Mascot ส ญล กษณ นำโชค ม ความว เศษ เฉพาะก จกรรม

ีความหมายว่า “แม่มด” หรือหมอผี และก็ให้เกิดคำเรียกเครื่องรางของ“แม่มด” หรือหมอผี เหล่านั้นว่า “Mascotte” ซึ่งแปลว่าเครื่องรางของหมอผีนั่นเอง โดยช่วงแรกๆคำนี้จะใช้ในการอวยพรโชคให้เข้าข้างสำหรับนักพนัน และคำนี้ก็ได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงปี 1880 ที่ฝรั่งเศสได้เล่นละครโอเปราชื่อว่า “La Mascotte (The Mascot)” ซึ่งละครมีเรื่องราวเกี่ยวกับเกษตรกรชาวอิตาเลียนที่เพาะปลูกพืชอะไรก็ไม่ขึ้นจนกระทั่งได้พบกับหญิงสาวแปลกหน้านามว่า Bettina ที่ให้การช่วยเหลือ และทำให้พืชผลของเขางอกงาม ด้วยเหตุนี้เอง Bettina จึงเป็นผู้ที่นำเอาโชคลาภ และสิ่งดีๆมาให้ รวมถึงชื่อของละครก็ได้ถูกพูดถึงเป็นความหมายถึง สิ่งที่จะเอาโชคลาภ และสิ่งดีๆมาให้นั่นเอง

ผมเชื่อว่าคำตอบของคนไทยส่วนมาก รวมถึงท่านผู้อ่านด้วยนั้นน่าจะเป็น ‘ช้าง’ หรืออาจระบุให้เฉพาะเจาะจงลงไปอีกว่าเป็น ‘ช้างเผือก’ เนื่องจากตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดเชียงใหม่เป็นรูปช้างเผือกยืนอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งเดิมเป็นตราประจำกองลูกเสือในมณฑลพายัพก่อนที่จะใช้เป็นตราสัญลักษณ์จังหวัดตั้งแต่ปี 2483 เป็นต้นมา นอกจากนี้ช้างเผือกยังปรากฏอยู่ในตราสัญลักษณ์ของหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่จนเป็นที่จดจำจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็นรูปช้างเผือกชูคบเพลิง จนศิษยานุศิษย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จำนวนมากต่างถือว่าตนเป็น ‘ลูกช้าง’ และ ‘ช้างเผือก’ ก็ดูจะกลายเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ของชาวเชียงใหม่ไปโดยปริยาย

ดวงตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดเชียงใหม่รูปช้างเผือกในซุ้มเรือนแก้ว ขอบคุณภาพจาก www.chiangmai.go.th

อย่างไรก็ตามจะต้องกล่าวไว้ว่า ‘ช้างเผือก’ ซึ่งปรากฏตามตราสัญลักษณ์ต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่นั้น ไม่ได้มีที่มาจากประวัติศาสตร์ คติความเชื่อ ความทรงจำ หรือตำนานอันเป็นมุมมองภายในของชาวล้านนา (โดยเฉพาะชาวเชียงใหม่) แต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นสัญลักษณ์ที่สร้างขึ้นจากภาพจำและความเข้าใจของชนชั้นนำชาวสยามในกรุงเทพมหานคร ผู้ซึ่งในช่วงสองศตวรรษกึ่งที่ผ่านมานี้ มีอำนาจเหนือล้านนาตามระบอบประเทศราชซึ่งเป็นระบอบอาณานิคมแบบโบราณ ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาลซึ่งเป็นระบอบอาณานิคมที่สยามรับมาจากตะวันตก และคลี่คลายตัวมาเป็นระบบราชการรัฐรวมศูนย์ในปัจจุบัน

ภาพจำของชนชั้นนำสยามที่ว่าล้านนาเป็นดินแดนแห่งช้างนั้น น่าจะเริ่มต้นจากการที่ชนชั้นนำดังกล่าวมองล้านนาแบบเหมารวมว่าเป็น ‘ลาว’ จำพวกที่ ‘นุ่งซิ่น กินข้าวเหนียว’ เหมือนๆ กันกับ ‘ล้านช้าง’ ซึ่งตกเป็นหัวเมืองประเทศราชของสยามในเวลาไล่เลี่ยกัน ถึงแม้ว่าล้านนาจะถือตัวเองเป็นคนไท/ไทย (ซึ่งแตกต่างจาก ‘ไธย’ ที่หมายถึงชาวสยาม) มาโดยตลอดก่อนที่จะเปลี่ยนมาเรียกตัวเองว่า ‘คนเมือง’ ในภายหลัง แต่เมื่อตกเป็นรองในสถานะเมืองประเทศราช ย่อมไม่อาจจะไปเปลี่ยนความคิดเจ้าอธิราชผู้อยู่ในสถานะเหนือได้มากนัก ล้านนาจึงจำต้องยอมรับความเป็น ‘หัวเมืองลาว’ ในสายตาของชนชั้นนำสยามนับแต่นั้น และภาพของล้านนาก็น่าจะเริ่มเกี่ยวพันกับช้างจากการถูกจัดหมวดหมู่ให้เป็นคู่กันกับล้านช้างนับแต่นั้นมา

ภาพของช้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช้างเผือก ปรากฏในความคิดความเข้าใจของชนชั้นนำสยามเกี่ยวกับล้านนาและเมืองเชียงใหม่อย่างเด่นชัดขึ้นไปอีกในปี 2359 เมื่อ ‘พระยาธรรมลังกา’ หรือที่ฝ่ายสยามเรียกว่า ‘พระยาเชียงใหม่’ (น้อยธรรม) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ลำดับที่สอง ถัดจากพระเจ้ากาวิละผู้เป็นพี่ใหญ่ของเจ็ดพี่น้องแห่งราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ได้นำช้างเผือกพลายเอกช้างหนึ่งมาถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กษัตริย์สยามจึงได้เลื่อนยศพระยาเชียงใหม่ (น้อยธรรม) ขึ้นเป็น ‘พระเจ้าเชียงใหม่’ (น้อยธรรม) ซึ่งฝ่ายนครเชียงใหม่ได้ขยายอิสริยยศเพิ่มเติมเป็นการภายในอีกว่า ‘เสตหัตถีสุวัณณประทุมราชาเจ้าช้างเผือก’ หรือเรียกเป็นสมัญญานามอย่างสั้นว่า ‘พระเป็นเจ้าช้างเผือก’ และถัดจากนั้นอีกไม่นานนัก เจ้าผู้ครองนครน่านก็ได้ส่งช้างพลายเผือกเอกมาถวายด้วยช้างหนึ่งเช่นกัน เชียงใหม่และเมืองประเทศราชล้านนาจึงเริ่มเป็น ‘เมืองช้างเผือก’ ในสายตาชนชั้นนำสยามนับแต่นั้นเป็นต้นมา

บทสรุปรวบยอดของความคิดเรื่องการใช้ช้างเป็นสัญลักษณ์แทนหัวเมืองลาว (ซึ่งรวมล้านนาด้วย) ในฐานะเมืองประเทศราชภายใต้อำนาจของกษัตริย์สยามปรากฏอยู่ใน ‘ตราอาร์ม’ หรือตราแผ่นดินสยามในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ซึ่งยังคงใช้เป็นตราหน้าหมวกของตำรวจและตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าจนถึงปัจจุบัน ตราดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อกษัตริย์สยามประสงค์จะมีตราลัญจกรแบบตะวันตกไว้ใช้เป็นตราแผ่นดินในระบบราชการแบบสมัยใหม่ จึงได้มอบหมายให้ข้าราชการในกระทรวงวังออกแบบตราโดยการผูกสัญลักษณ์ต่างๆ ตามหลักมุทราศาสตร์ (heraldry) แบบตะวันตก ได้ผลลัพธ์เป็นตราที่มีรูปร่างหน้าตาดังภาพนี้

เค้าโครงการออกแบบตราลัญจกรตามหลักมุทราศาสตร์ (heraldry) ลวดลายที่ปรากฏบนโล่มักเป็นสัญลักษณ์แสดงอาณาเขตที่ผู้ถือตรานี้ปกครอง ขอบคุณภาพจาก Wikipedia / Heraldic achievement

จะเห็นได้ว่าส่วนที่เป็นโล่ของตราอาร์มข้างต้นนี้ ถูกแบ่งพื้นที่ออกเป็นสามส่วนอย่างไม่สมมาตรและแสดงภาพของวัตถุสามสิ่ง ได้แก่ ช้างเอราวัณ ช้างเผือก และกริช ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนดินแดนทั้งสามที่กษัตริย์สยามมีอำนาจเหนือได้แก่พระราชอาณาจักรสยาม หัวเมืองลาวประเทศราช และหัวเมืองมลายูประเทศราชตามลำดับ โดยออกแบบขึ้นตามที่กษัตริย์สยามมักแนะนำสถานะของตนต่อโลกตะวันตกว่าเป็น ‘กษัตริย์สยามทรงอำนาจเหนือลาวและมลายู’ จะเห็นได้ว่าพื้นที่ที่แสดงช้างเอราวัณอันเป็นสัญลักษณ์แทนดินแดนสยามทั้งสาม ได้แก่ สยามเหนือ (ภาคเหนือตอนล่าง) สยามกลาง (ภาคกลาง) และสยามใต้ (ภาคใต้ตอนบน) นั้นมีขนาดใหญ่ที่สุดและตั้งอยู่เหนือตราช้างเผือกลาวและตรากริชมลายู แสดงถึงลำดับชั้นอันไม่เท่าเทียมระหว่างสยามซึ่งถือเป็น ‘ประเทศแม่’ หรือส่วนหลักของรัฐ กับลาว (ทั้งล้านนาและล้านช้าง) และมลายูซึ่งถือเป็น ‘หัวเมืองชั้นนอก’ หรือเป็นอาณานิคมชายขอบ ในที่นี้ ช้างเผือกในตราอาร์มซึ่งเป็นตราแผ่นดินสยามยุคอาณานิคมจึงเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจปกครองแบบอาณานิคมของสยามเหนือดินแดนล้านนาอย่างชัดเจน

อีกเหตุผลหนึ่งซึ่งอาจผูกโยงช้างเข้ากับภาพจำเกี่ยวกับล้านนาหรือภาคเหนือตามความเข้าใจของชาวสยามคือบทบาทของ ‘ช้างลากไม้’ ในการดำเนินอุตสาหกรรมป่าไม้ในดินแดนล้านนา ซึ่งเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ช่วงอาณานิคมช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ในช่วงเวลานั้น ผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ของล้านนาถือเป็นทรัพยากรอันมีค่า และเป็นสิ่งล่อตาล่อใจสำหรับทั้งเจ้าอาณานิคมตะวันตกอันได้แก่จักรวรรดิอังกฤษและเจ้าอาณานิคมพื้นถิ่นอันได้แก่สยาม จนเป็นหนึ่งในเหตุที่สยามเริ่มรุกคืบเข้ามาสถาปนาอำนาจปกครองแบบอาณานิคมสมัยใหม่เหนือดินแดนล้านนาเพื่อเอื้ออำนวยให้อุตสาหกรรมดังกล่าว (ซึ่งประกอบกิจการโดยกลุ่มทุนต่างชาติ) สามารถดำเนินการไปได้โดยสะดวก อุตสาหกรรมป่าไม้จึงถือเป็นหนึ่งในฟันเฟืองเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดในล้านนา ทั้งยังดึงเอาเศรษฐกิจล้านนาให้เชื่อมโยงเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายทุนนิยมโลกแบบอาณานิคมมาจนถึงการประกาศ ‘ปิดป่า’ หรือยกเลิกสัมปทานป่าไม้ในปี 2532

ความเฟื่องฟูของอุตสาหกรรมดังกล่าวมีส่วนสร้างความทรงจำเกี่ยวกับล้านนาในฐานะ ‘ภาคเหนือ’ หรือ ‘ภาคเหนือตอนบน’ ของประเทศไทยให้เป็นดินแดนแห่งป่าไม้ (ซึ่งยังสามารถตัดเลื่อยไม้ได้อยู่) ภาพของท่อนซุงกลายเป็นภาพที่ชินตาของภาคเหนือ และเมื่อมีภาพของท่อนซุงแล้ว ก็ย่อมต้องมีภาพของช้างที่ฝึกหัดไว้สำหรับลากท่อนซุงปรากฏอยู่คู่กัน ถึงทุกวันนี้ที่ทางและบทบาทของช้างที่ผ่านการฝึกหัดมาแล้วจะเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมป่าไม้มาเป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จนอาจกลายเป็นอีกหนึ่งที่มาของภาพจำว่าด้วยช้างกับภาคเหนือ ล้านนา และเชียงใหม่ ก็ถือได้ว่าการฝึกช้างดังกล่าวเป็นมรดกหนึ่งจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระบอบอาณานิคมด้วยเช่นกัน

อันที่จริง นัยยะของความสัมพันธ์แบบอาณานิคมที่แสดงความไม่เท่าเทียมระหว่างล้านนาเชียงใหม่และสยามนั้น ก็ปรากฏในคำอธิบายความหมายอย่างเป็นทางการของตราช้างเผือกในเรือนแก้วที่ปรากฏในเว็บไซต์ของส่วนราชการจังหวัดเชียงใหม่ ที่ว่า ‘ช้างเผือกหมายถึงช้างที่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ นำทูลเกล้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้ขึ้นระวางเป็นช้างเผือกเอก ในรัชกาลพระองค์‘ อาจถือได้ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่มีใครปฏิเสธ ปกปิด หรือบิดเบือน และแม้แต่ภาครัฐก็ยอมรับนัยความหมายดังกล่าวไว้ในเว็บไซต์ทางการของตน

นอกจากที่ปรากฏในประวัติศาสตร์การตกเป็นอาณานิคมสยามตามที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ก็ไม่ได้ปรากฏที่ไหนว่า ‘ช้าง’ หรือ ‘ช้างเผือก’ จะมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ ตำนาน เรื่องเล่า ความเชื่อ หรือความทรงจำใดๆ ของนครเชียงใหม่อีก เว้นเพียงแต่รูปปั้นช้างเผือกสองตัวที่บริเวณประตูช้างเผือก อันเป็นที่มาของชื่อประตูดังกล่าว เรื่องราวของรูปปั้นช้างเผือกทั้งสองนี้ปรากฏเพียงว่าสร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยพญาแสนเมืองมาเพื่อเป็นอนุสรณ์วีรกรรมของนายทหารสองคนชื่อ ‘อ้ายออบ’ และ ‘อ้ายยี่ระ’ ซึ่งได้ช่วยชีวิตพญาแสนเมืองมาในคราวที่พลัดหลงจากไพร่พลหลังพ่ายแพ้แตกทัพที่เมืองสุโขทัยเท่านั้นเอง คงจะไม่ถึงขนาดที่หยิบยกมาเป็นสัตว์สัญลักษณ์ประจำเมืองเชียงใหม่ได้

หากจะต้องเลือกสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งมาเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดเชียงใหม่ สัตว์ชนิดนั้นน่าจะเป็น ‘ฟานเผือก’ หรือเก้งเผือกมากกว่า เนื่องจากมีเรื่องราวปรากฏในประวัติศาสตร์การสร้างเมืองเชียงใหม่ว่าในระหว่างที่พญามังรายกำลังเสาะแสวงหาทำเลสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นมานั้น ได้ออกล่าสัตว์พร้อมกับกลุ่มพรานป่าที่บริเวณเชิงดอยสุเทพ แล้วพบบริเวณแห่งหนึ่งเป็นทุ่งราบโล่งกว้าง มีหงหนามและเนินหญ้าคาขึ้นอยู่ ในบริเวณนั้นได้พบกับเก้งเผือกแม่ลูกคู่หนึ่งออกจากพงหญ้าคามาหากิน มีความเก่งกล้าสามารถ นอกจากจะไม่กลัวฝูงหมาล่าเนื้อของพญามังรายที่รุมล้อมกันพยายามเข้าไปขบกัดแล้วแล้ว ยังเข้าต่อสู้จนฝูงหมาแตกพ่ายไปได้ พญามังรายเห็นบริเวณดังกล่าวเป็นชัยภูมิที่ดี อีกทั้งยังพบกับเก้งเผือกแม่ลูกซึ่งถือเป็นสัตว์วิเศษ สามารถเอาชนะฝูงหมาล่าเนื้อได้ จึงเลือกเอาบริเวณดังกล่าวเป็นทำเลที่ตั้งของเมืองเชียงใหม่

ต่อมาจึงเป็นที่เชื่อถือกันว่าเก้งเผือกแม่ลูกคู่นี้เป็นส่วนหนึ่งของ ‘ชัยมงคลเจ็ดประการ’ หรือ ‘สิริมงคลเจ็ดประการ’ แห่งเมืองเชียงใหม่ โดยถือว่าการอยู่อาศัยของเก้งเผือกแม่ลูก ถือเป็นปฐมชัยมงคลหรือสิริมงคลประการแรก และชัยชนะเหนือฝูงหมาล่าเนื้อของเก้งเผือกแม่ลูกดังกล่าวก็ถือเป็น ‘ชัยมงคลถ้วนสอง’ หรือสิริมงคลประการที่สองของเมืองเชียงใหม่อีกด้วย เท่ากับว่าเก้งเผือกเป็นชัยมงคลประจำเมืองเชียงใหม่ถึงสองประการจากทั้งหมดในเจ็ดประการเลยทีเดียว

นอกจากนี้ เรื่องราวเดียวกันนี้ยังปรากฏต่อไปอีกว่าในบริเวณนั้น พญามังรายยังได้พบกับ ‘พญาหนูเผือก’ พร้อมทั้งบริวารหนูอีกสี่ตัว ถือเป็น ‘ชัยมงคลถ้วนสาม’ หรือสิริมงคลประการที่สามถัดจากเก้งเผือกซึ่งเป็นชัยมงคลสองข้อแรก ดังนั้นสัตว์อันเป็นชัยมงคลและอาจใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองเชียงใหม่ได้จึงมีสองชนิด ได้แก่ เก้งเผือกและหนูเผือก ไม่ใช่ช้างเผือกซึ่งปรากฏขึ้นภายหลังแต่อย่างใด

ผู้หนึ่งที่เล็งเห็นว่าเก้งเผือกเป็นสัตว์ที่สมควรจะเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่ได้แก่นายไกรศรี นิมมานเหมินท์ อดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ คนเมือง นักธุรกิจและนักล้านนานิยมผู้มีบทบาทในการอนุรักษ์วัฒนธรรมล้านนาและศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์และโบราณคดีล้านนาอย่างกว้างขวาง และที่สำคัญคือเป็นหนึ่งในแกนนำรณรงค์เรียกร้องให้ก่อตั้ง ‘มหาวิทยาลัยภาคเหนือ’ ทั้งยังได้ให้มารดาคือนางกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ขายที่ดินผืนใหญ่ให้รัฐบาลในราคาเหมือนให้เปล่า (หลังจากที่รัฐบาลไม่ยอมรับการบริจาคที่ดินผืนดังกล่าวก่อนหน้านี้)

ในระหว่างกระบวนการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นี้เอง นายไกรศรีได้เสนอให้ตราประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นรูปเก้งเผือกสองแม่ลูก ยืนกลางเนินหญ้าคา และมีพื้นหลังเป็นดอยสุเทพ เพื่อให้สอดคล้องกับตำนานการสร้างเมืองเชียงใหม่ที่ได้กล่าวมาแล้ว พร้อมทั้งเสนอให้ใช้สีประจำมหาวิทยาลัยเป็นสีแสดซึ่งเป็นสีประจำวันพฤหัสบดีอันเป็นวันสถาปนาเมืองเชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของนายไกรศรีทั้งเรื่องตราสัญลักษณ์และเรื่องสีประจำมหาวิทยาลัยไม่ได้รับการขยายผลต่อแต่อย่างใด โดยสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในปัจจุบันนั้น นอกจากจะเป็นรูปช้างเผือกชูคบเพลิงแล้ว ยังมีรูปดอกสักซึ่งเป็นต้นไม้เศรษฐกิจสำคัญในล้านนายุคอาณานิคม และสีม่วงดอกรักอันเป็นสีประจำมหาวิทยาลัยนั้นก็ดัดแปลงมาจากเป็นสีม่วงแดงซึ่งเดิมเป็นสีประจำมณฑลพายัพ อันเป็นการหน่วยการปกครองตามระบอบอาณานิคม นับได้ว่าสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่แฝงนัยของระบอบอาณานิคมสยามไว้มากทีเดียว

ภาพร่างตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่นายไกรศรี นิมมานเหมินท์เสนอ ภาพจาก จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอขอบคุณความเอื้อเฟื้อจากอาจารย์ณัฐพงศ์ ปัญจบุรี

ต่อมาจนถึงปี 2560 ที่เก้งเผือกถูกปลุกชีพคืนขึ้นมาสัตว์สัญลักษณ์ประจำเมืองเชียงใหม่ในรูปแบบของ ‘น้องฟาน’ ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสัตว์นำโชค (mascot) สำหรับการรณรงค์ผลักดันให้เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองมรดกโลก และได้นำไปออกงานต่างๆ เพื่อสร้างสีสันในจังหวัดเชียงใหม่ การรื้อฟื้นเรื่องราวของเก้งเผือกซึ่งเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ตามประวัติศาสตร์พื้นถิ่นมานำเสนอแทนช้างเผือกซึ่งเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ตามประวัติศาสตร์รวมศูนย์อาจถือได้ว่าเป็นหมุดหมายของการฟื้นฟูอัตลักษณ์ล้านนา แต่น่าเสียดายที่ถึงขณะนี้ น้องฟานดูจะยังไม่ติดตลาดมากเท่าที่ควร และคงจะยังต้องใช้เวลาอีกสักพักใหญ่ๆ กว่าที่ภาพของ ‘เก้งเผือก’ จะแทนที่ ‘ช้างเผือก’ ได้สำเร็จ ซึ่งก็เป็นไปตามสภาพที่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ท้องถิ่นนั้นถูกผูกขาดและกำหนดโดยรัฐส่วนกลาง เช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ ที่ถูกผูกขาดไว้ที่ศูนย์กลางอำนาจภายใต้ระบบรัฐรวมศูนย์ซึ่งดำรงอยู่ในปัจจุบัน

โจทย์เรื่องสัตว์สัญลักษณ์ประจำจังหวัดเชียงใหม่ดังกล่าวนี้ ดูเหมือนเป็นโจทย์เล็กๆ ที่ไม่ได้มีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งก็อาจจะจริงในแง่ที่ว่าไม่ว่าจะใช้สัตว์อะไรเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดก็ไม่ได้ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในจังหวัดดีขึ้นหรือแย่ลงโดยตรง อย่างไรก็ตาม การเลือกสัญลักษณ์ประจำจังหวัดเป็นเรื่องของอัตลักษณ์หรือตัวตนของผู้คนในพื้นที่ต่างๆ อันเป็นพื้นฐานความเป็นมนุษย์ของผู้คนในพื้นที่นั้นๆ หากอัตลักษณ์ของผู้คนถูกคัดเลือกและสรรสร้างโดยคนจากส่วนกลาง ตัวตนของผู้คนย่อมถูกผูกไว้กับอำนาจส่วนกลาง และมีแนวโน้มที่จะยอมรับหรือสนับสนุนการรวมศูนย์อำนาจ ในทางตรงกันข้าม หากอัตลักษณ์ของผู้คนเกิดขึ้นจากสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ตัวตนของผู้คนย่อมผูกอยู่กับพื้นที่ของตัวเอง และมีแนวโน้มที่จะยอมรับหรือสนับสนุนการกระจายอำนาจด้วยเช่นกัน โจทย์เรื่องสัตว์สัญลักษณ์ประจำจังหวัดเชียงใหม่ (และจังหวัดอื่นๆ) จึงไม่ได้เป็นเพียงประเด็นทางเทคนิกสำหรับนักวิชาการ แต่เป็นโจทย์เรื่องการกระจายอำนาจทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโจทย์ที่ใหญ่กว่า นั่นคือการกระจายอำนาจเชิงโครงสร้างทั่วประเทศไทย

คำตอบของโจทย์เรื่องสัญลักษณ์ประจำจังหวัดเชียงใหม่นั้น จะสมควรใช้เป็นช้างเผือกดังเดิม หรือจะสมควรเปลี่ยนเป็นเก้งเผือก หรือจะเห็นสมควรใช้สัญลักษณ์อื่นใดนั้น เป็นสิทธิของชาวเชียงใหม่ที่จะตัดสินใจด้วยตัวเอง คนลำปางเช่นผู้เขียนคงจะได้แต่เปิดประเด็นไว้ในที่นี้ เผื่อว่าคนเชียงใหม่จะสนใจทบทวนถกเถียงว่าแท้จริงแล้วต้องการอัตลักษณ์ประจำจังหวัดเป็นแบบใด ทั้งหมดนี้ย่อมเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันการกระจายอำนาจ ซึ่งจะต้องทำทั้งในมิติการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม รวมถึงในด้านประวัติศาสตร์และตัวตนของผู้คนด้วยเช่นกัน

บรรณานุกรม

กรมศิลปากร. ตราประจำจังหวัด. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2542.

ฐนพงศ์ ลือขจรชัย, “ชาติไทยของสยามเหนือชาวปัตตานีมลายูในศตวรรษที่ 19”. วารสารศิลปะศาสตร์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม -ธันวาคม 2561): 179-192

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา, “43. ได้พระยาเสวตรไอยราช้างเผือกเมืองเชียงใหม่” ใน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก //shorturl.at/hnwL3 (สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566)

เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. เปิดแผนยึดล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๙.

“เปิดตัว ‘น้องฟาน’ มาสคอตแคมเปญ ดันเชียงใหม่สู่เมืองมรดกโลก” ใน มติชนออนไลน์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก //www.matichon.co.th/local/news_526179 (สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566)

สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่, “ตราประจำจังหวัด” ใน วิสัยทัศน์จังหวัด. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก //www.chiangmai.go.th/web2561/vision/ (สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566)

สมโชติ อ๋องสกุล, จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประวัติศาสตร์ยุคเรียกร้องมหาวิทยาลัยในภาคเหนือ และประวัติบุคคลผู้มีส่วนร่วมในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2565)

หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (หอศิลป์ปิ่นมาลา), “เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย” ใน ประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก //library.cmu.ac.th/pinmala/trait.php (สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566)

อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และ เดวิด เค. วัยอาจ, ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: ซิลค์เวอร์มบุ๊คส์, 2547

Emblem of Thailand. (2023, April 25). In Wikipedia. //en.wikipedia.org/wiki/Emblem_of_Thailand (Retrieved 30 May 2023)

Heraldry. (2023, May 22). In Wikipedia. //en.wikipedia.org/wiki/Heraldry (Retrieved 30 May 2023)

Talor Easum, อัตลักษณ์ท้องถิ่น การเมืองระดับชาติและมรดกโลกในภาคเหนือของประเทศไทย. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก //kyotoreview.org/issue-27/local-identity-national-politics-world-heritage-in-northern-thailand-th/ (สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566)

พริษฐ์ ชิวารักษ์ เพนกวิน เชียงใหม่ อาณานิคมสยาม ล้านนา ช้างเผือก เก้งเผือก ฟานเผือก

ภาพประกอบ: ณัฐพล อุปฮาด

มีความฝันอยากวาดภาพประกอบให้เข้าถึงคนมากๆ หลงใหลในกาเฟอีนและเสียงเพลง บางวันก็คิดว่าวันนี้ควรฟังเพลง Flipper อีกกี่รอบถึงจะพอ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้