Airbnb ถ าจองคนน อยกว า จะร ม ย

ภาษีเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ภาษีที่คุณต้องชำระอาจแตกต่างกันไปในแต่ละกรณี จึงขอแนะนำให้ศึกษาเกี่ยวกับภาระภาษีของคุณหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี จะได้ทราบข้อมูลที่แน่ชัดยิ่งขึ้น

โดยทั่วไปแล้ว เงินที่ได้รับจากการให้เช่าที่พักใน Airbnb ถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี ซึ่งอาจต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีหัก ณ ที่จ่าย นอกจากนี้ บริการให้เช่าที่พักในไทยยังอาจต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือที่เรียกว่า VAT ด้วย คุณมีหน้าที่จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หากมีรายได้ต่อปีจากการให้เช่าที่พักตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป

หากเป็นบุคคลธรรมดา คุณอาจต้องแสดงรายได้จากการให้เช่าที่พักในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ. ง. ด. 94) ภายในสิ้นเดือนกันยายนของทุกปี และแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี (ภ. ง. ด. 90) ภายในสิ้นเดือนมีนาคมของปีถัดไป รายได้สุทธิประจำปี (รายได้ที่ต้องเสียภาษีหักค่าใช้จ่ายที่นำไปลดหย่อนภาษีและรายการลดหย่อน) ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราก้าวหน้าสูงสุด 35%

นิติบุคคลต้องแสดงรายได้จากการให้เช่าที่พักในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลครึ่งปี (ภ. ง. ด. 51) และแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประจำปี (ภ. ง. ด. 50) โดยชำระภาษีให้กรมสรรพากรภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือน และภายใน 150 วันนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี 1 ปีตามลำดับ รายได้สุทธิประจำปี (รายได้ที่ต้องเสียภาษีหักค่าใช้จ่ายที่นำไปลดหย่อนภาษี) ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราปกติ 20%

ตรวจสอบข้อมูลจากกรมสรรพากรว่าต้องแสดงรายได้ที่ได้รับจากการให้เช่าที่พักหรือไม่ ตามยอดในสรุปรายได้ของเจ้าของที่พัก และควรหาข้อมูลด้วยว่าคุณได้รับสิทธิอื่นๆ หรือไม่ อย่างเช่น การลดหย่อนภาษีและรายการลดหย่อน นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังร่วมมือกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับภาระภาษีแก่วิสาหกิจขนาดเล็กและกลางผ่านผลิตภัณฑ์การให้ความรู้ทางภาษี โปรดลองศึกษาดู จะได้เข้าใจข้อกำหนดในการรายงานภาษีของตนเอง และนำมาพัฒนาต่อยอดธุรกิจอย่างยั่งยืนต่อไป

หน้าที่ในการรายงานภาษี

เจ้าของที่พักทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบเกี่ยวกับหน้าที่ในการรายงานภาษี รวมถึงการยื่นภาษี

คู่มือภาษีแจกฟรี

เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจภาระผูกพันด้านภาษีในฐานะเจ้าของที่พัก Airbnb เราจึงร่วมมือกับสำนักงานบัญชีอิสระซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในการจัดทำคู่มือภาษีสำหรับแจกฟรี (มีฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ซึ่งครอบคลุมข้อมูลภาษีทั่วไปในประเทศไทย

ระเบียบข้อบังคับและการอนุญาต

ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าคุณมีสิทธิให้เช่าที่พัก เพราะอาจมีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น สัญญา กฎหมาย และกฎของชุมชน หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎระเบียบ ข้อจำกัด และข้อบังคับต่างๆ ที่มีผลกับคุณ โปรดสอบถามจากทนายความหรือเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ประเทศไทยมีกฎหมายและกฎระเบียบที่อาจส่งผลต่อการให้เช่าที่พักระยะสั้น โปรดศึกษากฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและต้องปฏิบัติตาม รวมถึงพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547, พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522, พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และกฎระเบียบระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างเช่น กฎกระทรวงปี 2551 ภายใต้พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ระบุว่าการให้เช่าที่พักระยะสั้นนั้นไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม หาก:

  1. มีไม่เกิน 4 ห้อง
  2. รองรับผู้เข้าพักได้ไม่เกิน 20 คน และ
  3. รายได้จากที่พักดังกล่าวเป็นเพียงแหล่งรายได้เสริมสำหรับเจ้าของที่พัก

หากมีสิทธิได้รับยกเว้น โปรดกรอกแบบฟอร์มที่นี่เพื่อแจ้งหน่วยงานท้องถิ่น ดูคำแนะนำทีละขั้นตอนได้ที่นี่

เจ้าของที่พักที่ดำเนินการให้เช่าที่พักภายใต้ข้อยกเว้นนี้ยังคงต้องรายงานกิจกรรมการให้เช่าที่พักต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ หากไม่รายงาน อาจต้องเสียค่าปรับจำนวนมากและได้รับโทษสูง หากที่พักอยู่นอกกรุงเทพฯ ให้รายงานกิจกรรมดังกล่าวต่อสำนักงานผู้ว่าราชการจังหวัดผ่านที่ว่าการอำเภอที่ที่พักตั้งอยู่

หากที่พักอยู่ในกรุงเทพฯ ควรรายงานต่อกรมการปกครองตามที่อยู่ต่อไปนี้

ส่วนรักษาความสงบเรียบร้อย 3 สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง 442 ถนนนครสวรรค์ แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

ข้อมูลทั่วไปในบทความนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎระเบียบและสิทธิการให้เช่าที่พัก

การลงทะเบียนผู้เข้าพักชาวต่างชาติ

พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 38 กำหนดให้เจ้าของที่พักที่รับชาวต่างชาติเข้าพักอาศัย ต้องแจ้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองในท้องที่ โดยแจ้งทางออนไลน์หรือยื่นแบบ ตม. 30 โดยต้องแจ้งภายใน 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่ผู้เข้าพักชาวต่างชาติมาถึง หากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดการแจ้งนี้ อาจมีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท โปรดดูรายละเอียดการลงทะเบียนทีละและข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

เจ้าของที่พักที่เป็นชาวต่างชาติ

หากคุณไม่ใช่เจ้าของที่พักที่มีสัญชาติไทย โปรดศึกษาพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ว่ามีกฎระเบียบเพิ่มเติมที่บังคับใช้กับกรณีของคุณหรือไม่

ข้อตกลงตามสัญญาและใบอนุญาต

สัญญาเช่า สัญญาอื่นๆ กฎระเบียบการใช้อาคาร กฎระเบียบของคอนโดมิเนียม และกฎของชุมชนบางแห่งมีข้อห้ามไม่ให้เช่าช่วงหรือให้เช่าที่พัก โปรดอ่านสัญญาที่คุณลงนาม หรือสอบถามเจ้าของอาคาร สภาชุมชน หรือหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจ

คุณอาจต้องเพิ่มข้อตกลงในสัญญาโดยระบุให้ชัดเจนถึงประเด็นปัญหา หน้าที่ความรับผิดชอบ และการรับผิดของคู่สัญญาทุกฝ่าย

โปรดศึกษากฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและต้องปฏิบัติตาม เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งกำกับดูแลสัญญาเช่า

ข้อจำกัดของการจำนอง

หากที่พักติดจำนองอยู่ (หรือติดสินเชื่อในรูปแบบอื่น) โปรดเช็คกับผู้ให้กู้ว่ามีข้อจำกัดในการให้เช่าช่วงหรือให้เช่าที่พักหรือไม่

ข้อจำกัดของบ้านสงเคราะห์

บ้านสงเคราะห์มักมีข้อห้ามไม่ให้เช่าช่วงโดยไม่ได้รับอนุญาต โปรดสอบถามการเคหะหรือสมาคมที่อยู่อาศัย หากคุณอาศัยอยู่ในโครงการบ้านสงคราะห์และต้องการให้เช่าที่พัก

ผู้ร่วมอาศัย

หากคุณพักอยู่กับผู้อื่น ควรทำข้อตกลงอย่างเป็นทางการกับผู้ร่วมอาศัย เพื่อให้ทุกฝ่ายทราบร่วมกันถึงการให้เช่าที่พักและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง คุณอาจจะระบุข้อตกลง เช่น ความถี่ในการให้เช่าที่พัก มารยาทของผู้เข้าพัก การแบ่งรายได้ และอื่นๆ

การให้เช่าที่พักผิดวัตถุประสงค์

เราจะดำเนินการตามความเหมาะสม หากพบว่ามีการให้เช่าที่พักที่อาจผิดวัตถุประสงค์ หากต้องติดต่อหน่วยงานท้องถิ่น โปรดศึกษาแนวปฏิบัติในการให้ข้อมูลแก่หน่วยงานท้องถิ่น

ความปลอดภัย

เราใส่ใจความปลอดภัยของเจ้าของที่พักและผู้เข้าพัก ผู้เข้าพักจะสบายใจขึ้นหากคุณเตรียมข้อมูลความปลอดภัยไว้ให้ เช่น คำแนะนำสำหรับเหตุฉุกเฉินและอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น

ข้อมูลติดต่อในกรณีฉุกเฉิน

ระบุรายชื่อติดต่อพร้อมเบอร์โทรเหล่านี้:

  • เหตุฉุกเฉินในพื้นที่ (เช่น แอพของตำรวจนครบาล)
  • เบอร์โทรโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
  • เบอร์โทรติดต่อของคุณ
  • เบอร์โทรสำรอง (ในกรณีที่ผู้เข้าพักติดต่อคุณไม่ได้)

ควรแจ้งช่องทางที่ดีที่สุดสำหรับติดต่อคุณ หากเกิดเหตุฉุกเฉินให้ผู้เข้าพักทราบไว้ด้วย หรือจะติดต่อผู้เข้าพักผ่านระบบรับส่งข้อความของ Airbnb ซึ่งเป็นอีกทางเลือกที่ปลอดภัย

คุณยังพิมพ์คู่มือความปลอดภัยของเจ้าของที่พัก Airbnb ไว้ให้ผู้เข้าพักได้อีกด้วย คู่มือนำเที่ยว (มีเป็นภาษาไทย อังกฤษ และจีน) ระบุเคล็ดลับความปลอดภัยและเบอร์โทรฉุกเฉินในท้องถิ่นที่สำคัญไว้ให้ผู้เข้าพัก

อุปกรณ์ทางการแพทย์

จัดเตรียมชุดปฐมพยาบาลไว้และบอกจุดที่เก็บให้ผู้เข้าพักทราบ หมั่นเติมอุปกรณ์ไม่ให้ขาด

การป้องกันอัคคีภัย

ถ้ามีอุปกรณ์ที่ใช้แก๊ส ให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง และเช็คให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ตรวจจับควันและคาร์บอนมอนอกไซด์ใช้งานได้ตามปกติ เตรียมอุปกรณ์ดับเพลิงไว้และคอยตรวจเช็คสภาพอุปกรณ์อยู่เสมอ

ทางออก

ทำเครื่องหมายทางหนีไฟให้ชัดเจน และติดแผนที่เส้นทางหนีไฟให้ผู้เข้าพักเห็นอย่างชัดเจน

การป้องกันอันตราย

แนวทางการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้:

  • ตรวจที่พักว่ามีจุดใดบ้างที่ผู้เข้าพักอาจสะดุดหรือหกล้มได้
  • หากพบว่ามีจุดที่เป็นอันตราย ให้นำออกหรือทำเครื่องหมายให้ชัดเจน
  • ซ่อมแซมสายไฟเปลือยให้เรียบร้อย
  • บันไดควรมีราวจับและขึ้นลงได้อย่างปลอดภัย
  • นำสิ่งของที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้เข้าพักออกจากที่พัก หรือล็อคเก็บให้เรียบร้อย

ความปลอดภัยต่อเด็ก

ผู้เข้าพักบางรายเดินทางกับเด็ก จึงต้องการทราบว่าที่พักของคุณเหมาะหรือไม่ หากที่พักของคุณไม่เหมาะกับเด็กหรือทารก หรืออาจมีอันตรายกับเด็ก ให้ระบุข้อมูลในหมายเหตุเพิ่มเติมบนหน้ารายละเอียดที่พักของบัญชีผู้ใช้ Airbnb

การปรับอากาศ

อุปกรณ์อย่างเตาผิงและเครื่องปรับอากาศจะช่วยให้การเข้าพักสบายยิ่งขึ้น มีอีกหลายวิธีที่จะช่วยให้ผู้เข้าพักสบาย:

  • ดูแลที่พักให้ระบายอากาศได้ดี
  • เตรียมคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีใช้เครื่องทำความร้อนและเครื่องปรับอากาศอย่างปลอดภัย
  • ตรวจสอบว่าเครื่องควบคุมอุณหภูมิทำงานได้ปกติ และบอกให้ผู้เข้าพักรู้ว่าอยู่ตรงไหน
  • บำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นประจำ

จำนวนผู้เข้าพักสูงสุด

กำหนดจำนวนผู้เข้าพักเพื่อความปลอดภัย หน่วยงานรัฐในพื้นที่ของคุณอาจมีแนวทางปฏิบัติในเรื่องนี้

มารยาท

เจ้าของที่พักที่มีความรับผิดชอบมีหน้าที่ช่วยให้ผู้เข้าพักเข้าใจแนวปฏิบัติที่ดีในการมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชน การสื่อสารให้ผู้เข้าพักทราบถึงกฎและธรรมเนียมปฏิบัติของท้องถิ่นจะช่วยสร้างประสบการณ์อันยอดเยี่ยมให้กับทุกคน

กฎของอาคาร

ถ้าอาคารของคุณมีพื้นที่ส่วนกลางหรือสิ่งอำนวยความสะดวกให้ใช้ร่วมกัน ก็บอกให้ผู้เข้าพักทราบกฎในการใช้สถานที่เหล่านั้น

กฎของที่พัก

ระบุกฎของที่พักได้ที่ส่วนหมายเหตุเพิ่มเติมในหน้ารายละเอียดที่พักของบัญชีผู้ใช้ Airbnb ผู้เข้าพักมักชอบเวลาที่คุณแชร์ความคาดหวังกับผู้เข้าพักก่อนล่วงหน้า

เพื่อนบ้าน

ควรบอกให้เพื่อนบ้านทราบว่าคุณมีแผนที่ให้เช่าที่พัก เพื่อนบ้านจะได้มีโอกาสบอกคุณด้วยว่า มีข้อกังวลหรือสิ่งใดที่ควรคำนึงถึงหรือไม่

เสียงรบกวน

ผู้เข้าพักมีหลายเหตุผลที่เลือกจองที่พักกับ Airbnb เช่น เพื่อเฉลิมฉลองและพักผ่อนวันหยุด บอกผู้เข้าพักให้รู้ล่วงหน้าว่าเสียงแบบไหนจะรบกวนเพื่อนบ้าน เพื่อประสบการณ์ที่ราบรื่นยิ่งขึ้น

หากคุณกังวลเรื่องเสียงรบกวนเพื่อนบ้าน ก็มีวิธีจำกัดปัญหาเสียงดัง:

  • ใช้นโยบายช่วงเวลางดใช้เสียง
  • ไม่อนุญาตให้สัตว์เลี้ยงเข้าพัก
  • ระบุว่าที่พักของคุณไม่เหมาะกับเด็กเล็กหรือทารก
  • ห้ามจัดปาร์ตี้หรือไม่อนุญาตให้คนที่ไม่ใช่ผู้เข้าพักเข้าที่พัก

การจอดรถ

แจ้งกฎการจอดรถในอาคารและย่านที่พักให้ผู้เข้าพักทราบ ตัวอย่างกฎการจอดรถ:

  • ให้จอดเฉพาะในบริเวณจอดที่กำหนดเท่านั้น
  • ห้ามจอดด้านซ้ายของถนนในวันอังคารและวันพฤหัสบดี เพราะจะมีการทำความสะอาดถนน
  • จอดรถบนถนนได้ระหว่างเวลา 19:00 น. - 7:00 น. เท่านั้น

สัตว์เลี้ยง

ก่อนอื่น ให้เช็คสัญญาเช่าหรือกฎของอาคารว่าห้ามเลี้ยงสัตว์หรือไม่ หากอนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงมาเข้าพักได้ ควรบอกผู้เข้าพักว่าจะพาสัตว์เลี้ยงไปเดินเล่นหรือทิ้งขยะจากสัตว์เลี้ยงได้ที่ไหน แจ้งแผนสำรองเผื่อไว้ในกรณีที่สัตว์เลี้ยงทำให้เพื่อนบ้านไม่พอใจ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่รับฝากสัตว์เลี้ยง

ความเป็นส่วนตัว

เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้เข้าพักเสมอ กฎเกี่ยวกับอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยของเราระบุอย่างชัดเจนถึงสิ่งที่เราคาดหวังจากเจ้าของที่พัก แต่บางสถานที่ก็มีกฎหมายและข้อบังคับเพิ่มเติมที่คุณต้องทราบด้วย

การสูบบุหรี่

ถ้าไม่อนุญาตให้สูบบุหรี่ในที่พัก แนะนำให้ติดป้ายเตือนผู้เข้าพักด้วย หากอนุญาตให้สูบบุหรี่ โปรดเตรียมที่เขี่ยบุหรี่ไว้ในบริเวณที่กำหนด

ประกันภัย

สอบถามตัวแทนหรือผู้ให้บริการประกันภัยว่ากรณีของคุณมีภาระผูกพัน ข้อจำกัด และความครอบคลุมประเภทใดบ้าง

การคุ้มครองความเสียหายของเจ้าของที่พักและประกันภัยความรับผิดของเจ้าของที่พัก

AirCover สำหรับโฮสต์ครอบคลุมการคุ้มครองความเสียหายของเจ้าของที่พักและประกันภัยความรับผิดของเจ้าของที่พัก ซึ่งให้ความคุ้มครองพื้นฐานสำหรับความเสียหายและความรับผิดตามที่กำหนดไว้ ซึ่งไม่ใช่การแทนการประกันภัยของเจ้าของบ้าน ประกันภัยของผู้ให้เช่า หรือคุ้มครองความรับผิดได้ทั้งหมด คุณอาจต้องมีคุณสมบัติตามข้อกำหนดอื่นๆ ของประกันภัยด้วย

เราขอแนะนำให้เจ้าของที่พักทุกคนอ่านและทำความเข้าใจเงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัย กรมธรรม์บางแผนอาจไม่ครอบคลุมความเสียหายหรือการสูญหายของทรัพย์สินอันเกิดจากผู้เข้าพักของคุณ

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ AirCover สำหรับโฮสต์

ความรับผิดและความคุ้มครองพื้นฐาน

ตรวจสอบกรมธรรม์ของเจ้าของบ้านหรือผู้ให้เช่ากับตัวแทนประกันภัยหรือผู้ให้บริการประกันภัยว่าที่พักได้รับความคุ้มครองการรับผิดและทรัพย์สินเพียงพอหรือไม่

ข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับการให้เช่าที่พัก

ไปที่คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการให้เช่าที่พัก เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้เช่าที่พักใน Airbnb

โปรดทราบว่า Airbnb ไม่มีอำนาจควบคุมการกระทำของเจ้าของที่พักและปฏิเสธความรับผิดในทุกกรณี หากเจ้าของที่พักปฏิบัติตามความรับผิดชอบที่มีไม่ได้ เราอาจจะต้องระงับกิจกรรมหรือนำออกจากเว็บไซต์ Airbnb Airbnb ไม่รับผิดชอบต่อความน่าเชื่อถือหรือความถูกต้องของข้อมูลในลิงค์ที่เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของบุคคลที่ 3 (รวมถึงลิงค์ต่างๆ ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ)

ขั้นตอนการลงทะเบียนผู้เข้าพักชาวต่างชาติ

เมื่อให้ชาวต่างชาติเช่าที่พัก เจ้าของที่พักต้องแจ้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองหรือที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองในท้องที่ ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 38 หากท้องที่ใดไม่มีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่ ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ณ สถานีตำรวจที่มีเขตอำนาจครอบคลุมท้องที่นั้น

โดยต้องแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาที่ชาวต่างชาติเข้าพักอาศัย ซึ่งทำได้ผ่าน 1 ใน 3 ช่องทางด้านล่างนี้:

1. ออนไลน์

เอกสารที่ต้องใช้กรอกแบบฟอร์มออนไลน์:

  1. สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าของที่พักที่ลงลายมือชื่อรับรองเอกสารถูกต้อง (ขนาดไฟล์ต้องเล็กกว่า 1 MB)
  2. สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้เข้าพักจะเข้าพัก (ขนาดไฟล์ต้องเล็กกว่า 1 MB)
  3. สำเนาหน้าพาสปอร์ตของชาวต่างชาติที่แสดงหน้าข้อมูลบุคคลและตราประทับขาเข้า
  4. สำเนาหน้าวีซ่าหรือ ตม.6 บัตรขาเข้า
  5. สำเนาหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของหรือผู้ให้เช่าที่พัก (หมายเหตุ: โปรดติดต่อที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองในท้องที่เกี่ยวกับประเภทเอกสารสำหรับแสดงความเป็นเจ้าของที่ต้องใช้โดยเฉพาะ ขนาดไฟล์ต้องเล็กกว่า 1 MB)
  6. แผนที่ที่พัก

โปรดทราบว่าอาจมีข้อกำหนดเพิ่มเติมหากคุณไม่ใช่เจ้าของที่พัก

ขั้นตอน:

  1. ลงทะเบียนบัญชีผู้ใช้ ต้องอัพโหลดเอกสาร ก, ข, จ และ ฉ ในขั้นตอนนี้
  2. รอจนการลงทะเบียนของคุณได้รับการตรวจสอบและอนุมัติ การลงทะเบียนครั้งเดียวนี้จะใช้เวลาอย่างน้อย 7 วันทำการ ขณะรออนุมัติก็แจ้งผ่านช่องทางอื่นได้เพื่อให้มีผลทันที เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว ก็ใช้บัญชีผู้ใช้นี้สำหรับการแจ้งครั้งต่อไปได้ ตรวจสอบสถานะคำขอลงทะเบียนได้ที่นี่ หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ในเวลาราชการ (08:00 น. - 17:00 น.) ได้ที่เบอร์ +66 92-354-0039
  3. เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านที่คุณได้รับทางอีเมลที่ใช้ลงทะเบียน
  4. กรอกแบบฟอร์มการแจ้งทางออนไลน์ การดำเนินการขั้นตอนนี้ต้องใช้เอกสาร ค และ ง เพื่ออ้างอิง

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ในคู่มือของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเกี่ยวกับขั้นตอนการแจ้งทางออนไลน์ (เป็นภาษาไทย) โปรดทราบว่าระบบออนไลน์มักจะใช้ไม่ได้ในบางครั้ง จึงอาจต้องแจ้งผ่านหนึ่งในช่องทางด้านล่างนี้

2. ไปรษณีย์ลงทะเบียน

เอกสารที่ต้องใช้:

  1. แบบ ตม.30
  2. สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าของที่พักที่ลงลายมือชื่อรับรองเอกสารถูกต้อง
  3. สำเนาหน้าพาสปอร์ตของชาวต่างชาติที่แสดงตราประทับขาเข้า
  4. สำเนาทะเบียนบ้านที่ชาวต่างชาติจะเข้าพัก
  5. สำเนาหน้าวีซ่าหรือ ตม.บัตรขาเข้า ตม.6 (ไม่ต้องส่ง แต่ต้องใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงเมื่อกรอกแบบ ตม. 30)
  6. สำเนาหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของหรือผู้ให้เช่าที่พัก (หมายเหตุ: โปรดติดต่อที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองในท้องที่เกี่ยวกับประเภทเอกสารสำหรับแสดงความเป็นเจ้าของที่ต้องใช้โดยเฉพาะ)
  7. แผนที่ที่พัก

โปรดทราบว่าอาจมีข้อกำหนดเพิ่มเติมหากคุณไม่ใช่เจ้าของที่พัก

ขั้นตอน:

  1. กรอกแบบ ตม.30 โปรดดูภาคผนวกสำหรับวิธีกรอกแบบ ตม.30
  2. เตรียมซองขนาด 6.5 x 9 นิ้วพร้อมติดแสตมป์ 10 บาท และจ่าหน้าซองถึงตัวคุณเอง เจ้าหน้าที่จะใช้ซองจดหมายนี้เพื่อส่งใบรับแจ้งคืนให้คุณ
  3. นำเอกสารจากขั้นตอนที่ 1 และ 2 พร้อมเอกสาร ข ค ง และ ฉ ใส่ซองจดหมาย ส่งไปรษณีย์ไปยังที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองในท้องที่ที่ผู้เข้าพักชาวต่างชาติเข้าพัก หากที่พักอยู่ในกรุงเทพฯ โปรดส่งแบบฟอร์มไปที่: งานแจ้งที่พักอาศัยบุคคลต่างด้าว กองกำกับการ 2 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เลขที่ 120 หมู่ 3 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 ประเทศไทย

โปรดทราบว่าต้องส่งจดหมายแบบลงทะเบียน ณ ที่ทำการไปรษณีย์ โปรดเก็บใบเสร็จไว้เผื่อจำเป็นต้องใช้เป็นหลักฐานในภายหลัง

3. แจ้งด้วยตนเองหรือผ่านผู้รับมอบอำนาจ

เอกสารที่ต้องใช้:

  1. แบบการแจ้งรับชาวต่างชาติเข้าพักอาศัย (ตม.30)
  2. สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าของที่พักที่ลงลายมือชื่อรับรองเอกสารถูกต้อง
  3. สำเนาหน้าพาสปอร์ตของชาวต่างชาติ
  4. สำเนาหน้าวีซ่าหรือ ตม.บัตรขาเข้า ตม.6 (ไม่ต้องส่ง แต่ต้องใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงเมื่อกรอกแบบ ตม. 30)
  5. สำเนาทะเบียนบ้านที่ชาวต่างชาติจะเข้าพัก
  6. สำเนาหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของหรือผู้ให้เช่าที่พัก (หมายเหตุ: โปรดติดต่อที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองในท้องที่เกี่ยวกับประเภทเอกสารสำหรับแสดงความเป็นเจ้าของที่ต้องใช้โดยเฉพาะ)
  7. แผนที่ที่พัก
  8. หนังสือมอบอำนาจ (ต้องใช้เมื่อมอบหมายให้ตัวแทนส่งเอกสารแทนเท่านั้น)

ขั้นตอน:

  1. กรอกแบบ ตม.30 โปรดดูภาคผนวกสำหรับวิธีกรอกแบบ ตม.30
  2. ส่งเอกสาร ก ข ค จ ฉ และ ช (หากต้องใช้) ไปยังที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองในท้องที่ที่ผู้เข้าพักชาวต่างชาติเข้าพัก หากที่พักอยู่ในกรุงเทพฯ โปรดส่งแบบฟอร์มไปที่: ช่องบริการแจ้งที่พักอาศัย (ตม.30) กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เลขที่ 120 หมู่ 3 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 ประเทศไทย (วลาทำการ: 08:00 น. - 17:00 น. แต่คุณต้องมาถึงที่ทำการก่อน 15:30 น. เพื่อขอนัดหมาย)

เคล็ดลับน่ารู้

การกรอกแบบแจ้งรับคนต่างด้าวเข้าพักอาศัย สำหรับเจ้าบ้าน เจ้าของ หรือผู้ครอบครองเคหสถาน (ตม.30) ด้วยตนเองและไปรษณีย์ลงทะเบียน

แบบแจ้งรับคนต่างด้าวเข้าพักอาศัย สำหรับเจ้าบ้าน เจ้าของ หรือผู้ครอบครองเคหสถาน (ตม.30) ประกอบด้วยเอกสาร 2 ส่วน ส่วนแรกต้องกรอกข้อมูลเจ้าบ้าน เจ้าของ หรือผู้ครอบครองเคหสถาน ส่วนที่ 2 ต้องกรอกข้อมูลของชาวต่างชาติที่จะเข้าพักในที่พัก

โปรดกรอกข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมดให้ตรงกับข้อมูลบนพาสปอร์ตของชาวต่างชาติในส่วนที่ 2 โดยพิมพ์หรือเขียนเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ให้ชัดเจน ข้อพึงระวังในการกรอกข้อมูล:

  1. เว้นช่องว่างระหว่างชื่อ ชื่อกลาง และนามสกุล
  2. หากมีตัวอักษรนำหน้าหรือตามหลังเลขพาสปอร์ต ให้กรอกตัวอักษรนั้นลงไปด้วย
  3. กรอกเลขที่บัตรขาเข้า (ตม. 6) ลงในช่องที่เว้นไว้ให้ บัตรขาเข้าจะเย็บติดไว้ในพาสปอร์ต ต้องกรอกทั้งตัวอักษรและเลขที่บัตรขาเข้า
  4. วันเดินทางเข้าหมายถึงวันที่ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ต้องกรอกวันที่เข้าพักในหน้าแรกของใบแจ้งรับ

หลังจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตรวจสอบและยอมรับข้อมูลในใบแจ้งรับแล้ว (ตม. 30) ก็จะคืนส่วนล่างของแบบฟอร์มให้ผู้แจ้ง ซึ่งต้องเก็บไว้เพื่อตรวจสอบต่อไป

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้