8ขั้นตอนการวิเคราะห์วิจารณ์

หลักการวิเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่ฟังและดู

การวิเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่ฟังและดู

 

                สังคมปัจจุบันช่องทางการนำเสนอข้อมูลให้ดูและฟังจะมีมากมาย  ดังนั้นผู้เรียนควรรู้จักเลือกที่จะดูและฟัง  เมื่อได้รับรู้ข้อมูลแล้ว  การรู้จักวิเคราะห์ วิจารณ์ เพื่อนำไปใช้ในทางสร้างสรรค์  เป็นสิ่งจำเป็นเพราะผลที่ตามมาจากการดูและฟังจะเป็นผลบวกหรือลบแก่สังคม  ก็ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้นี่เอง  นั่นคือผลดีจะเกิดแก่สังคมก็เมื่อผู้ดูและฟังนำผลที่ได้นั้นไปใช้อย่างสร้างสรรค์  หรือในปัจจุบันจะมีสำนวนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายว่าคิดบวกนั่นเอง

เมื่อรู้จักหลักในการดูและฟังแล้ว  ควรจะรู้จักประเภทเพื่อแยกแยะในการนำไปใช้ประโยชน์  ซึ่งอาจสรุปประเภทได้ดังนี้

1.  สื่อโฆษณา  สื่อประเภทนี้ผู้ฟังต้องรู้จุดมุ่งหมาย  เพราะส่วนใหญ่จะเป็นการสื่อให้คล้อยตาม  อาจไม่สมเหตุสมผล  ผู้ฟังต้องพิจารณาไตร่ตรองก่อนซื้อหรือก่อนตัดสินใจ

2.  สื่อเพื่อความบันเทิง  เช่น เพลง, เรื่องเล่า ซึ่งอาจมีการแสดงประกอบด้วย เช่น นิทาน นิยาย หรือสื่อประเภทละคร สื่อเหล่านี้ผู้รับสารต้องระมัดระวัง  ใช้วิจารณญาณประกอบการตัดสินใจก่อนที่จะซื้อหรือทำตาม  ปัจจุบันรายการโทรทัศน์จะมีการแนะนำว่าแต่ละรายการเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายใด  เพราะเชื่อกันว่าถ้าผู้ใดขาดความคิดในเชิงสร้างสรรค์แล้ว  สื่อบันเทิงอาจส่งผลร้ายต่อสังคมได้  เช่น ผู้ดูเอาตัวอย่างการจี้, ปล้น, การข่มขืนกระทำชำเรา  และแม้แต่การฆ่าตัวตาย  โดยเอาอย่างจากละครที่ดูก็เคยมีมาแล้ว

3.  ข่าวสาร  สื่อประเภทนี้ผู้รับสารต้องมีความพร้อมพอสมควร  เพราะควรต้องรู้จักแหล่งข่าว ผู้นำเสนอข่าว การจับประเด็น ความมีเหตุมีผล รู้จักเปรียบเทียบเนื้อหาจากที่มาของข่าวหลาย ๆ แห่ง เป็นต้น

4. ปาฐกถา  เนื้อหาประเภทนี้ผู้รับสารต้องฟังอย่างมีสมาธิเพื่อจับประเด็นสำคัญให้ได้  และก่อนตัดสินใจเชื่อหรือนำข้อมูลส่วนใดไปใช้ประโยชน์ต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องนั้น ๆอยู่บ้าง

5.  สุนทรพจน์ สื่อประเภทนี้ส่วนใหญ่จะไม่ยาว และมีใจความที่เข้าใจง่าย ชัดเจน แต่ผู้ฟังจะต้องรู้จักกลั่นกรองสิ่งที่ดีไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติ

สรุปการฟังอย่างสร้างสรรค์นี้จะต้อง

–                   รู้จุดมุ่งหมายของสารที่ดูและฟังนั้น

–                   รับฟังและดูอย่างตั้งใจและทำความเข้าใจ

–                   รู้จักสรุปและเลือกนำไปใช้ประโยชน์

หลักและแนวทางการฟังและดูอย่างสร้างสรรค์

                1.  ต้องเข้าใจความหมาย  หลักเบื้องต้นจองการจับใจความของสารที่ฟังและดูนั้น  ต้องเข้าใจความหมายของคำ  สำนวนประโยคและข้อความที่บรรยายหรืออธิบาย

2.  ต้องเข้าใจลักษณะของข้อความ  ข้อความแต่ละข้อความต้องมีใจความสำคัญของเรื่องและใจความสำคัญของเรื่องจะอยู่ที่ประโยคสำคัญ ซึ่งเรียกว่า ประโยคใจความ  ประโยคใจความจะปรากฏอยู่ในตอนใดตอนหนึ่งของข้อความ  โดยปกติจะปรากฏอยู่ในตอนต้น ตอนกลาง และตอนท้าย  หรืออยู่ตอนต้นและตอนท้ายของข้อความผู้รับสารต้องรู้จักสังเกต  และเข้าใจการปรากฏของประโยคใจความในตอนต่าง ๆ ของข้อความ  จึงจะช่วยให้จับใจความได้ดียิ่งขึ้น

3.  ต้องเข้าใจในลักษณะประโยคใจความ  ประโยคใจความ คือข้อความที่เป็นความคิดหลัก  ซึ่งมักจะมีเนื้อหาตรงกับหัวข้อเรื่อง เช่น เรื่อง “สุนัข” ความคิดหลักคือ สุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงที่รักเจ้าของ  แต่การฟังเรื่องราวจากการพูดบางทีไม่มีหัวข้อ  แต่จะพูดตามลำดับของเนื้อหา  ดังนั้นการจับใจความสำคัญต้องฟังให้ตลอดเรื่องแล้วจับใจความว่า  พูดถึงเรื่องอะไร คือจับประเด็นหัวเรื่อง  และเรื่องเป็นอย่างไรคือ สาระสำคัญหรือใจความสำคัญของเรื่องนั่นเอง

4.  ต้องรู้จักประเภทของสาร  สารที่ฟังและดูมีหลายประเภท  ต้องรู้จักและแยกประเภทสรุปของสารได้ว่า เป็นสารประเภทข้อเท็จจริง  ข้อคิดเห็นหรือเป็นคำทักทายปราศรัย ข่าว ละคร สารคดี จะได้ประเด็นหรือใจความสำคัญได้ง่าย

5.  ต้องตีความในสารได้ตรงตามเจตนาของผู้ส่งสาร  ผู้ส่งสารมีเจตนาที่จะส่งสารต่าง ๆ กับบางคนต้องการให้ความรู้  บางคนต้องการโน้มน้าวใจ และบางคนอาจจะต้องการส่งสารเพื่อสื่อความหมายอื่น ๆ ผู้ฟังและดูต้องจับเจตนาให้ได้  เพื่อจะได้จับสารและใจความสำคัญได้

                6.  ตั้งใจฟังและดูให้ตลอดเรื่อง  พยายามทำความเข้าใจให้ตลอดเรื่อง  ยิ่งเรื่องยาวสลับซับซ้อนยิ่งต้องตั้งใจเป็นพิเศษและพยายามจับประเด็นหัวเรื่อง  กริยาอาการ ภาพและเครื่องหมายอื่น ๆ ด้วนความตั้งใจ

7.  สรุปใจความสำคัญ  ขั้นสุดท้ายของการฟังและดูเพื่อจับใจความสำคัญก็คือสรุปให้ได้ว่า เรื่องอะไร ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไรและทำไม หรือบางเรื่องอาจจะสรุปได้ไม่ครบทั้งหมดทั้งนี้ย่อมขึ้นกับสารที่ฟังจะมีใจความสำคัญครบถ้วนมากน้อยเพียงใด

 

วิจารณญาณในการฟังและดู

                พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของ วิจารณญาณไว้ว่า ปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้อง  คำนี้มาจากคำว่า พิจารณ์ หรือวิจารณ์ คำหนึ่ง ซึ่งแปลว่า การคิดใคร่ครวญโดยใช้เหตุผลและคำว่า ญาณ คำหนึ่ง ซึ่งแปลว่าปัญหาหรือ ความรู้ในชั้นสูง

วิจารณญาณในการฟังและดู  คือการรับสารให้เข้าใจเนื้อหาสาระใช้ปัญญาคิดใคร่ครวญโดยอาศัยความรู้ ความคิด เหตุผล และประสบการณ์ประกอบแล้วสามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม

การฟังและดูให้เกิดวิจารณญาณนั้นมีขั้นตอนในการพัฒนาเป็นลำดับบางทีก็อาจเป็นไปอย่างรวดเร็ว  บางทีก็ต้องอาศัยเวลา  ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้  ประสบการณ์ของบุคคลและความยุ่งยากซับซ้อนของเรื่องหรือสารที่ฟัง

 

 

 

 

ขั้นตอนการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณมีดังนี้

                1.  ฟังและดูให้เข้าใจเรื่อง  เมื่อฟังเรื่องใดก็ตามผู้ฟังจะต้องตั้งใจฟังเรื่องนั้นให้เข้าใจตลอดเรื่อง  ให้รู้ว่าเนื้อเรื่องเป็นอย่างไร  มีสาระสำคัญอะไรบ้าง พยายามทำความเข้าใจรายละเอียดทั้งหมด

2.  วิเคราะห์เรื่อง  จะต้องพิจารณาว่าเรื่องเป็นเรื่องประเภทใดเป็นข่าว  บทความ เรื่องสั้น นิทาน นิยาย บทสนทนา สารคดี ละคร และเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรอง เป็นเรื่องจริงหรือแต่งขึ้นต้องวิเคราะห์ลักษณะของตังละคร และกลวิธีในการเสนอสารของผู้ส่งสารให้เข้าใจ

3.  วินิจฉัยเรื่อง  คือการพิจารณาเรื่องที่ฟังว่าเป็นข้อเท็จจริง  ความรู้สึกความคิดเห็นและผู้ส่งสารหรือผู้พูดผู้แสดงมีเจตนาอย่างไรในการพูดการแสดง  อาจจะมีเจตนาที่จะโน้มน้าวในจรรโลงหรือแสดงความคิดเห็น  เป็นเรื่องที่มีเหตุมีผลมีหลักฐานน่าเชื่อถือหรือไม่และมีคุณค่ามีประโยชน์เพียงใด

 

 

สารที่ให้ความรู้

                สารที่ให้ความรู้บางครั้งก็เข้าใจง่าย  แต่งบางครั้งที่เป็นเรื่องสลับซับซ้อนก็จะเข้าใจยาก  ต้องใช้การพินิจพิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง  ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเรื่องที่เข้าใจง่ายหรือเข้าใจยาก  ผู้รับมีพื้นฐานในเรื่องที่ฟังเพียงใด  ถ้าเป็นข่าวหรือบทความเกี่ยวหับเกษตรกรผู้มีอาชีพเกษตรย่อมเข้าใจง่าย  ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจนักธุรกิจก็จะได้เข้าใจง่ายกว่าผู้มีอาชีพเกษตร  และผู้พูดหรือผู้ส่งสารก็มีส่วนสำคัญ  ถ้ามีความรู้ในเรื่องนั้นเป็นอย่างดีรู้วิธีเสนอ ก็จะเข้าใจได้ง่าย

ข้อแนะนำในการรับสารที่ให้ความรู้โดยใช้วิจารณญาณมีดังนี้

                1.  เมื่อได้รับสารที่ให้ความรู้เรื่องใดต้องพิจารณาว่าเรื่องนั้นมีคุณค่าหรือมีประโยชน์ควรแก่การใช้วิจารณญาณมากน้อยเพียงใด

2.  ถ้าเรื่องที่ต้องใช้วิจารณญาณไม่ว่าจะเป็นข่าว บทความ สารคดี ข่าว หรือความรู้เรื่องใดก็ตาม  ต้องฟังด้วยความตั้งใจจับประเด็นสำคัญให้ได้  ต้องตีความหรือพินิจพิจารณาว่า ผู้ส่งสารต้องการส่งสารถึงผู้รับคืออะไร  และตรวจสอบหรือเปรียบเทียบกับเพื่อน ๆ ที่ฟังร่วมกันมาว่าพิจารณาได้ตรงกันหรือไม่อย่างไร  หากเห็นว่าการฟังและดูของเราต่างจากเพื่อนด้อยกว่าเพื่อนจะได้ปรับปรุงแก้ไขให้มีปะสิทธิภาพการฟังพัฒนาขึ้น

3.  ฝึกการแยกแยะข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น เจตคติของผู้พูดหรือแสดงที่มีต่อเรื่องที่พุดหรือแสดงและฝึกพิจารณาตัดสินใจว่าสารที่ฟังและดูนั้นเชื่อถือได้หรือไม่  และเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด

4.  ขณะที่ฟังควรบันทึกสาระสำคัญของเรื่องไว้  ตลอดทั้งประเด็นการอภิปรายไว้เพื่อนำไปใช้

5.  ประเมินสารที่ให้ความรู้ว่า  มีความสำคัญมีคุณค่าและประโยชน์มากน้อยเพียงใด มีแง่คิดอะไรบ้าง และผู้ส่งสารมีกลวิธีในการถ่ายทอดที่ดีน่าสนใจอย่างไร

6.  นำคุณค่าประโยชน์ข้อคิด ความรู้และกลวิธีต่าง ๆ ที่ได้จากการฟังไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต  พัฒนาชุมชนและสังคมได้อย่างเหมาะสม

สารที่โน้มน้าวใจ

สารที่โน้มน้าวใจเป็นสารที่เราพบเห็นประจำจากสื่อมวลชน  จากการบอกเล่าจากปากหนึ่งไปสู่ปากหนึ่ง ซึ่งผู้ส่งสารอาจจะมีจุดมุ่งหมายหลายอย่างทั้งที่ดี และไม่ดี มีประโยชน์หรือให้โทษจุดมุ่งหมายที่ให้ประโยชน์ก็คือ  โน้มน้าวใจให้รักชาติบ้านเมือง  ให้ใช้จ่ายอย่างประหยัด ให้รักษาสิ่งแวดล้อม ให้รักษา

สาธารณสมบัติและประพฤติแต่สิ่งที่ดีงาม  ในทางตรงข้ามผู้ส่งสารอาจจะมีจุดมุ่งหมายให้เกิดความเสียหาย  มุ่งหมายที่จะโฆษณาชวนเชื่อหรือปลุกปั่น ยุยงให้เกิดการแตกแยก  ดังนั้นจึงต้องมีวิจารณญาณ คิดพิจารณาให้ดีกว่าสารนั้นเป็นไปในทางใด

การใช้วิจารณญาณสารโน้มน้าวใจควรปฏิบัติดังนี้

                        1.  สารนั้นเรียกร้องความสนใจมากน้อยเพียงมด หรือสร้างความเชื่อถือของผู้พูดมากน้อยเพียงใด

2.  สารที่นำมาเสนอนั้น สนองความต้องการพื้นฐานของผู้ฟังและดุอย่างไรทำให้เกิดความปรารถนาหรือความว้าวุ่นขึ้นในใจมากน้อยเพียงใด

3.  สารได้เสนอแนวทางที่สนองความต้องการของผู้ฟังและดูหรือมีสิ่งใดแสดงความเห็นว่าหากผู้ฟังและดูยอมรับข้อเสนอนั้นแล้วจะได้รับประโยชน์อะไร

4.  สารที่นำมาเสนอนั้นเร้าใจให้เชื่อถือเกี่ยวกับสิ่งใด และต้องการให้คิดหรือปฏิบัติอย่างไรต่อไป

5.  ภาษาที่ใช้ในการโน้มน้าวใจนั้นมีลักษณะทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์อย่างไรบ้าง

 

 

สารที่จรรโลงใจ

                ความจรรโลงใจ  อาจได้จากเพลง ละคร ภาพยนตร์ คำประพันธ์ สุนทรพจน์ บทความบางชนิด คำปราศรัย พระธรรมเทศนา โอวาท ฯลฯ เมื่อได้รับสารดังกล่าวแล้วจะเกิดความรู้สึกสบายใจ สุขใจ คลายเครียด เกิดจินตนาการ มองเห็นภาพและเกิดความซาบซึ้ง  สารจรรโลงใจจะช่วยยกระดับจิตใจมนุษย์ให้สูงขึ้นประณีตขึ้น  ในการฝึกให้มีวิจารณญาณในสารประเภทนี้ควรปฏิบัติดังนี้

1.  ฟังและดูด้วยความตั้งใจ  แต่ไม่เคร่งเครียดทำใจให้สบาย

2.  ทำความเข้าใจในเนื้อหาที่สำคัญ  ใช้จินตนาการไปตามจุดประสงค์ของสารนั้น

3.  ต้องพิจารณาว่าสิ่งฟังและดูให้ความจรรโลงในด้านใด อย่างไรและมากน้อยเพียงใด  หากเรื่องนั้นต้องอาศัยเหตุผล ต้องพิจารณาว่าสมเหตุสมผลหรือไม่

4.  พิจารณาภาษาและการแสดง  เหมาะสมกับรูปแบบเนื้อหาและผู้รับสารหรือไม่เพียงใด

 


การวิเคราะห์และวิจารณ์สาร

ความหมายของการวิเคราะห์ การวินิจและการวิจารณ์

          การวิเคราะห์  หมายถึง การที่ผู้ฟังและผู้ดูรับสารแล้วพิจารณาองค์ประกอบออกเป็นส่วน ๆ นำมาแยกประเภทลักษณะ สาระสำคัญของสาร กลวีการเสนอและเจตนาของผู้ส่งสาร

การวินิจ  หมายถึง การพิจารณาสารด้วยความเอาใจใส่ ฟังและดูอย่างไตรตรองพิจารณาหาเหตุผล แยกแยะข้อดีข้อเสีย คุณค่าของสาร ตีความหมายและพิจารณาสำนวน ภาษา ตลอดจนน้ำเสียงและการแสดงของผู้ส่งสาร  พยายามทำความเข้าใจความหายที่แท้จริงเพื่อให้ได้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของผู้วินิจ

การวิจารณ์  หมายถึง การพิจารณาเทคนิคหรือกลวิธีที่แสดงออกมานั้น ให้เห็นว่า น่าคิด น่าสนใจ น่าติดตาม มีชั้นเชิงยอกย้อนหรือตรงไปตรงมา องค์ประกอบใดมีคุณค่าน่าชมเชย องค์ประกอบใดน่าท้วงติงหรือบกพร่องอย่างไร การวิจารณ์สิ่งใดก็ตามจึงต้องใช้ความรู้มีเหตุมีผล มีหลักเกณฑ์และมีความรอบคอบด้วย

ตามปกติแล้ว  เมื่อจะวิจารณ์สิ่งใด  จะต้องผ่านขั้นตอนและกระบวนการของการวิเคราะห์สาร วินิจสาร และประเมินค่าสาร ให้ชัดเจนเสียก่อนแล้ว  จึงวิจารณ์แสดงความเห็นออกมาอย่างมีเหตุมีผลให้น่าคิด น่าฟังและเป็นคำวิจารณ์ที่เชื่อถือได้

การวิจารณ์  ที่รับฟังมาก็เช่นเดียวกัน  ต้องผ่านการวิเคราะห์ วินิจ และประเมินค่าสารนั้นมาก่อนและการวิจารณ์แสดงความคิดเห็นที่จะทำได้อย่างมรเหตุมีผลน่าเชื่อถือนั้น  ผู้รับสารจะต้องรู้หลักเกณฑ์การวิจารณ์แสดงความคิดเห็นตามชนิดของสารเพราะสารแต่ละชนิดย่อมมีองค์ประกอบเฉพาะตัว เช่น ถ้าเป็นข่าวต้องพิจารณาความถูกต้องตามความเป็นจริง  แต่ถ้าเป็นละครจุดูความสมจริง  และพิจารณาโครงเรื่อง เนื้อเรื่อง ฉาก ตัวละคร ภาษาที่ใช้ บาบาทการแสดง ฯลฯ นอกจากรู้หลักเกณฑ์แล้วจะต้องอาศัยการฝึกฝนบ่อย ๆ และอ่านตัวอย่างงานวิจารณ์ของผู้อื่นที่เชี่ยวชาญให้มาก  ก็จะช่วยให้การวิจารณ์ดีมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ

 

 

สรุป 

                1.  วิจารณญาณในการฟังและดู  หมายถึงการรับสารให้เข้าใจตลอดเรื่องแล้วใช้ปัญญาคิดไตรตรอง  โดยอาศัยความรู้ ความคิด เหตุผล และประสบการณ์เดิมแล้วสามารถนำสาระต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม  โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.1  ฟังและดูให้เข้าใจตลอดเรื่อง

1.2  วิเคราะห์เรื่อง  ว่าเป็นเรื่องประเภทใด  ลักษณะของเรื่องและตัวละครเป็นอย่างไร  มีกลวิธีในการเสนอเรื่องอย่างไร

1.3  วินิจฉัย  พิจารณาเรื่องที่ฟังเป็นข้อเท็จจริง ความคิดเห็น เจตนาของผู้เสนอเป็นอย่างไร มีเหตุผลน่าเชื่อถือหรือไม่

1.4  การประเมินค่าของเรื่อง  ผ่านขั้นตอน 1 – 3 แล้ว ก็ประมาณว่าเรื่องหรือสารนั้นดีหรือไม่ดี มีอะไรที่จะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้

1.5  การนำไปใช้ประโยชน์  ผ่านขั้นตอนที่ 1 – 4 แล้ว ขั้นสุดท้ายคือ นำคุณค่าของเรื่องที่ฟังและดูไปใช้ได้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล

2.  การวิเคราะห์  หมายถึงการแยกแยะประเภท ลักษณะ สาระสำคัญและการนำเสนอพร้อมทั้งเจตนาของผู้พูดหรือผู้เสนอ

การวินิจ  หมายถึงการพิจารณาเรื่องอย่างไตรตรอง  หาเหตุผลข้อดีข้อเสีย  และคุณค่าของสาร

                การวิจารณ์  หมายถึง การพิจารณาอย่างมีหลักเกณฑ์ในเรื่องที่ฟังและดู  ว่ามีอะไรน่าคิดน่าสนใจ น่าติดตาม น่าชมเชย น่าชื่นชมและมีไรบกพร่องบ้าง

                การวิจารณ์สารหรือเรื่องที่ได้ฟังและดู  เมื่อได้วิเคราะห์และวินิจและใช้วิจารณญาณในการฟังและดูเรื่องหรือสารที่ได้รับแล้วก็นำผลมารายงานบอกกล่าวแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งนั้น  อย่างมีเหตุผล มีหลักฐานประกอบ  และเป็นสิ่งสร้างสรรค์

 

หลักการฟังอย่างวิจารณญาณ การฟังอย่างวิจารณญาณมีหลักปฏิบัติดังนี้

ผู้ฟังพิจารณาว่า ฟังเรื่องอะไรเป็นการฟังประเภทบทความ บทสัมภาษณ์การเล่าเรื่องสรุปเหตุการณ์ ใครเป็นคนพูดคนสัมภาษณ์ ใครเป็นคนเขียนบทความ และหัวข้อนั้นมีคุณค่าแก่การฟังหรือไม่

1.1 พิจารณาผู้ส่งสารว่ามีจุดมุ่งหมาย และมีความจริงใจในการส่งสารนั้นเพียงใด

1.2 พิจารณาผู้ส่งสารว่ามีความรู้ ประสบการณ์หรือความใกล้ชิดกับเรื่องราวในสารนั้นเพียงใด

1.3 พิจารณาผู้ส่งสารว่าใช้กลวิธีในการส่งสารนั้นอย่างไร คือวิธีการธรรมดาหรือยอกย้อนซ่อนปมอย่างไร

1.4 พิจารณาเนื้อหาของสารว่า ส่วนใดเป็นข้อเท็จจริง ส่วนใดเป็นข้อคิดเห็น

1.5 พิจารณาสารว่าเป็นไปได้ และควรเชื่อเพียงใด

1.6 ผู้ฟังควรประเมินว่าสิ่งที่ฟังมีประโยชน์และมีคุณค่ามากน้อยเพียงไร

หลักการแยกข้อคิดเห็นและข้อเท็จจริง ในการรับฟังสาร นอกจากจะจับใจความสำคัญของเรื่องที่ฟังแล้ว นักเรียนจะต้องแยะแยะได้ว่า ใจความตอนใดเป็นข้อคิดเห็นส่วนตัวของผู้พูดซึ่งจะมีลักษณะเมื่อพิจารณาความถูกต้องได้ยาก และตอนใดเป็นข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถพิสูจน์ความถูกต้องได้ การแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นมีดังนี้

1. การแยกข้อเท็จจริง เป็นข้อมูลที่สามารถพิสูจน์ได้ เห็นว่าเป็นจริงหรือเป็นเท็จ ได้จากตัวเลขเชิงปริมาณต่างๆ ที่มีอยู่ซึ่งทำการตรวจสอบได้ดังนี้ เช่นประชา หนัก 50 กิโลกรัม ,โอภาสสูงกว่าเสกสรรค์

2. ความคิดเห็นเป็นเรื่องของการคาดคะเนหรือการทำนายโดยอาศัยเหตุผลส่วนตัวซึ่งควรจะเปิดโอกาสให้มีการโต้แย้งหรือสนับสนุน เช่นของเก่าดีกว่าของใหม่ มีเงินดีกว่ามีเกียรติ

ข้อใดคือขั้นตอนของการวิเคราะห์วิจารณ์

๔. ขั้นตอนการวิเคราะห์วิจารณ์ มีขั้นตอนดังนี้ ๑. หาความรู้เกี่ยวกับประเภทและลักษณะของหนังสือนั้นๆ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ๒. อ่านหนังสือเรื่องนั้นอย่างถี่ถ้วน หาแนวคิดหลักหรือแก่นของเรื่องที่ผู้เขียนตั้งใจจะสื่อถึงผู้อ่าน.
การหลบเสียง.
การเอื้อนเสียง.
การครั่นเสียง.
การครวญเสียง.
การกระแทกเสียง.

ขั้นตอนการวิเคราะห์วิจารณ์มีกี่ขั้นตอน

ศึกษาเรื่องอย่างละเอียดอย่างถ่องแท้.
วิเคราะห์แยกแยะเนื้อหาเป็นส่วนๆ ว่ามีลักษณะอย่างไร มีความสัมพันธ์กันหรือไม่.
วิเคราะห์เนื้อหาแล้วประเมินค่าว่ามีข้อดี ข้อเสีย จุดเด่น จุดด้อย หรือข้อบกพร่องอย่างไร.
วิจารณ์ข้อมูลที่วิเคราะห์แล้วไปประเมินค่าให้เห็นว่ามีคุณค่าหรือมีข้อบกพร่องอย่างไร.

ขั้นตอนของการอ่านเพื่อวิเคราะห์วิจารณ์มีอะไรบ้าง

ขั้นตอนของการอ่านเชิงวิเคราะห์ 2.1 จำแนกและจับใจความสำคัญของเรื่องได้ว่าใคร ทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร 2.2 แยกเนื้อหาของเรื่องราวออกเป็นสองส่วนคือ สาระสำคัญหรือข้อเท็จจริง และส่วนขยายหรือความคิดเห็น 2.3 พิจารณาเนื้อหาในแต่ละส่วนที่แยกไว้แล้วอย่างละเอียดว่า ประกอบกันอย่างไรหรือประกอบด้วยอะไรบ้าง

ขั้นตอนการวิเคราะห์มีอะไรบ้าง

โดยมีขั้นตอนการดาเนินการวิเคราะห์ดังนี้ 1.การกาหนดปัญหา 2.การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล 3.การวิเคราะห์ระบบแนวทางเลือก 4.การกาหนดความเป็นไปได้ 5.การพัฒนาเค้าโครงหรือโครงร่างระบบ 6.การพัฒนาระบบนาร่องหรือระบบต้นแบบ 7.การออกแบบระบบ 8.การใช้ระบบ 9. การติดตามประเมินผลระบบ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้