ดาวน โหลดค ม อคร อ กษรเจร ญท ศน

Www.Prapasara Download

  • Publications :0
  • Followers :0

(คู่มือ)หนังสือเรียนสสวท พื้นฐานคณิตศาสตร์ม.1 ล.2

(คู่มือ)หนังสือเรียนสสวท พื้นฐานคณิตศาสตร์ม.1 ล.2 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!

Create your own flipbook

View Text Version Likes : 0 Category : All Report

  • Follow
  • Upload
  • 0
  • Embed
  • Share

(คู่มือ)หนังสือเรียนสสวท พื้นฐานคณิตศาสตร์ม.1 ล.2

ปฏิทินจันทรคติจีน ปฏิทินจีน เป็นปฏิทินแบบดั้งเดิมที่ใช้ในประเทศจีนหรือคนเชื้อสายจีน มักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิทินการเกษตร (农历/太阴历) ปฏิทินจีนใช้การโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ และการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ เป็นเกณฑ์ในการกำหนด เดือน ค่ำ ฤดูกาล เทศกาล วันไหว้ วันพระต่าง ๆ ตามวัฒนธรรมจีนดั้งเดิม รวมถึงกฎเกณฑ์ทางโหราศาสตร์จีน เช่น การเปลี่ยนปีนักษัตร ราศีฤดู ราศีวัน ราศีปี ยุคดาว ดาวยุคประจำปี รหัสปีเกิดชายหญิง หรืออื่น ๆ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน รูปแบบ กฎเกณฑ์ และข้อกำหนดของปฏิทินที่ควรทราบ สรุปเป็นข้อ ๆ ดังนี้

[1] ปฏิทินจันทรคติจีน/ปฏิทินจีนชุดนี้ คำนวณตามกฎเกณฑ์ปฏิทินจันทรคติจีนสากล ตรวจทานถูกต้องตรงกันกับปฏิทินจันทรคติจีน กรมอุตุนิยมวิทยา ฮ่องกง (HKO) ตรวจทานกับปฏิทินจีนที่มีตีพิมพ์ในไทย ในบางฉบับบางปี เฉพาะสารทที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนวันหลังเวลา 23:00น. อาจมีนับตัดรอบวันไม่ตรงกัน

[2] การเปลี่ยนวันตามปฏิทินจันทรคติจีน ใน 1 วันของปฏิทินจันทรคติจีนจะมี 12 ยาม แบ่งยามละ 2 ชั่วโมง เริ่มต้นวันใหม่นับยามแรกที่ยามจื่อ (子) เวลา 23.00 - 00.59น. และยามสุดท้าย ยามที่ 12 สิ้นสุดเวลา 22.59น. โดยเวลาเที่ยงคืนจะเป็นเวลากึ่งกลางยามจื่อ ตามเวลามาตรฐานหรือสถานที่นั้น ๆ สำหรับประเทศไทยปัจจุบัน เวลาเริ่มต้นยามจื่อ เริ่มต้นวันใหม่ ก็คือเวลา 23.00น. เวลามาตรฐานประเทศไทย (UTC+07:00) เวลาหลังจากนั้นก็จะถือเป็นวันใหม่

เวลาเปลี่ยนสารท และเวลาในปฏิทินจีนชุดนี้ จะเป็นเวลามาตรฐานประเทศไทย (UTC+07:00) หรือตามที่ใช้จริงในช่วงปีนั้น ๆ

เวลาเปลี่ยนสารททั้ง 24 ในปฏิทินจีนชุดนี้ คำนวณจากตำแหน่งองศาอาทิตย์ ละเอียดระดับวินาที แบบดาราศาสตร์ (Tropical Zodiac) ตามกฏเกณฑ์การคำนวณปฏิทินจีนดั้งเดิมรัชสมัยของจักรพรรดิคังซี (康熙) แสดงเป็นเวลามาตรฐานประเทศไทย (UTC+07:00) หรือตามที่ใช้จริงในช่วงปีนั้น ๆ , สามารถสอบทานผลเวลา หรือเกณฑ์คำนวณเวลาได้ เช่น สารทที่ 4 ชุนฮุน (春分) วันเวลาย้ายสารท จะต้องตรงกันกับวันเวลา วสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) หรือเริ่มต้นฤดูกาลทางดาราศาสตร์ เป็นต้น

เทียบเวลามาตรฐานประเทศจีน และ เวลามาตรฐานประเทศไทย ที่มีอ้างอิงหรือตัดรอบวันในปฏิทินจีนบางเล่ม มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา ดังนี้ (1.) ก่อน 1 เมษายน พ.ศ.2463 ประเทศไทยใช้เวลามาตรฐานกรุงเทพฯ UTC+06:42 เป็นเวลามาตรฐาน ส่วนประเทศจีนใช้เวลามาตรฐานปักกิ่ง UTC+07:45 เป็นหลัก ช่วงห่างเวลาคือ 63 นาที , (2.) หลัง 1 เมษายน พ.ศ.2463 ประเทศไทยเริ่มใช้เวลามาตรฐาน UTC+07:00 ในขณะที่ประเทศจีนยังใช้เวลามาตรฐานปักกิ่ง ดังนั้นช่วง พ.ศ.2463 - 2492 (ค.ศ.1920 - 1949) ช่วงเวลาจะต่างกัน 45 นาที , (3.) หลังปี พ.ศ.2492 ถึงปัจจุบัน ประเทศจีนเริ่มใช้เวลามาตรฐาน UTC+08:00 จะต่างกับเวลามาตรฐานประเทศไทย 1 ชั่วโมง

[3] การเปลี่ยนปีนักษัตรจีน การเริ่มต้นนับราศีฤดู ราศีปี ขวบปีใหม่ ยุคดาว รหัสปีเกิด ตามปฏิทินจันทรคติจีน จะเปลี่ยนใน

วันสารทลิบชุน

(立春) ซึ่งเป็นสารทแรกของปี ประมาณช่วงวันที่ 3 - 5 กุมภาพันธ์ , ตามกฎเกณฑ์ปฏิทินจีนโบราณ วันตรุษจีน (春节) แต่เดิมมีชื่อเต็มว่า วันเทศกาลสารทลิบชุน (立春) ซึ่งแปลว่าเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ เริ่มฤดูกาลในระบบ 24 ฤดูกาล (สารท) ในฐานะที่เป็นประเทศเกษตรกรรม ชาวจีนโบราณจะให้ความสำคัญกับวันสารทลิบชุนเป็นอย่างมาก อากาศเริ่มอุ่น หิมะเริ่มละลาย เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าฤดูใบไม้ผลิได้เริ่มต้นแล้ว เริ่มต้นทำการเกษตรได้ มีการจัดงานเลี้ยงฉลองยิ่งใหญ่ ทั้งในพระราชวังและชาวบ้านทั่วไป

ภายหลังการปฏิวัติซินไฮ่ (辛亥革命) โค่นล้มราชวงศ์ชิง เปลี่ยนการปกครอง และสถาปนาสาธารณรัฐจีนสำเร็จ (พ.ศ.2455) ในช่วงแรก ดร. ซุน ยัตเซน เป็นประธานาธิบดี ได้มีประกาศล้มล้างกฎเกณฑ์ที่ใช้ยุคสมัยจักรพรรดิราชย์ หนึ่งในนั้นคือยกเลิกปฏิทินเก่า โดยเปลี่ยนวันหยวนต้าน (元旦) หรือ เทศกาลปี (年节) ซึ่งเดิมตรงกับ วัน 1 ค่ำ เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติจีน เป็นวันที่ 1 มกราคม วันขึ้นปีใหม่ ตามปฏิทินสุริยคติสากลแทน

หลังจากนั้น 2 ปี (พ.ศ.2457) หยวนซื่อไข่ เป็นประธานาธิบดี ได้กำหนด วันหยุด 4 ฤดูกาล (四季节假呈) มีประกาศเปลี่ยนวัน 1 ค่ำ เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติจีน หรือวันหยวนต้าน (元旦) เดิม เป็นวันตรุษจีน (春节) แทน ทำให้เทศกาลสารทลิบชุน หรือ

วันตรุษจีนเดิม

ที่มีมามากกว่าสองพันปีได้ค่อย ๆ สูญหายกลายเป็นเพียงช่วงเวลาหนึ่งของสารทฤดูกาล , การเปลี่ยนปีนักษัตร ตามกฎเกณฑ์ปฏิทินจีนดั้งเดิม เปลี่ยนปีนักษัตรวันสารทลิบชุน (立春) ปี พ.ศ.2567 เปลี่ยนปีนักษัตรจาก ปีเถาะ (癸卯) เป็น ปีมะโรง (甲辰) ใน

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 เวลา 15:27น.

ทั้งนี้หากเทียบปฏิทินจีนที่ตีพิมพ์บางเล่ม ปีนักษัตรอาจไม่ตรงกันเพราะบางเล่มกำหนดวันตรุษจีน เป็นวันเปลี่ยนปีนักษัตร หรือให้วันสารทตังโจ่ย (冬至) เป็นวันเปลี่ยนปีนักษัตรก็มี , ปีนักษัตรจีนมีลำดับดังนี้ ปีชวด (鼠) , ปีฉลู (牛) , ปีขาล (虎) , ปีเถาะ (兔) , ปีมังกร(มะโรง) (龙) , ปีมะเส็ง (蛇) , ปีมะเมีย (马) , ปีมะแม (羊) , ปีวอก (猴) , ปีระกา (鸡) , ปีจอ (狗) , ปีกุน (猪) , ปีนักษัตรจีนลำดับจะเหมือนนักษัตรไทย แตกต่างกันตรงช่วงเวลาเปลี่ยนปีนักษัตร

[4] เดือนจีน เดือนจันทรคติจีน คล้ายกับเดือนจันทรคติไทย แตกต่างตรงการนับวัน ซึ่งนับ 1 - 29 หรือ 1 - 30 วัน (ค่ำ) คล้ายกับค่ำในปฏิทินจันทรคติไทย ไม่นับแยกข้างขึ้น ข้างแรม ในแต่ละเดือนจะมีวันพระ 2 ครั้ง คือ วัน 1 ค่ำ (วันชิวอิก) และวัน 15 ค่ำ (วันจับโหงว) ซึ่งวันพระจีนอาจตรงหรือไม่ตรงกับวันพระตามปฏิทินจันทรคติไทย รวมถึงเดือนและวันจันทรคติไทย กับเดือนและวันจันทรคติจีนอาจไม่ตรงกัน เป็นเพราะกฎเกณฑ์เงื่อนไข ข้อกำหนด การวางกฏเกณฑ์ปฏิทินต่างกัน

ปีจันทรคติจีนปรกติ จะมี 354 หรือ 355 วัน ใน เดือนเล็ก/เดือนขาด เสี่ยวเยว่ (小月) มี 29 วัน ส่วนเดือนใหญ่/เดือนเต็ม ต้าเยว่ (大月) มี 30 วัน การวางเดือนใหญ่ เดือนเล็กอาจแตกต่างกันในแต่ละปี ไม่จำเป็นต้องเป็นเดือนคู่ เดือนคี่ แบบปฏิทินจันทรคติไทย , ประมาณทุก ๆ 3 - 4 ปี จะมีการเพิ่มเดือนซ้ำครั้งหนึ่ง คล้ายกับเดือน อธิกมาส ในระบบปฏิทินจันทรคติไทย , หากปีใดมีเดือนซ้ำ ช่วนเยว่ (閏月)) ปีปฏิทินฯ จะมีจำนวนวัน 383 หรือ 384 วัน , ระบบอธิกมาสในปฏิทินจันทรคติจีน ไม่จำเป็นว่าต้องเพิ่มเดือนตรงเดือนแปด มีเดือนแปดสองหน (๘๘) แบบปฏิทินจันทรคติไทย จะเพิ่มเดือนตรงเดือนไหนก็ได้ใน 12 เดือน , ในปฏิทินข้างต้น ในบางปีที่มีเดือนเพิ่มจะระบุเลขเดือนเป็นเลขซ้ำ เช่น 66 หมายถึงเดือน 6 หลังที่เพิ่มมา , ทุก ๆ 19 ปี จะมี การเพิ่มเดือนหรืออธิกมาสจีน ประมาณ 7 ครั้ง

เดือนจันทรคติจีน มี 12 เดือนดังนี้ 1.เจิง เยว่ (正月) , 2.เอ้อ เยว่ (二月) , 3. ซาน เยว่ ( 三月) , 4.ชื่อ เยว่ (四月) , 5.อู่ เยว่ (五月) , 6.六月 (ลิ่ว เยว่) , 7.ชี เยว่ (七月) , 8.ปา เยว่ (八月) , 9.จิ่ว เยว่ (九月) , 10. สือ เยว่ (十月) , 11.ดอง เยว่ (冬月) , 12.หล้า เยว่ ( 腊月)

[5] สารทจีนในแต่ละขวบปีจะมี 24 สารท แต่ละเดือนจะมี 2 สารท มีลำดับดังนี้ 1.สารทลิบชุน (立春) , 2.สารทอู่จุ้ย (雨水) , 3.สารทเก๋งเต็ก (驚蟄) , 4.สารทชุนฮุน (春分) , 5.สารทเช็งเม้ง (清明) , 6.สารทก๊อกอู๋ (穀雨) , 7.สารทลิบแฮ่ (立夏) , 8.สารทเสี่ยวมั๊ว (小滿) , 9.สารทมั่งเจ็ง (芒種) , 10.สารทแฮ่จ็ง (夏至) , 11.สารทเสี่ยวซู๊ (小暑) , 12.สารทไต้ซู๊ (大暑) , 13.สารทลิบชิว (立秋) , 14.สารทซู่ซู๊ (處暑) , 15.สารทแปะโล่ว (白露) , 16.สารทชิวฮุน (秋分) , 17.สารทฮั่งโล่ว (寒露) , 18.สารทซึงกั่ง (霜降) , 19.สารทลิบตัง (立冬) , 20.สารทเสี่ยวเสาะ (小雪) , 21.สารทไต้เสาะ (大雪) , 22.สารทตังโจ่ย (冬至) , 23.สารทเสี่ยวฮั้ง (小雪) , 24.สารทไต้ฮั้ง (大寒) , โดยสารทเลขคี่ จะเป็นสารทใหญ่ (โจ๊ย : 节) ส่วนสารทเลขคู่ จะเป็นสารทเล็ก (ขี่ : 气)

[6] ปฏิทินจีน ชื่อราศีบน ราศีฟ้า ทั้ง 10 ราศี คือ กะ (甲) ธาตุไม้ - พลังเอี้ยง , อิก (乙) ธาตุไม้ - พลังอิม , เปี้ย (丙) ธาตุไฟ - พลังเอี้ยง , เต็ง (丁) ธาตุไฟ - พลังอิม , โบ่ว (戊) ธาตุดิน - พลังเอี้ยง , กี้ (己) ธาตุดิน - พลังอิม , แก (庚) ธาตุทอง - พลังเอี้ยง , ซิง (辛) ธาตุทอง - พลังอิม , หยิ่ม (壬) ธาตุน้ำ - พลังเอี้ยง , กุ่ย (癸) ธาตุน้ำ - พลังอิม

ปฏิทินจีน ชื่อราศีล่าง ราศีดิน ทั้ง 12 ราศี คือ จื้อ (子) ปีชวด - ธาตุน้ำ - พลังเอี้ยง , ทิ่ว (丑) ปีฉลู - ธาตุดิน - พลังอิม , เอี้ยง (寅) ปีขาล - ธาตุไม้ - พลังเอี้ยง , เบ้า (卯) ปีเถาะ - ธาตุไม้ - พลังอิม , ซิ้ง (辰) ปีมะโรง - ธาตุดิน - พลังเอี้ยง , จี๋ (巳) ปีมะเส็ง - ธาตุไฟ - พลังอิม , โง่ว (牛) ปีมะเมีย - ธาตุไฟ - พลังเอี้ยง , บี่ (未) ปีมะแม - ธาตุดิน - พลังอิม , ซิม (申) ปีวอก - ธาตุทอง - พลังเอี้ยง , อื้ว (酉) ปีระกา - ธาตุทอง - พลังอิม , สุก (戌) ปีจอ - ธาตุดิน - พลังเอี้ยง , ไห (亥) ปีกุน - ธาตุน้ำ - พลังอิม

วันขึ้นปีใหม่ไทย ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ กำหนดวันขึ้นปีใหม่ในวันขึ้น ๑ ค่ำเดือนห้า(๕) ตามคติพราหมณ์ - ฮินดู และใช้จนวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงได้ทรงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็น วันที่ 1 เมษายน แทน และใช้จนถึง พ.ศ.2483 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ทรงมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทยตามสากลประเทศ จากวันที่ 1 เมษายน เป็น วันที่ 1 มกราคม โดยเริ่มใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484 เป็นต้นมา , ในปี พ.ศ.2483 ถ้านับถึงเปลี่ยนปีใหม่ เลือนวันจาก 1 เมษายน เป็นวันที่ 1 มกราคม ปรับปีใหม่เร็วขึ้น จำนวนเดือนในปีปฏิทินไทยจึงหายไป 3 เดือน ดังนั้นในปี พ.ศ.2483 หากนับช่วงเวลา มี 9 เดือน โดยวันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม พ.ศ.2483 ไม่มีอยู่ในปีปฏิทินไทยที่ใช้จริง แต่ตามปฏิทินสุริคติซึ่งตรงกับปี ค.ศ.1940 ช่วงเวลาในปฏิทินดังกล่าวใช้ตามปรกติ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้