. การจัดสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ในทางที่ดี จริยธรรมที่ผู้ประกอบอาชีพควรประพฤติ

หลักในการยึดถือปฏิบัติของผู้ประกอบอาชีพทั่วไปพึงกระทำเพื่อความเจริญก้าวหน้าในอาชีพของตน และร่วมรับผิดชอบในสังคม ควรมีดังนี้

1. ความซื่อสัตย์สุจริต และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

2. การมีจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อม

3. ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยในบริการ

4. การมีจรรยาอาชีพและดำเนินกิจการอย่างมีคุณภาพ

5. การสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อลูกค้า

6. การเคารพสิทธิและรักษาผลประโยชน์ของผู้อื่น

7. การใช้จริยธรรมในการติดต่อสื่อสาร

8. การสร้างสัมพันธภาพกับชุมชน

9. การสร้างวินัยในการประกอบอาชีพ

10. การดำเนินงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

11. การให้แหล่งข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้อง

12. การประกอบอาชีพด้วยความขยันหมั่นเพียร

หลักการในพุทธธรรมที่นำมาประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์


• สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพในทางสุจริต

การประกอบอาชีพสุจริต ซื่อสัตย์ ไม่ประกอบอาชีพที่หลอกลวง บีบบังคับขู่เข็ญ เบียดเบียนผู้อื่นหรือทำลาย สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งไม่ประกอบอาชีพ 5 ประเภท ได้แก่ การขายอาวุธ การค้าขายมนุษย์ การค้าขายสัตว์ การค้าขายน้ำเมาและสารเสพติด การค้าขายยาพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง สารเคมีต่างๆซึ่งจะวกกลับมาทำลายมนุษย์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการไม่ดำเนินการผลิตหรือการบริโภคที่มากเกินไปจนสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติและ ทำลายระบบนิเวศ


• การไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

การดำเนินชีวิตไปตามทางสายกลาง การผลิต การบริโภคที่สมดุลไม่เน้นประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก ซึ่งนำไปสู่การแข่งขันแย่งชิงจนเป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นและทำลายสิ่งแวดล้อม

• ความไม่ประมาท

การเตรียมความพร้อม ระมัดระวัง ปรับปรุงส่วนที่บกพร่อง รวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ที่เกี่ยวข้องพร้อมรับกับสถานการณ์ที่ต้องเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นในการดำเนินกิจกรรมใดๆจะต้องกระจายความเสี่ยง มีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม

• การพึ่งตนเอง

ความสามารถในการดำเนินกิจการต่างๆได้ด้วยตนเอง การผลิตเพื่อการบริโภคเองเป็นหลัก การพึ่งตนเองเป็นการลดความเสี่ยงจากการพึ่งปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้ลดปัญหาการมีอำนาจการต่อรองที่ไม่เท่าเทียมกัน และการผลิตเพื่อการพึ่งตัวเองได้จะลดการทำลายสิ่งแวดล้อม


• ความพอเพียง ไม่โลภ ละกิเลส

กิเลสและความโลภนำไปสู่ความหลงผิดและความทุกข์ ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจหากมีความโลภจะก่อให้เกิดความเสี่ยงตามมา ขาดความยั้งคิดไม่มีเหตุผล ทำให้เกิดความเสียหายได้ ดังนั้นควรละความโลภ มีความพอเพียง การผลิต การบริโภคหรือการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในขนาดที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โดยใช้เหตุผล

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้