เคร องเล น blu-ray 4k ultra hd ubp-x700 ม อสอง

ก็เริ่มถูกนำมาบรรจุลงในทีวีที่มีราคาต่ำลงเรื่อยๆ เช่นกัน อีกไม่นานต่อจากนี้ไป คุณสมบัติของการแสดงภาพวิดีโอที่มีไดนามิกของแสงที่เปิดกว้างมากๆ ที่มาพร้อมฟอร์แม็ต HDR เหล่านี้ก็จะถูกนับว่าเป็น “คุณสมบัติพื้นฐาน” สำหรับทีวีทุกเครื่องที่ผลิตออกมา ใครจะซื้อทีวีใหม่ยุคนี้ไม่มี HDR ไม่ได้นะครับ!

ตั้งแต่เริ่มมีระบบการเชื่อมต่อด้วย HDMI เกิดขึ้นมาเมื่อ ปี 2002 เทคโนโลยีของ TV ก็มีการปรับปรุง + เปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด สำหรับคนที่คลุกคลีอยู่ในวงการอย่างผมเองยังรู้สึกได้ว่ามันเปลี่ยนแปลงเร็วมาก คงไม่ต้องพูดถึงคนทั่วไปที่กว่าจะเปลี่ยนทีวีใหม่สักเครื่อง ก็ต้องหลังจากใช้ทีวีตัวเดิมไปแล้วหลายๆ ปี ดังนั้น เมื่อถึงเวลาต้องเปลี่ยนทีวีตัวใหม่ การแลกซื้อก็จะทำได้ยากขึ้นมาก ต้องศึกษาข้อมูลกันจนหัวปวดกว่าจะเลือกซื้อได้ บางคนถึงกับออกปากว่าเป็นฝันร้ายกันเลยทีเดียว.!!!

จาก FULL HD สู่ 4K UHD จากนั้นก็ถึงเวลาของ HDR

มาตรฐาน HDTV เกิดขึ้นเมื่อ ปี 1996 แล้วปรับมาตรฐานขึ้นมาเป็น 1080p FULL HDTV หลังจากนั้นไม่นาน ก่อนจะมาปรับอีกทีเป็นมาตรฐาน 4K UHD ในปัจจุบัน ด้วยการเพิ่มจำนวนพิกเซล (หรือเม็ดสี) ของภาพในแต่ละเฟรมให้สูงขึ้นกว่ามาตรฐาน 1080p FULL HDTV ถึง 4 เท่า พร้อมทั้งนำมาเทคโนโลยี HDR เข้ามาเสริม ซึ่งยอมรับกันว่า HDR (High Dynamic Range) เป็นจุดพลิกผันอย่างก้าวกระโดดทางด้าน “คุณภาพของภาพ” เป็นฟังท์ชั่นสุดยอดปรารถนาของผู้บริโภคที่ชื่นชอบการรับชมภาพยนตร์ทุกคน

ก็ยังนับว่าโชคดีที่ทุกวันนี้ คุณสามารถหาซื้อทีวี 4K UHD ที่รองรับเทคโนโลยี HDR ได้ในราคาไม่กี่หมื่นบาท.!

ทำไม High Dynamic Range (HDR) จึงได้สำคัญนัก.?

สำหรับคนที่พิถีพิถันในเรื่องคุณภาพของภาพ และต้องการคำว่า “ดีที่สุด” จากภาพยนตร์ที่รับชมในระบบโฮมเธียเตอร์ทุกวันนี้ ถ้าคุณได้มีโอกาสรับชมภาพยนตร์ผ่านระบบโฮมเธียเตอร์ที่ใช้ระบบฉายภาพด้วยฟอร์แม็ต HDR สักครั้ง คุณจะรู้สึกได้ทันทีว่า HDR นี่แหละคือสิ่งที่คนชอบดูหนังด้วยชุดโฮมเธียเตอร์ต้องการ!

HDR explain

ในกรณีที่ TV รองรับ dynamic range ของแสง (ความสว่าง) อยู่แค่ระดับ SDR (Standard Dynamic Range)(ด้านขวามือของภาพ) ตัวทีวีจะไม่สามารถแสดงสีของวัตถุในสภาพโดนแสงสว่างส่องออกมาได้ครบทุกระดับความสว่าง ในขณะที่ TV ที่รองรับได้ถึงระดับ HDR (High Dynamic Range)(ทางซ้ายมือของภาพ) จะสามารถแสดงระดับความมืด–สว่างของแสงที่เกิดขึ้นกับสีของวัตถุได้มากกว่า (กว้างกว่า) ภาพจึงออกมาสมจริง เหมือนธรรมชาติมากกว่า

จำนวนพิกเซลของภาพที่เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า จากมาตรฐาน FULL HDTV เป็น 4K UHD กับ color gamut มาตรฐานใหม่คือ BT.2020 ไม่ได้สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการโฮมเธียเตอร์ได้มากนัก จวบจนกระทั่ง HDR มาถึง!

HDR เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ทีวี 4K UHD รุ่นใหม่ๆ (บางตัว) สามารถสวิงความสว่างของภาพได้ “กว้างกว่า” ทีวีรุ่นเก่าๆ ที่ใช้มาตรฐาน SDR (Standard Dynamic Range) อธิบายสั้นๆ เพื่อความเข้าใจสำหรับคนที่ยังงงๆ อยู่กับ HDR ว่ามันคืออะไร.?

จากภาพด้านบน สมมุติว่าในฉากของหนังที่คุณดูบนทีวี เป็นภาพของวัตถุสีแดงชิ้นหนึ่ง ซึ่งในธรรมชาตินั้น วัตถุที่มีทรวดทรงทุกชนิด เมื่อถูกส่องกระทบด้วยแสงสว่าง ก็จะเกิดส่วนที่เป็น “ไฮไล้ท์” (high-light) คือจุดที่กระทบแสง กับส่วนที่เป็น “เงามืด” (shadow) คือส่วนที่ไม่ได้กระทบแสงเกิดขึ้น สำหรับวัตถุที่มีทรงโค้ง ระหว่างจุดที่เป็นไฮไล้ท์กับจุดที่เป็นเงามืด จะเกิดการ “เกลี่ย” ของแสงที่ทำให้สีของวัตถุนั้นเปลี่ยนไป คือจากจุดไฮไล้ท์ที่โดนแสงมากๆ จะทำให้สีของวัตถุอ่อนลง และจะค่อยๆ เข้มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเข้าใกล้จุดที่เป็นเงามืด ส่วนจุดที่เป็นเงามืดก็จะมีสีดำเข้ามาผสมอยู่กับสีของวัตถุนั้น

4K UHD + BT.709 + non HDR

4K UHD + BT.2020 + HDR

4K UHD + BT.709 + non HDR

4K UHD + BT.2020 + HDR

ฟังท์ชั่น HDR ช่วยขยายความกว้างของ “แสง” หรือความสว่าง ในขณะที่มาตรฐานของการแสดงเม็ดสีบนจอแบบใหม่คือมาตรฐาน BT.2020 ซึ่งแสดงจำนวนเฉดสีได้มากกว่ามาตรฐาน BT.709 แบบเดิมที่ใช้อยู่กับความละเอียดของภาพระดับ FULL HD 1080p เดิม เมื่อ HDR ผนวกกับ BT.2020 ภาพที่ออกมาจึงกระโดดข้ามไปสู่ความสมจริงเป็นธรรมชาติเหนือกว่า FULL HD 1080p ขึ้นไปหลายขั้น!

* ภาพประกอบข้างต้นเพื่อเสริมความเข้าใจให้เห็นภาพเท่านั้น อาจจะไม่ตรงกับภาพในความเป็นจริงทั้งหมด

แต่การที่ทีวีของคุณมีความละเอียดระดับ 4K และมีความสามารถรองรับ HDR ได้ แค่นั้นยังไม่พอนะครับ เพราะการที่จะได้มาซึ่งคุณภาพของภาพวิดีโอที่สูงถึงมาตรฐาน HDR นั้น คุณยังต้องมีอีกส่วนสำคัญมาประกอบกัน นั่นคือ “contents” ที่บันทึกมาด้วยมาตรฐาน HDR ซึ่งคอนเท็นต์วิดีโอที่บันทึกมาเป็น HDR ในปัจจุบันก็มีที่มาอยู่ 2 แหล่ง ที่แรกคือจาก stream ผ่านอินเตอร์เน็ต จากผู้ให้บริการบางเจ้าอย่างเช่น Netflix และ Amazon กับอีกแหล่งคือจากแผ่น 4K UHD Blu-ray นั่นเอง

Sony : UBP-X700 ทั้งเล่นแผ่นและสตรีมฯ ในเครื่องเดียวกัน

A : ฝาปิดลิ้นชักรับแผ่น B : ปุ่มกดให้ลิ้นชักเลื่อนออก/เลื่อนเข้า C : ช่องเสียบ USB D : สวิทช์สัมผัสสำหรับเปิด/ปิด (สแตนด์บาย) จะมีไฟแอลอีดีอยู่ด้านบนหนึ่งดวง ซึ่งจะสว่างขึ้นเมื่อเครื่องถูกเปิดใช้งาน E : รีโมทไร้สายที่แถมมากับตัวเครื่อง สามารถสั่งงานได้ทุกฟังท์ชั่น และจำเป็นมากในการเข้าเมนู ห้ามหายเพราะที่ตัวเครื่องไม่มีปุ่มเข้าเมนู

A : ช่องเสียบไฟเลี้ยงจากอะแด๊ปเตอร์ 12V ที่แถมมาให้ B : ช่องเสียบสาย LAN 10/100 เพื่อเชื่อมต่อกับ home network C : ช่อง HDMI OUT 1 ส่งออกสัญญาณภาพ (วิดีโอ) และเสียงออกไปพร้อมกัน D : ช่อง HDMI OUT 2 ส่งออกเฉพาะสัญญาณเสียงอย่างเดียว E : ช่อง Digital Out สำหรับส่งออกสัญญาณเสียงดิจิตัล

รีโมทไร้สายที่แถมมาในกล่องรุ่น RMT-VB201U ซึ่งในควบคุมสั่งงานตัวเครื่องเล่น UBP-X700 ได้ครบทุกฟังท์ชั่น รวมถึงมีปุ่ม shortcut เข้าไปที่เมนู HOME (A) เพื่อใช้งานแอพลิเคชั่นบน Home Network และมีปุ่มช็อทคัตเพื่อตัดตรงเข้าสู่การใช้งานแอพลิเคชั่น Netflix (B) มาให้ รวมถึงปุ่ม Option (C) ที่รวบรวมฟังท์ชั่นที่ต้องใช้ในการปรับแต่งภาพและเสียงไว้ที่ปุ่มเดียว ซึ่งจะไปปรากฏฟังท์ชั่นต่างๆ ขึ้นบนจอทีวีเมื่อกดใช้ปุ่มนี้ขณะชมภาพจากแผ่นบลูเรย์ 4K UHD ช่วยอำนวยความสะดวกอย่างมากสำหรับคนชอบดูหนัง

UBP-X700 เป็นเครื่องเล่นแผ่นบลูเรย์ 4K UHD ที่มีความสามารถเล่นแผ่นบันทึกข้อมูลภาพ, วิดีโอ และเสียง ได้ครอบคลุมเกือบจะครบหมดทุกฟอร์แม็ต ทั้งที่อยู่ในตระกูล CD รวม SACD ด้วย ส่วนตระกูลดีวีดีก็เล่นได้หมด ขาดแต่ DVD-Audio อย่างเดียว ส่วนตระกูล Blu-ray ก็เล่นได้หมด ตั้งแต่ BD-ROM, BD-R, BD-RE และ Ultra HD Blu-ray หรือ 4K UHD ด้วย

นอกจากเล่นจากแผ่นแล้ว UBP-X700 ยังเล่นคอนเท็นต์ภาพ, วิดีโอ และเสียงที่อยู่ในรูปของไฟล์ (File) ได้ด้วย ไม่ว่าคุณจะเก็บไฟล์เหล่านั้นไว้ใน USB ฮาร์ดดิส หรือในฮาร์ดดิสบนเน็ทเวิร์ค ซึ่งไฟล์วิดีโอที่เครื่องเล่นตัวนี้สามารถเล่นได้ก็ครอบคลุมไฟล์ยอดนิยมไว้ครบเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น MKV, TS (.m2ts/.mts), AVI, Quick Time (.mov), MP4 และเล่นไฟล์ AVCHD v. 2.0 ได้ด้วย

ทางด้านไฟล์เสียงก็เล่นได้ครบทุกรูปแบบที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นั่นคือ MP3, AAC, WMA9 และ WMA10 Pro, LPCM, FLAC, Dolby Digital (.ac3), DSF, DFF, AIFF, ALAC, Vorbis และ Monkey’s Audio

ทดลองใช้ UBP-X700 ดูภาพยนตร์จากแผ่นบลูเรย์ 4K UHD

ความเจ๋งของ UBP-X700 ตัวนี้ซึ่งจะทำให้คอหนังต้องถึงกับต้องร้องว้าวก็คือความสามารถในการรองรับการเล่นแผ่นหนัง 4K UHD ที่เข้ารหัสด้วยฟอร์แม็ต HDR ได้ครบหมดทุกฟอร์แม็ต ตั้งแต่ HDR10, HLG ไปจนถึง Dolby Vision ที่สุดติ่งไฮเอ็นด์ฯ ด้วย!*

* อัพเดตเฟิร์มแวร์เวอร์ชั่นล่าสุด v. M43.R.0225

ผมทดสอบประสิทธิภาพในการเล่นแผ่นบลูเรย์ฯ 4K UHD ของ UBP-X700 โดยใช้ทีวีรุ่น KD-55X9000F เป็นมอนิเตอร์ เพราะทีวีรุ่นนี้สามารถรองรับระบบภาพ 4K UHD ที่เข้ารหัส HDR ได้ครบทุกฟอร์แม็ต ขนาดจอ 55 นิ้ว เป็นรุ่นสูงในซีรี่ย์ 9000 ที่ใช้เทคโนโลยี LCD โดยอาศัย LED backlight ควบคุมการให้แสงสว่างด้วยเทคนิค Local Dimming

แต่การที่จะทำให้เครื่องเล่น UBP-X700 กับทีวี KD-55X9000F แสดงประสิทธิภาพของฟอร์แม็ต HDR ออกมาได้เต็มที่จริงๆ เรามีสิ่งที่ต้องจัดการอยู่สองสิ่ง สิ่งแรกคือต้องมั่นใจว่า สาย HDMI ที่จะเอามาเชื่อมต่อระหว่างเครื่องเล่นฯ กับทีวีมันรองรับการส่งผ่านข้อมูลได้มากถึง 18Gbps จริงๆ แม้ว่าจะมีคนพูดกันมากว่า ขอให้มีภาพขึ้นบนจอก็ถือว่าสอบผ่าน แต่จริงๆ แล้ว สาย HDMI ที่ดีจริงๆ จะไม่แค่ทำให้มีภาพปรากฏขึ้นบนจอเท่านั้น แต่ถ้าสาย HDMI เส้นนั้นสามารถส่งผ่านข้อมูลได้สูงถึง 18Gbps จริงๆ แล้ว ภาพที่ปรากฏบนจอจะมีคุณภาพที่ดีตรงตามมาตรฐานของฟอร์แม็ต HDR จริงๆ โดยเฉพาะถ้าต้องการเล่นแผ่นที่เข้ารหัสด้วยฟอร์แม็ต Dolby Vision ที่ส่งผ่านข้อมูลบนสาย “มากกว่า” ฟอร์แม็ตอื่นๆ คุณต้องมั่นใจจริงๆ ว่าสาย HDMI ที่ใช้สเปคฯ มันถึงจริงๆ!

เพื่อให้การทดสอบไร้ข้อกังขา ผมเลือกใช้สาย HDMI ยี่ห้อ AIM รุ่น Reference II ความยาว 2 เมตรในการเชื่อมต่อระหว่าง UBP-X700 กับ XD-55X9000F ในการทดสอบครั้งนี้

ตัว UBP-X700 ทุกตัวที่แกะกล่องออกมามันไม่ได้อยู่ในสภาวะที่พร้อมทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพตั้งแต่ต้นนะครับ ก่อนเริ่มใช้งานคุณต้องเข้าไปจัดการเซ็ตอัพมันซะก่อน อย่างแรกสุดคือ update firmware ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดในปัจจุบันคือ v. M43.R.0225 (November 2018) จากนั้น ก่อนจะเริ่มเล่นแผ่น ก็เข้าไปทำการปรับตั้งเอ๊าต์พุตของตัว UBP-X700 ให้ตรงกับทีวีที่คุณใช้ ในกรณีที่เราต้องการทดสอบประสิทธิภาพในการถ่ายทอดสัญญาณภาพ HDR/Dolby Vision คุณต้องเข้าไปในเมนูของ UBP-X700 สอง–สามตำแหน่ง นั่นคือปรับตั้งเอ๊าต์พุตที่หัวข้อ “HDR Output” ไว้ที่ “Auto” (ลูกศรสีเขียว), หัวข้อ “Dolby Vision Output” ไว้ที่ “On” (ลูกศรสีแดง) และต้องไม่ลืมปรับตั้ง resolution ของภาพวิดีโอตรงเอ๊าต์พุตไว้ที่ “4K” ด้วย (ลูกศรสีฟ้า ตามภาพด้านบน) จากนั้นก็ไปปรับตั้งในเมนูปรับแต่งภาพของทีวีให้ตรงกับการใช้งานเพื่อรองรับสัญญาณภาพ 4K UHD/HDR ด้วย

ผมมีแผ่นบลูเรย์ ที่เข้ารหัสภาพวิดีโอด้วยฟอร์แม็ต HDR อยู่ 6-7 แผ่น ส่วนใหญ่จะเป็นฟอร์แม็ต HDR10 มีที่เข้ารหัสเป็น HDR/Dolby Vision อยู่แค่แผ่นเดียวคือภาพยนตร์เรื่อง ‘The Dark Tower‘ ซึ่งภาพที่ได้จากการเล่นผ่าน UBP-X700 ออกมาสวยมาก อย่างแรกที่รู้สึกได้เลยคือมันให้แสงที่มีไดนามิกเร้นจ์เปิดกว้างกว่าเวอร์ชั่น Blu-ray 1080p มาก (ในกล่องมีมาให้ 2 แผ่น) ส่งผลให้ภาพดูมีพลัง พ๊อพ–อัพออกมาจากหน้าจอได้อย่างเด็ดขาด ให้ความรู้สึกเหมือนมองทะลุหน้าต่างออกไป ไม่ติดคาอยู่บนผิวจอ พลังแสงที่เจิดจ้าช่วยขับรายละเอียดของภาพออกมาให้เห็นชัดเจนมากขึ้นเยอะเลย ทั้งในมุมมืดและจุดที่เป็นไฮไล้ท์ที่สว่างๆ ซึ่งรายละเอียดที่ฟอร์แม็ต HDR/Dolby Vision ของภาพยนตร์เรื่องนี้แสดงออกมามันเจาะลึกไปถึง textured ของผิววัตถุในภาพ รับรู้ได้ถึงความสาก ลื่น หยาบ เนียน ของวัตถุในภาพได้อย่างชัดเจน

นอกจากแสงแล้ว ทางด้านสีสันก็ดูสดใสและไล่เฉดอ่อน–แก่ได้เนียนละเอียดมาก ทำให้ดูแล้วเกิดความรู้สึกถึงรูปทรงของวัตถุที่มีความโค้ง กลม เหลี่ยม มีตื้น–ลึกเป็นสามมิติ ไม่แบน

นอกจากจะดูหนังจากแผ่นบลูเรย์ฯ ที่เข้ารหัส HDR ได้แล้ว ใครที่เพิ่งเปลี่ยนทีวีเป็น 4K UHD แต่ยังมีแผ่นบลูเรย์ 1080p เก่าๆ อยู่ คุณก็สามารถนำมาเล่นกับ UBP-X700 แล้วเปิดใช้ฟังท์ชั่น 4K Upscale ช่วยเพิ่มความละเอียดของภาพ 1080p ให้ขึ้นมาเป็น 4K ได้นะครับ กับหนังเก่าๆ ที่ไม่ต้องการซื้อใหม่ อัพฯ เป็น 4K แล้วภาพดีขึ้นพอสมควร

ทดลองใช้ UBP-X700 เล่นไฟล์ผ่าน home network

สำหรับคนที่ติดตั้งระบบ Home Network ไว้ที่บ้าน คุณสามารถนำ UBP-X700 ตัวนี้ไปใช้เล่นไฟล์ภาพนิ่ง, ไฟล์วิดีโอ หรือไฟล์เสียงที่อยู่บนเน็ทเวิร์คได้ และถ้าโฮมเน็ทเวิร์คที่บ้านคุณได้เชื่อมต่อโมเด็มที่สามารถทะลุออกไปอินเตอร์เน็ตได้ คุณก็สามารถออกไปดึงเอาคอนเท็นต์ที่มีอยู่จำนวนมหาศาลบนอินเตอร์เน็ตลงมารับชมหรือรับฟังผ่านชุดโฮมเธียเตอร์ของคุณได้ด้วย

ภาพนี้คือลักษณะของการต่อเชื่อม UBP-X700 เข้ากับโฮมเน็ทเวิร์คที่บ้าน

เนื่องจากฟังท์ชั่นเน็ทเวิร์คของ UBP-X700 ถูกออกแบบตามมาตรฐาน DLNA และภายในตัวมันมีซอฟท์แวร์ที่ใช้ในการ “เล่นไฟล์” ฝังอยู่ กับมีภาค DAC สำหรับภาพและภาค DAC สำหรับเสียงอยู่ในตัว เมื่อคุณเอา UBP-X700 เข้าไปเชื่อมต่อใน Home Network ตัว UBP-X700 มันเองจะทำหน้าที่ได้ 2 สถานะ ขึ้นอยู่กับการใช้งานของคุณ

สถานะแรกคือทำหน้าที่เป็น “Player” (Digital Media Player = DMP) คือรับไฟล์รูปแบบต่างๆ จาก server มาทำการแตกออกเป็นสัญญาณดิจิตัล (render) ก่อนจะส่งสัญญาณภาพ, วิดีโอ หรือเสียงเหล่านั้น ออกไปทางช่อง Output HDMI ที่เชื่อมต่อไปที่ทีวี และ/หรือชุดเครื่องเสียงเพื่อทำการแสดงผล ซึ่งการใช้งานลักษณะนี้ คุณต้องใช้รีโมทไร้สายที่แถมมาให้ในการควบคุมสั่งงาน (control)

การเชื่อมต่อ UBP-X700 ในโฮมเน็ทเวิร์ค เพื่อทำหน้าที่เป็น Player (DMP)

สำหรับการใช้งานรูปแบบนี้ ให้เริ่มด้วยการกดปุ่ม HOME บนรีโมท จะปรากฏภาพเมนูหลักสำหรับฟังท์ชั่นเน็ทเวิร์คของ UBP-X700 ขึ้นบนจอลักษณะด้านล่างนี้

เป็นหน้าหลักของ UBP-X700 ที่เก็บแอพลิเคชั่นที่คุณสามารถเจาะขึ้นไปบนอินเตอร์เน็ตเพื่อดึงคอนเท็นต์จากแอพฯ เหล่านั้นมารับชมได้ ในนั้นมีแอพฯ หลักๆ ให้เลือกอย่างเช่น YouTube, Netflix, Spotify และสามารถเพิ่มแอพฯ ต่างๆ เข้าไปได้เรื่อยๆ

ผมทดลองเจาะเข้าไปชมคอนเท็นต์จากแอพ YouTube ซึ่งคุณภาพของภาพและเสียงที่ได้จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของคลิปนั้นๆ ที่มีคนอัพโหลดขึ้นไป บางคลิปก็ดีบางคลิปก็ไม่ดี มีอยู่บางคลิปออกมาดีมาก อย่างเช่นคลิป Street Food ของแชนเนล Travel Thirsty ที่ผมชอบดูจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งหลายๆ คลิปทำออกมาได้ดีมาก ภาพคมชัด สีสันสดใส พอมาเปิดดูผ่านแอพฯ ของ UBP-X700 บนทีวี KD-55X9000F ปรากฏว่าภาพและเสียงของคลิปเหล่านี้ออกมาดีกว่าดูจากคอมพิวเตอร์มากๆ ขนาดภาพออกมาใหญ่เต็มตา สีสันสดใส ความคมชัดไม่ต้องพูดถึง เป๊ะมาก!!

ในกรณีที่คุณมีคอนเท็นต์เก็บอยู่หลายที่ซึ่งเชื่อมต่ออยู่ในโฮมเน็ทเวิร์ค อย่างเช่น เก็บไว้ในฮาร์ดดิสของคอมพิวเตอร์, เก็บไว้ใน NAS หรือเก็บไว้ในฮาร์ดดิสของสมาร์ทโฟน/แท็ปเล็ตของคุณ ถ้าต้องการดึงคอนเท็นต์จากแหล่งต่างๆ เหล่านั้นมาเล่นผ่าน UBP-X700 คุณก็สามารถทำได้ โดยใช้แอพฯ บนสมาร์ทโฟน/แท็ปเล็ตทำหน้าที่ควบคุมในการค้นหาคอนเท็นต์และสั่งเล่น (Digital Media Controller = DMC) และให้ UBP-X700 ทำหน้าที่เป็นแค่ DMR หรือ Digital Media Renderer ให้ก็ได้

ผมทดลองใช้แอพฯ PlugPlayer ซึ่งเป็นแอพที่รองรับ DLNA ที่ติดตั้งอยู่บน iPad ทำหน้าที่เป็นตัว DMC เรียกไฟล์เพลงที่ผมเก็บอยู่บน NAS และจากฮาร์ดดิสบนคอมพิวเตอร์ Mac mini แล้วส่งไปให้ BDP-X700 ทำการ render ออกมาเป็นสัญญาณดิจิตัล PCM และ DSD ก่อนส่งไปที่ช่อง HDMI input ของทีวี/เอวี รีซีฟเวอร์

ภาพบนเป็น Media Server หรือแหล่งที่ผมเก็บไฟล์ทั้งหมดเอาไว้ซึ่งเชื่อมต่ออยู่กับโฮมเน็ทเวิร์ค เมื่อต้องการดึงคอนเท็นต์จากเซิร์ฟเวอร์ตัวไหน ผมก็ทำการเลือก active เซิร์ฟเวอร์ตัวนั้นขึ้นมา ส่วนภาพล่างคือตัวเลือกของอุปกรณ์ที่จะทำหน้าที่เป็น Digital Media Renderer (DMR) ซึ่งเชื่อมต่ออยู่ในโฮมเน็ทเวิร์คขณะนั้น ซึ่งผมได้ทำการต่อเชื่อมสาย LAN เข้าไปที่ตัวทีวีด้วย และที่ตัวทีวีก็มีความสามารถในการ render สัญญาณที่มาจากเซิร์ฟเวอร์ขึ้นไปแสดงผลบนจอและลำโพงของมันได้ ชื่อของทีวี (KD-55X9000F) จึงขึ้นไปปรากฏอยู่ในรายชื่อของ Media Renderer ให้เลือกด้วย หมายความว่า ถ้าผมเลือก KD-55X9000F เป็น DMR คอนเท็นต์ที่ผมสั่งเล่นจาก server ที่ผมเลือกไว้ในหัวข้อก่อนหน้านี้ก็จะถูกส่งไปทำการเล่นที่ตัวทีวีโดยไม่ผ่าน UBP-X700 และในทางกลับกัน ถ้าผมเลือก UBP-X700 ให้เป็น DMR คอนเท็นต์จากเซิร์ฟเวอร์ที่ผมเลือกและสั่งเล่นจะวิ่งไปเล่นที่ตัว UBP-X700 ซึ่งจากการทดลองใช้งานสลับไปสลับมาสองลักษณะนี้ ผมพบว่า UBP-X700 สามารถตอบสนองการทำงานได้อย่างลื่นไหล ไม่มีสะดุด และคุณภาพของภาพและเสียงที่ได้ออกมาก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจ

ประสิทธิภาพทางเสียง

BDP-X700 รองรับระบบเสียงครบทุกรูปแบบ ทั้งสำหรับฟอร์แม็ตที่ใช้ดูหนังและใช้ฟังเพลง แต่เนื่องจาก UBP-X700 ไม่มีภาค DAC สำหรับแปลงสัญญาณดิจิตัลเป็นอะนาลอกอยู่ในตัว ซึ่งคุณต้องเชื่อมต่อสัญญาณเสียงดิจิตัลจาก UBP-X700 ผ่านช่อง HDMI ไปที่เอวี รีซีฟเวอร์ที่มีดีโค๊ดเดอร์ Dolby Atmos หรือ DTS เพื่อสัมผัสกับคุณภาพเสียงระดับสูงสุดได้

สรุป

ขอย้ำอีกทีว่า ใครที่กำลังคิดจะเปลี่ยนทีวีมาเป็น 4K UHD อย่าลืมมองหาตัวที่รองรับสัญญาณภาพ HDR ไว้ด้วย ถ้าเป็นไปได้ หากมีตัวไหนอยู่ในงบ และรองรับ HDR ได้ครบทุกฟอร์แม็ตคือ HDR10, HLG และ Dolby Vision แนะนำให้เลือกซื้อทีวีตัวนั้น

ส่วนใครที่มีทีวี 4K UHD อยู่แล้ว ลองสำรวจดูว่าทีวีของคุณรองรับระบบภาพ HDR หรือเปล่า.? ถ้ารองรับและคุณยังไม่เคยใช้งานระบบภาพ HDR เลย แนะนำให้หาเครื่องเล่น UBP-X700 ตัวนี้ไปเสริมทัพ ไว้เล่นแผ่น 4K UHD ที่รองรับระบบภาพ HDR/Dolby Vision ซึ่งจะเป็นการอัพเกรดประสบการณ์ในการรับชมภาพยนตร์ของคุณขึ้นไปสู่มาตรฐานสูงสุดสำหรับระบบโฮมเธียเตอร์ทุกวันนี้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้