Ibuprofen 400 mg ใช สำหร บโรคเปล อกตาปวมได ม ย

แม้ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) จะเป็นยาแก้ปวดที่ใช้กันแพร่หลายในบ้านเรา แต่คงไม่ใช่ทุกคนที่จะทราบวิธีใช้ยาอย่างถูกต้อง ปลอดภัย และข้อควรระวังบางประการก่อนใช้ยา ยิ่งไปกว่านั้น บางคนยังอาจจำสลับกันระหว่างยาไอบูโพรเฟนกับยาพาราเซตามอลอีกด้วย นี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ผู้ป่วยหายช้าลงหรือยาอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้

โดยทั่วไป ไอบูโพรเฟนใช้รักษาอาการปวด ไข้ บวม และอักเสบ ส่วนยาพาราเซตามอลจะรักษาเฉพาะอาการไข้และปวดเล็กน้อย การเรียนรู้วิธีใช้อย่างถูกต้องและเข้าใจรายละเอียดของไอบูโพรเฟนและพาราเซตามอลมากขึ้น จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและทำให้ผู้ป่วยหายดีได้โดยเร็ว

ข้อควรรู้เกี่ยวกับไอบูโพรเฟน

ไอบูโพรเฟนจัดเป็นยาแก้อักเสบชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือที่เรียกกันว่ายากลุ่มเอ็นเสด (Non-Steroidal Anti-Inflammatory: NSAID) โดยจะเข้าไปช่วยยับยั้งการผลิตสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ที่ก่อให้เกิดการอักเสบ ส่งผลให้อาการบวม ปวด หรือมีไข้บรรเทาลงได้ ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุจากการปวดหลัง ปวดประจำเดือน ปวดฟัน เคล็ดขัดยอก ปวดเมื่อย หรือปวดจากข้ออักเสบก็ตาม

สิ่งสำคัญคือ ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติสุขภาพของตัวเองก่อนใช้ยา เนื่องจากตัวยาอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหรือโรคบางชนิดจนอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะการแพ้ยาไอบูโพรเฟน หรือยากลุ่มเอ็นเสดชนิดอื่น ๆ

โดยเฉพาะหากผู้ป่วยมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหัวใจวาย โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ภาวะคอเลสเตอรอลสูง เบาหวาน มีแผลหรือเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ โรคตับ โรคไต รวมทั้งผู้ที่สูบบุหรี่ก็ควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยเช่นกัน

ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ป่วยควรใช้ไอบูโพรเฟนตามคำแนะนำที่ระบุบนฉลาก หรือตามที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำอย่างเคร่งครัด โดยปริมาณยาสูงสุดสำหรับผู้ใหญ่หากซื้อรับประทานเองไม่ควรเกิน 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน ยกเว้นแพทย์สั่ง เพราะหากรับประทานยาเกินขนาดอาจเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่ร้ายแรง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ง่วงซึม อุจจาระปนเลือดหรือมีสีดำ ไอเป็นเลือด หายใจตื้น หมดสติ หรือโคม่า

ในกรณีที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรไม่ควรรับประทานไอบูโพรเฟน ยกเว้นกรณีเป็นคำสั่งของแพทย์ เช่นเดียวกันกับเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนที่ไม่ควรรับประทานหากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์

ความแตกต่างระหว่างไอบูโพรเฟนและพาราเซตามอล

เนื่องจากไอบูโพรเฟนและพาราเซตามอลจัดเป็นยาแก้ปวดเหมือนกัน หลายคนจึงอาจคิดไปว่านำมาใช้แทนกันได้ หรือสับสนคิดว่าเป็นยาชนิดเดียวกัน แต่ความจริงแล้วยาทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกันในรายละเอียดไม่น้อย หากผู้ป่วยขาดความรอบคอบและความระมัดระวังในการใช้ยาแต่ละชนิดอาจเป็นผลเสียต่อร่างกายได้

คุณสมบัติของยา

ตามที่กล่าวไปแล้วว่า ไอบูโพรเฟนช่วยในการลดไข้ บรรเทาปวด และลดการอักเสบ ในขณะที่พาราเซตามอลใช้ในการลดไข้และบรรเทาปวดเท่านั้น ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรเลือกยาให้เหมาะสมกับอาการมากที่สุด หากมีอาการอักเสบอย่างปวดข้อต่อหรือข้ออักเสบก็ควรเลือกใช้ยาไอบูโพรเฟน

ปริมาณการใช้ยา

ปกติแล้วปริมาณการใช้ยาพาราเซตามอลจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งปริมาณที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 10–15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยให้รับประทานทุก 4–6 ชั่วโมง แต่ปริมาณการใช้ยาไอบูโพรเฟนในผู้ใหญ่จะไม่ได้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัว จึงควรรับประทานตามที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ

ความเสี่ยงของการใช้ยา

ในเบื้องต้น ยาทั้งสองชนิดอาจส่งผลต่อระบบอวัยวะมากน้อยต่างกันไป ยาพาราเซตามอลอาจกระทบต่อตับหรือเป็นพิษต่อตับ โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคตับ ตับแข็ง หรือดื่มสุราปริมาณมากเป็นประจำ ส่วนยาไอบูโพรเฟนอาจก่อให้เกิดปัญหาในทางเดินอาหาร โดยเฉพาะกระเพาะอาหาร อาจเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด และเป็นพิษต่อไตได้ หากรับประทานในปริมาณสูงหรือเกิน 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา

นอกเหนือจากการแพ้ยาที่ผู้ป่วยอาจพบระหว่างรับประทานทุกชนิดรวมทั้งยาไอบูโพรเฟนและยาพาราเซตามอล ไอบูโพรเฟนมักทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดแสบท้อง และอาจมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร เวียนศีรษะ ส่วนพาราเซตามอลโดยทั่วไปมักไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง แต่หากพบอาการไม่พึงประสงค์ควรไปปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทันที โดยเฉพาะผู้ใช้ยาพาราเซตามอลติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หรือใช้ร่วมกับยาแก้ไข้หรือยาแก้หวัดชนิดอื่น ๆ

หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วยาทั้งสองชนิดนี้รับประทานร่วมกันได้หรือไม่ จริง ๆ แล้วเราสามารถรับประทานยาพาราเซตามอลร่วมกับยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเสดอย่างไอบูโพรเฟนได้ ทว่าในปัจจุบันมีการศึกษาที่ระบุว่า ผลลัพธ์ของการใช้ยาทั้งสองชนิดควบคู่กันอาจไม่ได้ดีไปกว่าการใช้ยาเดี่ยว แต่อาจเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงสูงกว่า

ดังนั้น หากผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องใช้ยาทั้งสองชนิดร่วมกัน ก็ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรอย่างเคร่งครัด

สุดท้ายนี้ ไม่ว่าเราจะเลือกใช้ยาชนิดใดเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สิ่งสำคัญคือการรับประทานยาในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย และเหมาะสมกับปัญหาสุขภาพของตนเอง หากมีความสับสนหรือมีข้อสงสัย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้