ม อเป น ลายแตกเต มไปหมด เส นลายม อ

มะเร็งเต้านม ถือเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดอันดับ1 ของหญิงไทย อาการผิดปกติเกี่ยวกับเต้านมผู้หญิงจึงควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ หนึ่งในอาการนั้นก็คืออาการเจ็บเต้านม อาการเจ็บเต้านม มักจะแยกได้ยาก เนื่องจากมีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้อง โดยทั่วไปสามารถแบ่งอาการเจ็บได้เป็น 2 ลักษณะ

1. อาการเจ็บเต้านมที่สัมพันธ์กับประจําเดือน

เป็นอาการเจ็บเต้านมที่พบในผู้หญิงได้มากที่สุด มักเกิดขึ้นในช่วงไข่ตกหรือช่วงมีประจำเดือนของทุก ๆ เดือน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเทอโรนในร่างกาย โดยจะมีอาการในช่วงก่อนมีประจำเดือน และค่อย ๆ ลดลงเมื่อประจำเดือนรอบนั้นหมด รวมเวลานานเป็น7-10 วัน หรือปวดระหว่างรอบเดือนในช่วงไข่ตกไม่กี่วัน ปวดแบบตื้อ ๆ หนัก ๆ หรือปวดร้าวไปบริเวณแขนหรือรักแร้ เต้านมบวม แข็งเป็นก้อนได้ มักเกิดกับเต้านมทั้ง 2 ข้าง ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงอายุประมาณ 20-30 ปี และอาจพบได้น้อยลงในช่วงเกิน 40 ปี เนื่องจากใกล้เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน อีกช่วงที่หญิงวัยเจริญพันธุ์จะมีประสบการณ์ในการเจ็บเต้าได้ คือ ช่วงตั้งครรภ์ และช่วงให้นมบุตร ซึ่งเกี่ยวข้องกันฮอร์โมนเช่นกัน

2. อาการเจ็บเต้านมที่ไม่สัมพันธ์กับประจําเดือน

เป็นอาการปวดที่ไม่สัมพันธ์กับรอบประจำเดือน ส่วนใหญ่จะปวดเฉพาะบางจุดของเต้านมข้างใดข้างหนึ่ง มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนหรือใกล้หมดประจำเดือน

สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่

# ก้อนหรือถุงน้ำในเต้านม ซึ่งมีบางชนิดที่ทำให้เกิดอาการเจ็บเต้านมตามมา เช่น ชนิดไฟโบรซีสติค (Fibrocystic) เป็นก้อนเนื้อที่ไม่ร้ายแรงและมักไม่กลายเป็นมะเร็ง โดยพบได้บ่อยในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ส่วนอีกชนิด คือ ไฟโบรอะดีโนมา (Fibroadenoma) เป็นเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง มีลักษณะผิวเรียบ คลำแล้วโยกก้อนให้เคลื่อนไปมาได้ โดยพบในผู้หญิงที่อายุน้อยหรืออยู่ในวัยเจริญพันธุ์

# ภาวะเต้านมอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อของท่อน้ำนม โดยพบบ่อยในผู้หญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะมักจะเกิดบาดแผลขณะให้นมและมีการติดเชื้อตามมา ทำให้เนื้อเยื่อเต้านมอักเสบ บวม แดง เจ็บเต้านมอย่างรุนแรง ผิวบริเวณเต้านมแตก มีอาการคัน หรือเป็นแผลที่หัวนม

# ฝีที่เต้านม เกิดจากการติดเชื้อที่เต้านมจนมีอาการบวม แดง และลุกลามกลายเป็นแผลมีหนอง มีอาการปวดและเจ็บเต้านม ซึ่งส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากภาวะเต้านมอักเสบที่ไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาแล้วไม่ดีขึ้น

# การบาดเจ็บบริเวณใกล้เคียงเต้านม เมื่อเกิดการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ ข้อต่อ หรือเนื้อเยื่อใกล้กับเต้านมอาจกระทบโดนเส้นประสาทรับความรู้สึกบริเวณหน้าอก จึงทำให้รู้สึกคล้ายอาการปวดเต้านมตามไปด้วย เช่น การบาดเจ็บที่คอ หัวไหล่ หรือหลัง กระดูกอ่อนบริเวณหน้าอกอักเสบ (Costochondritis)

# การสวมชุดชั้นในที่ไม่เหมาะสม เช่น คับแน่นไป หรือหลวมไป ก็ส่งผลให้เกิดการได้รับบาดเจ็บที่เต้านมได้เช่นกัน

# ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาต้านเศร้า ยารักษาโรคหัวใจ การได้รับฮอร์โมนในรูปแบบยาคุมกำเนิด การรับฮอร์โมนทดแทน การรับฮอร์โมนในการช่วยเจริญพันธุ์ในคลินิกมีบุตรยาก

สาเหตุอื่นๆ เช่น แผลหลังการผ่าตัดเต้านม หน้าอกมีขนาดใหญ่กว่าปกติ การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารไขมันสูง

บางรายที่มีอาการเจ็บเต้านมไม่ชัดเจน เป็นลักษณะแน่นหน้าอก ชาตามแขนขา เจ็บเสียวตามมาหลังอาการเจ็บเต้านม ให้ระวังตระหนักไว้ว่าอาจจะเป็นสัญญาณของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ต้องรีบไปพบแพทย์หรือเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินทันที

จะเห็นได้ว่ามะเร็งเต้านม ไม่ได้มีอาการเจ็บเต้านม เป็นอาการแรก ถ้ามีอาการเจ็บแสดงว่าเป็นมากแล้วจนมีอาการติดเชื้ออักเสบซ้ำซ้อน

การวินิจฉัยอาการเจ็บเต้านม แพทย์จะวินิจฉัยจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการตรวจพิเศษอื่นๆ

การตรวจบริเวณหน้าอกรวมทั้งเต้านม เพื่อระบุตำแหน่งที่เจ็บ ว่าเป็นส่วนเต้านม, กระดูกซี่โครง, กระดูกอ่อนหน้าอก

การตรวจเต้านม แพทย์จะตรวจดูขนาดและรูปร่างของเต้านมว่าผิดปกติหรือไม่ จากนั้นจึงคลำหาก้อนบริเวณเต้านม ใต้รักแร้ คอส่วนล่าง รวมไปถึงมีการตรวจอวัยวะใกล้เคียงอื่น ๆ เช่น การเต้นของหัวใจ ตรวจปอด หน้าอก หรือช่องท้องที่อาจทำให้เกิดอาการปวดที่เต้านม หากประวัติทางการแพทย์ ผลการตรวจเต้านม และการตรวจร่างกายทั่วไปไม่พบความผิดปกติ อาจไม่ต้องมีการตรวจด้านอื่นเพิ่มเติม

การตรวจพิเศษ

การตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) เป็นการถ่ายภาพรังสีของเนื้อเยื่อเต้านม แพทย์จะส่งตรวจในกรณีที่คลำพบก้อนหรือพบ เนื้อเต้านมที่ขนาดหนาผิดปกติ

การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เป็นการถ่ายภาพของเนื้อเยื่อเต้านมในจุดที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง โดยมักใช้กรณีสงสัยเป็นถุงน้ำ

การตรวจเอ็มอาร์ไอ (Magnetic Resonance Imaging: MRI) การตรวจเนื้อเยื่อเต้านมด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของก้อนเนื้อที่พบว่าจะเป็นก้อนเนื้อร้ายหรือไม่

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ (Breast Biopsy) เป็นการนำตัวอย่างของก้อนเนื้อหรือเนื้อเยื่อเต้านมที่หนาตัวผิดปกติออกมาตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ

อาการเจ็บเต้านมถึงแม้จะส่วนใหญ่จะเป็นอาการสัมพันธ์กับฮอร์โมนในผู้หญิงซึ่งไม่อันตราย แต่ถ้าอาการเจ็บนั้นนานเกิน 2 สัปดาห์, ปวดรุนแรงมากจะใช้ชีวิตประจำวันลำบาก หรือมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น คลำพบก้อน เต้านมรูปร่างลักษณะเปลี่ยนไป มีของเหลวไหล/เลือดออกจากหัวนม ผิวหนังเต้านมมีรอยย่นคล้ายผิวส้ม มีรอยบุ๋ม ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นมะเร็งได้ ให้รีบมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจ วินิจฉัย รักษาได้อย่างทันท่วงที และวิธีที่จะช่วยคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ง่ายสะดวก ก็ คือ การคลำเต้านม ด้วยตัวเอง อย่างสม่ำเสมอ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้