ท กคนตายหมด ไม ม ใครรอดช ว ตเลยส กคน

นักจิตวิทยาชี้คนไทยจำนวนมากยังพูดคุยกับผู้ที่กำลังคิดฆ่าตัวตายผิดวิธี เสนอให้ หลีกเลี่ยงการแนะนำ ตัดสิน หรือสั่งสอน ผู้ที่อยู่ในความทุกข์ เพราะจะนำไปสู่ภาวะที่เครียดขึ้น จนอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด

เสียงเรียกเข้าจากโทรศัพท์มือถือที่วางไว้บนพื้นข้างเตียงนอน ดังขึ้นมาท่ามกลางความเงียบสงัดของช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่พระอาทิตย์จะขึ้น แพรวรู้ทันทีว่านั่นคือโทรศัพท์จากฟาง (นามสมมุติ) เพื่อนสมัยเรียนมัธยมที่ จ.สุรินทร์

ฟางโทรมาหาแพรว (สงวนชื่อและนามสกุลจริง) ทุกวันหลังจากที่เธอทะเลาะกับแฟนเพราะจับได้ว่าเขามีคนอื่น จนกระทั่งฟางถูกผู้ชายคนนั้นต่อยและออกจากบ้านไป ฟางรู้สึกว่าเธอทำเพื่อผู้ชายคนนั้นหลายอย่าง ถึงขั้นที่ยอมทำแท้งเมื่อเขาขอให้เอาเด็กออก

"มึง นั่นมันศีลข้อหนึ่งเลยป่าววะ"

"มึงต้องฟังเทศน์ฟังธรรม ตักบาตรทำบุญ"

"ไอ้เ-ย มึงก็เรียนมากับกูป่าววะ ถุงยางทำไมไม่ใส่"

เหล่านี้คือคำพูดต่าง ๆ ที่แพรวพูดกับฟาง ท่ามกลางความรู้สึก "อึ้ง" เธอรู้สึกว่าฟางไม่ควรพลาดเรื่องแบบนี้ และคิดว่าฟางไม่ควรทำแท้งเพื่อ "เอาใจผู้ชาย" แต่ความหวังดีของเธอกลับส่งผลตรงกันข้าม

"มึงไม่เข้าใจกู" ฟางตอบ พร้อมกับร้องไห้

เมื่อนึกย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์เหล่านั้น หญิงวัย 25 ปีสังเกตได้ว่า ในการสนทนาแต่ละครั้งที่เธอใช้คำพูดหยาบคาย ด่าทอ และใช้อารมณ์กับฟาง แม้ว่าจะไม่ใช่เพราะเจตนาที่ไม่ดีก็ตาม แต่มันทำให้ฟางรู้สึกสะเทือนใจ ร้องไห้หนักขึ้น หรือแม้กระทั่งด่าทอตัวเอง

จนกระทั่งวันหนึ่ง ฟางบอกกับแพรวว่า "กูไม่น่าอยู่เลยนะตอนนี้ ตาย ๆ ไปก็ดี"

"รู้สึกกังวลทุกครั้งที่วางสายไป เพราะเช้านี้จะมีข่าวไหม เครียดมาก เพราะกลัวว่าฟางจะคิดสั้น" แพรวบอกกับบีบีซีไทย

แพรว เป็นหนึ่งในผู้เข้าอบรม 15 คนที่เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การให้การปรึกษาผู้มีความคิดฆ่าตัวตาย โดยวิทยากรจากสมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลเพื่อปรึกษาทางโทรศัพท์ และจัดโดยฝ่ายบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ที่มาของภาพ, NANCHANOK WONGSAMUTH/BBC THAI

คำบรรยายภาพ,

ผู้เข้าอบรมฝึกการพูดคุยผ่านโทรศัพท์กับผู้ที่มีความทุกข์

ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่แผนกทรัพยากรบุคคลของบริษัทรถยนต์ชื่อดังแห่งหนึ่ง ที่มีพนักงานเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย อาจารย์ที่สอนจิตวิทยาที่มีญาติที่ยิงตัวตายตอนเขายังเด็ก หรืออาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากรที่พี่สาวกินยาฆ่าตัวตายเมื่อ 30 ปีก่อน ต่างก็พบอุปสรรคเดียวกัน คือ เข้าไม่ถึงจิตใจของคนนั้น และไม่รู้จะจัดการกับสถานการณ์นั้นได้อย่างไร

ไม่แนะนำ ไม่สั่งสอน

สมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย มีอาสาสมัครราว 50 คนที่ผลัดเปลี่ยนกันมารับโทรศัพท์จากผู้ที่โทรเข้ามากว่า 7,000 สายต่อปี เพื่อเล่าถึงเรื่องราวความทุกข์ใจ

ผศ.พ.ต.หญิง ดร.พนมพร พุ่มจันทร์ ผู้อำนวยการสมาคมสะมาริตันส์ กล่าวว่า การโทรมาที่สะมาริตันส์ไม่จำเป็นต้องบอกชื่อจริง และทุกอย่างเป็นความลับ ทำให้หลายคนเลือกคุยกับจิตอาสาที่นี่ แทนการคุยกับคนใกล้ตัว ที่กำลังมีประเด็นขัดแย้งกันอยู่ หรืออาจคุยแล้วไม่ฟัง หรือแม้กระทั่งคุยแล้ว "มีแต่คำแนะนำ" ซึ่ง เป็นสิ่งที่คนไทยมักจะทำพลาดมากที่สุดเวลาคุยกับคนที่มีความทุกข์ ทั้ง ๆ ที่บางทีแค่การรับฟังและรับรู้ว่าเขารู้สึกอย่างไรก็เพียงพอแล้ว

"แล้วพอเวลาที่ฟังแล้ว ก็จะมานึกถึงเรื่องตัวเอง แล้วตัวเองพร้อมที่จะเข้าไปแจมกับเขาในเรื่องที่ตัวเองเคยเจอมา เพราะฉะนั้นคนที่มาปรึกษาเลยกลายเป็นต้องฟัง แทนที่จะเป็นคนมานั่งเล่าระบายความไม่สบายใจออกมา" เธอกล่าวกับบีบีซีไทย

  • แนะปฐมพยาบาลทางจิตใจช่วยลดการฆ่าตัวตาย
  • แม่ฆ่าตัว พ่อตายเพราะกินยาเกินขนาด หนุ่มแคนาดาวัย 17 ปีรณรงค์เรียกร้องรัฐบาลใส่ใจปัญหาฆ่าตัวตาย
  • 119 หน่วยกู้ชีพคนฆ่าตัวตายของเกาหลีใต้

อาสาสมัครที่สะมาริตันส์ จะไม่ให้คำแนะนำ เพราะเชื่อว่าทุกคนมีศักยภาพในการแก้ปัญหาของตัวเอง แต่ใช้วิธี "ถามย้อน" โดยอาจใช้คำถามเช่น "แล้วคุณคิดว่าอย่างไรบ้าง" หรือเวลาเขาให้ช่วยหาทางออก อาจจะถามว่า "คนส่วนใหญ่เวลาเจอเหตุการณ์แบบนี้ เขาน่าจะหาทางออกแบบไหนได้บ้าง"

แนวทางในการพูดคุย คือ กระตุ้นให้ระบายความทุกข์ และสะท้อนปัญหาและอารมณ์ เพื่อให้ผู้โทรได้เริ่มตระหนักว่าตอนนี้อยู่ ณ จุดไหนของสถานการณ์นั้น

"ฟังเยอะ ๆ เลย คำว่าฟังคงไม่ใช่แต่แค่ฟังเป็นเสียง แต่ฟังเข้าไปถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้ที่จะเล่า" ผู้อำนวยการสะมาริตันส์ และอุปนายกสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย กล่าว

"โสตประสาทของคนเรา มีทั้งตา หู สัมผัส เพราะฉะนั้นตอนที่เราฟัง ให้เราสังเกตด้วยว่าอีกฝ่ายเป็นไง ยิ่งถ้าเห็นหน้าเห็นตากัน พอเพื่อนเล่า คุยกันสักพัก มันต้องใช้สายตาด้วย ท่าทางท่าทีของเราเองด้วย"

10 ประโยคปลอบใจ ที่อาจอ่อนไหวต่อหัวใจคนฟัง

1. "เรื่องแค่นี้เอง คนอื่นเขาทุกข์กว่าคุณอีก เขายังไม่ฆ่าตัวตายเลย"

ความรู้สึกของคนฟัง: ฉันรู้สึกโดนดูถูก ฉันไม่สามารถที่จะทนกับปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตได้ดีเท่าคนอื่น

2."ใจเย็น ๆ อย่าคิดมาก"

ความรู้สึกของคนฟัง: ฉันรู้สึกถูกตัดสิน คุณไม่รู้เหรอว่าฉันใจเย็นแค่ไหนระหว่างที่ฉันต้องทนกับความเจ็บปวดเหล่านั้น

3."อย่าคิดสั้น"

ความรู้สึกของคนฟัง: ฉันรู้สึกว่าฉันกำลังถูกตัดสิน ฉันลังเลที่จะคุยกับคุณต่อ

4."ผมเคยเจอแบบเดียวกับคุณเลย แต่ผมก็ผ่านมาได้"

ความรู้สึกของคนฟัง: คุณกำลังบอกว่าฉันทนกับสิ่งต่าง ๆ ไม่ได้ ถ้าคุณทำได้และฉันทำไม่ได้ คงมีบางอย่างในตัวฉันที่ผิดปกติ

5."คุณต้องทำแบบนี้แบบนี้นะ"

ความรู้สึกของคนฟัง: ฉันแค่อยากให้คุณเข้าใจฉัน ไม่ใช่สั่งสอนฉัน ดูเหมือนคุณตำหนิฉันเลย

6."เป็ดตุ๋นมะนาวดองอร่อยนะ" (รีบเปลี่ยนเรื่องพูดเวลาอีกฝ่ายพูดถึงการฆ่าตัวตาย)

ความรู้สึกของคนฟัง: คุณไม่สนใจ

7. "เราอยากคุยนะ แต่พอดีมีธุระ"

ความรู้สึกของคนฟัง: ฉันกำลังรบกวนคุณ

8."ตกลงปัญหาของคุณคือเรื่องไหนกันแน่"

ความรู้สึกของคนฟัง: ขอโทษที่ทำให้คุณต้องลำบากใจ

9."ฆ่าตัวตายตกนรกนะ"

ความรู้สึกของคนฟัง: คุณไม่เข้าใจความเจ็บปวดฉันเหรอ? แค่นี้ก็เหมือนตกนรกแล้ว

10."เป็นอะไรวะ"

ความรู้สึกของคนฟัง: ฉันคงทำให้เธอรำคาญ

ที่มา: บีบีซีไทยรวบรวมจากสมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย

เฟซบุ๊ก กับการฆ่าตัวตาย

ในสังคมสมัยใหม่ที่มีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และการ "แชท" สามารถทำได้ตลอดเวลา ทำให้สะมาริตันส์มีจำนวนผู้รับบริการผ่านเฟซบุ๊กเพื่อขอคำปรึกษาเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยปีที่ผ่านมามีจำนวน 220 ราย

การแชทผ่านเฟซบุ๊กไม่เหมือนการคุยโทรศัพท์ และในบางกรณีมีความละเอียดอ่อนมากกว่า จึงทำให้ต้องจัดอบรมอาสาสมัครเรื่องการคุยผ่านเฟซบุ๊กโดยเฉพาะ เช่น ในเรื่องความแม่นยำ และการมีสติในทุกครั้งก่อนที่จะส่งข้อความ เนื่องจากการคุยผ่านเฟซบุ๊กมีการ "หน่วง" นั่นคือ ต่างฝ่ายต่างพิมพ์ในเวลาเดียวกัน ทำให้คำตอบของฝ่ายหนึ่งที่ส่งไป อาจจะไม่ใช่คำตอบของข้อความล่าสุดที่อีกฝ่ายส่งมา

นอกจากนั้น การพิมพ์ข้อความทุกอย่างจะค้างอยู่ในระบบ ทำให้ผู้ใช้เฟซบุ๊กสามารถย้อนกลับเข้ามาดูข้อมูลนั้นได้อยู่ตลอดเวลา ยิ่งหากบางคนที่กลับมาอ่านหลายรอบ บางทีตอบประโยคหนึ่งประโยคก็มีการตีความตามอารมณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงไปได้

ในสังคมไทยเองที่พบว่ามีการถ่ายทอดสดการฆ่าตัวตายผ่านเฟซบุ๊กมากขึ้น นอกจากนี้ก็ยังมีการแชร์ออกไปอย่างกว้างขวางและมีคนจำนวนมากเข้ามาแสดงความคิดเห็น ที่เป็นการตัดสินผู้กระทำ ผู้อำนวยการสะมาริตันส์เตือนว่าควรรับฟังข้อมูลให้รอบด้านก่อนที่จะเข้าไปแสดงความคิดเห็นอะไร โดยค่อย ๆ เข้าไปถามความรู้สึก ให้อีกฝ่ายได้เล่าเรื่องราว แทนที่จะเป็นการตัดสินว่าสิ่งที่เขากระทำเป็นเรื่องที่ไม่ดี

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

เมื่อปีที่แล้ว เด็กหญิงวัย 11 เดือนถูกพ่อแขวนคอผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์จนเสียชีวิต หลังจากนั้นชายหนุ่มได้ผูกคอฆ่าตัวตาย

คำถามฆ่าตัวตาย: คำถามที่คนในสังคมไม่ถามกัน

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอคติ หรือกลัวว่าเป็นการชี้นำ ผู้คนจำนวนมากจะพยายามหลีกเลี่ยงการพูดคุยเรื่องการฆ่าตัวตาย ยิ่งถ้าเป็นสังคมไทย จะมีมุมเชิงศาสนาเข้ามาด้วย นั่นคือ ศาสนาพุทธจะมองว่าการฆ่าตัวตายจะเป็นบาป

แต่การ "ตัดสิน" เหล่านั้น อาจมีผลต่อผู้ที่มาพูดคุยด้วย ทำให้เกิดเป็น "แพ็คเกจคำพูด" ต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าการฆ่าตัวตายนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดี

"จริง ๆ ลึก ๆ เจ้าตัวก็รู้ แต่ภาวะตอนนั้นมันเหมือนกับไม่รู้จะหาทางออกยังไง ยิ่งถ้าพอเวลาฟัง แพ็คเกจ ว่าไม่น่าทำ ทำไม่ดี ทำไปทำไม มันบาป คำพูดเหล่านี้มันก็ยิ่งสร้างความกดดัน ยิ่งเป็นการเข้าไปลงโทษตัวเองเข้าไปอีก" ผู้อำนวยการสะมาริตันส์ กล่าว "คนที่ถึงขนาดมีความคิดฆ่าตัวตาย มันคือการสะท้อนถึงความทุกข์มาก ๆ ที่ไม่ทราบว่าจะหาทางออกยังไง เพราะฉะนั้นมันคือการร้องขอความช่วยเหลือด้วยซ้ำ ถ้าเราฟังด้วยใจ เชือกที่พันอย่างรุงรังมากมายจะค่อย ๆ คลายตัว แล้วพอเวลาที่เราตั้งใจฟังอีกฝ่ายได้ระบาย ระบบคิดจะเริ่มค่อยๆ กลับมาทบทวน เขาเองก็จะค่อย ๆ หาทางออก ซึ่งบางทีมันจะมีทางออกอื่นได้มาก นอกจากเรื่องการตายอย่างเดียว"

ที่มาของภาพ, NANCHANOK WONGSAMUTH/BBC THAI

คำบรรยายภาพ,

ผศ.พ.ต.หญิง ดร.พนมพร พุ่มจันทร์ ผู้อำนวยการสมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย

หลังจากผ่านการอบรม 2 วันที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แพรวเล่าว่า เธอได้ใช้วิธีการฟัง การให้คำปรึกษาผู้อื่นมาใช้ ไม่ใช่แค่กับคนที่อยากฆ่าตัวตายอย่างเดียว

"ตอนอบรม รู้สึกว่า วิธีฟัง วิธีให้คำปรึกษาแบบนี้ น่ารักมาก จากตอนฝึกปฏิบัติมีคนฟังเรา เลยทำให้อยากเป็นผู้ฟังที่ดี ให้คำปรึกษาที่เกิดประโยชน์จริง ๆ บ้าง" เธอกล่าว "ก่อนหน้านี้ก็ให้คำปรึกษาคนอื่นแหละ แต่ไม่ได้ทำอย่างถูกวิธีเหมือนที่สอนไว้ตอนอบรม เราก็สักแต่พูดในสิ่งที่เราคิด จนบางครั้ง ก็ผิดใจกับคนที่มาขอคำปรึกษา"

ถ้าคุณต้องการใครสักคนเป็นเพื่อนพูดคุย สามารถโทรไปที่สมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย 02-7136793 เวลา 12.00-22.00 น. หรือ สายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้