พรบ กําหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

  • ล็อกอิน ล้างข้อมูล ปิดหน้าต่าง

  • - ควรมีความยาวอย่างน้อย 8 - 16
  • - ตัวอักษร (a-z, A-Z) และ ตัวเลข (0-9)
  • - เครื่องหมายหรืออักขระพิเศษ (!@#$%^&*()_+|~-=\`{}[]:";'<>?,./)
  • aaa
  • บันทึกข้อมูล ล้างข้อมูล ปิดหน้าต่าง

  • ยืนยันข้อมูล ยกเลิก
  • หมายเหตุ : ระบบจะทำการจัดส่งข้อมูลไปยังอีเมล์ของท่าน

  • ใช่... ฉันต้องการออกจากระบบ ยกเลิก


  • ส่งแบบสอบถาม ล้างข้อมูล ปิดหน้าต่าง

ผู้ส่งข้อความวันที่ส่งข้อความข้อความaction

ภาพประกอบจาก //www.sbsgroup.com.sg/blog/register-cleaning-company-in-singapore-to-rejoice-entrepreneurship/

ความผิดเกี่ยวกับหุ้นส่วน บริษัท ในทางอาญา
โดยทั่วไปการศึกษาเกี่ยวกับหุ้นส่วน บริษัท มักจะเข้าใจว่าเป็นเรื่องทางแพ่งตามวิชาที่ศึกษามา แต่ตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 นั้นได้กำหนดโทษทางอาญาไว้หลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหุ้นส่วน บริษัท ฯ
โปรดดูฉบับเต็มได้ที่

//web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A139/%A139-20-9998-update.htm

โดยมาตราที่สำคัญที่น่าสนใจคือ มาตรา 42 ที่บัญญัติว่า “ บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด กระทำ หรือยินยอมให้กระทำการดังต่อไปนี้

(1) ทำให้เสียหาย ทำลาย เปลี่ยนแปลง ตัดทอน หรือปลอม บัญชี เอกสาร หรือหลักประกันของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือ

(2) ลงข้อความเท็จ หรือไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชี หรือเอกสารของห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท หรือที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท

ถ้ากระทำหรือยินยอมให้กระทำการเพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ตัวอย่างของการกระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวได้แก่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16263/2556
พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2539 มาตรา 42 กำหนดผู้รับผิดไว้คือ บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานซึ่งหมายความรวมถึงบุคคลผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในกิจการงานที่ตนต้องรับผิดชอบ มิได้หมายถึงเฉพาะเพียงแต่ผู้แทนของนิติบุคคล ผู้มีอำนาจหน้าที่ที่ได้จดทะเบียนไว้ในหนังสือรับรองการจดทะเบียนของนิติบุคคลนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการฝ่ายยานยนต์มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการบำรุงรักษาซ่อมแซมรถยนต์ จัดเตรียมสัญญาซื้อขาย จัดทำสัญญาเช่าพร้อมเอกสารประกอบ รวมทั้งทำหลักฐานการตรวจสภาพและการรับมอบรถ งานในหน้าที่ความรับผิดชอบของจำเลยที่ 2 จึงเป็นงานส่วนหนึ่งของผู้เสียหายที่จะต้องดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของบริษัท จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้เสียหายตามบทกฎหมายดังกล่าว
การกระทำในวันเดียวกันหรือต่อเนื่องในคราวเดียวกันอาจเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้ หากลักษณะของความผิดเป็นการกระทำที่มีเจตนาแตกต่างกัน ต่างขั้นตอนกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละอย่างต่างหากจากกันได้ และเป็นการกระทำที่มุ่งประสงค์ให้มีผลต่างกรรมกัน การที่จำเลยที่ 2 ลงแบบฟอร์มกับบันทึกข้อมูลรถยนต์ใหม่ลงในแฟ้มข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์และการทำสัญญาเช่า เป็นการกระทำต่างขั้นตอนกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละอย่างต่างหากจากกันได้ และเป็นการกระทำที่มุ่งประสงค์ให้มีผลต่างกัน การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

ผู้ถือหุ้นที่ถูกกรรมการเปลี่ยนแปลงสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยพลการเล่นงานกรรมการกลับ ด้วยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดฯ มาตรา 42 และประมวลกฎหมายอาญาฐานยักยอกทรัพย์ มาตรา 352 ซึ่งเป็นคดีอาญามีโทษจำคุก คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20038/2556

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 42 ซึ่งในเบื้องต้น เห็นว่า บทกฎหมายมาตรานี้บัญญัติไว้ว่า “บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด กระทำหรือยินยอมให้กระทำการดังต่อไปนี้
(1) ทำให้เสียหาย ทำลาย เปลี่ยนแปลง ตัดทอน หรือปลอมบัญชี เอกสาร หรือหลักประกันของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือ
(2) ลงข้อความเท็จ หรือไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชี หรือเอกสารของห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท หรือที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
ถ้ากระทำหรือยินยอมให้กระทำการเพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” เห็นได้ว่า ลักษณะการกระทำอันเป็นความผิดดังกล่าวได้แก่ การกระทำหรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำการตามที่บัญญัติไว้ใน (1) หรือ (2) ที่เป็นการกระทำต่อบัญชี เอกสาร หรือหลักประกันของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท อันจะทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นถูกทำลาย สูญหาย ขาดไป หรือมีข้อมูลไม่ตรงตามความเป็นจริง ซึ่งจะเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ ทั้งนี้โดยผู้กระทำได้กระทำการดังกล่าวโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นนั้นขาดประโยชน์อันควรได้ด้วย แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำทั้งหลายที่โจทก์อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าวนั้น โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำหรือยินยอมให้กระทำการทำให้เสียหาย ทำลาย เปลี่ยนแปลง ตัดทอนหรือปลอมบัญชี เอกสาร หรือหลักประกันตามมาตรา 42 (1) และในส่วนการกระทำหรือยินยอมให้กระทำตามมาตรา 42 (2) ที่ตามกฎหมายบทมาตรานี้ต้องกระทำต่อบัญชีหรือเอกสารโดยการลงข้อความอันเป็นเท็จ หรือไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชีหรือเอกสารดังกล่าวโดยเจตนาเพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น ที่จะเป็นเหตุให้ต้องขาดประโยชน์นั้น โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยได้แสดงบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัทว่า โจทก์ทั้งสองไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวแล้ว ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหายขาดประโยชน์อันควรได้จากหุ้นเท่านั้น ทั้งที่บทกฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติว่า การแสดงเอกสารอันเป็นเท็จเช่นนี้เป็นความผิดแต่อย่างใด โดยโจทก์กลับไม่บรรยายฟ้องแสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้ที่ลงข้อความเท็จในบัญชีผู้ถือหุ้นหรือยินยอมให้มีการลงข้อความเท็จในบัญชีผู้ถือหุ้นดังกล่าว โดยจำเลยมีเจตนาพิเศษเพื่อลวงให้โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ อันเป็นองค์ประกอบเกี่ยวกับการกระทำที่จะเป็นความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ดังนี้ แม้หากจะฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยกระทำการแสดงบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นเป็นเท็จตามฟ้อง การกระทำเช่นนั้นก็ไม่เป็นความผิดที่จะลงโทษตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 42 แต่อย่างใด ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบกับมาตรา 225 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล และไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของโจทก์ทั้งสองอีกต่อไป เพราะถึงวินิจฉัยไปก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง

ตามคำพิพากษาศาลฎีกานี้ โจทก์ฟ้องกรรมการที่ทำการเปลี่ยนแปลงสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) โดยเอาชื่อโจทก์ออกและเอาชื่อบุคคลอื่นถือหุ้นแทนโจทก์ ทั้งที่โจทก์ไม่ได้โอนขายหุ้นให้บุคคลอื่น ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดฯ มาตรา 42 แต่ปรากฏว่าศาลยกฟ้อง ด้วยเหตุว่าโจทก์บรรยายฟ้องไม่ชัด ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดดังกล่าว

ที่มา. //www.facebook.com/Fpmbusinessadvisor/posts/673992549438311/


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3672/2540
จำเลยเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ร่วมไม่จัดให้มีหลักประกันคุ้มกับจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยปกปิดไม่ขออนุมัติโจทก์ร่วมและปฏิเสธว่าไม่ได้ลงชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงิน ไม่จัดให้มีการจดแจ้งการรับอาวัลลงในสมุดทะเบียนไม่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการรับอาวัล ไม่ใช่เป็นการทำให้เสียหาย เปลี่ยนแปลงตัดทอน หรือปลอมบัญชีเอกสารหรือหลักประกันของโจทก์ร่วม จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42(1)

สมุดทะเบียนหนังสือค้ำประกัน และสมุดบัญชีภาระในการรับรองตั๋วเงินของธนาคารโจทก์ร่วม เป็นเอกสารบัญชีหรือเอกสารของโจทก์ร่วม เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของโจทก์ร่วมมีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการและดำเนินธุรกิจในสาขาซึ่งรวมถึงการสั่งให้พนักงานลงบัญชีหรือเรียกบัญชีมาตรวจสอบ จึงถือได้ว่าจำเลยมีหน้าที่ลงบัญชีด้วยการที่จำเลยลงชื่อรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินโดยไม่มีหลักประกัน ไม่ขออนุมัติจากโจทก์ร่วมตามระเบียบ ไม่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการรับอาวัลและไม่ลงบัญชีเพื่อไม่ให้โจทก์ร่วมสามารถตรวจสอบได้ จึงเป็นการละเว้นไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชีโดยมีเจตนาเพื่อลวงให้โจทก์ร่วมขาดประโยชน์อันควรได้ มีความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิพ.ศ. 2499 มาตรา 42(2)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้