ผู้ทำบัญชีตาม

  • หน้าแรก

  • บริการ

  • ผู้ทำบัญชี

แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง

โปรดทราบ!!! การเป็นผู้ทำบัญชีได้จะต้องดำเนินการดังนี้
          ลำดับที่ 1. สมัครเป็นสมาชิกของสภาวิชาชีพบัญชี หรือสมัครเป็นผู้ขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชี ก่อน
(ทั้งนี้ สภาวิชาชีพบัญชีขอแนะนำให้ท่านสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี คลิ๊ก ดีกว่าการสมัครเป็นผู้ขึ้นทะเบียน ซึ่งท่านจะได้รับสิทธิประโยชน์พิเศษสำหรับการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีมากมาย คลิ๊ก)
          ลำดับที่ 2. หลังจากนั้นให้ดำเนินการแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วยทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ website : www.dbd.go.th หัวข้อ ผู้ทำบัญชี ระบบงาน e-Accountant
          ลำดับที่ 3. เมื่อดำเนินการทั้งสองอย่างแล้วเสร็จ จึงจะสามารถประกอบวิชาชีพเป็นผู้ทำบัญชีได้
          หมายเหตุ หากต้องการสอบถามเพิ่มเติมให้ประสานงานโดยตรงที่ ส่วนงานทะเบียน e-mail :

นักบัญชีเป็นวิชาชีพเฉพาะทางอย่างหนึ่งซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจแบบแยกออกจากกันไม่ได้ เพราะว่าทุกรายการค้าที่เกิดขึ้นย่อมต้องถูกจดบันทึกบัญชีอย่างสม่ำเสมอโดยผู้ทำบัญชี และทุกธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องมี “ผู้ทำบัญชี” ที่รับผิดชอบในงานบัญชีและงบการเงินของกิจการก่อนที่จะยื่นให้กับหน่วยงานราชการอย่างกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) และกรมสรรพากร

ผู้ทำบัญชี ภาษาอังกฤษเราเรียกว่า Accountant หมายถึง คนที่รับผิดชอบในการทำบัญชีธุรกิจตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งก็ต้องเป็นคนที่มีคุณสมบัติและทำตามเงื่อนไขผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีอย่างครบถ้วนตามที่กฎหมายระบุไว้ด้วยเช่นกัน

ส่วนใครที่อยากเป็นผู้ทำบัญชีอย่างถูกต้องตามกฎหมายแบบ 100% สิ่งที่ต้องทำมีอะไรบ้าง CPD Academy รวบรวมมาให้ทุกคนได้เช็คตัวเองในบทความนี้แล้วจ้า

1. เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีที่ไม่หมดอายุ

ใครที่เรียนจบบัญชีมาในทางกฎหมายยังไม่ถือเป็นผู้ทำบัญชีของธุรกิจได้ครบถ้วนตามกฎหมาย เพราะลำดับแรกนักบัญชีต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี หรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชีตามที่กฎหมายกำหนดก่อน

สาเหตุที่ต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีเพราะว่าสภาวิชาชีพบัญชีทำหน้าที่กำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีให้เป็นไปตามจรรยาบรรณและเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

การสมัครสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีในปัจจุบันทำได้ง่ายแบบออนไลน์ โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปสภาวิชาชีพบัญชีให้ยุ่งยาก

ค่าธรรมเนียมสมาชิกสภาจะต้องชำระทุกปีจำนวนแตกต่างกันตามประเภทสมาชิกสภา ตามนี้

  • ปีละ 500 บาท สำหรับสมาชิกประเภทสามัญ (นักบัญชีจบการศึกษาปริญญาตรีการบัญชี)
  • ปีละ 300 บาท สำหรับสมาชิกประเภทสมทบ (นักบัญชีจบการศึกษา ปวส. การบัญชี)

ข้อควรจำให้ดีสำหรับการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี คือ ต้องต่ออายุทุกๆ ปีให้เรียบร้อย เพราะมิเช่นนั้น สถานะของเราจะกลายเป็นหมดอายุ ไม่เข้าเงื่อนไขการเป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมายแล้ว

อ่านเพิ่มเติม สมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี ใครต้องสมัครบ้าง วิธีสมัครสมาชิกทำยังไง

สมัครสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี

2. ขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชี

การขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพนั้นเป็นขั้นตอนแยกต่างหากจากสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี ผู้ทำบัญชีของธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย จะต้องขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชีกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) และได้รับหนังสือรับรองการอย่างครบถ้วนด้วย ในปัจจุบันก็สามารถทำได้แบบออนไลน์เช่นกันผ่าน ระบบจัดเก็บข้อมูลผู้ทำบัญชี e-accountant

สิ่งที่ควรเตรียมให้เรียบร้อยก่อนที่จะขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชี มีดังนี้

  • ข้อมูลส่วนตัวพื้นฐาน และที่อยู่
  • วุฒิการศึกษา
  • ข้อมูลการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี
  • ฐานะผู้ทำบัญชี เลือกได้ใน 3 ฐานะนี้ คือ พนักงานของกิจการ ผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ สำนักงานบัญชี
  • ธุรกิจที่รับทำบัญชี

ข้อควรจำสำหรับใครที่อยากขึ้นทะเบียนให้สำเร็จ มี 3 ข้อ คือ

  • ต้องมีเอกสารหลักฐานครบถ้วน
  • ต้องมีรายชื่อธุรกิจที่รับทำบัญชีรายแรกให้พร้อม เพราะระบบจะไม่ยอมให้เราทำรายการหากไม่ได้แนบเอกสารหรือกรอกข้อมูลให้เรียบร้อย
  • ต้องมีคุณสมบัตินักบัญชีตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวุฒิการศึกษาที่สภาวิชาชีพบัญชียอมรับให้พร้อม เช็คคุณสมบัติทั้งหมดที่นี่: คุณสมบัตินักบัญชีมีอะไรบ้าง อยากได้งานต้องรู้สิ่งนี้

และถ้าใครคุณสมบัติครบแล้วลองอ่านวิธีขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชีครั้งแรกแบบละเอียดสุดๆ ทุกขั้นตอนได้ที่นี่นะคะ

ขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชี e-accountant DBD

3. อัปเดตแจ้งรายชื่อธุรกิจทำบัญชีสม่ำเสมอ

สำหรับเพื่อนๆ นักบัญชีคนไหนขึ้นทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ในระหว่างปีอย่าลืมอัปเดตรายชื่อธุรกิจอย่างสม่ำเสมอด้วย อัปเดตรายชื่อธุรกิจทำได้ง่ายๆ ผ่านระบบ e-accountant ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) เช่นกัน โดยจะต้องทำในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตามนี้

  • เพิ่มรายชื่อลูกค้าธุรกิจทำบัญชีใหม่ ภายใน 30 วันนับแต่เริ่มทำบัญชี
  • เปลี่ยนแปลงชื่อลูกค้ารับทำบัญชี ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
  • ยกเลิกเป็นผู้ทำบัญชีธุรกิจ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการยกเลิก

การอัปเดตรายชื่อธุรกิจเหล่านี้จะถูกเก็บเป็นฐานข้อมูลในกรณีที่ธุรกิจนำส่งงบการเงินจะสามารถนำส่งได้อย่างสมบูรณ์

ข้อควรจำเกี่ยวกับการแจ้งอัปเดตรายชื่อผู้ทำบัญชี คือ กฎหมายกำหนดไว้ว่า ผู้ทำบัญชี จะรับทำบัญชีได้ไม่เกิน 100 รายต่อปีนนะจ๊ะ

4. อบรมเก็บชั่วโมงและแจ้งชั่วโมง CPD

นอกจากจะขึ้นทะเบียนและแจ้งชื่อลูกค้าให้เรียบร้อย อีกสิ่งนึงที่ขาดไม่ได้สำหรับผู้ทำบัญชี คือ การเก็บชั่วโมงพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง (CPD) ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ว่า

“ผู้ทำบัญชีต้องเก็บชั่วโมงพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง (CPD) เป็นประจำทุกปีไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมงต่อปี และเป็นชั่วโมงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบัญชีไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง”

วิธีการเก็บชั่วโมงพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง (CPD) ที่นิยมทำกัน คือ การเข้าอบรมในหลักสูตร CPD ซึ่งต้องผ่านการอนุมัติจากทางสภาวิชาชีพบัญชีเสียก่อน

และนอกจากนี้ถ้าอบรมเก็บชั่วโมง CPD เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสำคัญที่ลืมไม่ได้ คือ การแจ้งรายละเอียดพัฒนาความรู้ต่อเนื่องภายใน 30 วันหลังสิ้นปีปฏิทิน (30 มกราคม ของทุกปี) ซึ่งเราสามารถทำแบบออนไลน์ได้ และผู้ทำบัญชีต้องเก็บหลักฐานการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีไว้ไม่ต่ำกว่า 3 ปี นับแต่วันสิ้นสุดการอบรมด้วย

อ่าน สรุปวิธีแจ้งชั่วโมงผู้ทำบัญชีต้องทำเมื่อไร และทำยังไงบ้าง ได้ที่นี่

ข้อสุดท้ายเป็นเรื่องการยืนยันรายชื่อธุรกิจลูกค้าที่รับทำบัญชีประจำปี และยืนยันสถานะสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีว่ายังมีสถานะเป็นสมาชิกอยู่หรือไม่ ซึ่งการยืนยันทั้ง 2 อันนี้ผู้ทำบัญชีจะต้องทำเป็นประจำทุกปีภายใน 30 วันหลังสิ้นปีปฏิทิน (30 มกราคม ของทุกปี)

อ่าน วิธียืนยันรายชื่อธุรกิจรับทำบัญชี อย่าลืมทำภายใน 30 มกราคม ได้ที่นี่

โดยสรุป ถ้าอยากเป็นผู้ทำบัญชีอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป๊ะๆ อย่าลืมเช็คว่าเราทำตาม 5 ข้อเหล่านี้ตลอดปีหรือไม่ ถ้าขาดข้อใดข้อนึงไปอาจทำให้ขาดคุณสมบัติตามกฎหมาย ฉะนั้น ถ้าใครอยากมีรายได้จากงานบัญชีและไม่ต้องมีปัญหามากวนใจทีหลังลองเช็คลิสทั้ง 5 ข้อนี้กันก่อนนะคะ

เช็คลิสผู้ทำบัญชีตามกฎหมาย

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน สอบถามได้ที่นี่

Line: @cpdacademy หรือ //lin.ee/36U1ks0Y

ผู้ก่อตั้ง CPD Academy แหล่งเรียนรู้สำหรับนักบัญชีทั้งมือเก๋าและมือใหม่ที่เชื่อว่า อาชีพบัญชีไม่มีวันตกงาน ถ้าพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้