พรบ.รถจ กรยานยนต กรณ เส ยช ว ต ม ค กรณ

การขับขี่บนท้องถนนนั้นมักจะมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ ถ้าหากเราขับรถของเราอยู่แล้วเผลอไปชนรถจักรยานยนต์เข้า แต่คู่กรณีดันไม่มี พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ เป็นไรไหม แล้วจะต้องทำยังไง เรามาดูคำตอบกันค่ะ

พ.ร.บ. รถยนต์ กับ พ.ร.บ. จักรยานยนต์ เหมือนกันไหม

ในการแง่ของการคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง และ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์นั้นเหมือนกัน แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือค่าใช้จ่ายในการทำ พ.ร.บ. นั่นเอง โดยค่าใช้จ่ายของรถจักรยานยนต์นั้นจะขึ้นอยู่กับ CC ของเครื่อง ซึ่งพ.ร.บ.รถยนต์ หรือพ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์ จะช่วยจ่ายค่าเสียหายในเบื้องต้นโดยไม่ต้องรอผลพิสูจน์ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูกหรือผิด ก็คือ

  • กรณีบาดเจ็บจ่ายค่ารักษาตามจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท/คน
  • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 35,000 บาท/คน
  • กรณีเสียชีวิตหลังจากรักษาพยาบาล จะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 30,000 บาท และค่าปลงศพอีกจำนวน 35,000 บาท รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท

หากขับรถชนมอเตอร์ไซค์ แล้วคู่กรณีไม่มี พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ จะเป็นไรไหม

ต้องบอกก่อนว่าข้อดีของการทำ พ.ร.บ. นั้นก็จะเหมือนกับการทำประกันในภาคบังคับ ซึ่งจะช่วยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือรถรถมอเตอร์ไซค์ รวมไปถึงคุ้มครองทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอกอีกด้วย แต่ถ้าหากเราขับรถชนคู่กรณีที่ไม่มี พ.ร.บ. ต้องทำยังไง มาดูกันค่ะ

หากคู่กรณีเป็นฝ่ายถูก แต่ไม่มี พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์

เมื่ออุบัติเหตุเกิดขึ้นแล้วเราเป็นฝ่ายผิด แต่คู่กรณีไม่มีพ.ร.บ. คู่กรณีก็ยังคงได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. ของเราในฐานะผู้ประสบภัย สามารถเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นได้จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้เช่นกัน

คู่กรณี ไม่มี พ.ร.บ. แล้วเป็นฝ่ายผิด

ในกรณีที่เราเป็นฝ่ายถูก แล้วคู่กรณีเป็นฝ่ายผิดแถมยังไม่มี พ.ร.บ. อีกด้วย เราก็ยังได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. รถยนต์ของเราในเบื้องต้นอยู่ดี โดยกองทุนทดแทนจะไปไล่เบี้ยจากฝั่งคู่กรณีที่ไม่มี พ.ร.บ. และบวกเงินเพิ่มอีก 20% พร้อมค่าปรับที่นำรถจักรยานยนต์ไม่มี พ.ร.บ. มาใช้ เป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท ด้วยเช่นกัน

เกิดอุบัติเหตุ ขับรถไม่มีพ.ร.บ. ทั้งคู่

แล้วถ้าหากเป็นในกรณีที่ไม่มี ขับรถไม่มี พ.ร.บ. ทั้งคู่ล่ะ จะยังได้รับความคุ้มครองมั้ย หากเป็นอุบัติเหตุในกรณที่ไม่มี พ.ร.บ. ทั้งคู่ สามารถเรียกค่าเสียหายจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิดได้ก่อน แต่ถ้าหากอีกฝ่ายไม่จ่าย หรือพยายามยืดเยื้อจ่ายไม่ครบ สามารถใช้สิทธิเบิกจากกองทุนเงินทดแทนผู้ประสบภัยได้เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

ไม่ใช่เจ้าของรถ เบิก พ.ร.บ. ได้ไหม

ต้องบอกก่อนว่าหากไม่ใช่เจ้าของรถ แล้วดันขับรถไปเกิดอุบัติเหตุ สามารถเบิกประกันภาคบังคับหรือ พ.ร.บ. ได้เหมือนกัน เพราะ พ.ร.บ. คือหลักประกันให้กับผู้ขับขี่ว่าจะได้รับสิทธิคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดเหตุบนท้องถนนทั้งหมด

กรณีที่เราเป็นฝ่ายถูก แต่ไม่ใช่เจ้าของรถ เบิกได้ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาลจากการบาทเจ็บหรือค่าเสียหายอื่นๆ สูงสุด 80,000 บาท
  • เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ อย่างถาวร เบิกได้สูงสุด 500,000 บาท
  • ชดเชยรายวันวันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน ( ที่เป็นผู้ป่วนใน หรือ IPD)

กรณีเป็นฝ่ายผิด แต่ไม่ใช่เจ้าของรถ

  • ค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากการบาดเจ็บ (จ่ายตามจริง) สูงสุด 30,000 บาท
  • เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ อย่างถาวร เบิกได้สูงสุด 35,000 บาท

ซื้อขายรถมือสองออนไลน์ ต้องที่ ตลาดรถมือสอง one2car ซื้อรถง่าย ขายรถไว ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน

อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้ที่ Autospinn.com

คำถามแทนใจคนใช้รถเลยว่าถ้าเราทำประกันรถยนต์ไม่ว่าจะชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 แถมยังมีพลัสแถมไปด้วยยังจะต้องทำ พ.ร.บ.รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถกระบะ อยู่หรือไม่ คำตอบชัดเจนว่าต้องทำ พ.ร.บ.ควบคู่กันไปด้วยเสมอ เพราะ พ.ร.บ.รถยนต์ มีชื่อเต็มว่าพระราชบัญญัติประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือเรียกสั้นๆ ว่า พ.ร.บ. ซึ่งก็สมตามชื่อ ภาคบังคับ ต้องต่ออายุทุกปีจึงจะสามารถเสียภาษีรถยนต์รายปีได้

ไม่ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ได้หรือไม่

คำตอบคือ ไม่ได้ ไม่งั้นจะมีโทษทางกฎหมายครับ เจอปรับไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งเจ้าของรถและผู้ที่นำรถที่ไม่มีประกันภัยตาม พ.ร.บ.มาใช้

อัตราค่าใช้จ่ายต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ปี 2566

- รถยนต์โดยสารที่นั่งไม่เกิน 7 คน 600 บาทต่อปี

- รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,100 บาทต่อปี

- รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาทต่อปี

- รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาทต่อปี

- รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 40 ที่นั่ง เสียค่าต่อ พ.ร.บ. 3,740 บาทต่อปี

- รถยนต์ไฟฟ้า 600 บาทต่อปี *ราคายังไม่ภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7%

อัตราค่าใช้จ่าย ต่อ พ.ร.บ.รถกระบะ ปี 2566

- รถยนต์บรรทุก (รถกระบะ) น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน 900 บาท - รถยนต์บรรทุก น้ำหนักเกิน 3 ตัน แต่ไม่เกิน 6 ตัน 1,220 บาท - รถยนต์บรรทุก น้ำหนักเกิน 6 ตัน แต่ไม่เกิน 12 ตัน 1,310 บาท - รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวมไม่เกิน 12 ตัน 1,680 บาท - รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวมเกิน 12 ตัน 2,320 บาท

อัตราค่าใช้จ่ายต่อ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ปี 2566

- เครื่องยนต์ไม่เกิน 75 CC 150 บาทขึ้นไป

- เครื่องยนต์ 75 - 125 CC 350 บาทขึ้นไป

- เครื่องยนต์ 125 - 150 CC 450 บาทขึ้นไป

- เครื่องยนต์มากกว่า 150 CC 650 บาทขึ้นไป

ประโยชน์ของ พ.ร.บ.รถยนต์และรถจักรยานยนต์

ในเมื่อเราจ่ายเงินซื้อเจ้าประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับมาแล้ว ย่อมต้องมีความคุ้มครองหากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นแน่นอน โดยเราสามารถเคลมอุบัติเหตุได้กับบริษัทประกันที่เราซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์ มา ในกรณีที่

- บาดเจ็บ สามารถเคลมค่ารักษาพยาบาลได้ โดยทาง พ.ร.บ.จะจ่ายตามจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน

- ทุพพลภาพ หากพิการหลังเกิดอุบัติเหตุ ทางบริษัทประกันจะจ่ายให้อีกจากค่ารักษาเบื้องต้น 30,000 บาท จากข้อ 1 แต่ไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน

- เสียชีวิต ถ้าเสียชีวิตทันทีหลังจากประสบอุบัติเหตุ บริษัทประกันจะจ่ายเงินค่าทำศพ 35,000 บาทต่อคน แต่หากเสียชีวิตหลังจากรับการรักษาไปแล้ว (จากข้อ 1 ตามวงเงินรักษา 30,000 บาทต่อคน) ทางประกันก็จะจ่ายแบบเหมารวมไม่เกิน 65,000 บาท

อันนี้เป็นการเคลมได้ทันทีโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิดของผู้เอาประกันภัย แต่หากพิสูจน์ยืนยันว่าผู้ขับฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด ฝั่งบริษัทประกันที่เป็นฝ่ายผิดจะรับผิดชอบแก่ผู้เสียหาย ในกรณีบาดเจ็บ รับค่าชดเชยไม่เกิน 80,000 บาท แต่หากเสียชีวิต หรือพิการ จะชดเชยเป็นเงิน 500,000 บาท

ขั้นตอนเคลม พ.ร.บ.

ผู้บาดเจ็บ หรือทายาท สามารถยื่นเรื่องขอรับค่ารักษาพยาบาลด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้โรงพยาบาลเป็นผู้รับแทนก็ได้ภายใน 7 วัน โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด และระยะเวลาในการขอใช้สิทธิ์ พ.ร.บ.ภายใน 180 วันหลังจากวันที่เกิดเหตุ โดยเตรียมหลักฐานให้ครบ ดังนี้ 1. สำเนาบัตรประชาชนทั้งผู้บาดเจ็บและเจ้าของรถ

2. สำเนาทะเบียนบ้าน

3. สำเนาบันทึกประจำวันจากตำรวจ

4. สำเนาหนังสือจดทะเบียนรถ

5. ตารางกรมธรรม์ประกันภัย

6. ใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์จากทางโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา

สำหรับในกรณีเสียชีวิต นำเอกสาร สำเนาบันทึกประจำวันพนักงานสอบสวนที่แสดงว่าผู้รับประกันถึงแก่ความตายจากประสบภัยจากรถ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสบอุบัติเหตุ สำเนาบัตรประชาชนทายาท สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาใบมรณบัตร ยื่นกับทางบริษัทประกันนั้นๆ.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้