ตัวอย่าง เหตุผลการลาออก ภาษาอังกฤษ

การบอกลา (Farewell Message) ให้ประทับใจคือสิ่งที่ถูกมองว่าง่ายและมีประสิทธิภาพสูงสุด แต่คนส่วนใหญ่อาจคิดว่าสถานะของพนักงานจบลงในวันสิ้นสุดสัญญา แต่ในยุคที่มีกระแส Boomerang Employee แบบนี้ การสร้างความสัมพันธ์อันดีในระยะยาวเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับโอกาสทางอาชีพในอนาคต

  • ข้อความบอกลาไม่จำเป็นต้องยาว แต่ควรสั้นและกระชับ ครอบคลุมเนื้อหาในแง่บวกเป็นหลักเพื่อทำให้อีกฝ่ายประทับใจ ตลอดจนรู้สึกว่าตนมีคุณค่ามากขึ้น
  • แม้จะเป็นเพื่อนร่วมงานที่มีความสัมพันธ์ไม่ดีนัก แต่ก็ควรส่งข้อความให้อยู่ดี และหากมีประเด็นที่ไม่พอใจใด ๆ ก็ควรนำไปพูดคุยกับ HR ใน Exit Interview มากกว่า ไม่ใช่นำมาเขียนโจมตีในข้อความบอกลา เพราะคิดอีกฝ่ายจะไม่มีสิทธิ์ตอบโต้
  • หากเป็นองค์กรขนาดเล็กที่ทุกคนรู้จักเราดี เราควรส่งข้อความบอกลาให้ทุกคน แต่หากเป็นองค์กรมหาชนขนาดใหญ่ เราจะแค่เลือกส่งให้เฉพาะคนที่เคยมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันก็ได้ ทั้งนี้การบอกลาไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปของอีเมลหรือจดหมายเท่านั้น สามารถเป็นข้อความเสียงทางโทรศัพท์, การ์ดสั้น ๆ แนบไปกับของขวัญ หรืออะไรก็ได้ที่อีกฝ่ายสามารถเก็บไว้เพื่อนึกถึงเราเสมอ

ปกติแล้วคุณทำอย่างไรเวลาออกจากงาน ? จัดปาร์ตี้เลี้ยงส่ง, ซื้อของขวัญให้เพื่อนสนิท, เขียนการ์ดให้หัวหน้า หรือแค่เดินออกมาเฉย ๆ

ถ้าคุณรู้สึกว่าความสัมพันธ์ระหว่างกันจะจบลงแค่วันที่เก็บของออกจากออฟฟิศ คุณคิดผิด ! เพราะโลกธุรกิจได้เปลี่ยนไปแล้ว ทุกสิ่งที่คุณทำจะส่งผลต่ออนาคตการทำงานแน่ ๆ ดังนั้นคุณควรเขียนข้อความบอกลาสักนิดหนึ่ง เพราะเพียงย่อหน้าสั้น ๆ ก็สามารถสร้างประโยชน์ได้มากกว่าที่คิด

Farewell Message หรือข้อความบอกลาที่ดีควรเป็นอย่างไร หาคำตอบที่คุณต้องการได้ที่นี่

ทำไมเราถึงควรมีข้อความบอกลา (Farewell Message) เมื่อลาออกจากงาน

ไม่ว่าใครก็อยากรู้สึกมีความหมาย คนที่ลาออกก็อยากรู้ว่าสิ่งที่ตนทำมาตลอดมีความหมายกับองค์กรหรือไม่ ขณะที่ลึก ๆ แล้วเพื่อนร่วมงานคนอื่นก็อยากรู้เช่นกันว่าการช่วยเหลือสนับสนุนตลอดเวลาที่ผ่านมามีความหมายกับพนักงานที่กำลังออกไปหรือไม่ ความรู้สึกเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมและแสวงหาความหมายในการคงอยู่ในที่ใดที่หนึ่งเสมอ ดังนั้นการบอกลาอย่างมีคุณภาพจะเปิดโอกาสให้เราได้แลกเปลี่ยนความเห็นครั้งสุดท้าย หรือจนกว่าจะได้กลับมาพบกันใหม่ในอนาคต จึงถือว่าการบอกลาที่ดี (Off Boarding Process) เป็นหนึ่งในการแยกย้ายที่มีประสิทธิภาพที่สุด

ผลวิจัยยังพบว่าคนที่ได้รับข้อความบอกลาจะสามารถเปลี่ยนงานได้อย่างราบรื่น มากกว่าคนที่มีผู้นำหรือเพื่อนร่วมงานออกจากองค์กรไปโดยไม่บอกกล่าว ในที่นี้การบอกลาไม่จำเป็นต้องมาในรูปของข้อความก็ได้แต่อาจเป็นการจัดปาร์ตี้เลี้ยงส่งเล็ก ๆ น้อย ๆ การมอบของขวัญพร้อมการ์ด หรือแม้การยกหูโทรศัพท์ในกรณีที่อยู่ห่างไกลกัน

ให้คิดเสมอว่าไม่มีการบอกลาอย่างจริงใจครั้งใดที่ไร้ความหมาย ผู้ที่ได้รับข้อความจากเราย่อมรู้สึกมีความสุขและเห็นถึงคุณค่าของตัวเอง, รับรู้ถึงความใส่ใจ สอดคล้องกับการศึกษาที่กล่าวว่าเพื่อนร่วมงานที่ดีมีอิทธิพลอย่างสูงต่อคุณภาพชีวิตในวัยทำงาน ความสุขตรงนี้นอกจากจะช่วยให้ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ดีขึ้นแล้ว ยังกลายเป็นแบบอย่างของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ซึ่งพนักงานคนอื่นจะเรียนรู้และสามารถนำไปปรับใช้เมื่อถึงกรณีของตัวเองในอนาคต

ประโยชน์ของการเขียนข้อความบอกลา (Farewell Message) เมื่อลาออก

คำว่าไปลามาไหว้เป็นมารยาทพื้นฐานของสังคมไทยที่นอกจากจะช่วยให้จากกันด้วยดี ไม่มีอะไรค้างคาแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติและบริบทอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงานอีกด้วย

การเขียนข้อความบอกลามีประโยชน์ในด้านใดบ้าง ?

การเขียนข้อความบอกลา (Farewell Message) แสดงถึงการใส่ใจและมารยาทที่ดี

เมื่อเราทำงานในองค์กรใดก็ตาม จะเป็นเวลาน้อยหรือมาก ก็ย่อมมีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานแน่นอน ซึ่งกลุ่มคนดังกล่าวล้วนเป็นคนที่เคยช่วยเหลือ ผ่านร้อนผ่านหนาว และทุ่มเทเพื่อจุดหมายเดียวกันมาก่อน ดังนั้นเมื่อเราจะต้องแยกจากพวกเขาไป การแสดงความขอบคุณพร้อมให้ช่องทางติดต่อจะเป็นการยืนยันถึงมิตรภาพ และทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าเราให้ความสำคัญกับการมีอยู่ของกันจริง ๆ ไม่ได้คิดว่าเพื่อนร่วมงานเป็นเพียงแค่คนที่ช่วยให้ทำงานบรรลุเป้าหมายเท่านั้น

การเขียนข้อความบอกลา (Farewell Message) ช่วยให้เรารักษาเครือข่ายทางธุรกิจ (Business Connection) ได้ดีขึ้น

การจากกันด้วยดีเป็นเรื่องสำคัญในการต่อยอดอาชีพ เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าเพื่อนร่วมงานหรือเจ้านายในปัจจุบันจะกลายเป็นคนที่มีอิทธิพลกับชีวิตของเราในอนาคตหรือไม่ ดังนั้นการมีความสัมพันธ์ที่ดีในเครือข่ายของตนจะช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้น เพราะมีคนคอยช่วยเหลือหนุนหลังอยู่ตลอดเวลา แถมกลุ่มบุคคลดังกล่าวอาจนึกถึงความสามารถของเราจนนำไปแนะนำให้กับบริษัทอื่น ๆ หรืออาจเป็นคนชวนไปร่วมงานด้วยกัน (Referral) เองก็ได้

การเขียนข้อความบอกลา (Farewell Message) คือการสรุปว่าคนในทีมต้องทำอะไรต่อบ้าง (Transition Plan)

เมื่อเราออกจากงาน สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือองค์กรต้องมอบหมายให้พนักงานคนอื่นทำงานในส่วนที่เป็นของเราแทน กรณีนี้หากเราเป็นพนักงานทั่วไป การเปลี่ยนผ่านอาจไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรนัก แต่หากเราเป็นพนักงานในฝ่ายบริหาร การเปลี่ยนผ่านแต่ละครั้งย่อมเกิดผลกระทบในวงกว้างอย่างช่วยไม่ได้ ดังนั้นข้อความบอกลาของเราสามารถประกอบด้วยส่วนที่เป็นเรื่องส่วนตัวและส่วนที่เกี่ยวข้องกับงาน เช่นอธิบายว่าเรามีเรื่องใดที่ทำไปแล้วบ้าง, ทำถึงขั้นตอนไหน และคนที่เข้ามาสานต่อต้องทำโดยใช้วิธีการอย่างไร เป็นต้น วิธีนี้จะช่วยให้คนที่อยู่ไม่รู้สึกว่าเราทิ้งปัญหาอะไรไว้ให้ ไม่เกิดความขุ่นข้องหมองใจระหว่างกัน

ขั้นตอนเขียนข้อความบอกลา​ (Farewell Message) ตอนลาออก

เมื่อรู้แล้วว่าการเขียนข้อความบอกลามีความสำคัญกับอาชีพการงานมาก เราก็ควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ แต่หากไม่รู้ว่าควรทำอย่างไรก็ให้ปฎิบัติตาม 5 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

เขียนข้อความบอกลา (Farewell Message) ด้วยเนื้อหาที่เหมาะกับผู้รับแต่ละคน

การเขียนจดหมายลาไม่ได้เป็นเรื่องของเรากับผู้บังคับบัญชา หรือคนสนิทเท่านั้น แต่ควรเขียนให้พนักงานทุกคนในองค์กรทราบ ซึ่งอาจใช้วิธีเขียนอีเมล เพราะนอกจากจะส่งหาใครก็ได้แล้ว ยังสามารถส่งหาคนหมู่มากได้ในคลิกเดียว ทั้งนี้การเขียนเนื้อหาให้เหมาะกับคนแต่ละกลุ่มจะทำให้ผู้รับรู้สึกเข้าถึงเนื้อหาได้มากกว่าการเขียนกว้าง ๆ แล้วส่งให้คนทุกระดับพร้อมกัน อนึ่งการใช้ภาษาในแต่ละข้อความนั้นสามารถแตกต่างกันตามระดับความสัมพันธ์ได้เลย ไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาทางการจนรู้สึกเคร่งเครียดหรือห่างเหินจนเกินไป

เขียนข้อความบอกลา (Farewell Message) ด้วยความความแง่บวก

เป้าหมายของการส่งข้อความในลักษณะนี้ คือการแสดงความขอบคุณและเคารพทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตลอดระยะเวลาทำงานที่ผ่านมา ดังนั้นไม่ควรมีข้อความในแง่ลบมาปะปนอยู่ เพราะจะทำให้บรรยากาศในการอำลาเสียหาย ทั้งนี้หากมีเรื่องไม่สบายใจที่ต้องการแจ้งให้ ทราบสามารถแยกไปพูดกับฝ่ายบุคคลโดยตรง หรือรอขั้นตอน Exit Interview มากกว่า ให้คิดเสมอว่าการเขียนข้อความบอกลาเป็นโอกาสสุดท้ายที่เราสามารถสร้างความประทับใจได้ ดังนั้นควรใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เขียนข้อความบอกลา (Farewell Message) โดยแทรกช่องทางติดต่อใหม่

มีหลายองค์กรที่ปิดอีเมลพนักงานทันทีที่ลาออก หรือประมาณ 1 สัปดาห์ล่วงหน้า หากไม่ได้เป็นสายงานที่ต้องสื่อสารผ่านโลกออนไลน์โดยตรง จนอาจทำให้ข้อความของเราไม่สามารถส่งถึงอีกฝ่ายได้อย่างครบถ้วน ดังนั้นหากเช็คนโยบายของบริษัทแล้วพบว่าเราสามารถแทรกอีเมลส่วนตัวเข้าไปในจดหมายลาได้ ก็ให้แทรกเอาไว้เสมอ แต่หากทำไม่ได้ ก็ให้เขียนช่องทางติดต่อใหม่เข้าไปในเนื้อหาโดยตรงเพื่อเพิ่มโอกาสในการสื่อสารมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอีเมล, เบอร์โทรศัพท์ หรือสื่อโซเชียล เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าเพื่อนร่วมงานในองค์กรจะมีส่วนเกี่ยวข้องหรือสร้างประโยชน์ให้กับเราในอนาคตหรือไม่ วิธีนี้ใช้ได้ในการเขียนจดหมาย หรือแม้แต่การ์ดแนบของขวัญก็ตาม

เขียนข้อความบอกลา (Farewell Message) ให้กระชับ

ข้อความบอกลาไม่ควรเขียนยาวเกินไป ทางที่ดีให้จำกัดอยู่ราว 1-2 ย่อหน้าเท่านั้น เน้นแค่การขอบคุณกับรายละเอียดงานที่ต้องฝากให้ผู้อื่นสานต่อเป็นหลัก โดยสามารถใช้ภาษากึ่งทางการเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายและแฝงความจริงจังไปพร้อม ๆ กัน

ส่งข้อความบอกลา (Farewell Message) ก่อนการทำงานวันสุดท้าย

เราควรส่งข้อความบอกลาอย่างช้าสุดประมาณ 2-3 วัน ก่อนการทำงานวันสุดท้ายเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นสามารถตอบกลับข้อความเหล่านั้น เพราะพนักงานบางส่วนอาจมีคำถามที่อยากรู้เกี่ยวกับการสานต่องาน หรือมีคำถามเพิ่มเติมที่อยากจัดการให้เสร็จก่อนแยกจากกันไป ที่สำคัญการทำงานวันสุดท้ายมักมีกิจกรรมอื่นที่ทำให้ยุ่งเป็นพิเศษ การส่งข้อความบอกลาในวันสุดท้ายจึงแทบไม่มีประโยชน์อะไรเลยด้วยซ้ำ

เราควรส่งข้อความบอกลา (Farewell Message) ไปถึงใครบ้าง

หากเราทำงานในบริษัทขนาดเล็กหรือกลาง และเคยมีปฏิสัมพันธ์กับพนักงานแผนกอื่นอยู่บ้างการส่งข้อความหาทุกคนไม่ใช่เรื่องแปลก แต่หากเราทำงานในบริษัทมหาชนที่มีพนักงานหลายร้อยคน ข้อความของเราก็คงไม่ได้มีผลกับคนที่ไม่เคยเห็นหน้าค่าตากันมาก่อน ดังนั้นคนที่ควรได้รับข้อความของเราจึงเป็นคนที่เคยร่วมงานกันหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในทางใดทางหนึ่งเป็นหลัก

ตัวอย่างการเขียนข้อความบอกลาออกถึงคนแต่ละกลุ่ม (Farewell Message)

การมีปฏิสัมพันธ์กับคนแต่ละรูปแบบ จำเป็นต้องใช้โครงสร้างของภาษาที่แตกต่างกัน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดขึ้นได้ดังนี้

การเขียนข้อความบอกลา (Farewell Message) ให้เพื่อนร่วมองค์กรทั่วไป

หัวข้อ : การออกจากงาน

เนื้อหา : ถึงเพื่อนร่วมงานทุกคนที่บริษัท xxx

ผมได้ตัดสินใจออกจากงานเพื่อกลับไปทำธุรกิจส่วนตัวและมองหาโอกาสใหม่ ๆ การทำงานวันสุดท้ายของผมคือวันพรุ่งนี้ (แจ้งวันที่) ผมรู้สึกสนุกและเป็นเกียรติมากที่ได้ทำงานร่วมกับคนเก่ง ๆ ได้เจอมิตรภาพที่ดีมากมาย หวังว่าเราจะมีโอกาสได้เจอกันอีกในภายหลัง

หากมีคำถามเกี่ยวกับงาน สามารถติดต่อคุณ xxx ซึ่งจะช่วยดูแลในส่วนของผมจนกว่าพนักงานใหม่จะเข้ามาทดแทนในวันที่ xxx

คุณสามารถติดต่อผมได้ทางอีเมลส่วนตัว xxx@xxx.com ขอขอบคุณอีกครั้งและขอให้ทุกคนโชคดี

ด้วยความเคารพ

(ลงชื่อ)

การเขียนข้อความบอกลา (Farewell Message) ให้เพื่อนร่วมทีม

หัวข้อ : ขอบคุณมาก

เนื้อหา : สวัสดีเพื่อนร่วมทีม xxx ทุกคน

ขอแจ้งให้ทราบว่าผมได้ตัดสินใจออกจากงานเพื่อไปหาความท้าทายใหม่ ๆ โดยจะทำงานถึงวันศุกร์หน้าเท่านั้น ในโอกาสนี้ผมอยากขอบคุณเพื่อนร่วมงานทุกคนที่ร่วมคิด ร่วมฝ่าฟัน และช่วยสอนเรื่องที่เป็นประโยชน์มากมาย ผมไม่มีทางมาถึงจุดนี้ได้เลยถ้าไม่มีทุกคนคอยสนับสนุน ประสบการณ์ทั้งหมดจะคอยผลักดันผมตลอดไปนับจากนี้

ผมจะย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป ดังนั้นเราควรไปเลี้ยงกันสักรอบก่อนผมเดินทาง แต่ถ้าตารางงานของทุกคนไม่สะดวก สามารถติดต่อผมที่อีเมลส่วนตัวทาง xxx

ขอบคุณครับ

xxx

การเขียนข้อความบอกลา (Farewell Message) หัวหน้างาน

หัวข้อ : ขอบคุณสำหรับทุกอย่าง

เนื้อหา : ถึงคุณ (หัวหน้า)

อย่างที่คุณทราบดีว่าผมจะออกจากงานในสิ้นเดือนนี้ ผมจึงอยากใช้โอกาสนี้ขอบคุณทุกสิ่งที่คุณมอบให้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผมเติบโตขึ้นมากภายใต้การบริหารและแนะนำของคุณ ดังนั้นแม้ผมจะออกจากองค์กรไปแล้ว แต่ความทรงจำที่นี่จะเป็นประโยชน์และมีแง่มุมดี ๆ ให้ผมจะไปปรับใช้แน่นอน

สามารถติดต่อหาผมได้ตลอดเวลาหากมีเรื่องที่ผมสามารถช่วยเหลือได้ อีเมลส่วนตัวของผมคือ xxx@xxx.com

ด้วยความเคารพ

xxx

การเขียนข้อความบอกลา (Farewell Message) ลูกค้า

หัวข้อ : ช่องทางติดต่อใหม่

เนื้อหา : ถึงคุณลูกค้าที่เคารพ (หรือชื่อองค์กร ขึ้นอยู่กับความสนิทสนม)

ผมขอแจ้งให้ทราบว่าจะทำงานในตำแหน่งนี้ถึงวันที่ xxx ผมรู้สึกสนุกและได้เรียนรู้มากมายตลอดเวลาที่ได้ทำงานร่วมกับคุณ ขอบคุณมากสำหรับประสบการณ์และมิตรภาพที่มอบให้ครับ

หลังจากผมออกไป คุณสามารถติดต่อบริษัทของเราได้ที่ xxx ซึ่งผมได้ cc’d มาในอีเมลนี้ด้วย เขาจะติดต่อเพื่อแนะนำตัวกับคุณอย่างเป็นทางอีกครั้งภายในสัปดาห์นี้ ขณะที่ผมเองจะคอยสอนงานอย่างละเอียดเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านคล่องตัวมากที่สุด ทั้งนี้ก่อนที่ผมจะออกจากงานอย่างเป็นทางการ คุณสามารถติดต่อผมได้ตลอดเวลาหากมีคำถามหรือข้อกังวลใด ๆ ก็ตาม

ขอบพระคุณอย่างสูง

xxx

เตรียมพร้อมกับ Boomerang Employees เพราะความเป็นพนักงานไม่ได้จบลงในวันที่ออกจากบริษัท

สมัยก่อนเราอาจคิดว่าหน้าที่ขององค์กรกับพนักงานจะจบลงหลังจากการทำงานวันสุดท้าย แต่ความจริงแล้วโลกได้เปลี่ยนไปมาก ในช่วงที่ โควิด-19 ระบาดหนักคนเริ่มรู้จักกระแสการลาออกครั้งใหญ่ (The Great Resignation) ซึ่งกระแสดังกล่าวได้ต่อยอดมาสู่เรื่อง Boomerang Employees ที่พนักงานเก่าต่างทยอยกลับมาสู่ที่ทำงานเดิม เหตุผลนี้เองที่ทำให้หลายองค์กรเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับพนักงานเก่า (Alumni) โดยตั้งเป้าว่าความสัมพันธ์ระหว่างกันที่ดีจะช่วยให้พนักงานซึ่งอาจมีฝีมือมากขึ้นตามกาลเวลาอยากกลับมาร่วมงานกันอีกในอนาคต หรืออย่างน้อยก็ช่วยพูดถึงองค์กรในแง่บวก ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้กระบวนการสรรหาบุคลากรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

กลยุทธ์ของการพัฒนาบุคคลเปลี่ยนไปเสมอ คนที่รู้ทันก่อนก็จะสามารถปรับตัวและวางแผนสำหรับอนาคตได้ง่ายขึ้นซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจ องค์กรทุกแห่งจึงควรมีที่ปรึกษาที่ดี เพราะจะช่วยให้วางแผนได้ถูกต้อง ไม่สูญเสียทรัพยากรทั้งเงินและเวลาโดยไม่จำเป็น

แต่ถ้าคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไงเราขอแนะนำให้ใช้บริการ HR Consulting บน HR Explore แพลตฟอร์มที่รวบรวมบริการและผลิตภัณฑ์ HR มากกว่า 100 อย่าง ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ! อยากรู้เรื่องอะไรหรืออยากได้ตัวช่วยแบบไหน ที่นี่มีครบ

บทสรุป

การเปลี่ยนงานไม่ใช่เรื่องแปลก แต่จะทิ้งท้ายอย่างไรให้เหตุการณ์ดังกล่าวมีประโยชน์สูงสุดทั้งกับผู้ที่ออกไปและผู้ที่ยังคงอยู่ในองค์กรคือสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ การใช้เวลาเพียงเล็กน้อยเพื่อเขียนข้อความบอกลาจึงถือเป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยส่งเสริมเรื่องนี้ และทำให้องค์กรมีอำนาจแข่งขันมากขึ้นหากต้องแย่งชิงพนักงานคนดังกล่าวกับคู่แข่งในอนาคต เพราะต่างมีความทรงจำที่ดีต่อกัน

แคทเธอรีน บรามแคมป์ (Catherine Bramcamp) ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Don’t Write Like You Talk; a Smart Girl’s Guide to Writing and Editing กล่าวสรุปอย่างน่าสนใจว่า “อย่าทำให้ข้อความอำลาดูเป็นเรื่องเล็กเกินไป เศร้าเกินไป หรือน่าสงสารเกินไป เพราะสุดท้ายเราควรจากกันด้วยดี เราต้องมั่นใจตัวเอง และทำให้อีกฝ่ายรู้สึกเสียดายลึก ๆ ที่ไม่สามารถรักษาเราเอาไว้” เปรียบได้ว่าข้อความอำลาถือเป็นนิยามของคำว่าน้อยแต่มากที่ทุกคนทำตามได้เลย

เหตุผลที่ลาออกจากงาน เขียนยังไง

รวม “เหตุผลในการลาออกดี ๆ” ที่ JobsDB อยากแนะนำ.

ต้องการความก้าวหน้าในสายอาชีพ ... .

สไตล์การทำงานไม่ตรงกับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมทีม ... .

อยากเปลี่ยนสายงาน ... .

ต้องการเงินเดือนที่เพิ่มมากขึ้น ... .

มองหาเงื่อนไขการทำงานที่ยืดหยุ่น ... .

วางแผนในการเรียนต่อ ... .

ประสบกับปัญหาสุขภาพ ... .

ต้องใช้เวลาดูแลครอบครัว.

ลาออกเพราะอะไร ภาษาอังกฤษ

ไม่มีใครที่ไม่ถามคำถาม “Why are you leaving or have left your job?” (ทำไมคุณถึงลาออกหรือกำลังจะลาออกจากงานเก่า) แน่นอนว่าคงไม่มีใครที่นึกพิเรนท์ ตอบคำถามนี้แย่ๆ ด้วยการเผาที่ทำงานเก่า หรือเจ้านายเก่าอย่างแน่นอน โดยประโยคสุดคลาสสิค และดูกลางที่สุดก็คงหนีไม่พ้นประโยคขช้างต้นนี่นี่แหละ

Why Did You Leave Your Last Job ตอบยังไง

👉 ANSWER:.

I appreciate = ฉันซาบซึ้ง/ชื่นชม.

everything my current employer has done = ทุกสิ่งทุกอย่างที่นายจ้างคนปัจจุบันของฉันได้ทำ (หากลาออกมาแล้ว ให้เปลี่ยนจาก current employer => “previous/former employer” ซึ่งหมายถึง “นายจ้างคนก่อน” ได้เลยค่ะ).

to help me grow = เพื่อช่วยให้ฉันได้เติบโตก้าวหน้า.

What are your strengths and weaknesses ตอบยังไง

ในกรณีที่ผู้สัมภาษณ์ถามคำถามว่า “What are your strengths and weaknesses?” คือให้ตอบทั้งจุดแข็ง และจุดอ่อนพร้อมกันในคำถามเดียวกันเลย เราไม่จำเป็นที่จะต้องเริ่มต้นตอบด้วย Strengths (จุดแข็ง) เสมอไปก็ได้ เราอาจจะเริ่มต้นด้วย Weakness (จุดอ่อน) ก่อน แล้วมาจบอย่างสวยงามด้วย Strength (จุดแข็ง) ก็ได้เช่นเดียวกันค่ะ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้