กระบวนการคิดวิเคราะห์ 4 ขั้นตอน

การคิดเป็น

คิดเป็น  หมายถึง การวิเคราะห์ปัญหา และการแสวงหาคำตอบหรือทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาหรือดับทุกข์ การคิดอย่างรอบคอบเพื่อแก้ไขปัญหา โดยอาศัยข้อมูลตนเอง ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมและด้านวิชาการ มาเป็นองค์ประกอบในการคิดตัดสินใจแก้ปัญหา 

ความสำคัญของการ “คิดเป็น”  คือ การสร้างสันติสุขให้เกิดกับโลก  เพราะถ้าประชากรส่วนใหญ่ของโลกยึดหลักการคิดด้วยกระบวนการคิดเป็น การมองปัญหาจึงมองอย่างเป็นเหตุเป็นผลสมจริง ความขัดแย้งจะลดลงหรือไม่เกิดความขัดแย้งขึ้น เมื่อไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น สังคมโลกก็จะมีแต่ความสุข
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้   เพื่อให้คนคิดเป็น
          การมุ่งให้เกิดกระบวนการคิดเป็น และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนจึงควรมีลักษณะในการสนับสนุนเพื่อให้ผู้เรียน  ได้ยึดกระบวนการคิดเป็นให้กลายเป็นวิถีของการเรียน
          1. กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์จากปัญหาและความต้องการ
          2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างมีศักยภาพ
          3. เรียนรู้จากการอภิปรายในประเด็นที่เป็นปัญหา
          4. เรียนรู้จากกระบวนการกลุ่ม โดยใช้ข้อมูลหลายๆด้าน
          5. เรียนรู้จากวิถีชีวิตจริง
          6. เรียนรู้จากการทำโครงงาน
          7. เรียนรู้จากการศึกษากรณีตัวอย่าง
          8. ฝึกการตัดสินใจ ด้วยระบบข้อมูลที่เพียงพอและเชื่อถือได้
          9. นำเวทีชาวบ้านมาเป็นเครื่องมือสำคัญในกระบวนการคิดแก้ปัญหา
          10. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ตัดสินใจแก้ปัญหาพื้นฐาน

สรุป การคิดเป็น เป็นลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทยทุกคนไม่เฉพาะแต่ผู้เรียน กศน.เท่านั้น เพราะ“คิดเป็น”  จะช่วยให้คนไทยทุกคนยืนอย่างมั่นคง ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติสุข เพราะเข้าใจในสรรพสิ่งรอบตัว  และข้อสำคัญคือ เข้าใจตนเอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเห็นภาพของกระบวนการคิดเป็น

            คุณค่าของการฝึกฝนวิธีการและเทคนิคการคิด ย่อมก่อให้เกิดกลวิธีในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ไม่อับจนหนทางและวิธีการแก้ปัญหา อันเป็นคุณภาพทางปัญญา ซึ่งสะท้อนให้เห็นศักยภาพภายในของมนุษย์ ว่าการคิดนั้น เป็นคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างจากสิ่งอื่น เพราะมีกระบวนการคิดที่ซับซ้อน อันก่อให้เกิดสิ่งที่มีประโยชน์และมีคุณค่าต่อตนเองและสังคม

ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าทฤษฎี แนวคิดจากเอกสาร และอ่านงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบเป็นกระบวนการคิด ที่นำสู่กระบวนการคิดระดับสูงของกรมวิชาการ (2541 : อัดสำเนา ) มี 4 ชนิด คือ

1. การคิดวิจารณญาณ

2. การคิดสร้างสรรค์

3. การคิดตัดสินใจ

4. การคิดแก้ปัญหา

ซึ่งจะนำเสนอตามลำดับดังนี้

ตอนที่ 1 กรอบแนวคิดทฤษฎี การพัฒนาการคิด

ตอนที่ 2 ทฤษฎี และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการคิดระดับสูง

2.1 - ความหมายทฤษฎีและแนวคิดการคิดวิจารณญาณ

- การวัดความสามารถในการคิดวิจารณญาณ

2.2 - ความหมายทฤษฎีและแนวคิดการคิดสร้างสรรค์

- การวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์

2.4 - ความหมายทฤษฎีและแนวคิดการคิดตัดสินใจ

- การวัดความสามารถในการคิดตัดสินใจ

2.3 - ความหมายทฤษฎีและแนวคิดการคิดแก้ปัญหา

- การวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา

ตอนที่ 3 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแบบฝึก

ตอนที่ 1 กรอบแนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาการคิด

1. กรอบนำด้านการคิดของสมอง

ความคิดเป็นกระบวนการทางสมองที่มนุษย์ใช้จัดการกับข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ ด้วยการจำแนกองค์ประกอบ, ความเหมือน-ความแตกต่าง, การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ รวมไปถึงการสรุปอ้างอิงอย่างใช้เหตุผล เป็นกระบวนการภายในสมองที่ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่อาจแสดงความคิดเห็นเหล่านั้นออกมาด้วยการกระทำที่แสดง เช่น การพูด การเขียน เป็นต้น

สมองเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่มีความซับซ้อนมาก และมีการพัฒนาการมาตั้งแต่ประมาณ 5 สัปดาห์แรก โดยแบ่งเป็นสองซีก คือซ้ายขวาควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อซีกตรงข้ามของร่างกาย นอกจากนั้นสมองทั้งสองซีกยังบรรจุข้อมูลที่แตกต่างกัน คือ

ซีกซ้าย ควบคุมการพูด การใช้ภาษา การเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์การรู้คิดการใช้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ควบคุมการทำงานซีกขวาของร่างกาย

ซีกขวา เป็นแหล่งควบคุมมิติสัมพันธ์ต่างๆ ความสุนทรีทางอารมณ์ เช่น ดนตรี เพลง งานศิลปะต่างๆ เป็นแหล่งส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่มนุษย์สร้างขึ้น ควบคุมการทำงานของร่างกายด้านซ้าย

ทั้งที่บรรจุการควบคุมการทำงานรับรู้ข้อมูลที่แตกต่างกัน แต่จะไม่แยกการทำงานจากกันเด็ดขาด ต้องทำงานไปพร้อมๆ กัน ภายใต้การบริหารงานและเซลล์ประสาทจะเป็นตัวนำเข้า-ออกระหว่างสมองทั้งสองซีกนั้น ซึ่งสมองของมนุษย์มีลักษณะเด่น คือ

- มีน้ำหนัก 2% ของน้ำหนักของร่างกาย ซึ่งโดยปกติจะประมาณ 3 ปอนด์ หรือ 1.36 กิโลกรัม

- ขนาดของสมองจะโตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 18 ปี

- สมองมีส่วนประกอบของน้ำ 75%

- มีเซลล์ประสาทประมาณ 20% ของออกซิเจนที่ไหลเวียนในร่างกาย

- มีเซลล์ประสาทประมาณ 100ล้านเซลล์และแต่ละเซลล์จะเชื่อมต่อกันโดยรวม

ทั้งสมองจะมีเส้นประสาทประมาณสิบร้อยล้านๆ เส้น

- สมองมีลักษณะนุ่มและต้องครอบด้วยกะโหลกแข็งแรงแต่โอกาสการได้รับอันตรายมีง่ายมาก

สมองทำหน้าที่เป็นกลไกที่เกี่ยวข้องกับความประพฤติ ข้อปฏิบัติของมนุษย์ เช่น วิธีคิด การแสดงออกทางอารมณ์ต่างๆ การดำเนินชีวิต และการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว สมองทำงานถูกต้องจะส่งผลให้เจ้าของมีความประพฤติถูกต้อง ถ้าเมื่อใดสมองทำงานผิดพลาดมนุษย์ก็จะแสดงพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องออกมาด้วยเช่นกันหน้าที่อื่นๆ ของมนุษย์เช่นการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย ความดันโลหิต การทำงานของหัวใจ และการเคลื่อนไหวของร่างกาย เป็นต้น การจะรับประสบการณ์ และการเรียนรู้ต่างๆ ที่ถ่ายทอดกระบวนการคิดทางสมองของเขาออกมาเป็นระยะๆ ตามวัยจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่ แม้กล่าวว่าสมองเจริญ เติบโตเต็มที่เมื่ออายุ 18 ปี แต่กระบวนการคิดภายในสมองจะพัฒนาการต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าสมรรถภาพด้านการจัดโปรแกรมต่างๆ เกี่ยวกับการคิดจะสิ้นสุดลง

2. ปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาการคิด ความเจริญทางสมองประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ ดังนี้

2.1 พันธุกรรม ทารกจะรับถ่ายทอดพันธุกรรมมาตั้งแต่ปฏิสนธิ บางคนได้รับลักษณะเด่น บางคนได้รับลักษณะด้อยมาซึ่งพันธุกรรมจะส่งผลโดยตรงเฉพาะการเติบโตของสมอง และการสร้างเซลล์ประสาท

2.2 สิ่งแวดล้อม จะส่งผลด้านการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับมาก และจัดระบบการจัดการกับข้อมูลต่างๆ ระหว่างเซลล์ประสาท

ปัจจัยที่ส่งผลให้สมองเกิดพัฒนาการด้านการคิด ประกอบด้วย

1. การทำงานของสมอง (brain Functioning) เป็นปัจจัยต้นที่เริ่มทำงานมาตั้งแต่ 5 สัปดาห์แรก และพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามวัยของบเด็ก ดังนั้นเด็กจะมีพัฒนาการทางสมองเต็มศักยภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมที่แตกต่างกัน หรือการบังเอิญที่เซลล์ประสาทบางส่วนถูกทำลายตั้งแต่ 5 สัปดาห์จนถึงก่อนคลอด หรือหลังคลอดก็ได้

2. พื้นฐานทางครอบครัว (Family background) เป็นปัจจัยภายนอกที่เด็กได้รับจาก

สิ่งแวดล้อมใกล้ตัวได้แก่

2.1 พื้นฐานด้านโภชนาการที่จะช่วยให้เซลล์สมองมีพัฒนาการสมบูรณ์ และส่งผลต่อพัฒนาการการคิดที่ดี ตั้งแต่ปฏิสนธิ

2.2 พื้นฐานด้านอบรมเลี้ยงดู ตั้งแต่ปฏิสนธิเช่นกันตั้งแต่ภาวะที่เกิดกับอารมณ์มารดาจะส่งผลต่อเด็กในครรภ์ บุคคลในครอบครัวที่เด็กเริ่มมีปฏิสัมพันธ์จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลพัฒนาการการคิด ช่วยให้เด็กกล้าคิด กล้าทำ กล้าซักถาม กล้าทดลอง ซึ่งเมื่อถูกขัดขวางอาจส่งผลให้การพัฒนา และความสามารถการคิดไม่เต็มศักยภาพ

3. พื้นฐานความรู้ (background of knowlegde) การพัฒนาการคิดมีหลายระดับพื้นฐานความรู้เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อพัฒนาการคิด ผู้มีความรู้สูงมีความรู้ดีย่อมมีข้อมูลข่าวสารประสบการณ์ และพื้นฐานความรู้ที่หลากหลาย พอที่จะเป็นเครื่องนำทางในการคิด

การแก้ไขปัญหา การสร้างองค์ความรู้ และการตัดสินใจพื้นฐานความรู้ของแต่ละคนขึ้นอยู่กับสภาพทางครอบครัว และตนเองจะใฝ่รู้ใฝ่เรียนจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ รอบตัว

4. ประสบการณ์ชีวิต (experience of life) เป็นพื้นฐานความรู้ของบุคคลอีกประเภทที่ได้จากการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง สถานการณ์ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และประสบการณ์ ทั้งหมดนี้จะเป็นข้อมูลทางสังคม ซึ่งถ้าได้เชิงบวกมาจะช่วยให้เป็นคนใจกว้างเป็นคนมีคุณธรรม ขยัน อดทน และมั่นใจในตนเอง ด้านสติปัญญาจะมีการผสมผสานกระบวนการคิดทุกชนิดอย่างมีทิศทางด้านมนุษย์สัมพันธ์ จะทำเพื่อผู้อื่นมีความสุข

5. สภาพแวดล้อม (environment) เป็นแรงกระตุ้นแรงเสริม แรงกดดันให้เกิดพัฒนาการคิด เพราะสภาพแวดล้อมบางชนิดก่อให้เกิดจินตนาการ ซึ่งทั้งหมดนี้คือการเรียนรู้ที่จะคิดอย่างมีเหตุผล และตัดสินใจที่เหมาะสมในที่สุดได้

6. ศักยภาพการรับรู้และเรียนรู้ (perception and learning poteltial) เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการคิด การที่เด็กรับรู้ และเรียนรู้เร็ว จะช่วยให้เกิดพัฒนาการคิดเชิงรุกซึ่งทันสถานการณ์และจะสามารถปรับตัวได้ทันต่อเหตุการณ์ได้เป็นอย่างดี

สิ่งที่เป็นอุปสรรค์และส่งเสริมการคิด

อุปสรรค

พฤติกรรมส่งเสริม

1.การที่สมองถูกกระทบกระเทือน

2.ดารรับมลภาวะแวดล้อมที่ทำให้ร่างกาย

อ่อนแอเช่นการรับสารเป็นโทษจากอาหาร

การออกกำลังกาย , พักผ่อนไม่เพียงพอ

3.การคิดสิ่งร้าย

4.การเครียดขาดสมาธิและไม่กล้าเผชิญปัญหา

มีสิ่งเร้ามากระตุ้น

1.ให้คิดแก้ปัญหา , เอาชนะ

2.ค้นหาคำตอบที่สงสัย

3.เพื่อสนองความต้องการทางอารมณ์ สังคมของบุคคล

การพัฒนาความคิดของมนุษย์ อาจขึ้นอยู่กับวัย เพศ พันธุกรรม วุฒิภาวะ ระดับการศึกษา และสิ่งแวดล้อมนอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมที่ส่งเสริมการคิด ดังนี้

- มีการใฝ่รู้ และจินตนาการ

- กล้าเผชิญกับความคิดที่ซับซ้อน

- สนุกต่อการตัดสินใจ

- วางแผนให้ประสบความสำเร็จ

- สามารถมองเห็นโอกาสและทางเลือกได้มากขึ้น

- สร้างสรรค์ความคิดได้ง่าย , คิดกว้างขวาง และลดความกังวล

- มีความรวดเร็วต่อการปรับตัวกับสถานการณ์แวดล้อม

- มีความฉับไวในการรวบรวมข้อมูลและสร้างวิธีปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ได้มาก

ตอนที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการคิด

มนุษย์เป็นสัตว์สังคมต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคมหลายระดับ จึงมักประสบปัญหาและเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย การคิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตโดยเฉพาะในยุคการแข่งขัน การต่อสู้ในทุกๆ ด้าน เช่นทุกวันนี้เพื่อรู้จักคิดป้องกันก่อนเกิดเหตุ แก้ปัญหาหรือตัดสินใจได้เมื่อเหตุเกิดขึ้นแล้ว ยังต้องมีการปรับปรุง , พัฒนาและทำลายหลายสิ่งรอบตัวเพื่อเหตุผลใดก็ตาม ดังนั้นการจะดำเนินสังคมให้ปกติสุขต้องประกอบด้วยการรู้คิดเป็นระบบของมนุษย์ เริ่มต้นที่เด็ก ซึ่งครูคือผู้มีหน้าที่ช่วยพัฒนาให้เด็กเหล่านั้นมีความสามารถในการคิดเป็นใช้ความคิดในทางที่ถูกต้องเหมาะสมเขาจึงจะดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างราบรื่น ซึ่งทิศนา แขมมณี และคณะ (2549:91) อ้างอิงจากโกวิท วรพิพัฒน์ ว่าการคิดเพื่อการ “คิดเป็น” เป็นการคิดเพื่อแก้ปัญหา เนื่องจากการคิดมีจุดเริ่มต้นที่ตัวปัญหา แล้วพิจารณาย้อนไตร่ตรองถึงข้อมูล 3 ประเภท คือ ข้อมูลด้านตนเอง ชุมชน สังคมสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ต่อจากนั้นจึงลงมือกระทำการ หากการกระทำสามารถทำให้ปัญหา และความไม่พอใจของบุคคลหายไป กระบวนการคิดจะยุติลง แต่ถ้าหากบุคคลยังรู้สึกไม่พอใจ ปัญหายังคงอยู่บุคคลก็จะเริ่มกระบวนการใหม่อีกครั้ง //advisor.anamai.moph.go.th/ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2545) ให้ความหมายว่า การคิด (Thinking) คือการที่คนๆ หนึ่งพยายามใช้พลังทางสมองของตนในการนำเอาข้อมูล ความรู้ประสบการณ์ต่างๆ ที่มีอยู่มาจัดวางอย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้มาเพื่อผลลัพธ์ เช่นการตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ดีที่สุด เป็นต้น ดร.ชาติ แจ่มนุช (2545 : 20-21 ) กล่าวว่า การคิด คือ

1. เป็นกระบวนการทำงานของสมองโดยใช้ประสบการณ์มาสัมผัสกับสิ่งเร้าและข้อมูลหรือสิ่งแวดล้อมเพื่อแก้ปัญหาแสวงหาคำตอบ ตัดสินใจหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่

2. เป็นพฤติกรรมที่เกิดในสมองเป็นนามธรรมไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า การที่จะรู้ว่ามนุษย์คิดอะไร คิดอย่างไร จึงต้องสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกมา หรือคำพูดที่พูดออกมา

กรอบแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการคิด

ในการคิดวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้คำว่า “กระบวนการคิด” เป็นการวางขอบเขตการคิดอย่างกว้าง ด้วยเหตุที่ผู้เรียนที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลอยู่ในพื้นฐานครอบครัวปานกลางถึงต่ำ และเป็นชุมชนชานเมืองซึ่งทำให้การคิดนอกกรอบของตนมีน้อยมาก ผู้วิจัยมุ่งหวังการสร้างกระบวนการคิดให้ยั่งยืนติดตัวผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาออกไปจึงวางกรอบแนวคิดตามที่นักการศึกษาให้แนวคิดไว้ดังนี้

เพียเจท์ (1977) นักจิตวิทยาชาวสวิสเซอร์แลนด์ ผู้นำเสนอทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กว่า การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม กระบวนการตามแนวคิดนี้เชื่อว่าโครงสร้าง (Assimilation) และการปรับโครงสร้าง (Accommodation) มนุษย์จะใช้กระบวนการทั้งสองนี้สร้างระบบการคิดพัฒนาความสามารถการคิดอย่างรอบคอบ มีเหตุผล ทำให้เกิดการพัฒนาทางสมองอย่างต่อเนื่อง เรียกว่าขั้นพัฒนาการ (Stage of Development) เริ่มตั่งแต่อายุ 16 ปี และจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพียเจท์ยังเชื่อว่ามนุษย์มีแนวโน้มพื้นฐานที่ติดตัวมา 2 ชนิด คือ การจัดและรวบรวม (Organization) เป็นกระบวนการภายในที่ทำงานอย่างมีระบบต่อเนื่องตราบที่ยังมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ อธิบายว่าลักษณะพัฒนาการทางสติปัญญาของคนที่มีลักษณะเดียวกัน ในช่วงอายุเท่ากัน และแตกต่างในช่วงอายุต่างกัน พัฒนาการนี้เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม โดยบุคคลจะพยายามปรับตัวให้สมดุลด้วยการใช้กระบวนการดูดซึม และ

ปรับให้เหมาะจนทำให้เกิดการเรียนรู้โดยเริ่มจากสัมผัส ต่อมาจึงเกิดความคิดทางรูปธรรม และนามธรรมและพัฒนาไปเรื่อยๆ จนเกิดความคิดที่เป็นนามธรรม ซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามลำดับขั้น โดยเพียเจท์จัดกระบวนการทางสติปัญญา (Cognitive process) ออกเป็น 4 ขั้น ในขั้นที่ 4 คือการพัฒนาการคิดอย่างเป็นนามธรรม (Formal-Operational Stage) จะเป็นการพัฒนาการช่วงสุดท้ายของเด็กที่มีอายุในช่วง 11-15 ปีเขาจะสามารถคิดอย่างมีเหตุผล และคิดในสิ่งซับซ้อนอย่างเป็นนามธรรมได้มากขึ้น เมื่อเด็กพัฒนาได้อย่างเต็มที่แล้ว จะสามารถคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล และแก้ปัญหาได้ดีจนพร้อมที่จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะได้ ซึ่งการพัฒนาแต่ละระยะจะเกิดอย่างต่อเนื่องโดยธรรมชาติเพียงแต่สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ รวมทั้งการดำรงชีวิตอาจมีส่วนช่วยให้เด็กพัฒนาแตกต่างกัน และยังให้แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้แบบ Construct civism หรือทฤษฎีการเรียนรู้แบบใหม่ คือ การสอนให้เด็กเรียนรู้เอง คิดเองโดยเด็ก และการจะเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กันทั้ง 2 ฝ่าย และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้มีความสัมพันธ์กับผู้สอนดีกว่าแบบเดิม คือ

O คือ Organism ผู้ถูกกระตุ้นหรือผู้เรียน

S คือ Stimulant เป็นแรงกระตุ้น อาจเป็นครูหรือสิ่งแวดล้อม

จากสมการใช้ลูกศรสองทาง กล่าวคือ การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อมีกิจกรรมจากทั้งสองฝ่าย นั้นคือการมีปฏิสัมพันธ์กันเพื่อเกิดการเรียนรู้

สเตอร์นเบอร์ก (1985 : 320) เสนอแนวคิดเกี่ยวกับเชาวน์ปัญญาด้วยทฤษฎีสามมิติ (Triarchie Theory) ประกอบด้วย

1. ทฤษฎีย่อยด้านบริบทสังคม (contextual Sub theory) เชื่อว่าการพัฒนาการคิดต้องมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมของบุคคลที่เขาเคยชิน ให้สิ่งเหล่านี้ค่อยๆ ปรับตัวด้วยกระบวนการ (Adaptation) หรือเลือกสิ่งแวดล้อมเข้ามาช่วย (Selection) ปรับแต่งสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับเขา

2. ทฤษฎีย่อยด้านประสบการณ์ (Experience Sub theory) เป็นการพิจารณาผลของความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เมื่อเผชิญงานหรือบุคคล หรือสถานการณ์ต่างๆ ด้วยการทำความเข้าใจปัญหา (Comprehensive of the task) และดำเนินการแก้ไขตามที่ตนเข้าใจ ( action upon one’ Comprehensive of the task) สิ่งเหล่านั้นเป็นความสามารถคล่องในการคิด

ประมวลผลข้อมูลที่เหมือนเป็นไปโดยอัตโนมัติด้วยกระบวนการ (Ability to automatize processing) ซึ่งจะเกิดได้เมื่อต้องเผชิญเหตุการณ์ย่อยๆ จนเป็นความชำนาญ

3. ทฤษฎีย่อยด้านกระบวนการคิด (Componential Sub theory) เป็นความสามารถเบื้องต้นที่ใช้ระบบการคิดจัดการต่อโครงสร้างสิ่งของ , บุคคล หรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่พบเพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิดหนึ่งเป็นอีกแนวคิดหนึ่ง กระบวนการคิดมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ

3.1 องค์ประกอบด้านการคิดขั้นสูง (Metacom Ponents) เป็นกระบวนการคิดที่ประกอบด้วยขั้นตอนย่อยดังนี้

- การระบุปัญหา (Problem identification)

- การจำกัดความปัญหา (Definition of problem)

- การสร้างกลวิธีในการแก้ปัญหา (Constructing a strategy for problem solving)

- การจัดระบบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (Organizing information about a problem)

- การจัดสรรทรัพยากร (Allocation of resource)

- การตรวจสอบ การแก้ปัญหา (Monitoring problem solving)

- การประเมินผลการแก้ปัญหา (Evaluation problem solving)

3.2 องค์ประกอบด้านการปฏิบัติ (Performance Component) คือเมื่อผ่านกระบวนการคิดแล้วลงมือปฏิบัติ และอาจเกิดการแก้ปัญหาตามมา

3.3 องค์ประกอบด้านการแสวงหาความรู้ (Knowledge acquisition components) เป็นกระ-บวนการหาความรู้ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีการต่างๆเข้ามาเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมเพื่อให้ได้ความรู้ใหม่สะสมไว้ในระบบความจำ

ทิศนา แขมมณี และคณะ (2544 : 15-16) อ้างอิงจาก บรูเนอร์ (Bourne : 1973) นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกันให้แนวคิดว่าเด็กทุกระดับสามารถพัฒนาความสามารถการเรียนรู้ได้ถ้าจัดการสอนให้เหมาะสมกับความสามารถของเด็ก การเรียนรู้ตามแนวแบ่งเป็น 3 ขั้น คือ

1. เรียนรู้จากการกระทำ (Snactive Representation) จะเกิดขึ้นตั้งแต่ 2 ขวบ ซึ่งตรงกับ

ขั้นที่ 1 (Sensory-motor Stage) ของเพียเจท์

2. เรียนรู้จากจินตนาการ (Iconic Representation) ของเพียเจท์วัยนี้ตรงกับวัย Concrete Representation เป็นวัยที่เริ่มเกิดภาพขึ้นในใจ

3. ตรงกับขั้นที่ 4 เป็นขั้นที่เด็กเข้าใจเรียนรู้สิ่งที่เป็นนามธรรม ถือเป็นขั้นสูงสุดของพัฒนาการทางด้านความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการคิดเหตุผล ขั้นนี้ตรงกับ (Formal-operational stage) คือ ช่วงอายุ 15 ปี ของเพียเจท์ คือเด็กสามารถคิดหาเหตุผล และเข้าใจนามธรรมในที่สุด ซึ่งบรูเนอร์ให้แนวคิดการเรียนรู้ว่าเกิดจากการเรียนรู้จากสัญลักษณ์ (Symbolic Representation)

1. แรงจูงใจภายใน (self-motivation) เป็นแรงจูงใจที่สำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้เขาได้ค้นพบ สิ่งต่างๆ

2. โครงสร้างของบทเรียน (Struction) ต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียน

3. การจัดลำดับความยากง่าย (sequence) โดยคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน

4. การเสริมด้วยตนเอง (self- reinforcement) เป็นการให้ผลย้อนกลับให้ผู้เรียนรู้ว่าตนเองทำผิดหรือถูกอย่างไร เป็นแรงเสริม

กานิเย (Gagne, 1965) //www.onec.go.th/ อธิบายว่าผลการเรียนรู้ของมนุษย์มี 5 ประเภท คือ

- ทักษะทางปัญญา (Intellectual skill) ประกอบด้วยทักษะย่อย 4ระดับ คือ การจำแนกแยกแยะ การสร้างความคิดรวบยอด การสร้างกระบวนการ หรือกฎขั้นสูง

- กลวิธีในการเรียนรู้ (Cognitive Strategies) ซึ่งประกอบด้วยกลวิธีใส่ใจ การรับและทำความเข้าใจข้อมูล การดึงความรู้จากความทรงจำ การแก้ปัญหา และกลวิธีการคิด

- ภาษา (Verbal Information)

- ทักษะการเคลื่อนไหว (Motors Skill)

- เจตคติ (Attitudes)

Bloom (//th.wikipedia.org/wiki/) แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ คือ ความรู้ที่เกิดจากการจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด ความเข้าใจ (Comprehend) การประยุกต์ (Application) การวิเคราะห์ (Analysis) สามารถแก้ปัญหาและตรวจสอบได้ การสังเคราะห์

(Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม โดยเน้นโครงสร้างใหม่ และการประเมินค่า(Evaluation) สามารถวัดและตัดสินได้ว่าอะไรถูกอะไรผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่นอนให้แนวคิดเรื่องการกำหนดจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเป็น 3 ด้าน คือด้านความรู้ (cognitive domain) ด้านความรู้สึกและเจตคติ (Affective domain) และด้านทักษะ (Psycho-motor domain) โดยในแต่ละด้านจะมีการเรียนรู้ย่อยๆ มากมายที่แสดงแนวคิดด้านการคิดชัดเจนว่า บุคคลเรียนรู้ทางด้านสติปัญญา หรือการคิด ด้านจิตใจและด้านการกระทำในเรื่องเกี่ยวกับการคิด บลูมให้ข้อคิดเห็นว่า “การคิดของบุคคลเป็นขั้นตอนโดยเริ่มจากการเรียนรู้การจำการเข้าใจและพัฒนาต่อไปถึงขั้นวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมิน” ซึ่งนับว่าบลูมเป็นผู้ก้าวเข้าสู่กระบวนการทางสมองชัดเจน

จากแนวคิดของนักการศึกษา นักจิตวิทยาการศึกษาที่กล่าวมานี้เป็นแนวคิดด้านพัฒนาการทางการคิดของเด็กโดยเฉพาะในช่วงอายุ 11-15 ปี เมื่อพบสิ่งแวดล้อม ปัญหา สถานการณ์และสิ่งเร้าต่างๆ ที่มีส่วนกระตุ้นการคิดเด็กจะรับข้อมูลเหล่านั้นเข้าสู่กระบวนการทางสมองแล้วตอบสนองต่อสิ่งเร้า ด้วยการคิดเป็นกระบวนการในที่สุดเด็กจะได้คำตอบว่าควรตอบโต้หรือเลือกอะไร เพราะอะไรที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2549 : 69) ให้แนวคิดว่า “สิ่งที่เราคิดมีความสำคัญมาก เพราะสะท้อนสาระแห่งความเป็นคนภายในตัวตนของเราออกมา เราคิดเช่นไรสิ่งที่เราแสดงออกมาย่อมเป็นเช่นนั้น ความคิด ณ จุดเริ่มต้นของเราเป็นตัวกำหนดความสำเร็จ หรือล้มเหลวในการแสดงออกของเราได้” ซึ่ง //www.onec.qo.th/.กล่าวว่าในปีค.ศ.1984 มีการประชุมของนักการศึกษาของต่างประเทศ ที่ The Wingspread Conference Center in Racing, Wisconsin State. เพื่อหาแนวทางร่วมพัฒนาทักษะการคิดของเด็กพบว่าแนวทางที่นักการศึกษาใช้ในการดำเนินการวิจัยและทดลองเพื่อพัฒนาการคิดนั้น สามารถสรุปได้ 3 แนว คือ //www.onec.go.th/ อ้างอิงจาก (เชิดศักดิ์ โฆวาสินธ์ , 2530)

1. การสอนเพื่อให้คิด (Teaching for thinking) เป็นการสอนเนื้อหาวิชาการ โดยมีการปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มความสามารถในด้านการคิดของเด็ก

2. การสอนการคิด (Teaching of thinking) เป็นการสอนเน้นกระบวนการทางสมองที่จะนำมาสู่การคิด เป็นการปลูกฝังทักษะการคิดโดยตรงไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในหลักสูตร แต่เป็นตามแนวทางทฤษฎีและความเชื่อพื้นฐานของแต่ละคนที่ทำเป็นโปรแกรมการสอน

3. การสอนเกี่ยวกับการคิด (Teaching about thinking) เป็นเนื้อหาเน้นการใช้ทักษะโดยช่วยให้ผู้เรียนรู้เข้าใจกระบวนการคิดของตน เพื่อให้เกิดทักษะการคิดที่เรียกว่า

metcognition คือ ให้รู้ว่าตนรู้อะไร ต้องการอะไร ควบคุม ตรวจสอบและประเมินการคิดของตนได้

จากแนวคิดที่กล่าวมาเป็นแนวคิดหลักที่ผู้วิจัยใช้คำว่า “กระบวนการคิด” เนื่องจากวัยอายุ 11-15 ปี ของเด็กมีพัฒนาการและความสามารถเพียงพอตามกรอบความคิด ซึ่งให้คำ อธิบายว่ากระบวนการคิด คือการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงให้เกิดขึ้นโดยอาศัยทักษะการคิดพื้นฐานและขั้นกลางเป็นแนวทางเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขาดตอนการคิดพื้นฐาน และขั้นกลาง ก่อนการพัฒนาการคิดขั้นสูงให้แก่เด็กด้วยแบบฝึกทักษะกระบวนการคิด ดังที่ //www. onec.go.th/ กล่าวอ้างถึงนโยบายปฏิรูปการศึกษาว่า มุ่งเน้นการปฏิรูปการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพกระบวนการคิด ดังนั้นผู้วิจัยจึงจัดการสอนการคิดเป็นกระบวนการด้วยแนวคิดจากนิคม ปิยมโนชา (เอกสารอัดสำเนา) อ้างอิงจากทิศนา แขมมณี และคณะ (2540) ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดแบ่งการคิดเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

กลุ่มที่ 1 ทักษะการคิดหรือทักษะการคิดพื้นฐานที่มีการคิดไม่ซับซ้อน เป็นทักษะของการคิดขั้นสูงหรือระดับสูงที่มีขั้นตอนซับซ้อน ให้แสดงออกถึงการกระทำหรือพฤติกรรมที่ต้องใช้ความคิดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ทักษะการคิดพื้นฐาน และทักษะการคิดขั้นสูงดังนี้

1. ทักษะการคิดพื้นฐาน ประกอบด้วย

1.1 ทักษะการสื่อความหมาย หมายถึงทักษะการรับสารที่แสดงถึงความคิดของผู้อื่นเข้ามาเพื่อรับรู้ ตีความและจดจำและเมื่อต้องการที่จะระลึกเพื่อนำมาเรียบเรียง และถ่ายทอดความคิดของตนให้แก่ผู้อื่นโดยแปลความคิดในรูปของภาษาต่างๆ ทั้งที่เป็นข้อความ คำพูด ศิลปะ ดนตรี คณิตศาสตร์ฯลฯ เช่นทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอภิปราย ทักษะการทำให้กระจ่างเป็นต้น

1.2 ทักษะการคิดที่เป็นแกนหรือทักษะการคิดทั่วไป หมายถึงทักษะการคิดที่จำเป็นต้องใช้อยู่เสมอในการดำรงชีวิตประจำวันเช่นทักษะการสังเกต ทักษะการสำรวจ ทักษะการตั้งคำถาม ทักษะการเก็บรวบรวมข้อมูล ทักษะการระบุ ทักษะการจำแนก ทักษะการเปรียบเทียบเป็นต้น

2. ทักษะการคิดขั้นสูง หรือทักษะการคิดที่ซับซ้อน หมายถึงทักษะการคิดที่มีขั้นตอนหลายขั้นและต้องอาศัยทักษะการสื่อความหมาย และทักษะการคิดที่เป็นแกนหลายๆ ทักษะในแต่ละขั้น เช่นทักษะการสรุปความ ทักษะการให้คำจำกัดความ ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการผสมผสานข้อมูล ทักษะการจัดระบบความคิด ทักษะการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ทักษะการตั้งสมมุติฐานเป็นต้น

กลุ่มที่ 2 ลักษณะการคิดหรือการคิดระดับกลาง มีขั้นตอนในการคิดซับซ้อนมากกว่าการคิดในกลุ่มที่ 1 การคิดในกลุ่มนี้เป็นพื้นฐานของการคิดระดับสูง ซึ่งลักษณะการคิดแต่ละลักษณะต้องอาศัยทักษะความคิดพื้นฐานมากบ้างน้อยบ้าง ในการคิดแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ

1. ลักษณะการคิดทั่วไปที่จำเป็นได้แก่การคิดคล่อง การคิดละเอียด การคิดหลากหลาย การคิดชัดเจน

2. ลักษณะการคิดที่เป็นแกนสำคัญได้แก่การคิดถูกทาง การคิดไกล การคิดกว้าง การคิดอย่างมีเหตุผล การคิดลึกซึ้ง

กลุ่มที่ 3 กระบวนการคิดหรือการคิดระดับสูง มีขั้นตอนการคิดซับซ้อนและต้องอาศัยทักษะการคิด และลักษณะการคิดเป็นพื้นฐานในการคิดกระบวนการคิดมีหลายกระบวนการเช่น กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการคิดสร้างสรรค์ กระบวนการคิดตัดสินใจและกระบวนการคิดแก้ปัญหา เป็นต้น

ดร.ชาติ แจ่มนุช (2545 : 20-21) กล่าวว่าการคิด

1. เป็นกระบวนการทำงานของสมองโดยใช้ประสบการณ์มาสัมผัสกับสิ่งเร้าและข้อมูลหรือสิ่งแวดล้อมเพื่อแก้ปัญหา แสวงหาคำตอบ ตัดสินใจหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่

2. พฤติกรรมที่เกิดในสมองเป็นนามธรรมไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า การที่จะรู้ว่ามนุษย์คิดอย่างไร คิดอะไร จึงต้องสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกหรือคำพูดที่พูดออกมา

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (2545) //advisor.anamal.moph.go.th/ ให้ความหมายว่าการที่คนพยายามใช้พลังทางสมองของตนในการนำเอาข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ต่างๆ ที่มีอยู่มาจัดวางอย่างเหมาะสมเพื่อให้ได้ความซึ่งผลลัพธ์ เช่นการตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ดีที่สุดเป็นต้น

ดร.สุวิทย์ มูลคำ (2547 : 13) อ้างอิงสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติให้แนวการคิดว่าเป็นกลไกของสมองที่เกิดขึ้นตลอดเวลาซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์ที่ใช้ในการสร้างแนวความคิดรวบยอดด้วยการจำแนกความแตกต่าง การจัดกลุ่มและการกำหนดชื่อเรื่องเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ได้รับ กระบวนการที่ได้รับในการแปลความหมายของข้อมูล รวมทั้งการสรุปอ้างอิงด้วยการจำแนกรายละเอียด การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้รับ ซึ่งข้อมูลที่นำมาใช้อาจเป็นความจริงที่สัมผัสได้หรือเป็นเพียงจินตนาการที่ไม่อาจสัมผัสได้ตลอดจนเป็นกระบวนการที่นำกฎเกณฑ์ต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีเหตุผลและเหมาะสม การคิดเป็นผลที่เกิดขึ้นจาการที่สมองถูกรบกวนจากสิ่งแวดล้อม สังคมรอบตัวและประสบการณ์ดั้งเดิมของมนุษย์

โดยที่ //school.obae.go.th/ กล่าวถึงทักษะการคิดว่าทำให้บุคคลมองการณ์ไกล สามารถควบคุมการกระทำของตนเองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ การคิดอย่างมีเหตุผล และมีวิจารณญาณ มีผลต่อการเรียนรู้การตัดสินใจและการแสดงออกของพฤติกรรมต่างๆ ส่วนความคิดระดับสูง (higher-order thinking) เป็นความคิดที่เกิดขึ้นด้วยกระบวนการที่ซับซ้อน และมีขั้นตอนการคิดหลายขั้น การฝึกคิดระดับสูงนี้จะเกิดขึ้นต่อเนื่องมาจากการฝึกทักษะและความคิดระดับต้นที่เน้นความรู้ความจำ ซึ่งประกอบด้วยการจัดจำแนก การสร้างมโนมิติ การกำหนดหลักการ การลงข้อสรุป และการสรุปอ้างอิงที่หลากหลาย ความคิดระดับสูงจำแนกการคิดได้ดังนี้

1. การคิดสร้างสรรค์ (creative thinking) เป็นการคิดแปลกใหม่ที่มีหลายแนวทางในการแก้ปัญหาแทนความคิดเก่าและไม่จำกัดอยู่ในวิธีการหนึ่ง มีลักษณะการคิดดังนี้

- ความคิดคล่อง (fluency)

- ความคิดยืดหยุ่น (flexibility)

- ความคิดริเริ่มแปลกใหม่ (originality)

- ความคิดที่มีรายละเอียด (Claboration)

2. การคิดวิเคราะห์ (critical thinking) เป็นการคิดอย่างมีเหตุผลคำนึงถึงเป้าหมาย มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ

- การสรุปอ้างอิง

- การยอมรับข้อมูลสรุป

- การใช้เหตุผลแบบอนุมาน

- การประเมินข้อโต้แย้ง

- การตีความหมาย

3. การคิดตัดสินใจ (decision thinking) เป็นการพิจารณาสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ การคิดตัดสินใจประกอบด้วยขั้นตอน 6 ขั้น คือ

- การกำหนดเป้าหมายของการตัดสินใจ

- การสร้างทางเลือก

- การวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของทางเลือก

- การจัดลำดับความสำคัญของทางเลือก

- การตัดสินทางเลือก

- การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดไปใช้

4. การคิดแก้ปัญหา (problem thinking) คือ การพิจารณาหาเทคนิคที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ ประกอบด้วยขั้นตอน 5 ขั้น คือ

- มีปัญหา

- ทำความเข้าใจกับปัญหา

- รวบรวมและเลือกวิธีการแก้ปัญหา

- ลงมือแก้ปัญหา

- ประเมินผลการแก้ปัญหา

ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นทิศทางใกล้เคียงกันกับกรมวิชาการ (2541 : อัดสำเนา) ให้คำนิยามว่าทักษะการคิดระดับสูง ประกอบด้วยการคิด 4 ประเภทคือ

1. การคิดวิจารณญาณ

2. การคิดสร้างสรรค์

3. การคิดตัดสินใจ

4. การคิดแก้ปัญหา

ผู้วิจัยเห็นว่าการจัดฝึกทักษะการคิดเพียงด้านใดด้านหนึ่งใน 4 ประเภทดังกล่าวสำหรับผู้เรียนซึ่งอยู่ในวัยที่มีพฤติกรรมการพัฒนาการคิดมีความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลมากขึ้น มีระบบการคิดในสิ่งซับซ้อนอย่างเป็นนามธรรมได้มากพอ อาจไม่ทันเวลาเพราะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของชีวิตอีกช่วงที่พวกเขาต้องเลือกก้าวสู่สังคมในอนาคต ต้องรู้จักปรับตัวเพื่อเข้าสู่ทางเลือกของสังคมการศึกษาต่อหรือในสังคมการศึกษาด้านอาชีพด้วย “กระบว

ขั้นตอนการคิดวิเคราะห์มีอะไรบ้าง

1. ระบุปัญหาหรือข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์ให้ชัดเจน (Define the problem) 2. รวบรวมและประมวลผลข้อมูล (Gather and interpret information) 3. พัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ (Develop possible solution) 4. นำแนวทางการแก้ปัญหาไปทดสอบ (Test possible solutions)

การพัฒนาการคิด 6 ขั้นตอน มีอะไรบ้าง

1. เผชิญเหตุการณ์ 2. ประเมินสถานการณ์ 3. พิจารณาวินิจฉัย 4. ตรวจสอบและประเมินข้อมูล 5. พัฒนาแนวคิด/มุมมอง 6. คิดใหม่และปฏิบัติใหม่

การพัฒนาทักษะกระบวนการคิด 3 ด้านมีอะไรบ้างจงอธิบาย

(1) ทักษะการรู้จักตนเอง (2) ทักษะการคิด การตัดสินใจและการแก้ปัญหา (3) ทักษะการแสวงหาข้อมูล ข่าวสาร ความรู้

กระบวนการคิดอย่างมีจุดมุ่งหมายมีขั้นตอนอย่างไร

2.2 การคิดอย่างมีจุดหมาย (Directed Thinking) เป็นการคิดเพื่อหาคำตอบ เพื่อแก้ปัญหา หรือนำไปสู่จุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายโดยตรง สามารถนำผลของการคิดไปใช้ประโยชน์.
สุ่มนักเรียนนำเสนอผลงาน.
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลงาน แนะนำข้อบกพร่อง ปรับปรุงผลงาน.
สรุปบทเรียน.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้