99 58 ม.1 ต.ช างเผ อก อ.เม อง จ.เช ยงใหม

จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ของโลกทางด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันกำลังพิจารณาให้คัดเลือกเป็นเมืองแหล่งมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก เชียงใหม่ยังถือเป็นศูนย์กลางด้านดาราศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นที่ตั้งของหอดูดาวแห่งชาติและอุทยานดาราศาสตร์แห่งชาติ

ประวัติศาสตร์[แก้]

ความสัมพันธ์ในอดีต

  • อาณาจักรล้านนา พ.ศ. 1835–2318
  • ราชวงศ์ตองอู พ.ศ. 2101–2139
  • อาณาจักรอยุธยา พ.ศ. 2139–2158
  • ราชวงศ์ตองอู พ.ศ. 2158–2270
  • อาณาจักรหลวงพระบาง พ.ศ. 2270–2302
  • หัวเมืองอิสระ พ.ศ. 2302–2306
  • อาณาจักรอังวะ พ.ศ. 2306–2317
  • นครเชียงใหม่ พ.ศ. 2317–2437
  • ราชอาณาจักรสยาม และ ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2437–ปัจจุบัน

พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ คือ พญามังราย พญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหงมหาราช) และพญางำเมือง

เวียงเชียงใหม่ มีชื่อปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" (ไทยถิ่นเหนือ:

)) พญามังรายทรงสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน (ตามปฏิทินจูเลียน) หรือ 19 เมษายน (ตามปฏิทินกริกอเรียน) พ.ศ. 1839

ในอดีตเชียงใหม่มีฐานะเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรนครรัฐอิสระ ชื่อว่าอาณาจักรล้านนา ภายใต้การปกครองของราชวงศ์มังรายยาวนานประมาณ 261 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 1839-2101) กระทั่งในปี พ.ศ. 2101 เชียงใหม่ได้เสียเมืองให้แก่พระเจ้าบุเรงนองแห่งกรุงหงสาวดี เชียงใหม่ภายใต้การปกครองของพม่านานกว่าสองร้อยปี ถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงได้มีการทำสงครามเพื่อขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่และเชียงแสนได้สำเร็จ โดยการนำของเจ้ากาวิละและพระยาจ่าบ้าน (บุญมา) และเปลี่ยนชื่อเป็น เมืองรัตตนติงสาอภินวปุรี (ไทยถิ่นเหนือ:

))

หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระยากาวิละขึ้นเป็นพระบรมราชาธิบดี ปกครองนครเชียงใหม่และเป็นประมุขแห่งราชวงศ์ทิพย์จักร (ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน) และต่อมาเจ้านายซึ่งเป็นเชื้อสายของพระเจ้ากาวิละ ก็ได้ปกครองเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองต่าง ๆ สืบต่อมา

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราช โดยมีการจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า "มณฑลพายัพ" ต่อมาเชียงใหม่ได้มีการปรับปรุงการปกครองและยกฐานะขึ้นเป็น "จังหวัด" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงปัจจุบัน

ภูมิศาสตร์[แก้]

ที่ตั้ง[แก้]

จังหวัดเชียงใหม่ (ตัวอำเภอเมือง) ตั้งอยู่ ณ ลองติจูด 18 องศาเหนือ ละติจูด 98 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 310 เมตร ส่วนกว้างจากทิศตะวันตกจรดทิศตะวันออกประมาณ 138 กิโลเมตร ส่วนยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ประมาณ 428 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร 696 กิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ[แก้]

  • ทิศเหนือ โดยมีดอยผีปันน้ำของดอยคำ ดอยปกกล้า ดอยหลักแต่ง ดอยถ้ำป่อง ดอยถ้วย ดอยผาวอก และดอยอ่างขางอันเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาแดนลาว เป็นเส้นกั้นอาณาเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสามเงา อำเภอแม่ระมาด และอำเภอท่าสองยาง (จังหวัดตาก) มีร่องน้ำแม่ตื่นและดอยผีปันน้ำ ดอยเรี่ยม ดอยหลวงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า (จังหวัดเชียงราย) อำเภอเมืองปาน อำเภอเมืองลำปาง (จังหวัดลำปาง) อำเภอบ้านธิ อำเภอเมืองลำพูน อำเภอป่าซาง อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอลี้ (จังหวัดลำพูน) ส่วนที่ติดจังหวัดเชียงรายและจังหวัดลำปางมีร่องน้ำลึกของน้ำแม่กก สันปันน้ำดอยซาง ดอยหลุมข้าว ดอยแม่วัวน้อย ดอยวังผา และดอยแม่โตเป็นเส้นกั้นอาณาเขต ส่วนที่ติดจังหวัดลำพูนมีดอยขุนห้วยหละ ดอยช้างสูง และร่องน้ำแม่ปิงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอปาย อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอขุนยวม อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย (จังหวัดแม่ฮ่องสอน) มีดอยผีปันน้ำ ดอยกิ่วแดง ดอยแปรเมือง ดอยแม่ยะ ดอยอังเกตุ ดอยแม่สุรินทร์ ดอยขุนยวม ดอยหลวง และร่องแม่ริด แม่ออย และดอยผีปันน้ำดอยขุนแม่ตื่นเป็นเส้นกั้นอาณาเขต

จังหวัดเชียงใหม่มีชายแดนติดต่อกับ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่อาย อำเภอฝาง อำเภอเชียงดาว อำเภอเวียงแหง อำเภอไชยปราการ รวมระยะทางทั้งสิ้น 227 กิโลเมตร แต่พื้นที่เขตแดนส่วนใหญ่เป็นป่าเขา จึงไม่สามารถปักหลักเขตแดนได้ชัดเจน และเกิดปัญหาเส้นเขตแดนระหว่างประเทศ

ภูมิประเทศ[แก้]

เทือกเขาแดนลาวในเขตอำเภอไชยปราการ

จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ 20,107.057 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 14,022,500 ไร่ มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับที่ 1 ของภาคเหนือ และเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาและป่าละเมาะ มีที่ราบอยู่ตอนกลางตามสองฟากฝั่งแม่น้ำปิง มีภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยคือ ดอยอินทนนท์ สูงประมาณ 2,565 เมตร อยู่ในเขตอำเภอจอมทอง นอกจากนี้ยังมีดอยอื่นที่มีความสูงรองลงมาอีกหลายแห่ง เช่น ดอยผ้าห่มปก (อำเภอฝาง) สูง 2,285 เมตร ดอยหลวงเชียงดาว (อำเภอเชียงดาว) สูง 2,170 เมตร ดอยสุเทพ (อำเภอเมืองเชียงใหม่) สูง 1,601 เมตร สภาพพื้นที่แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ

  1. พื้นที่ภูเขา คิดเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 80 ของจังหวัด ประกอบด้วยทิวเขาอินทนนท์ (หรือถนนธงชัยตะวันออก) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด พาดยาวจากทิศเหนือจรดใต้ ตามแนวรอยต่อกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน และทิวเขาขุนตาน ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด พาดผ่านในทิศเหนือ-ใต้ พื้นที่ภูเขาส่วนใหญ่เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก ส่วนบางพื้นที่เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของชาวเขาชาติพันธุ์ต่าง ๆ
  2. พื้นที่ราบลุ่มน้ำและที่ราบเชิงเขา กระจายอยู่ทั่วไประหว่างหุบเขาทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ได้แก่ ที่ราบลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำฝาง ลุ่มน้ำแม่งัด เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตร

ทรัพยากรป่าไม้[แก้]

จังหวัดเชียงใหม่มีป่าไม้หลายประเภท ประกอบด้วย ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าเต็งรังผสมป่าสนเขา และป่าแดง เป็นต้น พื้นที่ป่าไม้ ประกอบด้วย ป่าธรรมชาติ สวนป่า และป่าฟื้นฟูตามธรรมชาติ โดยมีพื้นที่ป่าไม้อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ 12,222,395 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 69.93 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด แบ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 25 แห่ง อุทยานแห่งชาติ 13 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 4 แห่ง วนอุทยานแห่งชาติ 2 แห่ง และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า 1 แห่ง และจังหวัดเชียงใหม่ยังเป็นจังหวัดที่ถือได้ว่ามีพื้นที่เขตเมืองใกล้กับเขตอุทยานแห่งชาติมากที่สุดในประเทศอีกด้วย อุทยานแห่งชาติในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่

  • อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
  • อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
  • อุทยานแห่งชาติแม่ปิง
  • อุทยานแห่งชาติออบหลวง
  • อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
  • อุทยานแห่งชาติศรีลานนา
  • อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา
  • อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้
  • อุทยานแห่งชาติผาแดง
  • อุทยานแห่งชาติแม่โถ
  • อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง
  • อุทยานแห่งชาติออบขาน
  • อุทยานแห่งชาติแม่วาง

นอกจากนี้จังหวัดเชียงใหม่ยังมีปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้เกิดขึ้นเป็นประจำ สาเหตุสำคัญเช่น การลักลอบตัดไม้ การบุกรุกเพื่อทำการเกษร และไฟป่า

ทรัพยากรน้ำ[แก้]

น้ำแม่กกในเขตอำเภอแม่อาย

จังหวัดเชียงใหม่มีแม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำปิง และมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา อำเภอดอยสะเก็ด และเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อำเภอแม่แตง และยังแบ่งตามพื้นที่ลุ่มน้ำดังนี้

  • ลุ่มน้ำปิงตอนบน เป็นลุ่มน้ำที่สำคัญที่สุดในภาคเหนือตอนบน มีพื้นที่ 25,355.9 ตร.กม. สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนมีความลาดชันสูง วางตัวแนวเหนือ-ใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่เสี่ยงต่อแผ่นดินถล่มและการชะล้างพังทลายของดินสูง ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบสะวันนา คือ มีฤดูฝนสลับกับฤดูแล้งอย่างชัดเจน[ต้องการอ้างอิง] และยังมีลุ่มน้ำย่อยอีก 14 ลุ่มน้ำย่อย แม่น้ำที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำปิง แม่แตง แม่กวง แม่งัด แม่แจ่ม แม่ขาน และแม่ตื่น
  • ลุ่มน้ำกก มีน้ำแม่กกเป็นแม่น้ำสายหลัก ไหลผ่านเมืองกก เข้าเขตประเทศไทยที่ช่องน้ำกก อำเภอแม่อาย แล้วไหลเข้าสู่จังหวัดเชียงราย ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง ครอบคลุมพื้นที่ 2,773 ตร.กม.[ต้องการอ้างอิง]
  • ลุ่มน้ำฝาง มีแม่น้ำฝางเป็นแม่น้ำสายหลัก ซึ่งมีต้นกำเนิดจากดอยขุนห้วยฝางและดอยหัวโท ทางตอนใต้ของอำเภอไชยปราการ ไหลลงสู่น้ำแม่กก มีความยาวลำน้ำประมาณ 70 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำ 1,948.5 ตร.กม. ในอำเภอไชยปราการ ฝาง และแม่อาย

ธรณีวิทยา[แก้]

จังหวัดเชียงใหม่ประกอบด้วยหินตะกอนและหินแปร อายุแก่สุดคือหินยุคพรีแคมเบรียน ไปจนถึงอายุอ่อนคือชั้นตะกอนร่วนในยุคควอเทอร์นารี หินอัคนีประกอบด้วยหินอัคนีแทรกดันในยุคคาร์บอนิเฟอรัส และยุคไทรแอสซิก ส่วนหินอัคนีพุเป็นหินภูเขาไฟยุคดีโวเนียน-คาร์บอนิเฟอรัส และหินภูเขาไฟ ยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสซิก

จังหวัดเชียงใหม่มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรณี โดยมีการผลิตแร่ที่สำคัญ 8 ชนิด ได้แก่ ถ่านหิน เฟลด์สปาร์ (แร่ฟันม้า) แมงกานีส ชีไลต์ ดีบุก ดินขาว ฟลูออไรด์ และแร่หินอุตสาหกรรม และจังหวัดเชียงใหม่ยังมีแหล่งทรัพยากรธรณีที่สำคัญ เช่น แหล่งปิโตรเลียม อำเภอฝาง สภาพทางธรณีวิทยาที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ บ่อน้ำพุร้อน อำเภอสันกำแพงและอำเภอฝาง โป่งเดือด อำเภอแม่แตง บ่อน้ำแร่ธรรมชาติ อำเภอแม่ริม เป็นต้น

จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งมีรอยเลื่อนมีพลัง 2 แห่งที่พาดผ่านจังหวัด ได้แก่ "รอยเลื่อนแม่จัน" ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด พาดผ่านอำเภอฝางและอำเภอแม่อายในทิศตะวันออก-ตะวันตก และ "รอยเลื่อนแม่ทา" พาดผ่านพื้นที่ตอนกลางของจังหวัดในทิศเหนือ-ใต้ ผ่านอำเภอพร้าว ดอยสะเก็ด แม่ออน เชียงดาว แม่แตง แม่ริม สันทราย เมืองเชียงใหม่ สารภี หางดง สันป่าตอง และแม่วาง นอกจากนี้พื้นที่ส่วนอื่นของจังหวัดก็มีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นเช่นกัน โดยแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางในเขตจังหวัดเชียงใหม่ครั้งรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 ขนาด 5.1 มีจุดเหนือศูนย์กลางในอำเภอแม่ริม ทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยในบริเวณอำเภอแม่ริมและอำเภอใกล้เคียง

ภูมิอากาศ[แก้]

จังหวัดเชียงใหม่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส โดยมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,100-1,200 มิลลิเมตร สภาพภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่อยู่ภายใต้อิทธิพลมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู

ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. 2524–2553) เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 29.8 (85.6) 32.6 (90.7) 35.2 (95.4) 36.5 (97.7) 34.2 (93.6) 32.7 (90.9) 31.8 (89.2) 31.5 (88.7) 31.7 (89.1) 31.4 (88.5) 30.1 (86.2) 28.6 (83.5) 32.18 (89.92) อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 13.9 (57) 16.2 (61.2) 19.5 (67.1) 22.9 (73.2) 23.8 (74.8) 24.0 (75.2) 23.9 (75) 23.7 (74.7) 23.2 (73.8) 22.2 (72) 19.2 (66.6) 15.7 (60.3) 20.68 (69.23) ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 4.2 (0.165) 8.9 (0.35) 17.8 (0.701) 57.3 (2.256) 162.0 (6.378) 124.5 (4.902) 140.2 (5.52) 216.9 (8.539) 211.4 (8.323) 117.6 (4.63) 53.9 (2.122) 15.9 (0.626) 1,130.6 (44.512) ความชื้นร้อยละ 68 58 52 57 71 77 79 81 81 79 75 73 70.9 วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 1 mm) 1 2 2 6 14 14 16 18 20 14 5 1 113 จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 272.8 251.4 269.7 258.0 217.0 177.0 170.5 161.2 156.0 198.4 234.0 263.5 2,629.5 แหล่งที่มา 1: กรมอุตุนิยมวิทยา (ทั่วไป 2524-2553), (ปม.ฝนเฉลี่ย 2524-2533) แหล่งที่มา 2: หอสังเกตการณ์ฮ่องกง (ชม.แดดออก) แผ่นดินไหวในอดีตที่มีศูนย์กลางในจังหวัดเชียงใหม่ (ขนาดมากกว่า 4.0 Mw) วันที่ เวลาท้องถิ่น ขนาด (Mw) จุดเหนือศูนย์กลาง พิกัด 26 พฤษภาคม 2521 06:22 4.8 อ.พร้าว19°12′00″N 99°36′00″E / 19.20000°N 99.60000°E10 กุมภาพันธ์ 2523 09:17 4.2 อ.พร้าว19°21′00″N 99°13′48″E / 19.35000°N 99.23000°E20 มิถุนายน 2525 20:20 4.3 อ.ดอยสะเก็ด18°55′12″N 99°10′48″E / 18.92000°N 99.18000°E19 กุมภาพันธ์ 2531 01:38 4.2 อ.ดอยสะเก็ด18°52′12″N 99°10′12″E / 18.87000°N 99.17000°E5 พฤศจิกายน 2538 06:57 4.0 อ.ฝาง19°42′00″N 98°36′00″E / 19.70000°N 98.60000°E21 ธันวาคม 2538 23:30 5.2 อ.พร้าว19°42′00″N 99°00′00″E / 19.70000°N 99.00000°E13 กรกฎาคม 2541 09:20 4.1 อ.ฝาง19°42′00″N 99°06′00″E / 19.70000°N 99.10000°E18 ธันวาคม 2545 20:47 4.3 อ.เชียงดาว19°24′00″N 99°06′00″E / 19.40000°N 99.10000°E4 ธันวาคม 2548 16:34 4.1 อ.แม่วาง18°42′00″N 98°30′00″E / 18.70000°N 98.50000°E13 ธันวาคม 2549 00:02 5.1 อ.แม่ริม18°55′48″N 98°58′12″E / 18.93000°N 98.97000°E19 มิถุนายน 2550 12:06 4.5 อ.แม่ริม18°54′00″N 99°00′00″E / 18.90000°N 99.00000°E25 กุมภาพันธ์ 2551 17:25 4.4 อ.ฝาง19°51′36″N 99°07′12″E / 19.86000°N 99.12000°E11 ตุลาคม 2556 01:19 4.1 ต.ทุ่งหลวง อ.พร้าว19°19′12″N 99°14′24″E / 19.32000°N 99.24000°E11 มกราคม 2560 04:08 4.0 อ.แม่วาง18°37′12″N 98°34′48″E / 18.62000°N 98.58000°E15 มกราคม 2560 15:35 4.2 อ.จอมทอง18°33′36″N 98°31′12″E / 18.56000°N 98.52000°Eแหล่งอ้างอิง: สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา

การเมืองการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

ปัจจุบันจังหวัดเชียงใหม่แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ 204 ตำบล 2,066 หมู่บ้าน ซึ่งอำเภอทั้ง 25 อำเภอมีดังนี้

แผนที่อำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ (สามารถคลิกที่แผนที่ได้)

เลข ชื่ออำเภอ จำนวน ตำบล ประชากร (พ.ศ. 2561) พื้นที่ (ตร.กม.) ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) ระยะห่างจาก อำเภอเมือง เชียงใหม่ อักษรไทย ตัวเมือง อักษรโรมัน 1 เมืองเชียงใหม่ᨾᩮᩬᩥᨦᨩ᩠ᨿᨦᩉ᩠ᨾᩲ᩵Mueang Chiang Mai 16 226,855 152.36 1,488.94 — 2 จอมทองᨧᩬᨾᨴᩬᨦChom Thong 6 66,138 712.3 92.85 55 3 แม่แจ่มᨾᩯ᩵ᨧᩯ᩠ᨾ᩵Mae Chaem 7 60,089 2,686.57 22.36 127 4 เชียงดาวᨩ᩠ᨿᨦᨯᩣ᩠ᩅChiang Dao 7 100,828 1,882.08 53.57 64 5 ดอยสะเก็ดᨯᩬ᩠ᨿᩈᨠᩮ᩠ᨯᩢDoi Saket 14 75,631 671.28 112.66 18 6 แม่แตงᨾᩯ᩵ᨲᩯ᩠ᨦMae Taeng 13 80,795 1,362.78 59.28 33 7 แม่ริมᨾᩯ᩵ᩁᩥ᩠ᨾMae Rim 11 94,291 443.63 212.54 6 8 สะเมิงᩈᨾᩮᩥ᩠ᨦSamoeng 5 23,728 898.02 26.42 46 9 ฝางᨺᩣ᩠ᨦFang 8 122,591 888.16 138.02 155 10 แม่อายᨾᩯ᩵ᩋᩣ᩠ᨿMae Ai 7 78,261 736.7 106.23 163 11 พร้าวᨻᩖ᩶ᩣ᩠ᩅPhrao 11 47,898 1,148.19 41.71 85 12 สันป่าตองᩈᩢ᩠ᨶᨸ᩵ᩣᨴᩬᨦSan Pa Tong 11 74,247 178.19 416.67 22 13 สันกำแพงᩈᩢ᩠ᨶᨠᩴᩣᨻᩯ᩠ᨦSan Kamphaeng 10 88,864 197.83 449.19 12 14 สันทรายᩈᩢ᩠ᨶᨪᩣ᩠ᨿSan Sai 12 140,476 285.02 492.86 6 15 หางดงᩉᩣ᩠ᨦᨯᩫ᩠ᨦHang Dong 11 91,988 277.14 331.95 8 16 ฮอดᩁᩬᨯHot 6 43,206 1,430.38 30.20 97 17 ดอยเต่าᨯᩬ᩠ᨿᨲᩮᩢ᩵ᩣDoi Tao 6 27,118 803.92 33.73 133 18 อมก๋อยᩋᩫ᩠ᨾᨠᩬ᩠ᨿOmkoi 6 62,383 2,093.83 29.79 186 19 สารภีᩈᩣᩁᨻᩦSaraphi 12 88,352 97.46 906.54 8 20 เวียงแหงᩅ᩠ᨿᨦᩉᩯ᩠ᨦWiang Haeng 3 53,799 672.17 80.03 138 21 ไชยปราการᨩᩱ᩠ᨿᨷᩕᩣᨠᩣ᩠ᩁChai Prakan 4 50,994 510.85 99.82 122 22 แม่วางᨾᩯ᩵ᩅᩤ᩠ᨦMae Wang 5 32,013 601.22 53.24 42 23 แม่ออนᨾᩯ᩵ᩋᩬᩁMae On 6 21,021 442.26 47.53 20 24 ดอยหล่อᨯᩬ᩠ᨿᩉᩖᩬᩴ᩵Doi Lo 4 25,010 260.13 96.14 30 25 กัลยาณิวัฒนาᨠᩢᩃ᩠ᨿᩣᨱᩥᩅᩢᨯ᩠ᨰᨶᩣGalyani Vadhana 3 12,809 674.58 18.99 144 รวม 204 1,789,385 20,107.06 88.99

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่[แก้]

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ลำดับ ชื่อ วาระ 1 พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์) พ.ศ. 2444 2 พระยายอดเมืองขวาง ไม่ทราบข้อมูล 3 พระยามหินทรบดี ไม่ทราบข้อมูล 4 พระยาวรวิไชยวุฒิกร (เลื่อม สนธิรัตน) ไม่ทราบข้อมูล 5 พระยาเพ็ชร์พิสัยศรีสวัสดิ์ (แมน วสันตสิงห์) พ.ศ. 2461 - 2471 6 พระยาอนุบาลพายัพกิจ (ปุ่น อาสนจินดา) พ.ศ. 2471 - 2481 7 พระยาอมรฤทธิธำรง (พร้อม ณ ถลาง) พ.ศ. 2481 - 2484 8 พระชาติตระการ (หม่อมราชวงศ์จิตร์ คเนจร) พ.ศ. 2484 - 2485 9 ขุนประสงค์สุขการี (สมบุญ ลาภเจริญ) พ.ศ. 2485 - 2488 10 ทวี แรงขำ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2488 - 30 กันยายน พ.ศ. 2489 11 ขุนไตรกิตยานุกูล (อัมพร ไตรกิตยานุกูล) 22 ตุลาคม พ.ศ. 2489 - 30 มกราคม พ.ศ. 2494 12 อุดม บุญยประสพ 30 มกราคม พ.ศ. 2494 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2495 13 ประเสริฐ กาญจนดุล 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 - 12 มิถุนายน พ.ศ. 2501 14 พันตำรวจเอก เนื่อง รายะนาค 16 มิถุนายน พ.ศ. 2501 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2502 15 สุทัศน์ สิริสวย 31 สิงหาคม พ.ศ. 2502 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2503 16 พันตำรวจเอก นิรันดร ชัยนาม 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 - 30 กันยายน พ.ศ. 2514 17 วิสิษฐ์ ไชยพร 1 ตุลาคม พ.ศ. 2514 - 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 18 อาษา เมฆสวรรค์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 19 ชลอ ธรรมศิริ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 - 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 20 ประเทือง สินธิพงษ์ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 21 ชัยยา พูนศิริวงศ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 - 30 กันยายน พ.ศ. 2530 22 ไพรัตน์ เดชะรินทร์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2530 - 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 23 ชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2534 - 18 ตุลาคม พ.ศ. 2536 24 วีระชัย แนวบุญเนียร 18 ตุลาคม พ.ศ. 2536 - 30 กันยายน พ.ศ. 2539 25 พลากร สุวรรณรัฐ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 - 11 มกราคม พ.ศ. 2541 26 ประวิทย์ สีห์โสภณ 12 มกราคม พ.ศ. 2541 - 22 เมษายน พ.ศ. 2544 27 โกสินทร์ เกษทอง 23 เมษายน พ.ศ. 2544 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2545 28 พิสิษฐ เกตุผาสุข 28 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2546 29 สุวัฒน์ ตันติพัฒน์ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2546 - 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 30 วิชัย ศรีขวัญ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 - 30 กันยายน พ.ศ. 2550 31 วิบูลย์ สงวนพงศ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 32 อมรพันธุ์ นิมานันท์ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552 - 30 กันยายน พ.ศ. 2553 33 หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555 34 ธานินทร์ สุภาแสน 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556 35 วิเชียร พุฒิวิญญู 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557 36 สุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 37 ปวิณ ชำนิประศาสน์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561 38 ศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561 - 30 กันยายน พ.ศ. 2562 39 เจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 - 30 กันยายน พ.ศ. 2564 40 ประจญ ปรัชญ์สกุล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - 30 กันยายน พ.ศ. 2565 41 นิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

การเลือกตั้ง[แก้]

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 จังหวัดเชียงใหม่แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 10 เขต มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 10 คน

การต่างประเทศ[แก้]

จังหวัดเชียงใหม่เป็นที่ตั้งของสถานกงสุล ดังนี้ สถานกงสุลใหญ่ ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย และสถานกงสุลใหญ่เมียนม่า ส่วนสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ได้แก่ สถานกงสุลกิตติมศักดิ์เยอรมนี โปรตุเกส ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย ออสเตรีย แคนาดา อิตาลี เปรู บังกลาเทศ สวีเดน กรีซ เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ และสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สวิตเซอร์แลนด์

เมืองพี่น้อง[แก้]

จังหวัดเชียงใหม่มีความสัมพันธ์ในฐานะเมืองพี่น้องกับเมืองดังต่อไปนี้

ประชากรศาสตร์[แก้]

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ปีประชากร±% 2510 949,734— 2513 1,002,295+5.5% 2516 1,072,833+7.0% 2519 1,100,325+2.6% 2522 1,150,043+4.5% 2525 1,204,441+4.7% 2528 1,277,835+6.1% 2531 1,345,715+5.3% 2534 1,386,024+3.0% 2537 1,547,085+11.6% 2540 1,573,757+1.7% 2543 1,590,327+1.1% 2546 1,603,220+0.8% 2549 1,658,298+3.4% 2552 1,632,548−1.6% 2555 1,655,642+1.4% 2558 1,728,242+4.4% 2561 1,763,742+2.1% 2564 1,789,385+1.5%ที่มา: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ศาสนา[แก้]

ประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 91.8 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 5.6 ศาสนาอิสลามร้อยละ 1.17 ศาสนาฮินดูและสิกข์ร้อยละ 0.02 และอื่น ๆ ร้อยละ 1.41

กลุ่มชาติพันธุ์[แก้]

ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไท โดยเฉพาะ "ชาวไทยวน" หรือ "คนเมือง" ที่เหลือเป็น ไทใหญ่ ไทลื้อ ไทเขิน และไทยสยาม นอกจากนี้ยังมีชาวอาข่า ลีซอ ชาวมูเซอ ปกาเกอะญอ คะฉิ่น ลัวะ ม้ง และชาวไทยเชื้อสายจีน เช่น จีนแต้จิ๋ว จีนแคะ และฮ่อ เป็นต้น

สถิติประชากร[แก้]

หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนอันดับ (ปีล่าสุด) อำเภอ พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2557 พ.ศ. 2556 1 เมืองเชียงใหม่ 233,632 234,870 234,649 234,837 235,589 234,244 235,154 2 สันทราย 135,964 134,574 133,063 131,414 130,251 127,062 123,817 3 ฝาง 120,759 119,635 118,324 118,075 117,589 112,847 112,439 4 เชียงดาว 96,494 93,128 92,588 91,829 91,457 83,399 82,534 5 แม่ริม 94,337 94,260 93,185 91,558 90,706 88,835 87,605 6 หางดง 90,128 88,926 87,890 86,435 85,175 83,310 81,635 7 สันกำแพง 87,640 86,457 85,563 84,327 82,906 81,144 80,080 8 สารภี 85,565 84,626 83,504 82,247 81,156 79,996 78,835 9 แม่แตง 80,303 76,512 75,790 75,699 75,893 75,044 74,968 10 แม่อาย 78,565 78,423 78,300 77,778 77,533 73,537 73,243 11 สันป่าตอง 75,097 75,233 75,416 75,290 75,329 75,390 75,490 12 ดอยสะเก็ด 74,172 73,220 72,571 72,064 71,316 70,215 69,397 13 จอมทอง 66,729 66,729 66,792 66,811 66,738 66,531 66,353 14 อมก๋อย 63,610 63,224 62,833 62,317 61,899 61,076 60,429 15 แม่แจ่ม 60,179 60,180 59,728 59,515 59,145 58,698 58,321 16 ไชยปราการ 49,239 48,882 46,013 45,962 45,954 44,760 44,670 17 พร้าว 48,514 51,771 49,120 49,258 49,463 49,324 49,567 18 เวียงแหง 52,030 46,517 45,149 44,563 44,305 27,527 27,283 19 ฮอด 43,756 43,930 43,849 43,803 43,809 43,809 43,890 20 แม่วาง 31,883 31,827 31,834 31,625 31,695 31,472 31,325 21 ดอยเต่า 27,395 27,404 27,406 27,393 27,458 27,406 27,326 22 ดอยหล่อ 25,689 25,919 26,052 25,931 26,041 26,083 26,196 23 สะเมิง 23,780 23,737 23,690 23,642 23,580 23,386 23,289 24 แม่ออน 21,184 21,315 21,266 21,296 21,287 21,281 21,292 25 กัลยาณิวัฒนา 12,610 12,443 12,265 12,093 11,968 11,908 11,750 — รวม 1,779,254 1,763,742 1,746,840 1,735,762 1,728,242 1,678,284 1,666,888

เศรษฐกิจ[แก้]

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) พ.ศ. 2555 มีมูลค่ารวมทั้งหมด 163,828 ล้านบาท แบ่งเป็นภาคเกษตร (รวมถึงการล่าสัตว์และการป่าไม้) 28,014 ล้านบาท (17.1%) และนอกภาคเกษตร 135,813 ล้านบาท (82.9%) สาขาการผลิตนอกภาคเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและบริการทางธุรกิจ (14.4%) การขายส่งขายปลีก (12.1%) การศึกษา (11%) ตัวกลางทางการเงิน (11%) การบริหารราชการแผ่นดินและการป้องกันประเทศ (7.9%) การก่อสร้าง (7.2%) อุตสาหกรรม (6.9%) และสาขาอื่น ๆ (14.9%) จังหวัดเชียงใหม่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 11.7

มีรายได้ประชากรต่อหัวเฉลี่ย 89,542 บาท/คน/ปี อยู่ที่อันดับ 2 ของภาคเหนือรองจากจังหวัดลำพูน สำหรับรายได้ประชากรในเขตชนบท เฉลี่ยนั้น อยู่ที่ 59,092.45 บาท/คน/ปี อำเภอที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำที่สุด คือ อำเภออมก๋อย 29,198.01 บาท/คน/ปี และอำเภอที่มีรายได้สูงสุด คือ อำเภอฝาง 110,592.77 บาท/คน/ปี

ใน พ.ศ. 2556 จังหวัดเชียงใหม่มีกำลังแรงงาน 976,115 คน (60.45% ของประชากร) มีอัตราว่างงานเฉลี่ย 1.24% ซึ่งมีจำนวนราว 12,000 คน จังหวัดเชียงใหม่มีแรงงานต่างด้าว 67,113 คน โดยเกือบทั้งหมดเป็นชาวพม่า (66,995 คน) แรงงานต่างด้าวประกอบอาชีพในภาคการก่อสร้างมากที่สุด 27,993 คน รองลงมาอยู่ในภาคเกษตรและปศุสัตว์ 16,342 คน

เกษตรกรรม[แก้]

จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่การเกษตร 1,835,425 ไร่ (14.61% ของพื้นที่จังหวัด) ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว 716,454 ไร่ และพืชสวน 459,254 ไร่ พื้นที่การเกษตรนี้อยู่ในเขตชลประทาน 642,979 ไร่ (35% ของพื้นที่การเกษตร) มีครัวเรือนการเกษตร 134,426 ครัวเรือน

พืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ข้าว ลำไย ลิ้นจี่ กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ และส้มเขียวหวาน

อุตสาหกรรม[แก้]

จังหวัดเชียงใหม่มีโรงงาน 1,395 แห่ง เงินลงทุน 32,180 ล้านบาท แรงงาน 43,306 คน อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร เกษตร ขนส่ง อโลหะ และเครื่องดื่ม ซึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พ.ศ. 2554 มี 34 โครงการ ประเทศที่มีการลงทุนในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี สิงคโปร์ มาเลเซีย เดนมาร์ก ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

การท่องเที่ยว[แก้]

ในการสำรวจ World Best Award-Top 10 Cities จากผู้อ่าน Travel and Leisure นิตยสารท่องเที่ยวของสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2553 และปี พ.ศ. 2559 ผลปรากฏว่า จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองน่าท่องเที่ยวอันดับ 2 ของโลก โดยพิจารณาจากสถานที่ ทัศนียภาพ ความสวยงามและร่มรื่น ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี อาหารการกิน แหล่งช็อปปิ้ง ความเป็นมิตรของผู้คน ความคุ้มค่า ของเงิน เป็นต้น และในปี พ.ศ. 2563 จังหวัดเชียงใหม่ถูกจัดเป็นเมืองน่าท่องเที่ยวอันดับ 2 ของโลก จาก Condé Nast Traveler ของสหรัฐฯในหมวดเมืองน่าเที่ยวที่สุดในโลก ประเภท Best Small Cities

ใน พ.ศ. 2555 จังหวัดเชียงใหม่มีจำนวนนักท่องเที่ยวราว 6.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2554 ราว 9 แสนคน อยู่ในอันดับที่ 4 ของประเทศรองจากกรุงเทพมหานคร จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดชลบุรี เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 2,192,322 คน (33.4%) สร้างรายได้รวม 53,507 ล้านบาท

วัฒนธรรมและประเพณี[แก้]

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
ประเพณีเข้าอินทขิล ณ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร

เมืองเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน คนเชียงใหม่ได้สั่งสมวัฒนธรรมประเพณีสืบทอดมาจากบรรพบุรุษอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่มีความผูกพันกับพุทธศาสนาและความเชื่อดั้งเดิม ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่

  • ปีใหม่เมือง (สงกรานต์) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี เป็นประเพณีที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของชาวเชียงใหม่ แบ่งเป็นวันที่ 13 เป็นวันสังขารล่อง มีขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ และพิธีสรงน้ำพระ วันที่ 14 เป็นวันเน่า ชาวบ้านจะเตียมข้าวของไปวัดและรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่วันต่อไป และวันที่ 15 เมษายน ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และมีการเล่นสาดน้ำตลอดช่วงเทศกาล
  • ประเพณียี่เป็ง จัดขึ้นในช่วงวันลอยกระทงของทุกปี ราวเดือนพฤศจิกายน มีการตกแต่งบ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ ด้วยโคมชนิดต่าง ๆ มีการปล่อยโคมลอย มีการลอยกระทง ประกวดกระทงและนางนพมาศ
  • ประเพณีเข้าอินทขิล จัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นการบูชาเสาหลักเมืองโดยการนำดอกไม้ธูปเทียนมาใส่ขันดอก
  • เทศกาลร่มบ่อสร้าง จัดขึ้นในเดือนมกราคมของทุกปี ที่ศูนย์หัตถกรรมทำร่มบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง มีการแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน มีการแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ ประเพณีพื้นบ้าน
  • มหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ จัดขึ้นในอาทิตย์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี บริเวณสวนสาธารณะบวกหาด มีขบวนรถบุปผาชาติ และนางงามบุปผาชาติ
  • งานไม้แกะสลักบ้านถวาย จัดขึ้นในเดือนมกราคม ที่หมู่บ้านถวาย อำเภอหางดง มีการจำหน่ายและสาธิตการแกะสลักไม้ และหัตถกรรมพื้นบ้าน
  • ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ จัดขึ้นในเดือนเมษายน ในวันที่ 15 เป็นต้นไป ของทุกปี ที่บริเวณตัวเมืองจอมทอง มีขบวนรถจากชุมชน ห้างร้าน กลุ่มต่างๆ กว่า 40 ขบวน แห่ไปตามเมืองจอมทอง อำเภอจอมทอง จนถึง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานานกว่า 200 ปี ตามตำนานเกิดขึ้นที่อำเภอเภอจอมทอง ถือเป็นแห่งแรกของประเทศไทยและแห่งเดียวในโลก ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ กลายเป็นต้นแบบของการแห่ไม้ค้ำสะหลีของชาวล้านนา จนได้รับความนิยมไปทั่วภาคเหนือ และเป็นประเพณีที่เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง และได้รับความนิยมอย่างมาก
  • ประเพณีปีใหม่ม้ง (น่อเป๊เจ่า) จัดขึ้นทุกปี ในวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 1 หรือขึ้น 1 ค่ำเดือน 2 (ช่วงเดือน พฤศจิกายน-มกราคม) ตามปฏิทินจันทรคติ ของทุกปี มีการละเล่น การแข่งขัน และการแสดงมากมาย เช่น การโยนลูกช่วง (ป๋อป๊อ) ของวัยรุ่นหนุ่มสาวที่ยังโสด การแข่งขันยิงหน้าไม้ การแข่งขันตีลูกข่าง การแข่งรถฟอร์มูล่าม้ง ฯลฯ

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

การศึกษา[แก้]

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไฟล์:มรชม.jpgมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

จังหวัดเชียงใหม่รับรองระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา มีจำนวนสถานศึกษาทั้งสิ้น 1,146 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐาน 893 แห่ง ตามมาด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน 140 แห่ง และมีสถาบันอุดมศึกษา 15 แห่ง มีครู/อาจารย์ 21,155 คน และนักเรียน นิสิต นักศึกษา 440,706 คน ซึ่งอัตราส่วนครู/อาจารย์ ต่อนักเรียน นิสิต นักศึกษาเป็น 1:21 นักเรียนในสังกัดส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษา 138,288 คน รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 75,804 คน

โรงเรียน[แก้]

  • โรงเรียนสหศึกษาประจำจังหวัด: โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
  • โรงเรียนสหศึกษาประจำจังหวัด: โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ
  • โรงเรียนสหศึกษาประจำจังหวัด: โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย
  • โรงเรียนสหศึกษาประจำจังหวัด: โรงเรียนหอพระ
  • โรงเรียนสหศึกษาประจำจังหวัด: โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ

สถาบันอุดมศึกษา[แก้]

สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ[แก้]
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย วิทยาเขตจอมทอง
  • มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยา วิทยาเขตล้านนา
  • มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติวิทยาเขตเชียงใหม่
  • วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่
  • วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1
สถาบันอุดมศึกษาเอกชน[แก้]
  • มหาวิทยาลัยพายัพ
  • มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

สาธารณสุข[แก้]

จังหวัดเชียงใหม่มีโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน 48 แห่ง 6,045 เตียง มีบุคลากรแพทย์ 1,065 คน (สัดส่วนต่อประชากรเป็น 1: 1,540) พยาบาล 4,812 คน (1: 341) และทันตแพทย์ 359 คน (1: 13,445)

อัตราการเกิด 10.98 ต่อ 1,000 คน อัตราการตาย 8.16 ต่อ 1,000 คน และอัตราการเพิ่มตามธรรมชาติ 2.52 ต่อ 1,000 คน

โรงพยาบาลของรัฐ

  • โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
  • โรงพยาบาลนครพิงค์
  • โรงพยาบาลสวนปรุง
  • โรงพยาบาลจอมทอง
  • โรงพยาบาลฝาง
  • โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่
  • โรงพยาบาลสันทราย
  • โรงพยาบาลสันป่าตอง
  • โรงพยาบาลค่ายกาวิละ
  • โรงพยาบาลดารารัศมี
  • โรงพยาบาลกองบิน 41
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1
  • โรงพยาบาลธัญญรักษ์เชียงใหม่
  • โรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่

โรงพยาบาลเอกชน

  • โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
  • โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่
  • โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม
  • โรงพยาบาลลานนา
  • โรงพยาบาลลานนา 2
  • โรงพยาบาลลานนา 3
  • โรงพยาบาลเทพปัญญา
  • โรงพยาบาลเทพปัญญา 2
  • โรงพยาบาลราชเวชเชียงใหม่
  • โรงพยาบาลเซนทรัลเชียงใหม่เมมโมเรียล
  • โรงพยาบาลเชียงใหม่ใกล้หมอ
  • โรงพยาบาลเชียงใหม่ฮอสพิทอล
  • โรงพยาบาลเชียงใหม่เมดิคอลเซนเตอร์
  • โรงพยาบาลตาเซนต์ปีเตอร์
  • โรงพยาบาลเอ็ม ที อินเตอร์เมด

การขนส่ง[แก้]

รถสองแถวที่รู้จักกันในชื่อ รถแดง

จังหวัดเชียงใหม่มีระบบขนส่งที่หลากหลายทั้งทางบก ทางรถไฟ และทางอากาศ โดยเชียงใหม่เป็นจุดหมายปลายทางการบินที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศและภูมิภาค เป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ มีระบบรางเข้าถึงและมีสถานีรถไฟกลาง 1 แห่งคือ สถานีรถไฟเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่มีสถานีรถโดยสารประจำทาง 3 แห่ง สำหรับการขนส่งผู้โดยสารไปยังอำเภอต่าง ๆ และจังหวัดใกล้เคียง

ทางด้านระบบขนส่งมวลชน มี รถแดง ตุ๊กตุ๊ก รถเมล์ แท็กซี่มิเตอร์ ให้บริการในพื้นที่เทศบาลนครเชียงใหม่ และอำเภอใกล้เคียง

สาธารณูปโภคอื่น ๆ[แก้]

  • ไฟฟ้า การไฟฟ้าของจังหวัดอยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขตเหนือ รับซื้อกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ณ แหล่งผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีสถานีควบคุมการจ่ายไฟฟ้า 5 สถานี จำนวนการไฟฟ้า 32 แห่ง ในปี 2553 จำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น 567,201 ราย ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในจังหวัด 2,264.45 ล้านหน่วย สามารถให้บริการไฟฟ้าได้ครอบคลุม 25 อำเภอ สำหรับหมู่บ้าน ที่ไม่สามารถขยายเขตระบบจำหน่ายได้เนื่องจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่ เป็นหมู่บ้าน ที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แหล่งต้นน้ำลำธาร ลุ่มน้ำ เขตป่าอนุรักษ์ อุทยานแห่งชาติ เป็นต้น ซึ่งหลายแห่งมีการติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
  • ประปา การประปาในจังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวน 6 แห่ง ได้แก่ การประปาเชียงใหม่ การประปาฮอด การประปาสันกำแพง การประปาฝาง การประปาแม่ริม การประปาแม่แตง มีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 54.83 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณการใช้น้ำ 25.33 ล้านลูกบาศก์เมตร มีจำนวนผู้ใช้น้ำ 112,685 ราย โดยในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ มีผู้ใช้น้ำประปามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 69.04 ของจำนวนผู้ใช้ประปาทั้งหมดของจังหวัด
  • โทรศัพท์ จังหวัดเชียงใหม่มีจำนวนเลขหมายโทรศัพท์ 305,434 เลขหมาย เป็นเลขหมายที่มีผู้เช่า 186,294 เลขหมาย มีชุมสายโทรศัพท์ 247 แห่ง
  • ไปรษณีย์ มีสำนักงานไปรษณีย์ จำนวน 37 แห่ง มีจำนวนผู้ใช้บริการ 2,467,286 ราย

กีฬา[แก้]

จังหวัดเชียงใหม่มีการจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติหลายครั้ง ได้แก่ เอเชียนเกมส์ 1998, ซีเกมส์ 1995 ,ฟุตบอลเอเชียเยาวชน 1998, การแข่งขันยกน้ำหนักยุวชนชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2552 และกีฬาโรงเรียนอาเซียน ในปี พ.ศ. 2559 ส่วนการจัดการแข่งขันกีฬาในประเทศ ได้แก่ การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ 3 ครั้ง

เชียงใหม่มีสโมสรฟุตบอลอาชีพสามสโมสร ได้แก่

  • เชียงใหม่ เอฟซี (เคยเลื่อนชั้นสู่ไทยลีกเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2562)
  • เชียงใหม่ ยูไนเต็ด หรือชื่อเดิมคือ เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด ชนะเลิศไทยลีก 3 ฤดูกาล 2561 ปัจจุบันได้สิทธิ์เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 1 ในฤดูกาลปี 2021-2022
  • แม่โจ้ ยูไนเต็ด ปัจจุบันได้สิทธิ์เล่นในไทยลีก 3 ในฤดูกาลปี 2021-2022

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

พระธาตุเจดีย์ธาตุนภเมทนีดล และพระธาตุเจดีย์นภพลภูมิสิริ บนยอดดอยอินทนนท์
สวนสัตว์เชียงใหม่

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ[แก้]

  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว อำเภอเชียงดาว
  • ดอยม่อนจอง อำเภออมก๋อย
  • ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง
  • ทะเลสาบดอยเต่า อำเภอดอยเต่า
  • น้ำพุร้อนฝาง อำเภอฝาง
  • น้ำพุร้อนสันกำแพง อำเภอแม่ออน
  • ปางช้างแม่แตง อำเภอแม่แตง
  • สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม
  • อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก อำเภอแม่อาย
  • อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อำเภอเมืองเชียงใหม่
  • อุทยานแห่งชาติออบหลวง อำเภอฮอด
  • อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง
  • เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อำเภอแม่แตง

สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไป[แก้]

อำเภอเมืองเชียงใหม่

  • พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์
  • สวนสัตว์เชียงใหม่
  • เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
  • อุทยานหลวงราชพฤกษ์
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
  • ถนนคนเดิน - ที่สำคัญมีสองแห่งคือ
    • ถนนวัวลาย ช่วงระหว่างประตูเชียงใหม่ ถึงประตูหายยา (วันเสาร์)
    • ถนนราชดำเนิน ช่วงระหว่างประตูท่าแพ ถึงวัดพระสิงห์ (วันอาทิตย์)
  • ถนนนิมมานเหมินท์
  • เชียงใหม่ไนท์บาซาร์ อำเภออื่น ๆ
  • หมู่บ้านผลิตร่ม บ้านบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง
  • ชุมชนหัตถกรรมแกะสลัก บ้านถวาย อำเภอหางดง
  • เวียงกุมกาม อำเภอสารภี
  • เวียงท่ากาน อำเภอสันป่าตอง
  • พระธาตุดอยนก อำเภอสะเมิง
  • ทุ่งข้าวบาร์เล่ย์ ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง อำเภอสะเมิง

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ

  • //www.chiangmai.go.th/managing/public/D4/4D12Dec2023134018.pdf
  • ↑ รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน พ.ศ. 2563 กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2564.
  • //www.chiangmai.go.th/managing/public/D4/4D12Dec2023134018.pdf
  • //en.unesco.org/news/64-cities-join-unesco-creative-cities-network
  • UNESCO Creative City Network เก็บถาวร 2020-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, โดย creativechiangmai.com
  • สดร. เดินหน้าอุทยานดาราศาสตร์ที่เชียงใหม่ หวังนำไทยเป็นผู้นำดาราศาสตร์อาเซียน
  • ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, หน้า 49
  • ชื่อเขียนตามที่ปรากฏใน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับวัดพระงาม จ.ศ. 1216
  • วันสถาปนาเมืองเชียงใหม่, หน้า 5
  • ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, หน้า 176
  • ชื่อเขียนตามที่ปรากฏใน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับวัดพระงาม จ.ศ. 1216 ↑ สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่, บรรยายสรุปจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2555. เก็บถาวร 2011-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้