ตัวอย่าง การ วิเคราะห์ อาชญากรรม

คำว่า “การป้องกันอาชญากรรม” มีความหมายที่หลากหลายเท่าๆ กับจำนวนผู้ให้ความหมาย ดังนั้นในการพิจารณาถึงการป้องกันอาชญากรรม นักอาชญาวิทยาส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับขอบเขตหรือตัวแบบของการป้องกันอาชญากรรมรวมตลอดถึงระดับของการป้องกันอาชญากรรมมากกว่าที่จะพิจารณาถึงความหมาย (นัทธี จิตสว่าง 2555)

ดังนั้นในบทความเรื่องนี้ จึงจะเน้นการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับตัวแบบของการป้องกันอาชญากรรม และระดับของการป้องกันอาชญากรรม เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่แน่ชัดในเรื่องการป้องกันอาชญากรรรม

ตัวแบบของการป้องกันอาชญากรรม

ในการพิจารณาถึงขอบเขตและตัวแบบของการป้องกันอาชญากรรมนั้นมีมานานแล้ว แต่ที่โดดเด่นและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปเป็นงานของ C.R. Jeffery (1971) ซึ่งเขียนหนังสือชื่อ “Crime Prevention Through Environmental Design” ซึ่งได้เสนอตัวแบบในการป้องกันอาชญากรรม 3 แนว คือ

  1. ตัวแบบการข่มขู่ยับยั้ง (Deterrent Model) คือเน้นการปราบปรามลงโทษผ่านกระบวนการยุติธรรม ทำให้คนกลัวไม่กล้ากระทำผิด
  2. ตัวแบบฟื้นฟูแก้ไข (Rehabilitation Model) เน้นการฟื้นฟูแก้ไขผู้กระทำผิด และฟื้นฟูแก้ไขสภาพแวดล้อมที่นำไปสู่การกระทำผิด เช่น ความยากจน การขาดการศึกษาและสวัสดิการ
  3. ตัวแบบการป้องกันโดยสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Crime Control Through Environmental Engineering) ซึ่งเป็นตัวแบบใหม่ในขณะนั้น ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีและการออกแบบทางวิศวกรรมในการป้องกันมิให้เกิดอาชญากรรมตั้งแต่แรก เช่นการออกแบบผังเมือง อาคารสถานที่ ร้านค้า ในการตัดช่องโอกาสในการกระทำผิด

ตัวแบบการป้องกันอาชญากรรมโดยสภาพแวดล้อมนี้ ต่อมาได้มีนักวิชาการพยายามขยายขอบเขตไปถึงการออกแบบเพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม เช่น ออกแบบถนนหรือบริเวณพื้นที่ส่วนกลางให้ถูกเฝ้ามองโดยคนทั่วไป ซึ่งจะเป็นการตัดช่องโอกาสในการกระทำผิด เพราะคนในสังคมจะช่วยเป็นหูเป็นตา (Newman 1972) อีกนัยหนึ่งเป็นการดึงเอาความสัมพันธ์ของชุมชนเข้ามาช่วยในการป้องกันอาชญากรรม โดยนัยนี้ (ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 2526) จึงได้แยกการป้องกันอาชญากรรมโดยสภาพแวดล้อมเป็นสองแนวคือการป้องกันอาชญากรรมโดยสภาพแวดล้อมรูปธรรมกับการป้องกันอาชญากรรมโดยสภาพแวดล้อมนามธรรม

ตัวแบบในการป้องกันอาชญากรรมทั้งสี่แนวได้รับการยอมรับต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แม้บางส่วนอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เช่น แนวคิดของ Felson (1987) มองว่าทั้งอาชญากรและเหยื่อเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะนิสัย และมีกิจกรรมที่มักทำเป็นประจำ ดังนั้น ในการวิเคราะห์อาชญากรรมจากแนวคิดกิจกรรมที่มักทำเป็นประจำนั้น (Routine Activities) สามารถระบุองค์ประกอบของอาชญากรรมได้ 3 ส่วน คือ 1) ผู้ที่มีโอกาสเป็นผู้กระทำผิด 2) เป้าหมายที่เหมาะสม และ 3) ผู้ป้องกันไม่ให้เกิดอาชญากรรม เช่น บุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้กระทำผิดที่สามารถป้องกันบุคคลเหล่านั้นจากการก่ออาชญากรรม หรืออาจมีการควบคุมทางสังคมในลักษณะไม่เป็นทางการทำให้อาชญากรไม่สามารถกระทำผิดได้ อีกนัยหนึ่ง อาจสรุปได้ว่า อาชญากรรมจะเกิดขึ้นเมื่อเหยื่อและผู้กระทำผิดได้มาพบกัน โดยไม่มีผู้ป้องกัน หรือผู้ที่จะขัดขวางการกระทำผิดได้ ด้วยเหตุนี้ อาชญากรรมจะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ โดยการแยกผู้ที่มีโอกาสตกเป็นเหยื่อและผู้กระทำผิดออกจากกัน ไม่ให้เจอกันนั่นเอง

ในส่วนของสถาบันอาชญาวิทยาแห่งออสเตรเลีย (2017) ได้ศึกษาถึงแนวทาง ทฤษฎีและกลไกในการป้องกันอาชญากรรม โดยอธิบายว่า การป้องกันอาชญากรรม หมายถึง ยุทธศาสตร์หลากหลายรูปแบบที่บุคคล ชุมชน ธุรกิจ องค์กรที่ไม่ใช่รัฐ และรัฐบาลทุกระดับนำไปปฏิบัติ เพื่อมุ่งเป้าไปยังปัจจัยทางสังคมและสภาพแวดล้อมที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม ความไร้ระเบียบ และการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม (AOC2003; ECOSOC 2002; IPC 2008; Van Dijk & de Waard 1991 อ้างถึงในสถาบันอาชญาวิทยาแห่งออสเตรเลีย 2017) หากจะพิจารณาถึงแนวทางในการป้องกันอาชญากรรมนั้น ในความเป็นจริงมีวิธีการมากมาย โดยมีความแตกต่างกันในจุดมุ่งเน้นการดำเนินการ ประเภทของกิจกรรม ทฤษฎีที่อยู่เบื้องหลังของกิจกรรมที่ถูกออกแบบเพื่อให้ได้มาซึ่งผลที่ต้องการ และกลไกในการนำแนวทางต่างๆ เหล่านี้ไปปฏิบัติ สถาบันอาชญาวิทยาแห่งออสเตรเลีย (2017) ได้สรุปแนวทางป้องกันอาชญากรรมไว้ 3 แนว ดังนี้

  1. การป้องกันอาชญากรรมเชิงสภาพแวดล้อม(Environmental Crime Prevention) หมายถึงการป้องกันอาชญากรรมตามสถานการณ์ (Situational Crime Prevention)

และการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนและออกแบบชุมชนและเมืองเพื่อปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้ลดโอกาสการเกิดอาชญากรรม (Crawford 1998; Hughes 2007; Sutton, Cherney & White 2008 อ้างถึงในสถาบันอาชญาวิทยาแห่งออสเตรเลีย, 2017)

“การป้องกันอาชญากรรมตามสถานการณ์” นี้Freilich and Newman (2017) อธิบายว่า ในทางทฤษฎี เป็นแนวทางลดอาชญากรรม ด้วยวิธีการทำให้ไม่สามารถประกอบอาชญากรรมได้ ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะมีแรงจูงใจ หรือความประสงค์ในการกระทำผิดหรือไม่ รวมทั้งป้องปรามผู้กระทำผิดจากการประกอบอาชญากรรม อาจกล่าวได้ว่า การป้องกันอาชญากรรมตามสถานการณ์ มีจุดมุ่งเน้นที่แตกต่างจากทฤษฎีทางอาชญาวิทยาอื่นๆ เนื่องจากต้องการลดโอกาสของอาชญากรรม มากกว่าการบำบัดฟื้นฟูแก้ไขผู้กระทำผิด โดยมีพื้นฐานบนความเชื่อที่ว่า อาชญากรรมมักเป็นเรื่องของโอกาส ดังนั้น จึงมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางบริบทหรือสภาพแวดล้อม เพื่อจำกัดโอกาสของผู้กระทำผิดในการเข้าไปมีส่วนร่วมกับพฤติกรรมอาชญากร (Tonry & Farrington 1995 อ้างถึงในสถาบันอาชญาวิทยาแห่งออสเตรเลีย, 2017) ทั้งนี้การป้องกันอาชญากรรมตามสถานการณ์มีหลักสำคัญ 4 ประการ ได้แก่

  1. เกี่ยวกับทฤษฎีเกี่ยวกับโอกาสที่สำคัญๆ 3 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ ทฤษฎี

รูปแบบอาชญากรรม และทฤษฎีการตัดสินใจเลือกอย่างมีเหตุผล จุดมุ่งเน้นของทฤษฎีโอกาสทั้ง 3 ทฤษฎีนี้ ค่อนข้างแตกต่างกัน กล่าวคือ หากเป็นทฤษฎีกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ ดังที่กล่าวไปแล้วในตอนต้นว่าปัจจัยสำคัญสามข้อ ต้องเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน นั้นคือ 1) ผู้กระทำผิดที่มีแรงจูงใจ 2) เป้าหมายที่เหมาะสม และ 3) การที่ผู้คุ้มกันที่มีความสามารถไม่อยู่ในขณะนั้น (Geason and Wilson, 1988) ขณะที่ทฤษฎีรูปแบบอาชญากรรมมุ่งอธิบายอิทธิพลของชุมชนและกลุ่มเพื่อนบ้าน พร้อมให้ความสำคัญไปที่เหตุผลว่าทำไมผู้กระทำผิดอาจมีโอกาสในการประกอบอาชญากรรมโดยบังเอิญในระหว่างชีวิตประจำวัน สำหรับทฤษฎีการตัดสินใจเลือกอย่างมีเหตุผล มักเน้นไปที่แต่ละบุคคลมากกว่าและพยายามอธิบายกระบวนการตัดสินใจที่ส่งผลให้ผู้กระทำผิดเลือกที่จะเข้าเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมหรือเหตุการณ์อาชญากรรมใดๆ รวมทั้งการชั่งน้ำหนักความเสี่ยงโดยเปรียบเทียบกับรางวัลหรือผลตอบแทนที่จะได้รับจากการกระทำผิดนั้น (Clarke 2005; 1997 อ้างถึงในสถาบันอาชญาวิทยาแห่งออสเตรเลีย, 2017)

  1. มีการวิเคราะห์ปัญหาและปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาชญากรรม โดยระบุให้ทราบถึงผลการตอบสนอง

ที่อาจเกิดขึ้น การเลือกและนำผลการตอบสนองที่เหมาะสมซึ่งมีแนวโน้มที่ดีที่สุดไปปฏิบัติ การประเมินผล ตลอดจนการนำผลที่ได้ไปเผยแพร่

  1. การจำแนกลักษณะเทคนิคการป้องกันตามสถานการณ์ 25 ประการ ซึ่งเป็นเทคนิค การป้อง

กันอาชญากรรม 25 แบบของ Cornish & Clarke (2005 อ้างถึงในสถาบันอาชญาวิทยาแห่งออสเตรเลีย, 2017) โดยเป็นการดำเนินการป้องกันอาชญากรรมตามสถานการณ์ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น ความมั่นคงปลอดภัยที่มีการปรับปรุงโดยทำให้มีระบบติดตามเฝ้าระวังที่ดีขึ้น และการติดกุญแจให้แน่นหนาขึ้น ภายใต้การจัดประเภท 5 ด้าน ซึ่งมีพื้นฐานบนกลไกที่สำคัญของวิธีการที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • การเพิ่มความยากลำบากในการกระทำผิด
  • การเพิ่มความเสี่ยงที่เชื่อมโยงกับการกระทำผิด
  • การลดรางวัลหรือผลตอบแทนที่ได้รับจากการประกอบอาชญากรรม
  • การลดปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อที่บุคคลที่จะกระทำผิด และ
  • การขจัดข้อแก้ตัวสำหรับพฤติกรรมกระทำผิด

การจำแนกลักษณะดังกล่าวนี้ ช่วยให้เกิดกรอบการทำงานที่เป็นประโยชน์สำหรับการอธิบายขอบเขตและเทคนิคตามสถานการณ์ที่หลากหลายต่อข้อเสนอให้แก่ผู้ที่ทำงานด้านการป้องกันอาชญากรรม (Cornish & Clarke 2003 อ้างถึงในสถาบันอาชญาวิทยาแห่งออสเตรเลีย, 2017)

  1. มีโครงการที่ได้รับการประเมินผลและตัวอย่างยุทธศาสตร์ประเภทต่างๆที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยบทเรียนสำคัญสำหรับการนำโครงการป้องกันอาชญากรรมตามสถานการณ์ไปปฏิบัติ สรุปได้ดังนี้
  • แนวทางนี้จะได้ผลมากที่สุด หากพุ่งเป้าไปที่ปัญหาอาชญากรรมเฉพาะประเภทในบางบริบท
  • ต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบและเป็นปัจจุบัน รวมถึงการวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงและสาเหตุจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและแม่นยำ และมีนักวิเคราะห์ที่มีศักยภาพในการแปลผลข้อมูล
  • ต้องมีกลไกการให้คำปรึกษาแนะนำที่เหมาะสม เพื่อแสวงหาข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และชุมชนในการพัฒนายุทธศาสตร์ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมและความร่วมมือต่างๆ
  • ต้องมีทักษะการบริหารจัดการโครงการที่ดี มีแผนการนำไปปฏิบัติที่ครอบคลุมซึ่งระบุขั้นตอนสำคัญต่างๆ ในการดำเนินโครงการ และความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการที่สอดคล้องกัน รวมถึงคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญในการติดตามดูแลการพัฒนาโครงการ การทบทวน และการนำโครงการไปปฏิบัติจริง (Marshall, Smith & Tilley, 2004 อ้างถึงในสถาบันอาชญาวิทยาแห่งออสเตรเลีย, 2017)

ที่ผ่านมา แนวทางการป้องกันอาชญากรรมตามสถานการณ์ มีหลักฐานสำคัญแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลในการลดอาชญากรรม ทั้งจากการประเมินผลในออสเตรเลียและต่างประเทศ ถึงแม้ว่าจะมีข้อจำกัดบางประการในการประเมินผลอยู่บ้าง (สถาบันอาชญาวิทยาแห่งออสเตรเลีย, 2017) เช่น การประเมินผลโครงการลดเหตุการณ์ลักทรัพย์ในเขตที่อยู่อาศัยของสหราชอาณาจักร พบว่า พื้นที่บริเวณที่มีการลงทุนในงบประมาณจำนวนมากด้วยแนวทางการป้องกันตามสถานการณ์ มักมีความสำเร็จในการลดการลักทรัพย์ในพื้นที่อาศัย มากกว่าการป้องกันที่มุ่งเน้นไปที่ตัวผู้กระทำผิด (Hope et al. 2004 อ้างถึงในสถาบันอาชญาวิทยาแห่งออสเตรเลีย, 2017) หรือ การศึกษาโครงการเมื่อไม่นานมานี้ สรุปว่า การติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด มีประสิทธิผลมากที่สุดในการลดอาชญากรรมในที่จอดรถ หรืออาชญากรรมทางยานยนต์ (Wesh & Farrington 2001 อ้างถึงในสถาบันอาชญาวิทยาแห่งออสเตรเลีย, 2017)

นอกจากแนวทางการป้องกันอาชญากรรมตามสถานการณ์แล้ว “การป้องกันอาชญากรรมเชิงสภาพแวดล้อม” ยังหมายความรวมถึง การวางแผนและออกแบบเมือง เช่น การป้องกันอาชญากรรมโดยการออกแบบสภาพแวดล้อม หรือ CPTED (Crime Prevention through Environmental Design) และโครงการสร้างเมืองใหม่ เพื่อลดโอกาสการเกิดอาชญากรรมโดยการออกแบบและบริหารจัดการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีการจัดภูมิทัศน์ เพื่อความปลอดภัย (Crowe 1991; Schneider & Kitchen, 2007 อ้างถึงในสถาบันอาชญาวิทยาแห่งออสเตรเลีย, 2017) ซึ่งรวมถึงยุทธศาสตร์ในการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างสถานที่ที่ปลอดภัย หรือสามารถทำให้ประชาชนรู้สึกปลอดภัย (เช่น การออกแบบพื้นที่สาธารณะที่มีการติดตามสอดส่องผู้ใช้มากขึ้น หรือ โดยการออกแบบทางผ่านคนเดินถนนที่มีแสงไฟเพียงพอ และไม่ให้มีสถานที่ให้ผู้กระทำผิดมีโอกาสแอบซ่อนตัว) CPTED มีอิทธิพลมากต่อนโยบายและการปฏิบัติงานป้องกันอาชญากรรมในออสเตรเลียและในส่วนอื่นๆ ในโลก ซึ่งปัจจุบัน มีรัฐบาลท้องถิ่น และมลรัฐมากมายที่มีนโยบายการวางแผนเฉพาะที่ที่รวมเอาหลักการ หรือแนวทาง CPTED เอาไว้ (Bodson et al. 2008 อ้างถึงในสถาบันอาชญาวิทยาแห่งออสเตรเลีย, 2017) แม้ว่าการป้องกันอาชญากรรมรูปแบบนี้ ยังไม่มีการประเมินผลอย่างเป็นระบบ (Shaftoe & Read, 2005 อ้างถึงในสถาบันอาชญาวิทยาแห่งออสเตรเลีย, 2017) และอาจมีการวิพากษ์วิจารณ์อยู่บ้าง (Cozens, Saville & Hillier 2005 อ้างถึงในสถาบันอาชญาวิทยาแห่งออสเตรเลีย, 2017) แต่ก็ถือว่ามีหลักฐานที่เพียงพอในการสนับสนุนการใช้หลักการ CPTED

  1. การป้องกันอาชญากรรมเชิงสังคม (Social approach) คือ การให้ความสำคัญกับสาเหตุ

การเกิดอาชญากรรมทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ในชุมชน เช่น สังคม การจำกัดการเข้าถึงที่อยู่อาศัย อาชีพ การศึกษาและบริการทางการแพทย์ ฯลฯ รวมทั้งการจำกัดแรงจูงใจในการประกอบอาชญากรรมของผู้กระทำผิด และการป้องกันเชิงพัฒนาและรูปแบบการพัฒนาชุมชน (Crawford 1998; ECOSOC2002; Hope 1995; Hughes 2007; Sutton, Cherney & White 2008; Weatherburn 2004 อ้างถึงในสถาบันอาชญาวิทยาแห่งออสเตรเลีย, 2017)

วิธีการนี้ แทนที่จะมุ่งเน้นไปที่สภาพแวดล้อมทางกายภาพ กลับมุ่งไปที่ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นพื้นฐานของอาชญากรรม โดยอาจรวมถึงการดำเนินการเพื่อปรับปรุงโครงการทางการศึกษา สุขภาพและที่อยู่อาศัย เช่นเดียวกับการสร้างปรับปรุงชุมชนให้ดีขึ้นจากการพัฒนาชุมชน

“การป้องกันอาชญากรรมเชิงพัฒนา” เป็นที่นิยมในออสเตรเลียเพิ่มมากขึ้น (Weatherburn, 2004 อ้างถึงในสถาบันอาชญาวิทยาแห่งออสเตรเลีย, 2017) โดยมีสมมติฐานว่า การเข้าแทรกแซงหรือดำเนินการในระยะแรกของการอบรมเลี้ยงดูเด็กขณะที่มีอายุน้อยอยู่นั้น จะทำให้เกิดผลดีที่สำคัญทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว อาจกล่าวได้ว่า จุดมุ่งเน้นของการป้องกันอาชญากรรมเชิงพัฒนาอยู่ที่การเข้าแทรกแซงในช่วงแรกของจุดเปลี่ยนผ่านของบุคคลที่นำไปสู่วิถีทางการป้องกันการกระทำผิดในอนาคต จุดเปลี่ยนผ่านสำคัญดังกล่าวหมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่เริ่มรับการศึกษา การเปลี่ยนผ่านจากชั้นประถมศึกษาไปยังมัธยมศึกษา และจากมัธยมศึกษาไปยังการศึกษาต่อเนื่องหรือช่วงทำงาน ทั้งนี้ การดำเนินการในช่วงแรกมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัจจัยความเสี่ยงกระทำผิดในอนาคต ซึ่งปัจจัยเชิงป้องกันและความเสี่ยงเหล่านี้ สามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ เช่น ปัจจัยความเป็นเด็ก ปัจจัยครอบครัว บริบทโรงเรียน เหตุการณ์ในชีวิต ปัจจัยทางวัฒนธรรมและชุมชน (Homel et al. 1999)

โดยทั่วไป การดำเนินการด้านการพัฒนามีเป้าหมายเพื่อจัดการความเสี่ยงและระบุปัจจัยเชิงป้องกัน ซึ่งงานวิจัยได้ยืนยันว่า มีความสำคัญมากในการคาดการณ์การกระทำผิดในอนาคต หากพิจารณาในทางปฏิบัติ การป้องกันอาชญากรรมเชิงพัฒนาเกี่ยวข้องกับการจัดบริการพื้นฐาน หรือจัดทรัพยากรให้แก่บุคคล ครอบครัว โรงเรียน หรือชุมชน ในการลดผลกระทบของปัจจัยความเสี่ยงให้น้อยที่สุดต่อการพัฒนาพฤติกรรมกระทำผิด (Homel 2005) ด้วยเหตุนี้ ทรัพยากรและบริการต่างๆ ที่กล่าวถึง มักถูกส่งต่อไปให้แก่ครอบครัวกลุ่มเปราะบางหรือกลุ่มด้อยโอกาสที่มีบุตรวัยเด็ก อย่างไรก็ดี ผลสำเร็จของวิธีการป้องกันอาชญากรรมเชิงพัฒนามีประเด็นที่ต้องคำนึงถึงเป็นพิเศษ อาทิ

  • ความสำคัญของช่วงเวลาและการเข้าแทรกแซงจัดการในจุดเชื่อมต่อที่จำเป็น เช่น เวลาที่มีความเครียด หรือเมื่อบุคคลเปิดรับต่ออิทธิพลภายนอก (ซึ่งอาจไม่ได้หมายถึงระยะแรกในชีวิต)
  • ความจำเป็นที่อาจเปราะบางต่อความต้องการของท้องถิ่นนั้นๆ (เช่น ความอ่อนไหวทางวัฒนธรรม) การเข้ามามีส่วนร่วมและการให้อำนาจแก่ชุมชน (ในการตัดสินใจ เช่น อาสาสมัคร และผู้มีวิชาชีพที่ได้รับค่าจ้าง) และการระบุถึงหน่วยงาน/บุคคลที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงในท้องถิ่น
  • ความสำคัญของยุทธศาสตร์ในการทำให้โปรแกรมเข้าถึงได้ง่าย เพื่อให้คนเข้ามามีส่วนร่วมและหลีกเลี่ยงการตีตราบาปครอบครัวหรือบุคคลวัยเยาว์ที่มีความเสี่ยง
  • ความจำเป็นที่ต้องมีการลงทุนในระยะยาว เนื่องจากผลดีของการป้องกันอาชญากรรมเชิงพัฒนาไม่ได้เกิดขึ้นโดยทันที (Crow et al. 2004;) อ้างถึงในสถาบันอาชญาวิทยาแห่งออสเตรเลีย, 2017)

ผลการประเมินผลส่วนหนึ่งแสดงให้เห็นว่า การดำเนินการนี้ก่อให้เกิดประสิทธิผลระยะยาว ช่วยลดอาชญากรรมจำนวนมาก รวมทั้งส่งผลให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงในมิติอื่นๆ เช่น ผลการศึกษา การทารุณต่อเด็ก การมีส่วนร่วมของแรงงาน พฤติกรรมเด็กและเยาวชน และการใช้สารเสพติด (Homel 2005) นอกเหนือจากประโยชน์ทางสังคมแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ยังเกี่ยวข้องอย่างมากกับการประหยัดทางการเงิน ของชุมชนและผู้ที่เข้าร่วม ลดค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือทางสวัสดิการ ความต้องการในการศึกษาพิเศษที่น้อยลง ค่าใช้จ่ายการปฏิบัติงานในระบบกระบวนการยุติธรรมและค่าใช้จ่ายต่อเหยื่อที่ลดลง (Homel et al. 2006;)

  1. การป้องกันอาชญากรรมเชิงกระบวนการยุติธรรม(Criminal Justice Approach) หมายถึง โปรแกรมต่างๆ ที่ดำเนินการโดยตำรวจ ศาลและราชทัณฑ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำในกลุ่มผู้ที่เคยข้องเกี่ยวกับพฤติกรรมอาชญากร และผู้ที่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมแล้ว (ECOSOC 2002; UNODC 2010 อ้างถึงในสถาบันอาชญาวิทยาแห่งออสเตรเลีย, 2017) `หากจะกล่าวโดยรวมวิธีการนี้ คือ แนวทางยุทธศาสตร์ดั้งเดิมที่มุ่งเน้นไปที่การป้องปราม (Deterrence) `การตัดโอกาสกระทำผิด(Incapacitation) และการบำบัดฟื้นฟูแก้ไขผู้กระทำผิด (Rehabilitation) ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและองค์กรต่างๆ ในระบบกระบวนการยุติธรรม (Welsh and Farrington, 2012) เป็นที่น่าสังเกตว่า วิธีการป้องกันอาชญากรรมเชิงกระบวนการยุติธรรมนี้ แม้จะเป็นที่รับรู้ในวงกว้างถึงแนวทางหนึ่งในการลดอาชญากรรม แต่ในงานวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันอาชญากรรมส่วนใหญ่มักไม่ค่อยได้รับการกล่าวถึงในรายละเอียดเชิงลึกมากนัก ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่นักวิชาการที่ศึกษาแนวคิดป้องกันอาชญากรรมต้องการมุ่งเน้นไปที่สาเหตุหรือแรงจูงใจที่นำสู่เหตุการณ์อาชญากรรม หรือวงจรการเกิดอาชญากรรม ที่อยู่นอกเหนือกระบวนการยุติธรรม เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ทางเลือกใหม่ให้แก่รัฐบาลและภาครัฐในการลดอาชญากรรมในสังคม (Welsh and Farrington, 2012)

ระดับของการป้องกันอาชญากรรม

นอกเหนือจากความสนใจในเรื่องตัวแบบในการป้องกันอาชญากรรมแล้ว นักอาชญาวิทยายังให้ความสนใจในเรื่องของระดับในการป้องกันอาชญากรรมโดยมีการประยุกต์แนวคิดทางด้านสาธารณสุขและอาชญาวิทยามาใช้ที่ผ่านมามีผู้เสนอแนวคิดทฤษฎีในลักษณะดังกล่าวมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลสำคัญ คือ Jeffery (1971) ที่เสนอแนวคิดแบ่งประเภทการป้องกันอาชญากรรมออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ปฐมภูมิ (Primary) ทุติยภูมิ (Secondary) และตติยภูมิ (Tertiary) กล่าวโดยสรุป ระดับปฐมภูมิ คือ การมุ่งเน้นไปที่การสร้างสิ่งกีดขวาง หรือ อุปสรรคต่อการประกอบอาชญากรรม ในขณะที่ ระดับทุติยภูมิ หมายถึง การให้ความสำคัญที่ประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมไป ตลอดจนการการควบคุมอาชญากรรม ในการตรวจจับ และการลงโทษผู้กระทำผิด สำหรับระดับตติยภูมินั้น คือ การสนใจไปที่สาเหตุของพฤติกรรมอาชญากร และการบำบัดฟื้นฟู หรือแก้ไขผู้กระทำผิด

Jeffery (1971) พยายามอธิบายให้เข้าใจโดยง่าย ว่าตัวอย่างของการป้องกันอาชญากรรมปฐมภูมิ เปรียบได้กับสาขาทางการแพทย์ ที่มีการระบายน้ำออกเพื่อรักษาไข้เหลือง การให้วัคซีน เพื่อป้องกันโรคโปลิโอ และการใช้วิธีทางโภชนาการและออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคหัวใจวาย ในขณะที่การป้องกันอาชญากรรมทุติยภูมิ จะรวมถึงการวินิจฉัยในระยะต้น และตรวจพบโรคหัวใจและมะเร็ง โดยมีมาตรการเพื่อควบคุมแพร่กระจายของโรคดังกล่าว สำหรับการป้องกันอาชญากรรมตติยภูมิ อธิบายได้ถึงการใส่หัวใจเทียมในผู้ป่วยซึ่งหัวใจแท้เดิมได้ถูกทำลายจากการขาดเลือด หรือการผ่าตัดครั้งใหญ่แก่ผู้ป่วยมะเร็งซึ่งเซลล์ร้ายนั้นได้แพร่กระจายไป

การป้องกันอาชญากรรม จึงเน้นการป้องกันในระยะเริ่มต้น คือ การป้องกันการกระทำนั้นๆ มีให้เกิดอาชญากรรมตั้งแต่แรก ไม่ได้สื่อถึงโปรแกรมการเบี่ยงเบนหันเห บ้านกึ่งวิถี หรือการระบุตัวเยาวชนหรือเด็กในช่วงแรกว่าจะมีพฤติการณ์กระทำผิด นอกจากนี้ ไม่ได้สื่อถึงการใช้การลาดตระเวนของตำรวจ หรือการลงโทษประหารชีวิตในลักษณะการป้องปรามด้วยเช่นกัน (Jeffery, 1971)

ในแนวคิดคล้ายๆ กัน Brantingham & Faust (1976) ได้อธิบายเกี่ยวกับรูปแบบแนวคิดการป้องกันอาชญากรรม 3 ระดับ ได้แก่ (1) การป้องกันปฐมภูมิ (primary prevention) ซึ่งมุ่งตรงไปที่การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่เป็นต้นเหตุพฤติกรรมอาชญากรในสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมโดยทั่วไป (2) การป้องกันทุติยภูมิ (secondary prevention) หมายถึง การมุ่งเน้นไปที่การระบุและแทรกแซงระยะแรกในชีวิตของบุคคลหรือกลุ่มคนในสภาพที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมอาชญากร และ (3) การป้องกันตติยภูมิ (tertiary prevention) ที่พุ่งเป้าไปที่การป้องกันการกระทำผิดซ้ำ ซึ่งการใช้รูปแบบแนวคิดเช่นนี้จะช่วยให้เกิดความชัดเจนต่อความพยายามในการป้องกันอาชญากรรม การเสนอแนะทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยในอนาคต

ในส่วนของ สถาบันวิจัยอาชญาวิทยาแห่งออสเตรเลีย (2003) มองว่า การป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิผล คือ การกระทำใดๆ ก็ตามที่ส่งผลต่อการลดลงของอาชญากรรม โดยจำนวนของผู้กระทำผิด และเหยื่อ โดยจุดมุ่งเน้นอยู่ที่สาเหตุมากกว่าผลกระทบของอาชญากรรม และเป้าหมายคือ การลดหรือกำจัดปัจจัยที่นำสู่อาชญากรรม ทั้งนี้ การป้องกันอาชญากรรมสามารถอธิบายได้ในลักษณะของระดับหรือระยะ 3 ขั้น กล่าวคือ ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ โดยอาจกล่าวได้ว่า การป้องกันอาชญากรรมแบบปฐมภูมิ มุ่งความสนใจไปที่การหยุดปัญหาก่อนที่จะเกิดขึ้น ซึ่งครอบคลุมถึงการลดโอกาสสำหรับอาชญากรรม และการเสริมสร้างโครงสร้างทางสังคมและชุมชน ด้วยเหตุนี้ การป้องกันอาชญากรรมปฐมภูมิ ให้ความสำคัญไปที่ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมภายนอก สำหรับการป้องกันอาชญากรรมทางสังคม เป็นการแก้ปัญหาที่ปัจจัยซึ่งมีอิทธิพลต่อการประกอบอาชญากรรม เช่น ความยากจน การว่างงาน การมีสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอ และการมีระดับการศึกษาต่ำ ตัวอย่างของการป้องกันในลักษณะนี้ ได้แก่ โปรแกรมในโรงเรียนและชุมชน เช่น โครงการแก้ไขการหนีโรงเรียน และโครงการที่กลุ่มผู้พักอาศัยในท้องถิ่นทำกิจกรรมสนับสนุนให้เกิดความรู้สึกร่วมกันในการเป็นเจ้าของและรักษาปกป้องชุมชน ฯลฯ ในขณะที่การป้องกันทางสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นการแก้ไขปัญหาที่สภาพแวดล้อม เช่น การออกแบบอาคารและภูมิสถาปัตย์ (สถาบันวิจัยอาชญาวิทยาแห่งออสเตรเลีย, 2003)การป้องกันอาชญากรรมทุติยภูมิ เป็นการเปลี่ยนแปลงสถานที่อยู่ของบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความเสี่ยงมากที่จะเป็นอาชญากรโดยอาชีพ ดังนั้น จุดมุ่งเน้นของระดับนี้จึงอยู่ที่การดำเนินโครงการ หรือการแทรกแซงในช่วงต้นที่มีประสิทธิภาพ อาทิ โครงการสำหรับเยาวชนต่างๆ หรือ มุ่งเน้นที่ไปบริเวณละแวกบ้านที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ศูนย์การระงับข้อพิพาทในชุมชนใกล้บ้าน สำหรับการป้องกันอาชญากรรมตติยภูมิ จะเน้นไปที่การทำงานของกระบวนการยุติธรรมและแก้ไขปัญหาการกระทำผิดหลังจากที่อาชญากรรมนั้นเกิดขึ้นแล้ว จุดมุ่งเน้นหลักคือโครงการที่เกี่ยวกับชีวิตของผู้กระทำผิดในความพยายามที่จะป้องกันไม่ให้กระทำผิดซ้ำ ตัวอย่างเช่น โครงการประชุมกลุ่มเยาวชนในชุมชน การตัดโอกาสกระทำผิดการฝึกอาชีพผู้กระทำผิดและโปรแกรมการบำบัดฟื้นฟูแก้ไข

สำหรับ Mackey (2011) เสนอมุมมองว่า กระบวนการยุติธรรมได้มามุ่งเน้นไปที่ตัวแบบสาธารณสุข (public health model) หรือตัวแบบทางการแพทย์ (medical model) มากกว่าการพิจารณาประสิทธิภาพของตำรวจในการตอบสนองและรายงานอัตราการเกิดอาชญากรรม โดยหากจะอธิบายถึงรูปแบบทางการแพทย์ สามารถเทียบเคียงได้ถึงวิธีการป้องกันบุคคลจากการเจ็บป่วยกรณีโรคหัวใจวาย ในกรณีนี้ น่าจะเป็นการดีกว่าหรือไม่ที่สังคมจะลดการตอบสนองต่ออันตรายจากหัวใจวาย โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเทคโนโลยีในห้องฉุกเฉินให้มีความก้าวหน้าเพียงอย่างเดียว ในการรับมือกับเหยื่อหัวใจวาย ทั้งๆ ที่บุคคลเหล่านั้นหากเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาหัวใจ เอาการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การเลิกสูบบุหรี่ก็จะลดความเสี่ยงจากหัวใจวาย (Farrington, 2000 อ้างใน Mackey, 2011)

ในส่วนของรูปแบบสาธารณสุข เมื่อนำมาประยุกต์กับพฤติกรรมอาชญากร จะเป็นการเน้นไปที่วิธีการ 3 ส่วนซึ่งมีการประสานและเชื่อมโยงกันเพื่อลดทั้งเหตุการณ์และความรุนแรงของพฤติกรรมอาชญากร ประกอบด้วย การป้องกันปฐมภูมิ การป้องกันทุติยภูมิ และการป้องกันตติยภูมิ (Shader, 2003 อ้างใน Mackey, 2011) กล่าวคือ

การป้องกันปฐมภูมิ มักจะมุ่งเน้นไปที่ความพยายามเชิงป้องกันและเชิงรุกให้ดีก่อนเริ่มเกิดอาชญากรรม โดยเน้นไปที่เด็กและเยาวชนที่มีความเสี่ยงจะกระทำผิดและะรวมถึงโปรแกรมก่อนคลอดบุตร โปรแกรมการเลี้ยงดูของบิดามารดา และโปรแกรมเด็กก่อนวัยเรียน ด้วยการป้องกันโอกาสที่เด็กจะกระทำผิด (Regoli, Hewitt, และ DeLisi, 2010 อ้างใน Mackey, 2011) อีกนับหนึ่งเป็นการให้ความสำคัญไปที่ในการปรับปรุงความเป็นอยู่ทางกายภาพที่ดีของมารดา ลดปัจจัยเชิงลบสำหรับทารกให้มากที่สุด เช่น น้ำหนักแรกคลอดที่ต่ำกว่าปกติ ความบกพร่องหรือพิการทางประสาทวิทยา และการสัมผัสกับพิษทางสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวเนื่องกับการความบกพร่องทางการศึกษาและพัฒนาการ ฯลฯ ปัจจัยทางลบทั้งหมดนี้มีความเชื่อมโยงกับความสำเร็จทางการศึกษาและอาจนำสู่ความเป็นไปได้มากที่จะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเบี่ยงเบนต่างๆ

การป้องกันทุติยภูมิ มุ่งเน้นไปที่ปัจเจก “บุคคลและสถานที่” ที่ถูกมองว่ามีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่พฤติกรรมเบี่ยงเบน (Regoli, Hewitt, และ DeLisi, 2010 อ้างใน Mackey, 2011) จุดสนใจของการป้องกันทุติยภูมิ คือ การลดระยะเวลา ความรุนแรง ของการมีส่วนร่วมในพฤติกรรมเบี่ยงเบน ดังนั้น การป้องกันทุติยภูมิจะมีกลุ่มเป้าหมายที่แคบกว่าโปรแกรมการป้องกันปฐมภูมิ นั่นคือ “กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงในการประกอบอาชญากรรม” แต่ไม่ได้ข้องเกี่ยวกับการกระทำผิดที่เรื้อรังหรือรุนแรง Farrington (2000 อ้างใน Mackey 2011) ระบุปัจจัยความเสี่ยงการเป็นอาชญากร 9 ประการสำหรับเด็กอายุระหว่าง 8 ถึง 10 ขวบในการศึกษาที่แยกออกจากกัน โดยจัดทำขึ้นในลอนดอน และพิตต์สเบิร์ก 3 ทศวรรษต่างกัน ตัวแปร 9 ประการ คือ การชอบทำกิจกรรมมากเกินไป การมีสมาธิสั้น การมีความสำเร็จระดับต่ำ การมีบิดาที่ต่อต้านสังคม การมีขนาดครอบครัวใหญ่ การที่ครอบครัวมีรายได้ต่ำ การมีครอบครัวแตกแยก การควบคุมดูแลจากบิดามารดาในระดับต่ำ และการแตกแยกของบิดามารดา เมื่อมีปัจจัยเหล่านี้เกิดขึ้นต้องเช้าแทรกแซงป้องกัน

การป้องกันตติยภูมิ เป็นการแสวงหาการป้องกันอาชญากรรมและผู้กระทำผิดที่ได้ประกอบอาชญากรรมไปแล้วมีให้กระทำผิดขึ้นอีก โดยเน้นการบำบัดรักษา ซึ่งเป็นจุดมุ่งเน้นสำคัญของการป้องกันอาชญากรรมระดับตติยภูมิ และเป็นการแก้ไขที่ปัจจัยเสี่ยงและเชิงรุก เช่นเดียวกับการแยกบุคคลเหล่านั้นออกจากปัจจัยเสี่ยงโดยโปรแกรมต่างๆ อาทิ โปรแกรมบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดและแอลกอฮอล์ อีกทั้งโปรแกรมทางการศึกษา เป็นต้น

สำหรับการแบ่งระดับของการป้องกันอาชญากรรมตามแนวทางของตัวแบบสาธารณสุข ที่ชัดเจนคืองานของสตีเวน แลบ (Steven Lab,2014) ที่เสนอรูปแบบของการป้องกันอาชญากรรมในแต่ละระดับดังนี้

การป้องกันปฐมภูมิ ครอบคลุมถึงการออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น การติดตั้งกล้องวงจรปิด การควบคุมการเข้าออกประตู ลูกกรงการเฝ้าระวังของคนในละแวกบ้านหรือชุมชนเดียวกันการสร้างความเกรงกลัวต่อคนทั่วไป จากการปราบปราม จับกุมการให้การศึกษาต่อสาธารณชน ในการป้องกันตนเองการป้องกันเด็กมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนและ การขจัดความยากจน จัดหางาน เป็นต้น

การป้องกันทุติยภูมิ ครอบคลุมถึงการระบุประชากรกลุ่มเลี่ยงเพื่อเข้าไปแทรกแซง การป้องกันตามสถานการณ์ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ และป้องกันและขจัดการแพร่ระบาดยาเสพติด เป็นต้น

การป้องกันตติยภูมิ การทำให้กลัวในระดับบุคคลต่อผู้คิดจะทำผิดการจำคุกผู้กระทำผิด และการอบรมแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดไม่ให้ทำผิดซ้ำ เป็นต้น

สรุป

การป้องกันอาชญากรรมมีความหมายและขอบเขตที่หลากหลายโดยอาจ หมายถึงการทำให้อาชญากรรมไม่เกิดขึ้นตั้งแต่แรก หรืออาจหมายถึงการทำให้อาชญากรรมที่เกิดขึ้นมาแล้วไม่เกิดขึ้นมาอีก ดังนั้นนักอาชญาวิทยาจึงได้จัดประเภทของการป้องกันอาชญากรรมออกเป็นตัวแบบต่างๆ โดยตัวแบบที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปคือตัวแบบที่มีแนวทางในการป้องกันอาชญากรรม 4 แนว คือ (1) การป้องกันโดยอาศัยกฎหมายและการลงโทษ เพื่อข่มขู่ยับยั้งให้คนที่จะคิดทำผิดเกรงกลัวและคนที่ทำผิดแล้วไม่กล้าทำผิดขึ้นอีก เป็นการตัดมูลเหตุจูงใจโดยการทำให้กลัว (2) การป้องกันโดยการปรับสภาพแวดล้อมและขจัดปัจจัยที่นำไปสู่การกระทำผิด เช่น ขจัดความยากจน การขาดการศึกษา ควบคุมแหล่งอบายมุข พัฒนาอาชีพ ที่อยู่อาศัย เป็นการป้องกันโดยให้การพัฒนาเป็นแกนนำ (Development –led approach) นอกจากนี้ยังป้องกันโดยการแก้ไขพัฒนาคนที่ทำผิดแล้วให้กลับคืนสู่สังคม โดยกระทำผิดซ้ำขึ้นอีกเป็นการตัดข้อมูลเหตุจูงใจโดยการทำให้มีวินัยและไม่คิดที่จะทำผิด (3) การป้องกันโดยสภาพแวดล้อมทางกายภาพโดยใช้การออกแบบและเทคโนโลยีในการขัดขวางการเกิดอาชญากรรมมิให้เกิดขึ้น เป็นการตัดช่องโอกาสในการทำผิดโดยใช้ เหล็กดัด ลูกกรง วงจรปิด ประตูไฟฟ้า สัญญาณเตือนภัย และการออกแบบเมือง ฯลฯ และ (4) การป้องกันโดยใช้สภาพแวดล้อมนามธรรมโดยการรวมตัวกันของคนในชุมชนในการเป็นหูเป็นตาตัดช่องโอกาสในการกระทำผิด

การป้องกันทั้ง 4 แนวต้องทำไปด้วยกัน คือตัดมูลเหตุจูงใจและตัดช่องโอกาสในการกระทำผิด โดยแนวทางในการป้องกันอาชญากรรมทั้ง 4 แนว สามารถอยู่ในระดับการป้องกันอาชญากรรมทั้ง 3 ระดับ กล่าวคือการป้องกันระดับปฐมภูมิเป็นการป้องกันมิให้เกิดอาชญากรรมตั้งแต่แรกจะครอบคลุมถึงการป้องกันแนวที่ 1 ในการยับยั้งคนทั่วไป แนวที่ 2 ในส่วนของการพัฒนาเด็กและเยาวชนและขจัดปัจจัยที่นำไปสู่อาชญากรรมและแนวที่ 3 และ 4 ซึ่งเป็นการตัดของโอกาสมิให้มีการกระทำผิด ส่วนการป้องกันในระดับทุติยภูมิ จะครอบคลุมถึงการขจัดแหล่งอบายมุข แหล่งเสื่อมโทรม การจัดให้มี งานทำ เป็นต้น และการป้องกันในระดับตติยภูมิ จะเกี่ยวข้องกับการป้องกันในแนวที่ 2 ในการแก้ไขอบรมผู้กระทำผิดมิให้กลับไปกระทำผิดขึ้นใหม่และแนวที่ 1 ในการลงโทษคนที่ทำผิดให้เข็ดหลาบ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการแยกพิจารณาเป็นตัวแบบและระดับของการป้องกันอาชญากรรมแล้ว ความไม่ลงรอยในการจัดประเภทของการป้องกันอาชญากรรมก็ยังคงอยู่

บรรณานุกรม

นัทธี จิตสว่าง (2555) ความหมายและขอบเขตของการป้องกันอาชญากรรม สืบค้นจาก

//www.gotoknow.org.posts.

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (2526) การควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม: หลักทฤษฎีและมาตรการ, กรุงเทพ:

โอเดียนสโตร์

Australian Institute of Criminology (2003). ICrime Reduction that matters. 20 May 2003.

//aic.gov.au/publications/crm/crm001

Australian Institute of Criminology (2017) Crime Prevention Approaches: Theory and

Mechanisms. Retrieved from //aic.gov.au/publications/rpp/rpp120/crime- prevention-approaches-theory-and-mechanisms

Brantingham, P. J., & Faust, F. L. (1976). A Conceptual Model of Crime Prevention. Crime &

Delinquency, 22(3), 284–296. //doi.org/10.1177/001112877602200302

Clarke, Ronald V. (2010) Situational Crime Prevention, Colorado: Lynne Reiner Publishers Inc.

Homel, R. et al. (1999) Pathways to Prevention: Developmental and Early Intervention Approaches to Crime in Australia. Commonwealth Attorney-General’s Department, Canberra. Retrieved from //aic.gov.au.downloadpdf.

Homel, R. (2005). Developmental Crime Prevention. In Nick Tilley (Ed.), Handbook of Crime

Prevention and Community Safety (pp. 71-106). Cullumpton, Devon, UK: Willan Publishing.

Homel, R. (2006) The Pathways to Prevention Project: Doing Development Prevention in a

Disadvantaged Community. Retrieved from //www.aic.gov.au/publications/tandi/tandi323

Felson, R. B. (2009). Violence, Crime, and Violent Crime. International Journal of Conflict and

Violence. Vol.3(1), pp/ 23 – 39. Retrieved from //www.ijcv.org/index.php/ijcv/article/view/46

Freilich, J. D. and Newman, G. R. (2017). Situational Crime Prevention. Oxford Research

Encyclopedia of Criminology.

Jeffery, C. R. (1971) Crime Prevention through Environmental Design. Beverly Hills, CL: Sage

Mackey, D. A. (2011) Introduction to Crime Prevention, in Mackey, D. A and Levan, K.

(eds). Crime Prevention. Burlington, MA: Jones & Bartlett Publishers.

Office for National Statistics. (2018). The nature of violent crime in England and Wales: year

ending March 2017 [E-reader version]. Retrieved from

//www.ons.gov.uk/peoplepopulationandcommunity/crimeandjustice/articles/thenatureofviolentcrimeinenglandandwales/yearendingmarch2017

รูปแบบอาชญากรรมมีอะไรบ้าง

อาชญากรรมแบ่งตามประเภท.

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์.

การเสพและค้ายาเสพติด.

การทารุณกรรมสัตว์.

การข่มขืนกระทำชำเรา.

การหลอกลวง.

การค้ามนุษย์และการค้าประเวณี.

ความรุนแรงในครอบครัว.

ทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรมประกอบด้วยอะไรบ้าง

รู้จัก ทฤษฎี #สามเหลี่ยมอาชญากรรม Crime Triangle Theory ที่อธิบายถึงสาเหตุหรือองค์ประกอบของการเกิดอาชญากรรม ได้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย ประกอบด้วยด้านต่าง ๆ ของสามเหลี่ยม 3 ด้าน คือ เป้าหมาย,ผู้ก่อเหตุ,โอกาส เพื่อรู้เท่าทันและป้องกันตัว ก่อนเกิดเหตุร้าย

ThaiPBSnews.

อาชญากรรมพื้นฐาน มีอะไรบ้าง

2.2 อาชญากรรมพื้นฐานหมายความถึงอาชญากรรมที่เกี่ยวกับการประทุษร้าย ต่อทรัพย์ ชีวิต ร่างกาย และหรือชีวิตของบุคคลอื่น ตัวอย่างของอาชญากรรมพื้นฐาน เช่น ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกายผู้อื่นฆ่าผู้อื่น เป็นต้น อาชญากรรมพื้นฐาน เป็นอาชญากรรมที่เกิดขึ้นแรกเริ่มเมื่อมีสังคมของมนุษย์และเป็นอาชญากรรมที่ปรากฏ อยู่ ...

การก่ออาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือ.

การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งรวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ.

อาชญากรนำเอาระบบการสื่อสารมาปกปิดความผิดของตนเอง.

การละเมิดสิทธิ์ปลอมแปรงรูปแบบ เลียนแบบระบบซอพต์แวร์โดยมิชอบ.

ใช้คอมพิวเตอร์แพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม.

ใช้คอมพิวเตอร์ฟอกเงิน.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้