Meteospasmyl capsule เด ก 10ป ทานได ม ย

โรคลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome; IBS) เป็นโรคของทางระบบทางเดินอาหารที่พบได้มากถึง 10 – 20% ของประชากรทั่วโลก แต่พบว่าผู้ที่มีอาการของโรคลำไส้แปรปรวนเพียง 15% เท่านั้นที่มาปรึกษาแพทย์และเข้ารับการตรวจ ทำให้ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยจะมีอาการอยู่เรื่อยๆ ทำให้เกิดความหงุดหงิด รำคาญ ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและการทำงาน ที่สำคัญโรคลำไส้แปรปรวน อาจมีอาการคล้ายกับโรคร้ายแรงบางอย่าง เช่น โรคมะเร็งลำไส้ ดังนั้นผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

สารบัญ

โรคลำไส้แปรปรวน หรือ IBS คือโรคอะไร ?

โรคลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome; IBS) คือ ภาวะการทำงานผิดปกติเรื้อรังของลำไส้ ทำให้ลำไส้บีบตัวมากเกินไป ส่งผลทำให้เกิดอาการ และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประจำวันของผู้ป่วย โดยมักพบตั้งแต่อายุน้อยถึงวัยกลางคน และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการของโรคลำไส้แปรปรวนประกอบด้วยอาการหลัก คือ ปวดท้องเรื้อรัง หรืออึดอัดท้อง โดยมีลักษณะอาการสัมพันธ์กับการขับถ่ายอุจจาระที่เปลี่ยนไป ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยสาเหตุอื่น ๆ

โรคลำไส้แปรปรวน มีอาการอย่างไร ?

อาการของโรคลำไส้แปรปรวนมักพบตั้งแต่อายุน้อย โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยอาการที่พบ ได้แก่

  1. ปวดท้อง: ปวดท้องอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ในช่วง 3 เดือน มักเป็นลักษณะบีบเกร็ง หรืออาจเป็นแบบอื่น เช่น ตื้อ ๆ หนัก ๆ อึดอัด มักปวดบริเวณท้องด้านล่างซ้าย หรืออาจเกิดได้ในตำแหน่งอื่น ๆ โดยความรุนแรง และตำแหน่งของการปวดจะแตกต่างกันในแต่ละคน บางคนเป็นรุนแรงขึ้น เมื่อเครียดหรือรับประทานอาหารบางอย่าง บางคนปวดมากขึ้นระหว่างมีรอบเดือน บางคนอาการดีขึ้นเมื่อได้ขับถ่าย
  2. มีลักษณะการขับถ่ายผิดปกติไปจากเดิม: ถือเป็นลักษณะพิเศษที่อาจช่วยในการวินิจฉัยโรคนี้ เช่น มีท้องเสีย ท้องผูก หรือ มีสลับท้องเสียและท้องผูกก็ได้ โรคนี้อาจมีอาการที่แบ่งเป็นท้องเสียเด่น (diarrhea predominant IBS) หรือท้องผูกเด่น (constipation dominant IBS)
  3. ท้องเสีย: มักมีอาการช่วงกลางวันหรือช่วงเวลาทำงาน และมักเป็นในช่วงเช้าหรือหลังทานอาหาร อาการท้องเสียในภาวะนี้มักมีอาการร่วมคือ รีบอยากเข้าห้องน้ำเพื่อขับถ่าย มักรู้สึกว่าถ่ายไม่หมด และประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยมีมูกเวลาขับถ่าย
  4. ท้องผูก: อาจมีอาการเป็นวัน หรือเป็นเดือน อุจจาระมีลักษณะแข็งคล้ายลูกกระสุน บางคนอาจมีความรู้สึกว่าถ่ายไม่หมดร่วมด้วย ทำให้ต้องเบ่งถ่าย หรือนั่งถ่ายอุจจาระอยู่นานไม่ออก ทำให้บางคนต้องใช้ยาระบาย หรือ สวนถ่ายบ่อย ๆ
  5. อาการของทางเดินอาหารอื่น ๆ: เช่น ท้องเสียสลับท้องผูก อืดเฟ้อ ลมมาก เรอ แน่นแสบอก กลืนลำบาก อิ่มเร็ว หรือคลื่นไส้
  6. อาการอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาการกลุ่มของทางเดินอาหาร: เช่น อยากปัสสาวะบ่อย ปวดประจำเดือน หรือมีปัญหาทางเพศ

สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวน

โรคลำไส้แปรปรวนเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง และไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคร้ายแรง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันก็ยังไม่สามารถบอกสาเหตุของโรคนี้ได้อย่างแน่ชัด แต่มีข้อสันนิษฐานว่าเกิดจากสาเหตุดังนี้

  1. การบีบตัวผิดปกติของลำไส้ใหญ่ หรืออาจเรียกว่าตะคริว ทำให้ลำไส้เกร็งตัวผิดปกติ (spastic colon) เกิดการบีบตัวอย่างรุนแรงจึงทำให้เกิดการปวดเกร็งลำไส้
  2. ภาวะไวต่ออาหาร หรือภาวะย่อยอาหารบางอย่างได้ไม่ดี เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย อาจเกิดจากแพ้อาหาร หรือไวต่ออาหาร การจดบันทึกอาหารที่รับประทานอาจจะช่วยบอกถึงอาหารที่แพ้ได้
  3. ลำไส้ไวความต่อความรู้สึกมากเกินไป เป็นความผิดปกติที่ไม่ได้มีโรค หรือการบีบตัวผิดปกติใด ๆ แต่ลำไส้ไวต่อความรู้สึกมากเกินไป
  4. ความเครียดหรือภาวะทางจิตเวช เพราะภาวะเครียด กังวลใจ ทำให้ลำไส้รับความรู้สึกไวขึ้น เกิดการปวดขึ้นได้
  5. เกิดจากการติดเชื้อในทางเดินอาหารและการติดเชื้ออื่น ๆ โดยมักพบอาการภายหลังจากมีการติดเชื้อ เช่น เชื้อไข้รากสาด หรือ เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ แต่กลไกที่ทำให้เกิดภาวะนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด
  6. เกิดจากการใช้ยาบางชนิด

โรคลำไส้แปรปรวน รักษาหายได้หรือไม่ ?

การรักษาโรคลำไส้แปรปรวนทำได้หลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ ทำให้หายชั่วคราว ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ แนวทางในการรักษาในปัจจุบันได้แก่

  • การรักษาด้วยยา :อาจต้องใช้ยาหลายกลุ่มร่วมกัน เนื่องมีหลายกลุ่มอาการ และการตอบสนองต่อยาของแต่ละคนก็แตกต่างกัน ทำให้บางครั้งต้องใช้วิธีปรับยาหลายครั้ง ทั้งนี้แพทย์ต้องติดตามการรักษา และซักถามอาการจากผู้ป่วยอย่างละเอียด เพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกต้อง
  • การติดตามการรักษา: ในระยะแรก แพทย์อาจต้องติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยต้องเล่าอาการ นิสัยความเป็นอยู่ การรับประทาน รวมไปถึงประวัติทุกอย่างที่อาจมีผลต่อลำไส้ ซึ่งจะทำให้แพทย์วางแผนการรักษาง่ายขึ้น เช่น บางคนอาจแพ้อาหารบางอย่าง หรือมีปัญหาย่อยอาหารกลุ่มนมไม่ได้ (lactose intolerance)มีรายงานว่าความเครียด และโรคซึมเศร้าก็เป็นสาเหตุของอาการของลำไส้แปรปรวนได้ ดังนั้นผู้ป่วยควรมีสมุดบันทึกอาการและเรื่องเหล่านี้อย่างละเอียดเพื่อประโยชน์ในการรักษา
  • ปรับเปลี่ยนนิสัยการรับประทาน: มีข้อสันนิษฐานว่า อาการของผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งมีสาเหตุจากปัญหาการย่อย หรือแพ้อาหาร จึงมีคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจเป็นสาเหตุหรืออาหารที่แพ้ โดยแพทย์จะแนะนำให้ลองหลีกเลี่ยงอาหารบางกลุ่มได้แก่
    • อาหารกลุ่มนม เพราะพบคนที่มีปัญหาย่อยอาหารกลุ่มนมได้บ่อย (มีอาการ คือ กินนมแล้วท้องเสีย หรือท้องอืด)
    • อาหารที่ทำให้เกิดลมในท้อง เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง ดอกกะหล่ำ บรอกโคลี กะหล่ำปลี หัวหอม แคร์รอต ลูกเกด กล้วย แอพริคอท ลูกพรุน ถั่วงอกหรือแป้งสาลี เป็นต้น ซึ่งอาหารเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการปวดบีบได้
    • อาหารที่ย่อยยาก เช่น ผักบางอย่าง เนื้อบางอย่าง ของมัน ของทอด โดยแพทย์มักจะแนะนำให้เลือกรับประทานอาหารกลุ่ม low FODMAP diet (กลุ่มอาหารที่ไม่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในลำไส้หรือส่งเสริมน้อย) ซึ่งจะช่วยลดอาการของลำไส้แปรปรวนได้อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับแต่ละคน บางคนอาจไม่เกี่ยวกับอาหารใด ๆ เลยก็ได้ ดังนั้นจึงควรจดบันทึกอาหารแต่ละมื้ออย่างละเอียด ร่วมกับจดบันทึกอาการที่เป็น อาจทำให้ค้นหาอาหารที่ทำให้เกิดอาการได้ชัดเจนขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกากไยหรือไฟเบอร์ (fiber) มากขึ้น ซึ่งมักให้ผลดีในผู้ป่วยกลุ่มที่ปวดท้องแบบท้องผูก รวมถึงในกลุ่มที่ท้องเสียบางราย บางครั้งอาจต้องพิจารณาให้ไฟเบอร์ทางการแพทย์ โดยเชื่อว่าไฟเบอร์ทำให้ลำไส้บีบตัวได้ดีขึ้น
  • ลดความเครียด หรือแก้ปัญหาภาวะซึมเศร้า: ความเครียด ความกังวล และภาวะซึมเศร้าอาจทำให้อาการของโรคลำไส้แปรปรวนแย่ลง การปรึกษากับจิตแพทย์เพื่อลดปัญหาทางจิตใจดังกล่าวสามารถทำให้อาการของโรคนี้ดีขึ้นได้
  • ออกกำลังกาย: การออกกำลังกายสม่ำเสมอช่วยในการทำงานของลำไส้ดีขึ้นได้

การตรวจวินิจฉัยโรคลำไส้แปรปรวน

โรคลำไส้แปรปรวนไม่สามารถวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจใดการตรวจหนึ่ง จึงต้องการการตรวจหลาย ๆ อย่าง เพื่อวินิจฉัย และแยกออกจากโรคของระบบทางเดินอาหารอื่น ๆ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ โรคภูมิแพ้ลำไส้อักเสบ เป็นต้น

แพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย โดยจะถามถึงลักษณะอาการ ระยะเวลา ความรุนแรงของอาการ อาการที่สัมพันธ์กับอาหารหรือยา รวมไปถึงปัญหาความเครียด และโรคทางจิตเวช

และการตรวจอื่น ๆ ได้แก่ การตรวจเลือด การตรวจอุจจาระ การตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) หรือลำใส้ใหญ่ส่วนปลาย (sigmoidoscopy) เพื่อแยกโรคลำไส้แปรปรวนออกจากโรคอื่น ๆ โดยการส่องกล้องสำไส้ใหญ่มักทำในคนที่สงสัยว่าเป็นโรคมะเร็งลำไส้ หรือในคนที่อายุมากกว่า 40 ปีซึ่งมีความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้เพิ่มขึ้น

สรุป

โรคลำไส้แปรปรวนหรือ IBS แม้จะเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่พบได้มากถึง 10 – 20% ของประชากรทั่วโลกและส่วนใหญ่ไม่ปรึกษาแพทย์ ทำให้ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม โรคนี้มักมีอาการแบบเป็น ๆ หาย ๆ ทำให้เกิดความหงุดหงิดรำคาญ ส่งผลต่อชิวิตประจำวันและการทำงานได้

นอกจากนี้อาการของโรคลำไส้แปรปรวนอาจมีอาการคล้ายกับอาการของโรคร้ายแรงบางอย่าง เช่น โรคมะเร็งลำไส้ ดังนั้นหากมีอาการต่าง ๆ ดังที่กล่าวไปข้างต้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดี

ยา Meteospasmyl กินยังไง

ขนาดที่แนะนำในผู้ใหญ่ คือ ครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 2-3. ครั้งพร้อมอาหาร ไม่ควรใช้ในระหว่างตั้งครรภ์หรือในนมบุตร อาการข้างเคียงพบได้น้อย

ยาขับลมกินตอนท้องว่างได้ไหม

ยาขับลม ลดอาการอืดแน่นท้อง Air-X (Simethicone 80 mg) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 - 3 ครั้ง หลังอาหารเช้า - กลางวัน - เย็น เวลามีอาการ

ยาช่วยย่อยกินหลังอาหารกี่นาที

ของกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งควรรับประทานก่อนอาหารเพื่อลดการคลื่นไส้อาเจียน ยาหลังอาหาร ให้รับประทานยาหลังอาหารประมาณ 15 -30 นาที ยาที่ให้รับประทานหลังอาหารมักเป็นยาทั่วๆไป ซึ่งอาหารที่ทานเข้าไปจะไม่รบกวนการดูดซึมของยาและอาจเพิ่มการดูดซึมของยาบางชนิดได้

ยาไซเมทิโคน กินตอนไหน

ตัวยาเป็นแบบชนิดรับประทานและมีอยู่หลายรูปแบบ โดยส่วนมากจะใช้บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ มีลมในกระเพาะอาหารมากจากแก๊สส่วนเกิน ผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 12 ปี รับประทานครั้งละ 40-125 มิลลิกรัมวันละ 4 ครั้ง แต่ไม่ควรเกิน 500 มิลลิกรัมใน 24 ชั่วโมง ยกเว้นแพทย์สั่ง สำหรับเด็กอายุไม่เกิน 2 ปี รับประทาน 20 มิลลิกรัมวันละ 4 ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้