ไฟ 15 แอมป์ เท่ากับกี่วัตต์

1 แอมป์ เท่ากับ วัตต์
ต้องใช้สูตร Watt = Volt x Amp (หรือเขียนเป็นคณิตศาสตร์คือ P = E x I)

ตัวอย่าง แบตเขียนว่า 12v 7.5Amp จะได้กี่วัตต์
12 x 7.5 = 90 วัตต์

คำตอบ 7.5 แอมป์มีแรงดันที่ 12 โวลต์ จะได้เท่ากับ 90 วัตต์
ฉะนั้น 1 แอมป์ในตัวอย่างนี้จะเท่ากับ 12 วัตต์ (90 หาร 7.5)

เมื่อต้องการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างประเทศมาใช้งานซักเครื่อง  สิ่งแรกที่เราควรต้องรู้และคำนึงถึง คือ ค่าวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ เพราะเมื่อนำมาใช้กับไฟบ้านเรา ค่าไฟต่างกัน จะต้องใช้หม้อแปลงไฟ และราคาหม้อแปลงแต่ละตัวก็ไม่ใช่ถูกๆ

บทความนี้จะแนะนำการคำนวณค่าวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ แบบง่ายๆ บ้านๆ คร่าวๆ พอใช้งานได้จริง ไม่ละเอียด ไม่เจาะลึก ไม่เครียด(จริงๆ)

ในเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป ข้อความที่เรามักจะพบเห็นในตัวสินค้าจะมีค่าประมาณนี้

1. V = Volts (โวลต์) = แรงดันไฟฟ้า

2. A = Amp (แอมป์) = ปริมาณกระแสไฟฟ้า

3. W = Watts (วัตต์) = กำลังไฟฟ้าที่ใช้งานจริง

4. VA = Volt-Ampere (โวลต์แอมแปร์) = กำลังไฟฟ้าที่จ่ายให้เครื่องใช้ไฟฟ้า  *มักจะพบคำนี้ในหม้อแปลงไฟฟ้า หรือ เครื่องสำรองไฟ

วิธีคำนวณหาค่าวัตต์แบบง่ายๆ  คือ  เอาค่าโวลต์ (V)  ไปคูณกับ ค่าแอมป์ (A)      W  =  V x A

* จริงๆ มันต้องมีตัวแปรอื่นเพิ่มเติมมาคำนวณอีก แต่ในฐานะของยูสเซอร์ แค่ผู้ใช้ตามบ้าน ทราบแค่นี้ก็เพียงพอต่อการนำข้อมูลไปหาซื้อหม้อแปลงไฟฟ้ามาใช้งานได้แล้ว

เมื่อลองดูด้านหลังเครื่องใช้ไฟฟ้า เราจะพบรายละเอียดประมาณนี้

*ภาพบางส่วนได้มาจากสเปคเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ของลูกค้า ที่ได้ส่งภาพมาให้ทางร้านช่วยแนะนำจัดสเปคหม้อแปลงไฟฟ้าให้

จากภาพนี้ เป็น เตารีดไฟฟ้า ระบุค่าโวลต์อยู่ที่  220-240V  บอกมาตรงๆ เลยว่า ใช้ไฟ 1950-2320 วัตต์ (W)
(ไฟบ้านเรา 220V  เครื่องนี้เสียบไฟบ้านเราได้เลย ไม่ต้องหาซื้อหม้อแปลงไฟ  และแบบนี้บอกค่าวัตต์มาแล้วสบายไม่ต้องใช้สูตรมาคำนวณค่าวัตต์แต่อย่างใด)

จอคอมพิวเตอร์ LCD DELL  เครื่องนี้ ระบุค่าโวลต์อยู่ที่  100-240V  คือ เสียบใช้ไฟบ้านเราได้ (220V) และ นำไปเสียบใช้ในต่างประเทศที่ค่าไฟ 100-110-120V ได้ด้วย  ส่วนค่าแอมป์ (A) อยู่ที่ 2.5A  เมื่อนำมาเสียบใช้ไฟที่บ้านเรา  ก็นำ ค่าโวลต์ (V) มาคูณกับ ค่าแอมป์ (A) จะได้ค่าวัตต์โดยประมาณที่  220x2.5 = 550W

ข้างบนนี้น่าจะเป็นหม้อแรงดันจากอเมริกา (แต่ Made in China)  ใช้ไฟ 120V  ระบุค่าวัตต์มาให้แล้วที่ 1000W  ถ้าใช้กับไฟบ้านเราที่ประเทศไทย ก็จะแนะนำให้เลือกซื้อหม้อแปลงไฟที่ใช้กับวัตต์สูงๆ เกินมากหน่อย  (ที่ 1500VA ขึ้นไป) เพราะเป็นอุปกรณ์ทำอาหารที่ให้ความร้อน

สเปคเก้าอี้นวดไฟฟ้าเครื่องนี้ ระบุว่า ใช้ไฟที่ 110V หรือ 120V ก็ได้  และระบุค่าวัตต์มาให้แล้วที่ 180 วัตต์ (W)

ในบางครั้งเราอาจจะพบหน่วย mA (มิลลิแอมป์) ซึ่งเป็นหน่วยเล็กกว่า A (แอมป์)
1A = 1000 mA  หรือ ได้ค่า mA เท่าไหร่ ให้เอา 1000 ไปหาร ก็จะได้เป็นค่า A (แอมป์)

ตัวอย่าง เช่น      2000 mA = 2000/1000 = 2A (แอมป์)


และบางทีเราอาจจะพบค่าไฟที่ระบุหน่วยเป็นแรงม้า (HP) ซึ่งทำให้เราถึงกับมึนไปเลยทีเดียว  มีวิธีคำนวณหาค่าวัตต์จากแรงม้า (HP)  ได้ง่ายๆ  จากบทความนี้ >> 1 แรงม้าเท่ากับกี่วัตต์กันเอ่ย?

การคำนวณค่าวัตต์ เพื่อเลือกซื้อหม้อแปลงไฟฟ้า  สำหรับมาใช้งาน  ควรเลือกซื้อให้เกินจากค่าจริงที่คำนวณได้ อย่างน้อย 15-20%  ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ เปิดใช้งานยาวนาน ใช้งานติดต่อกันหลายชั่วโมง ควรเผื่อค่า W (วัตต์) ให้มาก เพื่อยืดอายุการใช้งานหม้อแปลงไม่ให้ร้อนจนเกินไป  โดยเฉพาะอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดความร้อนโดยตรง เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัว เช่น  เตาอบ  หม้อตุ๋น  หม้อนึ่งแรงดัน  ควรเลือกเผื่อไว้ 150%-200%  ยิ่งเกินไว้มากเท่าไรยิ่งดี

แต่ถ้าราคาหม้อแปลงไฟแพงกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะซื้อ  อันนี้ก็แล้วแต่พ่อแม่พี่น้องจะคิดคำนวณได้ว่า "คุ้มไหม" ที่จะซื้อเครื่องไฟฟ้าจากต่างประเทศมาใช้  หรือ ควรลองหาซื้อจากบ้านเราดี  เพราะ "หม้อแปลงไฟ ยิ่งวัตต์สูง ราคาก็ยิ่งสูง"

ประกอบด้วย ขดลวดกระแสต่ออนุกรมกับโหลด และขดลวดแรงดันต่อขนานกับโหลดขดลวด ทั้งสองชุดนี้จะพันอยู่บนแกนเหล็กที่ออกแบบโดยเฉพาะ และมีจานอะลูมิเนียมบาง ๆ ยึดติดกับแกนหมุนวางอยู่ในช่องว่างระหว่างแกนลวดทั้งสอง


➧ หลักการทํางานขดลวดกระแสและขดลวดแรงดัน ทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็ก ส่งผ่านไปยังจานอะลูมิเนียมที่วางอยู่ระหว่างขดลวดทั้งสองทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำและมีกระแสไหลวน (Eddy current) เกิดขึ้นในจานอะลูมิเนียม แรงต้านระหว่างกระแสไหลวน และสนามแม่เหล็กของขดลวดแรงดันจะทำให้เกิดแรงผลักขึ้นกับจานอะลูมิเนียมจึงหมุนไปได้ที่แกนของจานอะลูมิเนียมจะมีเฟืองติดอยู่ เฟืองนี้จะไปขับ ชุดตัวเลขที่หน้าปัทมข์องเครื่องวัด แรงผลักที่เกิดขึ้นจะเป็นสัดส่วนระหว่างความเข้มของสนามแม่เหล็กของขดลวดแรงดัน  และกระแสไหลวนในจานอะลูมิเนียมและขึ้นอยู่กับจานวนรอบของขดลวดด้วย ส่วนจำนวนรอบการหมุนของจานอะลูมิเนียมขึ้นอยู่กับการใช้พลังงานไฟฟ้าของโหลด

➧ การนําไปใช้งานการต่อวัตต์ฮาวร์มิเตอร์หรือกิโลวตัตต์ฮาวร์มิเตอร์ เพื่อใช้วัดปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ต่อกับแหล่งจ่ายจะมีตัวเลขกำกับไว้ คือ 1S และ 2S ส่วนด้านที่ต่อไปยังโหลดจะมีตัวเลขกำกับไว้ คือ 1L และ 2L ตัวอักษร S ย่อมาจากคำว่า “Supply” หมายถึงด้านที่จ่ายไฟเข้า ส่วนอักษร L ย่อมาจากคำว่า “Load” หมายถึง ด้านที่ต่อกับโหลดไฟฟ้า ส่วนตัวเลข 1 หมายถึง ต่อกับสายไฟ (Line) และเลข 2 หมายถึง สายนิวทรอล (Neutral)

❷ วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 3 เฟส (Three phase watt-hour meter) แบบ 3 จานหมุนและ 2 จานหมุน

เครื่องวัดแบบนี้มีส่วนประกอบเหมือนกับวัตต์มิเตอร์ชนิด 3 เฟส หรืออาจจะเอาวัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 1 เฟส 3 ตัวมาประกอบรวมกันเป็น วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 3 เฟส หลักการทํางานจะอาศัยการทำงานเหมือนกับวัตต์มิเตอร์ชนิดเหนี่ยวนำไฟฟ้า และการต่อใช้งานวัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 3 เฟสแบบ 3 จานหมุน อาจจะนําวัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 1 เฟส 2 ตัวมาประกอบรวมกัน เป็นกิโลวตัตฮ์าวร์มิเตอร์ 3 เฟส แบบ 2 จานหมุนได้

ประเภทของมิเตอร์ไฟฟ้า

ในปัจจุบบันนี้มิเตอร์ไฟฟ้าก็จะมีหลากหลายประเภทด้วยกัน ดังนี้

  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัย
  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการเฉพาะอย่าง
  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการขนาดเล็ก
  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการขนาดกลาง
  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการสูบน้ำเพื่อการเกษตร
  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการขนาดใหญ่
  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟชั่วคราว

มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับบ้านที่พักอาศัยมีขนาดไหนบ้าง?

มิเตอร์ไฟฟ้ามีด้วยกันหลายขนาด โดยสามารถสังเกตได้จากตัวเลขในช่องบนมิเตอร์ เช่น 5(15) A หมายความว่า เป็นมิเตอร์ไฟขนาด 5 แอมป์ สามารถใช้ไฟได้มากถึง 15 แอมป์ ขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้า ดังนี้

  • ขนาดมิเตอร์ 5(15) เฟส 1 ขนาดการใช้ไฟฟ้า ไม่เกิน 10 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 15(45) เฟส 1 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 11-30 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 30(100) เฟส 1 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 31-75 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 50(150) เฟส 1 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 76-100 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 15(45) เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า ไม่เกิน 30 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 30(100) เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 31-75 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 50(150) เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 76-100 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 200 เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 101-200 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 400 เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 201-400 แอมแปร์ 

เลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าให้เหมาะกับบ้าน


ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่เหมาะสมในการใช้งานในบ้านเรือนทั่วไปนั้น ต้องพิจารณาถึงจำนวนสมาชิกในบ้าน และจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งปัจจุบันและในอนาคต
สามารถคำนวณเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองว่าบ้านของเราเหมาะกับขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าเท่าไหร่ โดยนำกำลังไฟฟ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้น (วัตต์) ซึ่งดูได้จากฉลากบนเครื่องใช้ไฟฟ้า หารด้วยความต่างศักย์ (โวลต์) และคูณด้วยจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้น และนำกระไฟฟ้าทั้งหมดมาบวกรวมกัน และคูณด้วย 1.25 (ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่อาจจะใช้มากขึ้นในอนาคต) เช่น

  • พัดลมตั้งพื้น 75 วัตต์ จำนวน 2 ตัว คิดเป็นกระแสไฟฟ้า (75 ÷ 220) x 2 = 0.68 แอมแปร์
  • หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ 36 วัตต์ จำนวน 6 หลอด คิดเป็นกระแสไฟฟ้า (36 ÷ 220) x 6 = 0.98 แอมแปร์
  • เครื่องปรับอากาศ 1,000 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 1,000 ÷ 220 = 4.54 แอมแปร์
  • หม้อหุงข้าว 500 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 500 ÷ 220 = 2.27 แอมแปร์
  • เตารีด 430 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 430 ÷ 220 = 1.95 แอมแปร์
  • โทรทัศน์ 43 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 43 ÷ 220 = 0.2 แอมแปร์
  • ตู้เย็น 70 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 70 ÷ 220 = 0.32 แอมแปร์

กระแสไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดรวมกันจะเท่ากับ 10.94 แอมป์ เมื่อนำมาคูณกับ 1.25 จะได้ประมาณ 13.68 แอมแปร์ ถือว่ายังสามารถใช้ขนาดเมิเตอร์ 5(15) ได้เนื่องจากยังไม่เกิน 15 แอมแปร์ และปกติเราจะไม่ได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อม ๆ กันอยู่แล้ว แต่หากเผื่อในอนาคตจะพบว่า มิเตอร์ไฟอาจมีขนาดไม่เพียงพอ โดยเฉพาะหากต้องการติดเครื่องปรับอากาศเพิ่มอีก 1 ตัว ต้องเปลี่ยนมิเตอร์ให้เป็นขนาดที่ใหญ่ขึ้นด้วย เพื่อความปลอดภัย 👌


👉 คุณสมบัติของผู้ที่จะขอใช้ไฟฟ้า
ผู้ที่จะขอใช้ไฟฟ้า มีดังนี้

  1. เจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของสถานที่ใช้ไฟฟ้า
  2. ผู้ขอใช้ไฟฟ้ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ใช้ไฟฟ้า
  3. ผู้เช่า หรือผู้เช่าซื้อสถานที่ใช้ไฟฟ้า
  4. ผู้ประกอบการในสถานที่ใช้ไฟฟ้า

 👉 เอกสารที่ผู้ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าต้องนำมาแสดง ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเตรียมเอกสาร เพื่อใช้ยื่นประกอบคำร้องขอใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้า หลักฐานการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าใหม่ มีดังนี้

  1. สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอติดตั้งการใช้ไฟฟ้า และสำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  3. สัญญาซื้อขาย (กรณีซื้อขายบ้าน), สัญญาเช่า (กรณีเช่าบ้าน)
  4. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (กรณีเจ้าของบ้านไม่มาดำเนินการ)
  5. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
  6. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ให้เช่า
  7. ใบยินยอมผ่านที่หรือใบยินยอมในกรณีต่าง ๆ (กรณีผ่านที่ดินผู้อื่น), สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านขอผู้ยินยอม
  8. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าข้างเคียงของเสาที่จะติดตั้งมิเตอร์ (ถ้ามี)

ขั้นตอนการขอใช้ไฟฟ้าทำได้อย่างไร?

  1. หลังจากได้รับคำร้องขอใช้ไฟฟ้า พร้อมเอกสารประกอบครบถ้วนแล้ว เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจะเข้าไปตรวจสอบการเดินสายไฟในอาคาร หากยังไม่เดินสายไฟฟ้าให้เดินสายให้เรียบร้อยแล้วแจ้งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบ
  2. เมื่อตรวจสอบการเดินสายไฟฟ้าแล้วพบว่ามีการเดินสายไฟที่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แต่ถ้าการเดินสายไฟไม่ถูกต้อง ไม่ปลอดภัยก็จะแจ้งให้ดำเนินการแก้ไข และตรวจสอบอีกครั้ง โดยค่าธรรมเนียมนั้นการไฟฟ้าจะกำหนดไว้ตามประเภทและขนาดของมิเตอร์ที่ขอติดตั้ง
  3. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าธรรมเนียมและรับใบเสร็จไว้เป็นหลักฐาน เป็นอันเสร็จสิ้น

ผู้ขอใช้ไฟฟ้าสามารถติดต่อและยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าทุกแห่งทั่วประเทศ

สอบถามการไฟฟ้า
► กรุงเทพฯ สมุทรปราการ และนนทบุรี ติดต่อได้ที่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โทร. 1130 หรือติดต่อสอบถามได้จากเว็บไซต์การไฟฟ้านครหลวง
ต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โทร. 1129 หรือติดต่อสอบถามได้จากเว็บไซต์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค


สุดท้ายนี้ ขอแชร์ราคาการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าคร่าวๆ กันหน่อย  ดังนี้ 😘

ราคาติดตั้งมิเตอร์ใหม่5(15) แอมป์ 1 เฟส 2 สาย728.00 บาท15(45) แอมป์ 1 เฟส 2 สาย4,621.50 บาท30(100) แอมป์ 1 เฟส 2 สาย12,383.00 บาท15(45) แอมป์ 3 เฟส 4 สาย16,004.50 บาท30(100) แอมป์ 3 เฟส 4 สาย38,754.00 บาท

นอกจากนี้ ยังมีการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าแบบชั่วคราว โดยการขอจะเป็นการขอเพื่อการใช้งานระหว่างก่อสร้าง ค่าขอและราคาค่าไฟต่อหน่วยแพงกว่ามิเตอร์ไฟฟ้าแบบถาวร

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้