ตรวจโรคห วใจท รพ.ภ ม พล ค าใช จ ายเท าไหร

โรคหัวใจ ถือเป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยสูงเป็นอันดับต้นๆ โดยในผู้ป่วยบางรายมักมีสัญญาณเตือนก่อน เช่น เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกาย เจ็บหน้าอก หายใจเข้าได้ลำบาก เป็นต้น แต่ในผู้ป่วยบางรายก็ไม่มีอาการแสดงแต่อย่างใด คุณเป็นโรคหัวใจหรือไม่? รู้ได้ด้วยวิธีการตรวจวินิจฉัยเหล่านี้

  • ประวัติสุขภาพและการตรวจร่างกาย(Medical history and Physical examination)
  • การตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
  • การบันทึกคลื่นไฟฟ้าชนิดติดตัว (Holter Monitoring)
  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST)
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)
  • การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
  • การตรวจวินิจฉัยด้วยการสวนหัวใจ (Coronary Artery Angiography)
  • การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan 128 slice)
  • การตรวจหาระดับเอนไซม์ในเลือด (Cardiac enzyme)
  • การเอกซเรย์ปอดและหัวใจ (Chest X-Rays)

*โปรแกรมในการตรวจจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ด้วย

การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน EST (Exercise Stress Test) เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคหัวใจ โดยให้ผู้ป่วยออกกำลังกายโดยการวิ่งบนสายพานซึ่งสามารถช่วยในการวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดขณะออกกำลังกาย ช่วยให้แพทย์ตรวจพบการตอบสนองที่ผิดปกติ เช่น หายใจลำบาก เจ็บแน่นหน้าอก อัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ หรือ มีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

ภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริก (Atrial Fibrillation) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า AF หรือ A-Fib เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดถึงร้อยละ 1 – 2 รายในประชาชนทั่วไป และพบบ่อยขึ้นตามอายุ โดยประชาชนในกลุ่มอายุ 80 – 90 ปี พบสูงสุดถึงร้อยละ 5 – 15 ซึ่งโรคหัวใจเต้นระริกเป็นเหตุให้เกิดโรคสมองขาดเลือดประมาณ 120,000 รายต่อปีทั่วโลก หรือกล่าวได้ว่า 1 ใน 4 ของผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดทั้งหมดเป็นผลมาจากเป็นโรคหัวใจเต้นระริก ซึ่งทำให้มีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง เกิดภาวะทุพพลภาพมากขึ้น และอายุขัยที่สั้นลง ดังนั้นการป้องกันโรคสมองขาดเลือดจากภาวะหัวใจเต้นระริกจึงเป็นอีกเป้าหมายสำคัญในการรักษา ซึ่งปัจจุบันมีวิธีการรักษาหลายวิธี โดยมียาป้องกันการเกิดลิ่มเลือดเป็นหัวใจหลักในการป้องกันรักษา

รู้จักภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริก

ภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริกเป็นภาวะที่หัวใจห้องบนเต้นแบบกระจัดกระจายไร้ความสามัคคี ทำให้แรงบีบตัวของหัวใจห้องบนเสียไป เลือดจึงหมุนวนตกค้างในหัวใจห้องบนจนก่อให้เกิดลิ่มเลือด ซึ่งสามารถหลุดออกจากหัวใจไปอุดกั้นหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์และอัมพาตเฉียบพลันได้ โดยมีโอกาสสูงกว่าคนทั่วไปถึง 5 เท่า นำไปสู่ความพิการและเสียชีวิตในที่สุด อีกทั้งยังส่งผลให้หัวใจห้องล่างเต้นเร็วและไม่สม่ำเสมอ ทำให้แรงบีบตัวเพื่อสูบฉีดเลือดลดน้อยลง ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมจะนำไปสู่ภาวะหัวใจวายในที่สุด

สาเหตุภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริก

  • โรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เป็นต้น
  • โรคระบบอื่น ๆ เช่น โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคปอดเรื้อรัง โรคถุงลมโป่งพอง ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะหลังการผ่าตัดใหญ่ ภาวะเลือดออกในสมองและสมองขาดเลือด เป็นต้น

อาการภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริก

ผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริกเกือบครึ่งหนึ่งไม่มีอาการ แต่ต้องมาพบแพทย์ด้วยภาวะแทรกซ้อนของโรค โดยเฉพาะอัมพาตตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแทน ส่วนอาการที่มาพบแพทย์ก็ไม่ได้เฉพาะเจาะจง ดังต่อไปนี้

  • ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เต้นไม่สม่ำเสมอ
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ทำกิจวัตรประจำวันหรือออกกำลังกายได้ลดลง
  • เจ็บหรือแน่นหน้าอกหายใจลำบาก
  • เวียนศีรษะ หน้ามืดเป็นลมหมดสติ

ตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริก

  • การตรวจชีพจรและอัตราการเต้นของหัวใจเป็นการตรวจเบื้องต้นที่ง่าย สามารถทำได้ด้วยตนเอง หรือใช้โปรแกรมในโทรศัพท์มือถือ
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram) เป็นการตรวจที่จำเป็นที่สุดในการวินิจฉัย ซึ่งสามารถทำได้ในโรงพยาบาลทุกแห่ง หรือใช้อุปกรณ์ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพาที่นอกโรงพยาบาล
  • การตรวจอื่น ๆ ทางห้องปฏิบัติการ เช่น
    • การตรวจหาภาวะโลหิตจางหรือไตวาย
    • การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
    • การตรวจเอกซเรย์ปอด
    • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography)

ตรวจชีพจรได้ด้วยตนเอง

  • การบีบตัวของหัวใจในแต่ละครั้ง ทำให้เกิดแรงขับดันโลหิตไปปะทะกับหลอดเลือดแดงที่ยืดหยุ่น แรงปะทะซึ่งสัมผัสได้จากภายนอกบริเวณที่หลอดเลือดแดงอยู่ตื้นติดกับผิวหนังและหายไปเมื่อหัวใจคลายตัวเรียกว่า ชีพจร หากหัวใจเต้นปกติจะสัมผัสชีพจรได้ชัดเจนและมาเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ทิ้งระยะห่างที่คงที่ระหว่างแต่ละครั้ง
  • เบื้องต้นเริ่มฝึกตรวจชีพจรข้อมือก่อน เนื่องจากตรวจได้ง่ายที่สุด เริ่มต้นโดยหงายข้อมือข้างที่ไม่ถนัด คลำโดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือข้างที่ถนัดสัมผัสที่ร่องบริเวณใต้ข้อมือด้านฐานของนิ้วโป้งจะคลำได้เส้นเลือดเต้นอย่างชัดเจน เมื่อชำนาญแล้วท่านสามารถฝึกคลำชีพจรที่อื่นได้เช่นกัน เช่น ชีพจรที่คอ สามารถคลำได้ที่ร่องข้างคอหอย แต่ไม่ควรคลำแรง เพราะอาจทำให้หน้ามืดหรือหมดสติได้
  • เมื่อคลำชีพจรได้ชัดเจนแล้ว ขั้นต่อไปให้นับจำนวนครั้งที่คลำได้ใน 1 นาที จำนวนที่นับได้ใน 1 นาทีเรียกว่าความเร็วของชีพจร ระหว่างนับให้สังเกตว่าชีพจรที่คลำได้มีความแรงและจังหวะที่สม่ำเสมอหรือเว้นระยะคงที่หรือไม่
  • ชีพจรผิดปกติ คือ คลำได้ไม่สม่ำเสมอทั้งความแรงและจังหวะ หากตรวจพบให้สงสัยภาวะหัวใจเต้นระริก และควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจยืนยันก่อน เพราะบ่อยครั้งอาจคลำได้ชีพจรมาสะดุดเป็นครั้งคราว ซึ่งลักษณะชีพจรที่ผิดปกติแบบนี้สามารถพบได้และไม่เป็นอันตราย

รักษาภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริกและป้องกันโรคสมองขาดเลือด

การรักษาภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริกมีวัตถุประสงค์หลักคือ รักษาอาการและลดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งลดโอกาสเสียชีวิตและโอกาสต้องเข้าโรงพยาบาล โดยการรักษาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุของผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วย อาการของผู้ป่วยโรคอื่นที่เป็นร่วมด้วย เป็นต้น โดยมีวิธีการหลักดังนี้

  • การใช้ยาเพื่อควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจไม่ให้เร็วจนเกินไป (Rate Control) หรือควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจให้กลับมาเต้นปกติ (Rhythm Control)
  • ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหัวใจ ซึ่งทำให้เกิดหลอดเลือดอุดตันในอวัยวะสำคัญส่วนอื่นของร่างกายตามมา
  • การใช้ไฟฟ้ากระตุ้นเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ (Cardioversion) ให้กลับมาเต้นปกติ
  • การใช้สายสวนหัวใจเพื่อจี้ตัดวงจรไฟฟ้าผิดปกติในหัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นความร้อน (Radiofrequency Ablation) หรือความเย็นจัด (Cryoablation) ทำให้หัวใจกลับมาเต้นปกติ

รู้จักยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด

ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด บางครั้งเรียกว่ายาต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อต้านระบบการแข็งตัวของเลือดที่ซับซ้อน ยาที่ใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นระริกมีอยู่หลายกลุ่มและออกฤทธิ์ต่อระบบการแข็งตัวของเลือดที่ต่างตำแหน่งกัน ได้แก่

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้